เอาง่ายๆครับ ก็พวก... แดง ชอบเอาไปตีความหมายผิดๆ จนเขาต้องออกมาแก้ว่าไม่ใช่เช่นนั้น 22 ธ.ค. 2556 - เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. ที่ผ่านมา สิริพรรณ นกสวน รองศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ชี้แจงทางเฟซบุ๊ค กรณีที่มีการเผยแพร่งานวิจัย "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554: ศึกษาบทบาทพรรคการเมือง และพฤติกรรมและการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชนในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง" และระบุว่า "ภาคที่มีการซื้อเสียงได้ผลมากที่สุดคือ ภาคใต้และภาคกลาง" โดยสิริพรรรณชี้แจงว่าเป็นคำกล่าวที่ไม่ตรงกับข้อสรุปของการศึกษา โดยรายละเอียดของคำชี้แจงมีดังนี้ สำหรับผู้ที่สนใจรายงานวิจัย เรื่องการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554: ศึกษาบทบาทพรรคการเมือง และพฤติกรรมและการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชนในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง สามารถเข้าไปอ่านได้ที่นี่นะคะ http://www.tdw.polsci.chula.ac.th/… ขออนุญาตชี้แจงด้วยว่า การที่ social media เผยแพร่ผลการวิจัยว่า “ภาคที่มีการซื้อเสียงได้ผลมากที่สุดคือ ภาคใต้และภาคกลาง” เป็นคำกล่าวที่ไม่ตรงกับข้อสรุปของการศึกษา คำถามที่ใช้ในการวิจัยข้อหนึ่งคือ "ท่านรู้สึกว่าการรับเงิน ผลประโยชน์ หรือ ค่าตอบแทน เป็นสิ่งผูกมัดให้ท่านต้องเลือกผู้สมัครหรือไม่?" ผลทั้งประเทศ ตอบ ต้องเลือก 10.1% ที่เหลือ ตอบไม่ต้องเลือก การที่คนใต้ตอบต้องเลือก ย่อมไม่ได้แปลว่า มีการซื้อเสียงมากที่สุดในภาคใต้ อาจตีความได้เพียงว่าคนใต้ หากรับผลประโยชน์มา ก็จะตอบแทนด้วยการลงคะแนนให้ ใน%สูงกว่าภาคอื่น ส่วนภาคใดจะมีการซื้อเสียงสูงที่สุดและได้ผลมากที่สุด ย่อมไม่อยู่ในวิสัยที่งานวิจัยชิ้นนี้จะตอบได้ หากนำผลคะแนนเลือกตั้งมาวิเคราะห์ประกอบแล้ว จะเห็นว่า ในภาคใต้ พรรคที่มาเป็นอันดับหนึ่งในทุกเขต ชนะพรรคอันดับ 2 ด้วยคะแนนล้นหลาม เกิน 10,000 เสียง บางเขตชนะกันเกิน 80,000 คะแนน (ยกเว้นใน 4 จังหวัดที่มีพี่น้องมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก การแข่งขันจะสูสี) การชนะขาดเกิดขึ้นในภาคเหนือทุกเขตเลือกตั้ง ยกเว้นเขต 2 อุตรดิตถ์ และ 97 เขต ต่อ 29 เขต ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การชนะกันด้วยคะแนนเสียงจำนวนมากเช่นนี้ ชี้ว่าเงินและการซื้อเสียงไม่น่าจะเป็นปัจจัยหลักในชัยชนะ ด้วยเหตุผลเบื้องต้น 2 ข้อ คือ หนึ่ง คะแนนที่ทิ้งห่างกันมาก บ่งบอกว่าประชาชนเลือกเพราะชอบผู้สมัครและพรรคการเมืองนั้น ซื้อเสียงหรือไม่ประชาชนจำนวนมากก็เลือกอยู่แล้ว และสอง นักการเมืองย่อมคำนวณต้นทุนที่เหมาะสมเพื่อประกันชัยชนะ แต่จะไม่ทุ่มซื้อคะแนนส่วนเกินจำนวนมาก ขณะเดียวกันงานวิจัยมิได้ปฏิเสธว่า ไม่มีการซื้อเสียง ข้อค้นพบในหลายพื้นที่คือ มีการใช้เงินจำนวนมาก แต่ผู้สมัครที่ใช้เงินมหาศาลกลับไม่ชนะ การศึกษาพบว่าปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชนส่วนใหญ่ ได้แก่ พรรคการเมือง นโยบาย และความต้องการตอบสนองผลประโยชน์และความคาดหวังของตน ในขณะที่ความสัมพันธ์ส่วนบุคคล หัวคะแนน และการซื้อขายเสียงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยลง และมีความซับซ้อนมากขึ้น ส่วนในประเด็นว่า คนจบการศึกษาสูงกว่า ป.ตรีเลือกพรรคเพื่อไทยมากกว่าพรรคประชาธิปัตย์นั้น พบว่า ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2550 ประชากรกลุ่มนี้เลือกพรรคประชาธิปัตย์มากกว่าพรรคเพื่อไทย (พลังประชาชนขณะนั้น) การตัดสินใจเลือกตั้งที่เปลี่ยนไปของประชากรกลุ่มนี้ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 น่าจะเป็นผลจากมุมมองที่มีต่อปรากฎการณ์ชุมนุม เมษา พฤษภา 2553 การวิจัยใช้แบบสอบถามผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 6,558 ชุด ใน 22 จังหวัด 45 เขตเลือกตั้ง สุ่มเลือก 98 หน่วยเลือกตั้งจากทุกภูมิภาค อัตราความคลาดเคลื่อนไม่เกินร้อยละ 3 ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และสัมภาษณ์หัวคะแนน ผู้สนับสนุนพรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และสื่อมวลชนในพื้นที่ ปล โดยส่วนตัวผมไม่เชื่อผลการสำรวจพวกนี้เท่าใดนัก เพราะ ไม่มีอะไรยืนยันว่าผลสำรวจนี้ เที่ยงตรง หรือเป็นจริง เพราะอาจมีการตั้งธงไว้ล่วงหน้า อีกทั้งไม่สามารถ พิสูจน์ได้ว่า ผู้ร่วมสัมภาษณ์ จะตอมตามความจริง เอาง่ายๆ ว่า ถ้ามีคนมาถามว่าคุณใช่คนร้ายคดี...หรือเปล่า 100ทั้ง 100 ปฏิเสธแน่นอน ปล 2 ดูการเลือกตั้งผู้ว่าเป็นตัวอย่างครับ
ที่มันมั่วก็เพราะบิดเบือนให้เข้ากับความเชื่อของตัวเอง แบบนี้ไม่ใช่ข้อมูลข่าวสาร ข้อเท็จจริง หรือความรู้ มันคือ โฆษณาชวนเชื่อ
นังนกเขา สวัสดี นี่เป็นอีกตัวที่ทำให้ รัด-ถะ-สาดดดดด จุลา ไม่สามารถผลิตบัณฑิตย์ที่มีคุณธรรม จริยธรม ออกมารับใช้สังคมไทยได้
คำถามบางคำถาม ผู้ทำการวิจัย น่าจะประเมินได้ว่า ถ้าถามไปแล้ว จะได้ความจริงกลับมาหรือไม่ เช่น ถามว่าถ้ารับเงินหรือผลประโยชน์มาแล้วต้องเลือกหรือไม่ ผลตอบกลับมาในภาพรวม คือ ต้องเลือก 10.1 ที่เหลือบอกไม่ต้อง (ที่เหลือคือ 89.9) คำตอบตรงนี้ผู้ทำการวิจัย น่าจะต้องมองว่า มันเป็นความจริงหรือเปล่า เพราะมันมีตัวแปรที่จะทำให้ คำตอบถูกเบี่ยงเบนไปจากความเป็นจริง เช่น ไปถามคนที่ไม่ได้ถูกซื้อเสียง คนที่ไม่ได้ถูกซื้อเสียงนี่ คงไม่มีใครตอบหรอกว่า ถ้ารับเงินแล้วต้องเลือก ถ้าจะตอบว่าต้องเลือกก็คงมีน้อยมาก โอกาสที่จะไปถามคนที่ไม่ถูกซื้อเสียงมันก็มีมากกว่าที่จะไปถามคนที่ถูกซื้อเสียง เพราะจำนวนคนที่ถูกซื้อเสียงมันมีน้อยกว่ามาก และแม้ว่าจะไปถามได้ถูกตัวจากคนที่ถูกซื้อเสียงจริง คำตอบที่ได้รับกลับมาอาจไม่จริงก็ได้ เพราะคนที่ถูกซื้อเสียงเขาก็รู้อยู่ว่า มันผิดกฎหมาย ถ้าเขาตอบว่า รับเงินแล้วต้องเลือก เขาก็กลัวจะผูกพันตัวเอง เลยอาจตอบว่า ไม่ต้องเลือกก็ได้ อีกประเด็นหนึ่งก็คือ การใช้คำว่าผู้สมัครใช้เงินมหาศาล คำว่าใช้เงินมหาศาลนี้ ไม่รู้ว่าใช้ในงานวิจัยด้วยหรือเปล่า หรือแค่เอามาพูดในการชี้แจงเท่านั้น ที่สงสัยตรงนี้ก็เพราะถ้าไปใช้คำว่า เงินมหาศาลในงานวิจัย มันดูเหมือนจะมีเจตนาที่จะชี้นำอะไรบางเรื่องบางอย่างมากกว่าเป็นงานวิจัย จะพูดว่าใช้เงินจำนวนมาก ก็พูดไป ทำไมต้องใช้คำว่าใช้เงินมหาศาล แต่จะใช้คำว่ามหาศาล หรือจำนวนมากก็แล้วแต่ การใช้เงินมันก็ต้องอยู่ในกรอบที่กฎหมายเขากำหนดให้ทำได้เท่านั้น และถ้ามันอยู่ในกรอบที่กฎหมายเขากำหนดให้ทำได้ มันก็ไม่น่าจะมีคำว่าใช้เงินมหาศาลในงานวิจัยนะ ถ้าจะบอกว่าใช้เงินมหาศาล ก็ควรต้องอธิบายด้วยว่า มันมหาศาลยังไง คงไม่ใช่มหาศาลในความรู้สึกของผู้วิจัยนะ