รายงานพิเศษ : ข้าวปลอมปนโกดังชัยนาทพ่นพิษจีนยกเลิกสัญญาซื้อ "ซิงตั๊ก" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ลงนามคำสั่งทางปกครอง เรียกเงินจากอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และพวกในคดีจีทูจีข้าว มูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านบาท และนายกรัฐมนตรีรับทราบรายงานดังกล่าวแล้ว พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการออกคำสั่งทางปกครอง เรียกเงินชดเชยค่าเสียหาย คดีขายข้าวแบบรัฐ ต่อรัฐหรือจีทูจี มูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านบาท จากนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรวม 6 คน โดยระบุว่า นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ลงนามคำสั่ง และตนเองได้รับรายงานแล้ว ยืนยันหลังจากนี้ จะไม่มีการล้มมวยอย่างแน่นนอน ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา ระบุในรายงานผลศึกษาข้อกฎหมายประกอบการออกคำสั่งบังคับทางปกครอง ที่กรมการค้าต่างประเทศ ทำหนังสือเสนอให้พิจารณาเพื่อลงนามคดีจีทูจีข้าว มีการระบุว่า ผู้ที่มีอำนาจลงนามคือ นายกรัฐมนตรี กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สำหรับนักการเมืองและข้าราชการ 6 คนที่จะถูกบังคับทางปกครองชดใช้ค่าเสียหาย ได้แก่ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ นายภูมิ สาระผล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ พันตรี นายแพทย์ วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายมนัส สร้อยพลอย อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ นายทิฆัมพร นาทวรทัต อดีตรองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ และนายอัครพงศ์ ทีปวัชระ อดีตผู้อำนวยการสำนักการค้าข้าวต่างประเทศ หมายข่าวเจาะคืนนี้ คุณ สันติสุข มะโรงศรี ชี้ให้เห็นถึงการระบายข้าวยุค คสช กับ ยุคยิ่งลักษณ์ ต่างกันอย่างไร
หมายข่าวเจาะ : ค่าเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าว เราจะไปวางบิลกับใคร ค่าเสียหายเท่าไหร่ นี่คือความจริง ที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่เคยบอกประชาชน นี่คือ มหากาพย์แห่งการโกง ที่เผาผลาญเงินแผ่นดิน เงินประชาชน มากที่สุดในประวัติศาตร์ชาติไทย...เก็บเรื่องนี้เป็นบทเรียน เตือนใจไว้ กำจัดนักเลือกตั้ง กำจัดคนโกง หมายข่าวเจาะ//สันติสุข มะโรงศรี แจงความทรงจำคนทำข้าวจีทูจีเก๊ จับตามคำสั่งทางปกครอง ค่าเสียหายวางบิลที่ใคร? เท่าไหร่? หมายข่าวเจาะ//กรณีขายข้าวจีทูจี ป.ป.ช. พบตัวละครลึกลับ เช็คจ่ายซ่อนเงื่อน นำมาสู่การอายัดเงินกว่า 1,800 ล้านบาท หมายข่าวเจาะ// โครงการจำนำข้าวมีไว้ทำไม?? ใครทุจริตชาวนา. โปรดชมและแชร์ คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดในโครงการรับจำนำข้าว สรุปความเสียหายโครงการรับจำนำข้าวรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 286,639 ล้านบาท และโครงการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐของนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ และพวก 18,743 ล้านบาท
สรุปตัวเลขค่าเสียหายโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พบสูงกว่า 2.8 แสนล้านบาท หม่อมหลวงปนัดดา ดิสกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายจิรชัย มูลทองโร่ย ประธานกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดในโครงการรับจำนำข้าว รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รายงานกระบวนการโครงการรับจำนำข้าว และตรวจสอบสต๊อกข้าวที่ยังมีปัญหา โดยสรุปตัวเลขมูลค่าความเสียหายทางแพ่ง ที่เรียกร้องจาก นางสาวยิ่งลักษณ์ ในฐานะกำกับดูแลโยบายโครงการเป็นเงิน 286,639 ล้านบาท และนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และพวก 18,743 ล้านบาท โดยมีข้าวคงค้างในสต๊อก 13 ล้านตัน หลังระบายข้าวขายไปต่างประเทศได้ไม่ถึง 1 ล้านตัน ทั้งนี้ จะรายงานตัวเลขความเสียหายต่อนายกรัฐมนตรี และที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว หรือ นบข.ในวันที่ 3 สิงหาคมนี้ สำหรับตัวเลขการจำหน่ายข้าวสารในสต๊อกข้าวครั้งที่ 1/2559 นบข.อนุมัติระบายข้าวผ่านเกณฑ์มูลค่าขั้นต่ำเพียง 45,000 ตัน หรือร้อยละ 2 จากประกาศขาย 1,600,000 ตัน เพราะไม่ต้องการให้กระทบต่อราคาข้าวในตลาด และเป็นการส่งสัญญาณว่าผู้ที่มากดราคาซื้อ จะไม่ได้ข้าวไปใช้ โดยรัฐยอมรับภาระเพื่อไม่ให้ราคาต่ำกว่าเกณฑ์และส่งผลกระทบตลาดข้าว กรรมการสอบข้อเท็จจริงทางละเมิด สรุปตัวค่าเสียหายโครงการจำนำข้าว ที่จะฟ้องเรียกเงินชดเชยจากอดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รวมแล้วมากกว่า 3 แสนล้านบาท หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผย จากการพูดคุยกับนายจิรชัย มูลทองโร่ย ประธานกรรมการสอบข้อเท็จจริงความผิดทางละเมิด ในโครงการรับจำนำข้าว และการระบายสต๊อกข้าวที่มีปัญหา ทราบว่าตัวเลขฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่ง กับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อย่างเป็นทางการ คือ 286,639 ล้านบาท ส่วนนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และพวก รวม 6 คน ในคดีระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ หรือ จีทูจีข้าว จำนวน 18,743 ล้านบาท และจะส่งข้อมูลดังกล่าว ไปยังคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ในวันที่ 3 สิงหาคมนี้ เพื่อดำเนินการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่อไป นอกจากนี้ ยังเปิดเผยตัวเลขในส่วนของข้าวคงค้างการระบาย อยู่ที่จำนวน 13 ล้านตัน ที่ผ่านมาส่งออกไปยังต่างประเทศแล้ว ไม่ถึง 1 ล้าน พร้อมระบุว่าตัวเลขค่าเสียหาย พิจารณาอย่างรอบคอบ ไม่ได้ทำตามอำเภอใจ
สด!! จากทำเนียบรัฐบาล นายกฯ แถลงหลังประชุมข้าว หมายข่าวเจาะ กับ สันติสุข มะโรงสี เจาะสัมภาษณ์ ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร เจ๊งจำนำข้าวยุคปู 5 แสนล้าน เพราะการระบายข้าว กระทรวงพาณิชย์ เตรียมปิดบัญชีเรียกค่าเสียหายจำนำข้าวกันยายนนี้ คาดไม่ต่ำกว่า 305,000 ล้านบาท นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า เบื้องต้นค่าเสียหายโครงการรับจำนำข้าว ในส่วนของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีตัวเลขอยู่ที่ 2.8 แสนล้านบาท ขณะที่ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ และพวก อยู่ที่ประมาณ 18,000 ล้านบาท แต่ ยังต้องประเมินความเสียหายของข้าวที่เหลือในสต๊อกประมาณ 13 ล้านตันก่อน ซึ่งจะสรุปได้ทั้งหมดไม่เกินเดือนกันยายนนี้ เพื่อให้นายกฯ และ รมว.พาณิชย์ ลงนามในคำสั่งทางปกครอง เพื่อให้ชดใช้ค่าเสียหายคดีทางแพ่งต่อไป ส่วนคดีอาญาโครงการทุจริตจำนำข้าว ในวันพรุ่งนี้ จะเป็นการไต่สวนพยานฝ่ายจำเลย ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนัดแรก โดย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้แถลงเปิดคดีด้วยตนเอง ขณะที่ การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติในวันพรุ่งนี้ เตรียมยื่นกระทู้ถามนายกฯ ถึงความคืบหน้า ในการเรียกค่าเสียหายในโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งขณะนี้เวลาผ่านมา 1 ปีแล้ว มีความคืบหน้าไปถึงไหน มีความเสียหายเกิดขึ้นจำนวนเท่าใด
กระทรวงการคลังยืนยันความเสียหายทางแพ่ง ในโครงการรับจำนำข้าว สามารถเรียกคืนจากผู้เกี่ยวข้องได้ ภายในเดือนสิงหาคมนี้ แต่เปิดโอกาสให้อุทธรณ์ได้ คณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการจำนำข้าว สรุปผลการปิดบัญชีข้าว เดือนกันยายน 2558 ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 4 หมื่นล้านบาท นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว กล่าวว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้รับทราบการปิดบัญชีข้าว จำนวน 15 โครงการ ณ วันที่ 30 กันยายน 2558 แล้ว พบว่า ตัวเลขการขาดทุนเพิ่มขึ้นจากการปิดบัญชีครั้งก่อน(30 ก.ย.57) ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท ทำให้ผลขาดทุนรวมล่าสุดอยู่ที่ 7 แสน 4 หมื่นล้านบาท จากปี 2557 ที่ขาดทุน 7 แสนล้านบาท แบ่งเป็น 11 โครงการก่อนรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขาดทุนกว่า 1 แสน 6 หมื่น 3 พันล้านบาท และ 4 โครงการ สมัยรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ขาดทุนกว่า 5 แสน 3 หมื่น 6 พันล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2557 ขาดทุนกว่า 5 แสน 2 หมื่น 2 พันล้านบาท ส่วนการเรียกความเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าว ขณะนี้นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะประธานคณะกรรมการความรับผิดทางแพ่ง อยู่ระหว่างพิจารณาเรียกค่าเสียหายจากนางสาวยิ่งลักษณ์ จะสรุปให้แล้วเสร็จในเดือนนี้(ส.ค.59) ก่อนส่งให้ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พิจารณา และเสนอนายกรัฐมนตรี ออกคำสั่งทางปกครองเพื่อชดใช้เงินค่าเสียหาย หากผู้ถูกกล่าวหาไม่เห็นด้วย สามารถยื่นคำร้องต่อศาลปกครองได้ ด้านนายมนัส ระบุความเสียหายจากการโครงการรับจำนำ ต้องพิจารณาตามสำนวนข้อมูล ขณะนี้รอนายจิรชัย มูลทองโร่ย รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ส่งมาให้โดยอ้างอิงพยานหลักฐานเป็นหลัก ยืนยันคณะกรรมการฯ ต้องการให้ผลตัดสินเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ไม่ตั้งใจเอาผิดใครเป็นกรณีพิเศษ ส่วนความเสียหายกรณีการทุจริตการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ หรือ ทีจูจี นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางแพ่ง พบเป็นข้าราชการ 3 ราย และนักการเมือง 3 ราย มูลค่าความรับผิดค่าเสียหาย 2 หมื่น 5 พัน 7 ร้อยล้านบาท ขณะนี้รอกระทรวงพาณิชย์ มีคำสั่งเรียกชดใช้ค่าเสียหาย ส่วนคดีอาญา อัยการสูงสุด ได้ฟ้องร้องนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ และนายภูมิ สาระผล ต่อศาลอาญาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว และได้ยื่นคำร้องในส่วนแพ่งเรียกค่าเสียหายจากเอกชนในคดีอาญาด้วย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ชี้แจงเอกสารลับ ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อ้างในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในระหว่างให้ปากคำคดีจำนำข้าว เมื่อวันที่ 5 ส.ค.ที่ผ่านมา เอกสารที่อดีตนายกรัฐมนตรี อ้างเป็นบันทึกการประชุมการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 3/2558 โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ระบุว่า เป็นการประชุมลับ และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประธาน นบข.สั่งการให้การประเมินความเสียหาย ไม่ต้องพิจารณาประเด็นยุติธรรม แต่พิจารณาให้ทันกรอบเวลา นางสาวชุติมา บุญประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า เอกสารดังกล่าวเป็นบันทึกการประชุม นบข.วาระปกติ วันที่ 18 พฤษภาคม 2558 แต่มีข้อพิจารณานอกจากวาระปกติ จึงกำหนดอยู่ในวาระลับ เพราะเป็นเรื่องที่ยังไม่ได้ข้อยุติ จึงเปิดเผยไม่ได้ และคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดในคดีการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ต้องดำเนินการให้เสร็จ เพื่อไม่ให้ขาดอายุความ และขั้นตอนยังไม่สิ้นสุดต้องส่งให้กรมบัญชีกลาง พิจารณาความรับผิดชอบทางแพ่งต่อ ส่วนที่ระบุว่า ไม่ต้องพิจารณาประเด็นยุติธรรมนั้น ไม่ได้หมายถึง ไม่ต้องให้ความยุติธรรมเลย แต่ผู้ถูกร้องยังมีสิทธิ์ตามกระบวนการยุติธรรม โดยสามารถร้องศาลปกครองกลางให้เพิกถอนคำสั่งเรียกค่าเสียหายได้ และอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดได้อีก หมายข่าวเจาะ กับ สันติสุข มะโรงศรี ผ่าปมระบายข้าวยุค คสช กับข้อเสนอล้างสต๊อค รัฐบาลยังไม่สรุปตัวเลขเรียกค่าเสียหายทางแพ่งโครงการรับจำนำข้าว หลังมีข่าวจากเสียหาย 2.8 แสนล้านบาทเหลือ 1.7 แสนล้านบาท และอดีตนายกรัฐมนตรีรับผิดร้อยละ 20 มีรายงานว่าคณะกรรมการรับผิดทางแพ่ง สรุปความเสียหาย พบว่าจากยอดดังกล่าวนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบ 35,717 ล้านบาท ที่เหลือเป็นส่วนของข้าราชการ โดยจะมีการสรุปตัวเลขสุดท้ายภายในเดือนกันยายน และอยู่ที่การพิจารณาของศาลต่อไป
การเปิดประมูลข้าวของรัฐบาลตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา มีผลกระทบต่อสถานการณ์ข้าวไทยอย่างไรบ้าง ติดตามจากรายงานคุณจุฬารัตน์ ม่วงแก้ว รัฐบาลได้พยายามเร่งระบายข้าวในสต็อกรัฐบาล หวังจะช่วยเคลียร์ข้าวเก่าสมัยโครงการรับจำนำข้าว ที่ค้างอยู่กว่า 18 ล้านตัน เพราะยิ่งปล่อยนานวันยิ่งเสื่อมสภาพ แถมเป็นภาระในการจัดเก็บอีกด้วย ซึ่งตั้งแต่ คสช.เข้ามาอนุมัติขายข้าวในโกดังรัฐบาล สามารถระบายข้าวออกไปได้ไม่ต่ำกว่า 7.30 ล้านตัน มูลค่ารวมกว่า 76,000 ล้านบาท จนทำให้ขณะนี้มีข้าวเหลืออยู่ในสต็อกอีกกว่า 9 ล้านตัน และล่าสุดยังมีการยื่นซองประมูลข้าวเป็นการทั่วไป และเพื่อเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมได้อีกกว่า 10.05 ล้านตัน ซึ่งยังต้องรอการต่อรองราคา และอนุมัติการขาย ภาครัฐเองตั้งเป้าจะโละสต็อกข้าวเก่าให้หมดภายในกลางปีหน้า โดยมีแผนการระบายที่รอบคอบ พิจารณาสถานการณ์ข้าวก่อนตัดสินใจเปิดประมูล เพื่อไม่ให้กระทบราคาตลาด และไม่ใช่เพียงขายข้าวเก่าเท่านั้น แต่ยังคงหาตลาดขายข้าวใหม่ เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดควบคู่ไปด้วย โดยวันพรุ่งนี้พร้อมสู้เต็มที่ เข้าร่วมประมูลข้าวฟิลิปปินส์ กว่า 2.5 แสนตัน เพื่อสร้างความมั่นใจว่า ผลผลิตใหม่ข้าวไทยที่จะออกมามีตลาดรองรับแน่นอน แนวทางระบายข้าวที่ผ่านมา แม้ว่าจะมาถูกทาง แต่ช่วงนี้เอกชนมองว่าควรพักเอาไว้ก่อน เพราะผู้ซื้อยังเงียบเหงา และผลผลิตกำลังจะออกมา หากระบายอีกจะยิ่งกดราคาลดลง และเริ่มไม่มั่นใจแล้วว่า ปีนี้ไทยจะครองแชมป์ส่งออกข้าวของโลกได้หรือไม่ แม้ว่าครึ่งปีแรกที่ผ่านมา จะนำคู่แข่งอยู่ แต่ผลผลิตของ ทั้งเวียดนาม และอินเดียกำลังจะออกมามาก แถมราคาก็ถูกกว่าไทยด้วย ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว รวมถึงผลผลิตที่กำลังจะออกมามาก ถือเป็นความท้าทายที่ รัฐต้องจัดการแผนระบาย และส่งออกข้าวให้ดี เพราะแม้ว่าข้าวไทยจะคุณภาพที่ดีเยี่ยม แต่ผู้ซื้อยังมีกำลังซื้อต่ำหากระบายไม่ถูกที่ถูกเวลา ก็จะมีผลกระทบต่อตลาดข้าวโดยรวมอย่างแน่นอน นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีมีข่าวว่า กระทรวงพาณิชย์จะขอเสนอให้ใช้มาตรา 44 บังคับทางปกครองยึดทรัพย์อดีตนักการเมือง และข้าราชการ 6 คนที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายจากการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ว่า ไม่เคยมีความคิดจะใช้กระบวนการใดนอกเหนือจากกระบวนการทางกฎหมายที่มีอยู่ โดยเฉพาะพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐพ.ศ.2539 มีอย่างไรก็ปฏิบัติตามนั้น 3 พันคดีที่ผ่านมา เป็นการยึดทรัพย์จำนวน 2 แสนบาทบ้าง 5 ล้านบาทบ้าง 3 ล้านบาทบ้าง ซึ่งยึดกันเอง โดยเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่กระทรวงไหนกระทรวงนั้นก็ไปยึดหรือายัด ซึ่งเขามีปัญญาทำ แต่เอาเข้าจริงอาจไม่ได้ยึดทรัพย์เพราะมีการไปร้องศาลให้คุ้มครอง แต่คราวนี้เจอหลายหมื่นล้าน เขาไม่มีปัญญาที่จะทำเพราะไม่ใช่ มืออาชีพที่จะทำเรื่องนี้ อาจต้องให้หน่วยงานอื่นจัดการ ตรงนี้จึงต้องใช้มาตรา 44 ไปสั่งการให้หน่วยงานอื่นมาทำ แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจ “สิ่งที่ผมพูด อาจจะพูดกันปากต่อปาก ก็มีบิดเบือน กลายเป็นจะใช้มาตรา 44 ยึด ซึ่งเราไม่ได้ใช้มาตรา 44 ยึด แต่ถ้าคำสั่งออกก็ต้องยึดอยู่ดี แต่ใครจะเป็นคนไปยึด หากเป็นกระทรวงพาณิชย์ ไม่มีทางที่จะทำได้ คนที่ทำได้คือกรมบังคับคดีซึ่งเขามีหน้าที่เรื่องนี้อยู่แล้ว ซึ่งต้องยึดตามคำสั่งศาล แต่วันนี้ไม่ได้ยึดตามคำสั่งศาลเพราะเป็นการยึดตามคำสั่งทางปกครอง เราเคยให้กรมบังคับคดีไปช่วยทำแล้วครั้งหนึ่งในคดีภูทับเบิก ซึ่งไม่ใช่เรื่องของกรมบังคับคดี แต่เป็นเรื่องของสปก. ตรงนั้นก็ใช้มาตรา 44 ให้กรมบังคับคดีช่วยจัดการ ตรงนี้อาจใช้วิธีอย่างเดียวกันเท่านั้น ไม่ได้ใช้มาตรา 44 ยึด แต่เมื่อจะต้องยึดหน่วยงานใดจะเป็นคนยึด หากไม่ยึดก็ผิดมาตรา 157 เพราะมีคำสั่งทางปกครองแล้ว แต่หากจำเลยร้องศาลคุ้มครองชั่วคราว ศาลปล่อยก็จบ หากจำเลยไม่ร้องศาลก็ต้องยึดเพราะ ทำผิด ซึ่งพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดฯ มีอยู่ ใช้มากกว่า 3 พันรายแล้ว ยืนยันไม่มีคำสั่งมาตรา 44 ไปยึดทรัพย์ใครเป็นอันขาด แต่เมื่อถึงเวลาก็ต้องยึดเพราะมันเป็นวิธี”นายวิษณุ กล่าว ทั้งนี้แสดงว่ากระทรวงพาณิชย์ไม่กล้าลงนามคำสั่งเพราะกลัวต้องง รับผิดชอบภายหลังหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า คงไม่ใช่ เขาไม่ได้กลัว เพราะมีข้อกฎหมาย ซึ่งเขาเข้าใจแล้ว แต่เดิมกระทรวงพาณิชย์อาจไม่เข้าใจ เพราะมีปัญหาว่าจะต้องลงนามสองฝ่าย สามฝ่าย ส่วนกระบวนการ ณ ตอนนี้จะออกมาในรูปแบบใด นายวิษณุ กล่าวว่า “ผมยังไปไม่ถึงขั้นนั้นเพราะคำสั่งยึดยังไม่ออกมาสักคน ปัญหาคือถ้าคำสั่งออก ซึ่งออกโดยไม่ใช้มาตรา 44 เลยแม้แต่นิดเดียว ปัญหาคือใครจะนำยึด เวลาศาลตัดสินให้จำเลยผิด คดีอื่นๆ ใครเป็นคนนำยึดก็กรมบังคับคดี” ทั้งนี้หลายคนมองว่ารัฐบาลจ้องทำลายฝ่ายตรงข้ามในทุกประเด็น นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ใช่ หากจะตั้งข้อสังเกตก็ตั้งได้ ในเรื่องนี้อายุความสั้นยาวต่างกัน หากทำกับคนอื่นอายุความยังยาว 10 ปี แต่อายุความเรื่องนี้สั้นจึงต้องรีบทำ อีกทั้งป.ป.ช.ส่งเรื่องมา และขู่ให้รีบทำ รวมถึงปัญหาอายุความ ทั้งหมดเป็นกระบวนการที่ต้องเดินไป “วิษณุ” ระบุ “มีชัย” ส่งคนดูอินเดียโมเดลเพื่อศึกษาแนวปฏิบัติกกต. จัดเลือกตั้งได้ ชี้เพราะต่างชาติไร้แรงกดดัน ลั่นสุดท้ายไทยไปไม่พ้น 3 โมเดลเดิม เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 7 กันยายน ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ให้คนไปศึกษาการจัดการเลือกตั้งของประเทศอินเดียที่มีประชากร พันกว่าล้านคน แต่มีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพียง 1 คนที่ทำหน้าที่จับตาดู และมีคนกำกับดูแลเลือกตั้งว่า นายมีชัยเคยปรารภให้ฟังเท่านั้น แต่สำหรับรัฐธรรมนูญไทยวันนี้ระบุไว้แล้วว่า กกต.ต้องมี 7 คน แล้วจะกลับไปใช้ 1 คนได้อย่างไร จะไปฆ่าอีก 6 คนได้อย่างไร ส่วนการที่นายมีชัยให้คนไปศึกษาว่า กกต.อินเดียคนเดียวทำไมเขาถึงทำได้นั้นไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะเมื่อถึงเวลาเลือกตั้งเขาก็ให้หน่วยงานอื่นไปจัดการให้ เช่นผู้ตรวจการแผ่นดินส่วนใหญ่หลายประเทศในโลกมีคนเดียว แต่พอต่างชาติมาดูงานประเทศเราที่มีผู้ตรวจฯ ถึง 3 คนเขาก็บอกว่ามันเยอะ ทั้งนี้ หากให้กกต.เพียงคนเดียวจัดการเลือกตั้งจะรับมือกับแรงกดดันไหวหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า “ไม่ใช่เรื่องของแรงกดดัน เพราะ 1.ในต่างประเทศไม่มีแรงกดดันอะไร แต่ประเทศไทยกดดันทั้งนั้น และ 2.การที่เขามีอำนาจเพราะเขาเป็นผู้จัดวางระเบียบ จากนั้นเขาก็ไปให้คนอื่นปฏิบัติ จึงถูกต้องแล้วที่กรธ.จะให้คนไปศึกษาอินเดียโมเดลหรือจะโมเดลสารพัดรูปแบบในโลก แต่เชื่อผมเถอะว่าสุดท้ายจะจบแบบ 3 โมเดลที่ผมบอกไปเท่านั้น คือ 1.ให้กกต.เป็นคนจัดอำนวยการตั้งแต่ต้นจนจบ 2.ให้กกต.เป็นคนจัดวางระเบียบหรือเล็กกูเลเตอร์ คือเป็นผู้แจกใบเหลือง ใบแดง ส่วนเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติหรือโอเปอร์เรเตอร์ให้ใช้เจ้าหน้าที่ของฝ่ายบริหารปกติ และ 3.ให้องค์กรอื่นเข้ามาจัดการ ซึ่งหากมีองค์กรอื่นเข้ามาช่วย ไม่ต้องไปนึกว่าเป็นกระทรวงมหาดไทย แต่หากสมมุติว่าจะเอามาก็ได้ อาจจะเป็นครู แพทย์ พยาบาล หรือผู้สื่อข่าวก็ได้ทั้งนั้น” ส่วนแนวคิดของนายมีชัย ที่ให้คนไปศึกษาก็เพื่อให้เห็นการทำงานของกกต. ของเรา นายวิษณุ กล่าวว่า ท่านต้องการนำมาดู และเปรียบเทียบ เพราะท่านเคยพูดว่าคนพูดกันมากว่ากกต. อินเดียมี 1 คน แต่ทำไมเขาทำได้อย่างไร ทั้งนี้เราอาจจะเรียกเขามาศึกษาที่ไทยหรือจะไปดูงานที่อินเดียก็ได้ ปลัดพาณิชย์ เผย ยังมีคดี ข้าว จีทูจี ที่อยู่ในระหว่างการสอบสวนของ ป.ป.ช.อีก 10 คดี พร้อมเดินหน้ารับมือปริมาณข้าวฤดูกาลใหม่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจมาตรา 44 กำหนดแนวทางการบริหารจัดการสินค้าเกษตรในสต๊อกรัฐ และการดำเนินการรับผู้ที่ต้องรับผิด ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่คําสั่งหัวหน้า คสช.ดังกล่าว กำหนดแนวทางการดำเนินการกับผู้รับผิดและการเรียกให้มาชดใช้ความเสียหาย โดยเมื่อมีคำสั่งทางปกครอง หรือ คำสั่ง หรือ คำพิพากษาศาลแล้วแต่กรณี ที่ให้บังคับทางปกครองต่อผู้รับผิดชอบโครงการจำนำข้าว ตั้งแต่ปีการผลิต 2548/49 ถึง 2556/57 โครงการแทรกแซงราคามันสำปะหลัง ปีการผลิต 2551/2552 และโครงการแทรกแซงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2551/2552 ให้กรมบังคับคดีมีอำนาจใช้มาตรการบังคับทางปกครอง เพื่อบังคับคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยเจ้าหน้าที่กรมการบังคับคดีที่ดำเนินการอย่างสุจริต จะได้รับการคุ้มครองไม่ต้องรับผิดทางแพ่ง // อาญา // และทางวินัย นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี อธิบายเพิ่มเติมว่า คำสั่งนี้ไม่ใช่การใช้อำนาจ คสช.สั่งยึดทรัพย์ แต่เป็นการให้อำนาจกรมบังคับคดีดำเนินการยึดทรัพย์ ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ที่เป็นหน่วยงานออกคำสั่งยึดทรัพย์ แจ้งว่ายึดทรัพย์เองไม่ได้ เพราะมีมูลค่าทรัพย์สินที่ต้องยึดจำนวนมาก และมีรายละเอียดมาก จึงเสนอให้หน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญดำเนินการ "ประยุทธ์"ยืนยันไม่ใช่คำสั่งเพื่อยึดทรัพย์ ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า คำสั่งนี้ เป็นเพียงการให้อำนาจกรมบังคับคดีเข้าไปดำเนินการ ในกรณีที่คดีถึงที่สุด ไม่ใช่การใช้คำสั่งเพื่อยึดทรัพย์ สำหรับความเสียหายจากโครงการจำนำข้าว // คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดจากโครงการรับจำนำข้าว สรุปความเสียหายที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ต้องชดใช้ 286,000 ล้านบาท ในขณะที่กระทรวงพาณิชย์สรุปความเสียหายจากการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐจากนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ และพวก รวม 20,000 ล้านบาท
ป.ป.ท. เร่งสอบสวนคดีทุจริตจำนำข้าว โดยเริ่มภายในเดือนตุลาคมนี้ ตั้งเป้าแล้วเสร็จภายในเวลา 5-6 เดือน นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ หรือ ป.ป.ท. เปิดเผยถึงการสืบสวนสอบสวนคดีทุจริต โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ว่าขณะนี้ ป.ป.ท.ได้รับการร้องเรียนให้ตรวจสอบการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว กว่า 850 สำนวน โดยเป็นการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ ระดับเจ้าหน้าที่คลังสินค้า ซึ่งอยู่ในอำนาจการไต่สวนของ ป.ป.ท. อย่างไรก็ตาม หากมอบหมายให้ ป.ป.ท.เขตพื้นที่ต่างๆ สืบสวนสอบสวนอาจใช้เวลายาวนาน 1-2 ปี จึงได้เห็นชอบในแนวทางให้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นไต่สวนคดี เพื่อระดมกำลังเจ้าหน้าที่ มาเร่งสอบสวนคดีทุจริตจำนำข้าว โดยเริ่มภายในเดือนตุลาคมนี้ ตั้งเป้าแล้วเสร็จภายในเวลา 5-6 เดือน โดยทาง ป.ป.ท.จะจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน แนวทางการตรวจสอบให้ทุกเขต พื้นที่สืบสวนสอบสวน ไปในแนวทางเดียวกัน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน ปี 2560 และสามารถสรุปสำนวนเสนอคณะกรรมการป.ป.ท.ไต่สวนเพื่อชี้มูลความผิดในคดีอาญาได้ ป.ป.ท. ตั้งคณะอนุกรรมการเร่งรัดคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวกว่า 850 สำนวน ตั้งเป้าให้แล้วเสร็จภายในเวลา 5-6 เดือน ตั้งงบคืนหนี้จำนำข้าว 5.9 หมื่นล้าน คาดใช้เวลา 16 ปีคืนครบ 5 แสนล้าน รัฐบาลตั้งงบปี 60 จ่ายคืนหนี้โครงการรับจำนำข้าวให้ ธ.ก.ส.รวม 5.9 หมื่นล้าน จากยอดหนี้รวมกว่า 5 แสนล้านบาท แยกเป็นคืนเงินต้น 3.9 หมื่นล้าน และดอกเบี้ย 2 หมื่นล้าน ด้าน ธ.ก.ส.คาดต้องใช้เวลาถึง 16 ปีถึงจะคืนหนี้หมด ช่วงที่มีการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ให้ ธนาคารเพื่อการเกษตรกและสหกรณ์ หรือ ธ.ก.ส.ออกพันธบัตร โดยกระทรวงการคลังค้ำประกัน ในวงเงิน 4 แสนล้านบาท และเป็นเงินกู้โดยตรงจาก ธ.ก.ส.อีก 1.1 แสนล้านบาท รวมเป็น 5.1 แสนล้านบาท ซึ่งรัฐบาลจะตั้งงบเพื่อชำระเงินกู้ดังกล่าวตั้งแต่งบประมาณปี 2560 นี้ เมื่อไปสอบถาม ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ลักษณ์ วจนานวัช บอกถึงเรื่องนี้ว่า ในปีงบประมาณรายจ่าย 2560 ที่จะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. นี้ รัฐบาลได้ตั้งงบประมาณจ่ายคืนเงินต้นที่กู้ยืมมาเพื่อใช้ในโครงการรับจำนำข้าวให้กับธ.ก.ส.จำนวน 5.9 หมื่นล้านบาท แยกเป็นคืนเงินต้น 3.9หมื่นล้านบาท และจ่ายดอกเบี้ยประมาณ 2 หมื่นล้านบาทเพราะฉะนั้นถ้ามีการตั้งงบประมาณจ่ายคืนหนี้ในระดับนี้ การทยอยชำระหนี้เงินกู้ กว่า 5.1 แสนล้านบาทของโครงการจำนำข้าวคาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลานานประมาณ 16 ปี สรุปตัวเลขยิ่งลักษณ์ชดใช้ก่อนสิ้นเดือนนี้ กรมบัญชีกลางปัดตอบชี้เป็นความลับ มาดูในส่วนของการฟ้องร้องค่าเสียหาย จากนักการเมืองและข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกทุกเมล็ดในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ก็มีรายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง ว่า ยังอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณา ซึ่งตามขั้นตอนของประกาศที่ออกตามความใน พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิด กำหนดให้สำนักนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ชุดนี้มี นายจิรชัย มูลทองโร่ย เป็นประธานกรรมการสอบพบความเสียหายโครงการรับจำนำข้าวรัฐบาลในความรับผิดชอบของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ 286,639 ล้านบาท และโครงการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐในความรับผิดชอบของนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และพวก อีก18,743 ล้านบาท แต่การเรียกค่าเสียหายจากบุคคลที่เกี่ยวข้องจะเป็นเท่าไหร่ ทางกระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลางในฐานะคณะกรรมการรับผิดทางแพ่งจะส่งต่อให้หน่วยงานที่เสียหายในกรณีนี้คือกระทรวงพาณิชย์ และสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อออกคำสั่งทางปกครอง เรียกค่าเสียหายจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสามารถอุธรณ์ ต่อศาลได้ หากไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปก่อนสิ้นเดือนนี้ แต่ตัวเลขความเสียหายที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ต้องชดใช้นั้น คงไม่สามารถเปิดเผยตัวเลขได้ เพราะถือเป็นความลับ และต้องเสนอให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณา ซึ่งคณะกรรมการต้องสงวนตัวเลขไว้เพื่อให้ผู้ที่มีอำนาจลงนามเรียกร้องค่าเสียหายในการพิจารณา เนื่องจาก ผู้ที่ลงนามเรียกร้องค่าเสียหายอาจมีความเห็นในเรื่องตัวเลขที่ไม่ตรงกับคณะกรรมการฯก็ได้ ถือเป็นมารยาทที่ไม่ควรเปิดเผยตัวเลขไปก่อน ซึ่งถ้าพิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้วเสร็จ จะส่งผลสรุปไปยังรองปลัดกระทรวงการคลังที่กำกับดูแลกรมบัญชีกลาง จากนั้น จึงจะส่งไปยังต้นสังกัดของนางสาวยิ่งลักษณ์ ทนายฯ "ยิ่งลักษณ์" จวกคำสั่งให้กรมบังคับคดียึดทรัพย์ ส่วนทางฝากฝั่งคุณยิ่งลักษณ์ก็ต้องบอกค่ะว่าเริ่มออกมาเรียกร้อง ท้วงติง คำสั่งดังกล่าว เริ่มจาก นายนพดล หลาวทอง ทนายความน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มองว่า คำสั่ง มาตรา 44 ให้อำนาจกรมบังคับคดีในการบังคับทางปกครอง ด้วยการยึดทรัพย์นั้นไม่ถูกต้องและเป็นธรรมเพราะรวบรัดหลีกเลี่ยงที่จะไม่ไช่กระบวนการพิจารณาโดยศาลยุติธรรมปกติ แต่กับตัดตอนใช้วิธีคำสั่งทางปกครองให้รับผิดทันทีแทนการฟ้องคดีต่อศาล รวมถึงชี้นำการพิจารณาคดีอาญาที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลและคณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่งที่ยังพิจารณาคดียังไม่เสร็จสิ้น ฝืนกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้ามขั้นตอนและเลือกปฎิบัติ และการออกคำสั่งนี้ จึงมีลักษณะเป็นการก้าวล่วงและก้าวก่ายไปใช้อำนาจหน้าที่ของกรมบังคับคดีที่เป็นอำนาจสั่งการของศาลยุติธรรม จึงไม่ชอบด้วยหลักนิติธรรมเป็นอย่างยิ่ง ทั้งหมดนี้ตนในฐานะทนายความของน.ส. ยิ่งลักษณ์จึงไม่เห็นด้วยและขอคัดค้านการออกคำสั่งดังกล่าว เรืองไกรร้องนายกฯ ใช้ ม.44 ยึดทรัพย์ส่อมิชอบ และในวันนี้ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย เตรียมไปร้องเรียน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นากยรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาลถึงการใช้ มาตรา 44 ให้อำนาจการจะยึดทรัพย์คดีจำนำข้าวส่อมิชอบและการปิดบัญชีข้าวก็ยังไม่เคลียร์ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เรียกร้องรัฐบาลให้ความเป็นธรรมอย่าเลือกปฏิบัติคดีจำนำข้าว ขณะที่นายกรัฐมนตรี ระบุดำเนินการเรียกค่าเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าวตามกฎหมาย ย้ำหากไม่ดำเนินการ จะเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการยึดทรัพย์ในคดีโครงการรับจำนำข้าวที่เหลืออีกร้อยละ 80 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เหลือจากร้อยละ 20 ในส่วนของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ หรือ ป.ป.ท.จะไปดำเนิการไต่สวนข้อเท็จจริงว่าบุคคลใดต้องร่วมรับผิดชอบเป็นลูกหนี้ร่วมกับนางสาวยิ่งลักษณ์ บ้าง ซึ่งมีทั้งข้าราชการในกระทรวงต่างๆ และบริษัทเอกชน นายวิษณุ กล่าวว่า การสรุปตัวเลขของกรมบัญชีกลาง ที่เรียกค่าเสียหายจากนางสาวยิ่งลักษณ์ จำนวน 3.5 หมื่นล้านบาท ดำเนินการตาม พ.ร.บ.การรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ พ.ศ 2539 โดยคิดมูลค่าความเสียหายเฉพาะส่วนที่เกิดขึ้นภายหลังที่ ป.ป.ช.ส่งหนังสือแจ้งเตือน ในช่วงฤดูกาลที่ 3 และ 4 จากทั้งหมด 4 ฤดูกาล ซึ่งคิดเป็นเงิน 1.7 แสนล้านบาท ในช่วงที่นางสาวยิ่งลักษณ์ เป็นประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ หรือ กขช. พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยืนยันจะให้ความเป็นธรรมตามกฎหมายกับนางสาวยิ่งลักษณ์ กรณีโพสเฟสบุ๊คขอความเป็นธรรมในคดีโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งนำไปเทียบเคียงกับกรณีของลูกชายปลัดกระทรวงกลาโหม ด้านนายนพดล หลาวทอง ทนายความส่วนตัวนางสาวยิ่งลักษณ์ ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล กรณีการใช้อำนาจมาตรา 44 กับการเรียกค่าเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าว หลังมีคำสั่งทางปกครอง เป็นเงินกว่า 3 หมื่นล้านบาท โดยเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมใน 4 ประเด็น ประกอบด้วย 1.ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการใช้อำนาจพิเศษ 2.คำสั่งดังกล่าว เป็นการเตรียมการบังคับคดีล่วงหน้าก่อนการตรวจสอบจะแล้วเสร็จ และชี้นำผลให้ออกมาในทางเดียว 3.การใช้มาตรา 44 ไม่เป็นไปตามหลักการ เพราะออกคำสั่งเฉพาะคดีจำนำข้าว แต่ไม่บังคับกับคดีทั่วไป และ 4.คำสั่งนี้ ขัดต่อกฎบัตรแห่งสหประชาชาติ ซึ่งไทยร่วมเป็นภาคีต้องปฏิบัติตาม นายนพดล ย้ำว่า การออกคำสั่งให้กรมบังคับคดี มีอำนาจหน้าที่ใช้มาตรการบังคับทางปกครอง ขัดแย้งกับหลักปฎิบัติทั่วไป เพราะหากมีการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดจริง ก็ควรให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต่อสู้ตามกระบวนการ แต่กรณีนี้ไม่สามารถโต้แย้งไปยังหน่วยงานใดได้ พร้อมระบุ จะติดตามผลหลังการยื่นหนังสือ ซึ่งหากไม่มีความคืบหน้าจะเดินหน้าใช้สิทธิ์ขอความเป็นธรรมในทุกช่องทางที่มีอยู่ต่อไป.
เมื่อวานนี้ (28 ก.ย.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้อธิบายการเรียกค่าเสียหายจากโครงการจำนำข้าวให้กับคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบ โดยความเสียหายจำนำข้าวที่คณะกรรมการพิจารณารับผิดทางแพ่ง สรุปความเสียหาย 2 ฤดูการผลิต คือ 2555/56 และ 2556/57 รวมวงเงิน 178,000 ล้านบาท แบ่งเป็นส่วนที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ต้องรับผิดชอบความเสียหาย 35,000 ล้านบาท คิดเป็น 20% ของความเสียหายทั้งหมด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องหาผู้ชดใช้อีก 143,000 ล้านบาท คิดเป็น 80% ของความเสียหายทั้งหมด สำหรับ คดีที่ต้องดำเนินการเพื่อหาผู้รับผิดชอบความเสียหาย 850 คดี ครอบคลุมพื้นที่ 33 จังหวัด เช่น กำแพงเพชร 100 คดี นครสวรรค์ 200 คดี ซึ่งทั้ง 2 จังหวัดเป็นพื้นที่ที่มีการค้าข้าว มีโกดังและโรงสีมาก โดยคดีที่เกิดขึ้น เช่น ข้าวหาย ข้าวในโกดังผิดชนิด ซึ่งคดีเหล่านี้อยู่ในการดำเนินการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) แล้ว โดยอายุความคดีเหล่านี้มี 2 ปี นับจากรู้ตัวผู้ทำผิด และเริ่มดำเนินคดี นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อธิบายเพิ่มเติมว่า คดีข้าว 850 คดี ครอบคลุมทั้งข้าราชการ และเอกชน เช่น เจ้าของโรงสี, ผู้รับฝากข้าว, เซอร์เวย์เยอร์, องค์การคลังสินค้า (อคส.), องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม.เห็นชอบให้ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอ.ตช.) เป็นเจ้าภาพในการประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ, สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.), กรมสอบสวนคดีพิเศษ, สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อสอบสวนว่ามีใครเกี่ยวข้องบ้าง รัฐบาลเปิด 2 กลุ่มใหญ่ที่ถูกเรียกค่าชดเชยความเสียหายโครงการรับจำนำข้าว รวมเกือบพันราย ขณะที่กรณีปลัดกระทรวงกลาโหม ประธาน ศอตช.บอกยังตรวจสอบไม่ได้ โดยพลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และประธานศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ หรือ ศอตช.บอกว่ากรณีภรรยา และบุตรชายของพลเอกปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม ยังไม่สามารถตรวจสอบได้ เพราะเกรงเป็นการแทรกแซงองค์กรอิสระ อีกทั้ง ศอตช.ไม่มีอำนาจตรวจสอบในเชิงรุก เว้นแต่มีผู้ยื่นร้องต่อ ศอตช.โดยตรงเท่านั้น ส่วนการตรวจสอบบุคคล เพื่อเรียกค่าชดเชยความเสียหายโครงการรับจำนำข้าว เพิ่มเติมอีกร้อยละ 80 นอกจากเรียกจากนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีนั้น ทาง ศอตช.เตรียมประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการกลุ่มบุคคลต่างๆ แล้ว เบื้องต้นรัฐบาลเปิดข้อมูล และขั้นตอนการเรียกค่าชดเชยดังกล่าวแบ่งเป็นกลุ่มเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงาน และภาคเอกชน 853 ราย ที่ต้องถูกดำเนินคดีอาญา และแพ่งเรียกค่าเสียหาย ซึ่งเฉลี่ยแต่ละรายที่ต้องชดใช้ไม่เท่ากัน แต่ข้าราชการจะดำเนินการภายใน 6 เดือน อีกหนึ่งคือกลุ่มนโยบายเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ที่เกี่ยวข้อง อาทิกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลัง โดยมีมติให้ ศอตช.ประสาน ป.ป.ช. สตง.และกรมสอบสวนคดีพิเศษร่วมตรวจสอบ และดำเนินคดีอาญาและแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหายต่อไป ด้านนายกรัฐมนตรี ยังยืนยันว่า รัฐบาลจำเป็นต้องเดินหน้าตามกฎหมายในกรณีเรียกค่าชดใช้ความเสียหายโครงการรับจำนำข้าว พร้อมขอให้ทุกฝ่ายยุติการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้ เพราะอยู่ในกระบวนการของศาล เพื่อให้ศาลได้พิจารณาให้ความเป็นธรรมได้อย่างเต็มที่ และจะไม่เป็นการกดดันเจ้าหน้าที่อีกด้วย ขณะที่ทนายนางสาวยิ่งลักษณ์ วันนี้ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้ทบทวนการออกคำสั่งเรียกรับผิด และค่าชดเชยความเสียหายดังกล่าว เพราะใช้ขั้นตอนไม่เป็นไปตามกฎหมาย ฝ่าฝืนหลักสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ที่ต้องมีความเสมอภาคหรือเท่าเทียมกัน หลังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกคำสั่งทางปกครองเรียกค่าเสียหายในโครงการรับจำนำข้าวจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท และเรียกค่าเสียหายจากนายบุญทรง เตริยาภิรมย์และพวก ในคดีทุจริตระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐกว่า 2 หมื่นล้านบาท วันนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ระบุว่า กรมบังคับคดีเตรียมจะเข้าไปตรวจสอบทรัพย์สินของผู้ที่ถูกเรียกค่าเสียหายในคดีนี้ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) กล่าวถึงความคืบหน้าการเรียกค่าเสียหายในโครงการรับจำนำข้าวว่า กรมบังคับคดีจะเข้าไปดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินของผู้ที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ เนื่องจากกรมบังคับคดีมีความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบทรัพย์สิน ส่วนการดำเนินการช่วงนี้คงต้องเป็นหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการคลัง ในฐานะเป็นหน่วยงานที่ออกคำสั่งทางปกครองเรียกค่าเสียหายในโครงการรับจำนำข้าว ส่วนการเรียกค่าเสียหายจะช้าหรือเร็ว ต้องขึ้นอยู่กับผู้ถูกกล่าวหาว่าจะใช้กระบวนการยุติธรรมนานเท่าใด เพราะการบังคับคดีจะดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อกระบวนการยุติธรรมเสร็จสิ้นแล้ว พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า เมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เข้าไปตรวจสอบโครงการรับจำนำมันสำปะหลัง และพบว่าการทุจริตโครงการดังกล่าวมีพฤติกรรมและการกระทำผิดใกล้เคียงกับโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งต้องยอมรับว่าเกือบทุกโครงการที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรถือเป็นโครงการที่ดี ตั้งใจช่วยเหลือเกษตรกร แต่ในทางปฏิบัติกลับมีการแอบแฝงหาผลประโยชน์กับเกษตรกร ด้านพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีที่ทหารอ้างว่าผู้ใหญ่สั่งการห้ามผู้สื่อข่าวทำข่าวในโกดังข้าวที่จังหวัดชัยนาท ว่า ไม่ทราบรายละเอียด แต่ต้องถามว่าห้ามเพราะสาเหตุใด และผู้ใหญ่ที่อ้างถึงชื่ออะไร ซึ่งภาพรวมยืนยันว่าไม่มีการห้ามผู้สื่อข่าวเข้าทำข่าวอยู่แล้ว ศอตช. คาด 15 พ.ย.นี้ รู้รายชื่อคน 3 กลุ่ม ตั้งแต่อดีตครม. กขช. ข้าราชการ และเอกชนร่วมจ่ายค่าเสียหายจำนำข้าว 80% ร่วมอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ ที่สรุปจ่าย 20% ชดใช้ค่าเสียหายรวมกว่า 1.8 แสนล้านบาทก่อนหน้านี้ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) กล่าวภายหลังการประชุมศอตช.เพื่อตรวจสอบเจ้าหน้าที่รัฐ // ที่ต้องร่วมรับผิดชอบความเสียหายในทางละเมิดโครงการรับจำนำข้าวอีก 80% หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1 แสน 4 หมื่น 5 พันล้านบาท จากมูลค่าเต็มประมาณ 1 แสน 8 หมื่นล้านบาท โดยอีก 20% คือ 35,000 ล้านบาทั้น นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ต้องรับผิดชอบ ที่ประชุมได้แบ่งกลุ่มผู้รับผิดชอบ 80% ดังกล่าว เป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.กลุ่มรัฐมนตรีและคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) 2.กลุ่มข้าราชการในกระทรวงที่มีหน้าที่รับผิดชอบ เช่น กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 3.ผู้ประกอบการเอกชน ที่ประชุม ยังมีมติตั้งคณะกรรมการ 2 ชุด เพื่อทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลและสืบสวนข้อมูลเชิงลึก คาดว่าภายในวันที่ 15 พ.ย.นี้ จะได้ข้อยุติจากข้อมูลที่รวบรวมได้ทั้งหมด ทำให้สามารถเห็น ในวันที่ 2 พ.ย.นี้ คณะกรรมการระดับปฏิบัติการจะนำข้อมูลเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งมีพฤติการณ์เชื่อมโยงมาตรวจสอบร่วมกัน ทั้งนี้ ในส่วนของผู้ประกอบการเอกชนอาจจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการหาข้อมูลเพิ่มเติม เนื่องจากมีเอกชนจำนวนมาเข้าไปเกี่ยวข้องในหลายส่วน มีรายงานข่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของผู้รับผิดชอบกลุ่มคณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการในกขช. แม้จะมีชื่อเป็นคณะกรรมการ // ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะต้องร่วมรับผิดชอบในทางละเมิด แต่เนื่องจากเป็นการแต่งตั้งโดยตำแหน่ง ส่วนบุคคลใดต้องมีส่วนรับผิดชอบในทางละเมิดบ้างนั้น จะต้องมีพฤติกรรมกำกับด้วย
เลขาธิการ ป.ป.ท. เร่งสอบทุจริตโครงการรับจำนำข้าวให้ครบทุกสำนวน พร้อมคาดว่าสามารถสรุปรายชื่อผู้ร่วมจ่ายค่าเสียหายได้ภายในเดือนนี้ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ประยงค์ ปรียาจิตต์ บอกว่า เจ้าหน้าที่ได้ทยอยตั้งอนุกรรมการ เพื่อไต่สวนคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวเปลือกแล้ว 388 สำนวนจากทั้งหมด 853 สำนวน โดยหลังจากนี้จะเร่งทำงานเพื่อให้การไต่สวนทั้งหมดเดินหน้าได้อย่างรวดเร็ว พร้อมคาดว่า จะสามารถสรุปรายชื่อของบุคคลที่ต้องร่วมรับผิดชอบค่าเสียหายของโครงการรับจำนำข้าวอีก 80% ให้กับรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมได้ในวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้ ศอตช.เร่งสอบทุจริตโครงการแทรกแซงราคาพืชผลเกษตร จำนำข้าวตั้งอนุกรรมการไต่สวนความผิดอาญาแล้ว 388 สำนวน คาดรู้ตัวบุคคลร่วมรับผิดทางละเมิด 15 พ.ย.นี้ หลังจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ทุกเขตพื้นที่ได้ลงพื้นที่สืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงในคดีทุจริตรับจำนำข้าวครบทุกพื้นที่ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 853 สำนวน บอร์ดป.ป.ท.ได้ทยอยตั้งอนุกรรมกรรมการไต่สวนเป็นรายคดีแล้ว 388 สำนวน คาดว่าหลังจากนี้จะทยอยตั้งอนุกรรมการไต่สวนความผิดจนครบทั้งหมด 853 สำนวน โดยนายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขา ป.ป.ท. ระบุเพื่อให้การไต่สวนเดินหน้าอย่างรวดเร็วบอร์ด ป.ป.ท.จะพิจารณาตั้งอนุกรรมการขึ้นอีก 1 ชุด เพื่อให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาในการสอบสวน ส่วนความคืบหน้าการตรวจสอบความรับผิดทางละเมิด 80% ของความเสียหายที่เกิดขึ้นจากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนั้น อยู่ระหว่างสรุปข้อมูลเสนอต่อ พล.อ.ไพบูล คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานศอตช. ภายในวันที่ 15 พ.ย.นี้ จ่อเรียกเจ้าของโกดังมัน-จนท.คลังเข้าให้ปากคำ ส่วนการตรวจสอบการทุจริตในโครงการแทรกแซงราคามันสำปะหลังนั้น ป.ป.ท.ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบโกดังมันสำปะหลังบางแห่ง ใน พบว่าด้านล่างของโกดังเป็นกองดิน ส่วนมันสำปะหลังถูกจัดเก็บไว้บนกองดิน หลังจากนี้ ป.ป.ท.จะเรียกเจ้าของโกดังและเจ้าหน้าที่คลังสินค้าเข้าให้ปากคำ ถึงรายละเอียดในการตรวจนับจำนวนและการรักษามันสำปะหลัง ตลอดจนถึงการเก็บรักษามันสำปะหลังที่รัฐบาลรับซื้อหรือรับจำนำไว้ รัฐมนตรียุติธรรม ส่ง 6,000 ชื่อ ผู้เกี่ยวข้องที่เข้าข่ายรับผิดชอบความเสียหายโครงการรับจำนำข้าว 1.42 แสนล้านบาท ให้นายกรัฐมนตรีแล้ว แต่ไม่ใช่ผู้ที่ต้องรับผิดชอบ พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบเจ้าหน้าที่รัฐทั้งระดับนโยบาย ระดับปฏิบัติ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบค่าเสียหายโครงการรับจำนำข้าว 80% หรือคิดเป็นวงเงิน 1.42 แสนล้านบาท ว่า ได้ส่งรายชื่อคณะรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่รัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำข้าวให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งมี 6,000 รายชื่อ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่มีชื่ออยู่ในบัญชี 6,000 รายชื่อ จะต้องร่วมรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายในโครงการรับจำนำข้าว เพราะในขั้นตอนต่อไปจะมีเป็นขั้นตอนการพิจารณาว่า บุคคลใดต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบค่าเสียหายในส่วนนี้บ้าง สำหรับ ครม. เจ้าหน้าที่รัฐและเอกชนเกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำข้าว แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย -กลุ่มบริหาร ซึ่งเป็นคณะรัฐมนตรีชุดเดิม คณะกรรมการนโยบายข้าว คณะอนุกรรมการต่างประมาณ 2,000 รายชื่อ -กลุ่มผู้ปฏิบัติเดิม ซึ่งประกอบองค์กร องค์การต่างๆ และข้าราชการประมาณ 4,000 รายชื่อ -และกลุ่มผู้ประกอบการภาคเอกชนบางส่วน ซึ่งในส่วนรายชื่อผู้ประกอบการเอกชนยังไม่เรียบร้อย เพราะต้องไปเชื่อมกับกลุ่มผู้ปฏิบัติที่ต้องรอการสอบสวน ซึ่งขณะนี้กระทรวงมหาดไทยกำลังรวบรวมรายชื่อกลุ่มผู้ประกอบการอยู่ เช่น โรงสีต่างๆ พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบเจ้าหน้าที่รัฐทั้งระดับนโยบาย ระดับปฏิบัติ และเอกชนที่เกี่ยวข้องในโครงการรับจำนำข้าวในส่วนความเสียหายอีกร้อยละ 80 หรือวงเงิน 1.42 แสนล้านบาท ว่า คณะนี้ได้มีการปรับ แบ่งกลุ่มผู้เกี่ยวข้องออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มบริหาร ที่เป็นคณะรัฐมนตรีชุดเดิม 4,000 รายชื่อ กลุ่มงานปฏิบัติเดิมหรือกระทรวงชุดเดิม 2,000 รายชื่อ รวมทั้งหมด 6,000 รายชื่อ และกลุ่มผู้ประกอบการ ภาคเอกชน ซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบ ต่อจากนี้ไปจะเป็นขั้นตอนของการลงรายละเอียดว่าใครจะต้องมีส่วนในการรับผิดชอบบ้าง แยกเป็นกลุ่มๆไป โดยในวันนี้จะรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบ ทั้งนี้พลเอกไพบูลย์ กล่าวว่า ในกลุ่มผู้ประกอบการ ภาคเอกชน ยังไม่เรียบร้อย เพราะไปเชื่อมกับกลุ่มผู้ปฏิบัติที่ต้องรอการสอบสวน ซึ่งขณะนี้เรื่องอยู่กระทรวงมหาดไทย คณะกรรมการให้กระทรวงมหาดไทยรวบรวมรายชื่อกลุ่มผู้ประกอบการ เช่น โรงสีต่างๆ สรุปมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5 หน่วยงาน ได้แก่ กระทวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย สำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงพาณิชย์ คดีทุจริตจำนำข้าวไม่ได้มีเฉพาะนักการเมืองเท่านั้นที่จะต้องรับผิดชอบ แต่ยังมีข้าราชการ และเอกชนอีกจำนวนมากที่ต้องมีส่วนรับผิดทั้งอาญาและทางแพ่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท. พ.ท.กรทิพย์ ดาโรจน์ เปิดเผยแนวทางการสอบสวนและเอาผิด
สำนักบริหารหนี้สาธารณะรายงานหนี้สาธารณะคงค้างสิ้นปีงบประมาณ 2559 คิดเป็นร้อยละ 42.73 ของจีดีพี ยังต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ พร้อมเตรียมออกพันธบัตรรัฐบาลชุดใหม่ เพื่อบริหารการขาดดุลงบประมาณ ขณะที่หนี้โครงการรับจำนำข้าวยังมียอดค้างสูงถึงกว่า 420,000 ล้านบาท ยิ่งลักษณ์ยืนยันใช้สิทธิ์ในการยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งทางปกครองเรียกชดใช้จำนำข้าว 3.5 หมื่นล้านทันกรอบเวลาเดือน ม.ค.ปีหน้าแน่นอน ลั่นพรรคเพื่อไทยแม้เห็นต่างก็จะลงสนามเลือกตั้ง เพราะถือเป็นเสน่ห์ของระบอบประชาธิปไตย วันนี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เข้าฟังการพิจารณาไต่สวนพยานฝ่ายจำเลยในโครงการรับจำนำข้าว ก่อนเข้าฟังการพิจารณาไต่สวน นางสาวยิ่งลักษณ์ กล่าวถึงการใช้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งทางปกครองให้ชดใช้ความเสียหายในโครงการรับจำนำข้าว 35,000 ล้านบาท โดยนางสาวยิ่งลักษณ์กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า จะใช้สิทธิตามกรอบเวลาของกฎหมาย ซึ่งขณะนี้ทนายความกำลังรวบรวมข้อมูล ยันเพื่อไทยลงสนามเลือกตั้งชี้เสน่ห์ประชาธิปไตย นางสาวยิ่งลักษณ์ ยังได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ว่า พรรคเพื่อไทยยืนยันให้ความร่วมมือ โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน และพรรคเองอยากขอให้มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมรับรู้เนื้อหาต่างๆด้วย และไม่อยากให้การกิจกรรมครั้งนี้เป็นเพียงแค่สัญลักษณ์ ด้วยกการให้พรรคการเมืองส่งตัวแทนเข้าไปรับฟังเท่านั้น ส่วนการวางแผนในการลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งหน้าของพรรคเพื่อไทย แม้ว่าพรรคมีจุดยืนที่เห็นต่างนั้น นางสาวยิ่งลักษณ์ บอกว่า เป็นหน้าที่ของพรรคการเมืองและนักการเมืองที่จะต้องแสดงเจตนารมย์ให้ประชาชนได้เห็น ในขณะที่ความคิดเห็นที่แตกต่างถือเป็นเสน่ห์ของระบอบประชาธิปไตย แนะรัฐบาลทำมาตรการเปิดโอกาสให้ ปชช.รากหญ้า นอกจากนี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ได้กล่าวถึงมาตรการช็อปช่วยชาติของรัฐบาล ที่ให้สามารถนำยอดการใช้จ่ายไม่เกิน 15,000 บาทไปยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ว่า ถือเป็นความพยายามของรัฐบาลในการกระตุ่นการจับจ่ายใช้สอยในระบบเศรษฐกิจแต่ก็อยากฝากให้รัฐบาลช่วยประชาชนรากหญ้ามีโอกาสรับประโยชน์บ้าง สำหรับพยานที่จะขึ้นเบิกความในการพิจารณาไต่สวนคดีจำนำข้าววันนี้ มี 2 ปาก คือ นายสุรนันท์ เวชชาชีวะ อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนายวีระนันท์ ทัดดอกไม้ ตัวแทนคณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพข้าว
จำนำข้าว มีหนี้คงค้างสี่แสนสองหมื่นล้าน กูขรรม ทักษิณคิด เพื่อไทยโดยยิ่งลักษณ์ทำ ควายแดงบอกทักษิณยิ่งลักษณ์เก่งเศรษฐกิจ กรูนี่หัวเราะเลย
นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการ ป.ป.ท.และในฐานะเลขานุการคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) แถลงผลการประชุมคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2560 ว่าได้มีการรายงานความคืบหน้าการดำเนินการคดีที่เกี่ยวข้องกับสินบนข้ามชาติว่าในส่วนของ ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติหรือ ศอตช. ได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นโดยมีตนเป็นประธาน เพื่อดำเนินการศึกษาข้อผิดพลาดและผลกระทบจากติดสินบนข้ามชาติเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีก เนื่องจากขณะนี้มีองค์อิสระจากต่างประเทศเข้ามาประเมินไทยที่มีประเด็นการฟอกเงินเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ที่ประชุมจึงได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ป.ป.ช. ป.ป.ง. สตง. ป.ป.ส. สรรพากร ให้ความร่วมมือและให้ข้อมูลกับองค์กรที่เข้ามาประเมินอย่างเต็มที่เพื่อไม่ให้เสียโอกาสในการประเมิน นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีได้ให้ข้อสังเกตถึงกรณีโครงการเร่งด่วนของรัฐบาลที่มีอยู่จำนวนมากว่าอยากให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงและถูกต้องจึงให้กระทรวงมหาดไทยและศอตช.ร่วมกันป้องกันหากพบความผิดก็ดำเนินการได้ทันทีแต่ต้องไม่ให้โครงการหยุดชะงักเพราะจะเกิดความเสียหายมากกว่า ส่วนกรณีความคืบหน้าการดำเนินคดีในโครงทุจริตการจำนำข้าวในส่วนที่ป.ป.ท.รับผิดชอบอยู่มี987คดี ได้มีการตั้งคณะอนุกรรมาการขึ้นมาช่วยเหลืองานด้านธุรการขึ้นมาช่วยคณะอนุกรรมการที่รับผิดชอบแต่ละคดี ซึ่งคืบหน้าไปกว่าร้อยละ 40 และคาดว่าจะมีความชัดเจนในเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งหากมีการชี้มูลความผิดก็จะส่งให้สำนักงานอัยการและหน่วยงานต้นสังกัดดำเนินการต่อไป ขณะที่การดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้าคสช.โดยอาศัยมาตรา44 ซึ่งมีทั้งหมด8คำสั่ง รวม353คน ขณะนี้มีเรื่องที่สิ้นสุดและมีผู้พ้นจากตำแหน่งไล่ออก จำนวน 127 คน และมีเรื่องที่หน่วยงานต้นสังกัดต้องตรวจสอบทางวินัย 66คนและมีอีก 123คนที่ต้นสังกัดยังไม่รายงานมา ทั้งนี้ยังเหลืออีก37คนที่อยู่ระหว่างการชี้มูลความผิดของป.ป.ช. นอกจากนี้ยังเสนอให้ปีนี้เป็นปีแห่งการอำนวยความสะดวกในการพิจรณาอนุมัติอนุญาตต่อต้านการรับสินบนทุกรูปแบบเพื่อยกระดับการให้บริการของภาครัฐให้มีความโปร่งใสและเป็นธรรมกับทุกฝ่ายพร้อมทั้งเป็นการป้องกันการทุจริตซึ่งเป็นผลมาจากค่าดัชนีภาพลักษณ์คอรัปชันหรือซีพีไอของไทยที่ลดลงและผลการสำรวจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยที่พบว่ายังคงมีการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติอนุญาตของภาครัฐโดยให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการหรือกพร. เป็นผู้ติดตามการดำเนินงานตามคู่มือการอนุมัติอนุญาตที่เคยแจกไปก่อนหน้านี้ และมารายงานผลให้ที่ประชุม ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีกำชับให้สร้างการรับรู้ในการทำงานเพราะขณะนี้อาจมีความเข้าใจที่ไม่ตรงกันของหลายฝ่าย จึงให้เน้นย้ำทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์โดยไม่ให้เกิดความขัดแย้งและแก้ปัญหาเก่าโดยไม่ให้เกิดปัญหาใหม่ซึ่งทั้งหมดนี้ที่ประชุมได้เห็นชอบในการนำเสนอแนวทางทั้งหมด คตช.ย้ำคดีรับจำนำข้าวเสร็จสิ้นเดือน มิ.ย.นี้