สนช. เห็นชอบหลักการกม.ปปช. เปิดช่องไล่บี้คดีทุจริตนอกราชอาณาจักร ริบทรัพย์ และไม่นับอายุความหากหลบหนีคดี เมื่อวันที่ 19 ก.พ. ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติ 172 ต่อ 5 งดออกเสียง 10 เสียง เห็นชอบในหลักการวาระแรก ร่างพ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นผู้เสนอพร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณารายละเอียด จำนวน 21คน http://www.posttoday.com/การเมือง/348458/สนช-เห็นชอบกฎหมายปปช-ไล่บี้คดีทุจริตนอกประเทศ ----------------------------------------------------------------------------------------------------- ยังมีอีกอย่างที่สำคัญมากๆคือ "ที่มาของคณะกรรมการป.ป.ช." ไม่รู้ว่าจะใช้แบบเดิม หรือออกแบบใหม่
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ย่อ: คณะกรรมการ ป.ป.ช.) (อังกฤษ: National Anti-Corruption Commission) เป็นคณะบุคคลซึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีก 8 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา ผู้ได้รับการเสนอชื่อและได้รับเลือกเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติต้องเป็นผู้ซึ่งมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 256 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 9-11 การสรรหา การสรรหาและการเลือกกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ให้นำบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 257 และมาตรา 258 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ โดยให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจำนวน 15 คน ประกอบด้วยประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคลทุกแห่ง ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือ 7 คน ผู้แทนพรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคละ 1 คน ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือ 5 คน เป็นกรรมการ http://th.wikipedia.org/wiki/คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ไม่รู้จะทำได้หรือปล่าวอะครับ แต่ถ้าดูตามด้านล่างน่าจะทำได้ กรณีฟ้องทางแพ่ง(เรียกค่าเสียหาย) --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- หลักกฎหมายห้ามย้อนหลังในทางอาญานี้เป็นหลักนิติปรัชญาสากล มีต้นกำเนิดมาจากภาษิตกฎหมายละตินว่า Nullum crimen sine lege คือ ไม่มีการกระทำความผิดหากไม่มีกฎหมายกำหนด และ Nulla poena sine lege คือ บุคคลจะไม่ต้องรับโทษหากไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ หลักกฎหมายห้ามย้อนหลังดังกล่าวนี้หากเป็นการ ย้อนหลังในโทษทางอาญาถือเป็นหลักกฎหมายเคร่งครัด ผู้ใช้กฎหมายจะตีความเป็นอย่างอื่นนอกจากที่กฎหมายกำหนดไม่ได้ เว้นแต่กฎหมายที่ออกมาภายหลังมีลักษณะเป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดยิ่งกว่าและไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ห้ามมิให้มีการออกกฎหมายที่มีโทษทางอาญาย้อนหลังอันเป็นผลร้ายแก่ผู้กระทำความผิด แต่ถ้าเป็นกฎหมายอื่นที่ไม่ใช่โทษทางอาญายังคงมีความเห็นเป็น 2 แนวทาง แนวทางแรกมองว่า กฎหมายไม่สามารถออกย้อนหลังอันเป็นผลร้ายแก่ผู้กระทำความผิดได้ไม่ว่ากรณีใดๆ อีกแนวทางหนึ่งมองว่า เฉพาะกฎหมายที่มีโทษทางอาญาเท่านั้นที่ไม่สามารถย้อนหลังอันเป็นผลร้ายแก่ผู้กระทำความผิดได้ แต่ถ้าเป็นกฎหมายอื่นที่ไม่ใช่กฎหมายที่มีโทษทางอาญา ไม่มีกฎเกณฑ์ใดห้ามมิให้กฎหมายนั้นมีผลย้อนหลัง http://law.hcu.ac.th/new/content.php?id=19
คดี สมัคร ประชา ผมยังไม่ได้ยินข่าว ก. คลัง ได้เรียกเงินคืนให้แผ่นดินเลย โกงไปเยอะกว่าที่ศาลตัดสินให้ทายาทชดใช้ซะอีก
ข้าราชการพลเรือนประเทศเรา โดนนักการเมืองข่ม จนไม่ค่อยมีใครกล้าแหยมกะมันแล้วครับ กลัวโดนเอาคืนเวลามันมีอำนาจ เงียบๆเฉยๆไว้ดีกว่าปลอดภัยดี
อยากทราบชื่อเสียงเรียงนาม ไอ้ 5 คน กับ 10 คนนั่นจังเลย ไม่รู้จะชื่อซ้ำกับ พวกสวนมติกับงดออกเสียงตอนพิจารณาถอดถอนนังโง่.... หรือเปล่านะ
ฟ้องแพ่งนี่แหละจุดตาย ยังไงๆ ก็ไม่พ้นผิดจนกว่าจะชดใช้คืนหมด เพราะงั้นจนตายมันก็กลับประเทศไม่ได้ ว่าแต่ทั้งตะกูลไอ้แม้วนี่มีปัญญาจ่าย 6 แสนล้านรึเปล่า จะให้ดีบัญญัติไปเลยว่าถ้าใครหนีทั้งตะกูลต้องรับผิดชอบชดใช้ด้วยถึงจะสาสมที่สุด
จะได้เห็นกฎหมายห้ามตำรวจ อัยการ เข้าไปบริหารบอร์ดรัฐวิสาหกิจ มั้ยครับ กระบวนการยุติธรรมไทย มันเป๋ตลอด เพราะรับใช้นายที่ให้ตำแหน่งอย่างเดียวเลย