บางความเชื่อก็ไม่สามารถหาที่มาได้ ว่ามันมาจากใคร?ศาสดาองค์ไหน?ปราชญ์หรือเจ้าลัทธิคนไหน? เช่นการโยนเหรียญลงบ่อปลา,บ่อเต่า ไม่ใช่หลักความเชื่อฝ่ายพุทธแน่ๆ เพราะไม่มีบัญญัติในคัมภีร์ จะว่าพราหมณ์ก็ไม่ใช่อีก เพราะไม่เคยได้ยินพิธีกรรมนี้ในลัทธิพราหมณ์ไม่ว่านิกายไหน? แม้ขงจื๊อหรือเล้าจื๊อก็ไม่เคยกล่าวไว้?...ยิ่งปราชญ์ฝั่งตะวันตก(อริสโตเติล,โสเครติส)ยิ่งไม่ใช่ใหญ่ แต่ในทางวิทยาศาสตร์ด้านจิตวิทยา กล่าวว่า"ความเชื่อ"ใหม่ๆเกิดขึ้นได้เสมอในปัจเจกชน โดยที่เขาไม่จำเป็นต้องเป็นปราญช์ผู้ยิ่งใหญ่หรือเจ้าลัทธิที่มีชื่อเสียง
การโยนเหรียญลงน้ำ ได้ยินครั้งแรกจากเรื่องจริงที่น้ำพุเทรวี่ซึ่งเป็นน้ำพุที่ตั้งอยู่กลางกรุงโรมประเทศอิตาลี แต่เดิมมี“สะพานส่งน้ำเวอร์โก” ซึ่งส่งน้ำมายังโรงอาบน้ำกลางเมือง แต่เมื่อเกิดสงครามขึ้นใน คศ 537 - 538 ชาวโรมันจึงต้องเปลี่ยนวิถีการอาบน้ำไปใช้น้ำปนเปื้อนความสกปรกจากแม่น้ำไทเกอร์ ต่อมาสมเด็จพระสันตปาปานิโคลัสที่ 5 แห่งคริสต์อาณาจักรทรงโปรดให้รื้อฟื้นการสร้างโรงอาบน้ำในกรุงโรมใหม่และทรงสร้างอ่างน้ำพุง่ายๆ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองน้ำที่มาถึงกลางกรุง มีการปรับปรุงซ่อมแซม และเสริมสร้างน้ำพุให้ยิ่งใหญ่อลังการมากขึ้นในแต่ละยุคที่ผ่านมา น้ำพุเทรวีได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในปี คศ. 1998 โดยการทำความสะอาดงานหินและสร้างระบบปั๊มน้ำใหม่ ในแต่ละวันจะมีผู้โยนเหรียญลงไปในน้ำพุเทรวีราว 3,000 ยูโร โดยการยืนหันหลังแล้วโยนเหรียญข้ามศีรษะตนเองลงไป ซึ่งเงินจำนวนนี้นำไปใช้ในการบำรุงซูเปอร์มาร์เก็ตสำหรับผู้ยากจนในกรุงโรม แต่ก็ยังมีผู้พยายามขโมยเงินในอ่างน้ำพุอยู่เสมอ การโยนเหรียญลงในน้ำพุนี้เป็นความเชื่อตั้งแต่ยุคโรมันโบราณที่ว่าหากใครทำเช่นนี้แล้วจะได้กลับมาเยือนกรุงโรมอีกครั้งหนึ่ง ในกลางปี คศ. 2014 ได้มีการบูรณะน้ำพุเทรวีอีกครั้งหนึ่ง โดยเป็นการระดมเงินบริจาคเพื่อการนี้ จากบริษัทเอกชนและบุคคลทั่วไป เนื่องจากทางการไม่มีงบประมาณเพียงพอ บูรณะเสร็จในฤดูใบไม้ร่วง คศ. 2015 https://th.wikipedia.org/wiki/น้ำพุเทรวี ที่เทรวีไม่มีปัญหาแบบเรื่องของออมสิน เพราะไม่มีเต่าหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆอาศัยอยู่ในอ่างน้ำพุ
ที่เวเนเชีย มาเก๊า ก็มีการโยนเหรียญลงในคลองที่สร้างจำลองเมืองเวนิส อิตาลี นักท่องเที่ยวหวังว่าจะได้กลับมาเยือนที่นี่อีก แต่ไม่มีการเลี้ยงสัตว์ใดๆในคลองนี้