ขอบพระคุณเจ้าค่ะ ความอิจฉามันน่ากลัวค่ะ เพราะมันจะคอยกัดกินใจเราทีละน้อยๆ ไปทุกวัน แม่มะนาวเคยบอกหลวงพี่ว่า บางสิ่งที่แม่มะนาวทำตั้งแต่เด็ก ทำโดยที่ไม่รู้ว่านี่คือคำสอน ใครจะมีอะไรมากกว่า อยากได้ก็ค่อยๆเก็บเงินซื้อ บางอย่างไม่ได้ ก็บอกตัวเองว่าไม่เป็นไร สักวันเราอาจมี คือไม่ชอบทำตัวให้เป็นทุกข์ ไม่รู้หรอกค่ะ ว่าสุข หรือทุกข์ เป็นธรรมดาของมนุษย์ และไม่จีรัง แต่ ณ เวลานั้น ความสุขคือไม่ต้องทุกข์กับอะไร กินอิ่ม นอนอุ่น มีหนังสือก็พอใจแล้ว พอโตก็จะปลอบใจตัวเองว่า การที่เราไม่มีเหมือนคนอื่น มันก็เหมือนกับคนอื่นที่ไม่มีอย่างเราแหละ ใครมีครบ ก็คิดว่าเขาโชคดี เลยอยู่สบายๆมาแต่เด็กจน ยามชรา ถามตัวเองตลอดเวลาไม่ชอบใคร หรืออะไร เราอิจฉาเขาหรือเปล่า ถ้าลึกๆบอกว่ามีบ้าง ก็โยนทิ้ง บอกตัวเองเราก็มีตั้งหลายอย่างเหมือนกันที่เขาไม่มี ก็เป็นแบบแม่มะนาวงี้แหละค่ะ ทุกวันยังมองรอบตัวๆไปเรื่อย สนุกดีค่ะ
กฏแห่งกรรม Law Of Karma การให้ธรรมะเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง "...ถ้าจะมาขอโอวาท ก็จะเตือนให้ระวังระเบิดสามลูก มีชื่อ ราคะ โทสะ และโมหะ ระเบิดสามลูกนี้ร้ายกาจมาก เป็นรากเหง้าของความชั่วร้าย เรื่องโทสะเห็นจะไม่มีใครชอบ เพราะเป็นของร้อนและเห็นได้ง่าย ว่าเป็นทุกข์ แต่ราคะและโมหะให้ระวังให้มาก เพราะมาในรูปของไฟเย็น ให้ความสุขได้ มองไม่ค่อยเห็นความทุกข์ และราคะนั้นเมื่อมีโมหะเข้าช่วยจะไปกันใหญ่ เพราะจะพากันหลงรักหลงชัง..." อมตะธรรมพระอริยสงฆ์ ธมฺมวิตกฺโกภิกขุ (เจ้าคุณนรรัตนราชมานิต) Cr : กฏแห่งกรรม Law Of Karma นำมาเสนอ : Bonne Maison แอบเอามา : แม่มะนาว
ลืมบอกหลวงพี่ไปให้ขยายความคำพูดของ หลวงตา มหาบัวด้วย ไม่แน่ใจว่าตัวเองจะเข้าใจตรงกับที่ท่านต้องการสอนหรือไม่
ขยายอะไร มันตรงตัวอยู่แล้ว แสวงหากริยา คือ การกระทำตัวเองหรือการแสดงออก ตรงข้ามกับสิ่งตัวเองคิดหรือเป็นอยู่ ก็คือไม่มีธรรมะหรือไม่เป็นธรรมชาติ ดัวนั้นคนที่พวกนี้คบอยู่ด้วยก็ไม่พบกับความจริงใจ ง่ายๆ แค่เนี๊ยะ
แม่มะนาวไม่ง่ายๆแค่เนี๊ยะ ซิเจ้าคะ แปลคลาดเคลื่อนไปหน่อย คือไปแสวงหาจากกิริยาจากคนอื่น มาอ่านที่หลวงพี่บอก เลยรู้ว่า ลืมไปที่ว่า พระท่านสอนให้ดูแต่ตัวเราเอง แหะๆ
ใช้ได้ทั้งการดูตัวเราเอง กับดูคนที่เราคบค้าสมาคมด้วย เราไม่เสแสร้ง แต่คนอื่นล่ะ เสแสร้งไหม สังคมเดี๋ยวนี้ ยังขาดความจริงใจ บางคนชอบพรรณาสิ่งต่างๆ เพื่อซ่อนตัวตนเก็บไว้ แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ซ่อนไว้พอถึงเวลาก็แสดงออกมา
ถ้าตอบแบบคนมองโลกสวย แม่มะนาวก็ว่าดีนะคะ แสร้งเป็นคนดี เพราะรู้ว่ามันดี แต่ไม่มีใครแสร้งเป็นคนเลว เพราะรู้ว่ามันเลว ตอบแบบนักปาดยา(เส้น) อิอิ
"นมัสการครับหลวงพี่" แอบมาหากาแฟในกุฏิไม้ไผ่ แต่ลืมไปมีแต่กาแฟไม่มีครีมกับน้ำตาลคงไม่เหมาะกับเด็กวัดอย่างเรา ตัดสินใจเปิดเพลงเบาๆแล้วค่อยๆย่องออกไป................................................ "ดีใจในสิ่งที่ตนเองได้ พอใจในสิ่งที่ตัวเองมี"
นมัสการครับ หลวงพ่อ ขออนุญาตสนทนาธรรมต่อครับ ขอเฉพาะส่วนหลังนะครับ ทำไมคนถึงนับถือศาสนาและปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนาตน... ช่วงหลังผมได้เจอ ได้อ่านความคิดเห็นของคนไม่นับถือศาสนามาบ้าง ในเฟสบุ๊กก็มีเพจคนไม่มีศาสนาขึ้นมา ส่วนมากแล้วการไม่นับถือศาสนา เนื่องจากเห็นว่าหลักศาสนาต่างๆนั้น ไม่ดีพอบ้าง ไม่ตรงใจบ้าง หรือไม่อยากทำในสิ่งที่คนอื่นๆบอกให้ทำบ้าง หรือเพราะเห็นข้อเสีย จุดด่างอันเกิดจากคนที่แอบอ้างศาสนาบ้าง... (นับจากบรรทัดนี้ผมขอจำกัดไว้แค่ศาสนาพุทธและในประเทศไทยนะครับ) แทบทุกคนที่ผมอ่านความเห็น หรือแสดงความเห็นในแง่ที่ไม่นับถือศาสนานั้น...ไม่เคยศึกษาเรื่องศาสนาเลย ความรู้เรื่องศาสนาของเขาเหล่านั้นต่ำอย่างน่าใจหาย ซึ่งน่าจะเป็นเพราะระบบการศึกษาและต้องรวมถึงสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปส่วนหนึ่ง การขาดความรู้และการขาดการใฝ่รู้ของคนเหล่านี้อยู่ในขั้นเป็นเอามาก เขาจะมองเห็นแต่ด้านร้ายและด้านลบของศาสนาต่างๆเท่านั้น เห็นแต่เปลือกนอกของศาสนา หรือเรียกว่า เห็นแค่เงาเลือนๆของศาสนาแล้วเหมารวมว่าศาสนาไม่น่าพึงพอใจ ไม่น่าสนใจไปทั้งหมด การเหมารวมว่าศาสนาเสื่อม เพราะความไม่รู้ของตัวเอง สร้างกับดักอันแข็งแกร่งที่จะกักคนเหล่านั้นไว้ให้ห่างไกลจากศาสนามากยิ่งขึ้น ภาพของความไม่รู้ของคนไทยที่ไปนับถือพวกหน้าด้านอลัชชีต่างๆ รวมถึงพวกเดียรถีร์ที่หลงงมงายในลัทธิตนโดยแอบอ้างพุทธศาสนาในสังคมไทย ยิ่งชักพาผู้ที่เรียกว่า "คนไม่มีศาสนา" ให้ไปไกลมากขึ้น ทั้งๆที่หลักธรรมขั้นสูง พระไตรปิฎก คำเทศน์ คำสอนของพระผู้ใหญ่ที่เป็นแนวทางถูกตรง เป็นแนวทางปฏิบัติดีปฏิบัติชอบก็มีให้เลือกเสพในอินเตอร์เนตอย่างไม่รู้จักหมดสิ้น แค่พิมพ์หาในกูเกิล เขาก็จะเจอธรรมะแล้ว....แต่จนแล้วจนรอด คนเหล่านี้ก็ไม่ได้ทำ นับเป็นความน่าเสียดายอย่างยิ่ง แค่เขาเหล่านั้นฉุกใจสักนิดว่า อย่างพุทธศาสนาที่ดำรงมาสองพันกว่าปีแล้ว เป็นไม้ใหญ่อย่างยิ่ง ย่อมมีกาฝาก มีมอดแมลง มีนกหนูสัตว์ฟันแทะต่างๆ มีเปลือกมีกระพี้ที่หลุดร่อน ฯลฯ แทนที่จะมองภาพไม้ใหญ่ สองพันกว่าปีที่ยืนยงฝ่าแดดฝน ท้าทายกาลเวลามามากแล้ว กลับมองเพ่งแต่ใบผุเน่าที่โคน หรือดูแต่รอยแทะของสัตว์เล็กตามกิ่งหัก แล้วติว่าไม้ใหญ่นี่ใกล้ล้มเต็มที ใช้การไม่ได้ และไม่ให้ประโยชน์แล้ว เกริ่นมามากครับ เพราะนี่เป็นกระดานสนทนา อาจได้มีโอกาสไปสะกิดใครบ้าง และน่าจะสะกิดได้อย่างมีประโยชน์บ้าง เพราะคนที่ไร้หนทางจริงๆ ย่อมไม่ถูกดึงมาในทาง ผู้ที่แวะมาบ้างน่าจะพอมีโอกาส ผมก็อาศัยร่มเงากุฎิหลวงพ่อบอกลอยๆไปครับ เราพูดถึงฝั่งตรงกันข้ามไปแล้ว ก็กลับมามุมกลับกันครับ ทำไมคนถึงนับถือศาสนาและปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนาตน ในที่นี้ผมขอยกตัวเองเป็นหลักนะครับ (ซึ่งไม่ถูกต้องเสียทีเดียว แต่จะตรงใจผมที่สุด) ที่ผมนับถือศาสนาและสนใจในศาสนาผมเชื่อว่าเป็นเพราะกรรมครับ กรรมที่หมายถึง การกระทำและผลเกี่ยวเนื่องของการกระทำ ทั้งที่กระทำเอง และทั้งที่ได้รับผลมา หากเป็นหลายปีก่อนหน้านี้ ผมคงไม่กล่าวแบบนี้ เพราะผมไม่เชื่อในกรรมสักเท่าไหร่ครับ ผมเชื่อแต่ในการกระทำ แต่พอถึงวันนี้ผมเข้าใจแล้วว่า ที่ผมไม่เชื่อในกรรมเพราะผมเข้าใจคำว่า"กรรม" น้อยเกินไป คำว่ากรรม ส่วนใหญ่คนไทย (เอาเป็นว่าคนไทยที่ผมรู้จัก) มักนึกรวมเป็นกรรมเก่าแต่หนหลังเท่านั้น และมักเป็นเรื่องของกรรมที่ตัวเองกำหนดไม่ได้เป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรรมที่ทำแต่ชาติก่อน ซึ่งความเข้าใจเรื่องกรรมที่ "แคบ" เกินไปนี่เองทำให้คนที่นับถือศาสนาพุทธ เคลื่อนไปจากโอกาสที่ดีงามหลายอย่าง (ต้องเข้าใจว่าผมไม่ได้กำลังจะพูดเรื่องวิถีของกรรมนะครับ อันนั้นจะเพี้ยนไปเสียก่อนและจะสร้างปัญหาใหม่ๆขึ้นมาเป็นลิงแก้แห) กรรมเก่าที่เรามักพูดถึงกัน เท่าที่ผมสังเกตเองนั้น ไม่ต้อง "เก่า" ขนาดชาติที่แล้วก็ส่งผลครับ เช่นเรานั่งเล่นเนตเพลินแล้วเราเปิดพัดลมแรงไปหน่อย สักพักเราก็จะเป็นหวัดจามได้ พอเราเริ่มจามเราก็อาจจะไม่สบายนิดหน่อย แล้วเราก็เพลินๆลืมไป เข้านอนดึกเช้ามาเราก็ป่วย ฯลฯ การกระทำของเราเรื่องหนึ่งๆ ส่งผลกระทบเป็นลูกโช่ไปยังเรื่องต่างๆ นี่ก็เรียกว่ากรรมครับ ทีนี้ กรรม ของแต่ละคนไม่เท่ากัน ไม่เข้มข้นพอกัน ระดับของกรรมก็จะแยกระดับของคนด้วย ทั้งความมุ่งหมาย การพยายามฝึกฝน การพยายามศึกษาในธรรมะให้ลึกซึ้งของแต่ละคน ก็เลยต่างกัน และโดยมากแล้วคนที่เชื่อในกรรมแบบไม่รอบด้านจะพลาดนึกว่า "เราไม่ได้มีกรรมด้านนั้นมาก่อน" ซึ่งผมยืนยันว่าเป็นความเชื่อที่ผิดครับ ถ้าไม่มีกรรมมาก่อน ไม่มานั่งทำกรรมอาจบทความนี้หรอกครับ :-D เราไม่ลืมว่าวิถีของกรรม ไม่ใช่สิ่งที่เราควรไปคิด หรือพิจารณาวิพากษ์ แต่วิถีของกรรมหน่ะมีอยู่ และวิถีของกรรมนั้นง่ายและตรงไปตรงมามาก คือ ทำสิ่งใดย่อมได้สิ่งนั้น หากศึกษาธรรมะย่อมได้ศึกษาธรรมะครับ และเมื่อเราศึกษาธรรมะ ย่อมมีผลของมันมาถึงเราบ้างซึ่งเราก็เรียกว่ากรรม และกรรมของเราย่อมไม่เหมือนเสียทีเดียวกับกรรมของผู้อื่น การบรรลุธรรมซึ่งเป็นผลสุดท้ายของการศึกษาธรรมของเรา ย่อมไม่ได้เป็นไปแบบเดียวกันกับของคนอื่นครับ อยู่ที่เราสะสมกรรมของเราเพื่อบรรลุธรรมแล้วหรือยัง เพราะว่ากรรมนั้น ไม่ได้เป็นเพียงแต่ผลจากชาติที่แล้ว แต่เป็นผลจากชั่วขณะนี้ด้วย เราอยากรับกรรมอย่างไร ก็จงสะสมกรรมแบบนั้นครับ คนที่ประมาทคิดว่า ตัวเองมีปัญญาน้อย คงจะไม่สามารถบรรลุธรรมก็จะพลาดไปตรงที่ว่า ผู้บรรลุธรรมนั้นแท้จริงแล้วบรรลุด้วยศรัทธาก็มากไม่จำเป็นต้องบรรลุด้วยปัญญาเสมอ ดังนั้นเพราะกรรมของผม ผมจึงศึกษาธรรมะ เพราะศึกษาธรรมะ จึงต้องปฏิบัติ เมื่อทั้งศึกษาทั้งปฏิบัติ การบรรลุธรรมย่อมเป็นเป้าหมายสุดท้าย เมื่อบรรลุธรรมแล้วก็เป็นไปตามคำสอนที่ผมเคารพว่า "กิจที่ควรทำสิ้นแล้ว กิจอื่นที่เหนือกว่านี้ไม่มี" ขออภัยที่ยาวมากครับ ขอบคุณครับ
พูดได้ลึกซึ้ง ประโยคท่อนสุดท้าย น่าจะเป็นข้อสรุปจากที่เขียนมาทั้งหมด การบรรลุธรรมมีทั้งสองประการคือ ปัญญา และ ศรัทธา ขอบใจที่มาแลกเปลี่ยนกัน
Cr : ธรรมะรักษา นำมาเสนอ : หลวงพี่กีรเต้ แอบเอามา : แม่มะนาว ปอลอ ในแก้วนั้นต้องเป็นชาเย็นของชอบแม่มะนาวแน่เรย
ขอบคุณคุณแสงธูป โอเลี้ยงทานแล้ว หวาน ขม ตามที่ชอบ น้ำลำไยเก็บใส่ตู้เย็นก่อน ไว้ทานตอนบ่าย น้ำเก็กฮวยคราวหน้า ไม่ต้องแล้ว ทานไม่เป็น เอาไว้ชงแจกคนที่มาเยี่ยมหลงพี่ละกัน อิอิ
โอวาทธรรมหลวงปู่ชา สุภทฺโท ถ้ามีคนบอกว่าเราเป็นหมา เราจะโกรธเขาไหม ถ้าโกรธ...เราก็เป็นหมาอย่างที่เขาว่า Cr : ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต นำมาเสนอ : หลวงพี่กีรเต้ แอบเอามา : แม่มะนาว
วันหลังต้องหัดชงกาแฟแบบนี้บ้าง ใส่ความตั้งใจ สามช้อน น้ำร้อนๆ จากความจริงใจในสัจจธรรม รวมเป็นกาแฟรสกล่อมพอดี ขอบใจ ขอบใจ
ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ห้าคืออะไร? ฟังแล้วน่าจะเป็นปัญญาทางทฤษฎีหรือปรัชญา ที่จริงมันเป็นเรื่องในชีวิตประจำวัน เช่น ถ้าใครมาวิจารณ์เราว่าเก่งหรือไม่เก่ง สวยไม่สวย หล่อไม่หล่อ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นทางจิตใจ ไม่ว่ายินดียินร้าย ชื่นใจ เศร้าใจ หดหู่ใจ เกิดจากการยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ๆใดขันธ์หนึ่งในขันธ์ห้าว่าเป็นเราเป็นของเรา ความทุกข์มันอยู่ตรงนั้น ไม่ได้อยู่ที่การกระทำการล่วงเกินของคนอื่น การพูดของคนอื่น อารมณ์ของคนอื่น มันอยู่ที่ตัวเรา เมื่อจิตยึดมั่นถือมั่นลดน้อยลง จิตเป็นกลางมากขึ้นก็สามารถปฏิบัติต่อสิ่งกระทบต่างๆอย่างถูกต้อง พร้อมที่จะแก้ใน ส่วนที่แก้ได้ อดทนต่อส่วนที่แก้ไม่ได้ Cr : ธรรมะโดย พระอาจารย์ชยสาโร นำมาเสนอ : คุณ Bonne Maison แอบเอามา : แม่มะนาว
แบบนี้ผมต้องตั้งใจอ่านบทความละ"สามรอบ"ด้วยความตั้งใจใช่ไหมครับ"พี่มะนาว" (แหมคิดว่า "ห้าห้า" ) "โลกอนัตตา" สมยศ ทัศนพันธ์
แต่พี่แปลว่า จะทำอะไรต้องใส่ความตั้งใจ (ผงกาแฟ) และความจริงใจ (น้ำร้อน) ลงในงานที่ทำ สิ่งนั้นจะสำเร็จด้วยดี แบบกลมกล่อมเหมือนกาแฟทำนองนั้น นี่ตีความตามแบบที่เรียนมาเรยนะ แต่สรุปแล้ว ก็คงเหมือนกัน ตรงทำอะไรอย่างตั้งใจแหละ ที่หลวงพี่อยากบอก
จะเลือกเป็นกระโถน หรือ กระถาง ชีวิตของเราก็เหมือนกับเป็นภาชนะว่าง ถ้าหากเราไม่สนใจไม่ตั้งใจในการฝึกฝนอบรมตน เอาแต่ของไม่สะอาดใส่ไปในกาย วาจา ใจของเรา ชีวิตของเราก็เป็นภาชนะว่างที่กลายเป็น กระโถน แต่ถ้าเราฝืนกิเลสของตัวเอง ไม่ทำตามกิเลส สนใจในการที่จะหล่อเลี้ยงชีวิตด้วยธรรม ทำให้ชีวิตเบิกบานโดยคุณธรรม มันก็เหมือนกับว่าเราตั้งภาชนะนี้ไว้ในที่ดี แล้วเอาดินใส่ เอาต้นไม้ใส่ รดน้ำพรวนดิน เสร็จแล้วภาชนะนี้จะเรียกว่า กระโถนไม่ได้ ต้องเรียกว่า กระถาง จากหนังสือ ชาวพุทธ หรือชาวพูด –ท่านชยสาโร หน้าที่ ๑๒๓ Cr : Lux Anatta แอบเอามา : แม่มะนาว
Cr : หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ นำมาเสนอ : คุณ Bonne Maison แอบเอามา : แม่มะนาว หมายหูด : อ่านในเมนท์ เขาบอกว่าถ้าอีกมือรู้ จะช่วยกันปรบ ลึกซึ้งยิ่ง สาธุ
หลวงพี่คะ แม่มูนไลท์ ของแม่มะนาวป่วย หมอบอกว่าอาจเป็นอัมพฤกษ์ แม่มะนาวเองพยายามทำใจนะคะ ว่าเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดา เวลาที่ให้อาหารก็พยายามจะวิ่งมาให้ทันตัวอื่น เท้าซ้ายหลังไม่มีแรง ได้แค่แตะพื้น พยายามทำใจแล้ว เวลาทำความสะอาดกรง และตากผ้า ก็พยายามเดินมาป้วนเปี้ยน อย่างเคย แต่ไม่ถนัดเหมือนเดิม แต่พอเห็นเขา พยายามมาหาเรา มันหนักๆถ่วงๆในใจ อาจเป็นเพราะต้องรอหมอวินิจฉัยอีกที ว่าจะรักษายังไง การไม่รู้ คงทำให้เป็นทุกข์ ตอนหมอบอกว่าแม่มะนาวต้องผ่าตัดใหญ่เอาเนื้องอกออก ทำไมเฉยๆ ไม่กลัว ไม่วิตก แม่มะนาวควรทำใจไงดีคะ อ่านๆที่ไปหามายังไม่เจอที่ตรงในใจเลยค่ะ