คิดยังไงกับระบบ Single Gateway กันบ้างครับ

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย คนกลาง, 26 Sep 2015

  1. JSN

    JSN อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,746
    นิ้วโป้มันนิ้วไหนครับ แวะไปตอบคำถามผมหรือ กรั๊กๆๆๆๆ
     
  2. JSN

    JSN อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,746
    แหมตอบเขาไม่ได้ก็แสดงอาการแบบนี้อีกแล้ว
     
  3. JSN

    JSN อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,746
    เขาคงไม่ย้ายถ้าปี54 ไม่เกิดน้ำท่วมมโหฬารที่รัฐบาลเลือกตั้งโง่ๆเข้ามาบริหารหรอกครับ
    ผมว่าคุณเปลี่ยนชื่อดีแล้วครับ เพราะระบบศักดินามันไม่มีแล้ว
     
  4. JSN

    JSN อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,746
    ตกลงอยู่ข้างปูใช่มั้ยครับ
     
  5. JSN

    JSN อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,746
    ไม่เหมือนกันครับ คนละเรื่องเลยครับ อันนั้นมันเรื่องความปลอดภัยตัวอาคาร กับความปลอดภัยในออนไลน์คุณเปรียบเทียบได้มั่วสุดๆ เพราะมันเป็นเรื่องการคัดกรองสิ่งผิดกฎหมายในโลกออนไลน์ครับ
     
  6. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    พูดกันไม่รู้เรื่องหรอกครับ

    บางที ไปขี้ แล้วก็จบ
     
    เช Neverdie likes this.
  7. คนกลาง

    คนกลาง อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 Aug 2015
    คะแนนถูกใจ:
    383

    ถ้าสมมติต้องส่งของด่วนให้ลูกค้า จากเชียงใหม่ไปพังงา แต่ปรากฎว่าน้ำท่วมใหญ่ที่สุพรรณถนนขาด 2 วันกว่าจะซ่อมเสร็จ
    มีทางเลือกสองอย่างคือ รอให้น้ำลด กับ วิ่งเส้นนนทบุรีเข้าสมุทรสงคราม ที่น้ำไม่ท่วม
    ผมควรจะทำอย่างไรดีคับ
    :wondering::wondering::wondering:
     
    ์NooK likes this.
  8. HiddenMan

    HiddenMan อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,779
    :D ควรอ่านหนังสือให้มากกว่านี้ครับ...
     
    cantona004, JSN, Octavarium และอีก 2 คน ถูกใจ
  9. คนกลาง

    คนกลาง อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 Aug 2015
    คะแนนถูกใจ:
    383
    นั่นดิ ผมโง่ผมไม่รู้เลยจริง ๆ ต้องขับรถไปเส้นไหนดี ช่วยชี้แนะหน่อย อิอิอิ :giggle::giggle::giggle:
     
    ์NooK likes this.
  10. HiddenMan

    HiddenMan อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,779
    :D เส้นอื่นที่เขายังใช้งานได้ปกติไงครับ... เส้นเก่าก็ยังใช้งานได้
     
    Octavarium และ เช Neverdie ถูกใจ.
  11. สุภาพบุรุษเสียงสาน

    สุภาพบุรุษเสียงสาน อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    17 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    606
    คงโง่จริงแหล่ะ เอาลิงก์มาแปะให้อ่านก็ไม่อ่าน ลองเข้าไปอ่านดูว่ารัฐมนตรีเจ้ากระทรวงเค้าบอกว่ายังงัย

    http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000108047

    อ่านเยอะๆ กินปลาเยอะๆ นะครับ :tmi:
     
    อู๋ คาลบี้, Anduril, เช Neverdie และอีก 1 คน ถูกใจ.
  12. คนกลาง

    คนกลาง อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 Aug 2015
    คะแนนถูกใจ:
    383
    ขนาดท่านเองยังไปเส้นทางอื่นเลย เพราะฉะนั้นมันก็ต้องเป็น multi gateway มันถึงจะไปรอดไงอย่างที่ท่านว่า
    แต่ถ้าตามรัฐบาลคิด ท่านต้องรอน้ำลดสองวัน ถึงไปส่งของได้อ่ะคิดดูแล้วกัน :giggle::giggle::giggle:
     
    ์NooK likes this.
  13. HiddenMan

    HiddenMan อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,779
    :D ถึงบอกให้อ่านหนังสือเยอะๆไงล่ะ... จะได้มีความรู้ มากกว่ามโน
     
  14. คนกลาง

    คนกลาง อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 Aug 2015
    คะแนนถูกใจ:
    383
    ถูกแล้วคับ :rock:


    Single Gateway คำนี้มันออกมาพร้อมคำสั่งประชุม ครม. เลยนะ ไม่เชื่อเหรอ
    ลายเซ็นต์เจ้ากระทรวงเชียวนะ :giggle::giggle::giggle:

    ช่วยขยายความหน่อยสิครับ มันลดต้นทุนผู้ประกอบการยังไง ทำไมนอกจากจีน ลาว อาหรับ เกาหลีเหนือ แล้วไม่มีใครสนใจ
    จะลดต้นทุนด้วยวิธีนี้เลยเหรอ :rolleyes::rolleyes:

    ผมยอมโง่ดีกว่านะ ถ้าฟังแต่การแถของท่านเจ้ากระทรวง โดยไม่หาหลักฐานอื่นมาประกอบบ้างเลย
    :oops::oops::oops::oops:
     
    lagrangian และ ์NooK ถูกใจ.
  15. HiddenMan

    HiddenMan อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,779
    :D แล้วมโนโซเชี่ยลมีหลักฐานอะไรว่าโครงการจะต้องเป็นยังไง... ในเมื่อเจ้าของโครงการบอกแบบนี้
     
    เช Neverdie likes this.
  16. คนกลาง

    คนกลาง อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 Aug 2015
    คะแนนถูกใจ:
    383
    ประเทศในยุโรปสนใจลดต้นทุนด้วยโครงการนี้ไหมครับ ลาว จีน อาหรับ เกาหลีเหนือ เขาทำมาแล้วนะครับ :rolleyes::rolleyes::rolleyes:
     
    ์NooK likes this.
  17. สุภาพบุรุษเสียงสาน

    สุภาพบุรุษเสียงสาน อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    17 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    606
    1534_1442993804.png
    งั้นก็ไปหารายละเอียดโครงการมา ที่มันมากกว่าคำว่า Single Gateway นะ ไอหลักฐานอื่นที่ต้องการให้เอามาประกอบน่ะ

    ข้อมูลในคำสั่งมันมีอยู่แค่นี้ ก็เอาไปขยายความกันเอาเอง ทั้งๆ ที่เค้าก้อออกมาแถลงแล้วว่าไม่ควรใช้คำว่า Single Gateway ด้วยซ้ำ ไอคนทำแคมเปญใน Change.org ก็ใช้ Theme กะลา คุ้นๆ มั๊ยว่าพวกไหน โง่ต่อไปเถอะครับงั้น :giggle:
     
    Anduril และ เช Neverdie ถูกใจ.
  18. นอกคอก

    นอกคอก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    5,396
    555 ขอเชิญเดือดร้อน และต่อต้านกันตามสบาย
     
  19. คนกลาง

    คนกลาง อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 Aug 2015
    คะแนนถูกใจ:
    383
    ผมเรียก single gateway ตามคำสั่งคณะ รมต. มันผิดตรงไหนครับ
    คำสั่งออกตั้งแต่เดือนสิงหา แล้วมาพูดแก้ตัวเรื่องคำว่า single gateway เมื่อไม่กี่วันมานี้
    ประเด็นคือ จะดันออกมาแล้วคนมันต่อต้านไง ก็เลยแถว่า wording มันไม่ถูกต้อง
    wording จะยังไงก็แล้วแต่ถ้ามันไม่ถูกต้องมันก็ต้องมีคนต้าน
    ประเทศที่เน้นการปิดหูปิดตา ประชาชนเค้านิยมใช้กันไงไอ้ single gateway เนี่ย

    มันไม่ต้องวิเคราะห์อะไรกันมากมายหรอกครับ แค่สองข้อนี้ มันก็เป็นเหตุผลอยู่ในตัวของมันแล้ว
    1" ประเทศที่เจริญแล้วส่วนใหญ่ในโลกเค้าใช้กันหรือไม่
    2" เซิร์ฟเว่อล่มทีพังกันทั้งประเทศ

    ชิมิ :giggle::giggle::giggle:
     
    lagrangian และ ์NooK ถูกใจ.
  20. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    จะยังไงก็แล้วแต่ แกล้งๆตายไปก่อน เด๋วรัฐบาลเลือกตั้งมาค่อยให้เสื้อแดงออกมาต่อต้าน
    จะทำไงได้ฮิ เสื้อแดงมันแกล้งตายไปแล้วฮิ
     
  21. คนกลาง

    คนกลาง อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 Aug 2015
    คะแนนถูกใจ:
    383
    ในหัวมีแต่ แดง เหลือง ฟ้า เขียว ชีวิตมันไม่ได้มีแค่คนสี่พวกนี้หรอกครับ ขนาดเสื้อฟ้า หรือ กปปส
    บางคนเขาก็ยังไม่เห็นด้วยนะ แต่เลือกจะพูดหรือเปล่าเท่านั้นเอง คนอื่นจะทาสีตัวผมยังไงก็ไม่ว่าหรอก
    แต่ผมไม่เอาสีมาทาตัวเองแน่นอน
    :giggle::giggle::giggle:
     
    ์NooK และ chackrapbong ถูกใจ.
  22. HiddenMan

    HiddenMan อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,779
    :D ตกลงมโนโซเชี่ยลซิ่นะ...
     
  23. สุภาพบุรุษเสียงสาน

    สุภาพบุรุษเสียงสาน อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    17 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    606
    อ่านไม่ได้ใจความละเอาไปกระเดียด ผมไม่ได้สนับสนุน Single Gateway เลย แต่ที่จะบอกคือไอที่แถๆ กันน่ะมันไม่มีทางเป็นไปได้ต่างหาก รู้มั๊ยว่ามันจะต้องเปลี่ยนโครงสร้างมากมายขนาดไหน รู้มั๊ยว่ามันต้องใช้งบประมาณมหาศาลแค่ไหน รู้มั๊ยว่ามันต้องใช้เวลา Implement นานแค่ไหน ผมทำงาน IT ตั้งแต่ CPU 386-486 OS Windows เพิ่งมา เนตยังเป็น Dial-up ไอ Chart ที่เห็นน่ะผมเห็นตั้งแต่มันมีไม่กี่ Node มี Gateway อยู่ 2 เจ้า ถึงตอนนี้มันขยายตัวเร็วมาก บอกเลยว่าสำหรับประเทศไทยมันทำไม่ได้

    ปัญหาคือมันมีกลุ่มคนที่มันรู้ว่ามีคนแบบคุณอยู่ในประเทศไทยเยอะ จับเอาคำสั่งแค่ไม่กี่บรรทัดมาขยายผลหลอกคนแบบคุณนี่ล่ะ :D

    ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่าคุณไม่ได้รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับระบบเลย
     
  24. sugit

    sugit อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Mar 2015
    คะแนนถูกใจ:
    1,111
    ผมออกความเห็นแบบกลาง ๆ นะ

    ผมเองก็ไม่มีความรู้มากนัก

    ถ้าผมเข้าใจผิดท้วงได้นะ


    คือผมคิดว่าที่ควรทำคือ

    บังคับให้ ผู้บริการ gateway

    เก็บข้อมูลให้นานกว่าปกติ เพื่อการตรวจสอบภายหลังได้

    และต้องดำเนินการ ขจัด gateway เถื่อนให้หมดไป

    (อันนี้ตามที่ ท่าน รมว บอกมานะ)


    สำหรับผมแล้วไม่จำเป็นต้องเป็น single gateway หรอก

    แค่เพิ่มความรัดกุม ในการเก็บข้อมูลที่ผ่านเข้าออก

    ให้นานขึ้นแค่นั้นเอง เพื่อกันการกระทำผิดกฏหมาย

    ดิจิตอลต่าง ๆ ทั้งการเปิดเวบหลอกลวง หรือ การกระทำ

    ที่เป็นการประสงค์ต่อทรัพย์ของผู้อื่น
     
  25. ปู่ยง

    ปู่ยง อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,820
  26. Octavarium

    Octavarium อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    831
    กะลาอะไรเอ่ย ยิ่งดิ้นยิ่งแน่น
     
  27. Alamos

    Alamos อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,052
    น่าสมเพชจริงๆนะคนเรา ตอบไม่ได้ ไล่เขาไม่ทันก็อ้างชนชั้น อ้างแบ่งพรรคแบ่งฝ่าย
     
  28. โยธกา

    โยธกา อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    20 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,727
    หน้าต่างก็ออกได้
    สมมติอะไรนึกถึงความเป็นจริงหน่อย
     
    JSN likes this.
  29. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    คนเสื้อแดงเซ็ง ถูกบล็อกเว็บเตรียมถ่ายสดต้าน 'บิ๊กตู่'
    Cr:เดลินิวส์
    เมื่อวันที่ 26 ก.ย. เว็บไซต์ และเฟซบุ๊กต่าง ๆ ของกลุ่มเสื้อแดงยูเอสเอ รวมทั้งเว็บไซต์กลุ่ม นปช.สวีเดนวินเอ็ม ได้ขึ้นข้อความ พร้อมภาพเชิญชวนให้คนเสื้อแดงที่อยู่ในประเทศไทย ได้ติดตามชมการถ่ายทอดสด การชุมนุมต่อต้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในสหรัฐฯ ระหว่างเดินทางไปร่วมประชุมสหประชาชาติระดับผู้นำเพื่อรับรองวาระการพัฒนาภายหลังปี2015และการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 70 โดยกลุ่มคนเสื้อแดง จะร่วมชุมนุมครั้งใหญ่ ในวันที่เสาร์นี้ที่ 26 ก.ย.เวลา 11.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) ซึ่งตรงกับเวลา 22.00 น.ในประเทศไทย

    อย่างไรก็ตามล่าสุด ผู้สื่อข่าวได้ตรวจสอบเว็บไซต์ต่าง ๆ ของคนเสื้อแดง ปรากฎว่าได้ถูกบล็อกทั้งหมดแล้ว ซึ่งทางเครือข่ายคนเสื้อแดง ได้พยายามลิงก์สัญญาณจากเว็บไซต์ของต่างประเทศ แต่สามารถถ่ายทอดมายังประเทศไทยได้เฉพาะเสียงเท่านั้น ทำให้กลุ่มเสื้อแดงต่างผิดหวังไปตาม ๆ กัน.


    ไงละ ตื่นตูมกลัว ซิงเกิลเกต
    แบบไหนๆ ก็ยังบล็อคได้อ่า อิอิ กิกิ คิคิ
     
    ridkun_user likes this.
  30. สุภาพบุรุษเสียงสาน

    สุภาพบุรุษเสียงสาน อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    17 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    606
    เท่าที่รู้มาจากเพื่อนที่เป็นแดงไซเบอร์ ตอนที่บังคับให้ซิม Pre Paid ต้องลงทะเบียนนี่พวกแดงปลายแถวสะเทือนไปค่อนข้างเยอะเหมือนกัน ส่วนพวกหัวแถวหลบไปใช้ VPN หรือไม่ก็ Proxy นอกกัน แต่ก็ร้อนๆ หนาวๆ เหมือนกันเพราะจะโดนเพ่งเล็งเนื่องจาก User โดยทั่วไป ไม่ได้ใช้ Protocol เหล่านี้

    ส่วน 2 ประเด็นที่คนทำแคมเปญนี้นำเสนอคือ
    1. ปัญหาทางเทคนิคที่จะเกิดตามมา และ
    2. ประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและการควบคุมอินเทอร์เน็ตของภาครัฐ
    - ปัญหาด้านเทคนิคเอามาพูดให้มันดูน่ากลัวไปงั้น อย่างที่บอกว่า Single Gateway ในความเป็นจริงมันทำไม่ได้ ประกอบกับที่ท่านรัฐมนตรีออกมาบอกว่าเป็นการรวมกลุ่มเพื่อเป็น hub และที่สำคัญคือ "ไม่ได้บังคับ"
    - ส่วนเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ปัจจุบันข้อมูลสำคัญต่างๆ ที่ส่งผ่านกันในอินเตอร์เนตมีการเข้ารหัสกันหมดแล้ว อีกเรื่องคือเรื่องสูญเสียความเป็นส่วนตัว ถามนิดนึงว่าในแง่ความเป็นส่วนตัวระหว่าง Multi Gateway กับ Single Gateway มันจะต่างกันตรงไหน ในเมื่อทุกคนก็ต้องใช้อินเตอร์เนตผ่าน ISP ที่มีกฏหมายควบคุมกันทุกคนอยู่แล้ว
     
  31. JSN

    JSN อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,746
    เส้นอื่นๆก็มีอาจอ้อมหน่อยแต่ก็ถึง ตกลงว่าไง จะไปตอบกระทู้ผมได้หรือยัง อยากปากพล่อยนัก
     
  32. ridkun_user

    ridkun_user อำมาตย์น้อย Staff Member

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,648
    ผมไปลงชื่อคัดค้านไว้แล้วที่ change.org พวกที่สักแต่จะด่าแต่ไม่รู้ว่าเขาจะทำอะไรก็เงียบไว้บ้างก็ได้ ที่ผมไปลงชื่อเพราะผมเชื่อว่ารัฐบาลไม่ควรจะมายุ่มย่ามจัดการกับเรื่องการติดต่อสื่อสารทางอินเตอร์เนท ไม่ว่าไอ้คำว่า single gateway นี่จริง ๆ แล้วจะหมายถึงระบบอะไรก็เถอะแต่เท่าที่คิดออกมันก็ไม่สร้างสรรค์สักอย่าง แถมไม่น่าจะช่วยให้รัฐบาลจัดการปัญหาอะไรได้เลยด้วย
     
    lagrangian, ปู่ยง, ์NooK และอีก 1 คน ถูกใจ.
  33. Alamos

    Alamos อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,052
    จริงๆ ในความคิดผมว่าไม่ใช่ฝีมือรัฐบาลหรอก ถ้าคิดได้แบบนี้คงจะเป็นตัวคนใน ICT นะแหละที่เสนอเรื่อง ไม่ว่าสมัยไหนก็ห่วย เอะอะก็บล็อค ไม่กล้าดำเนินการจับจริง แถมเจ้ากระทรวงแต่ละคนไม่ได้เป็นคอมพิวเตอร์เลย ที่ผ่านมา คนหนึ่งบอกไม่เล่นเน็ต คนหนึ่งพูดระบบปฏิบัติการ ISO
     
    อู๋ คาลบี้, ปู่ยง และ JSN ถูกใจ
  34. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    ผมน่าจะเป็น อมาตย์โดยกำเนิดคนเดียว
    ที่ไม่เห็นด้วย กับ single gateway
     
    ์NooK likes this.
  35. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    คำสั่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ 163/2557
    เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานทดสอบระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์

    ตามที่ คณะกรรมการเพื่อติดตามการเผยแพร่ข่าวสารต่อสาธารณะ ได้มีคำสั่งที่ 3/2557 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2557 แต่งตั้งคณะทำงานด้านสื่อออนไลน์ เพื่อติดตาม กลั่นกรอง ตรวจสอบ รวบรวม วิเคราะห์การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสื่อออนไลน์ทุกประเภท และให้พิจารณาในการกำหนดแนวทางการปฏิบัติมาตรการป้องกันและยับยั้ง เพื่อแก้ไขปัญหาในระยะยาวให้เกิดความชัดเจนและมีความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โดยมีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน ซึ่งการปฏิบัติงานภายใต้อำนาจหน้าที่ตามคำสั่งดังกล่าว พบว่ามีอุปสรรคในการตรวจสอบและปิดกั้นเว็บไซต์ที่มีการเข้ารหัสป้องกันข้อมูล (SSL : Secure Socket Layer) จึงเห็นควรให้มีการจัดหาและทดสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะทำงานด้านสื่อออนไลน์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ

    อาศัยอำนาจตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงแต่งตั้งคณะทำงานทดสอบระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์ โดยให้มีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้

    องค์ประกอบ
    ...

    อำนาจหน้าที่

    1. ควบคุมการทดสอบระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์ที่มีการเข้ารหัสป้องกันข้อมูล (SSL : Secure Socket Layer) และประเมินผล เพื่อให้ได้ระบบที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เหมาะสมในการใช้งานสำหรับประเทศไทย
    2.ประสานทางเทคนิคกับผู้ประกอบการและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตภายในประเทศและที่เชื่อมต่อกับต่างประเทศโดยตรง (International Internet Gateway) ในการทดสอบระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์
    3. ประสานหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดในการทดสอบระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์
    4. เสนอแนะ ปัญหา อุปสรรค แนวทางการปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

    ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

    สั่ง ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2557

    (ลายมือชื่อ)

    ----

    อ่านข่าวประกอบ

    "วันเดียวกัน มีรายงานข่าวระบุว่า ขณะนี้มีการขอความร่วมมือไปยังโอเปอเรเตอร์ผู้ให้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยในการเอาอุปกรณ์ไปติดตั้งที่ดาต้าเซ็นเตอร์ โดยมีกำหนดแล้วเสร็จในวันที่ 15 ก.พ. 2558 เพื่อดักจับแทรฟฟิกผู้ใช้เฟซบุ๊ก ผลคือจะทำให้ดูยูสเซอร์เนมกับพาสเวิร์ดได้ โดยล่าสุดมีผู้ใช้เฟซบุ๊กหลายราย พบเหตุการณ์ที่หน้าจอปรากฏขึ้นมาให้ระบุตัวตนอีกครั้ง และมีการแจ้งจากทางเฟซบุ๊กว่ามีการเข้าใช้งานจากแหล่งที่มาไม่ปลอดภัย เป็นลักษณะของผู้ใช้ที่ถูกเข้าถึงข้อมูลในเฟซบุ๊ก"

    http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1421922012
     
    ์NooK likes this.
  36. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    ถ้าตั้ง Single Gateway จริง ท่านจะพบเจอกับอะไร?

    • การถูกบล็อก แบน สแกน และตรวจสอบทุกการใช้งานในอินเตอร์เนตจากรัฐบาล
    • รัฐบาลสามารถป้องกันการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่ต้องการให้เข้าได้ เหมือนประเทศจีน ที่ไม่อนุญาตให้เข้า Facebook หรือสื่อ Social Network ที่รัฐไม่ต้องการให้ประชาชนเข้าถึง
    • การติดต่อสื่อสารทางอินเตอร์เนตทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับระบบเดียว และถ้าระบบนั้น "ถูกโจมตีจนล้มเหลว" นั่นหมายถึงระบบอินเตอร์เนตที่ต้องพินาศทั้งประเทศ
    • ความเชื่อมั่นของต่างชาติเกี่ยวกับระบบความมั่นคงและปลอดภัยของการให้บริการอินเตอร์เนตต่ำถึงขีดสุด เพราะหน่วยงานเอกชนสามารถถูกล้วงลูกโดยรัฐบาลได้ตลอดเวลา
     
    ์NooK likes this.
  37. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    "ผลงาน" ของกระทรวงไอซีที
    - ทำโครงการไวไฟฟรีที่ให้เวลา 30 นาที แถมติดๆ ดับๆ และช้าเป็นเต่าคลาน
    - จ้างบริษัท AsiaOnline ด้วยเงินกว่า 10 ล้าน ให้แปลเว็บวิกิพีเดียเป็นไทย ผลลัพธ์คือหลายบทความแทบอ่านไม่รู้เรื่อง
    วันนี้เนื้อหาทั้งหมดหายไปแล้ว
    - บอกคนไทยว่า single gateway จะช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล ช่วยให้ไทยเป็นฮับภูมิภาค

    กระทรวงนี้ตั้ง ในสมัยทักษิณ ห่วยตั้งแต่ต้น และห่วยลงเรื่อยๆ


    หรือเปล่า?????
     
    ์NooK likes this.
  38. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    บีบีซีไทย - BBC Thai ตามลิงก์นี้
    ให้สัมภาษณ์ว่า Single Gateway คือวิธีส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทอลและรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์ ทั้งที่ความจริงตรงกันข้าม
    Single Gateway นี่แหละที่จะกีดกันเศรษฐกิจดิจิทอล (เน็ตช้า ข้อมูลเอกชนไม่ปลอดภัย) และเพิ่มความเสี่ยงจากภัยคุกคามไซเบอร์ (แฮ็กจุดเดียว เน็ตล่มได้ทั้งประเทศ)

    "เหตุผล" เดียวเท่านั้นที่ประเทศไหนจะใช้ Single Gateway คือ รัฐต้องการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลของประชาชน ไม่มีเหตุผลอื่น ซึ่งก็ต้องถามว่า ข้อมูลอะไรที่ "อันตราย" ถึงขนาดที่เราจะยอมจ่ายต้นทุนแพงทุกอย่าง ตั้งแต่เศรษฐกิจ สังคม จนถึงสิทธิความเป็นส่วนตัว ?
     
    lagrangian และ ์NooK ถูกใจ.
  39. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    แม้จะไม่เป็นกลางเหมือนเจ้าของกระทู้
    แต่ด้วยความเป็นธรรม
    หากวันหน้า เราได้รัฐบาลไม่ตรงกับธงที่ตั้งไว้ในใจ

    จะเปิดโปง จะตำหนิ จะโต้แย้ง จะ(สารพัด)
    แล้วถูก กีดกันด้วยระบบ นี้

    จะทำอย่างไรกัน????
     
    lagrangian และ ์NooK ถูกใจ.
  40. ridkun_user

    ridkun_user อำมาตย์น้อย Staff Member

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,648
    ทุกวันนี้รัฐบาลก็บล็อกกับแบนได้อยู่แล้วครับ โดยต้องร้องขอให้ศาลมีคำสั่ง ไม่ได้เกี่ยวกับ single gateway เลย ส่วนข้อมูลที่สำคัญในเว็บ ปกติก็ใช้ผ่าน https กันอยู่แล้ว ซึ่งในทางเทคนิคแล้วถือว่าไม่สามารถดักฟังได้ครับ
     
    อู๋ คาลบี้, HiddenMan และ JSN ถูกใจ
  41. Maratiraj

    Maratiraj อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    11 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    986
    ไม่ได้มีแต่แดงหัวแถวที่ใช้ VPN ครับ
    พวกเล่นเกม Online ต่อ Server นอก มุดกันแทบทุกคนครับ
    ยังใช้มุขซ่อนคนในฝุงชนได้อยู่
    ประมาณเนียนได้ว่า ISP ไทย เนตกาก แต่อยากเสพความบันเทิงต่อนอกลื่นๆ
     
  42. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    หาก ใช้ Tor ยังทำได้ใช่หรือไม่ครับ
     
  43. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
  44. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    ราคาของการเซ็นเซอร์ (CENSORSHIP)
    ตีพิมพ์ครั้งแรกในคอลัมน์ Price to Pay นิตยสาร IMAGE ฉบับเดือนกรกฎาคม 2014

    ในยุคที่คนไทยแตกแยกแบ่งสีอย่างไม่เคยมีมาก่อน ฝ่ายหนึ่งเรียกร้องเสรีภาพและความยุติธรรมก่อนสิ่งใด ขณะที่อีกฝ่ายเรียกร้องความรับผิดชอบและจริยธรรมก่อนสิ่งใดเช่นกัน
    ในเมื่อต่างฝ่ายต่างให้น้ำหนักกับคุณค่าต่างๆ ไม่เท่ากัน โลกทัศน์และอุดมการณ์จึงแตกต่างกันโดยปริยาย แต่สิ่งที่น่าเสียดายคือ หลายคนเอาชุดความเชื่อของตัวเองไปตราหน้าคนอื่นว่า “ชั่ว” และเห็นดีเห็นงามกับการเซ็นเซอร์ – ปิดกั้นไม่ให้คนเข้าถึงเนื้อหาบางอย่างที่รัฐมองว่าอันตราย เป็นภัยต่อความมั่นคง หรือเป็นภัยต่อ “ศีลธรรมอันดีงาม”ก่อให้เกิดคำถามว่า ถ้าหาก “ราคาของอิสรภาพคือความระแวดระวังชั่วนิรันดร์” ดังคำกล่าวของ เวนเดล ฟิลลิปส์ นักเคลื่อนไหวในขบวนการเลิกทาสชาวอเมริกันแล้วไซร้ ราคาของการเซ็นเซอร์คืออะไร?

    การเซ็นเซอร์มีหลากหลายรูปแบบนับจากอดีตจวบจนปัจจุบัน ในที่นี้จะพูดถึงเฉพาะการเซ็นเซอร์โดยรัฐเท่านั้น ไม่ใช่การเลือกเซ็นเซอร์โดยปัจเจกเอง (เช่น พ่อแม่ซื้อโปรแกรมมาเซ็นเซอร์เน็ตบนคอมพิวเตอร์ที่บ้าน เพราะไม่อยากให้ลูกเข้าเว็บโป๊) เพราะการเซ็นเซอร์โดยรัฐส่งผลต่อประชาชนทั้งชาติ และจะเน้นเฉพาะการเซ็นเซอร์เนื้อหาในอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ในฐานะเวทีสื่อสารของประชาชนที่ทรงพลังสูงสุดในประวัติศาสตร์

    ลองมาดู “ราคาทางตรง” ของการเซ็นเซอร์กันก่อน
    ในประเทศไทย ค่าใช้จ่ายที่หมดไปกับการปิดกั้นอินเทอร์เน็ตโดยตรง มีสามระดับ ได้แก่ ระดับรัฐ (กระทรวงไอซีที) ระดับผู้ให้บริการ (ไอเอสพี) และระดับตัวกลางอื่น เช่น ผู้ดูแลเว็บ ในปี 2011 มีรายงานข่าวว่ากระทรวงไอซีทีใช้เงินงบประมาณเกือบ 1.5 ล้านบาทต่อวันในการปิดกั้นอินเทอร์เน็ต ส่วนในระดับผู้ให้บริการยังไม่เคยมีการเปิดเผยตัวเลขที่แน่นอน แต่ประสบการณ์จากต่างประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย บ่งชี้ว่าผู้ให้บริการมีแนวโน้มสูงมากที่จะส่งต่อค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มมายังผู้ใช้เน็ต ในรูปของการขึ้นค่าบริการ ทั้งในส่วนของค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการปิดกั้นโดยตรง และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าใช้จ่ายพนักงานที่เพิ่มขึ้นจากการต้องคอยตอบการร้องเรียนของลูกค้าว่าเข้าถึงเนื้อหาไม่ได้ด้วยเหตุนี้ ราคาทางตรงของการปิดกั้นอินเทอร์เน็ตนั้นถึงที่สุดแล้วจึงเป็นภาระของประชาชนคนใช้เน็ต ทั้งในฐานะผู้เสียภาษี (เงินงบประมาณของกระทรวงไอซีที) และในฐานะผู้บริโภค (ค่าใช้จ่ายที่เสียให้กับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต)

    แล้ว “ราคาทางอ้อม” ของการปิดกั้นอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง?
    เราอาจแบ่งราคาทางอ้อมได้เป็นสองประเภทใหญ่ คือราคาทางเศรษฐกิจ กับราคาทางสังคม
    ราคาทางอ้อมทางเศรษฐกิจหลักๆ อยู่ในรูปของผลิตภาพทางเศรษฐกิจที่ลดลง จากการลดลงของความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต รวมถึงผลลบในระยะยาวต่อนวัตกรรมและการลงทุนด้านเทคโนโลยีในเมื่อโครงสร้างสถาปัตยกรรมของอินเทอร์เน็ตถูกออกแบบมาให้ส่งข้อมูลอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด ระบบจึงมองการปิดกั้นต่างๆ ว่าเป็น “ปฏิปักษ์” ที่ต้องก้าวข้าม ด้วยเหตุนี้ การปิดกั้นไม่ว่าจะทำในรูปแบบใดก็ตามล้วนส่งผลให้ความเร็วของการเชื่อมต่อลดลงสำหรับผู้ใช้ ทุกราย ที่เป็นลูกค้าของผู้ให้บริการที่ปิดกั้นอินเทอร์เน็ต มิใช่ช้าลงแต่เฉพาะสำหรับผู้ใช้เน็ตที่ประสงค์จะดูเนื้อหาที่ถูกปิดกั้นเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น

    ราคาทางตรงและทางอ้อมเหล่านี้ ประกอบกับมาตรการติดตามสอดส่องอย่างเข้มข้นของรัฐซึ่งมักจะดำเนินควบคู่ไปกับการปิดกั้นอินเทอร์เน็ต บั่นทอนแรงจูงใจของนักนวัตกรรม ผู้ประกอบการ และนักลงทุนในการลงทุนใหม่ๆ มองว่า “ไม่คุ้ม” ที่จะลงทุนและพัฒนานวัตกรรม อีกทั้งยังทำให้ผู้ประกอบการและนักลงทุนต่างด้าวไม่อยากเสี่ยงกับการเข้ามาลงทุนในประเทศที่รัฐปิดกั้นอย่างเข้มงวด หันไปมองหาทางเลือกใหม่ในประเทศอื่นที่มีเสรีภาพอินเทอร์เน็ตสูงกว่า
    ประเด็นนี้มีผู้เสนออย่างกว้างขวาง อาทิ ในปี 2011 นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา กล่าวว่าการลิดรอนเสรีภาพอินเทอร์เน็ตคือการ “ตีกรอบจำกัดอนาคตทางเศรษฐกิจ” ของประเทศ เนื่องจาก “มีต้นทุนระยะยาวซึ่งวันหนึ่งจะกลายเป็นบ่วงจำกัดการเติบโตและการพัฒนา” และตั้งข้อสังเกตว่า ถึงแม้การจำกัดเสรีภาพในอินเตอร์เน็ตจะทำได้ง่าย แต่ก็ยากที่จะรักษาให้ดำเนินต่อไปอย่างราบรื่น เพราะในโลกออนไลน์นั้นไม่มีอินเตอร์เน็ตทางเศรษฐกิจ อินเตอร์เน็ตทางสังคม หรืออินเตอร์เน็ตทางการเมือง มีเพียงพื้นที่ขนาดมหึมาที่เรียกว่า "อินเตอร์เน็ต" อันเป็นพื้นที่ของทุกสิ่งทุกอย่างผสมปนเปกันเท่านั้น
    ราคาทางเศรษฐกิจของการปิดกั้นอินเทอร์เน็ตว่าสูงแล้ว ราคาทางสังคมอาจสูงยิ่งกว่า

    การเซ็นเซอร์เน็ตมีราคาทางสังคมที่เราต้องจ่าย เพราะการได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารและความคิดเห็นที่หลากหลายคือหัวใจของการอภิปรายสาธารณะ และปัจจุบันไม่มีพื้นที่ใดที่จะมอบความหลากหลายนี้ได้มากกว่าโลกออนไลน์
    ยิ่งปิดกั้นอินเทอร์เน็ต โอกาสและคุณภาพของการอภิปรายสาธารณะยิ่งถดถอย
    ความกังวลที่รัฐมีต่อประเด็นที่อ่อนไหวอย่างสถาบันกษัตริย์หรือการเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งนำไปสู่การปิดกั้นแทนที่จะจัดการกับปัญหาอย่างตรงไปตรงมา รังแต่จะขัดขวางพัฒนาการของระบบภูมิคุ้มกันในสังคม การสรุปเอาเองว่าประชาชนจะถูก “หลอก” โดยข้อมูลเท็จหรือข้อมูลอื่นๆ จนรัฐต้องยื่นมือเข้ามาปิดกั้นไม่ให้เข้าถึง เท่ากับการไม่เปิดโอกาสให้สังคมคิดได้ด้วยตัวเอง ซึ่งขัดกับมโนทัศน์เรื่องภูมิคุ้มกันในสังคมที่เชื่อว่า ในสังคม หรือชุมชนหนึ่งๆมีความสามารถในการแก้ไขตนเองได้ (self-correct) ผ่านความพยายามร่วมกัน (collective effort) ของสมาชิกในชุมชน หรือสังคมนั้นๆ
    มองอีกด้านหนึ่ง สิ่งที่รัฐทำอาจไม่ใช่แค่การขัดขวางพัฒนาการเท่านั้น แต่ยังเป็นการพยายามทำลายระบบภูมิคุ้มกันในสังคมที่ว่านี้ทางอ้อม การที่รัฐพร้อมตอบสนองต่อข้อร้องเรียนของผู้คนในประเด็นอ่อนไหว ในระยะยาวจะทำให้สมาชิกในสังคมคุ้นเคยกับการร้องหาความรับผิดชอบจากรัฐบาลหรือผู้มีอำนาจ เมื่อไรก็ตามที่พวกเขารู้สึกไม่สบายใจกับ “เนื้อหาไม่เหมาะสม” ต่างๆ
    การปิดกั้นอินเทอร์เน็ตส่งผลให้ปัญหาที่แท้จริงซึ่งควรจะนำมาอภิปรายถกเถียงกัน มีแต่จะถูกกวาดเข้าใต้พรมและปกปิดจากสายตา อีกทั้งยังมิได้เป็นหลักประกันใดๆ ว่าผู้กระทำผิด (ในกรณีที่ละเมิดกฎหมายอย่างชัดเจน) จะถูกจับกุมตัว ผู้เชี่ยวชาญบางคนมองว่า การปิดกั้นนอกจากแสดงให้เห็นถึงการไม่เชื่อถือในวิจารณญาณของประชาชนแล้ว ยังก่อให้เกิดการตั้งคำถามเกี่ยวกับเจตนารมณ์ที่แท้จริงของรัฐว่า ใช้มาตรการปิดกั้นอินเทอร์เน็ตเพื่อคุ้มครองประชาชนหรือพัฒนาสังคม หรือเพื่อปกป้องอำนาจเก่าจากการถูกวิพากษ์วิจารณ์กันแน่[ราคาของการเซ็นเซอร์ไม่ใช่เรื่องนามธรรมหรืออยู่แต่ในทฤษฎีเท่านั้น แต่เป็นราคาจริงที่ผู้ใช้เน็ตและผู้ให้บริการต้องจ่ายแพงขึ้นเรื่อยๆสิ่งที่เกิดกับเวยโป๋ โซเชียลมีเดียชื่อดังจากจีนซึ่งใกล้เคียงกับทวิตเตอร์ เป็นกรณีศึกษาเรื่องนี้ที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่ง

    เวยโป๋เปิดตัวในปี 2009 และภายในเวลาไม่ถึง 4 ปีก็เติบโตอย่างรวดเร็ว ต้นปี 2013 เวยโป๋มีผู้ใช้มากถึง 300 กว่าล้านคน หรือหนึ่งในสี่ของประชากรจีน ด้วยความที่ให้อิสระเสรีแก่ผู้ใช้ จะเข้ามาโพสในภาษาอะไรก็ได้
    แต่ความนิยมของเวยโป๋จากการมอบเสรีภาพให้กับผู้ใช้ ก็ทำให้ถูกรัฐบาลจีนคุกคามและยกภาระในการเซ็นเซอร์มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2011 รัฐบาลสั่งให้ผู้ใช้ลงทะเบียนด้วยชื่อและนามสกุลจริงก่อนโพสบนเวยโป๋ ต่อมาปี 2012 รัฐบาลออกกฎ “ห้าครั้งออก” – ระงับการเข้าถึงถ้าหากผู้ใช้คนไหนโพสเกี่ยวกับประเด็น “อ่อนไหว” ทางการเมืองครบห้าครั้ง และในปี 2013 รัฐบาลจีนก็จับผู้ใช้เวยโป๋ที่ “เผยแพร่ข่าวลืออันเป็นเท็จ” ออนไลน์อย่างจริงจังเหตุการณ์เหล่านี้ส่งผลให้ผู้ใช้เวยโป๋ลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดหลังจากที่รัฐบาลจีนออกกฎหมายใหม่ มีบทลงโทษขั้นจำคุกสำหรับใครก็ตามที่โพสข้อความซึ่ง “ไม่ถูกต้องเที่ยงตรง” และถูกกระจาย (รีโพส) ต่อกันมากกว่า 500 ครั้ง จำนวนผู้ใช้เวยโป๋รายเดือนก็ลดลงอีก 28 ล้านคน ส่งผลให้วันนี้มีผู้ใช้รายเดือนเพียง 129 ล้านคนเท่านั้น ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของทวิตเตอร์
    นักวิเคราะห์หลายคนมองว่าความนิยมของวีแชท (WeChat) คู่แข่งของเวยโป๋ เป็นปัจจัยหนึ่งที่อธิบายว่าเหตุใดเวยโป๋จึงได้รับความนิยมน้อยลง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามาตรการเซ็นเซอร์ต่างๆ ของภาครัฐส่งผลกระทบรุนแรงยิ่งกว่านั้นมาก ทุกวันนี้ ปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อการสร้างความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ ในโลกยุค “เศรษฐกิจฐานความรู้” คือ บรรยากาศ “เปิด” และ “ความร่วมมือ” อันตั้งอยู่บนฐานของการไหลเวียนความคิดอย่างเสรี เพราะความคิดทุกความคิด ไม่ว่าใครจะมองว่าดีหรือเลว เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมอย่างไร ล้วนแต่มีโอกาสจุดประกายให้เกิดการคิดต่อยอดและสร้างนวัตกรรมได้ทั้งสิ้น
    ไม่นับว่าการมองเห็นและยอมรับความหลากหลายทางความคิด เป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ของการสร้างฉันทามติเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะในสังคมสมัยใหม่

    ถึงที่สุดแล้ว สังคมที่ยอมรับสนับสนุนการเซ็นเซอร์โดยรัฐ จึงเป็นสังคมที่ไม่รู้จักโต ไม่อยากโต และไม่สามารถนำประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนไหลเวียนของความคิด ไปพัฒนาให้เกิดสังคมประชาธิปไตย และเศรษฐกิจฐานความรู้ได้อย่างแท้จริง.
     
  45. ridkun_user

    ridkun_user อำมาตย์น้อย Staff Member

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,648
    ดักฟังไม่ได้ครับ แต่อาจจะบล็อกได้
     
  46. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    ผมเข้าใจว่ายากมากครับ
    กรณี Snowden รบ อังกฤษ ทุ่มเงินมหาศาล ยังเอาไม่อยู่
     
  47. redfrog53

    redfrog53 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,466
    เที่ยวนี้ คนกลาง ข้อมูลดี รับฟังไว้บ้างก้อดีนะ อย่าถล่มเขามากนักเลย เด๋ะแอบไปร้องไห้นะ
    เรื่องนี้ ลงทุนเป็นหมื่นล้าน มันจบที่ ใคร จะเข้าร่วมก้อได้ แล้วมันจะ เป็นโสด Single ได้อย่างไร
     
    คนกลาง likes this.
  48. คนกลาง

    คนกลาง อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 Aug 2015
    คะแนนถูกใจ:
    383
    ขอบคุณครับ :blush::blush::blush:
     
    ์NooK likes this.
  49. JSN

    JSN อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,746
    แต่คราวนี้เล่นแรงเกินไป ไปถล่มเว็บ 8 เว็บจนเข้าไม่ได้ พรบ.คอมนะครับ
     
  50. Solid Snake

    Solid Snake อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    26 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,225
    แรง+มีการเมืองเกี่ยวข้องแน่นอนแล้วล่ะครับเพราะเว็บ ปชป โดนไปด้วยแบบนั้น ส่วนเรื่อง พรบ คอม คงต้องตีความเรื่องการกด F5 กระมังเพราะเข้าตามเส้นทางปกติ ในโปรแกรมปกติ
     

Share This Page