ตัวผมเองมีลูกสาวอยู่คนเดียวเธอเป็นทุกสิ่งทุกอย่างของผม ผมตั้งใจว่าความฝันของเธอคือความตั้งใจเดียวของผม ผมตั้งใจทำงานหาเงินและทรัพย์สินไว้ให้เธอเท่าที่ปัญญาของผมจะมี หวังว่าเธอจะได้เรียนสูงๆมีงานดีๆทำ อยู่มาวันหนึ่งผมได้ข่าวว่า"เพื่อนของผมขับรถพาลูกของเขาที่เพิ่งเรียนจบไปทำงานวันแรกแต่เกิดอุบัติเหตุขึ้นคนพ่อไม่เป็นไรแต่ลูกสาวของเขาเสียชีวิต"ผมฟังแล้วเศร้าใจ แล้วผมก็กลับมาคิดว่าแล้วถ้าเป็นตัวผมเองละถ้าเกิดลูกผมต้องมาด่วนจากผมไป สิ่งที่ผมทำมาสิ่งที่ผมหาไว้ลูกผมเอาอะไรไปไม่ได้เลย แล้วในฐานะพ่อผมควรจะทำอย่างไร "ความดี"ผมคิดว่าความดีเท่านั้นที่ลูกผมสามารถเอาติดตัวไปได้ไม่ว่าที่ไหน ผมเลยพาลูกผมทำความดีเพื่อเป็นสิ่งติดตัวไว้ ผมคิดว่าการแจกหนังสือธรรมะน่าจะเป็นอีกหนทางในการทำความดี ผมจะแบ่งเงินที่ลูกหยอดกระปุกออกมาส่วนหนึ่งเพื่อให้ลูกไปสือหนังสือธรรมะ แล้วมาเดินแจกคนตามตลาดแถวบ้าน ตอนแรกๆลูกก็บ่นว่าร้อนแล้วก็เหนื่อย แล้วลูกก็ถามผมว่า "พ่อคิดว่าเขาเอาไปแล้วเขาจะอ่านเหรอ" ผมบอกลูกว่า"เราให้ไปตั้งหลายคนถ้ามีคนอ่านซักคนเราก็กำไรแล้ว ต่อให้เขารับไปแล้วทิ้งลงตรงหน้าก็ไม่เป็นไร แค่เราให้เราก็ได้เมตตาแล้ว" ทุกวันนี้ผมกับลูกก็ยังทำแบบนี้กันอยู่ ปัจจุบันถ้าลูกผมต้องจากไปผมต้องเสียใจแน่นอน แต่ผมเชื่อว่าความดีจะทำให้ลูกผมไปสู่ภพภูมิที่ดี "เพลงของลูก" พงษ์สิทธิ์ คำภีร์
@ ไม่มีไฟใดเสมอด้วยราคะ ไมีมีโทษใดเสมอด้วยโทสะ ไม่มีทุกข์ใดเสมอด้วยเบญจขันธ์ ไม่มีสุขใดเสมอด้วยความสงบ Cr : พุทธวจนะในธรรมบท นำมาเสนอ : หลวงพี่กีรเต้ แอบเอามา : แม่มะนาว
แม่มะนาวตื้นตันในสิ่งที่คุณแสงธูปมอบให้ลูก "ความดี" ที่จะติดตัวเขาไปทั้งในภพนี้และภพหน้า หนังสือตามความเป็นจริงของพระอาจารย์ชยสาโร เป็นหนังสือที่แม่มะนาวได้มาจากงานศพหลาน เธอจากไปด้วยวัยที่ยังเยาว์นัก งานศพ ไม่มีงานใดที่จะเศร้าใจไปกว่างานที่พ่อแม่ต้องทำให้ลูก ชีวิตนี้บอบบางนะคะ
" ธรรมทาน ย่อมชนะทานทั้งปวง, รสแห่งธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง, ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง, ความสิ้นไปแห่งตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง."
หลังเที่ยงวันไปแล้ว ดื่มน้ำเปล่าได้ ดื่มน้ำปานะได้ อาหาร จะดื่มหรือฉันไม่ได้ กาแฟ ไม่ใช่น้ำปานะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
The Paradox of Our Age Dalai Lama ความขัดแย้งในตัวเองแห่งยุคสมัย : ดาไล ลามะ เรามีบ้านหลังใหญ่ขึ้นแต่ครอบครัวเล็กลง มีความสะดวกสบายมากขึ้นแต่มีเวลาน้อยลง เรามีปริญญามากขึ้นแต่สานึกต่ำลง มีความรู้มากขึ้นแต่วิจารณญาณน้อยลง มีผู้เชี่ยวชาญมากกว่าเดิมแต่มีปัญหามากขึ้น มียามากขึ้นแต่สุขภาพถดถอยลง เราบินไปถึงดวงจันทร์และกลับมาได้ แต่มีปัญหาในการข้ามถนนไปทักเพื่อนบ้านใหม่ เราสร้างคอมพิวเตอร์มากขึ้นเพื่อเก็บสำเนามากกว่าที่เคย แต่สื่อสารระหว่างกันจริงๆน้อยลง เรามีปริมาณมากแต่ขาดแคลนคุณภาพ นี่คือยุคแห่งอาหารจานด่วนแต่การย่อยที่เชื่องช้า ค่าเฉลี่ยสูงแต่อุปนิสัยต่ำ กำไรสูงชันแต่ความสัมพันธ์ฉาบฉวย เป็นยุคที่มีหลายสิ่งหลายอย่างอยู่ในหน้าต่าง แต่ไม่มีอะไรอยู่ในห้อง
อนุโมทนา ....... ที่โพสคือเวลาที่โพส ไม่ใช่เวลาที่ฉันกาแฟ และเราฉันกาแฟที่ไม่ผสมอะไรเลย โดยฉันเป็นยา เช้าและบ่าย ครั้งละแก้วไม่มากกว่านั้น ขอบใจที่เตือนเรื่องอาบัติ และที่โพสคือสอนเรื่องของความตั้งใจในการทำสิ่งต่างๆ
กราบเรียนตอบหลวงพี่ครับ ผมชอบคำเปรียบเทียบให้เห็นภาพของหลวงพี่ครับ ที่ว่า “ใส่ความตั้งใจ สามช้อน น้ำร้อนๆ จากความจริงใจในสัจจธรรม รวมเป็นกาแฟรสกล่อมพอดี” และผมทราบดีอยู่แก่ใจว่า เวลาที่หลวงพี่ฉันไม่ใช่ยามวิกาลแน่ ส่วนเรืองวินัยสงฆ์ ที่ผมต่อท้ายมาเป็นแค่ส่วนประกอบ บังเอิญว่า ส่งรูปแล้วซ้ำซ้อน เลยทำให้ดูเหมือน เป็นเจตนา เน้นย้ำเรื่องนี้ แต่อย่างไรก็ตาม หลวงพี่ยังกรุณาผม ด้วยการขอบใจในการเตือนฝากมาอีกด้วย ทำให้ผมรู้สึกขอบพระคุณมากครับ และนึกได้ถึง ความอ่อนน้อมถ่อมตนของท่านพระสารีบุตร เรืองมีอยู่ว่า วันหนึ่ง สามเณรอายุ ๗ ขวบ เรียนพระสารีบุตรเถระว่า ท่านสารีบุตรขอรับ ชายผ้านุ่งของท่านห้อยลงมาแน่ะ. พระเถระไม่พูดอะไรเลยไป ณ ที่เหมาะแห่งหนึ่ง นุ่งเรียบร้อยแล้วก็มา ยืนประณมมือพูดว่า เท่านี้เหมาะไหมอาจารย์ พระเถระกล่าวว่า ผู้บวชในวันนั้น เป็นคนดี อายุ ๗ ขวบโดยกำเนิด ถึงผู้นั้นพึงสั่งสอนเราเราก็ยอมรับด้วยกระหม่อมดังนี้. ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
คุณแสงธูปเปิดเพลง รุ่นนี้ ไม่ว่าจะเป็นคุณสมยศ คุณล้วน คุณเพ็ญศรี ฯลฯ คนบนฟ้าของ พี่สายลมชอบมากค่ะ ขอบคุณนะคะ แล้วก็คิดถึงคนบนฟ้าจัง
"เฝ้าสังเกตุอาการใสและขุ่น ที่เกิดขึ้นและดับไปในจิตใจ" เป็นสิ่งที่ทำยากสุด ของแม่มะนาว เหมือนจะรู้ทุกอย่าง เสียงกระทบหู รูปกระทบตา ฯลฯ ดูอารมณ์ขุ่นที่เกิด(ง่าย) และดับยากเปรียบกับไฟที่ยังกรุ่นๆพร้อมไหม้ตลอด แล้วท้ายสุดแม่มะนาวก็บอกตัวเอง "มันก็แค่ลมปาก" ใช่ไหมเจ้าค่ะ เป่าลงไปจะทำให้ร้อนก็ได้ ทำให้เย็นก็เป็น อมน้ำยาบ้วนปากยี่ห้อไรดีคะหลวงพี่
หินก้อนใหญ่ แม้จะหนักเพียงใด ถ้าไม่แบกมันเอาไว้ ก็ไม่รู้สึกเหนื่อย แต่ผู้คนจำนวนไม่น้อยแบกหินเอาไว้ ทั้ง ๆ ที่บ่นว่าเหนื่อย แต่ก็ไม่ยอมปล่อยเสียที ผู้คนเหล่านี้พากันโทษว่าหินหนัก แต่ลืมถามตนว่า แบกมันทำไม เพียงแค่ปล่อยมันลง ความเหนื่อยก็มลายหายไป สตินั้นช่วยให้ไม่ลืมตัว ทำให้ไม่เผลอแบกของหนัก รู้จักวางเมื่อรู้สึกเหนื่อย ไม่เอาคำต่อว่าด่าทอมาเป็นอารมณ์ เมื่อใดที่เผลอ คิดถึงเหตุร้ายที่กลายเป็นอดีตไปแล้ว ก็รู้ตัว แล้ววางมันลงได้ ดังนั้นแม้จะเสียเงิน แต่ใจไม่เสีย ช่วยให้สุขภาพและงานการไม่เสียตามไปด้วย นำมาเสนอ : คุณ Bonne Maison แอบเอามา : แม่มะนาว
กะละมังรั่ว การทำบาป แล้วบำเพ็ญบุญปิดช่องมันเสีย ก็เหมือนกับหม้อมันรั่ว ปิดช่องมันรั่ว แล้วเทน้ำใส่กะละมังรั่วก็อุดรูรั่วมัน แล้วเทน้ำใส่ เรียกว่าก้นกะทะไม่ดี ก้อนหม้อไม่ดี การละบาปของเรายังไม่ดี ทำบุญลงไป มันก็ยังรั่ว เทน้ำใส่ ลงไปมันก็ยังรั่วออกไปหมด จะเทใส่ลงไปทั้งวัน มันก็ซึมรั่วออกไปทีละน้อย น้ำก็เหือดแห้งไปหมด ไม่สำเร็จประโยชน์สมความต้องการของเราได้ Cr : จากหนังสือ เหมือนกับใจคล้ายกับจิต หลวงปู่ชา มรดกธรรมลำดับที่ ๒๔ หน้าที่ ๕๐ นำมาเสนอ : คุณ Bonne Maison แอบเอามา : แม่มะนาว
กราบขอบพระคุณหลวงพี่ครับ ที่นำสิ่งที่ถูกต้องมาแสดงให้เห็น ถูกทั้งสถานที่ ถูกทั้งเวลาด้วยครับ ธุดงค์ ไม่ว่าในสมัยไหน หากถูกต้องก็เป็นกุศลธรรม เพราะ ธุดงค์ ก็คือ สภาพธรรมที่ขัดเกลากิเลส ไม่ว่าสภาพธรรมเกิดในยุคใด สมัยใด สภาพธรรมนั้นก็ไม่เปลี่ยนไป หากว่าบุคคล หรือ ผู้ที่มีความไม่รู้ มากไปด้วยอกุศล ตามที่ได้เห็นกันอยู่ ว่า ที่เดินธุดงธ์นั้น เป็นเพียงชื่อ แต่ จิตไม่เป็นธุดงธ์ เป็นการขัดเกลากิเลศหรือเพิ่มกิเลศ กันแน่เพราะ พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ไม่เคยเปลี่ยนเป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น ผมขออนุญาตเน้นย้ำอีกครั้ง สำหรับ "ธุดงค์" จากที่หลวงพี่ได้แสดงมาแล้ว อย่างย่อและสั้น ธุดงค์ คือ ข้อปฏิบัติละเอียดเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส เพื่อความมักน้อยสันโดษ มี ๑๓ ข้อ 1.การถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร คือการใช้แต่ผ้าเก่าที่คนเขาทิ้งเอาไว้ตามกองขยะบ้าง ข้างถนนบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง นำผ้าเหล่านั้นมาซัก ย้อมสี เย็บต่อกันจนเป็นผืนใหญ่ แล้วนำมาใช้ งดเว้นจากการใช้ผ้าใหม่ทุกชนิด 2.การถือผ้า 3 ผืน (ไตรจีวร) เป็นวัตร คือการใช้ผ้าเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น อันได้แก่สบง(ผ้านุ่ง) จีวร สังฆาฏิ 3. การถือบิณฑบาตเป็นวัตร คือการบริโภคอาหารเฉพาะที่ได้มาจากการรับบิณฑบาตเท่านั้น ไม่บริโภคอาหารที่คนเขานิมนต์ไปฉันตามบ้าน 4.ถือการบิณฑบาตตามลำดับบ้านเป็นวัตร คือจะรับบิณฑบาตโดยไม่เลือก 5. ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร คือฉันเพียงครั้งเดียว 6.ถือการฉันในบาตรเป็นวัตรคือนำอาหารทุกชนิด มารวมกันในบาตร ไม่ติดในรสชาติของอาหาร 7.ถือการห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร คือเมื่อรับอาหารมามากพอแล้ว จะไม่รับอะไรเพิ่มอีกแล้ว 8. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร คือจะอยู่อาศัยเฉพาะในป่าเท่านั้น จะไม่อยู่ในหมู่บ้านเลยเพื่อไม่ให้รบกวน การปฏิบัติ เพื่อป้องกันการพอกพูนของกิเลส 9. ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร คือจะพักอาศัยอยู่ใต้ต้นไม้เท่านั้น 10. ถือการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร คือจะอยู่แต่ในที่กลางแจ้งเท่านั้นไม่เข้าสู่ที่มุงบังใดๆ เลย 11.ถือการอยู่ในป่าช้าเป็นวัตร คืออาศัยอยู่ในป่าช้า เพื่อจะได้ระลึกถึงความตายอยู่เสมอ ไม่ประมาท 12. ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดไว้ให้เป็นวัตร คือเมื่อใครชี้ให้ไปพัก ก็พักอาศัยในที่นั้นๆ โดยไม่เลือก 13.ถือการนั่งเป็นวัตร คือจะงดเว้นอิริยาบถนอน จะอยู่ใน 3 อิริยาบทเท่านั้น คือ ยืนเดิน นั่ง จะไม่เอนตัวลงให้หลังสัมผัสพื้นเลย ธุดงค์เป็นวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดมากกว่า ศีล 227 ข้อ และขัดเกลาอย่างยิ่ง
โอวาทธรรมหลวงพ่อพุธ ฐานิโย "การฝึกจิตให้มีสติ ที่เราปฏิบัตินี้ ไม่ใช่เราจะปฏิบัติเพื่อเอาศีล เอาสมาธิ เอาปัญญา แต่เราจำเป็นจะต้องสร้าง ศีล สมาธิ ปัญญา ให้เกิดมีพลังขึ้น จนสามารถรวมพลังลงเป็นหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า สติวินโย เมื่อเราสามารถทำศีล สมาธิ ปัญญา ให้รวมลงเป็นหนึ่ง กลายเป็น สติวินโย มีสติเป็นผู้นำ สติตัวนี้จะคอยประคับประคอง คอยจ้องดู สิ่งที่เราทำ พูด คิด หรือ ยืน เดิน นอน นั่ง ตลอดทุกอิริยาบถ ไม่มีความพลั้งเผลอ เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตของเรา ก็พ้นจากความกังวลหลายๆ อย่าง ในที่สุดจะพ้นจากกิเลส แก่นของพระธรรมวินัยคืออะไร แก่นของพระธรรมวินัยคือ วิมุตติ เราปฏิบัติเอา วิมุตติ คือความหลุดพ้นจากกิเลส จนบรรลุพระนิพพาน" Cr : ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต นำมาเสนอ : พสิษฐ์ สุจิณฺโณ แอบเอามา : แม่มะนาว
โรงละครของโลก เมื่อลืมตาตื่นขึ้นเราเห็นโรงละครของโลก ทางตามีอารมณ์เป็นตัวละคร แล้วก็กลับเข้าโรงนั่นคือการกลับเป็นภวังค์ แล้วตัวละครหรืออารมณ์อื่นก็ออกมา สลับกันอย่างนี้เรื่อยไป เมื่อเราหลับตาลง โรงละครนั้นจะไม่มีปรากฏนั่นคือขณะที่เป็นภวังค์ นี่คือโลกทางตา ส่วนทาง อื่นๆ ก็โดยนัยเดียวกัน เมื่อพิจารณาอยู่อย่างนี้ เราจะละหรือจะติดในตัวละครนั้น
วันก่อนพูดถึง กฎวิทยาศาสตร์สี่ข้อที่สำคัญที่สุด สัมพัทธภาพ, ความไม่แน่นอน, ความไม่สมบูรณ์, และการตัดสินไม่ได้ (Relativity,Uncertainty,Incompleteness,andUndecidability) http://สภากาแฟ.net/threads/กุฏิไม้ไผ่.66/page-4#post-19685 สำหรับปีนี้ มีหนังที่ได้เข้าชิง รางวัลออสการ์ เรื่อง The Imitation Game เป็นหนังเกี่ยวกับ ประวัติ และชีวิตจริง ของ Alan Turing หากสนใจ เนื้อหา ลองหามาดู ครับ
การบ่นเพ้อในธรรม ที่ยกมา จากพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่มที่ ๔๗ - หน้าที่ ๒๗๐ เพิ่งเคยได้ยินเลยค่ะ เนี่ยอ่านจนจำได้หมดเลยหรือคะ เก่งจังจำได้ว่าอะไรอยู่เล่มที่เท่าไร หน้าไหน พระสุตตันตปิฏก ฯ ทั้งชุดเนี่ยมีกี่เล่มคะ แพงไหม เผื่อจะซื้อถวายวัดพระธาตุหลวงปู่ก๋ำ ที่หลวงพี่กีรเต้พำนักอยู่ จะได้ใช้สอนพระที่บวชใหม่ ขอความรู้จากผู้รู้ด้วย ขอไปเรื่อยละค่ะ - อยากทราบว่าต้องบรรลุธรรมขนาดไหนคะ ถึงจะได้ชื่อว่า เป็นผู้ไม่บ่นเพ้อในธรรม พระอนาคามี พระโสดาบัน ฯลฯ - มีใครบ้างที่พอเป็นที่รู้จักในสังคม ที่เป็น "ผู้ไม่บ่นเพ้อในธรรม" จะได้ทราบว่านอกจากพระภิกษุ แล้ว คนธรรมดา ก็ได้ศึกษาถึงขนาดเป็น ผู้ไม่บ่นเพ้อในธรรม คุณหลวงแกกำลังศึกษาอยู่ เวลามาสอนดิฉันจะได้รู้ว่า กำลัง บ่นเพ้อในธรรม โดยยังไม่เข้าใจถ่องแท้หรือเปล่า จะได้ซื้อพระสุตตันตปิฏก ฯ ยกให้ไปอ่าน เพราะไม่เห็นแกอ่านเลย ปฏิบัติอย่างเดียว - แล้วถ้าระดับเริ่มต้น เกิดความสนใจใคร่รู้ อย่างโอวาทของพระรูปอื่นที่มีผู้นำมาโพสต์ลงเนี่ย เข้าข่าย พวกบ่นเพ้อในธรรม หรือเปล่าคะ รวมการฟังเทศนาสั่งสอนผ่าน you tube ด้วย หรือสมควรต้องเริ่ม word by word จาก พระสุตตันตปิฏก ฯ เพียงอย่างเดียว
สาธุ ขออนุโมทนาที่ ได้มาอธิบาย เรื่อง ธรรมะ สำหรับกุฏินี้ อยู่ด้วยธรรมชาติ ดำเนินด้วยธรรมชาติ และเป็นไปตามธรรมชาติ อาจมีผู้รู้สัจจธรรมอย่างลึกซึ้ง หรืออาจมีผู้รู้แค่ปานกลาง หรืออาจไม่มีผู้รู้เลย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ได้เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงออก ตามความรู้และความคิดของตัวเอง เราที่เป็นเจ้าของกุฏิ เพียงแต่นั่งมอง นั่งอ่าน นั่งพิจารณา บางครั้งอาจวิจารณ์บ้างเท่าภูมิรู้ที่เราเองมีอยู่ และ การนำเอาคำสอนของครูบาอาจารย์ต่างๆ มาลงไว้ก็เนื่องจากความประทับใจในภูมิธรรมของท่านเหล่านั้น เพื่อเป็นตัวอย่างในการพิจารณา อาจทำตามได้ หรืออาจทำตามไม่ได้ แล้วแต่อุปนิสัยของแต่ละบุคคล ดังนั้นการแสดงออก ณ ที่นี้ เราเคยอนุญาตไว้แล้วว่า ทุกคนสามารถนำเอาสิ่งต่างๆ มาพุดคุยได้ เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาอ่านได้พิจารณากัน ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นผู้รู้ หรือ ว่าผู้ไม่รู้ ธรรมะ มีอยู่กับทุกคน มาก - น้อย แล้วแต่ความเข้าใจของบุคคลนั้นๆ และก็เป็นสิ่งดีที่มีการพูด - กล่าวธรรมะกัน ดีกว่าที่จะคุยกันเรื่องอื่นๆ ไม่เคร่งเครียด เพื่อผ่อนคลาย ตามความประสงค์ของเราที่ตั้งไว้แต่ต้น สาธุ อนุโมทนา ที่เข้าใจวัตถุประสงค์นี้ อนุโมทนาอีกครั้ง
ธรรมะ มีอยู่ทุกตัวคน แม่มะนาว ลึกซึ้ง ปานกลาง หยาบ ตามแต่อัตตาของแต่ละบุคคล ดี ก็คือ ธรรม ชั่ว ก็ คือ ธรรม พิจารณาอย่างนี้ พิจารณา ลอกไปที่ละชั้นๆ จนถึงแก่น วันนี้ไม่รู้ พรุ่งนี้ก็รู้ พรุ่งนี้ไม่รู้ มะรืนนี้ต้องรู้ อย่าใฝ่หาสิ่งใดนอกจากใจตัวเอง ถือมาก แบกมากก็หนัก วางไปก็เบาสบาย พระพุทธองค์ทรงสอนว่า ไม่ให้มองผู้อื่น ให้มองดูและกล่าวโทษตัวเอง หลวงพี่เคยสอนไว้ไง จำสิ ไปละ ทำอย่างอื่นต่อ ว่างๆ จะแวะ
กราบหลวงพี่ด้วยความเคารพครับ ขอน้อมรับใส่ใจตามที่หลวงพี่ได้กรุณา ชี้แจง และปฎิบัติตามที่หลวงพี่ ได้เคยพูดไว้ว่า"ทุกคนสามารถนำเอาสิ่งต่างๆ มาพุดคุยได้ เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาอ่านได้พิจารณากัน ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นผู้รู้ หรือ ว่าผู้ไม่รู้." สาธุ อนุโมทนา
ในชีวิตจริง ก็มีหลายอย่างที่ทำให้เห็นว่า ทุกคนคิดนึกไปตามการสะสม ได้ยินเรื่องเดียวกัน เห็นอย่างเดียวกัน แต่ก็สามารถคิดไปได้ต่างๆ กัน ดังนั้น จึงไม่สามารถจะคาดเดาได้เลยว่า เขาจะคิดอย่างไร เหมือนหรือแตกต่างจากเรา จึงไม่ควรคิดเองว่า เขาคิดอย่างไร ควรใส่ใจความคิดของตนเองว่า คิดถูกหรือผิด
โอวาทธรรมหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ ขอให้ทำความดีเถอะ อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ อันนี้เป็นมงคลอย่างยิ่ง คือของใครของมัน Cr : ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต นำมาเสนอ : คุณ Bonne Maison แอบเอามา : แม่มะนาว