จากเว๊บไซต์ของชาวตรัง http://www.trangsociety.com/งานเหลิมตรัง-2557-งานเดิมๆท/ แล้วเว๊บแดงก็เอามาเล่น
งานเหลิมควรปรับเปลี่ยนได้แล้ว เมือก่อนไปเที่ยวกลางคืนเจอแต่ขาโหด แล้วเสียวหลัง ต้องเปลี่ยนไปเที่ยวกลางวันแทน
สาเหตุที่ของในงานประจำปีแพงก็เพราะค่าเช่าล็อกนี่แหละมั้ง ผมดูชื่องาน เฮ้ย.....งานฉลองรัฐธรรมนูญ งานออกบูทในตำนานของรัฐบาลหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ยังหลงเหลืออยู่เหรอเนี่ย แต่หน้างานคงกลายพันธุ์ไปเยอะแล้วแหละ
ผมเป็นเจ้าของเวปและเป็นคนเขียนบทความเองครับ ต้องขอโทษด้วยนะครับ ถ้าบทความนั้นทำให้กลายเป็นประเด็น และที่สำคัญ คือ ไม่ใช่การบ่นนะครับ เราเพียงแค่นำเสนอข่าวในแง่มุมของเราเท่านั้น เวป www.trangsociety.com เป็นเพียงเวปข่าว ที่นำเสนอข่าวในแง่มุมต่างๆ ไม่ได้ตั้งใจจะให้เป็นประเด็นใครเล่นใคร ลองดูในเวปก็ได้ครับ ผมไม่ได้แน้นประเด็นเรื่องการเมืองเลย แค่อยากให้เห็นสังคมของเรามันดีขึ้นก็เท่านั้นครับ จะเริ่มทำอะไรก็ต้องเริ่มจากที่ๆใกล้ตัวเราเอง เช่นท้องถิ่นของเราเองครับ
ขอวิจารณ์หน่อย คือเขียนชื่องานในเว็บสะสั้นเกิน อ่านทีแรกนึกว่าเป็ดเหลิมไปเกี่ยวไรกะจังหวัดตรัง คือชื่องานเป็นมงคล ไม่น่าย่อเหลือขนาดนั้น ใช้ งานเฉลิมฯ ..น่าจะเหมาะสมกว่านะคะ ยาวมาอีกอักษรเดียวเอง
ขออนุญาตออกความเห็นนะครับ เคยอ่านในหนังสือของชาตรี ประกิตนนทการ(คนนี้โปรคณะราษฏรเลย) พูดถึงเรื่องงานฉลองรัฐธรรมนูญ เป็นงานแฟร์ของทางการหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เพื่อเผยแพร่แนวคิดของคณะราษฎร รัฐธรรมนูญ ตามที่ทางการสมัยนั้นต้องการให้ประชาชนทราบ ที่ตรังก็จัดงานนี้ครับ งานฉลองรัฐธรรมนูญ ชาวบ้านเรียกอย่างย่อว่า งานหลองรัฐ พอหลังในหลวงรัชกาลปัจจุบันครองราชย์ เลยเปลี่ยนชื่องานเป็นงานเฉลิมพระชนมพรรษา ชาวบ้านเลยเรียกว่า งานเหลิม ตั้งแต่นั้นมาครับ
โดยพื้นฐานคนใต้มักจะพูดสั้นๆ ถึงขนาดมีผู้เปรียบเปรยว่า รถไฟสองขบวนวิ่งสวนกัน คนใต้เค้ายังคุยกันรู้เรื่อง มีเรื่องตลก (แต่ผมเล่าอาจจะไ่ม่ตลก) คือ มีรถประจำทางวิ่งสาย พัทลุง หาดใหญ่ เมื่อรถวิ่งกระเป๋าก็จะมีหน้าทีเรียกผู้โดยสาร บังเอิญว่า มีชายคนหนึ่งกำลังยืน"ฉี่"อยู่ข้างทาง เมื่อรถวิ่งผ่านกระเป๋าก็ร้องขึ้นว่า "ลุง ใหญ่ มั้ย" ชายคนนี้นึกว่ากระเป๋าพูดจาเสียดสี ล้อเลียนเลยโมโห ตะโกนสวนกลับไปว่า "ใหญ่ไม่ใหญ่ไม่รู้ แต่ใหญ่กว่าของพ่อมะอึงแน่นอน"
ยอมรับคำวิจารณ์นะครับว่าสั้นจริง ตอนแรกจะใช้เป็น งานเฉลิมฯ เหมือนกันครับ แต่คนตรัง เรียก งานนี้ว่างานเหลิมนะครับก็เลยเป็นอย่างที่เห็น ขอขอบคุณ คุณ TheGreatBeyond และคุณ Redbuffalo010 ด้วยนะครับที่เข้ามาชี้แจง ขอบคุณครับ
ในขณะที่คนจังหวัดอื่น ภาคอื่น ก็เรียกชื่อจังหวัดโดยตัดให้สั้นลงมาเหลือสองพยางค์ เช่น ราชรี หระรี พิดโลก
คือไม่ใช่เฉพาะการเรียกชื่อจังหวัด การสนทนาส่วนใหญ่ก็จะพูดสั้นๆ เสียงดัง เพราะเค้าสันนิษฐานว่าภาคใต้มีพื้นที่ติดทะเล ลมพัดแรง ต้องพูดให้เสียงดัง กระชับ เหมือนที่คุณโทนี่บอกไว้ครับ คือมอเตอร์ไซค์วิ่งสวนกันก็ยังทักทายกันได้ “ไน๊” = จะไปไหน? “ล๊าด” = จะไปตลาด “วั่งร๊อดน๊า” = ขับมอเตอร์ไซค์ระวังรถนะ “เอ่อ” อืม