คลิปประวัติศาสตร์ พสกนิกรชาวไทยรวมพลังร้องเพลง “สรรเสริญพระบารมี” ณ สนามหลวง 22 ต.ค.59

กระทู้ใน 'สถิตย์ในหทัยราษฎร์' โดย HiddenMan, 23 ต.ค. 2016

  1. HiddenMan

    HiddenMan อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,779
    กลางวัน



    กลางคืน

     
    ปลายขอบฟ้า, Alamos, แสงธูป และอีก 4 คน ถูกใจ
  2. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204
    รอวิดีโอฉบับที่ท่านมุ้ยตัดต่อเสร็จ ว่าจะสมบูรณ์แบบขนาดไหน

    แต่งานนี้ก็กลายเป็นแบบอย่างให้จังหวัดต่างๆ ทำกิจกรรมในลักษณะนี้บ้าง
     
    ปลายขอบฟ้า, Alamos, แสงธูป และอีก 2 คน ถูกใจ
  3. อาวุโสโอเค

    อาวุโสโอเค อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,527
    ระหว่างรอต้นฉบับท่านมุ้ย ลองฟังเพลงสรรเสริญพระบารมีที่มีการบันทึกครั้งแรก

    การบันทึกเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมีครั้งแรกในโลก (ไฟล์เสียงจริงปี พ.ศ. ๒๔๔๓)

    ประวัติเพลงสรรเสริญพระบารมี
    เพลงสรรเสริญพระบารมี มีเค้าโครงว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีเพลงที่มีลักษณะคล้ายเพลงสรรเสริญพระบารมีอยู่ก่อนแล้ว ใช้บรรเลงในเวลาพระมหากษัตริย์เสด็จลงท้องพระโรงและเสด็จขึ้น มีชื่อเรียกว่า "สรรเสริญนารายณ์"[ต้องการอ้างอิง] แต่ในบ้างแหล่งระบุชื่อเพลงว่า "เสด็จออกขุนนาง"[3]

    แต่เพลงสรรเสริญพระบารมีในฐานะเพลงชาตินั้น เริ่มปรากฏในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีการใช้เพลง ก็อดเซฟเดอะคิง ซึ่งเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติของสหราชอาณาจักร บรรเลงเป็นเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์ ตามแบบอย่างการฝึกทหารของอังกฤษ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้ใช้ทำนองเพลงนี้แต่งคำร้องสรรเสริญพระบารมีถวายโดยให้ชื่อว่า "จอมราชจงเจริญ" [4]
     
    ปลายขอบฟ้า, Alamos, แสงธูป และอีก 1 คน ถูกใจ.
  4. อาวุโสโอเค

    อาวุโสโอเค อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,527
    จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์และเกาะชวาในปี พ.ศ. 2414 ขณะที่ทรงประทับอยู่ที่สิงคโปร์นั้น ทหารอังกฤษได้ใช้เพลง "ก็อดเซฟเดอะคิง" บรรเลงเป็นเพลงเกียรติยศรับเสด็จ ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่าทั้งอังกฤษและไทยต่างใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเพลงเดียวกัน ต่อมาเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองปัตตาเวีย ชาวดัตช์(ฮอลันดา) ที่ตั้งอาณานิคมที่นั้น ได้ถามถึงเพลงประจำชาติของไทย เพื่อจะได้นำไปบรรเลงรับเสด็จ พระองค์จึงมีพระราชดำริแก่ครูดนตรีไทย ให้แต่งเพลงแตรวงรับเสด็จเพื่อใช้แทนเพลง "ก็อดเซฟเดอะคิง"[5]

    ตอนนั้น คณะครูดนตรีไทยจึงได้เสนอเพลงบุหลันลอยเลื่อน (หรือเพลงทรงพระสุบิน) ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายเฮวุดเซน (Heutsen) ครูดนตรีในกรมทหารมหาดเล็กชาวฮอลันดา เรียบเรียงทำนองขึ้นใหม่ให้เป็นทางดนตรีตะวันตก และได้ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2414[6] (ดร. สุกรี เจริญสุข ได้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเพลงเดียวกันกับเพลงสรรเสริญเสือป่า ซึ่งใช้เป็นเพลงเกียรติยศของกองเสือป่าในสมัยรัชกาลที่ 6[7]

    ต่อมาจึงได้มีการเปลี่ยนมาใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับของพระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร)]] (หรือครูมีแขก) ครูดนตรีคนสำคัญ ที่ได้ประดิษฐ์ทำนองขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อราว พ.ศ. 2416 ภายหลังจากพระราชพิธีบรมราชภิเษกครั้งที่ 2 ได้ไม่นาน ซึ่งได้เค้าทำนองมาจากเพลงสรรเสริญนารายณ์ของเก่า[1] และได้เรียบเรียบเสียงประสานสำหรับดนตรีตะวันตกโดยปโยตร์ ชูรอฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์ชาวรัสเซีย เมื่อ พ.ศ. 2431 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงนิพนธ์เนื้อร้องประกอบและได้ออกบรรเลงครั้งแรกที่ศาลายุทธนาธิการในปีเดียวกัน[8] ต่อมาทรงนิพนธ์เนื้อร้องของเพลงนี้อีกหลายเนื้อร้องเพื่อขับร้องในกลุ่มต่าง ๆ กัน เช่น ทหาร นักเรียนชาย นักเรียนหญิง เป็นต้น แต่มีเนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีอีกสำนวนหนึ่งที่เป็นพระนิพนธ์ในพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ สำนวนนี้เป็นสำนวนสำหรับทหารเรือขับร้องโดยเฉพาะ[9]

    เนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับปัจจุบันนั้น เดิมทีเป็นเนื้อร้องที่พระองค์ได้นิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีลงสรงของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ต่อมาเมื่อถึงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำเพลงสรรเสริญพระบารมี มาพระราชนิพนธ์คำร้องขึ้นใหม่ โดยทรงรักษาคำร้องเดิมเอาไว้เกือบทุกอย่าง ยกเว้นแต่ทรงเปลี่ยนคำร้องในท่อนสุดท้ายว่า ฉะนี้ ให้เป็น ชโย และประกาศใช้ ในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2456 และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

    ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เพลงสรรเสริญพระบารมีไม่ได้ใช้ในฐานะเพลงชาติอีกต่อไป แต่ยังคงใช้ในฐานะของเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์ มีอยู่ช่วงหนึ่งมีการตัดทอนเพลงนี้ให้สั้นลง แต่ได้ยกเลิกการใช้แล้ว

    ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/สรรเสริญพระบารมี
     
    ปลายขอบฟ้า, Alamos, แสงธูป และอีก 1 คน ถูกใจ.
  5. อาวุโสโอเค

    อาวุโสโอเค อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,527
    อันนี้แถมครับ เพลง สรรเสริญพระนารายณ์ เพลงสรรเสริญพระบารมีสมัยกรุงศรีอยุธยา

     
    ปลายขอบฟ้า, Alamos, แสงธูป และอีก 2 คน ถูกใจ
  6. HiddenMan

    HiddenMan อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,779
    ออกอากาศแล้ว! มิวสิกวิดีโอ “เพลงสรรเสริญพระบารมี” ฉบับ “ท่านมุ้ย”
    http://www.manager.co.th/OnlineSection/ViewNews.aspx?NewsID=9590000113543

    โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ได้ออกอากาศพระบรมราโชวาท และมิวสิกวิดีโอเพลงสรรเสริญพระบารมี ที่ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล และคณะ ได้จัดทำขึ้น โดยมีความยาว 9 นาที 10 วินาที



    วันนี้ (14 พ.ย.) เมื่อเวลา 08.01 น. โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ได้ออกอากาศพระสุรเสียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชขณะพระราชทานพระบรมราโชวาท และมิวสิกวิดีโอเพลงสรรเสริญพระบารมี ที่พสกนิกรกว่า 3 แสนคน ได้ร่วมแสดงพลังที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันเสาร์ที่ 22 ต.ค. ที่ผ่านมา โดย ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล และคณะ ได้ตัดต่อเรียบร้อยแล้วในความยาว 9 นาที 10 วินาที

    โดยเมื่อวันที่ 7 พ.ย. ม.จ.ชาตรีเฉลิม ได้นำมิวสิกวิดีโอเพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับสมบูรณ์ ให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ รับชมแล้ว โดยนายกฯ ยอมรับว่า เป็นมิวสิกวิดีโอเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ดี

    จากนั้นได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงทอดพระเนตร ก่อนที่จะได้นำมาเปิดให้ประชาชนทั้งประเทศได้รับชมในวันนี้

    สำหรับพระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่ได้อัญเชิญมาไว้ในช่วงต้นของมิวสิกวิดีโอดังกล่าว มีใจความดังนี้

    "ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย ขอขอบใจท่าน ที่ได้แสดงน้ำใจไมตรีต่อข้าพเจ้า และพระราชินี กับลูกๆ ทุกคน ทั้งได้ร่วมมือสนับสนุนในกิจทุกอย่าง ทำให้เกิดกำลังใจกับเราอย่างมาก

    ประชาชนคนไทยมีการแสดงออกชัดเจนขึ้นว่าต้องการอะไร เมื่อแสดงออกมาเช่นนี้ก็ทำให้รู้ใจกัน และสามารถช่วยกันทำ ช่วยกันสร้างสิ่งที่ต้องการ แม้จะมีอุปสรรค แม้ความยากลำบากขัดขวางอยู่ก็ทำได้ ขอเพียงให้ร่วมมือร่วมใจกันจริงๆ แต่ทั้งนี้ ควรจะต้องเข้าใจด้วยว่า สถานการณ์ของประเทศ โดยส่วนรวมยังไม่แจ่มใสนัก

    ข้าพเจ้าปรารถนาอย่างยิ่ง ที่จะให้ทุกคนเข้าใจ และเล็งเห็นสถานการณ์บ้านเมืองตามความเป็นจริง

    เวลานี้บ้านเมืองของเรากำลังต้องการการปรับปรุงและการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพเต็มเปี่ยมอย่างรีบด่วน เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากทรัพยากร จากพื้นภูมิประเทศ และจากกำลังงาน กำลังปัญญาของคนไทยเราทุกคนให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้ จะได้นำไปสร้างเสริมความเจริญก้าวหน้าในทุกๆ ด้านให้เพิ่มพูนมั่นคงยิ่งขึ้นโดยเร็ว

    เพื่อการนี้เราจะต้องวางโครงการพัฒนาอีกหลายอย่างโดยรีบด่วน ทั้งจะต้องดำเนินการโครงการนั้นๆ ให้สำเร็จผลโดยฉับพลัน จะลังเล หน่วงเหนี่ยวให้ชักช้าด้วยเหตุใดๆ ไม่ได้ เพราะจะทำให้เสียประโยชน์ที่จะพึงได้ไปเปล่าๆ ซึ่งในยามนี้ จะต้องถือเป็นความเสียหาย

    ทางที่เราจะช่วยกันได้ ก็คือ การทำความคิดให้ถูกและแน่วแน่ ในอันที่จะยึดถือชาติบ้านเมืองเป็นที่หมาย ต้องเพลาการคิดถึงประโยชน์เฉพาะตัว และความขัดแย้งกันในสิ่งที่มิใช่สาระ

    ผู้ใดมีภาระหน้าที่อันใดอยู่ ก็เริ่มจะทำให้สำเร็จลุล่วงไปโดยเต็มกำลังความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ด้วยความเมตตา ด้วยความปรองดองกัน และด้วยความปรารถนาดีต่อกัน ที่สุดผลงานของทุกคนนั้นจะไปรวมกันเข้าเป็นความสำเร็จและการพัฒนาถาวร ของประเทศชาติได้ไม่นานเกินคอย

    ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวไทย จงปกปักรักษาท่านทั้งหลายให้ปราศจากภัยอันตราย และเหตุชั่วร้ายทุกสิ่ง บันดาลให้แต่ละคนมีกำลังกาย กำลังใจ กำลังปัญญา และกำลังความสามัคคี อันแข็งแกร่ง พร้อมเพรียง สามารถที่จะประกอบกรณียกิจนำพาประเทศชาติให้ดำเนินต่อไปโดยสวัสดี และสามารถที่จะธำรงอิสรภาพ อธิปไตย พร้อมทั้งความเจริญร่มเย็นเป็นผาสุกของบ้านเมืองให้สถาวรอยู่ตลอดไป

    ขอทุกท่านจงประสพแต่ความสุข อิ่มสวัสดิ์พิพัฒน์มงคล และสิ่งที่พึงปรารถนาตลอดปีใหม่นี้ถ้วนหน้ากัน"


    559000011748602.JPE
    สำเนาพระราชดำรัสปีใหม่ พ.ศ. 2520 ที่อัญเชิญบางช่วงบางตอนลงในมิวสิกวีดีโอ เพลงสรรเสริญพระบารมี ฉบับ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล (จากเว็บไซต์สำนักราชเลขาธิการ)
     

Share This Page