แต่นักการเมือง เขาอยากให้ทำนะครับ --------------------------------------------------------------------------- 21 มี.ค. 58 นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวว่า ก่อนที่จะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญกำลังดำเนินการอยู่ ควรอย่างยิ่งที่จะต้องทำประชามติถามความเห็นของประชาชน เนื่องจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ประชาชนแทบไม่มีส่วนร่วม และไม่ว่าผลการทำประชามติจะเป็นอย่างไร ปนช. ก็พร้อมน้อมรับผลการทำประชามติ และสุดท้ายแล้วหากรัฐธรรมนูญออกมา คนนอกยังสามารถเป็นนายกฯได้อยู่ตนจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง http://www.naewna.com/politic/150342
ผมว่าไม่จำเป็นเท่าไหร่ ถ้าอยากให้ประชาชนมีส่วนร่วมผมว่าน่าจะจัดให้มีการเสวนาหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญมากกว่า (แต่อันนี้คงต้องจัดระบบให้ดี ๆ หน่อย) ถ้าแค่มาหย่อนบัตรบอกว่าเห็นด้วยไม่เห็นด้วยนี่ผมว่าแทบไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย แถมแลดูจะสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุด้วย อีกอย่างถ้าส่วนใหญ่บอกว่าไม่ยอมรับแล้วจะยังไงต่อ สุดท้ายก็ต้องประกาศใช้อยู่ดีหรือเปล่า หรือว่าจะกลับไปเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ต่อเวลารัฐบาลชุดปัจจุบัน (คิดไปคิดมาก็ดีเหมือนกันแฮะ ฮ่า ๆ)
อภิสิทธิ์ หนุนทำประชามติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รับถอดถอนทำยาก แนะ สนช. ดูข้อเท็จจริง ห่วงทุกฝ่าย ยันไม่อยากเห็นความขัดแย้ง ส่วนร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ควรมีการลงประชามติ เพื่อป้องกันการโต้แย้งว่าไม่ได้รับความเห็นชอบจากประชาชน และเป็นการคุ้มครองหากจะมีการแก้ไขในอนาคต ว่าต้องฟังเสียงประชาชนก่อน เพราะผ่านการทำประชามติ http://www.thairath.co.th/content/461953
จะได้มีส่วนร่วมทุกคนไง ถ้าให้เหตุผลไม่ได้ว่าไม่รับเพราะเหตุใดก็ตัดสิทธิ์การเมืองตลอดชีวิต หรือเหตุผลอย่างเพราะมาจากรัฐประหารนี่ก็สมควรตัดสิทธิ์เช่นกัน
พูดจริงๆน่ากลัวมากว่าถ้าให้ทำประชามติ รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะไม่ผ่านประชามติครับ เพราะถามว่ามีคนไทยซักกี่คนที่จะเข้าใจว่ารัฐธรรมนูญเขียนอะไรไว้บ้าง เวลาลงคะแนนเสียงก็ลงกันที่ภาพลักษณ์ทั้งนั้น ถามว่าภาพลักษณ์ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นอย่างไร ตอบง่ายๆสั้นๆว่าเป็นภาพลักษณ์เผด็จการ ซึ่งประชาชน(ผมว่าส่วนใหญ่ด้วย)เขาระแวงลึกๆมาตั้งแต่ต้นแล้ว ขนาดฉบับ คมช ยังผ่านแบบหืดขึ้นคอ แล้วฉบับนี้จะเหลืออะไร ที่ผ่านมาที่เงียบเชียบอยู่ก็เพราะกฎอัยการศึก แต่ถามว่าคนเสื้อแดงรากหญ้าเปลี่ยนใจไม่รักทักษิณแล้วหรือ ก็คงไม่ใช่แน่ๆ ถ้าเปิดโอกาสให้คนเหล่านี้มาลงประชามติรับรองว่าจบเห่ แถมผมยังรู้สึกว่าฝั่งตรงข้ามเสื้อแดงเองนั่นแหละที่กลายเป็นเริ่มระแวงไปด้วย เพราะเหตุการณ์หลายอย่างมันชวนให้รู้สึกว่าการเมืองกลับไปสู่ระบบอุปถัมภ์เต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเอาฝ่ายทหารเข้ามากุมอำนาจในหน่วยงานที่เป็นหน้าที่พลเรือน บรรดาคดีทุจริตของฝ่ายทหารก็ไม่มีใครกล้าพูดถึง การตั้งพวกพ้องขึ้นสู่อำนาจ(เช่น กรณีญาติพี่น้อง สนช ซึ่งไม่ควรอย่างยิ่งและนายกควรสั่งปลดด้วยความเฉียบขาดแต่ทีแบบนี้กลับปิดปากเงียบ มันเลยแสดงให้เห็นว่าในวงผู้มีอำนาจเอาเข้าจริงไม่ว่าใครก็เกรงพวกพ้องทั้งนั้น) หรือความขัดแย้งในกระทรวงสาธารณสุขซึ่งลงท้ายด้วยการสั่งปิดปากคนทำงานไปซะเฉยๆ แถมภาษีที่ดินก็กลายเป็นโดนวางยาด้วยการมัดรวมกับภาษีบ้านคนจนๆเข้าไปด้วยเพื่อปลุกปั่นให้เกิดการต่อต้าน ถ้ารัฐบาลคิดว่าปิดปากเสื้อแดงแล้วประโคมข่าวผลงานตัวเองทุกเช้าเย็นแล้วจะเปลี่ยนใจคนที่เคยขัดแย้งกันได้ ผมว่าประเมินพลาดมากๆครับ ปัญหาสังคมไทยมันซับซ้อนมากเกินว่าท่านนายกจะทำปีเดียวเสร็จให้คนชม ส่วนนึงต้องยอมรับว่าเป็นจริงตามที่พวกลิเบอรัลบอกคือการผูกขาดอำนาจในกลุ่มนายทุนและชนชั้นสูง รวมทั้งความเหลื่อมล้ำทางสังคมซึ่งจนบัดนี้ยังไม่เห็นแม่น้ำห้าสายทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันซักอย่าง คณะกรรมการสมัยท่านอานันท์และ อ.ประเวศ ทำไว้ตั้งเยอะ ภาษีที่ดินจริงๆเป็นเรื่องแรกที่ต้องประโคมให้ประชาชนเข้ามาให้ความเห็นวิพากษ์วิจารณ์สุดท้ายก็โดนหมกเม็ดด้วยชั้นเชิงการเมือง แถมอีกอย่างกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังไม่เคยผ่านอะไรที่ประชาชนมีส่วนร่วมสักอย่าง ภาพที่เห็นคือคนกลุ่มเล็กๆที่คิดกฎหมายทุกอย่างที่จะกำจัดทักษิณ คนเสื้อแดงเขามองกันแค่นี้จริงๆ ปล. ผมไม่ใช่เสื้อแดงนะครับ แต่ถึงจุดนี้ต้องวิจารณ์ไปตามเนื้อผ้าแล้วครับ ท่านนายกทำทุกอย่างในแบบธรรมเนียมทหาร แต่สุดท้ายสังคมไทยมันก็ไม่พ้นการด่าพ่อล่อแม่กันทั้งต่อหน้าและลับหลัง ท่านไม่คิดหรือว่ายุคนี้แล้วเรื่องพวกนี้จำเป็นตั้งหยิบขึ้นมาบนโต๊ะอย่างเปิดเผยและร่วมกันแก้ไข
คางคกเขาอยากให้ย้อนกลับไปใช้ของปี 40 อะครับ ---------------------------------------------------------------------------- ถ้าคนไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็ให้นำรัฐธรรมนูญปี 2540 มาใช้ เพราะทั้ง 2 ฉบับมี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างฯ เป็นคนร่าง ต่างกันแค่ตอนปี 40 อยู่ในบรรยากาศประชาธิปไตยมากกว่าตอนนี้ http://www.naewna.com/politic/150342
วันที่ 22 มี.ค.58 เมื่อเวลา 10.30 น. นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ขอคัดค้าน 10 ประการในร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะเกิดขึ้น คือ 1.ส.ส.เขตลดเหลือ 250 ซึ่งไม่สะท้อนความเป็นจริงที่ ส.ส.ต้องดูแลประชาชนจำนวนมาก 2.เพิ่มส.ส.บัญชีรายชื่อ 200 คน เลือกแบบโอเพ่นลิสต์ ซึ่งจะสร้างความแตกแยกในหมู่ผู้สมัครพรรคการเมือง 3.นายกรัฐมนตรีมาจากคนนอก 4.ส.ว.200 คน มาจาการลากตั้ง 5.อำนาจส.ว.มีล้นฟ้า นายกฯ ต้องนำรายชื่อครม.ให้ส.ว.ตรวจสอบประวัติก่อนรับตำแหน่ง 6.การลงมติไม่ไว้วางใจ ถ้าคะแนนน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด นายกฯมีอำนาจยุบสภาได้ 7.ให้มีคณะกรรมการจัดการเลือกตั้งแทนกกต.ซึ่งจะเปิดโอกาศให้อำนาจฝ่ายการเมืองแทรกแซงได้ง่าย 8.ยุบรวมผู้ตรวจการแผ่นดินกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 9.ให้มีคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยเพื่อกำกับการทำงานเหนือรัฐบาลอีกชั้น 10.ให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนเพื่อการปฏิรูป ซึ่งตนขอตั้งชื่อให้ใหม่ว่า สภาขับเคลื่อนรถถังเพื่อการปฏิรูป http://www.komchadluek.net/detail/20150322/203410.html
คางคกมันร้ายครับ รู้กันอยู่ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำให้เจ้านายตัวเองกลายเป็นเผด็จการรัฐสภาได้ บรรยากาศประชาธิปไตยแค่ข้ออ้างครับ
อยากรู้ ถ้าเป็นอย่างเงื่อนไขของหลายท่านที่ว่า ไม่รับ ไม่ผ่าน ก็แก้ไขใหม่ จนกว่าจะรับ จะผ่าน เมื้อแดงจะคิดยังไง
เสื้อแดงมันเคยถูกสั่งให้อยู่เฉยๆ รอเลือกตั้ง ยิ่งเลือกตั้งเร็วยิ่งชอบ พอมีข่าวฝั่งเสื้อแดง อยากทำประชามติ เหมือนไม่ตั้งใจค้านมากกว่า แค่อยากให้มันช้าออกไป ก็งงอยู่เหมือนกันนะ หรือว่าเสื้อแดงจะไม่ฟังนายใหญ่ หรือนายใหญ่เปลี่ยนคำสั่ง ผมคิดไม่ทันพวกหัวเหลี่ยมทั้งหลายหรอก แต่ก็มาเห็นว่า ความคิดเรื่องประชามติมาเป็นกระแส ก็หลังจาก ศาลอาญาฯรับฟ้องคดีของนักการเมือง หลายคน รวมคนสำคัญคนนั้นซะด้วย ผมว่า พวกนักการเมืองคงอยากดึงรัฐธรรมนูญดึงเลือกตั้งให้ช้าไปกว่าการตัดสินคดี เพื่อเล็งผลในมุมที่อ้างได้ว่า กฎหมายต้องไม่ย้อนหลัง คดีการเมืองน่าจะจบสิ้นในไม่เกิน1ปี มันเสี่ยงทับซ้อนกับการเลือกตั้ง เอาแน่ๆเลยอยากดึงเลือกตั้งให้เลยไปซักหน่อย เรื่องติดคุกคนระดับนั้นคงไม่ค่อยมีใครกลัวแระ คงจะมองข้ามไปสิทธิ์การเมืองแระ ปมรัฐธรรมนูญก็คงจะอยากแก้หลังเลือกตั้งแระ ไม่มีนักการเมืองหน้าไหนจะอยากคัดค้านรัฐธรรมนูญในช่วงนี้แร