สองสามวันที่ผ่านมาหลายคนน่าจะทราบข่าวเกี่ยวกับการเร่งผลักดันให้มีการจัดตั้ง Single Gateway หรือที่เคยเป็นข่าวก่อนหน้านี้ในชื่อว่า "เกตเวย์แห่งชาติ" โดยข้อมูลที่กล่าวถึง Single Gateway นั้นมาจากเอกสารข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีฉบับวันที่ 27 สิงหาคมโดยมีเนื้อหาตอนหนึ่งระบุว่า "...ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบมาตรการและโครงการสำคัญต่างๆ เร่งดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ซึ่งรวมเรื่องการจัดตั้ง single gateway ที่ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้รับผิดชอบ" ผมจะขอพักเรื่องเกี่ยวโครงการไว้ก่อนและจะพูดถึงคำว่า 'Gateway' ที่ปรากฏบ่อยมาก และเชื่อว่าน่าจะมีคนจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่ยังไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร ถ้าหากแปลคำว่า Gateway เป็นภาษาไทยตรงๆ ก็จะแปลได้ว่ามันคือ "ทางผ่าน" ซึ่งคำแปลนี้ก็ไม่ผิดจากความหมายเต็มๆ เท่าไรนัก แต่คำว่า Gateway ในที่นี้หมายถึง "ทางผ่านของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต" ครับ กล่าวอีกอย่างก็คือเป็นเส้นทางที่ข้อมูลเราไหลไปในเวลาที่เราส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตนั่นเอง ผมจะขออธิบายด้วยภาพต่อไปนี้ครับ โดยทรงกระบอกแบนๆ ในภาพนั้นหมายถึงเราเตอร์ครับ สมมติว่าเราใช้อุปกรณ์ที่ต่อินเทอร์เน็ตกับเราเตอร์ X อยู่และต้องการส่งข้อมูลให้กับเพื่อนที่ต่ออินเทอร์เน็ตกับเราเตอร์ Z ที่อยู่คนละเขตให้บริการอินเทอร์เน็ตกัน เส้นทางที่ข้อมูลจะไหลไปก็จะผ่านเราเตอร์ 1 ผ่านเราเตอร์ Y เข้าสู่เราเตอร์ 2 และถึงไปยังเราเตอร์ Z ก่อนจะส่งต่อเข้าอุปกรณ์ของเพื่อน เราเรียกเราเตอร์ 1 กับ 2 ว่าเป็น Gateway ของเขต A และ B ตามลำดับครับ คือเป็นทางที่ผ่านเพื่อเข้าหรือออกจากเขตหนึ่งๆ และในกรณีที่เราเตอร์ Y อาจจะไปเชื่อมกับกลุ่มของเขตให้บริการอื่นๆ ก็จะเป็น Gateway ระหว่างกลุ่มอีกเช่นกัน สมมติว่ามีข้อมูลที่ต้องส่งข้ามโซนมากขึ้นแต่ Gateway นั้นยังน้อยเท่าเดิมก็จะทำให้ Gateway (ที่ลูกศรชี้) ทำงานหนักขึ้นและอาจจะไม่สามารถรับภาระงานไหวจนล่มได้ครับ หากล่มก็จะส่งผลให้เครื่อข่ายฝั่งซ้ายไม่สามารถติดต่อกับฝั่งขวาได้เลย ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจึงมักจะกระจาย Gateway ของแต่ละพื้นที่ไว้เป็นแบบลำดับขั้นตามภาพบนครับ และมีการเชื่อมต่ออีกทอดหนึ่งที่เส้นสีแดงที่ Gateway บนสุด โครงสร้างลักษณะนี้ถูกนำไปใช้กับโครงสร้างของ Gateway ที่ส่งข้อมูลระหว่างประเทศ เวลาที่เรารับส่งข้อมูลกับเว็บไซต์ที่อยู่นอกประเทศก็ต้องมีการส่งผ่านข้อมูลผ่าน Gateway เหล่านี้เพื่อส่งต่อไปยัง Gateway ที่ประเทศอื่นๆ ก่อนจะถึงเป้าหมายครับ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแต่ละเจ้าก็จะมี Gateway สำหรับส่งข้อมูลระหว่างประเทศเป็นของตนเอง และนอกจากของผู้ให้บริการแล้วก็ยังมีของ CAT ที่ให้บริการร่วมกันด้วย โดยข้อมูลล่าสุดจาก NECTEC ระบุว่าปัจจุบัน Gateway สำหรับส่งข้อมูลระหว่างประเทศของไทยนั้นมีรวมกัน 10 Gateway ซึ่ง Gateway เหล่านี้มีประสิทธิภาพสูงกว่าเราเตอร์ธรรมดาๆ มากและรองรับโหลดได้มหาศาล ข้อมูลการใช้งานอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศของไทยเราเมื่อเดือนที่ผ่านมานั้นสูงถึง 1,954,083 Mbpsหรือจะให้เห็นภาพมากขึ้นก็คือมีข้อมูลไหลออกจากไทยเป็นปริมาณ 238.5 GB ต่อวินาที และจากแนวโน้มที่ผ่านๆ มาปริมาณข้อมูลนั้นก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างรวดเร็วครับ ซึ่งก็ได้ Gateway ทั้ง 10 ตัวนี้มาช่วยกระจายโหลด และแม้ว่าจะมีบาง Gateway ล่มไปก็ยังสามารถสลับเส้นทางไปส่งข้อมูลทาง Gateway อื่นได้ ทำให้เราสามารถส่งข้อมูลไปยังเป้าหมายที่อยู่นอกประเทศได้รวดเร็วและครบถ้วน ทีนี้แนวคิดของ Single Gateway ที่ว่าก็คือแทนที่จะใช้งาน Gateway ทั้ง 10 ตัวที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้น ก็หันมาใช้งาน Gateway ตัวเดียวเท่านั้นและข้อมูลทุกอย่างที่จะส่งออกจากประเทศไทยไปก็จะผ่านเจ้าGateway ตัวนี้ โดยทางภาครัฐได้ให้เหตุผลว่า "เพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุมเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมและการไหลเข้าของข้อมูลข่าวสารจากต่างประเทศผ่านทางอินเตอร์เน็ต" สำหรับประเด็นที่กำลังคุกรุ่นอยู่ในสังคมโซเซียลตอนนี้ก็คือนโยบาย Single Gateway ตัวนี้นั้นให้ผลเสียมากกว่าประโยชน์ โดยพิจารณาออกเป็น 2 ประเด็นใหญ่ๆ คือ ปัญหาทางเทคนิคที่จะเกิดตามมา และ ประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและการควบคุมอินเทอร์เน็ตของภาครัฐ สำหรับปัญหาทางเทคนิคที่จะเป็นผลพวงตามมาจาก Single Gateway นั้นก็คือเราจะเหลือ Gateway ที่รับข้อมูลที่คนทั้งประเทศส่งออกไปยังนอกประเทศเพียง Gateway เดียว นั่นก็คือข้อมูลที่ไหลมาจำนวนมหาศาลนั้นจะถูกบีบให้อยู่ในท่อเดียวกันก่อนที่จะออกไปยังนอกประเทศ และหากท่อนั้นไม่สามารถรับข้อมูลได้เพียงพอก็จะทำให้เกิดสภาพคอขวด การเชื่อมต่อระหว่างประเทศก็จะช้าลงหรืออาจจะไม่สามารถเชื่อมต่อได้สำเร็จเลย และหาก Single Gateway ไม่สามารถรับโหลดได้ไหวก็อาจจะสูญเสียความสามารถในการทำงานและล่มในที่สุด และในกรณีที่มี Gateway เดียวนั้นก็จะต่างจากเดิมที่เรามีเป็น 10 ที่หากมีตัวไหนล่มก็ยังสามารถส่งข้อมูลได้ แต่ถ้าหากมี Gateway เดียวแล้วล่มขึ้นมาก็เท่ากันว่าคนทั้งประเทศจะไม่สามารถส่งข้อมูลออกนอกประเทศได้เลย นอกจากประเด็นทางเทคนิคแล้วก็ยังมีความน่าเป็นห่วงในเรื่องข้อมูลที่ถูกส่งผ่าน Single Gateway ด้วยว่าการที่ภาครัฐสามารถเก็บบันทึกข้อมูลไปได้ และถ้าหาก พ.ร.บ. ความมั่นคงดิจิทัลที่เคยเป็นประเด็นมาเมื่อต้นปีนั้นถูกดันจนผ่านด้วย เจ้าหน้าที่รัฐจะได้สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลทุกๆ อย่างได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของได้เลย รวมถึงข้อมูลที่ต่างชาติส่งเข้ามาในไทยก็สามารถดักจับได้ง่ายขึ้นเช่นกัน แน่นอนว่าการดักข้อมูลนี้ก็จะทำให้ประเทศเราเสียความเชื่อมั่นจากต่างชาติ เพราะเค้าอาจจะถูกดักข้อมูลความลับทางองค์กรหรือธุรกิจได้ง่าย และพลอยจะทำให้ต่างชาติไม่อยากเข้าหาทำธุรกิจกับในไทย ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจที่ปัจจุบันนี้ก็ไม่สู้ดีอยู่แล้วไปด้วย จากความกังวงนี้ก็ทำให้หลายๆ คนตั้งข้อสงสัยและกลัวว่าจะโดนเจ้าหน้าที่ที่ไม่หวังดีหรือกลัวภาครัฐจะแอบจับตามองเราทุกฝีก้าวในโลกออนไลน์ ทำให้สูญเสียความเป็นส่วนตัวไป และการที่มี Gateway ที่ให้ข้อมูลในประเทศออกนอกหรือข้อมูลจากนอกเข้าไทยเพียงช่องทางเดียวก็ทำให้ง่ายต่อรัฐที่จะควบคุมข้อมูลได้ เช่น ภาครัฐอาจจะบล็อกไม่ให้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเข้าถึงเว็บไซต์ที่ต้องการได้ คล้ายกับหลายๆ ประเทศ เช่น ลาว จีน เมียนมา เกาหลีเหนือที่สามารถบล็อกเว็บไซต์ที่รัฐไม่ต้องการให้ประชาชนเข้าถึงได้เบ็ดเสร็จ พิจารณาจากผลเสียต่างๆ แล้วก็จะพบว่าโครงการ Single Gateway นี้ดูจะสร้างผลเสียซะมากกว่าผลดีที่รัฐบาลได้อ้างและคาดหวังไว้ ทำให้โลกออนไลน์ในไทยตอนนี้เริ่มตื่นตัวและแสดงความคิดเห็นต่อต้านแนวคิดการจัดตั้ง Single Gateway กันเป็นจำนวนมากแล้ว และในตอนนี้ก็ได้มีคนตั้งแคมเปญคัดค้านการจัดตั้ง Single Gateway แล้วในเว็บไซต์ Change.org และปัจจุบันมีผู้เห็นด้วยกับการคัดค้านร่วมลงชื่อแล้วกว่า 27,000 คน และยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย โดยหวังว่าทางรัฐบาลจะรับฟังความคิดเห็นของผู้คัดค้านและยอมยกเลิกโครงการนี้ไป สำหรับผู้สนใจลงชื่อร่วมคัดค้านด้วยสามารถทำได้ที่เว็บไซต์ตามลิงค์นี้เลยครับ <<<<<<<<<<click>>>>>>>>>> อย่างไรก็ตาม นอกจากจะมีประเด็นที่คนให้ความเห็นว่าการจัดตั้ง Single Gateway นั้นเป็นเรื่องน่าวิตกแล้ว ก็มีผู้ที่แสดงความคิดเห็นว่าด้วยหลักการแล้ว Single Gateway เป็นโครงการที่ไม่มีทางทำได้สำเร็จ โดยได้ยกสาเหตุหลายๆ สาเหตุให้เราได้อ่านกันครับ ซึ่งก็น่าสนใจมากๆ และทำให้เห็นภาพในอีกมุมมองหนึ่งด้วย ลองอ่านกันดูได้ครับ ขอบคุณเครดิตจาก droidsan.com ครับ ****************************************************************
ทำไมควายแดงเค้ากังวลเรื่องนี้มากนักนะ สอบถามกันมาหลายวันแล้ว และควายแดงกังวลถึงขั้นต้องเตรียมรับมือ ทำแต่เรื่องเลวๆ ก็เลยต้องกังวลหนักหน่อย
คิดว่าคนกลางยังตอบไม่ได้ว่ากฎหมายฉบับไหนมาตราไหนที่อยุติธรรม แต่แถไปเรื่องสนช.ไม่ยอมรายงานบัญชี และตอบตัวเองด้วยการยืนยันว่า กฎหมายบอกให้รายงาน
จะเกลียดจะกลัวทำไหมละครับ นี้ก็เป็นวิถีแห่ง ปชต. ไม่เชื่อถามอเมริกา เจ้าพ่อแห่งการดักฟังและละเมิดสิทธิมนุษยชนดูซิ
ยังตอบไม่ได้ครับ ยังไม่เห็น Model หรือถ้ามีแล้วช่วยแสดงหน่อย แต่จริงๆมันน่าจะทำในส่วน Logical ได้อยู่แล้วโดยไม่กระทบกับโครงสร้างเดิม ในกรณี Block Website เว้นเสียแต่อยากจะดักจับข้อมูลภายใน อันนั้นคงต้องลงไปที่ Physical
ทำไมคนกลางแอบแดงไม่แสดงวิสัยทัศน์ ออกความเห็นก่อนละครับก่อนจะถาม ปกติเค้าจะยกบทความมาแล้วแสดงความเห็นของตนเองก่อนที่จะถามความเห็นของสมาชิกนะครับ
ไหน ๆ ก็ไหน ๆ ผมว่าเราไม่ลองใช้ intranet แบบท่านผู้นำคิมน้อย ไปเลยเหรอครับ น่าจะดูแลง่ายกว่า ควบคุมได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์
คนกล๊างกลางก็ดิ้นเข้าไปสิครับ จนกว่ากะลาที่เอามาครอบไว้เองจะหลุดออก http://www.nationmultimedia.com/bus...net-single-gateway-ICT-minister-30269485.html
ประเด็นคือ ถ้าเกิดสมมติ พรบ.เรื่องนี้ผ่านจริง ผลกระทบตกอยู่กับทุกสีเสื้อแน่นอนครับ แล้วรัฐบาล ไม่ว่าจะสีไหน(สีเขียว,สีแดง,สีฟ้า) ได้ประโยชน์ทั้งสิ้นครับ
ผมว่าอย่างประเทศเราคงไม่ต้องสอดแนมมั้งครับ เพราะขนาดทุกวันนี้ก็ฝึกคอบร้าโกลด์ ร่วมรบกันอยู่แล้ว ข้อมูลทางการทหารแทบจะรู้ข้อมูลกันถึงแก่นอยู่แล้ว
multi ก็ไม่ได้ปิดยากหรือเปล่าครับ เพราะเว็บหมิ่นหลายเว็บ เว็บผิดกฎหมายหลายเว็บก็โดนปิดไปแล้ว ที่มีอยู่นี่ทำในต่างชาติทั้งนั้น กฎหมายบ้านเราก็มี กฎหมายที่คุณบอกว่าอยุติธรรมอ่ะ ปิดซี้ซั้วไม่ได้ครับ เข้าใจมั้ยครับ
คงไม่ได้อ่านเลยสินะครับ ที่ท่าน รมต ให้สัมภาษณ์กับเนชั่นว่าไม่ได้บังคับให้ใช้ ให้ใช้ตามความสมัครใจ ตื่นตูมกันไปเรื่อย ยังกะเด็กสิงเว็บ บิททอเรนท์กลัวจะโหลดหนังโป๊ไม่ได้ยังงั้นแหละ คราวเหลิมหาเรื่องของบ 400 ล้านจะซื้อเครื่อง sniffer เห็นหุบปากกันเงียบ
เรื่องนี้เข้าใจว่าแค่โยนหินถามทาง แต่วันหลังเลือกหินก้อนเล็ก ๆ พอ เวลาโยนจะได้ไกล ๆ ไม่ต้องหล่นใส่ นิ้วโป้ตัวเอง
สมมติคอนโดโครงการใหญ่แห่งหนึ่ง มีประตูเข้าทางเดียว พอเกิดไฟไหม้ วันต่อมาเราต้องไปเก็บศพคนที่เหยียบกันตาย ออกันที่หน้าประตู หรือเราจะเลือกสร้างประตูทางออกให้มีหลายทางดีครับ
งงตรงที่ว่าอยู่ดี ๆ จะสร้างคอขวดให้ตัวเองทำไมกัน ถ้าถามว่าจะบล็อกเว็บไซท์ตอนนี้มันก็ทำได้อยู่แล้ว แล้วจะสร้างคอขวดให้ตัวเองอีกทำไม เปลี่ยนระบบทั้งประเทศใช้เงินไม่ใช่น้อย เฮ้อ...ฉู่ฉู
อนาทคนกลาง รู้แค่ผิวๆ ก็อมขี้คนอื่นมาพ่น ข้อมูลมีให้อ่านก็เลือกอ่านที่นอกเหนือจากที่เห็นในเวบแดงมั่งก็ได้ครับ http://www.adslthailand.com/post/ไอ...ื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ-ไม่เกี่ยวกับความมั่นคง
คิดยังงี้ครับ ถ้าเสื้อแดงมันทนไม่ไหวให้มันออกมาต่อต้านเอง มันไม่เอาเผด็จการอยู่แล้ว ปล่อยให้เป็นหน้าที่มัน หรือแกล้งตายอยู่ ก็ออกมาต่อต้านหลังเลือกตั้งก็ตามใจ เด๋วเพื่อไทยก็จะกลับมาเป็นรัฐบาลมัง สลิ่มหรอ นั่งๆนอนๆจิบชา อิอิ กิกิ คิคิ
ปัจจุบันมี 10 เจ้า Advance, BB, Cat, Csloginfo, Jastel, Symphony, SBN, True, Tot การแข่งขันแบบเสรีย่อมทำให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์ เหมือนมีร้านขายของชำ 10 ร้าน แต่ละร้านก็ลดราคาแข่งกัน อยู่ ๆ มาควบรวมเป็นเจ้าเดียว หรือ ควบรวมเหลือ 2-3 เจ้า ประชาชนตัวเลือกน้อยลง การแข่งขันก็น้อยลง การผูกขาดก็มากขึ้น แค่นั้นเองครับ
ก็ไม่ยากครับ ให้สัมปทาน single ไปเจ้านึง จะเป็น ais ก็ได้ gateทั้ง10 ก็ยังให้บริการอยู่ เพื่อ ถ้เสื้อแดงทนไม่ไหว ก้ต่อต้านมันเจ้าเดียว ง่ายๆ
อ้าว ผมเข้าใจผิดเหรอเนี่ย ผมนีกว่าเสื้อแดงจะต่อต้าน นี่ถ้าเป็นปู เสื้อแดงเอางั้นด้วยหรอเนี่ย อะไรกันนี่ เวร
ไม่มีทางเกิดครับ เพราะปูไม่เคยถาม ทั้งพี่ทั้งน้องอยากทำอะไรก็ทำ ไม่เห็นหัวใคร กฏหมายนิรโทษกรรม จำนำข้าว โครงการน้ำ โครงการรถไฟ ฯลฯ ถามหน่อยซิ มีอะไรที่ปูทำประชาวิจารณ์หรือยกเลิกตามเสียงประชาชนบ้าง
นี่ข่าวสด ตีข่าว วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558 เวลา 23:32 น. จำนวนคนอ่านล่าสุด 97901 คน แชร์กันว่อนตอนนี้ เป็นภาพรูปปั้นกำนันสุเทพ เทือกสุบรรณ โดยพบว่าต้นตอมาจากเพจ Dislike Yingluck For Concentration Citizen ได้โพสต์ภาพช่างกำลังสร้างรูปปั้นกำนันสุเทพเมื่อวันที่ 23 ก.ย.ที่ผ่านมา ไม่ได้เชื่อข่าวนี้นะ และไม่ด้ชวนให้ใครเชื่อ แค่จะรูปกำนันมาโชว์ เห็นคนกลางเอ่ยถีง เผื่อเสื้อแดงดูด้วยอาจจะตื่นเต้นเล็กๆน้อยๆ
PRISM นี่ใช้สอดแนมข้อมูลออนไลน์แบบเหวี่ยงแหครับ ไม่เกี่ยวอะไรกับคอบร้าโกล์ดเลย แต่ก็อย่างว่าทหารบ้องตื้น โยนหินถามทาง แบบรัฐบาลประชาธิปไตย ถ้าเป็นเผด็จการจริงๆ ต้องทำก่อน จะบอกหรือไม่บอกก็อักเรื่องนึง
เอาลิงก์มาให้อ่านก้อไม่อ่าน แต่ริจะเรียกตัวเองว่าคนกลาง คอนเซปต์คือรวมไอ 10 ร้านนี่แหล่ะมาบริหารร่วมกันเพื่อแข่งขันกับต่างประเทศครับ ส่วนข้อมูลที่ห่วงนักห่วงหนาเนี่ยเดี๋ยวนี้ข้อมูลสำคัญมันเข้ารหัสกันมานมนานแล้ว คายขี้ที่อมออกมาได้แล้วครับ ไอที่เอามาอ้างและด่ากันเนี่ยก็มีสมาชิกเอาข้อมูลมาแปะแล้วว่ามันเป็นไปไม่ได้ โครงข่ายมหาศาลที่โตขึ้นทุกวันมันจะมาวิ่งเข้า-ออกที่จุดเดียวได้ยังงัย เปลี่ยนไอดีเป็น "คนเสื้อแดง" เหอะเชื่อผม คุณสมบัติได้เลยคุณเนี่ย
ผมก็ไม่เห็นด้วยที่จะใช้ Single Gateway เพราะดูจากเว็บหน่วยงานราชการแม้แต่ ict ยังโดนแฮกอยู่เรื่อย ๆ แบบนี้ แต่ก็ไม่ร่วมรณรงค์ต้านกับเขาหรอก เพราะคนวาดภาพก่อตั้งเรื่องรณรงค์ต่อต้านดันไปทำงานในประเทศที่ใช้ Single Gateway ฮาดีไหมล่ะ
สรุปห่วงผู้ประกอบการ แต่ไม่ห่วงผู้บริโภคสินะคับ แล้วที่สำคัญไอ้สิบบริษัทนี่มันก็ไม่ใช่บริษัทต่ำสิบกระจอก ๆ เลย ปีนึงกำรี้กำไรก็ไม่ใช่น้อย ๆ จะห่วงทำไม ส่วนถ้าจะกลัวพนักงานในบริษัทพวกนี้ตกงาน ผมว่าเอาเวลาไปดูแล บริษัทที่ใช้แรงงานเข้มข้นหรือพวก sme ดีกว่า เพราะพวกนี้ถ้าปิดบริษัทหรือร้านไปคนตกงาน คงไม่ย้ายฐานการผลิตไปไหนได้ นอกจากเมืองไทย ส่วนพวก 10 บริษัทนี่ถ้ารู้ว่าไปไม่ไหวอย่างมากก็ย้ายฐานบริษัทออกไป ไปลงทุนที่อื่น แล้วอีกอย่างผู้ถือหุ้นรายหลักบางคนก็เป็นต่างชาติซะเยอะ เผลอ ๆ เจ้าของเดียวกัน กับบริษัทคู่แข่งในต่างประเทศอีก ดึงเงินจากกระเป๋าซ้ายเข้ากระเป๋าขวาครับ ส่วนที่ท่านบอกว่า ให้เปลี่ยนชื่อน่ะ ผมยืนยันว่าผมเป็นกลาง ไม่เอาทั้งทุนและศักดินา
น่าสงสารลุงกำนันนะครับ จิง ๆ แล้วเขาอาจจะปั้นแล้วสร้างไว้ที่สุบรรณฟาร์มก็ได้ คนถ่ายนี่ก็ช่างไปถ่ายมาซะจริง
ไอ 10 ร้านที่ว่าเนี่ยก็ทำการแข่งขันกันอยู่แล้วภายในประเทศ แค่เอาทรัพยากรที่มีมาบริหารร่วมกันเพื่อการแข่งขันเป็น Hub ของภูมิภาค แล้วมันไปกระทบผู้บริโภคตรงไหน ตอบ!!! แล้วเค้าเชิญผู้ประกอบการนะครับไม่ได้บังคับ ใครจะเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมก็ได้ ผมว่าคุณไปหาอ่านข้อมูลมาให้ชัดเจนดีกว่า ว่าโครงการนี้วัตถุประสงค์จริงๆ เพื่ออะไร ผมคงไม่เอามาป้อนนะ น่าเบื่อ ps. อ่อ อย่าอ่านแต่เวบแดงล่ะ ริจะเป็นกลางต้องลงลึกข้อมูลทั้ง 2 ฝั่งนะครับ