กุฏิไม้ไผ่

กระทู้ใน 'ห้องนั่งเล่น' โดย กีรเต้, 9 ต.ค. 2014

  1. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
    จะให้ตอบยังไงดี "วิทยาศาสตร์ที่ปราศจากศาสนาเปรียบเหมือนกับคนเป็นง่อย และศาสนาที่ปราศจากวิทยาศาสตร์เปรียบเหมือนกับคนตาบอด" ประเด็นที่เราคิดคือ ไอน์สไตน์ พูดถึงความเกี่ยวพันกัน ระหว่างศาสนาและวิทยาศาสตร์ ว่าทั้งสองอย่างอยู่คู่กัน มีการค้นคว้าสิ่งที่เกิดขึ้น วิเคราะห์และพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่ผลสำเร็จ เพียงแต่วิทยาศาสตร์เน้นความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมจับต้องมองเห็นได้(วัตถุ) ส่วนศาสนา เน้นความสำเร็จที่เป็นนามธรรม (ความหลุดพ้น) เอาเท่านี้ก่อน
     
  2. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    กราบหลวงพี่ครับ

    ขอแสดงความเห็นต่อเรื่องนี้สักเล็กน้อย

    ก่อนอื่น และเป็นเรื่องที่เราต้องตั้งหลักกันให้มั่นคงถึงศาสนาพุทธ
    แม้จะเป็นเรื่องพื้นพื้น แต่เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดและทำให้เราหลงทางได้ง่ายและมากที่สุดเรื่องหนึ่ง

    ศาสนาพุทธ ไม่เป็นทั้งปรัชญาและวิทยาศาสตร์ ข้อนี้เป็นเรื่องสำคัญมากและสร้างความสับสนมากที่สุด
    ที่พยายามโยงศาสนาพุทธเป็นปรัชญา และ บางคนก็หลงทางพยายามโยงไปหาวิทยาศาสตร์

    สิ่งที่วิทยาศาสตร์และปรัชญา คล้ายกับศาสนาพุทธ คือวิธีการใช้ หลัก เหตุและผลเท่านั้น

    ถ้าอย่างนั้นแล้ว ศาสนาพุทธคืออะไร?

    ศาสนาพุทธ คือ คำสอนหรือพระธรรม ของ พุทธ คือ ผู้รู้
    เป็นเรื่องของปัญญาอย่างแท้จริง เพราฉะนั้น คำใดที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ใน 3 ปิฎก
    อันแสดงถึงความจริงของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ ว่ามีแต่ธรรมที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม
    ดังนั้นปัญญาที่รู้ความจริงในสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ คือ อริยมรรค มีองค์ 8 อันเป็นปัญญา
    ที่เป็นหนทางดับกิเลส พระพุทธเจ้าเท่านั้นทรงตรัสรู้ความจริง อันเป็นหนทางดับกิเลสได้อย่างแท้
    จริง ย่อมเป็นหัวใจ ของพระพุทธศาสนา ซึ่งเมือเราเข้าใจดังนี้ คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด
    ก็ถือว่าเป็นหลักเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาด้วยครับ เพราะธรรมที่พระองค์ทรงแสดงเกี่ยวเนื่องกัน
    ทั้งหมด เพียงแต่ว่าจะกล่าวโดยนัยอะไร ตามอัธยาศัยของสัตว์โลก

    พระพุทธศานาจึงเป็นเรื่องของการละกิเลสตั้งแต่ต้น และละด้วยปัญญา

    เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงของสภาพธรรมทั้งปวงแล้ว
    พระองค์ก็ทรงเทศนาสั่งสอนพุทธบริษัทให้รู้ว่าสภาพธรรมทั้งปวงนั้น ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล
    เป็นปรมัตถธรรม คือ เป็นสภาพธรรมที่มีลักษณะเฉพาะแต่ละอย่างๆ ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงลักษณะ
    ของสภาพธรรมนั้นๆ ได้ ไม่ว่าใครจะรู้ หรือไม่รู้ ก็ตาม ใครจะเรียกสภาพธรรมนั้นด้วยคำใด ภาษาใด
    หรือไม่เรียกสภาพธรรมนั้นด้วยคำใดๆเลยก็ตาม สภาพธรรมนั้นก็เป็นสภาพที่ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงได้เลย
    สภาพธรรมใดที่เกิดขึ้นสภาพธรรมนั้นเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไปดังที่พระองค์ได้ทรงแสดงธรรม
    แก่ท่านพระอานนท์ ว่า สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว มีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความทำลายเป็นธรรมดา

    จึงควรพิจารณาและศึกษาให้รู้ว่าธรรมและความจริงที่พระองค์ตรัสรู้นั้น คือ อะไร
    ความจริงที่พระองค์ทรงตรัสรู้นั้น ต่างกับ ความจริงที่เราคิด นึก หรือ เข้าใจ อย่างไร


    ปัญญาเริ่มจากการฟัง และเป็นไปตามลำดับขั้นครับ

    ยินดีที่ได้เป็นเด็กวัด ......
     
    sailom, แสงธูป, LazyLemon และอีก 2 คน ถูกใจ
  3. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
    ตาจักรฯ ไม่ได้คุยกันนานตั้งแต่บ้านหลังเดิม แย้มประเด็นไว้ เพื่อรอมิตรสหายมาเสวนา หลากความคิดให้แตกออกไป ที่เปิดประเด็นเป็นเพียงแต่เบื้องแรก ไม่ใช่จุดสรุป ประเด็นแรก คือ "วิทยาศาสตร์กับศาสนา (ตีความว่า เป็น หลักศาสนาทั่วไป)" มีความเกี่ยวพันกันหรือไม่ อย่างไร
    คราวนี้ก็มาประเด็นที่สอง อะไรเป็น มูลเหตุ ที่ นักวิทยาศาสตร์ทำการค้นคว้าสิ่งต่างๆ และ อะไรเป็นมูลเหตุ ที่ทำให้ ชนทั้งหลายมุ่งหน้าเข้าหาหลักความเชื่อตามศาสนาของตน
    ปอลอ เปิดไว้สองประเด็น ............ แล้วจะมาคุยกันต่อ หลวงพี่ลิมิตเวลาตัวเองไว้ที่ 21.00 น. ขาดเกินเล็กน้อย
     
  4. แสงธูป

    แสงธูป อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    29 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,849
    ระหว่างรอ"หลวงพี่กรีเต้" ขอเชิญฟังเพลงกันไปก่อนนะครับ
    "หนี้กรรม" สุมิตร-ยุพิน
     
    LazyLemon, sailom, chackrapbong และอีก 2 คน ถูกใจ
  5. หงส์เฒ่าเสาร์ธรรม

    หงส์เฒ่าเสาร์ธรรม อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    24 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,645
    วันนี้วันครู รำลึกถึงพระศาสดา พระธรรมคำสอน และครูบาอาจารย์ เป็นที่พึ่ง

    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
     
    LazyLemon, sailom, แสงธูป และอีก 3 คน ถูกใจ
  6. หงส์เฒ่าเสาร์ธรรม

    หงส์เฒ่าเสาร์ธรรม อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    24 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,645
    สำหรับความคิดเห็น ของผมในเรื่อง วิทยาศาตร์ กับศาสนา ที่ไอน์สไตน์ กล่าวไว้นั้น
    ผมมองที่หลักการดำรงชีวิตในยุคที่วิทยาศาสตร์รุ่งเรืองและก้าวล้ำทำลายความเชื่อทางศาสนาที่เคยเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจคนเรามาแต่เก่าก่อน ไอน์สไตน์นั้นเป็นชาวยิวที่รักสงบ ชาวยิวที่ดำรงเผ่าพันธ์อยู่รอดจากความทุกข์ทรมานจากสงครามและความโหดร้าย ด้วยความเชื่อและความศรัทธาในพระเจ้า เชื่อว่าความรู้ต่างๆรวมทั้งความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นของขวัญจากพระเจ้าที่ประทานมายังมนุษย์ ไอน์สไตน์คงได้เห็นนักวิทยาศาสตร์มากมาย ที่ไม่ได้ศรัทธาในพระเจ้า และคงได้เห็นผู้ที่เคร่งศาสนามากมายที่ไม่ยอมรับความจริงทางวิทยาศาสตร์ จึงเปรียบเสมือนคนพิการ และคนตาบอด
    คนพิการคือ คนที่มีสมองคิดได้ แต่ไม่มีอิสระที่จะ ไปไหนมาไหน หรือทำความดีให้เกิดประโยชน์ต่อโลกและเพื่อนร่วมโลกได้
    คนตาบอดคือ คนที่ไม่ยอมรับความจริงใหม่ๆของธรรมชาติ มองไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงของโลก

    ความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์และศาสนา นั้นยังก่อให้เกิด จิตนาการ ที่เชื่อว่าพระเจ้ายังคงมีความลับซ่อนอยู่อีกมากมาย ให้ค้นหา ความรู้ที่มนุษย์มีอยู่ขณะนี้ น้อยเกินกว่าจะเข้าใจพระเจ้าได้ จินตนาการจะทำให้เราเข้าถึงพระเจ้า (หรือความจริงของธรรมชาติ) ได้ใกล้และเร็วยิ่งขึ้น
     
    LazyLemon, แสงธูป, กีรเต้ และอีก 1 คน ถูกใจ.
  7. joonkung

    joonkung สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    23 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    108
    หากสงสัยในเรื่องใดโปรดจงทำให้ทิพจักขุญาณ เกิดแล้วจะรู้สึดที่ไม่เคยรู้ได้ เมื่อ ทิพจักขุญาณ เกิดแล้วก็จะเกิดญาณอีก 8 อย่างตามมาเมื่อนั้นการตัดสังโยชน์ 10 ก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย
     
    LazyLemon และ กีรเต้ ถูกใจ.
  8. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    ธรรมชาติให้มนุษย์มีศักยภาพพอที่จะเข้าใจอะไรๆบางอย่างได้แต่ไม่พอที่จะเข้าใจความจริงที่เป็นภววิสัย (objective reality) ได้โดยสมบูรณ์แต่การที่เราสามารถพิสูจน์ได้ว่าขอบเขตของความเข้าใจเราอยู่ตรงไหนบ้างนั้นก็นับเป็นสิ่งที่แสดงถึงศักยภาพของสมองมนุษย์ได้อย่างดีเยี่ยมดังนั้นข้อจำกัดที่พิสูจน์โดยกฎเหล่านี้ไม่ใช่เป็นเรืองน่าผิดหวังแต่เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นต่างหากความรู้ว่าเรารู้อะไรไม่ได้ก็ยังดีกว่าความไม่รู้ว่าขีดจำกัดเราอยู่ตรงไหน
     
  9. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    (คัดลอกบทความ-link ต้นฉบับภาษาอังกฤษหายไปแล้ว)
    กฎวิทยาศาสตร์สี่ข้อที่สำคัญที่สุด
    สัมพัทธภาพ, ความไม่แน่นอน, ความไม่สมบูรณ์, และการตัดสินไม่ได้

    (Relativity, Uncertainty, Incompleteness, and Undecidability
     
    Last edited: 16 Jan 2015
  10. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    สัมพัทธภาพ

    กฎสัมพัทธภาพบอกว่าไม่มีจุดสังเกตใดๆที่มีอภิสิทธิ์และไม่ลำเอียง(privileged, “objective” viewpoint) สำหรับการสังเกตบางอย่างลองจินตนาการดูว่ามีเรือสองลำลอยอยู่กลางทะเลในคืนอันมืดมิดแต่ละลำมีไฟส่องทางบนยอดเสาเรือใบคืนนั้นมืดมากมืดจนเส้นขอบฟ้าหรือคลื่นในนํ้าไม่สามารถบอกเราได้ว่าเรือทั้งสองกำลังแล่นไปทางไหนภายใต้เงื่อนไขเหล่านี้กัปตันเรือทั้งสองคนก็พูดได้เหมือนกันว่าเรือของเขาเป็นลำที่“อยู่นิ่ง” เรืออีกลำต่างหากที่แล่นอยู่
    ในทำนองเดียวกันลองตั้งคำถามว่าพระอาทิตย์เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่าไหร่? ก่อนที่เราจะตอบได้เราต้องคิดว่าจะใช้อะไรเป็นตำแหน่งอ้างอิงเราสามารถวัดความเร็วของพระอาทิตย์เทียบกับวัตถุที่อยู่ไกลโพ้นเช่นดาวฤกษ์อีกดวงจุดศูนย์กลางทางช้างเผือกหรือจุดศูนย์กลางกลุ่มดาวที่ระบบสุริยะอยู่แต่ไม่ว่าเราจะวัดจากจุดไหนไม่มีทางที่เราจะเรียกความเร็วนั้นว่าเป็น“ความเร็วสัมบูรณ์ (absolute speed) ของพระอาทิตย์” ได้จริงอยู่เราสามารถวัดความเร็วของพระอาทิตย์เทียบกับอวกาศรอบๆดวงดาวเพราะอวกาศไม่ว่างเปล่าเลยทีเดียวหากเต็มไปด้วยอนุภาคต่างๆแต่ปัญหาคืออนุภาคเหล่านี้ก็กำลังเคลื่อนที่เหมือนกันดังนั้นไม่ว่าเราจะพยายามวัดความเร็วสัมบูรณ์ยังไงเราก็ไม่มีทางทำได้เพราะไม่ว่าจะวัดจากจุดใดก็มีตำแหน่งอ้างอิงอื่นๆอีกที่ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันความเร็วเป็นค่าสัมพัทธ์นั่นเอง

    ทีนี้ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างเคลื่อนไหวในลักษณะสัมพัทธ์ซึ่งกันและกันก็หมายความว่าตำแหน่งของสิ่งต่างๆย่อมเป็นค่าสัมพัทธ์ด้วยจักรวาลที่เราอยู่นั้นไม่มี“ศูนย์กลาง” ที่มีลักษณะพิเศษใดและถึงแม้ว่ามีการที่เราจะเรียกว่ามีอะไรอยู่“ข้างบน” “ข้างล่าง” “ข้างซ้าย” หรือ“ข้างขวา” ก็เป็นการทำตามอำเภอใจเราเองในอวกาศคำเหล่านี้ไม่มีความหมายตำแหน่งและทิศทางเป็นค่าสัมพัทธ์ดังนั้นถ้าเราจะวัดค่าเหล่านี้เราต้องเลือกตำแหน่งอ้างอิงก่อน

    เอาละตอนนี้เรื่องจะเริ่มซับซ้อนขึ้นเล็กน้อยลองคิดดูซักนิดว่าเราวัดเวลากันยังไง? เราวัดมันด้วยการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งและความเร็ว: เวลาที่ของตกสู่พื้น, เวลาที่แสงใช้ในการเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งฯลฯดังนั้นผลลัพธ์โดยตรงของความจริงที่ว่าตำแหน่งและทิศทางเป็นค่าสัมพัทธ์นั้นคือเวลาก็เป็นค่าสัมพัทธ์ด้วยไม่มี“เดี๋ยวนี้” ที่ใช้ได้กับทั้งจักรวาลในขณะเดียวกันการทดลองที่นิยมทำซํ้ากันมากวิธีหนึ่งคือ: เอานาฬิกาสองเรือนมาตั้งเวลาให้ตรงกันแล้วเอานาฬิกาเรือนหนึ่งใส่เครื่องบินที่ไปบินวนรอบโลกอีกเรือนหนึ่งอยู่กับที่เมื่อเอานาฬิกาสองเรือนนี้มาเทียบกันอีกทีเราจะเห็นว่านาฬิกาสองเรือนแสดงเวลาไม่เท่ากันถ้าเราปล่อยให้เวลาผ่านไปนานขึ้นและให้เครื่องบินบินเร็วขึ้นเราก็จะได้เห็นภาพเช่นเดียวกับนักบินอวกาศที่กลับมาจากการเดินทางไกลคือตัวเองแก่ลงไม่กี่ปีแต่เวลาบนโลกผ่านไปเป็นร้อยๆปีแม้เรื่องค่าสัมพัทธ์ของการเคลื่อนไหวจะเป็นสัจธรรมที่มนุษย์เข้าใจมาช้านานก็ตามอัลเบิร์ตไอน์สไตน์เป็นคนแรกที่ชี้ให้เห็นว่าแม้ความเร็วของแสงจะเป็นค่าสัมบูรณ์เวลาเป็นค่าสัมพัทธ์

    กฎสัมพัทธภาพชี้ว่าตำแหน่งอ้างอิงที่ต่างกันจะให้ผลการสังเกตที่ต่างกันกฎไม่ได้บอกว่าไม่มี“ความจริงที่เป็นภววิสัย” (objective truth) อะไรเลยเพียงแค่ชี้ให้เห็นว่าไม่มีจุดสังเกตใดๆที่ให้อภิสิทธิ์พิเศษกับคนมอง
     
    LazyLemon และ อาวุโสโอเค ถูกใจ.
  11. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    ความไม่แน่นอน
    แสงประกอบด้วยมวลสารขนาดจิ๋วที่แบ่งตัวไม่ได้อีกเรียกว่า“โฟตอน” เนื่องจากมวลสารที่แบ่งตัวไม่ได้แล้วของอนุภาคทุกประเภทมีชื่อเรียกรวมๆกันว่า“ควอนตัม” ดังนั้นโฟตอนเลยนับเป็นควอนตัมของแสงเหตุนี้เป็นที่มาของชื่อแขนงวิทยาศาสตร์ที่พยายามอธิบายปรากฏการณ์ในโลกของอะตอมคือกลศาสตร์ควอนตัม (quantum mechanics)
    เวอร์เนอร์ ไฮเซ็นเบิร์ก เป็นผู้พิสูจน์ว่า ถ้าเราสร้างเครื่องมือขึ้นมาเพื่อใช้วัดตำแหน่งของอิเล็คตรอนโดยละเอียด เครื่องจะไม่สามารถบอกความเร็วของอิเล็คตรอนนั้นด้วย ถ้าเราต้องการวัดความเร็วของอิเล็คตรอน โดยไม่ขยับตำแหน่งมันละก็ เราสามารถเปลี่ยนประเภทของแสงได้แต่แล้วเราก็จะไม่รู้ว่าอิเล็คตรอนเคลื่อนไปอยู่ตรงไหน ในโลกอนุภาค ไม่มีเครื่องมือใดๆ ที่จะบอกเราทั้งตำแหน่ง และความเร็วของอนุภาค ในขณะเดียวกันได้
    กฎความไม่แน่นอนของไฮเซ็นเบิร์กลงลึกในรายละเอียดกว่านี้เพราะชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่ไม่แน่นอนคือตำแหน่งและความเร็วของอนุภาคเองด้วยไม่ใช่แต่เฉพาะเครื่องมือเราไม่เที่ยงดังนั้นลักษณะหลายประการของอนุภาคจึงเป็นเพียงค่าความเป็นไปได้ต่างๆเกี่ยวกับการวัดไม่ใช่ค่าสัมบูรณ์ใดๆ
     
    LazyLemon และ อาวุโสโอเค ถูกใจ.
  12. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    กฎความไม่สมบูรณ์
    ภายใต้ทฤษฎีอะไรก็ตามที่สามารถใช้พิสูจน์ข้อเท็จจริงพิ้นฐานทางคณิตศาสตร์ได้และมีเหตุผลสมํ่าเสมอ (consistent logic) มันเป็นไปได้ที่จะสร้างประโยคในภาษาเลขที่เป็นความจริงแต่ไม่สามารถพิสูจน์ได้หรือปฏิเสธได้ภายในกรอบของทฤษฎีนั้นๆกฎของโกเดลไม่เพียงแต่อธิบายข้อขัดแย้งที่อ้างอิงตัวเอง (self-referential paradox) เท่านั้นแต่ลงลึกไปกว่านั้นโดยชี้ว่าเราไม่มีทางพิสูจน์ทฤษฎีที่สำคัญบางเรื่องได้
     
    LazyLemon และ อาวุโสโอเค ถูกใจ.
  13. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    การตัดสินไม่ได้
    อลันทูริ่งคือหนึ่งในบิดาของวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ กฎการตัดสินไม่ได้บอกว่าเป็นไปไม่ได้ที่เราจะเขียนโปรแกรมขึ้นมาเพื่อเช็คอีกโปรแกรมหนึ่ง(ที่เราไม่รู้ล่วงหน้าว่าคืออะไร) ว่ามันทำงานถูกหรือไม่
    ปัญหานี้เป็นข้อจำกัดที่สำคัญในการสร้างโปรแกรมยืนยันความถูกต้อง(verification programs) ทั้งหลายเพราะคอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่เคยมีคนลองสร้างให้ใช้ได้จริงๆและแตกต่างจากเครื่องทูริ่งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าไม่ต่างอะไรจากเครื่องทูริ่งเบื้องต้นทั้งในแง่สมรรถนะและข้อจำกัด
    มันเป็นไปไม่ได้ที่เราจะเขียน“ซุปเปอร์โปรแกรม” เพื่อเช็คโปรแกรมทั้งหมด
     
    LazyLemon และ อาวุโสโอเค ถูกใจ.
  14. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อจินไตย ๔ อย่างนี้ ไม่ควรคิด
    ผู้ที่คิดก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า

    อจินไตย ๔ คืออะไรบ้าง คือ
    พุทธวิสัยแห่งพระพุทธทั้งหลาย เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ๑
    ฌานวิสัยแห่งผู้ได้ฌาน เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ๑
    วิบากแห่งกรรม เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ๑
    โลกจินดา (ความคิดในเรื่องของโลก) เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ๑
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล อจินไตย ๔ ไม่ควรคิด
     
  15. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
    ใช่แล้ว ตาจักร ตามนั้นสำหรับความเป็นพุทธะ อจินไตย 4 เรายึดอยู่ในปัจจุบัน
     
  16. joonkung

    joonkung สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    23 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    108
    เห็นหัวข้อเรื่องความไม่แน่นอนก็ทำให้ผมนึกถึงกฏธรรมดาของชีวิตขึ้นมาได้ ว่าชีวิตนี้ไม่มีอะไรแน่นอนเลย ยกเว้นความตาย
    เรามาดูความไม่แน่นอนของชีวิต กันชีวิตเราเมื่อเกิดมาก็จะต้องเจอกับความไม่แน่นอนอยู่ตลอด มีเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาไม่คงตัว เพราะถ้าหากว่าแน่นอนแล้วก็จะเด็กแบบวันที่เกิดไม่มีเป็นหนุ่มเป็นสาวและแก่เฒ่า และหากว่าชีวิตและร่างกายของเราแน่นอนเราคงจะไม่ตายคนอื่นก็จะไม่ตาย แต่ในความเป็นจริงก็ตายกันทุกคนไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ยอมมีความตายเป็นที่สุดทั้งนั้น แม้นแต่องค์พระชินสีห์เองก็ ผู้เป็นเลิศและปราศจากแล้วซึ่งกิเลสและรู้แจ้งในทุกสิ่งด้วยอำนาจแห่งพระญาณ เองท่านก็ยังต้องดับขันธ์และ ปรินิพพาน
    ดั่งคำสอนของพระพุทธองค์ที่มีมากถึง 84000 พระธรรมขันธ์แต่ทุกเรื่องทรงสอนอยู่เพียงอย่างเดียวคือสอนให้ตัด ขันธ์5 นี้
    ขอยกคำสอนของพระพุทธองค์มาเพื่อเป็นข้อคิดกัน

    อนิจจา วต สังขารา อุปปาทวยธัมมิโน

    อุปปัชชิตวา นิรุชชันติ เตสัง วูปสโม สุโข"

    อนิจจา วต สังขารา-สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ......

    อุปปาทวยธัมมิโน-มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา.......

    อุปปัชชิตวา นิรุชฌันติ-บังเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป......

    เตสัง วูปสโม สุโข-การเข้าไประงับสังขารเหล่านั้นเสียได้ เป็นความสุข
    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  17. อาวุโสโอเค

    อาวุโสโอเค อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,527
    คนส่วนมากมักคิดว่า ใครเป็นนักบวชนั่งศึกษาปฏิบัติธรรมจะเป็นพวกล้าหลัง ไม่เจริญเฉกเช่นนักวิทยาศาตร์

    ที่ทดลองพยายามค้นพบนวัตกรรมให้แก่โลก คนส่วนมากมักจะทึกทักว่าสิ่งที่ตนเห็นตนสัมผัสเป็นความจริงแท้

    ผมนึกถึงบัว 4 เหล่า บางเรื่องต้องให้เวลาพิสูจน์ เช่นคนที่ยึดติดว่าตนเป็นหนุ่มสาว เมื่อนานเข้าเนื้อหนังหย่อนยาน

    ถึงสำนึก บางเรื่องต้องให้ความรู้ความแจ้งถึงจะเข้าใจ เช่นเด็กไม่เคยเล่นไฟเห็นเป็นแสงสว่างก็ดื้อดึงอยากจับต้อง

    เผลอไม่ได้ ต้องลองพอรู้ถึงโทษก็เลิกหลงไหลกับไฟ บางเรื่องต้องใช้กฏหมาย อำนาจ หรือความเหนือกว่าบังคับถึงจะเข้าใจ

    เช่นการเข้าแถว อำนาจกิเลสฝ่ายต่ำจะทำให้แย่งกันทำให้ยิ่งช้า สุดท้ายกลายเป็นทะเลาะเบาะแว้งเพราะความอยากสบาย

    แห่งตน หากคนเหล่านั้นสามารถรับรู้ถึงอานิสงค์ของการเป็นระเบียบแล้วจะค่อย ๆ ปรับพฤติกรรมตน
     
  18. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่

    วันนี้มาเยี่ยมถึงนี้ได้ เราวุ่นวายไปทั่ว
     
  19. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    ไม่ละทิ้งสมมุติทางโลก

    ภิกษุใดเป็นผู้ไกลจากกิเลส
    มีกิจทำเสร็จแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว
    เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด
    ภิกษุนั้นพึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง

    บุคคลทั้งหลายอื่นพูดกะเราดังนี้บ้าง
    ภิกษุนั้นฉลาด ทราบคำพูดในโลก
    พึงกล่าวตามสมมติที่พูดกัน.

    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรคเล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 135 อรหันตสูตร
     
  20. อาวุโสโอเค

    อาวุโสโอเค อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,527
    กราบนมัสการขอรับหลวงพ่อ วันนี้งานเบาหน่อยแต่ก็แค่ประเดี๋ยวประด๋าวขอรับ

    สนุกกับเรื่องสนทนาธรรมน่ะขอรับ หลายท่านในที่นี้มีแง่มุมที่น่าสนใจ ผมกำลังตรองอยู่ว่า

    เรื่อง ทฤษฎีสัมพัทธภาพกับพุทธศาสตร์จะต่อแบบไหนดี เพราะเรื่องนี้ละเอียดอ่อนและเข้าใจยาก

    ปัญหาไม่ได้อยู่เรื่องเนื้อหาทฤษฎีฝรั่ง แต่ปัญหาของผมคือการเกี่ยวเนื่องของพุทธศาสตร์ซึ่งบางครั้ง

    รู้สึกเหมือนตัวเอง ไม่เคยกินมะม่วงสุก ย่อมอธิบายไม่ได้ว่า ความหอมหวานแบบมะม่วงสุกเป็นอย่างไร
     
  21. อาวุโสโอเค

    อาวุโสโอเค อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,527
    สาธุ ชอบแล้วครับ
     
    LazyLemon, กีรเต้ และ แสงธูป ถูกใจ
  22. แสงธูป

    แสงธูป อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    29 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,849
    มีหลายข้อความของคุณจักรที่ผมยังไม่เข้าใจโดยเฉพาะ"กฎวิทยาศาสตร์สี่ข้อที่สำคัญที่สุด"(ด้วยข้อจำกัดทางปัญญาของตัวผมเอง)แต่หลายข้อความของหลายท่านก็สร้างประโยช์นทางความคิดความรู้ให้ผมได้มาก"ขอบคุณครับ"
    อยู่ใกล้วัดก็ได้ประโยช์นแบบนี้นี่เอง
     
  23. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    กฎวิทยาศาสตร์สี่ข้อที่สำคัญที่สุด
    สัมพัทธภาพ, ความไม่แน่นอน, ความไม่สมบูรณ์, และการตัดสินไม่ได้
    (Relativity, Uncertainty, Incompleteness, and Undecidability)

    เป็นเพราะความสามารถผมไม่พอ ที่จะอธิบายทฤษฎี ด้วยภาษาที่ง่าย
    ผมจะลองอธิบายอีกสักครั้ง เอาเฉพาะ หลักการ (ไม่ต้องสนใจรายละเอียดปลีกย่อย)

    สัมพัทธภาพ คือ ทุกอย่างเราต้องมีจุดที่ไว้อ้างอิง ซึ่งกันและกัน
    ความไม่แน่นอน คือ เราไม่สามารถรู้ตำแหน่งและความเร็วของวัตถุได้พร้อกันในเวลาเดียวกัน
    เช่น เรารู้ตำแหน่ง ก็จะทำให้เราวัดความเร็วคลาดเคลื่อน และในทางกลับกัน
    ความไม่สมบูณณ์ คือ เราไม่มีทางสามารถพิสูจน์ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ได้ว่า จริงหรือไม่ ได้ทุกทฤษฎี
    การตัดสินไม่ได้ คือ เราไม่มีทางสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถตรวจสอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั่วไปว่า
    ทำงานได้ถูกต้องหรือไม่

    ทั้งหมดนี้เป็น กฎทางวิทยาศาสตร์ ที่ นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำ ตั้งแต่ ไอสน์ไตน์ ไฮเซนเบิร์ก โกเดล และทูริ่ง
    ได้ทดลอง พิสูจน์ และ ประกาศเป็นกฎ จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ยังคงเป็นจริงอยู่
    รอวัน ที่จะมีนักวิทยาศาสตร์คนอื่น มาพิสูจน์ว่า ไม่จริง และหากวันนั้น มาถึง
    เราก็จะมีกฎทางวิทยาศาสตร์ใหม่ใหม่ อื่นอื่น เกิดขึ้นต่อไป และ รอวันที่
    จะมีใครอีก ที่จะมาพิสูจน์ความจริงว่า เป็นอย่างอื่น

    หรือจะพูดให้ง่ายเข้าก็คือ ทฤษฎีทางวิทยาศาตร์ คือ กฎทางวิทยาศาสตร์ที่ยังไม่มีใครมาหักล้าง
    ต่อเมื่อมีใครมาหักล้าง ได้ เราก็จะได้ทฤษฎีใหม่

    ดังนั้น วิทยาศาสตร์ จึงยังไม่ใช่ ความจริงขั้นสุดท้าย
    แต่ละทฤษฎี ก็เพียงแต่รอเวลาที่จะมีใครสักคนมาหักล้าง
    เหมือนที่สมัยหนึ่ง เราเชื่อว่า ดวงอาทิตย์โคจร รอบโลก และถูกหักล้างไป ….เป็นต้น
     
  24. หงส์เฒ่าเสาร์ธรรม

    หงส์เฒ่าเสาร์ธรรม อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    24 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,645
    ท่านกำลังจะบอกว่าความจริงทางวิทยาศาสตร์ ไม่เป็น อกาลิโก ใช่หรือไม่ครับ อิอิ
     
  25. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    ไม่ได้บอก
    ไม่เคยบอก
    และไม่กล้าบอก
    กฎสี่ข้อบอกตัวเองว่าเป็นอย่างนั้นครับ

    wor.JPG
     
  26. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
    มานั่งฟังเจ๋ยๆ เพราะไม่มีความคิดที่จะแสดง ด้วยไม่รู้ซึ้ง
    วันนี้แม่มะนาวมีคำถามอยากถามผู้รู้ว่า ความดี เป็นอนัตตา หรือเปล่าคะ
     
  27. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    ผมเองก็ไม่รู้ครับ เพราะไม่ได้ตรัสรู้
    เป็น สาวก ของ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
    จึงขอนำ สิ่งที่พระองค์ท่านได้แสดงไว้มาบอกต่อครับ
     
  28. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    อนัตตา เป็นแกนหลักในศาสนาพุทธ ที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน
    มีเพียงศาสนาพุทธ ที่สอนเรือง อนัตตา
    อนัตตาคืออะไร
    ชื่อว่า เป็น อนัตตา เพราะเหตุ ๔ เหล่านั้น คือ
    โดยความเป็นของสูญ ๑
    โดยความไม่มีเจ้าของ ๑
    โดยเป็นสิ่งที่ควรทำตามชอบใจไม่ได้ ๑
    โดยปฏิเสธต่ออัตตา ๑.
    โดยความเป็นของสูญ คือ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่ใช่ว่าไม่มีอะไรเลย
    สูญไปเลย แต่มีสภาพธรรม เพียงแต่สูญ คือ ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตนในสภาพธรรมนั้น
    เป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่ สัตว์ บุคคลสิ่งของ
    โดยความไม่มีเจ้าของ คือ ไม่มีใครเป็นเจ้าของสภาพธรรม ที่คิดว่าเป็นเจ้าของ
    ทรัพย์สมบัติ ทรัพย์สมบัตินั้นก็ไม่รู้ว่าว่ามีคนเป็นเจ้าของเพราะเป็นแต่เพียงรูป และ
    ทรัพย์สมบัติก็เสื่อมสลายไป ไม่ใมีใครที่เป็นเจ้าของได้จริงๆ ผู้ที่เป็นเจ้าของ ก็ต้อง
    จากไป ไม่มีใครเป็นเจ้าของจริงๆ เป็นแต่เพียงธรรมที่เป็นอนัตตา
    โดยเป็นสิ่งที่ทำตามชอบใจไม่ได้ คือ ไม่สามารถให้ จิต เจตสิก รูปและสภาพ
    ธรรมเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น ตามใจชอบได้ และไม่ให้ดับไปก็ไม่ได้ จะให้ยั่งยืน
    อยู่ตลอดเวลาก็ไม่ใด้เช่นกัน
    โดยปฏิเสธต่ออัตตา คือ คือ ปฏิเสธว่าไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตนอยู่ในสภาพธรรม
     
  29. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    "เมื่อไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน “ แล้วที่นั่งอ่านเม้นท์นี้อยู่คืออะไร?
    คือ จิต เจตสิก รูปและนิพพาน
    เพราะมี จิต เจตสิก รูปและนิพพาน จึงมีพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าได้
    ธรรมไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร เกิดขึ้น เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย
    ไม่มีใครสามารถบังคับบัญชาได้

    กำลังอ่านข้อความนี้อยู่ใช่ไหมครับ ขณะนี้เองคืออนัตตา
    เป็นสภาพที่บังคับให้เป็นไปตามใจไม่ได้ เกิดขึ้นพราะเหตุปัจจัย

    หากขาดปัจจัยหนึ่งปัจจัยใดไป ก็อ่านข้อความนี้ไม่ได้

    ตัวอย่างปัจจัย(ส่วนหนึ่งในปัจจัยอันนับไม่ถ้วน)
    กำลังอ่านเม้นท์นี้อยู่ ที่อ่านได้เป็นเพราะ
    - ตาไม่บอด
    - มีความจำ รู้ความหมายของอักษร คำ และประโยคภาษาไทย มาแล้ว
    - มีสีปรากฎ (เป็นตัวอักษร)
    - ร่างกายมีอาหารซึ่งให้กำลังอยู่ (มิฉะนั้นจะไม่มีแรง หรือเสียชีวิต)
    - กล้ามเนื้อทั้งหลาย ทำงานปกติดี และไม่เป็นอัมพาต
    - อุณหภูมิรอบตัวขณะนี้ไม่สูงหรือต่ำจนเป็นอันตราย
    - มีสภาพแข็ง ที่โต๊ะ เก้าอี้ พื้นห้อง หรือพื้นดิน ที่ทำให้ทรงร่างกายไว้ได้
    - ฯลฯ
    จะเห็นได้ว่า ทุกขณะในชีวิตของเรา ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง
    หากปัจจัยหนึ่งอย่างหรือหลายอย่างเปลี่ยนไป กิจกรรมทีต้องอาศัยปัจจัย
    นั้นก็ย่อมแปรปรวน หรือเปลี่ยนแปลงไป ในทางที่ดีบ้าง ร้ายบ้าง
    ขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านั้นจะเกื้อกูลหรือขัดขวาง

    ไม่สามารถที่จะไปกะเกณฑ์ให้อะไรอะไรเป็นไปตามที่เราต้องการ

    ธรรมะทั้งปวง จึงเป็นเป็นอนัตตา
     
  30. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    เมื่อใด
    บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า
    ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
    เมื่อนั้น
    ย่อมหน่ายในทุกข์
    ความหน่ายในทุกข์
    นั่นเป็น
    ทางแห่งความหมดจด.
     
  31. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    กว่าจะตอบได้ว่า ความดีเป็นอนัตตา หรือไม่
    ซัดไปหลายเม้นท์อยู่

    เป็นเพราะ ศาสนาพุทธ เป็นเรื่องที่ต้องใช้หลักเหตุและผล
    มีที่มาที่ไป แสดงให้รู้ ไม่ใช่ นึกเอง เดาเอง แล้วเข้าใจเองว่าคืออะไร

    หากทำอย่างนั้นได้เอง ก็เรียกว่า ตรัสรู้แล้วครับ

    สาวกแปลว่า ผู้ฟัง
    แล้วเราจะฟังใคร ได้
    นอกจาก พระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ชอบแต่เพียงผู้เดียว...
     
  32. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
    ที่แม่มะนาวถามมา เพราะได้ยินตลอดว่าทุกสิ่งล้วนเป็นอนัตตา เลยคิดว่าความดีเป็นอนัตตาหรือเปล่า มานั่งอ่านเมนท์คุณจักร
    สองอันสุดท้าย แม่มะนาวมานั่งนึกดู ความดีก็คงไม่ใช่อนัตตา เพราะเมื่อทำสิ่งๆนั้นๆจบไป ก็ถือว่าหมด ถึงจะยังคงมีผลแห่งความดี มันก็เป็นเพียงผล ของการทำความดี คงจะเป็นงั้นมังคะ
     
  33. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    ความดีเป็นนามธรรม

    เนื่องจาก จิต เจตสิก รูป นิพพาน เป็นอนัตตา
    ความดี จึงเป็นอนัตตา ด้วยเหตุนี้ครับ
     
  34. แสงธูป

    แสงธูป อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    29 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,849
    "นมัสการครับหลวงพี่"
    สวัสดียามสายเพื่อนๆพี่ๆทุกท่าน

     
    อาวุโสโอเค และ LazyLemon ถูกใจ.
  35. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
    ไม่ว่าความดีจะเป็นอย่างไร ก็คงเดินหน้าทำต่อไป พระท่านบอกว่าอย่าไปคิดว่าทำดีแล้วไม่ได้ดี จริงแล้วมันดีตั้งแต่ตอนทำแหละ
    เพราะทำให้จิตใจเราสบาย ถึงจะไม่ถาวรก็ไม่เป็นไร ก็จำคำพูดท่านไม่ได้เป๊ะหรอก
    แค่ทำดีไปด้วยใจสะอาดก็พอแล้ว อันนี้แม่มะนาวพูด อิอิ

    หมายหูด : คุณแสงธูปอย่าลืมทำความสะอาดกุฏิ ให้พร้อมเสมอ เพราะหลงพี่ ชอบแว๊บๆมา บอกเวลาไม่ได้
     
  36. หงส์เฒ่าเสาร์ธรรม

    หงส์เฒ่าเสาร์ธรรม อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    24 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,645
    การเห็นชอบต่อความดี เป็นเจตสิก ใช่ไหมครับ?

    ทำไมบางคนเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นความดี บางคนเห็นว่าสิ่งนั้นไม่ใช่ความดี บางคนเห็นว่าเป็นทั้งความดี และความไม่ดี และ บางคนเห็นสิ่งเดียวกันนั้นไม่ใช่ทั้ง ความดีและความไม่ดี
    บางเวลา สิ่งที่เราทำไปตอนนี้ เห็นชอบว่าเป็นความดี แต่เมื่อเวลาผ่านไป ทำในสิ่งเดียวกัน กลับมองว่า ไม่ใช่ความดี
     
    แสงธูป และ LazyLemon ถูกใจ.
  37. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
    เจอคำว่าเจตสิก ของคุณหงส์เฒ่าฯ เล่นเอาแม่มะนาวต้องไปเปิดดิคฯ บอกว่า "อารมณ์รู้"
    ส่วนตัว แม่มะนาวคิดว่า การจะมองว่าสิ่งนั้นดี หรือสิ่งนั้นไม่ดี ถ้าดูความเห็นของแต่ละบุคคล เชื่อแน่ว่าอาจมีที่มอง
    เห็นต่างกัน แต่บางทีเราคนเดียวคงตัดสินไม่ได้ เพราะขึ้นอยู่กับพื้นฐานของศีลธรรมในใจคน คงต้องดูในภาพใหญ่ ในสังคม
    เพราะมีกฏเกณฑ์กำหนดอยู่ ความดีหรือไม่ดี น่าจะอยู่ที่เจตนาของตัวคนทำเอง ว่าทำไปเพื่อประสงค์ดีต่อบุคคลที่ได้รับผล
    จากการกระทำนั้น และดูที่ว่าเราหวังผลว่าเราจะได้อะไรตอบแทนจากการกระทำนั้น อย่างลูกไม่สบาย เราบังคับให้ลูกทานยา
    ลูกก็อาจมองแม่ว่าใจร้ายจัง ให้กินยาขมๆ แต่เราทำด้วยเจตนาดีเพื่อให้ลูกหายป่วย และเราก็ได้รับความสุขเมื่อเห็นลูกเรา
    แข็งแรงสบายดี
    และที่คุณหงส์เฒ่าฯ บอกว่า สิ่งที่เราทำขณะนี้ เห็นชอบว่าดี แต่เวลาผ่านไปสิ่งเดียวกัน กลับมองว่าไม่ดี
    แม่มะนาวว่ามันขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเราที่จะทำสิ่งใดในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งผ่านการพิจารณาอย่างรอบคอบ
    ด้วยสติ ปัญญา ในขณะนั้น และเห็นว่าดี สมควรทำ เมื่อเวลาผ่านไป กลับมองไม่ดี แม่มะนาวว่ามันขึ้นกับสถานการณ์
    เงื่อนไข และสภาพแวดล้อมใหม่ ที่ไม่ใช่อย่างเดิม การตัดสินใจที่ได้ทำลงไปผลลัพธ์อาจไม่เหมือนกัน แต่ไม่มีใครรู้อนาคตนี่คะ
    เมื่อคิดว่าตัดสินใจอย่างรอบคอบ และน่าจะถูกต้องที่สุด ทำลงไปเลย
    ตัวเองเคยผ่านสถานการณ์แบบนี้ เคยเจอ ผู้ชายคนนึง เดินสวนทางกับแม่มะนาวไปตอนเช้าตรู่ เขาบอกว่า เขาไม่มีเงินเลย
    ขอเงินสักยี่สิบบาทเป็นค่ารถกลับบ้าน ก็เลยควักเงินให้เขาไป 40 บาท มันจะดี หรือไม่ดี ก็ไม่ทราบ แต่ตอนที่จะให้
    แค่คิดว่าถ้าเขาพูดจริง เงินแค่ 40 บาท อาจพาเขากลับบ้านได้ อาจทำให้เขาไม่คิดสั้น ที่จะกระชากกระเป๋าใคร
    หรือไปปล้นใคร ให้ไปเลย เพราะตอนหลังลูกแม่มะนาวเองแหละ ออกจากบ้านไปเรียนโดยลืมขอเงินแม่ ถึงป้ายรถไม่มีเงิน
    หันซ้ายหันขวา เห็นร้านที่ไปเช่าการ์ตูนบ่อยๆ เดินเข้าไปบอกเขาว่าผมขอยืมเงิน 100 บาท แลกกับบัตรประชาชน ตอนเย็นแม่มา ผมจะเอามาคืน เจ้าของร้านก็ใจดี ให่มา 100 ตามที่ขอ แต่ไม่ได้เอาบัตรไว้หรอก บอกว่าผมเชื่อใจ ตอนเย็นแม่กลับจากทำงาน รีบวิ่งเอาไปคืนนให้เขา
    ไม่ทราบนะคะ ว่าสิ่งที่แม่มะนาวเขียนมา จะตรงกับคำตอบที่คุณหงส์เฒ่าฯ ต้องการหรือเปล่า แม่มะนาวไม่เก่ง
    เรื่องศาสนา ถ้าจะให้อธิบายตามนั้น คงต้องรอหลวงพี่ หรือผู้มีความรู้ท่านอื่นมาอธิบาย ก็แค่เขียนมาจากความคิดที่อยู่
    ข้างในตัวเรา แม่มะนาวว่า คนเราถ้าเราจะทำอะไรสักอย่าง แล้วถามตัวเองว่า ควรหรือไม่ควรทำ ใจเราเองแหละ
    รู้ดีที่สุด แต่บางทีก็เลือกที่ทำไปอย่างผิดเพราะมันแค่ตรงจริตของเขาก็เท่านั้นเอง
     
  38. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    ผมเห็นด้วยเหมือน พี่หงส์ นะครับว่า เป็นเจตสิก

    ส่วนเรื่องความดีที่ยกตัวอย่างมา ผมว่า เป็นเพราะอนัตตา ครับ ขึ้นกับเหตุปัจจัยที่เปลี่ยนไปทำให้ผลออกมาต่างกันไป
    ที่สำคัญคือ ตราบใดที่ยังไม่บรรลุโสดาบัน คติปุถุชน ยังไม่แน่นอนและยังลังเลสงสัยในพระธรรมคำสอน

    เป็นเรื่องธรรมดาครับ
     
  39. แสงธูป

    แสงธูป อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    29 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,849
    "เข้ามายามดึก เพื่อนำเสนอชีวิตสาวดอย"
    "เทพธิดาดอย"

    พี่มะนาวครับผมเข้ามาดูกุฏิหลวงพี่ทุกวัน รับรองความพร้อมครับ
     
    LazyLemon likes this.
  40. joonkung

    joonkung สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    23 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    108
    พระโสดาบันไม่ได้มีอะไรต่างจากชาวบ้านเลยครับ หลวงพ่อฤาษีเลยเทศไว้ว่าพระโสดาบันคือชาวบ้านชั้นดีเฉยๆ
    เพราะพระโสดาบันยังมีกิเลสครบ ยังมีรัก โลภ โกรธ หลง ครบถ้วนแต่พระโสดาบันจะไม่กระทำผิดศีล 5 เลยดังคำกล่าวที่ว่า"ขอตัวตายดีกว่าศีลขาด" เรามาดูว่าการเป็นพระโสดาบันได้ต้องมีอะไรบ้างนะครับ พระพุทธองค์ทรงบอกไว้ว่าพระโสดาบันสามารถตัดสังโยชน์ ได้ 3 ข้อแรกนั้นก็คือ

    1. สักกายทิฏฐิ ไม่ยึดติดในกายคิดว่าจะต้องตาย (ข้อนี้ตัดได้เพียงเบาๆยังไม่เด็ดขาด แค่รู้สึกว่าเราจะต้องตายและไม่ประมาท)
    2. วิจิกิจฉา ไม่สงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้าและเคารพ ใน พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์จริง
    3. สีลัพพตปรามา สำคัญที่สุดคือข้อนี้พระโสดาบันจะต้องมีศีลบริสุทธิ์ จะไม่ยอมทำผิดศีลเป็นอันขาด

    แต่เรื่องคติแน่นอน(ทางไปที่แน่นอน)พระพุทธเจ้าทรงรับรองไว้ว่าหากเป็นพระโสดาบันแล้ว บาปเก่าจะไม่สามารถให้ผลได้ นั้นก็หมายถึง หากเป็นพระโสดาบันแล้วจะไม่ไป อบายภูมิทั้ง 4 (ได้แก่ นรก เปรต อสูรกาย และสัตว์เดรฉา ) แน่นอน
    หากเป็นพระโสดาบันแล้วจะเกิดอีก 7 ชาติ สลับกันระหว่า เทวดา กับ มนุษย์(ชั้นดี) พอชาติที่ 7 จะเกิดเป็นคนและบรรลุอรหันตผล และเข้านิพพานในชาตินั้น

    ส่วนความคิดผมเรื่องความดีนั้น ไม่เป็นอนัตตาครับ เพราะหากเรายังวนเวี่ยนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารนี้เราย่อมมีกรรมเป็นเครื่องกำหนด ว่าจะเป็นอย่างไร เกิดที่ไหน มีความสุขหรือทุกข์อย่างไรก็ล้วนด้วยกรรมเป็นเครื่องกำหนดโดย กรรมนั้นมีทั้ง กศุลกรรม และอกุศลกรรม หากเราตายและพ้นจากชาตินี้ไปเราลองมองกันว่าส่งใดจะหลงเหลือติดตามเราได้บ้าง เห็นก็จะมี อทิสมานกาย คือกายของเราจริงๆไม่ใช้ ตัวเรื่อนร่างที่เราอาศัยอยู่แต่เป็นจิตของเรา และกรรม เท่านั้น ดั่งอานิสงฆ์ของศีลที่พระได้บอกไว้คือ

    สีเลนะ สุคะติง ยันติ = ศีลเป็นเหตุให้ถึงสุคติ(คือที่ๆเป็นสุข คือสวรรค์และพรหมเป็นที่ไป)

    สีเลนะ โภคะสัมปะทา = ศีลเป็นเหตุให้ถึงพร้อมด้วยโภคะทรัพย์

    สิเลนะ นิพพุติง ยันติ = ศีลเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน

    ตัสมา สีลัง วิโสทะเย = เพราะเหตุนั้นพึงชำระศีลให้หมดจด

    บาปที่เราได้ทำไว้ตั้งแต่ต้นเราไม่สามารถลบล้างได้แต่เราสามารถหนีได้โดยทำความดีหรือที่เราเรียกว่าบุญไว้ให้เยอะกว่าบาปที่มี และกันการตกนรกโดยการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ตาม เพศ (ปุถุชน สามเณร พระ)เท่านี้เราก็จะได้มีวันตกนรกแน่นอน

    เจริญในธรรมครับ

     
  41. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    พระโสดาบันเป็นใคร?
    พระโสดาบันเป็นเมื่อไร?
    พระโสดาบันรู้อะไร ประจักษ์อะไร ถึง ต่างจากปุถุชน?

    อยากเป็นพระโสดาบัน เพราะชอบชื่อ ฟังดูแล้วเป็นคนดี

    ถึงอยากจะเป็นก็เป็นไม่ได้ เพราะไม่ใช่เรื่องของความอยาก
    เป็นเรื่องของปัญญา แม้แต่การเกิดเป็นมนุษย์นั้นก็ยากแล้ว
    การบรรลุโสดาบัน เป็นสิ่งที่ยากแสนยากยิ่งไปกว่านั้น

    พระโสดาบัน คือใคร?
    เป็นพระอริยบุคคลขั้นที่ ๑ดับกิเลสได้เพียงบางส่วน
    ดับความเห็นผิดทุกประการ ดับความลังเลสงสัยในสภาพธรรม
    ดับความตระหนี ดับความริษยา เป็นผู้มีศีล ๕ บริสุทธิ์
    ดับกิเลสอย่างหยาบได้หมดแล้วที่จะเป็นเหตุให้ไปเกิดในอบายภูมิ
    เป็นผู้แน่นอนที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระอริยบุคคลขั้นสูง ๆ ขึ้นไปเป็นพระสกทาคามี
    พระอนาคามี จนกระทั่งเป็นพระอรหันต์

    พระโสดาบันจะเกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติ และบรรลุเป็นอรหันต์ในที่สุด
    ส่วน กามราคะ คือ โลภะเจตสิกที่ติดข้อง ในรูป รส กลิ่นเสียง สัมผัส
    จะต้องถึงความเป็นพระอนาคามี จึงจะละได้ แม้พระสกทาคามี ท่านก็ยังมีกามราคะอยู่
    ผู้ที่จะดับกิเลสได้อย่างหมดสิ้น ไม่มีเหลือนั้น คือ พระอรหันต์

    พระโสดาบัน ท่านก็ยังฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมและ เจริญสติปัฏฐาน
    ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ จนบรรลุธรรมขั้นต่างๆ
    ขณะที่พระโสดาบันรับรู้ รูป รส กลิ่นเสียง สัมผัส
    ท่านจะไม่ยึดถือว่า เป็นสัตว์ บุคคล เพราะท่านเข้าใจว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา
    แต่สามารถเกิดความติดข้อง ชอบได้ แต่ไม่ได้มีความเห็นผิด
    ถ้าดับกิเลสได้อย่างหมดสิ้น ถึงความเป็นพระอรหันต์แล้ว ไม่มี
    กิเลสใด ๆ เกิดขึ้นอีกเลย ไม่ว่าจะประสบกับอารมณ์ใด ๆ ก็ตาม

    ปุถุชน ไม่สามารถรู้ปัญญาของพระโสดาบัน
    ต้องเป็นพระโสดาบันด้วยกันจึงจะรู้ได้
    พระโสดาบันก็ไม่สามารถรู้ปัญญาของพระสกทาคามี
    พระสกทาคามีไม่สามารถรู้ปัญญาของพระอนาคามี
    พระอนาคามีไม่สามารถรู้ปัญญาของพระอรหันต์
    ต้องมีคุณธรรม และ ปัญญาเสมอกัน จึงจะรู้ได้

    ประโยชน์ของการแสดงความเห็น แลกเปลี่ยนความเห็น
    ส่วนหนึ่ง คือ ให้เข้าใจยิ่งขึ้น เป็นผู้ละเอียดขึ้นในความเข้าใจธรรม

    ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
     
  42. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
    เข้ามาแล้วต้องอ่านให้ละเอียด ทำใจให้เป็นกลาง ไม่โน้มเอียงไปตามทางที่ตัวเองได้ประสบพบเห็นมา
    ทำกายให้สบาย ปล่อยอารมณ์ ให้ว่าง ไม่ติดในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส พิจารณาไปตามอารมณ์ เห็นก็แค่เห็น ได้ยินก็แค่ได้ยิน หอมหรือเหม็นก็รู้ว่าเป็นแค่กลิ่นเท่านั้น รสชาดที่ติดอยู่กับลิ้น ก็รับรู้เพียงแค่รสชาด ร้อน หนาว หรือมีอาการทางกายก็แค่เป็นอาการที่เข้ามาสัมผัส เท่านั้นแหละ "เบา สบาย"
     
    Last edited: 22 Jan 2015
  43. แสงธูป

    แสงธูป อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    29 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,849
    "นมัสการครับหลวงพี่"
    "หลายข้อความของเพื่อนสมาชิกเปรียบเสมือนกำปั่นใส่ของล้ำค่า แต่ปัญญาของผมยังไม่สามารถเปิดกำปั่นนี้ได้ จนได้อ่านข้อความของหลวงพี่ ทำให้ผมเกิดปัญญาพอที่จะค่อยๆเปิดกำปั่นออกดู"
    ขอฝากบทเพลงไว้ฟังในยามดึก
     
  44. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
    มาโพสต์ให้ตามบัญชาเจ้าค่ะ

    [​IMG]

    cr : เพจนี้สำหรับคุณ
    นำมาเสนอ : Bonne Maison
    แอบเอามา : แม่มะนาว
     
    Last edited: 22 Jan 2015
    กีรเต้ และ แสงธูป ถูกใจ.
  45. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
    10422906_925020330843282_827363930638562644_n.png

    cr : Krungsri First Choice
    นำมาเสนอ : Bonne Maison
    แอบเอามา : แม่มะนาว
     
    กีรเต้ และ แสงธูป ถูกใจ.
  46. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
    10945005_925020534176595_7312185882926764424_n.png
    cr : Krungsri First Choice
    นำมาเสนอ : Bonne Maison
    แอบเอามา : แม่มะนาว
     
    กีรเต้ และ แสงธูป ถูกใจ.
  47. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
    10906381_331829323694692_1971720782574129307_n.jpg

    cr : กฏแห่งกรรม
    นำมาเสนอ : Bonne Maison
    แอบเอามา : แม่มะนาว
     
    แสงธูป likes this.
  48. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
    10420380_332438143633810_1814197251080904392_n.jpg

    cr : กฏแห่งกรรม
    นำมาเสนอ : Bonne Maison
    แอบเอามา : แม่มะนาว
     
    แสงธูป likes this.
  49. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
    อันนี้ถ้าเอาไปโพสในบ้านพัก เป็นเรื่องแน่ เอิ้กๆๆๆ
     
    LazyLemon likes this.
  50. dek-harte

    dek-harte อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    296
    นมัสการครับ หลวงพ่อ
    ขออนุญาตแสดงความเห็น เรื่องวิทยาศาสตร์ กับศาสนา(ขอจำกัดตัวเองเฉพาะศาสนาพุทธครับ) ประเด็นเดียวนะครับ
    สองเรื่องนี้ ไม่เกี่ยวกัน ไม่คล้ายกัน ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเดียวกันหรือคล้ายกัน ไม่ได้มีวิธีปฏิบัติไปในทางเดียวกัน
    หรือพูดสั้นๆว่า ไม่สัมพันธ์กันในแง่มุมใดๆเลย แต่มีคนเขียนหนังสือโยงมันเข้าหากัน อาจจะเพราะคำพูดของนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่ง เอ่ยถึงศาสนาพุทธเท่านั้น
    การที่บทสวดในพุทธศาสนา มีกล่าวไว้ว่า วิญญูชนพึง(พิสูจน์)รู้ได้ด้วยตนเองนั้น ก็เป็นการกล่าวความจริงเท่านั้น
    ไม่ได้ต้องการให้ใครมาพิสูจน์ หรือเชิญชวน หรืออวดอ้างท้าทาย เป็นแต่การประกาศความจริงออกไป

    วิทยาศาสตร์มุ่งอธิบายโลก ธรรมะมุ่งให้พ้นไปจากโลก
    วิทยาศาสตร์มีโลกเป็นขอบเขตจำกัดในการทดลอง ธรรมะมีจิตเป็นขอบเขตในการศึกษา
    วิทยาศาสตร์อาศัยการคาดการณ์ การประมาณการณ์ เพื่อหาคำตอบที่พ้นไปจากขอบเขตของ เวลาและสถานที่ (โลก)
    ธรรมะอาศัยการปล่อยวาง การไม่ยึดถือ การมีสติและสมาธิอันสมบูรณ์ในการพ้นไปจากขอบเขตของปุถุชน

    ในเมื่อเรื่องทั้งสอง ไม่เกี่ยวกัน ไม่สัมพันธ์กัน ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน
    การวิพากษ์เรื่องทั้งสองพร้อมกันนั้น ย่อมทำไปเพื่อปัญญาทางโลก ย่อมเป็นไปเพื่อความบันเทิงทางสติปัญญา
    ของผู้ที่มีความสนุกที่จะใช้ปัญญาของเขา หรือพูดง่ายๆ ก็คือศาสนาเป็นของน่าสนุกสำหรับนักวิทยาศาสตร์

    แต่การวิพากษ์เรื่องวิทยาศาตร์นั้น จะขาดแรงส่งที่จะอธิบายธรรมะขั้นสูง(ทางพุทธศาสนา) ทั้งหมด
    เพราะวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะลึกซึ้งซับซ้อน มีทฤษฎีที่แหวกแนวแปลกแตกต่างอย่างไรก็ตามก็ล้วนแล้วแต่คิดและสร้างสรรค์ขึ้นจาก
    ขันธ์ 5 ทั้งสิ้น นักวิทยาศาสตร์เหล่านั้นล้วนแล้วแต่ เป็นบุคคลเราเขาที่ยังติดในกรอปของ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และจิตก็ยังเป็นปุถุชนอยู่
    การมุ่งอธิบาย โลก ปรากฎการณ์ธรรมชาติ จักรวาล ฯลฯ ล้วนแล้วแต่อยู่ในมุมมองปุถุชนเท่านั้น ยากที่ผู้สนใจศึกษาพุทธศาสนาจะได้ใช้ประโยชน์ในการยกจิตของตัวเอง

    สำหรับผู้สนใจศึกษาพุทธศาสนาแล้ว (ตัวผมมีความเชื่อว่า)
    กระบวนการศึกษาหาคำตอบทางวิทยาศาสตร์นั้นไม่ได้ช่วยให้จิตโน้มเอียง หรือลาดเทสู่การพัฒนาทางจิตของตัวเองเลย
    เทียบไม่ได้ กับการศึกษาสังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เพราะการได้เรียนรู้ ได้เห็นความไม่เป็นธรรมทางสังคม การสงคราม การล้มของระบอบทรราชย์ การสร้างชาติ การสิ้นชาติ ฯลฯ
    เหล่านี้ล้วนเป็นบันทึก ที่สะท้อนความ "เป็นมนุษย์ปุถุชน" และทำให้เกิดความสลดสังเวชในความเป็นปุถุชน ได้ดียิ่ง จะมีวิชาไหนอธิบายความไม่เที่ยงได้ดีเท่าประวัติศาสตร์อีกเล่า เราเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เห็นการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปนับแสนนับล้านครั้ง เพียงพอหรือไม่ที่เราจะแค่มีโยนิโสมนสิการ หรือน้อมเรื่องนี้เข้าสู่จิตตน แล้วเราจะเข้าใจหรือเห็นภาพของคำว่า "ไม่เที่ยง"

    แค่ความเห็นหนึ่งเท่านั้นครับ บังเอิญอ่านกระทู้หลายๆท่านแล้ว รู้สึกดีมากๆ
    จึงอยากแสดงความเห็นเอาไว้ให้เผื่อคิดนิดหน่อยครับ บางท่านที่มั่นคงในธรรมะอยู่แล้ว ย่อมแยกแยะ เข้าใจและรู้เรื่องนี้ดีอยู่แล้ว
    ผมแย้งเผื่อสำหรับอาจจะมีบางท่านไม่แน่ใจในกรอปความคิดของตัวเอง อาจจะเผลอนำเรื่องนอกเข้ามาผสมยุ่งกับเรื่องในจะงงไปกันใหญ่ จึงขออนุญาตแสดงความเห็นตรงนี้ ถ้าทำให้เสียอรรถรสในการคุยไปบ้างต้องขออภัยล่วงหน้านะครับ
    ขอบคุณครับ
     

Share This Page