ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ในโลกสื่อสังคมออนไลน์มีการเผยแพร่ภาพอันน่าโศกสลดของแวดวงประมงไทยเป็นภาพการขนถ่ายและชะแหละ “ปลากระเบนราหู (แมนตา)” ของชาวประมงไทยที่จังหวัดระนอง โดยระบุว่าเป็นสิ่งที่ไม่สมควร เพราะในทะเลอันดามันเหลือปาชนิดนี้ไม่เกิน 50 ตัวเท่านั้น เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2558 ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านระบบนิเวศทางทะเล และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) โพสต์ภาพและข้อความในเฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat ระบุว่า “ฆ่าแมนต้า ความตายของกระเบนใหญ่ที่สุดในโลก สนับสนุนกระเบนราหูเป็นสัตว์คุ้มครอง” พร้อมรายละเอียดว่า “ภาพอันน่าเศร้าที่เพื่อนธรณ์เห็น เกิดขึ้นที่ท่าเรือแห่งหนึ่งในประเทศไทย สัตว์ที่นอนตายกองกันอยู่ท้ายกระบะ คือหนึ่งในกลุ่มปลากระเบนใหญ่ที่สุดในโลก และสัตว์ที่เป็นเพื่อนรักของนักดำน้ำทุกราย กระเบนกลุ่มนี้ทำรายได้ให้การท่องเที่ยวมหาศาล เป็นความประทับใจแห่งอันดามันที่ผู้มาเยือนไม่เคยลืมเลือน น่าเสียดายที่ในทะเลมีเครื่องมือประมงบางอย่างที่สามารถจับแมนต้าและญาติกลุ่มนี้ที่น่ารักได้ น่าเสียดายที่มีความตายเกิดขึ้นอย่างโหดร้ายในทะเล การอนุรักษ์แมนต้าและญาติเป็นเรื่องยาก การห้ามการประมงกระเบนกลุ่มนี้เหมือนที่เคยใช้กับฉลามวาฬเป็นเรื่องที่ต้องศึกษา อย่างไรก็ตาม การปล่อยให้แมนต้าและญาติตายไปเรื่อยๆ เป็นสิ่งที่คนรักทะเลยอมรับไม่ได้ ทางออกสุดท้าย...สัตว์คุ้มครอง http://www.manager.co.th/HotShare/ViewNews.aspx?NewsID=9580000069919&Html=1&#Opinion ................................................................................................... พอดีเห็นข่าวนี้แล้ว เห็นด้วยกับการอนุรักษ์สัตว์หายาก ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ประเภทไหนก็ตาม อย่างน้อยก็เพื่อลูกหลานของเราในอนาคต หากท่านใดเห็นด้วย ลงชื่อได้ที่นี่ครับ • www.change.org/saveourwhale” ข้อมูลเพิ่มเติม ปลากระเบนแมนตา หรือ ปลากระเบนราหู (Manta ray) เป็นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง จัดเป็นปลากระเบนที่ใหญ่ที่สุดในโลก อาจมีความกว้างช่วงปีก (ครีบหู) ได้ถึง 6.7 เมตร หรือ 22 ฟุต มีน้ำหนักได้ถึง 1,350 กิโลกรัม หรือ 3,000 ปอนด์ อาศัยอยู่ในน่านน้ำเขตร้อนทั่วโลก โดยเฉพาะรอบ ๆ แนวปะการัง (ข้อมูลจากวิกิพีเดีย) ทั้งนี้จากข้อมูล ปัจจุบันปลากระเบนราหู (แมนตา) ยังไม่ได้เป็นสัตว์ที่ได้รับการคุ้มครองใดๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นการคุ้มครองทางกฎหมาย ทางฝั่งกรมประมง ว่าด้วยการห้ามทำการประมง หรือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง จากพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 จากทางฝั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” ปล. ล่าสุดที่ผมลงชื่อ แชร์แคมเปญรณรงค์นี้ ผู้สนับสนุน 7,920 คน ขออีก 2,080 ชื่อให้ถึง 10,000
ขอเพิ่มเติมนิดครับ หลายท่านอาจสงสัย เข้าไปหน้าโหวตแล้วกลายเป็นเรื่อง วาฬบรูด้า เพราะตอนนี้มีความพยายามผลักดันเรื่อง วาฬบรูด้า ให้เป็นสัตว์สงวนอยู่ครับ หากจำนวนรายชื่อเพียงพอ ก็จะเสนอกระทรวงทรัพยากรฯ ให้ประชุมพิจารณาและจะถือโอกาสนำเรื่อง ปลากระเบนราหูนี้ไปด้วยครับ ขอบคุณทุกท่านมา ณ ที่นี้ครับ
ดัน ^^ สองหมื่นกว่ารายชื่อแล้ว ขออีก 4,393 ชื่อให้ถึง 25,000 ช่วยกันเข้าไปโหวตเยอะๆนะจ๊ะ • www.change.org/saveourwhale
เฮ้อ........... กรมป่าไม้ กรมประมง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติของไทย ทำไมจึงต้องรอให้สิ่งที่พวกท่านมีหน้าที่โดยตรงต้องดูแลย่อยยับลงเสียก่อน จนมีคนชี้เป็นประเด็นจึงค่อยตื่นขึ้นมาตรวจสอบ ป่ากี่ล้านไร่ สัตว์ป่าที่ต้องคุ้มครองกี่ชีวิต ปะการังกี่ตารางกิโลเมตรที่ถูกทำลายไปเพราะท่านขาดความรับผิดชอบ จะต้องมีรัฐธรรมนูญอีกกี่ฉบับหนอถึงจะปลุกสำนึกข้าราขการไทยได้
ขออัพเดทข่าวหน่อยครับ ล่าสุดกรมทรัพยากรฯเตรียมประกาศ วาฬบรูด้าเป็นสัตว์สงวน ลำดับที่ 16 ต่อจากพยูนแล้วครับ คาดว่าใช้เวลาอีก 2 เดือน ขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมในครั้งนี้ครับ http://www.dailynews.co.th/politics/331755 ............................................................................................................. https://www.change.org/p/กระทรวงทรั...ล้อม-ขอให้วาฬบรูด้าเป็นสัตว์สงวน-2/u/11172452 1) ตั้งแต่ประเทศไทยมีสัตว์สงวนสัตว์คุ้มครอง ไม่เคยมีครั้งไหนที่มีคนร่วมลงชื่อสนับสนุนมากมายถึงเพียงนี้ เท่าที่ผ่านมา การเสนอสัตว์เกือบทุกชนิดแทบไม่มีประชาชนคนทั่วไปมีส่วนร่วม 3) ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ประชาชน 20,000 คน สามารถเข้าชื่อเพื่อเสนอหรือปรับปรุงกฎหมายกับรัฐสภา จำนวนคนที่เสนอวาฬบรูด้าและเพื่อนพ้องเป็นสัตว์สงวนและสัตว์คุ้มครอง มีจำนวนเกินกว่านั้นแล้วครับ ขั้นตอนต่อจากนี้ คือ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กำลังจะเสนอรายชื่อสัตว์สงวนและสัตว์คุ้มครอง 24 ชนิด ให้กับกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อพิจารณา หากผ่านการพิจารณา จะนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า โดยมีท่านรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธาน หากผ่านการพิจารณา จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติ ออกเป็นรายชื่อแนบท้ายพรก. หากสำเร็จ การอนุรักษ์สัตว์ของประเทศไทยจะเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ดังนี้ 1) สัตว์สงวนของประเทศไทย จาก 15 ชนิด จะเพิ่มเป็น 19 ชนิด 2) สัตว์ทะเลคุ้มครองของไทย จะเพิ่มขึ้นอีก 19 ชนิด และปลาน้ำจืดอีก 1 ชนิด 3) เราอาจมีมูลนิธิ “วาฬบรูด้า” ภายในไม่ช้า 4) แผนการดูแลอนุรักษ์ ศึกษาวิจัย ช่วยชีวิต และให้ความรู้ เกี่ยวกับสัตว์ทะเลหายาก จะชัดเจนและมียุทธศาสตร์ระยะสั้นและระยะยาวเป็นครั้งแรก 5) การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการดูแลเพื่อนของเราใต้ทะเล จะเกิดขึ้นได้อย่างจีรังถาวร 6) อาจจะมีกิจกรรมเซอร์ไพรส์ต่างๆ ที่กำลังจะติดตามมาในระยะเวลาไม่นาน สภาปฏิรูปแห่งชาติ จะร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงท่องเที่ยวและการกีฬา ตลอดจนเครือข่ายต่างๆ เพื่อจัดประชุมและจัดนิทรรศการเกี่ยวกับวาฬบรูด้าและสัตว์สงวนชนิดต่างๆ ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2558 เพื่อให้เกิดแผนการต่างๆ ดังที่บอกเล่าไว้ครับ รายชื่อสัตว์หายากที่จะนำเสนอเป็นสัตว์สงวน ได้แก่ 1) วาฬบรูด้า 2) วาฬโอมูระ (ลักษณะคล้ายวาฬบรูด้า) 3) เต่ามะเฟือง 4) ฉลามวาฬ รายชื่อสัตว์หายากที่จะนำเสนอเป็นสัตว์คุ้มครอง ได้แก่ 1) กระเบนแมนต้ายักษ์ 2) กระเบนแมนต้าปะการัง 3) กระเบนปีศาจครีบสั้น (คล้ายกระเบนแมนต้า) 4) กระเบนปีศาจหางหนาม 5) กระเบนปีศาจครีบโค้ง 6) กระเบนปีศาจแคระ 7) โรนิน กระเบนท้องน้ำ 8) โรนันเม็ด 9) โรนันหัวไทรจุดขาว 10) โรนันหัวไทร 11) โรนันหัวไทรยักษ์ 12) โรนันจมูกเรียบ 13) โรนันจุดขาว 14) โรนันจุดขาวใหญ่ 15) โรนันหัวจิ้งจก 16) โรนันจมูกกว้าง 17) ฉนากปากแหลม 18) ฉนากเขียว 19) ฉนากยักษ์ 20) กระเบนราหูน้ำจืด