พอดีไปเจอที่อาจารย์ไพศาล แกโพสต์ว่าไว้ว่า... -------------------------------------------------------------------------------- https://www.facebook.com/Paisal.Fanpage ------------------------------------------------------------------------------------------------ มองได้หลายมุม... ใครเสียประโยชน์ ก็คงจะรู้สึกต่อต้าน ส่วนใครที่คิดว่า ชาตินี้คงไม่มีโอกาสได้สัมผัส ก็คงรู้สึกเฉยๆ โดยภาพรวมแล้ว เพื่อนๆ คิดเห็นกันเช่นไรครับกับเรื่องนี้...
ถ้าชาตินี้มีโอกาสได้สัมผัส ก็คงยอมเสีย เพราะ 50 ล้านชาตินี้คงใช้ไม่หมด แล้วก็เอาติดตัวไปชาติหน้าไม่ได้ด้วย
โดยจุดประสงค์น่าจะเป็นเพื่อการลดความเหลื่อมล้ำ เพราะเป็นภาษีที่เน้นเก็บกับคนรวยเป็นหลัก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น จะว่าเหมาะ หรือ ไม่เหมาะ ผมว่าต้องขึ้นกับโครงสร้างภาษีในส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องมาประกอบกัน รวมไปถึงสภาพสังคม และ ระบบการเงินในประเทศ รวมไปถึงช่องทางและกระบวนการในการจัดเก็บอีก ถ้าพูดในเชิงกว้างๆผมว่าตอบยากว่า เก็บ หรือ ไม่เก็บอะไรจะดีกว่ากัน โดยส่วนตัว ผมว่าอาจจะต้องเทียบภาระทางภาษีในการถือครองที่ดินกับประเทศอื่นๆดูอาจจะเห็นภาพมากขึ้นว่า ควรหรือไม่ควรนะครับ
แรกเริ่มที่ได้ยิน โดยมิได้ศึกษา พิจารณารายละเอียด ก็รู้สึกเห็นด้วยอย่างยิ่ง แบบว่า... "ชาตินี้ ตรูไม่เดือดร้อน" กับเรื่องนี้แน่ๆ... ดังนั้นการสนับสนุนให้รัฐ ได้ภาษีเพิ่มก็น่าจะดี... แต่พอมาอ่านที่อาจารย์แกว่าไว้ ก็น่าคิดว่า หลายๆประเทศเขายกเลิกกันไปแล้ว ด้วยเหตุผลดังที่ว่าไว้... ยิ่งมาในเมืองไทย การหลบหลีก หลีกเลี่ยง ซิกแซก ในเรื่องพวก(ภาษี)นี้นี่ จัดว่าชำนาญ ช่ำชอง ทำกันเป็นล่ำเป็นสัน ขนาดอดีตนายกฯ ยังทำเลย ก็เลยคิดว่า ถ้า กม.นี้ออกมา คนที่รับผลไปเต็มๆ ก็น่าจะเป็น ผู้รับมรดกรายย่อย รายเล็ก รายน้อยเสียมากว่า... พวกตัวโตๆ คงไม่โง่ให้รัฐสูบเงินไปเฉยๆหรอก... แต่ยังไงก็ต้องขอคารวะต่อผู้ที่คิดเสนอเรื่องนี้ให้ได้มีการถกเถียงกันครับ...
ถึงต้องดูในข้อกำหนดไงครับว่าเป็นยังไงก่อนที่จะบอกได้ว่าดีหรือไม่ดี โดยปกติรายย่อย อัตราภาษีพวกนี้ก็จะต่ำอยู่แล้ว แต่ว่าเรื่องรายใหญ่จะมีช่องซิกแซกหนีหรือเปล่านี่ ถ้าไม่ได้มีพรรคพวกอยู่ในสรรพากร ปกติทำไม่ค่อยได้หรอกครับ
เก็บได้ แต่อย่าให้ตัวเลขเปอร์เซ็นต์มันมากไป หาไม่แล้วมันจะเป็นทุกขลาภของผู้รับ มรดกเกิน 50 ล้านล้วนเกิดจากการเก็บออมจากรายได้ซึ่งถูกหักภาษีแล้ว
ในเมื่อประเทศไทยยังไม่เคยมี ก้อลองซักหน่อยจะเป็นไรไป ขนาดเอาคนโง่มาบริหารประเทศ เรายังเคยลองกันมาแล้ว......กรั่ก กรั่ก กรั่ก
ภาษีสรรพสามิต: เก็บเพราะส่งผลกระทบต่อส่วนรวม ภาษีรถยนต์: เก็บเพราะใช้ถนนหนทางของส่วนรวม ภาษีเงินได้: เก็บเพราะทำมาหากินมีรายได้ในประเทศนี้ จึงควรเสียค่าใช้จ่ายให้ส่วนรวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม: เก็บเพราะซื้อขาย บริโภคในประเทศนี้ จึงควรเสียค่าใช้จ่ายให้ส่วนรวม ภาษีที่ดิน: เดิม ที่ดินไม่เป็นของใคร จะเรียกว่าเป็นของกลางก็ว่าได้ เมื่อจับจองเอาของกลางมาเป็นของส่วนตัว ซื้อขายถ่ายโอนกรรมสิทธิ์กัน จึงควรเสียภาษีให้ส่วนรวม ภาษีมรดก: ทรัพย์ที่บิดามารดาหามาได้ ถ้าในปัจจุบัน ก็เป็นทรัพย์ที่ได้หลังหักภาษีไปแล้ว อะไรคือเหตุผลอันชอบธรรมที่เราสมควรเก็บภาษีมรดก? พูดตามตรง ผมนึกไม่ออก บางคนอาจจะยกกรณีมรดกที่ดิน ตรงนั้นเวลาโอนให้ทายาท ผมเข้าใจว่าก็มีการเสียภาษีอยู่แล้ว ไปกวดขันตรงนั้นก็พอ เงินสด ทอง เพชรพลอย รถ ที่พ่อแม่หามาได้ ผมไม่เห็นเหตุผลอันชอบธรรม จะอ้างว่าลดความเหลื่อมล้ำ ผมก็ยังกังขา เพราะถ้าอ้างแต่เหตุผลข้อนี้มารีดภาษี แล้วยังมีความเหลื่อมล้ำอยู่ เราก็ต้องรีดต่อไปเรื่อย ๆ ใช่หรือไม่ เดี๋ยวเถิดจะได้กลายเป็นคอมมิวนิสต์กัน ผมเห็นด้วยว่าหากจะลดความเหลื่อมล้ำ ที่ดินคือจุดที่น่าจะจัดการมากกว่า เพราะ... ที่ดินเป็นต้นทุนสำคัญของอาชีพพื้นฐาน ที่ดินกลายเป็นของราคาสูงจนแม้แต่คนรายได้ระดับกลางก็ยากจะซื้อ ที่ดินเป็นทรัพย์สินที่ทวีมูลค่าได้เร็วมาก และราคาแทบไม่เคยตก สร้างความร่ำรวยได้โดยที่ผู้ถือครองแทบไม่ต้องทำอะไร
เป็นอีกเรื่องที่ผมเห็นแย้งกับตาลุงขี้กังวลครับ ผมอยากให้เก็บ เพราะหลักคิดที่ว่า มรดกก็ถือว่าเป็นรายได้ของผู้รับ แถมได้มาโดยไม่ใช่น้ำพักน้ำแรงของผู้รับมรดกเอง เสียภาษีบ้างจะเป็นไรไป แต่ไปๆมาๆ ตัวผมก็ได้รับผลกระทบอยู่เหมือนกันนะ เอาแค่เรื่องที่ว่า พี่สาวผมร่ำรวยจะตายชัก แต่ไม่ยักกะมีลูกเต้า ข้อกำหนดที่ว่ายกเว้นภาษี 50 ล้าน เฉพาะทายาทสายตรง(ลูก) จะมีปัญหาสำหรับลูกของผมทันที เพราะแผนที่ว่าพี่สาวผมจะยกมรดกให้หลานๆ นี่แทบล้มพับไปเลย ยกให้จริงนี่เดือดร้อนพ่อมันจ่ายภาษีมรดกแทนแหงๆ ดังนั้นภาษีนี้ต้องรอบคอบและอุดช่องโหว่ให้ดีอยู่เหมือนกัน
ภาษีมรดก เชิงปฏิบัติลำบากหน่อย ออกกฎมาอย่างไรก็ต้องมีช่องโหว่ แต่อย่างไรยังสนับสนุน 3% ก็พอแล้ว เพื่อเป็นสถิติข้อมูลประเมินภาษีอื่นๆ นี่รอภาษีที่ดินอยู่นะ
ทายาทสายตรงทียังไงต้องรับมรดกอยู่แล้ว ยกเว้นให้บ้างก็ดีนะครับ บางครอบครัวมีแต่ทรัพย์สิน แต่ไม่ได้มีเงินถุงเงินถังครับคงจ่ายภาษีลำบาก ไม่งั้นต้องขายทรัพย์สินออกมา บางครอบครัวดันเป็นบ้านที่อยู่อาศัยไรงี้ จะลำบากเอาครับ มีมาตราการรองรับกรณีพิเศษแบบนี้หรือยัง? นอกจากลูกแล้วหลานสายตรงก็น่าจะได้สิทธินั้นด้วย บางคนเค้าก็ไม่มีลูกมีแต่หลาน บางคนลูกตายไปแล้ว แบบนี้หลานซวยหรอครับ? จะไม่ยกเว้นก็กรณี โอน(หุ้น?)ให้คนขับรถ คนรับใช้ ไรงี้ คำนวนภาษีเงินได้ ขั้นบันได 40% ไปเลยครับ
อันนี้ผมพูดเลยนะ ถ้าว่ากันด้วย "ความอยาก" ผมอยากให้เก็บ เพราะผมอยากให้คนรวยมีสมบัติน้อยลง คนจนมีสมบัติมากขึ้น (ก็ผมไม่รวยนี่) แต่จะอยากมากแค่ไหน ก็ต้องถามกันตรง ๆ ว่า เหตุผลมันถูกต้องชอบธรรมไหม? ไม่ใช่แค่อยากให้คนรวยจนลง คนจนรวยขึ้น แล้วมันจะเป็นเหตุผลชอบธรรมให้เราไปรีดอะไรจากคนรวยก็ได้
กฎหมายไทยมันแปลกครับ ออกกฎหมายมาแบบนี้ เดี๋ยวจะมีข้อยกเว้นสำหรับคนกลุ่มนั้นกลุ่มนี้ีอีก ตรงนี้แหละครับ ที่ทำให้คนเลี่ยงภาษีกันได้ และก็จะมีเศรษฐีขี้เหนียว ที่ซุกหุ้น ไม่ยอมจ่ายภาษี ใช้ช่องโหว่ทางกฎหมาย แล้วบอกว่าอยากจ่าย แต่ไม่รู้จะจ่ายยังไง
มีผู้ให้ข้อคิดเห็นไว้ ในหัวข้อเรื่องว่า... ```````````````````````````````````````````````````````````````````````````````````````````````````````````````````````` ปิดจุดอ่อน"ภาษีมรดก" 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เมืองไทย 25 น. ทวี มีเงิน ภาษี มรดกในอดีตเป็นที่ถวิลหาที่คนไทยอยากจะให้เกิด ครั้น "คสช." ผลักดันขึ้นมาจริงๆ ก็เริ่มมีเสียงค้าน ว่าจะได้ไม่เท่าเสียบ้าง ต้นทุนในการบริหารจัดการสูงจนหลายๆ ประเทศทยอยเลิกหรือเห็นว่ายังไงคนรวยก็หลบเลี่ยงได้อยู่ดี ข้อทักท้วงเหล่านี้ก็มีเหตุมีผล แต่ก็ไม่ได้ถูกทั้งหมด อันที่จริงหากดูไส้ในจริงๆ หลายๆ ประเทศที่ยกเลิก ไม่ใช่เรื่องต้นทุนในการจัดเก็บแพงเท่านั้น บางประเทศเลิกก็เพราะไปใช้ร่วมกับภาษีอื่นๆ บางประเทศเลิกเพราะปัญหาความเหลื่อมล้ำในประเทศเขามีน้อยมาก อย่างประเทศแถบสแกนดิเนเวีย หรือสิงคโปร์ เป็นต้น จนถึง วันนี้ดูเหมือนว่ารัฐบาลจะยังมุ่งมั่นเดินหน้าต่อโดย "นายสมหมาย ภาษี" รมว.คลัง จะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันนี้ (11 พ.ย. 2557) หลังจากนี้คงจะต้องจับตาดูว่าแรงค้านนั้นจะขยายวงออกไปได้มากน้อยแค่ไหน แม้ว่าผ่านครม. ก็ตาม แต่ยังจะต้องฝ่าด่านอีกหลายด่าน จึงไม่ใช่เรื่องง่าย ส่วนเม็ดเงินที่จะได้จากการเก็บภาษีมรดกนั้น รัฐบาลคาดว่าจะได้ราวๆ 5 พันล้านบาท แม้ไม่ได้มากมายอะไรแต่ "ภาษีมรดก" คือสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของ "การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม" อย่างไรก็ตาม มีข้อเสนออยู่ 2-3 ข้อ ไว้พิจารณา ประการแรก แม้ว่ารัฐบาลจะเดินหน้าผลักดันภาษีมรดก แต่ต้องให้กฎหมายฉบับประวัติศาสตร์นี้ผิดพลาดน้อยที่สุด จึงควรเผยแพร่เนื้อหารายละเอียดให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมวิพากษ์วิจารณ์ เสนอแนะ เพื่อปิดจุดอ่อนที่จะตามมาภายหลัง ประการที่ 2 รัฐบาลไม่ควรจะนำเงินรายได้ภาษีมรดกเข้ารัฐแต่ควรนำไปตั้งเป็น "กองทุนเพื่อการศึกษา" สนับสนุนเด็กนักเรียนนักศึกษาที่เรียนดีแต่ยากจน หรือเป็นทุนให้นักศึกษาที่เรียนดีได้เรียนต่อต่างประเทศกลับมาพัฒนาประเทศต่อไป วิธีนี้จะจูงใจให้คนรวยอยากเสียภาษีมากขึ้น ประการที่ 3 รัฐบาลต้องเร่งผลักดันภาษีที่ดินและ สิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ "การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่า" และเป็น "คู่แฝดภาษีมรดก" ออกมาพร้อมๆ กัน ซึ่งรายได้เป็นเนื้อเป็นหนังมากกว่า ประการที่ 4 หาทางป้องกันไม่ให้นักการเมืองชูประเด็น "เลิกภาษีมรดก" มาหาเสียงในการเลือกตั้งในคราวหน้า ทั้งหมดนี้คือจุดอ่อนที่ต้องเร่งปิดให้ได้ http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRReE5UWXpOVEE0TXc9PQ==§ionid= ```````````````````````````````````````````````````````````````````````````````````````````````````````````````````````` น่าคิดน่ะครับ สำหรับข้อสุดท้ายนี้... หรือเพื่อนๆ ว่าไง ?
จะได้ประมาณ 5,000 ล้านบาท นี่จริงเหรอ แล้วมันจะไปลดความเหลื่อมล้ำอะไรได้ สมมุติเล่น ๆ ว่าคนรวยมีอยู่ซัก 5 ล้านคน เท่ากับเอาเงินเขามาคนละ 1,000 แบ่งให้คนไม่รวย สมมุติง่าย ๆ ว่ามีอยู่ซัก 50 ล้านคน ก็ได้คนละ 100 บาท โอ้โห ลดความเหลื่อมล้ำได้แค่นี้เองเหรอ
แค่ลองคิด ถ้าปรับกฎเกณฑ์นิดจะได้ไหมครับ ถ้าทายาทรับมรดกที่ดิน อาจไม่ต้องสายตรงก็ได้เอาเป็นว่าพินัยกรรมถูกต้องหรือแบ่งกันในทายาทโดยธรรมให้ถูกต้องละกัน ก็คิดมูลค่าตามราคาประเมินแล้วทดไว้หลังโฉนดก่อน ยังไม่ต้องเก็บตังทันที ถ้าอยู่อาศัยกันต่อไปในที่ดินมรดกนี้ ก็ให้เป็นมูลค่าแค่ในกระดาษต่อไป คือแปะโป้งไว้ก่อน แต่ถ้าปล่อยขายต่อก็หมด'ความเป็นมรดกที่ใช้อยู่อาศัย' แล้วถึงจะเก็บตังกันจริง ไม่เกี่ยวกับภาษีซื้อขายแลกเปลี่ยนให้จำนำจำนองหรือภาษีธุรกิจเฉพาะอื่นๆตามปกตินะ อันนั้นคิดต่างหาก จะเกิดปัญหาขั้นต่อไป คือ ถ้าทายาทรุ่นนี้ตาย ส่งต่อที่ดินมรดกกันต่อๆไปอีกหลายรุ่นล่ะ มูลค่าที่ทดไว้มันไม่สะสมท่วมราคาที่ดินเหรอ? ผมว่า เราก็ลงรายละเอียดได้นะครับ ว่ารีเซทมูลค่าที่แปะโป้งไว้ทุกครั้งที่สืบเปลี่ยนรุ่น ถ้าอยู่กันไปชั่วลูกหลานเหลนโหลน ก็จะเหลือแต่ภาษีในรุ่นนั้นๆทดอยู่ในกระดาษ ไม่มีใครต้องจ่ายจริงซักคนตลอดไปจนตัวตายแหละ แต่เมื่อไรที่ทายาทรุ่นสุดท้ายที่ถือครองขายออก ขายที่บรรพบุรุษกิน ก็จ่ายตอนนั้นแหละ มูลค่าก็แค่ส่วนของตัวเอง ไม่ได้แบกหนี้โคตรเหง้า อาจระบุลงไปอีกนิดด้วย ว่า เงื่อนไขแค่ไหนถึงจะอ้างได้ว่าเป็นมรดกที่ใช้อยู่อาศัยจริงๆ ไม่ใช่แค่จดชื่อถือกรรมสิทธิ์ซะ10บ้าน แล้วบอกว่าพวกนี้บ้านมรดกเอาไว้อยู่อาศัยนะ ไม่มีตังจ่ายภาษีหรอก เช่น มีชื่อเป็นเจ้าบ้าน ถือครองได้ไม่เกินxxหลัง/แปลง มูลค่ารวมทุกโฉนดไม่เกินxxx etc. ประมาณว่า บ้านเล็กบ้านน้อยเยอะ นอนไม่ทั่วก็ปล่อยออกมั่งเหอะ แล้วจ่ายภาษีไปซะ
ผมเห็นด้วยที่ให้เก็บ เหตุผลก็คล้ายๆกับหลายๆท่านที่โพสมาแล้วขี้เกียจพิมพ์ซ้ำ ขอให้ทำแบบรัดกุมที่สุดก็โอเค แต่ที่อยากออกความเห็นในกระทู้นี้ก็คือไอ้ความเห็นลุงไพศาลเนี่ยบางความเห็นก็โอเคนะ แต่หลายๆความเห็นแกผมรู้สึกว่าแกเพ้อเจ้อไร้สาระมาก โดยเฉพาะเรื่องทางประวัติศาสตร์นี่หลายครั้งผมอยากจะด่าจริงๆ คือไม่มีความรู้จริงๆแล้วดันอยากโชว์ บางเรื่องก็มีอภินิหารบ้าบออะไรไม่รู้เต็มไปหมด สาวกก็ไม่รู้เรื่องรู้ราวเชื่อตามแกไปเป็นที่สนุกสนานเลยทีเดียว
เห็นข่าวนี้ เขาให้รายละเอียดไว้เยอะดี... ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- เล็งชงครม.ภาษีมรดกโอนก่อนตายเสีย5% เล็งชงครม.ภาษีมรดกโอนก่อนตายเสีย5% ระบุหากยกมรดกให้บุคคลอื่น เข้าเกณฑ์เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คลัง เล็งเสนอ "ครม."อนุมัติร่างกฎหมายภาษีมรดก "สมหมาย" ผลักดันเก็บภาษีมรดกเต็มเพดาน 10% ของมูลค่ามรดกที่เกินกว่า 50 ล้านบาท ทายาทสายตรงเข้าข่ายเสียภาษี หากรับก่อนตกเป็นมรดก ทายาทสายตรงเสียภาษี 5% ของทรัพย์สินที่เกินกว่า 10 ล้านบาท ย้ำทั้ง 2 กรณีหากโอนให้คนอื่นเข้าเกณฑ์เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ร่างภาษีมรดกที่คณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาแล้วเสร็จ จะถูกเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม) ในเร็วๆนี้ ซึ่งยืนยันว่า จะพยายามผลักดันให้ร่างภาษีดังกล่าวมีผลบังคับใช้ เชื่อจะผ่านความเห็นชอบจากทุกฝ่าย รวมถึงชั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) "ผมพยายามให้เก็บอัตราภาษีเต็มเพดาน เพราะเป็นอัตราจัดเก็บที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบประเทศอื่นๆ เช่น ยุโรป และสหรัฐ เรียกเก็บที่ 40% ญี่ปุ่น 55% ขณะที่ สิงคโปร์ไม่มีการเก็บภาษีดังกล่าว เพราะเป็นประเทศค้าเงินที่ไม่ควรเก็บ หากเก็บแล้ว เงินก็จะไม่เข้าประเทศ" นายสมหมาย กล่าว ส่วนมูลค่ามรดกที่เข้าข่ายเสียภาษีดังกล่าว ต้องมีมูลค่าเกินกว่า 50 ล้านบาท กล่าวคือ มรดกที่มีมูลค่าต่ำกว่า 50 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นการเสียภาษีดังกล่าว ส่วนที่เกินกว่านั้น ต้องเสียภาษีตามอัตราที่กำหนด ตัวอย่างเช่น ผู้ตายมอบมรดกมูลค่า 210 ล้านบาท ให้แก่ลูก 3 คนๆ ละเท่าๆ กัน คือ 70 ล้านบาท ในจำนวนนี้ 50 ล้านบาทแรก จะไม่เสียมรดก แต่เสียในส่วนที่เกินมา 20 ล้านบาท หากเก็บเต็มเพดานที่ 10% เท่ากับว่า ผู้รับมรดกจะเสียภาษีละ 2 ล้านบาท หากผู้ตายมีทรัพย์จำนวนมาก และต้องการยกมรดกให้แก่บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ลูก เช่น หลาน เป็นต้น บุคคลที่ได้รับมรดก ต้องเสียภาษีตามเกณฑ์ของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งจำนวน สำหรับการให้มรดกก่อนที่ผู้ให้มรดกจะเสียชีวิต กระทรวงการคลัง จะแก้ไขกฎหมายประมวลรัษฎากรที่เกี่ยวกับการรับให้ ซึ่งเดิมจะกำหนดให้มีการยกเว้นการเสียภาษี โดยจะแก้ไขให้มีการเก็บภาษีทายาท หรือลูกสำหรับมูลค่ามรดกที่เกินกว่า 10 ล้านบาท ในอัตรา 5% เมื่อผู้รับเสียภาษีจากการรับให้ดังกล่าวแล้ว ไม่ต้องเสียภาษีมรดกอีก ส่วนการให้บุคคลอื่น ผู้รับต้องเสียภาษีตามเกณฑ์ของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งจำนวน "ถ้าเป็นมรดกที่ให้แก่ลูก เราจะเก็บส่วนเกิน 50 ล้านบาทขึ้นไป ส่วนการให้ก่อนตกเป็นมรดกแก่ลูก จะยกเว้น 10 ล้านบาทแรก ถ้าพ่อมีเงินเยอะ จะทยอยให้ในสูตรการเสียภาษี ก็ต้องเสียภาษีตามเกณฑ์เป็นปีๆ ไป แต่ถ้าพ่อมีเงินเยอะกว่านั้น ไม่ให้ลูกทั้งหมด จะให้มหาวิทยาลัย โรงเรียน สาธารณสุข เป็นกองมรดก ก็จะไม่เสียภาษีมรดก แต่ถ้ามีรายได้เกิดขึ้นจากการตั้งเป็นกองมรดก ต้องนำมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นายสมหมาย กล่าว นายสมหมาย ยอมรับว่า แม้ร่างกฎหมายดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ แต่ด้วยนวัตกรรมทางการเงินที่มีความก้าวหน้า จึงเชื่อว่า จะมีการรั่วไหลของการจัดเก็บภาษีดังกล่าว ถ้ามีการหลีกเลี่ยงการเสียภาษี จะถือว่ามีความผิดต่อกฎหมายดังกล่าว "ในระหว่างที่กฎหมายยังไม่มีผลบังคับใช้ ใครจะมีการโยกย้ายทรัพย์สินก็จะถือสามารถทำได้ แต่ที่รีบโอนกัน เพราะไม่รู้ คิดว่า เราจะเก็บภาษีการโอนทั้งหมด ก็รีบโอนกัน ก็ยืนยัน ไม่ถึง 50 ล้านบาท ไม่ต้องเสีย" เขากล่าว ด้านพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและรมว.กลาโหม กล่าวถึงการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 12 พ.ย.นี้ว่า เท่าที่ทราบยังไม่มีการพิจารณาเรื่องสำคัญ เพราะที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการทุกอย่างแล้ว การประชุมเป็นไปตามวาระ คิดว่าไม่น่ามีปัญหาอะไร สำหรับเรื่องการพิจารณาราภาษีมรดกนั้นกำลังดำเนินการอยู่ แต่ยังไม่พิจารณาในการประชุมครม. วันที่ 12 พ.ย. เช่นเดียวกับการพิจารณารถไฟร่างคู่ http://www.bangkokbiznews.com/home/...616643/เล็งชงครม.ภาษีมรดกโอนก่อนตายเสีย5.html -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ภาษีมรดกอยู่บนความคิดพื้นฐานว่าแม้ว่าพ่อแม่จะร่ำรวยแค่ไหน ความร่ำรวยนั้นเกิดจากน้ำพักน้ำแรงของพ่อแม่ ทายาทที่ไม่ได้มีส่วนร่วมเลย แล้วอยู่ดีๆก็ได้ทรัพย์มาโดยไม่ได้ทำอะไรก็เหมือนกับถูกล๊อตเตอรี่ครับ เลยต้องเก็บภาษีแพงหน่อย บางประเทศหาทางออกให้กับผู้ที่รับมรดกไม่ต้องเสียภาษีหนักด้วยการที่ผู้รับมรดกสามารถตั้งมูลนิธิ หรือบริจาคช่วยเหลือสังคมเพื่อนำมาเป็นส่วนลดหย่อนภาษีได้ ส่วนตัวผมแล้วเห็นด้วยเรื่องการเก็บภาษีมรดกครับ
ถ้าเก็บภาษีมรดก แล้วเป็นการทำลายการออม หรือทำให้มีการนำเงินออกนอกประเทศ ผมว่ามันน่าจะเป็นลักษณะเฉพาะบางประเทศนะ ทำลายการออม มองไม่ออกว่า ถ้าถูกเก็บภาษีมรดกเลยไม่สะสมเงินเลยหรือไง มีแล้วใช้ให้หมดเลยหรือ แล้วไม่กลัวลูกหลานมันด่าหรือไงว่า กลัวเสียภาษีจนไม่เหลืออะไรให้มันเลย ผมว่าคนที่จะออมเงินนี่มันคงไม่ใช่คนรวยหรอก ออมไปจนตายก็ไม่ถึง 50 ล้าน ส่วนคนรวยนั้น อย่าเรียกว่าการออมเลย เรียกว่าเขาเอาเงินไปเก็บไว้ในแบ๊งค์ดีกว่า เพราะฉะนั้น ถ้าระดับในประเทศไม่น่าจะมีผลอะไรกับการออม แต่อาจมีผลที่คนรวยขี้งก เอาเงินที่ได้มาเป็นกอบเป็นกำไปเก็บไว้กับแบ๊งค์ต่างประเทศแทนที่จะเก็บไว้กับแบ๊งค์ในประเทศเท่านั้น แบบนี้น่าจะเรียกว่าขนเงินออกนอกประเทศมากกว่า ประเทศไทย อาจมีประเภทขนเงินออกนอกประเทศ น้อยราย ต่างกับต่างประเทศ เพราะเศรษฐีไทยประเภทที่ถือเงินสดเป็นพัน ๆ ล้าน หรือหมื่นล้าน หรือแสนล้าน มันไม่ค่อยมี เอาแค่ว่าถ้าเรามีเงินหนึ่งพันล้าน แค่หนึ่งพันล้านนะ เราจะตะเกียกตะกายเอาไปฝากแบ๊งค์ในต่างประเทศเพราะกลัวเสียภาษีหรือเปล่า แล้วทรัพย์สินของเราที่มันเป็นที่ดินมูลค่า อีกหนึ่งพันล้าน รถยนต์ คอนโด บ้าน ธุรกิจที่ทำอยู่ หุ้นที่ถืออยู่ รวมมูลค่าอีกห้าพันล้าน มันขนไปได้หรือเปล่า เรื่องนี้ ถ้าเรามองว่ามันเป็นการเสียสละของคนที่มีทรัพย์สินเงินทองมากมายเหลือกินเหลือใช้แล้ว ก็ควรแบ่งปันช่วยเหลือประเทศชาติบ้างการหลบเลี่ยงก็อาจจะน้อย แต่ถ้ามองว่าเป็นการลดความเหลื่อมล้ำ การหลบเลี่ยงมันก็อาจเยอะ เพราะเขาอาจคิดว่าเขาไม่ได้รับความเป็นธรรมนั่นแหละ
ผมก็ยังไม่เห็นคำตอบชัด ๆ ว่าเหตุผลอันชอบธรรมในการเก็บภาษีมรดกมันอยู่ตรงไหน จะบอกว่า เพราะลูกหลานไม่ได้ทำอะไรเลย แต่ได้ทรัพย์มา จึงสมควรรีดภาษี ผมก็ยังรู้สึกว่า มันใช่แล้วเหรอ เหตุผลแบบนี้ อย่างนี้ กำไรจากการขายหุ้นสมควรเปลี่ยนมาเสียภาษีด้วยนะครับ (อย่าอ้างว่า นั่งลุ้นหุ้น ฟังข่าวหุ้น คือการทำงานสร้างมูลค่านะครับ ขอร้องเลย ... ไม่งั้นผมจะขออ้างว่าทำตัวเป็นอภิชาติบุตร ไม่เป็นลูกเนรคุณ จนได้มรดก ก็ถือเป็นการทำงานเหมือนกัน) จะหัก จะรีดเป็นของส่วนรวม ต้องมีฐานเหตุผลที่โยงกับส่วนรวมครับ ไม่ใช่แค่ เฮ้ยเมิงมีมากแล้ว เหลื่อมล้ำว่ะ เมิงต้องโดนรีด หรือ เฮ้ย เมิงได้มาโดยไม่ได้ทำอะไร เมิงต้องโดนรีดเว้ย
เอาล่ะ แต่ถ้าไหน ๆ จะเก็บให้ได้ คำถาม .... ถ้าผมรวย ลูกผมบรรลุนิติภาวะแล้ว ผมให้เงินลูกเดือนละสิบล้าน หกเดือน ลูกไปซื้อที่ดิน 60 ล้านเป็นชื่อลูกตั้งแต่ตอนนี้ ต้องเสียภาษีมั้ย
ถ้าเป็นแบบนี้ก็เสียแค่ภาษีเงินได้ที่ได้เดือนละสิบล้าน กับภาษีโอนย้ายเมื่อซื้อที่ดิน 60 ล้าน ซึ่งภาษีเงินได้เดือนละสิบล้านนี้ก็ 35% ก็ถือว่าเยอะมากแล้วล่ะครับ
ถ้ามองว่า ลูกได้เงินมาแบบเปล่า ไม่ได้ทำอะไรเลย สมควรต้องจ่ายภาษี ผมว่ามันก็ไม่ยุติธรรมกับคนเป็นพ่อเป็นแม่นะครับ ถ้าพ่อแม่เขาตรากตรำทำงานมาทั้งชีวิต ก็เพื่อให้ลูกหลานได้สบายกว่าตัวเอง แต่อยู่ๆ ก็มีคนมาอ้างว่า ต้องเสียภาษีเพราะลูกไม่ได้ทำอะไรเลย ได้เงินมาเฉยๆ นึกถึงคนเป็นพ่อแม่ที่ทำงานหนัก เขาก็คิดว่าไม่ยุติธรรมกับลูกเขาก็ได้ เงิน 50 ล้าน ไม่เยอะนะผมว่า ถ้า 100 ล้านขึ้น แล้วค่อยเก็บภาษี ผมว่าสมเหตุสมผลหน่อย ที่จะเก็บ เพราะมีเงินขนาดนี้ คงไม่เหนื่อยแล้ว
ที่ผมสงสัยก็คือ ถ้าผมไม่มีเงินเลย แต่ผมได้มรดกมาเป็นที่ดินมูลค่า 50 ล้าน ผมต้องถูกบังคับให้ขายที่เพื่อเอาเงินไปเสียภาษีรึเปล่า
ผมว่าตรงนี้เป็นเรื่องของสังคมครับ พวกฝรั่งมีภาษีมรดกที่เก็บหนักๆเพราะพอลูกเต้าอายุ 18 ก็ออกจากบ้านไปใช้ชีวิตของตัวเองแล้ว เพราะงั้นก็ไม่แปลกที่กฏหมายออกมาเป็นแบบนี้ ต่างจากครอบครัวของคนเอเซียที่สะสมทรัพย์เอาไว้เพื่อลูกหลาน กฏหมายมรดกเลยออกมาเป็นแบบนี้ เพราะคนที่มีทรัพย์สินเกิน 50 ล้านนี่เสียภาษี 10% ไม่ใช่จำนวนมากเลย ฝรั่งนี่ไม่ค่อยอยากได้มรดกซักเท่าไหร่ครับถ้าคนที่รับไม่รวยจริง เพราะกลายเป็นเรื่องยุ่งยากซะงั้น 50 ล้านนี่ถ้าเก็บภาษีซัก 30% เหลือ 35 ล้านนี่ไม่น้อยเลยนะครับ นี่เราเก็บแค่ 10% เท่านั้นเอง เก็บเท่านี้เหลือเงิน 45 ล้านนี่ถ้าไม่ไปติดการพนันน่ี่กว่าจะใช้หมดก็ไม่ง่ายนะครับ จะว่าสบายไปตลอดทั้งชาติเลยก็ยังได้
ขอแจมสักนิดค่ะ....ความเห็นส่วนตัว มรดก...ส่วนใหญ่ก็จะมี เงินสด เงินฝากธนาคาร หุ้น พันธบัตร ทองคำ เครื่องประดับ และ สังหาริมทรัพย์อื่น ๆ อสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน และ ธุรกิจ ในกรณีที่เป็น เจ้าของกิจการ.. ที่นี้ลองแยก.. ในส่วนของ เงินสด เงินฝากธนาคาร หุ้น พันธบัตร รวมไปถึง ทองคำ เครื่องประดับและสังหาริมทรัพย์อื่น เหล่านี้เป็นมรดกที่สามารถ เปลี่ยนเป็นเงินสดและมีมูลค่าที่แน่นอน ตามราคาซื้อขายในขณะนั้น ถ้ารวมกันแล้ว มีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท ส่วนที่เกินให้จัดเก็บภาษีในอัตรา 10% ในส่วนของ อสังหาริมทรัพย์ บ้าน ที่ดิน เป็นมรดกที่ประเมินมูลค่าเป็นจำนวนเงิน ได้ค่อนข้างยาก ถ้าในกรณีที่เป็นบ้านซึ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัย ก็ไม่สมควรที่จะ จัดเก็บภาษีมรดก เพราะตัวบ้านมีค่าความเสื่อมสภาพ ส่วนของที่ดิน โดยปกติ การโอนเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ต้องเสียภาษีและค่าธรรมเนียม อยู่แล้ว และราคาทีดินส่วนใหญ่ก็จะมีราคาเพิ่มสูงขึ้น และเมื่อมีการขาย ผู้ที่ขายก็ต้องนำ รายได้จากการขายที่ดินไปคำนวณภาษีเงินได้ประจำปีอยู่แล้ว การจัดเก็บภาษี มรดกควรจัดเก็บเมื่อมีการจำหน่ายให้กับบุคคลอื่น หรือการโอนกรรมสิทธิ์ให้ กับบุคคลที่มิใช่ทายาทหรือผู้มีสิทธิ์รับมรดกตามกฎหมาย ดังนั้นการจัดเก็บ ภาษีมรดกที่ดิน ควรปรับเพิ่มอัตราภาษีกรณีขายที่ดิน หรือการขยายเวลา การครอบครองในกรณีที่จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะให้มากกว่าเดิมจะง่ายกว่า ในส่วนของ ธุรกิจ ในกรณีที่เป็นเจ้าของกิจการ ประเด็นนี้ตัดทิ้งไปได้เลย ไม่ต้องไปสนใจ..เพราะธุรกิจจะอยู่หรือจะไป ก็อยู่ที่การบริหารของผู้ที่รับมรดก ในประเด็นที่ว่า... ถ้าให้เงินเดือนลูกชาย เพื่อให้ซื้อที่ดินโดยกรรมสิทธิ์เป็นของลูกชาย ลูกชายก็ต้องนำรายได้ที่ได้รับไปรวมคำนวณเป็นเงินได้ในปีที่ได้รับ เพราะถือเป็นการให้โดยเสน่หา... หรือ ในกรณีที่ จะไม่นำเป็นคำนวณภาษี แบบว่า แอบให้.. คุณลูกชายก็ต้องชี้แจงว่า เงินที่นำมาซื้อที่ดินมูลค่าเกินว่า 10 ล้านบาท มีที่มาที่ไปอย่างไร..เพราะเข้าเกณฑ์..กฎหมายฟอกเงิน...
เหอๆๆ...ถ้ากม.ออกมาโดยไม่ชัดเจนในประเด็นต่างๆ งานนี้มีหวัง... คนใกล้ๆจะตาย คงได้ตายเร็วกว่าปกติ ก่อนยกมรดกให้ เพราะต้องมาคอยช่วยลูกหลาน จัด ตัด แบ่ง หาวิธี หลบหลีกภาษี ? ดีครับ กว่ากม.จะออกมา ลูกผมมันคงยกมรดกให้หลานผมเรียบโร้ยไปแล้วแหล่ะ... ผมว่า กม.ภาษีที่ดินกับมรดก นี่...น่าจะจัดให้เป็น กม.7 ชั่วโคตรได้เลย เพราะผลกระทบ มันกระเทือนถึงดวงดาวจริงๆ...ว่ามั๊ย...
อีกนิดค่ะ... ถ้าแนวคิดที่ว่า..โอนก่อนเสียชีวิต เสียภาษี 5% ซึ่งต่ำกว่าการโอนหลังเสียชิีวิต ปัญหาสังคมจะตามมา...จะมีบุพการีถูกทอดทิ้งเพิ่มขึ้น พี่น้องทะเลาะกันเพราะ เรื่องมรดกมากขึ้น... ฝากคุณสมหมาย คิดให้หนัก ๆ .... อย่าเร่งดำเนินการ เพียงเพราะ ต้องการผลงาน... เพราะประมวลรัษฎากร..จะอยู่กับประชาชนไปอีกนาน ยังมี ประมวลรัษฎากร มาตราอื่นที่ควรแก้ไข.. มากกว่าเร่งออกกฏหมาย..ที่ยังขาดองค์ประกอบ...
ผมว่าแปลกนะครับ ในเมืองกรุงแท้ๆ กลับมีที่รกร้าง เยอะแยะ แถวๆปทุมธานี เห็นบางคน ไปทำนา ในที่ติด ถนนใหญ่ ผมว่าถ้าไม่ใช่ที่ของเขาเอง คงต้องหวังอะไรในใจแน่ๆ แต่คงอีกนาน น่าจะเก็บภาษี การถือครอง ที่ดิน แบบนั้นเพิ่มมากกว่า
ปัญหาใหญ่ไม่น่าใช่การเก็บภาษี แต่ถ้าเก็บแล้วไปให้นักการเมืองโกงเข้ากระเป๋าเป็นแสนๆล้าน ใครจะไปอยากจ่าย ต้องทำให้เห็นก่อนว่า ใครโกงไปยึดทรัพย์มันกลับมาให้หมด ไม่ใช่ให้ปชชจ่ายๆๆๆภาษีไปใช้หนี้ที่พวกมันทำชิบหาย ถ้าทำได้แล้ว จะเก็บก็เก็บไปเถอะ จะภาษีมรดก ภาษีที่ดิน สารพัดภาษีเก็บเงินคนรวยทั้งหลาย เอาเงินคนรวยมาช่วยเหลือคนจนบ้างจะเป็นไร ปล ส่วนตัวโดนไป 15% ภาษีมรดก
....ที่คุยๆกันนี้มีโอกาสเสียภาษีมรดกกันมั๊ยฮะ ผมคนนึกล่ะอยากเสียภาษีมากๆๆๆ อยากเสียภาษีมรดกสัก100ล้านก็พอ
จริง ๆ พ่อแม่ให้ลูกนี่มีข้อยกเว้นภาษีได้เยอะแยะ ยังไงคนเราก็มีวิธี เช่น ทยอยตั้งแต่ลูกยังเด็ก ออมให้ลูกไปเรื่อย ๆ ในบัญชีชื่อลูก ให้ในเทศกาล เป็นแต๊ะเอีย ของขวัญวันเกิด ปีใหม่ วันหมั้น วันแต่งงาน
ภาษีมรดกเก็บในรูปแบบไหนบ้างครับ เงินสด ที่ดิน หุ้น? เก็บยังไงโดยรายละเอียด? ต่อไปเจ้าของทรัพย์สินมากๆคงต้องวางแผนการเงินไว้ดีๆ
แล้วถ้าให้แบบเป็นของขวัญวันแต่งงาน อย่าง เจ๊กระบังลม ให้ บรรณพจน์ 700 กว่าล้านล่ะครับ ถือเป็นภาษีมรดกด้วยมั้ย วิธีเลี่ยงมีเยอะเลย ก็ในเมื่อเจ๊กระบังลมให้แบบนี้ยังไม่ผิดเลย แค่บอกว่าให้งานแต่งงาน วันเกิดหลาน วันเกิดลูก ก็ไม่น่าเข้าข่ายเป็นการให้มรดก
ผมว่าอันนี้แล้วแต่ความตั้งใจของเจ้าของเงินแล้วล่ะครับ คือถ้าจะเลี่ยงจริงๆมีวิธีเลี่ยงมากมาย เพราะคนออกกฏหมายคงไม่สามารถจะปิดทางหลบเลี่ยง หรือออกกฏหมายแบบละเอียดยิบจนครอบคลุมทุกกรณีได้ นักบัญชีเก่งๆที่รู้กฏหมายพวกนี้เค้ามีวิธีอยู่แล้วครับ อย่างที่คุณ bookmarks ให้ตัวอย่างมานี่ก็เห็นง่ายๆเลย ดังนั้นเรื่องมันก็จะกลับมาอยู่ที่ผู้บังคับใช้กฏหมายว่าจะตีความแบบไหนเวลาไปเจอกรณีที่ไม่เคยมีมาก่อน ส่วนใครที่รวยๆตอนนี้หรือกำลังจะรวยในวันข้างหน้า ผมว่าคงต้องมองไปข้างหน้าว่าจะให้มรดกลูกแบบไหน? จะให้ทั้งหมดเลย เค้าจะได้สบายๆ หรือให้พอประมาณเผื่อเป็นหลักประกันในอนาคต ที่เหลือให้เค้าไปทำต่อกันเอง? ถ้ารู้ตรงนี้ก็จะมองออกเองล่ะครับว่าจะวางแผนยังไง