ชัวร์หรือมั่วนิ่ม....คมช.ปลุกผีไฮสปีด กรุงเทพฯ-เชียงใหม่

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย kokkai, 15 Apr 2015

  1. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    รถไฟไฮสปีด "กทม.-เชียงใหม่" คัมแบ็ค ลงทุน 4 แสนล. เวนคืน 7.7พัน ไร่ คิกออฟปลายปีนี้
    พ.ค.ไทย-ญี่ปุ่นลงนาม MOU
    ในเดือนพฤษภาคมนี้ ทาง "รัฐบาลไทยและญี่ปุ่น" มีกำหนดจะลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อร่วมกันศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการ คาดว่าจะเริ่มคิกออฟได้ปลายปี 2558 ในการสำรวจเส้นทาง เริ่มก่อสร้างปลายปี 2559 หรืออย่างช้าต้นปี 2560 ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3-4 ปี จะแล้วเสร็จปี 2563
    http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1429081768
    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    ผมหาข่าวจากแหล่งอื่นไม่เจอเลยอะครับ
     
    Thai de Lion และ อาวุโสโอเค ถูกใจ.
  2. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    ลองหาจากสำนักข่าวอื่นแล้วไม่มีเหมือนกันครับ
    แต่พวกกาสรสีชาดจิ้นฟินน้ำแตกกันไปแล้วละครับ
    http://pantip.com/topic/33511434
     
  3. Mobonji

    Mobonji อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    9 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    325
  4. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    อิ...อิ....เนื้อข่าวลอกกันมาทั้งดุ้นเบย :think: ข่าวนี้ไม่อยากให้เป็นจริง
    อยากให้เป็นการเต้าข่าว เพื่อจุดประสงค์บางอย่าง :mask:
    ความเห็นส่วนตัว มองไม่ออกว่าจะคุ้มทุนได้ไง ?
     
  5. bookmarks

    bookmarks อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,447
    สำหรับประจิน ทำเรื่องโง่ๆ ได้อย่างไม่คาดคิดเสมอ
     
    อู๋ คาลบี้, Thai de Lion, maya และอีก 5 คน ถูกใจ
  6. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204
    ประชาชาติฯ สื่อในเครือมติชิน
     
  7. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
    รอป่าช้ามาเฉลย อิ อิ
     
    อาวุโสโอเค และ redfrog53 ถูกใจ.
  8. redfrog53

    redfrog53 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,466
    ขนาด กทม. - ชะอำ/หัวหิน ยังไม่คุ้ม เชียงใหม่จะไหวเหรอ!
    JP. ก้อไม่คุ้มนะ ได้เฉพาะ นทท. ตามเทศกาล
    ต่อไป ไหน ฮ.ส่วนตัว/รับจ้าง รถบิน เจ้เกี้ยวแอร์ อีก
    กทม.-ชม. ไปเช้า เย็นกลับ ยังทันเลย
     
    kokkai และ อาวุโสโอเค ถูกใจ.
  9. อาวุโสโอเค

    อาวุโสโอเค อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,527
    น่าจะมาจากข่าวนี้หรือเปล่าครับ
    บิ๊กตู่ส่ง "อาคม" บินด่วนเคาะเม.ย.นี้ ญี่ปุ่นเสียบรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่
    โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 8 เม.ย. 2558 08:30

    EyWwB5WU57MYnKOuFtJicZHt8Lh5r0arMvYhQcbOU2YAqn1lL2CR9S.jpg
    พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิด เผยว่า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม ได้รายงานต่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ถึงกรณีที่ญี่ปุ่นสนใจเข้ามาลงทุนโครงการรถไฟทางคู่ รางมาตรฐาน 1.435 เมตร จำนวน 2 เส้น ทาง คือ เส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ-แหลมฉบัง ซึ่งจะเชื่อมกับโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย และเส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้นายอาคม ไปเจรจากับทาง ญี่ปุ่นระหว่าง 23-27 เม.ย.นี้ เพื่อให้ได้ข้อสรุปในรายละเอียดเสนอ ครม.ภายในเดือน เม.ย.นี้ จากนั้นจะลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (เอ็มโอยู) ต่อไป

    “ญี่ปุ่นสนใจเข้ามาดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เพราะมีผลการ ศึกษาเดิมพบว่าเส้นทางนี้เป็นไปได้มากที่สุด เพราะมีระยะ ทาง 670-700 กม. ในขณะที่โครงการรถไฟความเร็วสูงนั้นจะต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง และใช้งบประมาณที่สูงด้วยเช่นกัน”

    ส่วนที่มีกระแสข่าวว่าจีนสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่นั้น พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า ฝ่ายจีนเป็นผู้ที่แจ้งยกเลิกไม่สนใจเส้นทางนี้ก่อน หลังจากที่ไม่สามารถเจรจาเพื่อเชื่อมต่อเส้นทางจากคุนหมิงผ่านทางเชียงของ ของ สปป.ลาว เพื่อเข้าสู่ไทยทางตอนเหนือ ดังนั้น จึงทำให้เส้นทางนี้ต้องพับแผนไป แต่ทางญี่ปุ่นได้แสดงความสนใจชัดเจนและมีแนวโน้มที่ดีที่ญี่ปุ่นจะมีโอกาสเข้ามาดำเนินการได้ และขอให้รอหลังจากที่นายอาคมกลับจากหารือกับทางญี่ปุ่นก่อน เพราะจะมีความคืบหน้าที่ชัดเจนในเรื่องที่ญี่ปุ่นจะเข้ามาลงทุนในโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย

    พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า ที่ประชุม ครม. กระทรวงคมนาคมได้รายงานความก้าวหน้าโครงการความร่วมมือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟระหว่างไทยกับจีน และขอความเห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือ หรือเอ็มโอยู เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมในการสำรวจพื้นที่และทำการออกแบบ โดยฝ่าย ไทยจะสนับสนุนด้านการจัดเตรียมเอกสารข้อมูล บุคลากร และประสานหน่วยงานต่างๆ ให้กระทรวงแรงงานดูแลเรื่องการออกใบอนุญาตทำงานให้กับต่างชาติ กระทรวงการคลังช่วยดูแลเรื่องการยกเว้นภาษีการนำเข้าเครื่องจักร เพื่อเข้ามาทำการสำรวจในไทย.

    ที่มา http://www.thairath.co.th/content/491742
     
    maya, 5555, หนูอ้อย และอีก 1 คน ถูกใจ.
  10. หนูอ้อย

    หนูอ้อย อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,778
    แหล่งข่าวอีกที่หนึ่งคือข่าวก๊อสซิบหน้า 5 คมชัดลึกไม่รุลอกการบ้านกันป่าว
    EvLqa8.jpg
     
    อาวุโสโอเค, Familie และ kokkai ถูกใจ
  11. bookmarks

    bookmarks อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,447
    แปลกดี จีนไม่เอา เพราะรถไฟไม่เชื่อมกับจีน เลยต้องหาทางสร้างตรงไหนก็ได้ ให้มันเกิดให้ได้ แม้ตรงนั้นจะขาดทุน และไม่เกิดประโยชน์ นับถือสติปัญญาของพวกท่านๆ ที่ต้องการผลาญเงินชาติจริงๆ
     
  12. puggi

    puggi อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    616
    ผมอยากให้ทำรางคู่ 1 เมตรให้ดีก่อน เอาให้ครบทุกเส้นทาง

    แล้วต่อจากนั้นจากให้สัมปทานความเร็วสูงใครก็ตามใจ

    เพราะคนใช้จะมีสิทธิ์เลือก แต่นี่ระบบพื้นฐานยังห่วย ดันจะไปทำความเร็วสูง ไม่เห็นด้วย
     
    Thai de Lion, maya, อาวุโสโอเค และอีก 1 คน ถูกใจ.
  13. Redbuffalo010

    Redbuffalo010 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    3 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    6,457
    อาวุโสโอเค และ kokkai ถูกใจ.
  14. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    ไม่สร้างตอนนี้ เลือกตั้งมาเพื่อไทยก็จะสร้าง
    เวลาเหลือไม่มาก เงินยังพอมี
    ปัญญามีไว้ทะเลาะกัน
    ตัดสินใจไม่ทันก็คอยทะเลาะกับเสื้อแดงละกัน
     
  15. redfrog53

    redfrog53 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,466
    ทำไมไม่ต่อยาวถึงภูเก็ต จะได้อยู่บ้าน มาทำงานไปกลับกรุงเทพฯได้
     
    Thai de Lion, อาวุโสโอเค, bookmarks และอีก 1 คน ถูกใจ.
  16. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    สร้างแน่แต่ไม่รีบ ปฏิวัติครั้งหน้าค่อยสร้าง
    ยังไง เพื่อไทยไม่สร้างไปให้พวกแมงสาบแน่
    เรารีบสร้างไปเชียงใหม่ตีเมืองขึ้นไว้ก่อน
     
    อาวุโสโอเค และ Bayonet ถูกใจ.
  17. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204
  18. redfrog53

    redfrog53 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,466
    เอาประมาณนี้ก้อพอ ดีมั้ยยยย!!
    รถนอนเวียดนามแบบ2ชั้น

    DSC_0395.jpg
    1288417294.jpg
    1382805176.jpg

     
    Bayonet, อาวุโสโอเค และ kokkai ถูกใจ
  19. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    ถ้าดูตามแผนที่ ควรเริ่มที่เส้นทางไปทางอีสานก่อนเหมาะสุด
    ไปเชียงใหม่นะมันผลาญเงินชัดๆ
     
  20. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204
    มีอาจารย์บางคนบอกว่า มีรถไฟความเร็วสูงก็ดี จะได้เดินทางสะดวกเหมือนรถไฟฟ้า
    คือ....ค่าโดยสารต่อเที่ยวมันไม่ได้สามสิบสี่สิบบาทนะ เงินเดือนเยอะก็พูดได้
     
    kokkai และ bookmarks ถูกใจ.
  21. prathaya

    prathaya อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    4 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    507
    เอาตามตรงก็ได้นะ แต่ขออย่าง ไม่เชียงใหม่ได้ไม๊ ทำไมต้องเชียงใหม่ ทำสายทดลองใกล้ๆเช่นกรุงเทพ ระยองให้ได้ก่อนไม่ดีกว่า?
     
  22. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    ถ้าเป็นพวกเผาไทยผมก็ไม่สงสัย เพราะมันทำเพื่อหาเสียงอย่างเดียว คุ้มหรือไม่ ไม่เกี่ยว
    แต่เมื่อเป็นคสช. ควรคำนึงถึงอนาคตและความคุ้มค่า มาเป็นอันดับหนึ่ง
    ถ้าทำแล้วไม่คุ้มค่าเลยสักสาย ผมว่าหยุดใว้ก่อนดีกว่า
    เพราะยังมีสิ่งจำเป็นอื่นๆ ที่ต้องทำอีกเยอะ
     
  23. ปู่ยง

    ปู่ยง อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,820
    โคราฃ - หระรี - กรุงเทพฯ ก็พอ เบื่อรถติดช่วงเทศกาล
     
    kokkai likes this.
  24. Gop

    Gop อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    24 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    361
    ทำไมหลายท่านถึงเห็นว่าทำรถไฟความเร็วสูงไปเชียงใหม่แล้วไม่คุ้มครับ??
     
  25. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    ก็เพราะมีผลการศึกษามาแล้วว่ามันขาดทุนไงละครับ
    http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000048273

    แถมรัฐมนตรีก็ยังออกมายอมรับเองด้วยว่ามันขาดทุน
    http://www.posttoday.com/ธุรกิจ-ตลาด/ข่าวธุรกิจ-ตลาด/217597/รมว-คมนาคมรับรถไฟความเร็วสูงไม่คุ้มทุน

    แต่ถ้าเปลี่ยนจากรถไฟความเร็วสูงเป็นรถไฟรางคู่ที่มีความเร็วเพิ่มขึ้นจาก 100 Km/hr เป็น 180 Km/hr แบบสายอีสาน
    ผมสนับสนุนเต็มที่ เพราะช่วยด้านโลจิสติกได้ดีกว่ารถไฟความเร็วสูงที่ขนคนเพียงอย่างเดียว
     
    maya, Bayonet, puggi และอีก 4 คน ถูกใจ
  26. Gop

    Gop อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    24 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    361
    คุณเชื่อข้อความนี้หรือเปล่าครับ

    ๑ ผมไม่เชื่อข้อความลอยๆไดๆทั้งสิ้น ผมเคยค้นเรื่องการศึกษาเรื่องคอคอดกระพบว่าแม้แต่ TDRI ก็่ยังคำนวณชุ่ยๆมาแล้ว ยิ่งข่าวนี้นี่พูดลอยๆมาก ไม่ระบุรายละเอียดอะไรเลย ว่าทำไมถึงไม่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับเครื่องบิน แล้วยังพูดอะไรบ้าๆบอๆ อย่างถึงแค่เด่นชัยจังหวัดลำปาง ( อำเภอเด่นชัยอยู่จังหวัดแพร่ครับ )

    ๒ ปัจจุบัน( ความจริงแล้วเป็นเรื่องเก่าแล้วด้วยซ้ำ ) รถไฟที่วิ่งด้วยความเร็วสูงสุดได้ 300 กม.ต่อชั่วโมงนั้นเป็นเรื่องธรรมดา และการประหยัดเวลาจะเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ

    ๓ เท่าที่ผมเคยอ่านรายงานการศึกษา เอกสารที่ดูดีที่สุดที่ผมเจอคือ รายงานของคุณฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ ก็ยังถือว่าค่อนข้างหยาบมาก ใช้สูตรคำนวณตามบทความต่างประเทศตรงๆ โดยไม่ได้ใช้บริบทต่างๆของประเทศไทยเลย

    ๔ ถ้าผมจำไม่ผิด ตัวเลขคร่าวๆของปริมาณผู้โดยสารขั้นต่ำ คือ 10 ล้านคนต่อปี ซึ่งเฉลี่ยแล้วประมาณวันละ 27,000 คน ผมมองว่าไม่ได้เป็นตัวเลชที่เยอะจนเป็นไปไม่ได้ เพราะตัวเลขผู้โดยสารเครื่องบินจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่นั้น กำลังเพิ่มขึ้นๆทุกปี ตอนนี้อยู่ที่ประมาณห้าล้านคนต่อปีและมีแนวโน้มเพ่ิมขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งยังมีศักยภาพจากผู้โดยสารในจังหวัดอื่นๆ เช่น พิษณุโลก นครสวรรค์ ลำปาง ซึ่งเป็นหัวเมืองใหญ่ที่อยู่ระหว่าทาง ยังไม่รวมถึงผู้โดยสารรถทัวร์ราคาแพง และจังหวัดรอบๆอื่นๆ ที่อาจจะเลือใช้บริการเพราะความสะดวกที่มากขึ้น

    จะเห็นว่า ปัจจัยที่จะระบุว่าโครงการนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นมีเยอะมาก ผมว่าต้องมองให้ดีๆก่อนจะสรุปครับ ที่พูดนี้ เพราะผมเองรู้สึกก้ำกึ่งกับเรื่องนี้มาก แต่กลับพบว่า ไม่มีเอกสาร หรือการศึกษาที่ลงรายละเอียดให้เห็นชัดเจนอย่างเป็นวิชาการเลย โดยส่วนตัวผม มองว่าเส้นทางนี้ศักยภาพสูง เพราะมีทั้งนักท่องเที่ยวและคนไทยที่เดินทางในเส้นทางนี้อย่างหนาแน่น ในข่าวก็มีการบอกด้วยว่าจะทำสถานีสุโขทัย และศรีสัชนาลัยด้วย ซึ่งเห็นได้ชัดว่ามองเรื่องการท่องเที่ยวเอาไว้ด้วย

    ส่วนเรื่องคุณชัติชาติ เท่าที่เคยฟังมา เค้าก็บอกนะครับ ว่าไม่ได้หวังผลแค่เรื่องค่าโดยสารอย่างเดียว แต่หวังผลทางอ้อมทางเศรษฐกิจด้วย นอกจากนี้การจัดเก็บรายได้จากธุรกิจต่างๆ ในสถานีรถไฟ ก็มีผลช่วยเพิ่มรายได้ได้เช่นกัน ถ้าบริหารจัดการให้ดี
     
    อาวุโสโอเค และ ปู่ยง ถูกใจ.
  27. Gop

    Gop อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    24 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    361
    ราคารถทัวร์วีไอพี ไม่ใช่ถูกๆนะครับ
    image-80BA_552FD25D.jpg
    http://www.nca.co.th/timetable-bkk-ch.html

    First class ราคาประมาณแปดร้อย เดินทางเก้าชั่วโมง ตามข่าวรถไฟความเร็วสูง ถูกสุด 1,100 บาท เพิ่มตังอีกสามร้อย ลดเวลาเดินทางเหลือสามชั่วโมงนิดๆ น่าคิดนะครับ
     
  28. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    งั้นเปลี่ยนเป็นคำถามว่า
    1. มีการศึกษาเรื่องรถไฟความเร็วสูงในไทยแล้วพบว่ามีความคุ้มทุนหรือไม่ ?
    2. แล้วจำนวนผู้ใช้บริการเท่าไหร่จึงจะคุ้มทุน ?
     
  29. Gop

    Gop อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    24 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    361
    จะให้ถามแบบนั้นก็ได้ครับ ผมมองว่าเป็นเรื่องที่ควรจะช่วยกันวิเคราะห์ให้ดีเสียก่อน เพราะมันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ

    เอาง่ายๆ อีกคำถามหนึ่งก็ได้

    คำว่าคุ้มหรือไม่คุ้ม ใช่ตัวเลขอะไรเป็นเครื่องชี้วัด??
     
  30. Gop

    Gop อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    24 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    361
    เดี๋ยวจะหาว่าผมเชียร์อย่างเดียว อีกด้านหนึ่ง ผมก็ทราบดีครับ ว่าตัวเลขที่ต่างๆที่ประเมินในข่าวอาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริงก็ได้ อันหนึ่งที่ค่อนข้างเชื่อขนมกินแน่ๆว่าต่ำกว่าความเป็นจริงคือเรื่องงบประมาณ แทบจะร้อยทั้งร้อยเลยครับ ทุกโครงการรถไฟความเร็วสูงค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงกว่าที่ประเมินเบื้องต้นเยอะมาก เรื่องผู้โดยสารอีกเช่นกัน อันนี้อ่อนไหวมาก ปัจจัยที่กระทบมีเยอะ ทั้งเรื่องคุณภาพการบริการ ความสะดวกในการเข้าถึงสถานี ค่าโดยสาร ฯลฯ ทำให้เราไม่ควรประเมินตัวเลขจนสวยหรูจนเกินไป แต่ผมก็ยังมองว่าเส้นทางนี้มันมีลุ้นน่ะครับ ยิ่งล่าสุดเดินทางกลับบ้านช่วงสงกรานต์ รถติดเป็นขบวนยาวเป็นสิบๆกิโล มันยิ่งคิดถึงโครงการนี้ขึ้นมา อยากให้ได้ใช้จริงๆ
     
  31. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    "คุ้ม" ของคุณ Gop คืออะไรละครับ
    สำหรับผม คำว่า "คุ้ม" คือโครงการนี้ต้องเลี้ยงตัวเองได้ ไม่มีผลขาดทุนตามมาทีหลัง
     
    Bayonet, puggi, Octavarium และอีก 5 คน ถูกใจ
  32. Gop

    Gop อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    24 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    361
    ๑ เรื่องการทำรางคู่ รู้สึกว่าอยู่ในแผนแม่บทอยู่แล้วครับ ทำแน่นอน แต่น่าจะเป็นการปรับปรุงรางหนึ่งเมตรเดิม ให้เป็นทางคู่และแข็งแรงขึ้น

    ๒ เรื่องรถไฟจีนมองให้ดีๆนะครับ เรามีแผนรางคู่หนึ่งเมตรอยู่แล้ว ซึ่งสามารถใช้ขนส่งได้ ผมกังวลว่ามีรางมาตรฐานของจีนมาเพิ่ม มันจะทำให้เราเสียทรัพยากรที่ดินโดยไม่จำเป็น เพราะเรายังใช้รางของเราไม่เต็มศักยภาพเลย ผมก็เคยกล่าวมาแล้วว่า ถ้าในอนาคต สามารถ upgrade เป็นรถไฟความเร็วสูงได้ ผมก็พอใจ แต่ถ้าใช้แต่ขนส่งสินค้าอย่างเดียว ผมว่าแย่ครับ
     
  33. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    ช่วงสงกรานต์เดินทางเต็มที่ก็ 5 วัน แต่ทั้งปี 365 วัน โครงการนี้จะเอาผู้โดยสารจากไหนเพื่อความคุ้มทุน
    นี่ละครับ คือปัญหา
     
    puggi, ปู่ยง, AlbertEinsteins และอีก 1 คน ถูกใจ.
  34. Gop

    Gop อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    24 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    361
    น่าจะคิดใกล้เคียงกัน

    โดยส่วนตัว ผมมองว่าเรื่องการลงทุนเบื้องต้นเช่นการก่อสร้าง หรือระบบต่างๆนั้น เป็นส่วนของเงินที่รัฐลงทุนลงไปเพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ต้นทุนส่วนนี้ไม่นำมาคิดในการประเมิน ไม่เช่นนั้น เราก็ไม่ควรสร้างถนน เพราะเราไม่ได้เงินจากถนนโดยตรง

    ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูง ถ้ารายรับจากทุกรูปแบบสามารถเลี้ยงองค์กรณ์ได้ คือสามารถนำมาจ่าย operating cost ได้ ก็ถือว่าผ่านแล้วครับ ไม่เป็นภาระทางงบประมาณสะสมแก่รัฐบาล ประชาชนได้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น( แน่นอนว่าต้องจ่ายเงินแลกมา ) สำหรับผมก็คุ้มแล้วครับ
     
  35. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    เรื่องความเร็วของรถไฟ มันขึ้นกับหัวรถจักรและขนาดของราง
    ในประเทศญี่ปุ่น มีราง 2 ขนาด คือ 1 เมตร และ 1.435 เมตร
    ราง 1 เมตรคือรถไฟธรรมดา แต่ด้วยการจัดระบบที่ดีและการมีรางคู่ทำให้ราง 1 เมตรสามารถทำความเร็วได้ถึง 160 Km/hr
    ซึ่งเพียงพอสำหรับการขนส่งทั้งคนและสินค้า
    ราง 1.435 เมตร เป็นรางสำหรับรถไฟหัวกระสุน ทำความเร็วได้มากกว่า 300 Km/hr ซึ่งขนคนได้อย่างเดียว
    ดังนั้นสำหรับประเทศไทย ผมมองว่าราง 1 เมตรก็เพียงพอในตอนนี้ แต่ขอให้เป็นรางคู่และระบบจัดการที่ดี
    ส่วนราง 1.435 เมตรที่จะสร้างนั้น ปัจจัยหลักคือการเชื่อมต่อกับจีน ซึ่งจะขนส่งตู้สินค้าลงมาที่ท่าเรือแหลมฉบัง
    โดยไม่ต้องเปลี่ยนขบวนเมื่อเข้าสู่ประเทศไทย
    แต่ตอนนี้รัฐบาล คสช. ตกลงกับจีนแล้วที่จะสร้างราง 1.435 เมตร ดังนั้นก็ถือว่าได้ลงทุนส่วนรางไปแล้วสำหรับอนาคต
    ส่วนตัวรถ ถ้าเห็นว่าถึงเวลาเมื่อไหร่ ก็แค่เอาหัวรถจักรความเร็วสูงมาวิ่ง เท่านี้ก็เป็นรถไฟความเร็วสูงแล้ว
     
    Last edited: 16 Apr 2015
    puggi, อาวุโสโอเค, ปู่ยง และอีก 2 คน ถูกใจ
  36. Gop

    Gop อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    24 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    361
    มันไม่ใช่แค่สงกรานต์หรอกครับ ผมเดินทางขึ้นเหนืออยู่บ่อยๆ รถเยอะมากครับ

    เรื่องสงกรานต์นั้น ผมมองในเรื่องคุณภาพชีวิตมากกว่า ถ้ามีรถไฟความเร็วสูง( และรางคู่หนึ่งเมตร ) ผมเชื่อว่าถนนจะโล่งขึ้นเยอะ ความเสี่ยงเรื่องอุบัติเหตุลดลง เวลาเดินทางก็ลดลง มีเวลาเที่ยวหรืออยู่กับครอบครัวมากขึ้น ไม่ต้องมารถติดริมทุ่งนาแบบทุกวันนี้
     
    หนูอ้อย likes this.
  37. bookmarks

    bookmarks อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,447
    เห็นการบินไทย ขสมก เป็นอย่างไร ก็คิดให้ดีแล้วกันครับ ว่าสมควรจะให้ขาดทุนอีกหนึ่งโครงการหรือไม่ คำนวณการวิ่งแต่ละวันด้วยนะครับ ว่าวันหนึ่งจะวิ่งรับผู้โดยสารได้กี่เที่ยว จำนวนคนขึ้นในแต่ละวัน คนไปเที่ยวต่างประเทศ อย่างญี่ปุ่น จีน คงไม่ได้ไปเพราะอยากนั่งรถไฟความเร็วสูงหรอกนะครับ
     
    อาวุโสโอเค และ kokkai ถูกใจ.
  38. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    ประเด็นคือการศึกษาก่อนหน้านี้ในปี 2555 ได้คำนวณแล้วผู้โดยสารที่จะคุ้มทุนคือ 9 ล้านคน/ปี
    แต่เมื่อวาง Position ว่ารถไฟความเร็วสูงจะมาแข่งกับ Low cost airline ดังนั้นต้องมีการแบ่งผู้โดยสารกัน
    ในขณะที่ทั้งปี 2555 ผู้โดยสารของ Low cost airline มีทั้งสิ้น 5 ล้านคน จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า มันไม่คุ้มทุนแน่นอน
    ข้อมูลผู้โดยสารจากที่นี่ครับ
     
    puggi, อาวุโสโอเค, temp และอีก 3 คน ถูกใจ
  39. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    อันนี้ลองฟังของฮอลแลนด์กันดูบ้าง
    ของฮอลแลนด์ไม่มี Low cost airline บินในประเทศนะครับ
    ปัจจุบันบริษัทผู้ให้บริการรถไฟความเร็วสูงล้มละลายไปแล้ว
    http://tdri.or.th/multimedia/fm96-5-sumet-highspeedtrain/
     
    Bayonet, อาวุโสโอเค, bookmarks และอีก 1 คน ถูกใจ.
  40. Gop

    Gop อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    24 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    361
    ๑ เรื่องสร้างแค่ทางคู่หนึ่งเมตรผมมองอีกอย่างครับ ผมมองว่าเป็นทางเลือกรองสำหรับผู้มีรายได้น้อย และเป็น feeder ให้กับรถไฟความเร็วสูง ผมเชื่อว่าฐานะของประเทศไทยทำควบคู่กันไปได้ครับ

    ๒ เรื่องนี้ผมตามในเว็บ skyscrapercity อยู่ มันมีเรื่องที่ต้องพิจารณาให้ดีอยู่เหมือนกันครับ การทำรางมาตรฐานพร้อมระบบไฟฟ้านั้นเป็นส่วนหนึ่ง แต่การออกแบบเรื่องรัศมีความโค้ง และความแข็งแรงของรางก็มีส่วนด้วย ต่อให้เอารถที่วิ่งด้วยความเร็ว 300 กม.ต่อชั่วโมงมาวิ่งได้ แต่รัศมีความโค้งไม่มากพอ ก็วิ่งด้วยความเร็วสูงไม่ได้ครับ โครงการนี้ต้องรอดูไปเรื่อยๆแหละครับ อีกนานกว่าจะรู้ เพราะระยะแรกน่าจะขนสินค้าจีนเป็นหลักแน่ๆ
     
  41. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    6.jpg
    แค่ผู้โดยสารไม่ใช่ปัจจัยเดียวเท่านั้น องค์กรที่จะบริหารของเราก็ยังไม่มีความพร้อม
    ในบรรดาผู้ให้บริการรถไฟในประเทศไทยมีเพียง BTS บริษัทเดียวเท่านั้นที่ทำกำไรได้
    ไม่ว่า รฟท., MRT หรือ Airport link ทุกรายล้วนแต่ขาดทุนทั้งสิ้น
    แค่นี้คงไม่ต้องบอกถึงประสิทธิภาพในการบริหารงานกันแล้วละครับ ผลงานประจักษ์สายตากันทั้งนั้น
     
    อาวุโสโอเค, ปู่ยง, redfrog53 และอีก 2 คน ถูกใจ
  42. Gop

    Gop อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    24 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    361
    ๑ ตัวเลขนั้นมันแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆนะครับ

    ๒ ไม่ใช่ low cost อย่างเดียวครับ full service นี่แหละครับโดนเต็มๆ ราคาเท่ากัน ผมเปลี่ยนเป็นนั่ง business class ของรถไฟความเร็วสูงได้เลยด้วยซ้ำ

    ๓ เห็นค่ารถนครชัยแอร์ที่ผมเอามาให้ดูมั้ยครับ เพ่ิมเงินอีกสามร้อย ลดเวลาการเดินทางได้หกชั่วโมง

    ๔ ลืมผู้โดยสารระหว่างเส้นทางหรือเปล่าครับ เช่นนักท่องเที่ยวเดินทางจากอยุธยา ไปสุโขทัย ศรีสัชนาลัยและเชียงใหม่ เส้นทางเหล่านี้มีศักยภาพ แต่ไม่มีเที่ยวบิน

    ๕ รถไฟทำเที่ยวได้มากกว่า เพราะสามารถแวะระหว่างทางได้ ดังนั้น การเดินทางไปยังหัวเมืองรองๆ อย่างลำปาง หรือ พิษณุโลก ตัวเลือกเรื่องเวลา รถไฟจะมีมากกว่า

    ๖ หลายสถานี ไม่มีสนามบินนะครับ ทั้ง อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร

    ๗ ยังมีจังหวัดรอบๆ ที่สามารถเดินทางมาขึ้นรถไฟความเร็วสูงได้ อย่างเช่นตัวเมืองตาก ห่างจากจังหวัดสุโขทัยไม่มากนัก แพร่ ก็อยู่ใกล้ๆลำปาง อุตรดิษฐ์อยู่ไม่ห่างจากศรีสัชนาลัย

    ๘ มีสิ่งหนึ่งที่น่าประหลาดแต่เกิดขึ้นจริงๆ คือ induced demand ครับ มีการเก็บข้อมูลพบว่าการมีรถไฟความเร็วสูง กระตุ้นคนในบางพื้นที่ให้เดินทางมากขึ้นครับ

    ดังนั้น ผมจึงมองว่า แค่ตัวเลขผู้โดยสาร low cost airline ในปัจจุบันเพียงอย่างเดียว เอามาใช้สรุปว่ารถไฟความเร็วสูงไม่คุ้มไม่ได้ครับ
     
  43. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    ****คนไทยที่มีเงินพอจะเสียค่าโดยสารแพงๆ แบบคุณ มีไม่เยอะหรอกครับ
    ****ถ้าหยุดเกือบทุกสถานีเพื่อเก็บผู้โดยสารตามที่คุณคิด มันจะสปีดได้เหรอครับ
     
    Bayonet, joonkung, ปู่ยง และอีก 1 คน ถูกใจ.
  44. bookmarks

    bookmarks อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,447
    อยุธยา คนไม่นั่งรถไฟหรอกครับ นั่งรถยนต์ไปก็ใช้เวลาไม่นาน ส่วนราคาไปเชียงใหม่ ต่ำสุดที่ 1000 บาท คือช่วงเวลาไหนครับ เพราะจากข่าวมีทั้งต่ำสุดและสูงสุด 3000 บาท
     
  45. num1755

    num1755 สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    23 Mar 2015
    คะแนนถูกใจ:
    89
    ข้อแตกต่างกับโครงการ 2 ล้านๆคือ
    1. ญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนเกือบทั้งหมด ไทยทำเรื่องสถานที่(เวนคืน) สิ่งแวดล้อม(EIA) ข้อกฏหมาย และส่วนเสริมในการก่อสร้าง (คนงาน อุปกรณ์ที่จะเอาเข้ามา ๆลๆ) ,ก็คงเป็นสัมปทานให้ญี่ปุ่น แต่ของเพื่อไทย รัฐกู้เงินมาทำเอง ซึ่งไปได้แค่พิษณุโลก ถ้าจะทำถึง ชม. ต้องกู้ต่ออีก(เจตนากินรวบ ชงเอง กินเอง)
    2. ญี่ปุ่น เค้าศึกษามาแล้ว(feasibility study) ,และการให้สัมปทานกับเอกชน น่าจะเป็นผลดีกว่ารัฐทำเอง (รู้ๆกันอยู่) เพียงแต่รัฐต้องกำหนดราคาตั๋วที่เหมาะสม ,สมัย ปชป ก็มีความคิดจะทำแบบนี้ แต่จีนคิดดอกแพงมาก แล้วก็มีประท้วงตลอด เลยไม่ได้ดำเนินงานต่อ
    3. การกู้เงินโดยผลักภาระไป 50 ปีข้างหน้า เป็นสิ่งที่ถูกคัดค้านตอนนั้น(ไม่ได้คัดค้านการมี รถไฟ ครส) เพราะเป็นการมอบหนี้ให้รัฐบาลต่อๆไปโดยยังไม่รู้ว่าจะเป็นใคร ,การมีรถไฟความเร็วสูงโดยให้สัมปทานกับเอกชน น่าจะเหมาะกับ ประเทศเงินน้อยอย่างไทย งบประมาณที่มีจะได้ไปทำ รางคู่ การศึกษาๆลๆ
     
    redfrog53, HiddenMan, หนูอ้อย และอีก 3 คน ถูกใจ
  46. Gop

    Gop อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    24 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    361
    ๑ ข้อแรกเรื่องระยะทางนั้นถือว่าผ่านนะครับ

    ๒ ส่วนปริมาณผู้โดยสาร โดยส่วนตัวผมมองว่ามีลุ้นครับ กว่าจะสร้างเสร็จ เศรษฐกิจเราก็โตไปอีกพอสมควร ฐานผู้โดยสารอาจจะเป็นไปได้ ( แต่ต้องประเมินให้ดีๆ )

    ๓ เรื่องการเชื่อมโยง ผมว่าทำได้ครับ บางอย่างไม่ต้องการงบประมาณมากหรอกครับ ตัวอย่างที่ Italy ขนาดเมืองใหญ่ๆอย่าง ฟลอเรนซ์ หรือโบโลญญา ยังไม่มีระบบรถไฟใต้ดินเลยครับ แต่อาศัยว่ามีระบบรถโดยสารที่ทั่วถึง บวกกับรถราง ก็สามารถทำให้คนเข้าถึงสถานีรถไฟความเร็วสูงได้แล้ว

    ส่วนเรื่องการเชื่อมต่อกับรถไฟปรกติ ผมว่าก็เป็นไปได้ครับ ความจริงแล้ว สถานีที่วางแผนเอาไว้ ก็อยู่ในพื้นที่เดิม สิ่งที่น่าทำเพิ่มคือขยายโครงข่ายรถไฟธรรมดา ให้ไปในหลายๆพื้นที่ให้มากขึ้น

    ๔ เรื่องการบริหาร ผมว่าทำดีๆ จัดองค์กรใหม่ ก็พอมีหวังอยู่นะครับ อาจจะให้เอกชนอย่าง BTS มาเดินรถก็ได้ รัฐเก็บเงินในรูปแบบค่าสัมปทานเอา ไม่จำเป็นต้องยกทุกอย่างให้การรถไฟก็ได้ครับ ( ใจจริงผมอยากให้แปรรูปจริงๆ เจ้าองค์กรณ์นี้ )

    ผมว่ามีเวลาครับ หลายปีกว่าจะสร้างเสร็จ ระหว่างนั้นเราก็เตรียมปัจจัยต่างๆให้พร้อมได้ครับ
     
  47. Gop

    Gop อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    24 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    361
    ๑ เรื่องอยุธยา ผมหมายถึงคนอยุธยาที่เดินทางขึ้นเหนือน่ะครับ หรือพวกนักท่องเที่ยวต่างประเทศ เราอาจออกตั๋วเหมาเหมือนญี่ปุ่น( JR Pass ) ให้เดินทางหลายเที่ยวได้ มันก็ช่วยสร้าง demand ได้อีกทางหนึ่งนะครับ
    ๒ คนอีกกลุ่มที่ผมว่าน่าสนใจคือ พวกเงินเดือนสูงๆ ทำงานแถวนิคมอุตสหากรรม ก็น่าจะใช้บริการสถานีนี้นะครับ
    ๓ เรื่องราคา ผมว่าตามข่าวใน link น่ะครับ
     
    bookmarks likes this.
  48. bookmarks

    bookmarks อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,447
    ถ้าเพื่อทุยทำโครงการนี้ ต่อให้ขาดทุนป่นปี้ มันก็เอามาเป็นผลงานมันได้ เพราะมันจะอ้างว่า ทำให้ประเทศไทยทัดเทียมประเทศที่เจริญแล้ว :D แต่ถ้า คสช ทำโครงการนี้ขาดทุน พวกเสื้อแดงมันก็จะด่า คสช ว่าทำรถไฟความเร็วสูงแล้วขาดทุน นี่ถ้าเพื่อทุยทำ จะกำไรแน่นอน
     
  49. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    ทำไปเลยครับ

    เอาเงินร่วมล้านล้านบาทมาซื้อข้าวกองไว้ก็ทำมาแล้ว
    ลงเงินเพื่อก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคระดับโลกสายกรุงเทพ-เชียงใหม่รวมแล้วอีกแค่สี่แสนล้านบาทเอง ทำไปเถอะไม่ต้องกลัว

    มูลค่าที่ดินเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่ แค่ขายที่ดินก็คืนทุนแล้ว
    ไม่ต้องกลัวเจ๊ง ค่าบริหารจัดการปีละสองหมื่น-สามหมื่นล้านจิ๊บๆ แค่สองหรือสามเปอร์เซ็นต์ของงบประมาณเอง ถือว่าลงทุนไปในเงินหมุนในระบบเศรษฐกิจ เงินกำลังจะหมุนไปกำลังจะหมุนไป ประเทศชาติจะได้เจริญทัดเทียมระดับโลก รวยทันตาเห็น

    ไม่ต้องกลัวขาดทุน ยิ่งพอคนรวยจากการขายที่ดินขี้คร้านจะแห่กันขึ้นรถไฟฟามเร็วสูงให้เป็นบุญตาวาสนาส่ง ค่ารถไฟสองสามพันบาทเอง ขายที่ดินได้เป็นแสนเป็นล้าน จิ๊บจ๊อย เห็นไหมแค่นี้ก็ไม่ขาดทุนแล้ว
    แถมเศรษฐกิจโตเพราะเงินหมุนๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ คนกรุงเทพได้อานิสงค์เงินเดือนขึ้นเทียบเท่าระดับสากลยุโรปเมกา พวกนี้ทำงานกันเครียดๆจะได้นักรถไฟฟามเร็วสูงไปจิบกาแฟที่เชียงใหม่ เงินเดือนหลายแสนจ่ายค่ารถไฟไม่กี่พันขนหน้าแข้งไม่ล่วง ติ๊ปเด็กอ่างเป็นพันยังติ๊ปได้ รวมกันแค่นี้ก็ไม่ขาดทุนแล้ว แถมมีกำไรเห็นๆ

    จะจ่ายค่าดอกเบี้ยเงินกู้หรือจ่ายเงินต้นก็ไม่เท่าไหร่ ให้รัฐออกนโยบายเร่งผลิตประชากรวัยทำงาน ของประเทศไทยเพิ่มจากเจ็ดสิบล้านคนเป็นร้อยห้าสิบล้านคนเลย มีคนเยอะๆจะได้จ่ายภาษีกันเพิ่มขึ้น แค่นี้รัฐบาลก็รวยล้นฟ้าแล้ว ออกนโยบายตอนนี้รอแค่ยี่สิบปีก็เก็บภาษีได้ เห็นมั๊ยไม่ต้องรอจ่ายเงินห้าสิบปี

    จัดไปเลยครับ
     
    maya, ปู่ยง และ kokkai ถูกใจ
  50. Gop

    Gop อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    24 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    361
    ๑ ใช่ครับ ไม่ใช่ทุกคนที่มีเงิน แต่ดีมั้ยล่ะครับ ที่เราจะสร้างทางเลือก ให้คนมีเงินใช้รถไฟความเร็วสูง แล้วปริมาณรถบนถนนลดลง อุบัติเหตุลดลง ประหยัดการใช้น้ำมันของประเทศไทย ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ ได้ประโยชน์กับคนที่ไม่ได้ขึ้นรถไฟด้วยนะครับ ส่วนเรื่องปริมาณคน ผมว่าพอได้ลุ้นนะครับ
    ๒ เรื่องการทำเวลานั้น มีทางออกอยู่ครับ อย่างแรกคือการออกแบบราง ถ้าใช้ top speed ได้นาน ก็เป็นไปได้ครับ ทางออกอีกอย่างคือ ให้มีรถที่แวะจอดไม่เหมือนกัน บางขบวนจอดเฉพาะสถานีใหญ่ๆเท่านั้นเพื่อทำเวลา บางขบวนก็จอดมากหน่อย ทำแบบนี้ก็จะมีรถที่ทำเวลาเร็วกว่าสามชั่วโมง และช้ากว่าสามช่ัวโมงสิบหกนาทีได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับผู้โดยสารครับ ถ้าอยากไปไกล ก็ขึ้นขบวนจอดน้อย ในต่างประเทศก็ใช้ระบบประมาณนี้แหละครับ ( ความจริงแล้ว ระบบรถไฟธรรมดาของเราก็มีเช่นกัน คือ ธรรมดา เร็ว ด่วน ด่วนพิเศษ )
     
    ปู่ยง likes this.

Share This Page