ว่าด้วยเรื่องระบบ แบบเยอรมันหรือ สสสัดส่วน ประเทศไทยควรมีระบบที่ให้พรรคเล็กได้และป้องกันเผด็จการรัฐสภาที่จริง ระบบ สส สัดส่วน 2550ก็ป้องเผด็จการรัฐสภาได้แต่พรรค ปชปยอมพรรคร่วมแก้ให้กลายเป็นแบบ รธน 40ซะได้การที่ ปชปแก้ให้เป็นแบบ 40 เท่ากับ ปชปเปิดทางให้ทักษิณกลับมามีอํานาจแบบแข็งแกร่ง จะไม่โทษ ปชปได้ไงครับระบบเดิมสส สัดส่วน แบบพวงเรียงเบอร์ช่วยป้องกันไม่ให้ สส พรรคแม้วเกินครึ่งนี่ครับแล้ว แล้วคะแนนเลือกตั้ง ปี 2554 คะแนน ปชป บัญชีรายชื่อก็ใกล้เคียงกับ พรรคแม้วแต่กลับมาแพ้เขตคะแนนมันผิดเพี้ยน ขอย้อนเรื่ิองเลวๆของ ปชปเป็นบทเรียนหน่อยแล้ว กันแปลกนะ พรรคบรรหารเนวิน สุวัจน์ กดดัน ปชปให้ใช้ระบบ ปี 40เพื่อไรหรือว่าไอ้พรรคพวกนั้นรับงานไอ้แม้วมากดดัน ปชปกันแน่ถ้าใช้ระบบ 40จะสส เขต หรือบัญชีรายชื่อเท่าใดการที่คะแนนเปอร์เซนต์ได้ สส ยากก็รังแต่จะแพ้แม้ว ผมพูดเรื่องนี้ก็ได้แต่หวังว่า ถ้าเอาระบบเยอรมันมาใช้แล้ว ปชปเป็นรัฐบาลจะไม่แก้กลับไปจุดเดิมอีก ที่เราค้านแก้รัฐธรรมนูญตอนนั้นถือว่าคิดถูกอย่างยิ่ง แม้จะค้านไม่ได้ก็ถือว่าทําถูกแล้วคนที่เปิดประตูให้ทักษิณกลับมาได้ครั้งที่ 2 ส่วนหนึ่งก็พรรค ปชปนั้นแหละ
ผมมาผมก็ต้องย้อนความหลังนี่แหละบอกจะให้ การเลือกตั้ง สส สะท้อนคะแนนเปิดโอกาสพรรคเล็กป้องกันเผด๋็จการสภาพอย้อนไปสมัย ปชปเอา ระบบเลือกตั้ง 40กลับมาใช้ผมนี่เจ็บจิ๊ดเลยตอนนั้น
จะว่าไปแล้ว เรื่องปราบแม้ว ของปชปห่วยไม่พอ ยังแอบเปิดทางทักษิณกลับมาอีก ด้วยการแก้ รธนให้ใช้ระบบล้าหลังระบบเลือกตั้งผูกขาดอํานาจ
อ่านกระทู้กบแดงแล้วขําสิ้นดี สนับสนุน ระบบเลือกตั้งเยอรมันแต่สมัย ปชปแก้กลับไปใช้ระบบล้าหลังเปิดทางทุนใหญ่ผูกขาดอํานาจ สนับสนุนงมงายโงหัวไม่ขึ้น นี่คือ ความจริง จะไม่พูดได้ไงกลัว ปชปเป็นรัฐบาลแล้วแก้กลับไปจุดเดิมไง http://xn--12c4db3b2bb9h.net/thread...ข้อดีข้อเสียกับแบบเดิม-เผื่อกันโจร500ได้.633/
ก็ ปชปเอาระบบเลือกตั้ง ระบบ สส สมัย รธน 40กลับมาใช้ไงชัดไหม จะมาสัดส่วนไหน 375 กับ 125 ก็คือ สสโจร 500 มันก็คือล้าหลังพวกพรรคใหญ่ที่โกงชอบ เพราะกีดกันพรรคเล็กเอื้อพรรคใหญ่มีอํานาจเบ็ดเสร็จ ไม่ต้องแปลกหรอกม๊อบพันธมิตรหลักร้อยที่พวก ปชปดูถูกตอนนั้น ออกมาเพราะรู้ว่ากลับไปใช้ระบบเดิมทักษิณกลับมาง่ายขึ้นแน่
แล้วเกี่ยวยังไงมิทราบ แถม แก็งไหนวะที่โหวตโนตอนนั้น พอปชป.แพ้ก็สะใจ ใครวะ และมีมาตราไหนที่ปชป.เปิดช่องโหว่ แค่ระบบเลือกตั้งมันไม่พิสูจน์อะไรเลย บางเขตคะแนนปชป.แพ้หลักร้อย ถ้าฝ่ายนู้นไม่ทุจริต จะได้เป็นส.ส.มั้ย
มีคำถามสำหรับแพ็ตตี้ คิดว่า พรรคเพื่อไทย กับ ป.ช.ป. พรรคไหนเลวกว่ากัน เพราะเห็นด่าแต่ป.ช.ป. ส่วนเพื่อไทยหนูแพ็ตตี้แทบไม่แตะ
แพรต จะสมัคร สส. ไปสมัครเป็น ทหาร ก่อนนะ อ้อ!!! Format 1.44MB. บ้างนะ ตอนนี้ วินโดว์ 8.1 for 1.44 MB. มีขายแล้ว.
ผมคิดเอง ก็เหมือน สาวก ปชปเอาคําพูดอภิสิทธิ์ สุเทพมาพูดทุกวันบังเอิญ ผมคิดว่าถ้าตอนนั้น ปชปไม่แก้เอาระบบ เลือกตั้ง สส สมัย รธน 40กลับมาใช้ ปชปยังมีโอกาสชนะไอ้แม้วบ้าง ถ้า ปชปไม่แก้ไม่บ้าตามพรรคร่วมอ้างเอาใจพรรคร่วม บ้าๆบอๆตอนนั้น ปชปอาจได้เสียงเพิ่มพรรคกลางพรรคเล็ก ก็ไม่ต้องมีเสียงเตี้ยลงเพราะพรรคแม้วกินรวบ
หลัง รธน ปี 50 ปชป ไม่เคยมีเสียงพอในการเป็น รัฐบาล เลยนะ ฝ่ายค้านตลอด ไหนลองเอารายชื่อ พรรค ที่โหวตแก้ให้ดูหน่อยสิ พอดีคนแก่ตกข่าวน่ะ
เอ้าหามาให้ การเมือง วันที่ 24 มีนาคม 2552 17:05 สภาร้อนโหวตร่นแก้รธน.เฉลิม ฉะส.ว.สรรหา โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ นายกฯเชิญ"เฉลิม-วิทยา"ถกปฏิรูปการเมือง ให้เปลี่ยนตัวกก. "เหลิม"แนะสภาทำเองเสร็จใน60วัน เหน็บ ส.ว.สรรหาไม่รู้จักประชาธิปไตย ผลโหวตฝ่ายค้านตก ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อเวลา 15.00 น. ภายหลังจากมีการนับองค์ประชุมแบบขานชื่อในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ปรากฏว่าองค์ประชุมครบ โดยมีสมาชิกรัฐสภาเข้าร่วมประชุมทั้งหมด 369 คน จากนั้นได้เข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม ซึ่ง ส.ส.พรรคเพื่อไทยได้ขอหารือให้เลื่อนระเบียบวาระ โดยขอให้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่...) ที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 71,543 คนเป็นผู้เสนอเป็นเรื่องแรก เพราะเห็นว่าร่างดังกล่าวได้บรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมมานานแล้วและควรหยิบยกมาพิจารณา ซึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีชี้แจงว่า เรื่องการปฏิรูปการเมือง รัฐบาลไม่ได้เพิกเฉยหรือโย้เย้ จึงขอให้สมาชิกสบายใจได้ และขณะนี้ทางสถาบันพระปกเกล้าก็ได้ทำหนังสือตอบกลับมาแล้ว ดังนั้น เพื่อความสบายใจในวันที่ 25 มี.ค.หรือวันที่ 26 มี.ค.นี้ ก็อยากให้นายวิทยา บุรณะศิริ ส.ส.อยุธยา พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน(วิปฝ่ายค้าน) และ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานส.ส.พรรคเพื่อไทยหารือร่วมกัน ส่วนจะยังติดใจรายชื่อของคณะกรรมการอิสระฯ ที่สถาบันพระปกเกล้าตั้งขึ้นก็สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า หากดูรายชื่อของคณะกรรมการอิสระฯ ที่สถาบันพระปกเกล้าเสนอเป็นคนกลางจะเห็นว่าเป็นรายชื่อซ้ำ เป็นบุคคลในสมัยรัฐประหาร และเป็นบุคคลในสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ซึ่งเคยร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งหากนายกฯ ใช้รูปแบบนี้พรรคเพื่อไทยไม่เห็นด้วย ทำไมเราไม่ปฏิรูปการเมืองกันเอง โดยให้ประธานรัฐสภานั่งเป็นประธาน 60 วันก็รู้ผล เอารัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นตัวตั้งแล้วเอารัฐธรรมนูญปี 2550 มาประกอบ แต่ก็อยู่ที่ว่าเราเห็นพ้องต้องกันแล้วหรือไม่ว่าควรที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ ชี้แจงอีกว่า คณะกรรมการอิสระฯ นั้นไม่จำเป็นว่าเราจะต้องยอมรับ หากจะปรับเปลี่ยนก็สามารถทำได้ และการที่ไม่ใช่รัฐสภาเพื่อที่จะปฏิรูปการเมืองนั้น ไม่ใช่ว่าเราไม่มีความสามารถ แต่ต้องยอมรับว่าความขัดแย้งในสังคมเกิดจากความคลางแคลงใจนักการเมืองว่าจะแก้กติกาเพื่อตัวเองหรือไม่ ซึ่งหากติดใจก็สามารถพูดคุยกันได้ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวต่อว่า พวกเราไม่ยอมรับคณะกรรมการอิสระฯ ที่สถาบันพระปกเกล้าตั้งขึ้นเพราะพฤติกรรมในอดีตไม่น่าเชื่อถือ ส่วนที่บอกว่าประชาชนคลางแคลงใจนักการเมืองนั้น เราอย่าดูถูกตัวเอง แล้วทำไมนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกฯซึ่งหน้าตาไม่หล่อเท่าท่าน แต่สามารถปฏิรูปการเมืองได้ อย่าคิดว่าคนไม่เชื่อถือนักการเมือง เพราะพวกเรามาจากการเลือกตั้ง ส่วนชื่อที่เสนอมาเป็นคณะกรรมการอิสระฯนั้นไม่ใช่ตนไม่ยอมรับ เพราะเป็นนักปราชญ์ เป็นนักวิชาการทั้งนั้น แต่ที่ไม่ยอมรับเพราะเกี่ยวโยงกับคนกลุ่มหนึ่ง เรื่องนี้คุยกันได้ ไม่ยาก ต้องลดทิฐิซึ่งกันและกัน ด้านนายวิทยา กล่าวว่า ในการพูดคุยกันขอให้เชิญตัวแทน ส.ส.ของแต่ละพรรคเข้าไปร่วมด้วย อย่าให้มีแต่ประธานวิปฝ่ายค้านและประธานส.ส.พรรคเพื่อไทย เพราะเรื่องนี้สุกงอมเต็มที่แล้ว และความขัดแย้งกันภายในสังคมควรได้รับการแก้ไข ยืนยันได้ว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ไม่มาทำร้ายนายกฯ แน่ เพราะรู้ว่านายกฯ กำลังทำหน้าที่อะไร และจะเห็นว่ารัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 190 ก็เป็นผลพวงที่มาจากผลไม้ที่มีพิษ เพราะต้นมีพิษ "เฉลิม"นำถล่ม ส.ว.สรรหา ไม่รู้จักประชาธิปไตย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมยิ่งดุเดือดมากยิ่งขึ้น เมื่อส.ส.พรรคเพื่อไทยต่างก็อภิปรายเพื่อให้มีการนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นพิจารณาก่อน ซึ่งทำให้นายวรินทร์ เทียมจรัส ส.ส.สรรหา ลุกขึ้นประท้วงและขอให้ประธานในที่ประชุมยุติการหารือ ซึ่งทำให้ ร.ต.อ.เฉลิมไม่พอใจ ลุกขึ้นอภิปรายและระบุว่า นายวรินทร์ เป็นส.ว.ที่มาจากการสรรหาจะไปรู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับประชาธิปไตย ซึ่งนายวรินทร์ ตอบโต้ว่า แม้ตนจะเป็นส.ว.สรรหาแต่ก็มาโดยชอบตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ซึ่ง ร.ต.อ.เฉลิมก็ยังลุกขึ้นตอบโต้และยืนยันว่า ส.ว.ท่านนี้มาจากการสรรหาจริงๆ แล้วจะให้ตนบอกว่าเป็นส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งได้อย่างไร ตนไม่ได้ดูถูกดูแคลนแต่ตนพูดเรื่องจริง ซึ่งทำให้ประธานในที่ประชุมขอให้ยุติการหารือ และให้มีการลงมติว่าที่ประชุมจะเลื่อนวาระการประชุมหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม นายประเสริฐ ชัยกิจเด่นนภาลัย ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ได้เสนอว่าการลงมติขอให้ลงคะแนนแบบขานชื่อ ทำให้นายชัยถึงกับกล่าวว่า แบบนี้งานจะไม่เดิน อายชาวบ้านชาวเมืองเขา เพราะสภาแห่งนี้เป็นสภาผู้ทรงเกียรติ ซึ่งทำให้ส.ส.พรรคเพื่อไทย ไม่พอใจและต่างลุกขึ้นประท้วง แต่อย่างไรก็ตาม ในที่สุดที่ประชุมเห็นด้วยที่จะเลื่อนระเบียบวาระการประชุมด้วยเสียง 320 ต่อ 111 เสียง จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณากรอบการเจรจากู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากว่าที่ประชุมร่วมรัฐสภาจะเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมได้ก็ใช้เวลาไปประมาณ 3 ชั่วโมง ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/.../สภาร้อน-เฉลิมฉะส.ว.สรรหา-โหวตร่นแก้รธน..html
น่าเห็นใจเนาะ อ่านแล้วเหมือนคนบ้ามาอาละวาดฟาดงวงฟาดงาไปทั่วเลย เรื่องไม่ดีของปชป.มีเยอะค่ะ โดยเฉพาะสส. ..... แต่อาจจะไม่สามารถทำเลวตอนอยู่ในพรรคปชป.ได้ ก็เลยต้องย้ายไปเลวที่พรรคอื่น เช่น เฉลิม ปึ้ง วีระ ....... ฯลฯ ว่าแต่เรื่องไม่ดีของปชป. phat21 ร้องโวยวายเหมือนแค้นมากขนาดนี้ แล้วเรื่องเลวร้ายของแป๊ะล่ะคะ ที่ทำเอกสารหลอกลวงเพื่อให้ได้ตังค์นี่ ไม่มีความเห็นอะไรบ้างเลยเหรอ
phat หน้าขนอ่อน นี่เป็นไม่กี่ครั้งที่พี่จะใช้ความพยายามอบรมสั่งสอน phat แทนพ่อแม่ที่อบรมเลี้ยงดูมาไม่ดีพอนะ 1. พรรคร่วมรวมหัวกันบีบ ปชป. ให้แก้ รธน. แทนที่ phat จะด่าพรรคร่วม กลับด่า ปชป. ซะงั้น 2. แล้วเวลาจะบอกว่าการแก้ รธน. ดีขึ้นหรือเลวลง phat ควรใช้ศักยภาพของก้อนไขมันในกะโหลกให้มากกว่านี้หน่อย ควรแปะตารางเปรียบเทียบเป็นมาตรา แสดงถ้อยคำก่อนแก้ หลังแก้ แล้วค่อยมีคอมเม้นท์ประกอบ ไม่ใช่สักแต่ว่า ไอ้แป๊ะกระฉอกน้ำเหลวป้อนมายังไง phat หน้าขนอ่อนก็อ้าปากแด๊กเข้าไปทุกหยุดทุกอณูโดยไม่ขบคิดซะก่อน ก็เพราะเป็นซะอย่างนี้ไง ถึงต้องรบกวนพี่ ป้า น้า อา ทั้งหลายต้องคอยมาอบรมสั่งสอนแทบทุกครั้งที่มุดออกมาจากรูท่อเหม็น ๆ นั่น โปรดเข้าใจซะทีเถอะว่าการที่ครอบครัวสั่งสอนเลี้ยงดูมาไม่ดีเนี่ย จะเป็นภาระสังคมขนาดไหน
ส.ส. ปชป. โหวต ไม่แก้ รธน. เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2553 ที่ประชุม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ มีมติ 82 ต่อ 48 เสียงเห็นควรไม่สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่ 5 พรรคร่วมรัฐบาล ได้แก่ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคภูมิใจไทย พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม และพรรคเพื่อแผ่นดิน ได้ยื่นเสนอต่อประธานรัฐสภาขอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 2 มาตรา คือ มาตรา 94 และมาตรา 190 นอกจากนี้พรรคประชาธิปัตย์ยังไม่ยอมให้มีการฟรีโหวตในสภาอีกด้วย ทั้งที่ก่อนหน้านี้พรรคประชาธิปัตย์เคยประกาศว่าจะร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรคร่วมรัฐบาลต้องการให้แก้ไขมาตรา 94 เพื่อให้มีการเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียว และมาตรา 190 ซึ่งเป็นเรื่องของการทำสนธิสัญญากับต่างประเทศที่รัฐธรรมนูญกำหนดว่าจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาเสียก่อน ความเห็นของพรรคประชาธิปัตย์ที่ไม่ต้องการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ตรงกับความเห็นของพรรคฝ่ายค้าน เพื่อไทย โดยบังเอิญ ที่มา http://www.fpps.or.th/news.php?detail=n1267452872.news
ไม่อ่านนี่หว่า หรือ เข้าใจยากฟระ แพร๊ต ก๊อบมาให้อ่านซะ ประวัติ[แก้] แนวคิดเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนำโดยพรรคร่วมรัฐบาลได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 หลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติให้ใบแดงนายยงยุทธ ติยะไพรัชและเป็นช่วงที่คดียุบพรรคการเมืองกำลังเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากประชาชน นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรองเลขาธิการพรรคพลังประชาชน ได้เสนอให้มีการแก้รัฐธรรมนูญ ขณะนั้นนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย และนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน หัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย ต่างก็ออกมาสนับสนุนโดยมุ่งประเด็นหลักไปยังกรณีที่ทั้งสองพรรคอาจถูกยุบ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตประธานยกร่างรัฐธรรมนูญออกมากล่าวว่ารัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมได้ แต่ต้องตอบให้ชัดว่าแก้ไขตรงไหน เพื่อใคร แก้ไขแล้วนักการเมืองหรือประชาชนได้ประโยชน์[1] มีนาคม 2551[แก้] วันที่ 20 มีนาคม เมื่อศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งรับพิจารณาคดีใบแดงนายยงยุทธ พ.ต.ท.กานต์ เทียนแก้ว รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน กล่าวว่าจากการพูดคุยกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่ของภาคเหนือ เห็นว่าหากมีการยุบพรรคพลังประชาชน จะขอหารือและเสนอต่อนายกรัฐมนตรีให้ยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ ความเห็นดังกล่าวทำให้ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง ออกมาตำหนิว่าเป็นการพูดที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะพรรคเคารพการตัดสินของศาล และไม่เคยมีความคิดจะยุบสภา[2] วันที่ 22 มีนาคม พรรคพลังประชาชนเริ่มหารือเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในที่ประชุมสามัญประจำปี โดยเฉพาะมาตรา 237 ซึ่งเกี่ยวข้องกับกรณียุบพรรค[3] นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ในวันเดียวกันว่าถึงเวลาต้องแก้ และควรแก้ในประเด็นเดียวก่อน เพื่อปลดล็อกทางการเมือง[4] วันที่ 24 มีนาคม นายชัย ชิดชอบ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล กล่าวว่าที่ประชุมได้หยิบยกการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องเร่งด่วน และเห็นว่าเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อให้ กกต.มีทางออก จักรภพ เพ็ญแข รมต.ประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะเป็นไปตามที่นายสมัครให้แนวทางไว้ คือ เว้นเฉพาะหมวดพระมหากษัตริย์ ที่เหลือคงแก้ไขทั้งหมดโดยใช้รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นหลัก พร้อมกับกล่าวว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องยุบพรรค[5]
เมษายน 2551[แก้] วันที่ 1 เมษายน ที่ประชุมพรรคพลังประชาชนมีมติเห็นชอบในร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยปรับแก้ 13 มาตรา ใน 7 ประเด็น ยกเลิกมาตรา 309 เปิดทางให้อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน ที่ถูกตัดสิทธิการเมือง 5 ปี จากคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 สู้คดีขอสิทธิเลือกตั้งคืน โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2550[6] อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมพรรคพลังประชาชนมีความเห็นเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายของนายชูศักดิ์ ศิรินิล ที่ให้แก้ไขเพิ่มเติมบางส่วน ส่วนอีกฝ่ายคือ ส.ส.และอดีตแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) บางส่วนที่ต้องการให้นำรัฐธรรมนูญ 2540 มาใช้ทั้งหมด แต่ที่ประชุมไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจาก ส.ส.ทยอยเดินออกจากห้องประชุม จึงมีผู้เสนอให้ยุติการประชุม มีการคาดหมายว่าการยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะแล้วเสร็จทันก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำตัดสินคดียุบพรรคมัชฌิมาธิปไตย พรรคชาติไทย และพรรคพลังประชาชน หลายฝ่ายได้ออกมาแสดงความเห็นคัดค้าน[7] มีทั้งนักวิชาการด้านกฎหมายจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พรรคฝ่ายค้าน กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยระบุว่าอาจนำไปสู่วิกฤตทางการเมืองเพราะเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของตนเอง ส.ส.ร. มีมติไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญซึ่งมองว่าทำประโยชน์ส่วนตน โดยเฉพาะมาตรา 237 วรรคสอง และมาตรา 309 และขู่ว่าอาจมีการยื่นถอดถอนตามมาตรา 270-271 ด้านนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อดีต ส.ส.ร.และคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้หารือกับคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จะออกแถลงการณ์โดยไม่พูดถึงการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม แต่จะให้หลักนิติศาสตร์ที่การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้นทำได้ แต่ไม่ควรทำเมื่อเกิดการกระทำความผิดขึ้น เพราะจะเป็นการทำลายระบบกฎหมายทั้งหมดของประเทศ ด้วยการอาศัยเสียงข้างมากของสภา นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) แถลงว่า วิปฝ่ายค้านมีมติไม่เห็นด้วยที่วิปรัฐบาลเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เพราะประเทศกำลังมีปัญหาเศรษฐกิจ สังคม รัฐบาลควรไปแก้ไขปัญหาเหล่านี้มากกว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการเสนอแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้มีเจตนาไม่บริสุทธิ์ เพราะเหตุผลที่แท้จริงคือรัฐบาลต้องการแก้ไขมาตรา 309 เพื่อหวังให้คนที่ถูกดำเนินคดีในการพิจารณาของ คตส. มีช่องทางในการต่อสู้ และเพื่อช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นอกจากนี้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำให้เกิดความแตกแยกในบ้านเมือง นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่าการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวสะท้อนชัดเจนว่า ระบอบทักษิณพยายามทำทุกวิถีทางที่จะไม่ขึ้นศาลหรือไม่เข้าพิสูจน์ตัวเองในกระบวนการยุติธรรม เป็นการหาวิธีแก้กฎหมายให้ตัวเองพ้นผิด ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่อย่างแท้จริง
ผลของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ[แก้] มาตรา 237[แก้] มาตรา 237 ระบุว่า "ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดกระทำการ ก่อ หรือสนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา หรือระเบียบหรือประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลดังกล่าวตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่ง สมาชิกวุฒิสภา ถ้าการกระทำของบุคคลตามวรรคหนึ่ง ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าหัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารของพรรคการเมืองผู้ใด มีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย หรือทราบถึง การกระทำนั้นแล้ว มิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ตามมาตรา 68 และในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองดังกล่าวมีกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง"[8] เนื้อหาคล้ายคลึงกับมาตรานี้มีมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 (มาตรา 63) แต่พรรคไทยรักไทยไม่เคยมีแนวคิดที่จะแก้ไข จนกระทั่งมีเหตุการณ์อันอาจนำไปสู่การยุบพรรค[9] มาตรา 309[แก้] มาตรา 309 ระบุว่า "บรรดาการใด ๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้"[8] ผลของการยกเลิกมาตรา 309 อาจทำให้บรรดาผู้ที่ถูกกล่าวหาหรือถูกลงโทษทางการเมืองในช่วงที่ใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว ร้องต่อศาลว่าคำสั่งของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่มีผลบังคับใช้อีกต่อไป อันอาจส่งผลให้การตรวจสอบหรือการกระทำหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ไม่ชอบด้วย คดีทั้งปวงของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว อาจถูกระงับโดยไม่ต้องดำเนินการต่อ อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่าตามประเพณีที่ผ่านมา ศาลยอมรับบรรดาคำสั่งของคณะปฏิวัติรัฐประหารให้เป็นกฎหมายใช้บังคับ มีศักดิ์ศรีเทียบเท่าพระราชบัญญัติ จึงต้องยกเลิกโดยรัฐสภา[9] http://th.wikipedia.org/wiki/การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2550
อ่านแค่ตัวที่พี่ไฮไลท์ไว้เนี่ย พี่ก็เห็นวิธีแก้ปัญหาให้ phat แล้ว คราวหน้า phat และแกงค์เสื้อเหลือง ต้องร่วมกันเชียร์ ปชป ให้สุดลิ่มทิ่มประตู จะได้เป็นพรรครัฐบาลพรรคเดียวไปเลย ทีนี้ ก็ไม่มีใครไปกดดันให้ทำอะไรที่ phat ไม่ชอบแล้วล่ะ ไม่ว่าจะกดดันให้กลับไปใช้ระบบของ รธน ปี 40 หรือกดดันให้ละเลยหรือเว้นโทษของกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม ที่ทำผิดกฏหมาย แล้วงอแงว่าเค้ากลั่นแกล้งน่ะ
จะเป็นรัฐธรรมนูญ 50 หรือ 40 มันก็ไม่มีผลอะไรกับการแพ้ชนะในการเลือกตั้งอยู่แล้ว เพราะการแพ้ชนะมันอยู่ที่คนเลือก ไม่ได้อยู่ที่รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญ 50 และ รัฐธรรมนูญ 40 การคิดคะแนน สส แบบ สัดส่วน และ สส แบบ เขตเลือกตั้ง มันแยกกันคิดเหมือนกันทั้ง 50 และ 40 แล้วมันจะไปมีผลอะไรอย่างที่พูดมา ที่เขาแก้ไขนั้น เขาแก้เฉพาะ สส แบบเขตเลือกตั้ง จากเขตใหญ่ เป็นเขตเล็ก ไม่ได้ไปแก้เรื่อง สส แบบสัดส่วน การแก้ไขจากเขตใหญ่เป็นเขตเล็ก (เขตละ 1 คน) ผู้ได้ประโยชน์คือ พรรคเล็ก ที่ดิ้นรนขอแก้ไขนั่นแหละ เพราะมีโอกาสจะได้ สส มากขึ้น เนื่องจากเขตมันเล็ก เหมาะสำหรับพวกทุนน้อย งานนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับ พรรคแม้ว เลย เพราะ พรรคแม้ว เขาอยู่ในสถานะ พรรคใหญ่ ถ้าเป็นเขตใหญ่เขาก็ได้ประโยชน์เพราะศักยภาพในการหาเสียงมีมากกว่าพรรคเล็ก แต่เขาไม่สนใจหรอกว่าจะเป็น เขตใหญ่ หรือ เขตเล็ก เพราะเขาครองพื้นที่ อิสาน และภาคเหนือ ซึ่งมีจำนวน สส มากอยู่แล้ว จะเลือกแบบไหนไม่ใช่ปัญหาของเขา การเลือกตั้งแบบ เยอรมัน หรือ เยอรเผือก อะไรก็ตาม คงไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา เผด็จการรัฐสภาได้หรอก เพราะในข้อเท็จจริงนั้น สส ฝ่ายนิติบัญญัติ มันสังกัดพรรคการเมือง พูดง่าย ๆ ก็คือ เป็น ขี้ข้า พรรคการเมืองตั้งแต่ยังไม่เลือกตั้งแล้ว แล้วพอเลือกตั้งเข้ามาเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ จะเปลี่ยนจาก ขี้ข้า มาเป็น นาย ย่อมเป็นไปไม่ได้ ไม่ว่าจะใช้ระบบ เยอรมัน หรือ เยอรเผือก ก็ตาม ถ้าไม่อยากให้ สส พวกนี้เป็น ขี้ข้า ก็มีอยู่ทางเดียว คือ สส ฝ่ายนิติบัญญัติ ต้องห้ามสังกัดพรรคการเมือง ให้เป็น สส อิสระ ล้วน ๆ เท่านั้น
แพรต ตอนนี้เขามีเวทีเปิดให้นักศึกษา ปัญญาอ่อน โทษที ปัญญาชน ไปร่วมแสดงความคิดเห็นว่าอยากให้ประเทศไทยเดินทางไปในทิศทางไหน หลายเวที เลือกสักที่ แล้วขึ้นไปแสดงความคิดเลย อะไรที่มันผ่านมาแล้ว กลับไปแก้ก็ไม่ได้ พูดถึงไปก็ไม่มีประโยชน์ ออกไปแสดงให้คนทั้งหลายเห็นเลยว่า แพรตก็มีความคิดเหมือนกัน อย่ามาแสดงแค่ห้องกาแฟเล็กๆเลย คิดเล็กๆแพรตไม่ คิดใหญ่ๆแพรตออกไปเลย พวกเราจะคอยดูนะจ๊ะ
ให้ฟังมึง ป่านนี้ล่มจมแล้วครับ อีกอย่าง เขาไม่ได้ยอมพรรคร่วมหมด ลองไปหาข่าวพรรคนู้นพรรคนี้ขู่ถอนตัวสิ สะใจมั้ยหล่ะ พวกใช้แต่อารมณ์ เหตุผลไม่ต้อง ขอเสื้อเหลืองคืนให้ในหลวงนะ แก็งแป๊ะทำแปดเปื้อนหมด
ปชป เป็น รัฐบาล....... เลว ปชป เป็น ฝ่ายค้าน........... เลว ไม่มีสภาผู้แทน ไม่มี ส.ส. ปชป ก็ เลว อยู่ อีก เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะทำอะไร คนต่างประเทศยกย่องทีมงานขนาดไหน ก็ ต้อง เลว เท่านั้น จริงไหม แม่มะนาว เอิ้กๆๆๆๆ
คุณ Bayonet เราต้องมีความหวังในคนรุ่นต่อไปค่ะ ว่าจะเป็นคนกล้าคิด กล้าทำ ไม่ดีแต่ปาก บ้านเมืองจึงจะเจริญ