คิดอย่างไรกับสถานการณ์บ้านเมืองปี 2561 กันบ้างครับ

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย Anduril, 12 Jan 2018

  1. Anduril

    Anduril อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    4 Jun 2015
    คะแนนถูกใจ:
    5,268
    004-2(1).jpg
    หลังจากที่ คสช.เข้ามาควบคุมอำนาจและจัดตั้งรัฐบาล บริหารบ้านเมืองมาได้เกือบ 4 ปีแล้ว ได้แก้ไขปัญหาต่างๆไปมากมายทั้งเก่าและใหม่ หลายอย่างก็ยังแก้ไขไม่ได้ บางอย่างที่เกิดขึ้นใหม่ก็ทำท่าจะลุกลามบานปลาย จนมีการมองว่า กองหนุนของลุงตู่ถูกใช้ไปหมดแล้ว
    ประกอบกับ รธน.มีการประกาศและมีผลบังคับใช้แล้ว ดูเหมือนอำนาจรัฐฐาธิปัตย์ลดน้อยลง ทำให้มีการเคลื่อนไหวท้าทายอำนาจรัฐฯอย่างต่อเนื่อง จากนักการเมือง แกนนำต่างๆ โดยมีสื่อมวลชนที่นำเสนอข่าวด้านลบของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง จนสั่นคลอนความน่าเชื่อถือรัฐบาลไปไม่น้อย คิดว่า รัฐบาลและประเทศไทยหลังจากนี้ไปจะเป็นอย่างไรต่อไปครับ
    - รัฐบาลคสช. จะเป็นอย่างไรหลังจากนี้ จะต้องมีการปรับเปลี่ยนคนที่ มีปัญหา ออกไหม ถ้าไม่ปรับจะอยู่ได้ถึงเลือกตั้งหรือเปล่า ?
    - การเลือกตั้งในปีนี้ 2561 จะมีขึ้นไหม ? การบริหารบ้านเมืองหลังการเลือกตั้ง จะดีขึ้นกว่าเดิมหรือเปล่า ในเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่นจะลดน้อยลงไหม
    ..............................................................
    ตัวผมเอง ไม่แน่ใจเรื่องที่ถามเลยว่าจะออกมาในรูปไหน กรณีรองประวิตรที่ตอนนี้กลายเป็นเป้าโจมตีของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง บางมุมมองก็บอกว่า ฝ่ายตรงข้ามพยายามเล่นงานเพื่อล้มรัฐบาลลุงตู่ บางมุมมองก็บอกว่าถ้าลุงตู่ กล้าปรับออก ปชช.จะหนุนเองและจะเพิ่มมากขึ้น
    แต่ในความเป็นจริง ผมไม่คิดว่า ปชช.ต่อให้มีเป็นสิบล้านคนก็หนุนลุงตู่ไม่พอหรอกครับ ถ้าไม่มีฐานอำนาจทางการเมือง การทหาร ทางธุรกิจหนุนหลังค้ำจุนไว้ให้
    และเวลานี้ ผมพอใจกับความสงบเรียบร้อย บ้านเมืองที่ไม่วุ่นวาย ส่วนปัญหาอื่นๆ หนักบ้างเบาบ้างก็แก้ไขกันไป ผมเชื่อว่าบ้านเมืองระยะเปลี่ยนผ่านต้องใช้เวลาในการปรับตัว ไม่สามารถดีขึ้นในทันที และผมไม่เชื่อว่า นักการเมืองที่จะกลับเข้ามาหลังเลือกตั้ง(ซึ่งก็คือหน้าเดิมๆ) จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้หรอก
    เพื่อนสมาชิก คิดเห็นอย่างไรกันบ้างครับ ? มือดีฯก็เข้ามาตอบได้ทุกล็อกอินนะ :p
     
  2. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    ตั้งแต่ลุงตู่ส่งสัญญานอยู่ต่อ ทุกฝ่ายหันมาสามัคคีรุมทันที แต่ผมก็สงสัยนะว่าปชปและสื่อผู้จัดการ(พันธมิตร)จะร่วมกับเพื่อไทยรุมทำไม ในเมื่อถ้าให้เลือกตั้งเพื่อไทยก็ชนะอยู่ดี?

    ส่วนเรื่องนาฬิกาสื่อเอามาจากเพจcsi เพจมันก็มโนเอาว่าเป็นรุ่นนั้นรุ่นนี้ ผมว่าทางที่ดีประวิตรควรออกมาอธิบายมากกว่าเลือกเงียบ
     
  3. Anduril

    Anduril อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    4 Jun 2015
    คะแนนถูกใจ:
    5,268
    กรณีปชป. ผมมองว่า จะวางตัวเฉยหรือออกมาแสดงบทบาทก็โดนทั้งขึ้นทั้งล่องครับ
    ถ้าวางเฉยก็โดนแซะว่าเห็นด้วยกับเผด็จการ พอออกมาแสดงความเห็นเกือบทุกเรื่องก็โดนด่าทุกที แต่หลายเรื่องที่ให้ลูกน้องออกมาก็สมควรโดนจริงๆ กลายเป็นโดนมัดมือให้เล่นเกมส์ตามเพื่อไทยทั้งที่รู้ว่า เลือกตั้งก็แพ้ เพราะยึดหลักการมั้ง
    ส่วนผู้จัดการ ก็เป็นอย่างนี้มาตลอดครับ กัดกปปส. ปชป. แซะทหาร
    กรณีนาฬิกา ผมเห็นข่าวการมโนแล้วเหนื่อยแทนจริงๆ แต่ให้ประวิตรชี้แจงเองไม่น่าจะดีหรอกครับ เพราะตัวแกเองพูดไม่ค่อยจะรู้เรื่องอยู่แล้ว อาจจะอายุมากหรือป่วยอยู่ แต่สงสัยว่าแกไม่มีที่ปรึกษาหรือคนช่วยแก้ปัญหาให้เลยหรือ ออกมาพูดแต่ละเรื่องโดนสื่อไล่ต้อนตอบลิ้นพันทุกที ไม่รู้ว่า ผิดจริงแล้วแก้ไม่ได้เลยดึงเวลาไปเรื่อยๆหรือ นอนใจว่าเรื่องไม่มีปัญหาอะไร แต่มันกลายเป็นว่า รัฐบาลโดนถล่มซ้ำไปเรื่อยๆ แถมกองหนุนก็หันกลับมาผสมโรงด่าด้วยอีก
    เพียงแต่ช่วงนี้ยังดีอยู่ตรงที่ กองหนุนที่ด่าอยู่นี้ ถ้าให้เลือกระหว่างนักการเมือง กับลุงตู่ คนยังเชื่อใจ ลุงตู่มากกว่า มาก
    เท่าที่ฟังมาว่า ถ้าล้มประวิตรลงได้ ลุงตู่ก็ไปไม่รอด ไม่รู้เท็จจริงแค่ไหน เลยมีความพยายามเล่นงานจุดนี้ตลอด และลุงตู่เลยจำเป็นต้องอุ้มเอาไว้ เช่นกัน
     
    อาวุโสโอเค และ ridkun_user ถูกใจ.
  4. Surawong

    Surawong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    22 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,544
    ปี 2561 รัฐบาล คสช ก็น่าจะอยู่บริหารประเทศได้ตามปกตินะ คิดว่าน่าจะอยู่ไปจนถึงเลือกตั้งจนได้รัฐบาลใหม่นั่นแหละ เพราะถ้าอยู่ไม่ถึงตรงนั้นก็หมายถึงว่าต้องหันหลังกลับมานับหนึ่งใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งคิดว่าเป็นเรื่องยาก เพราะถ้าจะทำให้ไม่มีการเลือกตั้งได้ ก็ต้องมีเหตุการณ์ นรกป่วนชาติ ขึ้นมาอย่างใหญ่โตพอสมควรเลยทีเดียว

    หน้าที่ของนากยกตู่ก็คือ ปฏิรูปประเทศ และนำพาประเทศไปสู่การเลือกตั้งให้ได้ตามแผนที่กำหนดไว้ แต่ที่เราเสพย์ข่าวกันอยู่ทุกวันนี้ มันเป็นข่าวของกลุ่มต่าง ๆ เช่น กลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มบ้าอำนาจ กลุ่มอยากแสดงออกถึงขี้เท่อทางการเมือง ซึ่งมีทั้ง นักการเมือง นักวิชาการ สื่อมวลชน และแกนนำกลุ่มต่าง ๆ ปะปนกันไป แล้วแต่กิเลสของแต่ละคน แต่ละกลุ่มก็มักจะมีพวกลิ่วล้อคอยแห่ตามแบบไม่ต้องใช้สมองคิดอะไร มันก็เลยทำให้เราดูแล้วเหมือนกับว่า รัฐบาล คสช นี่คงจะเป็นขาลงซะแล้ว คนไม่ชอบเริ่มเยอะขึ้นเรื่อย ๆ

    ตัวอย่าง ป๋าเปรม บอก นายกตู่ใช้กองหนุนไปจนหมดแล้ว พวกสื่อมาตรฐานต่ำก็รีบคว้าเอามาขยายความเพื่อชี้นำทันทีว่า ป๋าเปรมบอกว่าประชาชนที่สนับสนุนนายกตู่ หมดแล้ว

    ที่ป๋าเปรมพูดนั้น มันเกี่ยวกับประชาชนตรงไหน ถ้าสื่อมาตราฐานต่ำจะบอกว่ากองหนุนหมายถึงประชาชน ก็ควรถามตัวเองเสียก่อนว่า แล้วป๋าเปรม รู้ได้อย่างไรว่าประชาชนเลิกสนับสนุนนายกตู่แล้ว เพราะกองหนุนที่ป๋าเปรมพูดนั้น มันก็เหมือนที่นายกตู่อธิบายนั่นแหละ ว่า หมายถึงคนที่นายกตู่เอามาใช้งาน ทั้งหลายแหล่ ตั้งแต่ รองนายก รัฐมนตรี หรือแม้แต่ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เข้ามาทำหน้าที่ต่าง ๆ ซึ่งถูกเรียกเข้ามาใช้จนหมดแล้ว เหมือนจะพูดเป็น นัย ว่า ถ้าเข้า ออก เข้าออก อยู่อย่างนี้ มันจะไม่มีคนแล้วนะ นั่นแหละ ไม่เกี่ยวอะไรกับประชาชนเลย

    แน่นอนละ ที่ประชาชนบางกลุ่มก็มักจะเชื่ออะไรตามกระแสที่สื่อชี้นำ แต่มันก็ไม่ใช่คนทั้งประเทศจะเป็นเช่นนั้น เพราะยังมีประชาชนอีกจำนวนไม่น้อยที่มองเห็นความไร้สาระของ พวกกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มสื่อมาตรฐานต่ำ กลุ่มอยากดังอยากแสดงขี้เท่อ แกนมวลชนที่ยังชีพด้วยผลประโยชน์จากเงินที่รับจ้างมาป่วน แต่มันก็ไม่สำคัญเท่าไรหรอก เพราะกลุ่มเหล่านี้มันมีอยู่ทุกที่ ทุกประเทศ ความสำคัญมันขึ้นอยู่กับประชาชนส่วนใหญ่ว่ามองอย่างไร ถ้ามองได้ถูกต้องมันก็เดินไปได้ดี ถ้ามองผิด ก็ตัวใครตัวมัน วนกลับไปที่เดิมโทษใครไม่ได้

    นายกตู่ ผมมองว่า ไม่น่าจะเป็นนายกต่อนะ ถ้าการเมืองมันเรียบร้อย ที่ท่านไม่พูดให้ชัดว่าจะเป็นนายกต่อหรือไม่ไม่ นั้น ผมมองว่ามันถูกต้องแล้ว เพราะเราไม่รู้ว่าอนาคตข้างหน้ามันจะเป็นอย่างไร การพูดอะไรออกไปก่อนแล้วถ้ามันไม่เป็นไปตามที่พูด ก็เสียคนเปล่า ๆ เช่น บอกว่า ผมพอแล้วไม่เอาแล้ว เบื่อ แต่ปรากฎว่าเลือกตั้งเสร็จ นักการเมือง เข้าไปฟัดกันเพื่อแย่งกันเป็นรัฐบาล จนเดินหน้าต่อไม่ได้ แล้วมีคนมาเชิญท่านไปเป็นนายกเพื่อยุติปัญหา ถ้าท่านรับเป็นนายก ก็เสียคน ถ้าไม่รับก็เสียประเทศชาติ ท่านก็เลยเฉยดีกว่า ไม่พูดถึงดีกว่า แต่ผมมองว่าโอกาสน้อยมาก เพราะอย่างไรเสีย นักการเมืองมันก็ต้องตกลงกันได้นั่นแหละ เพราะแต่ละคนกระหายอำนาจทั้งนั้น ส่วนประเทศชาติจะได้อะไรหรือไม่ เป็นเรื่องทีหลัง

    กระแสโจมตีรัฐบาล โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องนาฬิกา ผมมองว่ามันเป็นเรื่องปกติ เพราะตอนนักการเมืองบริหารประเทศ ก็เห็นโจมตีกันทั้งเรื่องเศรษฐกิจ และเรื่องทุจริต โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจนี่เป็นเรื่องพื้นฐานสำหรับนำมาใช้ในการโจมตีเลย เศรษฐกิจดีมันก็บอกไม่ดีได้ เศรษฐกิจดีมันก็บอกไม่ดีได้ จะยกตัวอย่างข้าวแกง ไข่ ราคาแพงอะไรก็ว่ากันไปตามสติปัญญา ของแต่ละคน ส่วนเรื่องทุจริตนี่ รัฐบาลนี้ ผมเพิ่งเห็นเป็นชิ้นเป็นอันก็เรื่องนาฬิกานี่แหละ ซึ่งมันก็อยู่ระหว่างการตรวจสอบของ ปปช ส่วนใครจะเอาไปแฉไปโยงอย่างไร มันก็แล้วแต่ว่ามีอคติกับรัฐบาลนี้อย่างไร เพราะมันเป็นเรื่องส่วนบุคคล แต่ที่น่าเสียดายก็คือ กระแสมันมุ่งไปที่รัฐบาลซึ่งผมมองว่าถ้า สื่อ นักการเมือง แกนนำมวลชน และพวกแห่ตาม พยายามสร้างกระแสนี้เพื่อดิสเครดิสรัฐบาล ผมมองว่าการปฏิรูปประเทศมันล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เพราะแทนที่กระแสจะมุ่งไปกดดัน ปปช ให้ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา กลับพยายามให้เปลี่ยนตัวรัฐมนตรี กระแสแบบนี้ไร้ประโยชน์ เพราะเปลี่ยนแล้วได้อะไรขึ้นมา แต่ถ้าไปกดดัน ปปช ให้ทำหน้าที่ตรงไปตรงมา ผิดก็คือผิด ถูกก็คือถูก มันจะสะท้อนให้เห็นถึงว่า ประเทศเราปฏิรูปสำเร็จแล้วอย่างน้อยก็เรื่องทุจริต ต่อไปใครจะเข้ามาเป็นนายก เป็นรัฐมนตรี เราก็นอนตาหลับถ้า ปปช ที่เรามีอยู่ทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งตรงไปตรงมาไม่อยู่ใต้อำนาจอิทธิพลของใคร ใครเข้ามาเป็น ปปช ก็ต้องยึดมาตรฐานแบบนี้

    พูดถึงตรงนี้ ผมนึกถึง เกาหลีใต้ สมัยประธานาธิบดีผู้หญิง (ผมจำชื่อไม่ได้) ถูกกล่าวหา ผมเห็นข่าว อัยการ ของเขาแถลงข่าวว่า ประธานาธิบดี ทำผิด ทั้ง ๆ ที่ประธานาธิบดียังอยู่ในตำแหน่งอยู่เลย มันชี้ให้เห็นว่าหน่วยงานตรวจสอบของเขาปฏิรูปแล้วจริง ๆ ไม่อยู่ใต้อำนาจอิทธิพลของใครทั้งสิ้น
     
  5. ชายน้ำ

    ชายน้ำ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    9 Feb 2015
    คะแนนถูกใจ:
    7,081
    ผมว่าลุงตู่เดือนพฤษภาคม2557 กับลุงตู่วันนี้ไม่มีอะไรต่างกัน

    คนไทยเองก็ไม่เปลี่ยน พวกปล้นชาติ พวกหวังอามิสสินจ้าง พวกถูกจูงจมูกง่ายๆ นักวิชาการและสื่อฯรับจ้างก็ยังเป็นอย่างนั้นอยู่เหมือนเดิม

    ตัวแปรตอนนี้คือกลุ่ม"หวังมาก เบื่อง่าย" ตอนลุงตู่ทำรัฐประหารใหม่ๆก็ตามแห่แก หวังโน่นหวังนี่จะให้ลุงตู่แกทำทุกอย่างวันนี้เดี๋ยวนี้ พอแกทำอะไรไม่ถูกใจแค่อย่างเดียว จากคนดีก็กลายเป็นคนเลวไป และนี่ก็เกือบสี่ปีแล้ว โรคขี้เบื่อก็เริ่มกำเริบเริ่มชี้โทษโน่นนี่นั่น ระหว่างที่แก๊งเลือกตั้งมาปล้นชาติมันลับปังตอรอสับหั่นประเทศไทยอยู่

    แล้วตกลงระบอบประชาธิปไตยไม่ดีหรือ?

    ผมเชื่อว่าคนเรียนหนังสือสายสามัญที่ผ่านการศึกษาจากวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยทุกคน หากไม่มีผลประโยชน์อื่นใดแอบแฝงแล้ว ล้วนอยากได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งทั้งนั้น ไม่มีใครต้องการรัฐบาลที่มาจากการทำปฏิวัติรัฐประหาร

    แต่เมื่อมองคุณภาพนักเลือกตั้ง นักการเมืองสายพ่อค้า กับกลุ่มคนที่เห็นแก่อามิสสินจ้างและพวกถูกจูงจมูกง่ายๆทั้งหลายแล้ว หากปล่อยให้ประเทศเป็นไปตามครรลองของประชาธิปไตยตะวันตกอย่างที่เห็นอยู่ก่อนพฤษภาคม 2557 ประเทศไทยต้องก้าวเข้าสู่การเป็นรัฐล้มเหลวแน่นอน

    ผมเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ต้องการการเมืองระบอบประชาธิปไตย แต่ต้องไมใช่เสรีประชาธิปไตยแบบปล้นชาติปล้นแผ่นดินอย่างที่เคยเป็นมา
     
  6. Anduril

    Anduril อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    4 Jun 2015
    คะแนนถูกใจ:
    5,268
    ขอบคุณมุมมองของคุณ Surawong คำว่ากองหนุน ผมยังเข้าใจผิดว่าเป็นประชาชนอยู่เลย
    เห็นด้วยกับคุณ ชายน้ำ นะครับ ว่าลุงตู่เกือบ 4 ปีมานี้ ยังคงจุดยืนเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
    เห็นความมุ่งมั่นที่จะปฎิรูปประเทศต่อไป พยายามวางรากฐานทุกๆด้านต่างๆของประเทศ เพื่อให้รัฐบาลต่อไปเข้ามาสานต่อได้ รวมถึงการแก้ปัญหาทั้งในอดีตที่หมักหมม ปัญหาในปัจจุบันที่เกิดใหม่ๆแทบตลอดเวลา จากระบบทุกๆภาคส่วนที่มีมาในอดีตเรียกว่า แตะหน่วยงานไหนของภาครัฐ ล้วนมีปัญหาทั้งสิ้น
    และเห็นด้วยมาก เรื่องกองเชียร์ที่คาดหวังมาก และเบื่อง่าย ดูจะเป็นกลุ่มที่พร้อมจะเชียร์ได้ทุกฝ่าย ถ้า ทำอะไรที่ถูกใจตัวเอง กลุ่มนี้น่าจะมีจำนวนมากที่สุกเลยมั้ง
    ผมเห็นด้วยว่า ประชาชนต้องการมีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตยมากกว่า เพียงแต่เมื่อนึกถึงเหตุการณ์ในอดีต การทุจริตคอร์รัปชั่นจากกลุ่มนักการเมืองและข้าราชการ ที่ผ่านมา ผู้คนยังพอใจกับรัฐบาลคสช.มากกว่าเช่นกันครับ
     
    ชายน้ำ likes this.
  7. Surawong

    Surawong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    22 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,544
    จะว่าคุณ Anduril เข้าใจผิด ก็คงไม่ใช่หรอกครับ เพราะป๋าเปรมใช้คำว่า กองหนุน มันก็ทำให้เราคิดไปถึงประชาชนที่สนับสนุนนายกตู่นั่นแหละ เรื่องนี้ผมโทษสื่อที่มาตรฐานต่ำ เพราะรีบคว้ามาขยายผลเพื่อชี้นำประชาชนทันที แต่ถ้าเรามองทั้งประโยคคำพูดคือ "ใช้กองหนุนไปหมดแล้ว" สื่อ น่าจะเข้าใจว่าไม่ได้หมายถึงประชาชน เพราะถ้าสื่อไม่มีอคติที่อยากให้เป็นอย่างที่ตนเองต้องการ ก็ควรถามตนเองก่อนชี้นำว่า ป๋าเปรมรู้ได้ไงว่าประชาชนไม่เอานายกตู่แล้ว เพราะโพลแต่ละสำนักก็ยังบอกว่าประชาชนยังนิยมนายกตู่อยู่ แม้ความนิยมจะลดลงบ้าง แล้วที่บอกว่านายกตู่ใช้กองหนุนไปหมดแล้ว ก็ควรถามตัวเองก่อนชี้นำว่านายกตู่ ไปใช้อะไรประชาชน ผมมองว่าป๋าเปรม พูดถึงในวงแคบ ๆ เฉพาะ ทหาร ด้วยซ้ำ คือในกลุ่มทหารที่นายกตู่เรียกมาใช้งานนั้น มันหมดแล้ว ต้องเอาพลเรือนเข้ามาช่วยแล้วนั่นแหละ

    เพราะฉะนั้นถ้าจะบอกว่าคุณ Anduril เข้าใจผิด ก็คงพูดได้ไม่เต็มปากหรอก เพราะกระแสมันชวนให้คิดไปอย่างนั้นจริง ๆ นี่ผมก็เห็นกลุ่ม สันติอโศก โดดลงมาอุ้มนายกตู่แล้ว ทำนองว่า ใครไม่หนุน กูหนุนเอง ซึ่งผมมองว่ามันก็มีทั้งดีและเสีย

    ดีก็คือคนที่เชียร์นายกตู่ก็ใจชื้นขึ้นว่า ยัง กองหนุนยังไม่หมด ยังมีอีกเยอะ ที่เสียก็คือ มันเหมือนกับเราไปยอมรับการชี้นำผิด ๆ ของสื่อว่าคนที่สนับสนุนนายกตู่หมดแล้ว จึงต้องออกมาแสดงตัวว่า ยังไม่หมดโว้ย ทั้ง ๆ ที่ป๋าเปรมพูดนั้น มันคนละเรื่องกับที่สื่อนำขยายผลเลย

    ผมว่าสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ ประชาชนต้องรู้ทันนักการเมือง และ สื่อจอมเสี้ยมทั้งหลาย ที่ออกมาปาว ๆ ดิสเครดิส นายกตู่ ในหลาย ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องต้องการสืบทอดอำนาจ เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องการทุจริต

    พวกนี้กลัวการสืบทอดอำนาจของนายกตู่ จริง ๆ หรือ ผมมองว่าไม่หรอก เพราะถ้านายกตู่เป็นนายกต่อ คนพวกนี้ก็เข้ามาเป็น สส อยู่ดี เพราะฉะนั้น คนพวกนี้ไม่มีอะไรเสีย กลับดีเสียอีกเพราะเวลาประชุมสภาก็ด่านายกตู่ได้โดยไม่ต้องกลัวถูกเชิญไปปรับทัศนคติ หรือถูกฟ้อง

    แล้วคนพวกนี้กลัวอะไร ถึงออกมาโวยวายพยายามดิสเครดิตนายกตู่ตลอดเวลา

    เขากลัวคะแนนเสียงจะถูกแย่งไปครับ พรรคการเมืองที่ตั้งใหม่ชูการสนับสนุนนายกตู่ คือพรรคที่นักการเมืองเก่ากลัว กลัวว่าประชาชนจะหันไปสนับสนุนพรรคที่ชูการสนับสนุนนายกตู่ บางคนกลัวถึงขนาดตั้งพรรคตั้งหัวหน้าพรรคให้เขาเสร็จเรียบร้อยเลยว่า พรรคนี้แหละที่จะสืบทอดอำนาจให้นายกตู่ บางคนกลัวว่าเขาจะมาแย่งตัว สส ในพรรคไป เลยต้องเดินสายแสดงตัวให้นายเห็นหน้าว่า พวกกระผมยังภักดีต่อนายนะครับ ถ้านายยังส่งเงินสนับสนุน พวกกระผมก็พร้อมจะตายตรงนี้แหละ

    จะว่าไปแล้ว คนพวกนี้ กลัวเงานายกตู่ครับ เพราะพรรคการเมืองตั้งใหม่ ที่ชูการสนับสนุนนายกตู่นั้น นายกตู่ก็ไม่ได้เข้าไปเป็นสมาชิกพรรค หรือมีส่วนร่วมอะไรกับพรรคนั้น ๆ แต่ก็ทำให้คนพวกนี้ออกมาดิ้นจะเป็นจะตายกันให้ได้

    ประชาชนต้องถามตัวเองว่า คนพวกนี้ นอกจากการทำทุกอย่างเพื่อประโยชน์ของตัวเองแล้ว มีอะไรที่เหลือเป็นประโยชน์ให้ประชาชนบ้าง
     
    Anduril likes this.
  8. Anduril

    Anduril อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    4 Jun 2015
    คะแนนถูกใจ:
    5,268
    ขอบคุณ คุณSurawong ที่แวะมาอธิบายอีกครั้งครับ ชื่นชอบวิธีคิดและการอธิบาย ครับ
    ผมลองสังเกตดู ทุกครั้งที่รัฐบาลลุงตู่พลาดพลั้ง มีเหตุให้ถูกตำหนิ วิจารณ์ต่างๆนาๆ จนทำให้สื่อมวลชนเอาไปตั้งคำถามว่า ถึงเวลาขาลงของรัฐบาล คสช.แล้ว ?
    แต่พอกลุ่มนักการเมืองออกมาร่วมถล่มรัฐบาลซ้ำ ยิ่งมีนักวิชาการ แกนนำ ผสมโรงด้วย กระแสมักตีกลับใส่กลุ่มนักการเมือง แกนนำทุกที เลยทำให้มองได้ว่า ผู้คนยังคงเข็ดหลาบกับนักการเมืองและกลุ่มแกนนำที่สร้างปัญหาให้บ้านเมืองในช่วงเวลาที่ผ่านมา
    และก็ยังหวังว่า ประชาชนก็เริ่มคิดเป็น มองออกว่า จากบทเรียนที่ผ่านมา เราควรเลือกนักการเมืองแบบไหนไปบริหารประเทศได้สักที
     
  9. นายพลตัดแปะ

    นายพลตัดแปะ อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    18 Jul 2015
    คะแนนถูกใจ:
    81
    upload_2018-1-16_20-3-29.png
     
  10. tonythebest

    tonythebest อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,730
    ดัน
     

Share This Page