http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9560000068160 เมื่อปี 2556 ยังไม่รู้ว่าบริษัทไหนของจีนจะประมูลได้ มาปีนี้ทราบแล้วว่าคือบริษัท เอชเคเอ็นดี เป็นผู้ชนะการประมูลก่อสร้าง คลองนิการากัว ระยะทาง 280 กิโลเมตร ขนาดกว้าง 230 - 520 เมตร ถือเป็นทางลัดทางเลือกใหม่ ของการเดินเรือสินค้าระหว่าง 2 ฟากมหาสมุทร ต่อจากคลองปานามาที่อยู่ทางใต้ห่างออกไปไม่ไกล คาดว่าคลองใหม่จะเป็นคู่แข่งสำคัญ และทำเงินรายได้เข้าประเทศจำนวนมหาศาลในระยะยาว ก่อนการก่อสร้างรัฐบาลนิหการากัวได้เก็บการศึกษาทางด้านเทคนิก สิ่งแวดล้อม และการเงิน เป็นความลับ ก่อนที่บริษัท เอชเคเอ็นดี ของนายหวัง จิ่้ง จะชนะการประมูลโครงการ ภายใต้เงื่อนไขที่เอื้อประโยชน์ และสภาคองเกรสของนิการากัว อนุมัติโครงการเมื่อปี 2556 โดย เอชเคเอ็นดี จะได้สิทธิบริหารคลองนิการากัวเป็นเวลา 100 ปี ประธานาธิบดี ดาเนียล ออร์เตกา แห่งนิการากัว (ซ้าย) กับ หวัง จิ้ง(42ปี) (ขวา) นายใหญ่แห่ง HKND Group ในที่ประชุมแถลงอนุมัติสัมปทานขุดคลองนิการากัว http://www.dailynews.co.th/Content/foreign/289215/นิการากัวเริ่มการขุดคลองเชื่อม+2+มหาสมุทร HKND Group = Hong Kong Nicaragua Canal Development Investment HKND “เปิดรับการลงทุนจากบริษัททั่วโลก” และทำการพูดคุยกับธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ “จนได้ได้ทำสัญญาเบื้องต้นกับกลุ่มบริษัทใหญ่ๆ รวมทั้งบริษัทจากภาคพลังงาน” นายหวัง จิ้งกล่าวในวันแถลงข่าวที่กรุงปักกิ่ง พร้อมกับได้กล่าวถึงบทบาทของ HKND ว่า รับผิดชอบการระดมทุนสำหรับโครงการฯ ส่วนรัฐบาลนิการากัวไม่ได้ลงทุนใดๆ แต่จะช่วยเหลือโดยออกนโยบายสนับสนุนโครงการ อาทิ การอุดหนุนด้านภาษี และเมื่อมีนักลงทุนรายอื่นๆเข้าร่วมโครงการ หุ้นของ HKND ในโครงการฯ ก็อาจเปลี่ยนแปลงไป แต่ยืนยันว่า HKND จะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในระดับประกันได้ว่าเขายังคงเป็นประธานบริษัท และมีเสียงใหญ่ในโครงการ การขุดคลองที่ใหญ่กว่าปานามาถึง 3 เท่านี้ มิใช่เรื่องง่าย อุปสรรค์ด่านแรก ได้แก่ สภาพภูมิประเทศแถบอเมริกากลางเต็มไปด้วยป่าดงดิบเขตร้อนอีกทั้งภูเขาไฟที่ยังลุกโชน คลื่นยักษ์อย่างน้อย 20 ฟุต ที่ซัดกระหน่ำระหว่างสองฝากฝั่งมหาสมุทร ตัวแทน เอชเคเอ็นดี เผยแผนว่า บริษัทจะจ้างแรงงานท้องถิ่นประมาณ 50,000 คนสำหรับการก่อสร้างคลองที่จะใช้เวลากว่า 5 ปี การขุดคลองจะเริ่มจากแม่น้ำบริโต ริมฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตก ผ่านทะเลสาบนิการากัว เขตป่าฝน ผ่านหมู่บ้านอย่างน้อย 40 แห่ง ก่อนจะสิ้นสุดที่ปากแม่น้ำปุนตา กอร์ดา ริมฝั่งทะเลแคริบเบียนทางฝั่งตะวันออก.
ปัจจุบันในโลกนี้ มีคลองที่ทรงความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ได้แก่ คลองสุเอซ ยาว 190 กิโลเมตร สร้างในปี 2409 (1859) แล้วเสร็จปี 2412 (1869) อียิปต์เป็นผู้สร้าง และคลองปานามา ความยาวทั้งสิ้น 82 กิโลเมตร บริษัทฝรั่งเศสเป็นผู้เริ่มขุดในปี 2426 (1883) ต่อมา บริษัทฝรั่งเศสผู้ก่อสร้างล้มละลาย อเมริกาจึงลงนามสัญญากับปานามา ดำเนินการขุดคลองต่อ คลองปานามาเปิดใช้บริการในปี 2463 (1920) จากข้อมูลของ Hong Kong Companies Registry ระบุว่า HKND Group เพิ่งจดทะเบียนที่เกาะเคย์แมนเมื่อปีพ.ศ.2555 โดยนายหวัง จิ้ง ถือหุ้น 100 เปอร์เซนต์ มีการลงทุนธุรกิจเหมืองแร่ในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ธุรกิจการกีฬา อีกทั้งมีหุ้นอยู่ในธุรกิจด้านอวกาศ และภาคธุรกิจต่างๆที่เชื่อมโยงใน 30 ประเทศ สำหรับนาย หวัง จิ้ง เป็นนักกฎหมายและนักธุรกิจที่ดูลึกลับในสายตาวงการ จากข้อมูลที่สืบทราบกันมา ระบุว่า เขาเกิดเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. ปี 2515 (1972) ที่กรุงปักกิ่ง ก่อนหน้านี้ไม่มีใครในวงการใดรู้จักเขาเลย จนกระทั่งปี 2553 เมื่อเขาขึ้นเป็นนายใหญ่ ซินเหว่ย เทเลคอม ฯ (Xinwei Telecom Enterprise Group)บริษัทโทรคมนาคมไร้สาย เมื่อปีที่แล้วหวังเดินทางไปยังนิการากัว และได้ลงนามสัญญาโทรคมนาคม สื่อจีนเผยว่า หวัง จิ้ง เป็นเพื่อนสนิทกับบุตรชายของประธานาธิบดี ดาเนียล ออร์เตกา แห่งนิการากัว มีกลุ่มนักวิเคราะห์และนักลงทุนในวงการต่างๆไม่น้อยออกมาแสดงความสงสัย ตัวอย่างข้อสงสัยเช่น “บรรดาบริษัทเดินเรือสมุทรขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ จะเชื่อได้อย่างไรว่า เจ้าหนุ่มคนหนึ่งที่มีประสบการณ์เล็กน้อยในกิจการโทรคมนาคม จะเป็นผู้ผนึกรวมระบบต่างๆและผลักดันอภิมหาโครงการ 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในประเทศที่มีปัญหาเรื่องความโปร่งใส” แต่ HKND เชื่อมั่นว่าอนาคตของคลองนิการากัวจะโชติช่วง เนื่องจากการค้นพบแหล่งก๊าซและน้ำมันในชั้นหินดินดาน (shale gas/oil) ขนาดมหึมาในสหรัฐฯ และยังมีเทคโนโลยีการผลิตก๊าซและน้ำมันจากชั้นหินด้วยต้นทุนที่ต่ำ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ได้เขย่าเวทีการค้าพลังงานโลก หากสหรัฐฯต้องการส่งออกก๊าซธรรมชาติมายังเอเชีย ก็ต้องอาศัยเรือขนาดใหญ่จำนวนมากกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งต้องยอมรับว่าคลองปานามาไม่สามารถรองรับการขนส่งนี้ได้แล้ว ในเมื่อการขุดคลองนิคารากัวประกาศว่าเริ่มเปิดฉากขึ้นเมื่อ 22 ธ.ค. 2557 ก็ลองมาติดตามกันดู ..
คอยสมน้ำหน้ามัน ผมนะนึกขอบคุณผู้ใหญ่ในบ้านเรา ซึ่งไม่รู้ว่าใครบ้าง ผมชอบใจที่เราไม่ขุดคอคอกกระ อยู่สงบมาได้ทุกวันนี้ เพราะท่านเหล่านั้นฉลาดมากๆ
ผมว่าประหยัดได้ไม่เกินไม่กี่ร้อยบาท ต่อตันหรอกครับ มันใกล้กว่าซัก 500 - 700 กม.ได้มั้งครับ อย่างคลองปานามาช่วยลดระยะได้กว่า 22,500 กม. หรือประหยัดเวลาไปกว่า 4 สัปดาห์ ถ้าเราต้องขุด จะต้องขุดคลองยาวกว่าคลองปานามาแน่ครับ ลากเส้นตรงๆจากส่วนที่แคบที่สุด ก็เบียดๆ 70 กม.เข้าไปแล้ว ถ้าจะต้องขุดจริงๆ มันขุดตรงๆไม่ได้หรอคกรับ ฉะนั้นค่อนข้างแน่ว่า จะต้องมีระยะทางมากกว่า 77 กม.ของคลองปานามาแน่ๆ เขาบอกว่าถ้าจะผ่านคลองปานามานี้ ใช้เวลา 10 ชม. หมายความว่าเรือที่จะมาคลองของเรานี่ ต้องใช้เวลาในการผ่านคอคอดที่เราจะขุดนี่มากว่า 10 ชม. ไม่นับว่าจะต้องต่อคิวกันเข้าคลองอีก ถ้าไปอ้อมใช้เวลาประมาณ ไม่ถึงหนึ่งวันด้วยซํ้าไปครับ ไหนจะค่าใช้คลองอีก แล้วใครมันจะมาใช้ และเราต้องแบกรับภาระค่าขุดคลองที่น่าจะสูงกว่าคลองปานามาด้วย เพราะต้องเป็นคลองขุดทั้งสาย เพราะที่คลองปานามามันมีส่วนหนึ่งเป็นทะเลสาบอยู่แล้ว ไม่รู้ว่าคุณประชดหรือเปล่านะ แต่ผมว่าถ้าเราขุดอย่างเขา ถ้าไม่เจ๊ง ก็เกือบๆหล่ะครับ
China to bypass Malacca Strait by Kra Isthmus Canal in Thailand The following article was translated from Chinese media: The trade route to the Indian Ocean through theMalacca Strait has the problems of pirates, shipwrecks, haze, sediment and shoals. An alternative shorter route is to build a canal at Kra Isthmus, Thailand. Due to close trade relations between China and ASEAN for years, The close relations and accumulated wealth due to economic and trade growth make people believe that the construction of Kra Isthmus is affordable now. China’s huge state-owned LiuGong Machinery Co. Ltd and XCMG, and private Sany Heavy Industry Co Ltd have taken the lead to set up a preparations group for the construction of Kra Isthmus Canal. The 100 km artificial link to the Indian Ocean Source: huanqiu.com “Commencement of the Kra Isthmus Canal project: China takes the lead in building a route shorter than Malacca Strait” (summary by Chan Kai Yee based on the report in Chinese) and Wikipedia “Strait of Malacca”
นายหวัง จิ้ง แห่ง HKND ถูกจัดอยู่อันดับที่ 224 ของมหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดของนิตยสารฟอร์บส์ปีนี้ ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 6,100 ล้านดอลล่าร์ หรือเกือบ 198,000 ล้านบาท เขาปฏิเสธมาโดยตลอดว่า ไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆ กับรัฐบาลจีน แต่มีรายงานว่า รถยนต์ของเขาติดป้ายทะเบียนสำหรับกองทัพ หนึ่งในบริษัทในเครือของเขา เปิดเพลงของกองทัพวันละ 2 ครั้ง และบริเวณล็อบบี้บริษัทตกแต่งด้วยภาพของบรรดาผู้นำจีนที่ไปเยี่ยมเยียนบริษัท สำหรับเครือข่ายดาวเทียมที่เป็นโครงการหนึ่งของบริษัทเป็นการพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยซิงหัว และได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นทางเลือกที่ถูกกว่าการพึ่งพาผู้ให้บริการดาวเทียมสื่อสารต่างชาติในบริเวณทะเลและแถบทะเลทรายของจีน นายหวังบอกว่า บริษัทซินเหว่ยมีแผนจะพัฒนาดาวเทียมร่วมกับมหาวิทยาลัยซิงหัวอีก 4 ดวง และสร้าง "กลุ่มดาว" โทรคมนาคมสื่อสาร ภายใน 10 ปีข้างหน้า และยืนยันด้วยว่าการสร้างดาวเทียมที่ใช้เทคโนโลยีในประเทศมีราคาต่ำมาก และทางบริษัทได้คาดหวังไว้สูงสำหรับผลตอบแทนการลงทุนในอนาคต นายหวังไม่ได้บอกมูลค่าการลงทุนในธุรกิจดาวเทียมนี้ และเขายังถือหุ้นกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ในบริษัทหัวเว่ย..บริษัทมือถือที่ถูกควบคุมอีกทีโดยบริษัทต้าถัง เทเลคอม เท็คโนโลยี แอนด์ อินดัสทรี่ส์ กรุ๊ป ที่มีรัฐบาลเป็นเจ้าของ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=938192 ส่วนข้อมูลของ HKND ยังต้องรอสักระยะ ปีที่แล้วถูกตั้งข้อสงสัยไว้เยอะว่าโครงการคลองนิคารากัวฝันเฟื่องหรือไม่ สปอตไลท์ส่องไปที่นายหวัง จิ้งว่าเป็นตัวจริงหรือตัวแทนของใครในการระดมทุนขุดคลองครั้งนี้มันเป็นหน้าประวัติศาสตร์ทีเดียว
จีนมีบริษัทสื่อสารโทรฯเยอะมาก เฉพาะประชากรของเขาเองไม่ต่ำกว่าล้านที่ใช้สมาร์ทโฟน นอกจากซินเหว่ยของนายหวัง จิ้งแล้วยังมีหัวเว่ยที่นายหวังมีหุ้น 30 % ซึ่ง ณ.ปัจจุบันนี้เริ่มดังในเมืองไทย เห็นมาทำโฆษณาในช่องฟอกซ์ไทยโดยใช้อาเล็ก-ธีรเดช เป็นแบรนด์แอมฯสะด้วย 555+ รุ่นที่ดังสุดคือ หัวเว่ยแอสเซนด์ (Huawei Ascend Mate7) (ออกนอกคลอง ..เข้าทะเล ข้ามมหาสมุทรไปหน่อย 555+)
ก็สร้างดีๆสิครับ ให้มันเดินทางสะดวกกว่าปานามา เก็บค่าผ่านทางให้เหมาะสม สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆให้พร้อม เดี๋ยวคนเค้าก็มาใช้เองแหละครับ ปานามาใช้เวลานานเพราะแคบ และระดับน้ำทะเลไม่เท่ากัน ทำให้ต้องใช้ระบบประตูน้ำ ทำได้ทีละลำ แถมสร้างไว้นานแล้ว เรือที่ผ่านได้เลยจำกัด( เรียกว่า panamax ) ถ้าเราขุดคลองไทยจริงๆ ก็สร้างแบบให้ไม่มีปัญหาเรื่องนี้ซะ คือทำให้กว้างพอที่จะเดินเรือได้สะดวก ถ้าเดินเรือได้เร็วกว่าวันนึงแล้วเสียค่าใช้จ่ายเท่ากัน ทำไมเรือมันจะไม่มาใช้ล่ะครับ การเดินทางอ้อมไปสิงคโปร์มีปัญหาหลายอย่าง ทั้งเรื่องการจำกัดความเร็วในช่องแคบมะละกา การจราจรทางทะเลที่แออัด เมื่อก่อนมีความเสี่ยงเรื่องโจรสลัดอีก( เดี๋ยวนี้ลดลงเยอะแล้ว ) เท่าที่ผมคิดดูแล้ว ปัญหาไม่ใช่เรื่องความคุ้มค่ากับการลงทุนหรอกครับ เพราะปริมาณการเดินเรือผ่านช่องแคบมะละกานี่เยอะว่าทั้งปานามาและสุเอซเสียอีก ถ้าเราสร้างได้จริงๆ คลองไทยจะเป็นจุดยุทธศาสตร์ของโลกขึ้นมาทันที สิงคโปร์น่ะเตรียมเจ๊งได้เลย แต่ติดปัญหาของไทยหลายอย่าง อย่างแรกคือต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลมากๆ เพราะไม่ใช่แค่สร้างคลองอย่างเดียว ต้องเตรียมโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆรองรับอีกมหาศาล ทั้งท่าเรือ ศูนย์ซ่อมบำรุง คลังน้ำมัน ฯลฯ และอีกประเด็นคือปัญหาเรื่องความมั่นคง เพราะถ้าเกิดมหาอำนาจทะเลาะกันขึ้นมา รับรองว่าแย่งกันยึดคลองไทยเอาไว้แน่นอน
มันไม่ได้ประหยัดกว่าเป็นวันๆหรอกครับ อย่างดี ก็ทำได้ไม่กี่ชม.เท่านั้น ลองไปเช็คเส้นทางการเดินเรือก่อนครับ มันลัดไปนิดเดียวเท่านั้น แล้วถ้าสร้างมันไม่ใช้ประตูนํ้าเหรอครับ ฝั่งอนามัน กับฝั่งอ่าวไทยมันคลื่นเท่ากันเหรอครับ ยังไงก็ต้องใช้ประตูนํ้าอยู่ดี อีกอย่างถ้าขุด ยังไงคลองมันก็เล็กอยู่ดีครับ คำว่าสะดวกหน่ะครับ ไม่มีสำหรับการเดินเรือในคลองหรอกครับ โดยเฉพาะเรือเดินสมุทร เพราะเรือมันเลี้ยวยาก จะหยุด ก็ยากด้วย เพราะโมเมตัมมันสูง ยังไงก็ต้องถูกจำกัดความเร็วอยู่ดี
สิ่งที่ตามมาถ้ามีการขุดคลองไทยคือ เราจะสามารถกลายเป็นศูนย์กลางการขนส่ง ศูนย์กลางพลังงาน และจะมีความต้องการมาลงทุนสร้างโรงงานในไทยมากขึ้น ถ้ามองแค่รายได้จากค่าผ่านคลองอาจไม่คุ้ม แต่ถ้าบริหารจัดการดีๆ มันจะมีรายได้จากด้านอื่นๆจนเกินคำว่าคุ้ม
ไม่รู้กฏหมายของประเทศเขาเป็นยังไงถึงได้เก็บเป็นความลับได้ ชาวบ้านแถวนั้นไม่ต้องประชาพิจารณ์หรืออย่างไร ถ้าเป็นไทยล่ะก็ NGO ตอมกันหึ่ง ก่อนชาวบ้านจะรู้เรื่องเสียอีก
แค่ตัดเงินประเทศที่คอยสนุบสนุนก่อการร้ายภาคใต้ได้ ไม่ให้อยู่สบายๆ เป็นเสือนอนกินอย่างทุกวันนี้ คนของเราปลอดภัยขึ้น แถมมีเงินเข้าบ้าน สำหรับผมก็เกินคุ้มแล้ว ทำไมจะไม่ทำ ? ... สร้างยังไงก็ได้ประโยชน์ จะมากจะน้อยอันนี้ต้องไปศึกษากันใหม่ ที่ว่าประหยัดลงไม่กี่บาท ประหยัดเวลาได้ไม่เท่าไร คุณเป็นนักธุรกิจ เป็นพ่อค้าแม่ค้า คุณจะเอาไหม ? ส่งสินค้ากันปีละครั้งหรือไง ? แล้วทำไมพม่ากล้าลงทุน ท่าเรือน้ำลึกทวาย ? แล้วทำไมถ้ามีท่าเรือน้ำลึกทวายแล้วสามารถลดเวลาขนส่งสินค้าได้เป็นวันๆ ? *** หมายเหตุ1 รศ.ดร. สถาพร เขียววิมล อาจารย์ พระนครเหนือ กล่าวไว้ว่าถ้ามีคลองไทยจะลดเวลาลงได้ 2 - 3 วัน http://www.thai-canal.com/Link01/www.mthai.com.htm http://www.thai-canal.com/PDF file/Senate-Report-02.pdf *** หมายเหตุ 2 จากเอกสารของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่อ้างว่าถ้ามีท่าเรือน้ำลึกทวาย จะทำให้การขนส่งจากเวียดนามไปพม่าใช้เวลาลดลงเหลือ 6 วัน ผมเลยสงสัยว่า ถ้าขนส่งผ่านทางช่องแคบ มะละกาจะใช้เวลาเท่าไร ? เลยไปลองหาข้อมูลมา พบว่าใช้เวลาถึง 8 วันกับ 9 ชม ซึ่งสอดคลองกับที่ รศ.ดร. สถาพร ได้กล่าวไว้ ซึ่งการขนส่งผ่านทางทวายนี้ต้องเสียเวลาขนสินค้าลงรถแล้ววิ่งทางบกมาลง ที่ท่าเรือแหลมฉบังแล้วก็ต้องเสียเวลาขนสินค้าขึ้นเรืออีกรอบ
1.เชคให้ดีหรือยังว่ามันลัดเท่าไหร่ เค้าออกแบบอย่างไรเอาไว้ มีคนศึกษาเอาไว้เยอะแล้ว( ดูเหมือนมีคนลงข้อมูลให้แล้ว ) 2 เรื่องประตูน้ำ ผมเพิ่งรู้ว่าเค้าดูกันที่คลื่น หลักการนี้เอามาจากไหนครับ ที่สุเอซคลื่นมันเท่ากันหรือเปล่าครับ เค้าถึงไม่ทำประตูน้ำ 3 ความสะดวกอยู่ที่การออกแบบคลองและการควบคุมการจราจรครับ ระยะเวลาที่วิ่งในคลองนั้นทำให้สั้นกว่าการใช้เวลาในการผ่านช่องแคบมะละกาได้ เพราะทางนั้นแค่เข้าไปในบริเวณระหว่างมาเลเซียกับเกาะสุมาตราก็ต้องลดความเร็วลงแล้ว อีกหลายร้อยกิโลเมตรกว่าจะถึงสิงคโปร์ ของเราถ้าสร้าง ก็ลดความเร็วช่วงที่ผ่านคลอง โดยประมาณก็ร้อยกิโลเมตร ถ้าวิ่งสิบกิโลเมตรต่อชั่วโมง ก็ใช้เวลาสิบชั่วโมง แล้วก็ออกทะเลใหญ่แล้ว 4 คุณทราบหรือไม่ ว่ามีเรือจำนวนมากไม่สามารถผ่านช่องแคบมะละกาได้ ต้องไปอ้อมที่บาหลี ถ้าเราทำคลองให้กว้างและลึกพอ เรือพวกนี้รับรองมาใช้แน่ๆ เพราะประหยัดเวลาได้หลายวันเลย
ส่วนประเด็นคลองนิคารากัว ผมคิดว่าไม่น่าแปลกใจที่สร้างเพราะคลองปานามานั้นคับแคบจริงๆ (เคยมองแผนที่แล้วคิดเล่นๆว่าน่าจะสร้างตรงทะเลสาบนี้เหมือนกัน เพราะน่าจะใช้ลดระยะทางการสร้างคลองได้) ทุกวันนี้คลองปานามามีปัญหาเรื่องเรือที่เข้าประตูน้ำได้มีขนาดจำกัด( Panamax ) ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไมถึงไม่มีโครงการขยายคลอง ถ้าคลองนิคารากัวเปิด อเมริกาก็คงหันมาใช้คลองนี้เต็มที่แทนคลองปานามาแน่ๆ ลูกค้าหลักของคลองปานามาก็คงเหลือแค่ประเทศทางอเมริกาใต้เท่านั้น
อ่อ จีนสร้าง จีนได้สิทธิบริหารตั้ง100ปี อเมริกามาใช้คลองเต็มที่ นิคารากัวเจอแน่ ปฏิวัติรัฐประหาร ก่อการฃุมนุมล้มรัฐบาล ไม่รู้จบ แต่ว่า ก็มีคนคุ้มครับ ก็คงขัดขวางความอยากคุ้มไม่ได้หรอกครับ ไม่ว่าที่ไหนๆ ก็ถึงสมน้ำหน้าคนบางคน อ้อ ยินดีด้วยนะกับคนบางคน
ในอดีตเรือมาสิงค์โปร์เพราะอยู่ที่ช่องแคบมะละกา แต่เวลาผ่านไปสิงค์โปร์ได้มูลค่าให้ตนเองจนกลายเป็นว่า เรือมาจอดที่สิงคโปรเพราะตั่งใจเจาะจงมาที่สิงคโปรโดยเฉพาะ