อ่านบทสัมภาษณ์ของคนที่"มติชน"เรียกว่า "นักวิชาการอิสสระ" แล้วรู้สึกหดหู่ในใจว่า ถ้าคนแบบนี้ได้รับการเรียกขานว่า"นักวิชาการ" ผมว่าประเทศไทยน่าจะล่มสลายในไม่ช้า คํากล่าวของนายแดเนียล รัสเซล สะท้อนให้เห็นว่ายังมองปัญหาของประเทศไทยเป็นปัญหาที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ในภูมิภาคนี้ทั้งหมด ไทยเป็นประเทศในภูมิภาคนี้ที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงทางการเมืองที่จะสร้างปัญหาให้กับภูมิภาค และการมาเข้าพบบุคคลสำคัญในแง่การเมือง การมาพบ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกฯและ รมว.การต่างประเทศ ถือเป็นเรื่องการทูตปกติ ไม่ได้มีความหมายอะไร ส่วนการมาพบกับคู่กรณีความขัดแย้งทางการเมืองอย่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เเละ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นเรื่องน่าสนใจ คิดว่าการพบนายอภิสิทธิ์ เป็นการพบเพื่อให้การพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่ถูกโจมตีว่ามีฝักมีฝ่ายมากกว่า เพราะนายอภิสิทธิ์ ในความคิดผมเป็นผู้นำที่หลุดจากความสำคัญทางการเมืองในปัจจุบันไปเเล้ว ส่วนการบรรยายและการแสดงความคิดเห็นต่างๆของนหลุดความสำคัญทางการเมืองไปแล้วายแดเนียล ที่จุฬาฯ เรื่องอยากให้เกิดประชาธิปไตยและอยากให้มีการเลือกตั้ง เป็นธรรมเนียมในการพูดปกติไม่มีความสำคัญเป็นพิเศษ แต่เรื่องยกเลิกกฎอัยการศึก หรือการออกแบบกระบวนการประชาธิปไตยที่ให้ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน เป็นเรื่องที่เป็นพิเศษกว่าเรื่องอื่น เป็นสาระหลักสำคัญครั้งนี้ เพราะการจะให้เท่าเทียมกันจะไม่เกิดขึ้นถ้ามีการปิดกั้นเสรีภาพ มีการใช้กฎอัยการศึก มีการห้ามเเสดงออกทางการเมือง ผมมองว่าการออกมาของสหรัฐอเมริกา ฝ่ายรัฐบาลยังไม่มีท่าทีหรือแสดงออกอะไร รัฐบาลชุดนี้อยู่ในภาวะของความคิดว่าสามารถปิดประเทศ ทำให้ประเทศไม่เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงระดับโลกในการสร้างประชาธิปไตย มองการปิดประเทศเป็นเรื่องเป็นไปได้ แต่สำหรับคนที่อยู่ในแวดวงต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเอ็นจีโอหรือนักธุรกิจระหว่างประเทศ นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่จะส่งสัญญาณไปยังรัฐบาลว่าสิ่งที่เราทำในเวลานี้ กรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นสิ่งที่ต่างประเทศไม่ได้มองแบบที่รัฐบาลอยากให้คนในสังคมไทยมอง สิ่งที่ตัวแทนของสหรัฐพูดสอดคล้องกับสื่อต่างประเทศกรณีถอดถอนน.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่าเป็นการกลั่นแกล้งทางการเมือง ไม่ใช่เรื่องของกระบวนการทางกฎหมาย รัฐบาลไทยอาจจะต้องฟังว่าเขามองว่าการกลั่นแกล้งทางการเมืองอย่างไร เพราะเขาจะมองว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่มีอำนาจพิเศษที่จะแทรกเเซง การดำเนินงานของกระบวนการยุติธรรมได้
ประเด็นแรกที่อยากจะพูดถึงคือคำให้สัมภาษณ์ของศิโรตม์ที่ว่า "คํากล่าวของนายแดเนียล รัสเซล สะท้อนให้เห็นว่ายังมองปัญหาของประเทศไทยเป็นปัญหาที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ในภูมิภาคนี้ทั้งหมด ไทยเป็นประเทศในภูมิภาคนี้ที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงทางการเมืองที่จะสร้างปัญหาให้กับภูมิภาค" ไม่ทราบว่าปัญหาของประเทศไทยในขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อภูมิภาคนี้ (เอเชีย หรือ อาเซียน) ยังไง? คนในชาติฆ่ากันเองแล้วอพยพหนีภัยไปบ้านใกล้เรือนเคียง ลาว เขมร เวียตนาม พม่า มาเลย์? สถานการณ์ในไทยขณะนี้ก็ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงไปมากกว่าไอ้พวกที่ชอบออกมาพูดครึ่งๆกลาง ไอ้พวกนี้แหล่ะคือปัญหาใหญ่
"คิดว่าการพบนายอภิสิทธิ์ เป็นการพบเพื่อให้การพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่ถูกโจมตีว่ามีฝักมีฝ่ายมากกว่า เพราะนายอภิสิทธิ์ ในความคิดผมเป็นผู้นำที่หลุดจากความสำคัญทางการเมืองในปัจจุบันไปเเล้ว" คนที่ขอเข้าไปพบในบ้านพัก กับ คนที่เข้าไปพบในที่ทำงาน อย่างไหนสำคัญกว่า?
เดี๋ยวนี้ ใครอยากจะเป็นกากนักวิชาการ ก็พูดเข้าข้าง เลียแม้ว เลียปู แค่นี้ก็ได้เป็นกากนักวิชาการ ลงมติชั่วแล้ว
นายคนนี้มะตอนเผาบ้านเผาเมืองปี 53 มันไปออกเนชั่น แร้วบ่องว่า สิ่งที่รัฐบาลแถลงออกมาห่ะนั้น เป็นเรื่องโกหกทั้งหมด
ลอกกันมาเป็นแนวเดียวกันเป๊ะ หัวข้อ,เนื้อเรื่อง บลา บลาๆ บลาๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ลงท้ายด้วยไม่เป็นประชาธิปไตย โดนกลั้นแกล้ง ถ้าเป็นตอนเรียนหนังสือเอา F ไปกินเถอะ ลอกข้อสอบชาวบ้านเห็นๆ
ก็น่าเห็นใจนะ ทางเผาไทยหมดตัวเล่นแล้ว นึกถึงตอนเลือกตั้งผู้ว่า กทม ที่ผ่านมา เอาตัวเล่นดีที่สุด ทุกทางที่ทำได้ก็ทำแล้ว ก็ได้แค่รองแชมป์
คนที่ สื่อหลัก ไม่คิดอยากจะไปสัมภาษณ์ให้เสียเวลา จึงมีแต่ สื่อเลว หยิบไปเชิดให้เป็น นักวิชากลวง คนประเทภนี้ผมให้ราคาไม่ต่างกับ ขอทานที่มาเล่นดนตรีผิดคีย์ตามใต้สะพานลอย เพื่อหวังเศษเงินบริจาค บาทสองบาท หรอกครับ
พูดง่าย ๆ ก็คือ ยิ่งลักษณ์ สหรัฐ สื่อต่างประเทศ สำคัญที่สุด ส่วนอภิสิทธิ์พูดอะไรก็ไม่สำคัญ เพราะหลุดจากความสำคัญทางการเมืองไปแล้ว จึงรวมถึงพวกที่สนับสนุนอภิสิทธิ์ และพวกที่สนับสนุน กปปส. ด้วย ส่วนรัฐบาลพูดทำอะไรก็ไม่ถูกต้อง เพราะไม่สอดคล้องกับยิ่งลักษณ์ สหรัฐ และสื่อต่างประเทศ ที่ยังสำคัญทางการเมืองอยู่
อ่านคำตอบจากเธอครับ หนึ่งในด๊อกเตอร์ที่เป็นความภูมิใจของแดง "กานดา นาคน้อย" นักวิชาการ ม.คอนเน็คทิคัต วิพากษ์แนวคิด "วีรพัฒน์ ปริยวงศ์" นักกฎหมายฮาร์วาร์ด หมายเหตุ : ภายหลังจาก "ข่าวสดออนไลน์" ขออนุญาตนำบทความเรื่อง โต้ข้อหา ‘อยากดัง’ ภาค 2 ของ "วีรพัฒน์ ปริยวงศ์" นักกฎหมายอิสระจากสำนักฮาร์วาร์ด มาเผยแพร่ในเว็บข่าวสด ใช้ชื่อว่า "วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายหนุ่ม โต้ข้อกล่าวหา "อยากดัง-โกหกลวงโลก" (17 ก.พ.56) ปรากฎว่าได้รับทราบข้อมูลจาก "กานดา นาคน้อย" ผู้ช่วยศาสตราจารย์คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยคอนเน็ตทิคัต สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มนักวิชาการที่มองต่างมุมบางประเด็นกับวีรพัฒน์และถูกพาดพิงในบทความ โต้ข้อหา ‘อยากดัง’ ภาค 2ว่าพร้อมให้สัมภาษณ์แจกแจงในประเด็นทางวิชาการที่เห็นต่าง ล่าสุด "ข่าวสดออนไลน์" ได้รับคำตอบแบบตรงไปตรงมา ในท่วงทำนอง "เห็นต่างด้วยความห่วงใย" หลากหลายแง่มุมจากผู้ช่วยศาสตราจารย์กานดา จึงนำมาเสนอดังนี้ โดยเฉพาะข้อห่วงใยในประเด็นข้อเสนอบรรเทาความขัดแย้งและนิรโทษกรรมทางการเมือง ซึ่งฝ่ายวีรพัฒน์และนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 นำเสนอต่อสังคม มีเนื้อหาดังต่อไปนี้ ------------- ข่าวสดออนไลน์ : จริงๆ คำจำกัดความว่า "นักวิชาการอิสระ" คืออะไร มีอยู่หรือไม่? กานดา นาคน้อย : มี ภาษาอังกฤษเรียกว่า independent scholar คำว่า independent คืออิสระ ในที่นี้คือไม่มีสังกัด นักวิชาการอิสระคือนักเขียนฟรีแลนซ์ที่เขียนเรื่องจริง (non-fiction) สรรพากรสหรัฐฯ ถือว่าเป็นนักธุรกิจส่วนตัว (self-employed) ประเภทเดียวกับที่ปรึกษาธุรกิจอิสระ (independent business consultant) ไม่มีบรรทัดฐานชัดเจนว่าอะไรเป็นตัววัดความเป็นนักวิชาการของนักวิชาการอิสระ ทำให้นักวิชาการอิสระบางส่วนอ้างอิงมหาลัยเพื่อนิยามความเป็นนักวิชาการ เช่นตีพิมพ์หนังสือกับสำนักพิมพ์มหาลัย อ้างอิงถึงประสบการณ์การสอนในตำแหน่งอาจารย์และอาจารย์พิเศษ อ้างอิงถึงวิทยานิพนธ์ในอดีต ที่อ้างอิงถึงผลงานวิจัยในวารสารวิชาการในอดีตนั้นเป็นส่วนน้อย ส่วนใหญ่นักวิชาการอิสระตีพิมพ์ในนิตยสารเขียนพ็อคเก็ตบุ๊คเป็นวิทยากรสัมมนานอกมหาลัยออกทีวีหรือเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ สื่ออเมริกันเรียกนักวิชาการอิสระที่ออกทีวีว่าผู้เชี่ยวชาญ (expert) เพราะผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาชีพที่ไม่เขียนหนังสือก็ออกทีวีได้ เช่น อดีตนักบินให้ความคิดเห็นต่อกรณีเครื่องบินตก อย่างไรก็ดี ความคิดเห็นของนักวิชาการอิสระในสื่อมวลชนไม่ใช่บรรทัดฐานอ้างอิง เนื่องจากไม่มีบรรทัดฐานชัดเจนว่าอะไรเป็นตัววัดความเป็นนักวิชาการของนักวิชาการอิสระนั่นเอง ความแตกต่างที่สำคัญที่สุดระหว่างนักวิชาการอิสระที่สหรัฐฯ และไทยอยู่ที่อิทธิพลต่อนโยบายสาธารณะ นักวิชาการอิสระที่สหรัฐฯ ไม่มีบทบาทผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้วยสถานะนักวิชาการ นักวิชาการที่ผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะคือนักวิชาการในระบบ ถ้านักวิชาการอิสระอยากมีบทบาทขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะต้องเปลี่ยนสถานะเพื่อเข้ากระบวนการเมืองอย่างเปิดเผย มี 4 ทาง (1) กลายเป็นนักการเมืองมืออาชีพ (2) อาศัยนักการเมืองเข้ารับตำแหน่งทางการเมือง (political appointee) (3) ทำงานกับเอ็นจีโอ (4) เข้าร่วมกลุ่มต่างๆ เช่น Occupy Wall Street ในทางปฎิบัติ ทางที่ 1 และ 2 เป็นทางสายหลัก แต่ที่เมืองไทยทางสายหลักสำหรับนักวิชาการอิสระที่อยากขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะคือเอ็นจีโอ เพราะเอ็นจีโอไทยส่วนใหญ่คือผู้รับเหมารับโปรเจ็คมาจากรัฐบาล มีไม่มากที่เป็นเอ็นจีโอที่เป็นอิสระจากรัฐบาลแบบในต่างประเทศ http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMk1UTXdNRFE0TkE9PQ=