กุฏิไม้ไผ่

กระทู้ใน 'ห้องนั่งเล่น' โดย กีรเต้, 9 ต.ค. 2014

  1. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  2. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  3. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  4. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
  5. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
    เก็บไว้อ่านตอนสติแตก อิอิ
    "แรกฝึกสติก็เห็นแต่กิเลสหยาบๆ ฝึกมากเข้าๆก็จะเห็นกิเลสที่ละเอียด" สติก็เหมือนกัน ยิ่งเราขยันภาวนานะ สติก็ยิ่งเร็วขึ้นๆ
    หัดใหม่ๆเรารู้แต่ของหยาบ ต้องโกรธแรงๆถึงจะรู้ว่าโกรธ ต้องโลภแรงๆถึงจะรู้ว่าโลภ บางทีโกรธแรงยังไม่รู้เลย นี่สติไม่เกิดเลย
    หัดใหม่ๆก็รู้ของหยาบ พอฝึกมากเข้าๆนะ ของละเอียดก็เริ่มเห็นมากขึ้น แต่เดิมจะเห็นเมื่อโกรธแรงๆถึงจะเห็น ต่อมานะ แค่เดิน
    ออกไปนอกห้องอย่างนี้ แสงแดดกระทบเปลือกตา เกิดความขัดใจ เกิดปฏิฆะแล้ว ขัดใจแล้ว แค่แดดกระทบตานิดเดียวไม่พอใจแล้ว หรือนั่งอยู่ในห้องน้าวหนาวนะ ใครก็ไม่รู้เปิดหน้าต่างแล้วลมหนาวเยือกเข้ามานะ ไม่พอใจ แต่ถ้าเป็นหน้าร้อนลมพัดเข้ามานะ
    ราคะก็เกิด แค่นิดเดียวแค่นี้นะ แสงแดด สายลมและแสงแดดนี่แหละ พาให้กิเลสเกิดเพียบเลย รักสายลมและแสงแดดระวัง
    ให้ดีนะ จะเวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จักจบจักสิ้น รักสายลมและแสงแดด รักธรรมชาติและเสียงเพลง รักความยุติธรรม โอ้..เหลวไหล
    ลมพัดมาก็มีกิเลสมาด้วย แดดมากระทบก็มีกิเลสมาด้วย ไม่ราคะก็โทสะ เห็นมั้ย เล็กๆ เนี่ยค่อยฝึกนะ แม้แต่กิเลสเล็กๆก็
    มองเห็น หรือฝึกแต่เดิม เซลฟ์จัด ไม่เห็นเลย พอฝึกมากเข้าๆนะ แค่ทิ้งขยะก็ยังเห็นเลย ประกอบ เบื้องหลังของการโยนขยะ
    ไปทิ้งเนี่ย มี Self อยู่ด้วย มีกูเก่ง กูแน่โว้ย กูหนึ่ง นี่แหละกู ซ่อนอยู่ มันละเอียดๆขึ้นนะ เนี่ยหัดภาวนานะ ทีแรกสติก็เกิดช้า
    เกิดน้อย รู้สภาวะได้เฉพาะของหยาบ ต่อไปสติเร็วขึ้นๆนะ สภาวะละเอียดๆก็รู้ก็เห็น กิเลสชั้นละเอียดนี้ละเอียด
    ละเอียดมากนะ กิเลสชั้นสูงๆน่ะ หน้าตาเหมือนกุศลเลย ยิ่งสังโยชน์เบื้องสูง ๕ ตัว หน้าตาเหมือนกุศลเลย

    หลวงพี่เทศนาแบบ ธรรมะDelivery ให้แม่มะนาวฟัง
     
    แสงธูป likes this.
  6. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
    "ไหว้พระ"..อย่าขอใน 10 อย่างนี้..

    1.ไม่ขอ...ให้ไร้โรคภัย
    : ไม่มีทางเป็นไปได้ กายสังขารประกอบด้วยธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ อีกทั้ง หนี้บาปเวรกรรม จะให้ไร้โรคภัยเป็นไปไม่ได้
    หากอาบน้ำมนต์ และสะเดาะเคราะห์ช่วยให้หายจากโรคภัย แล้วใยโรงพยาบาลจึงเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด

    2. ไม่ขอ...ให้การงานราบรื่น
    : เป็นไปไม่ได้ ความคิดของคนเราไม่เหมือนกัน มากคนมากความ เราคิดอย่าง คนอื่นคิดอย่าง หากเป็นผู้ปฏิบัติธรรม
    ยิ่งจะต้องเข้าใจว่า ไม่เจอ... "ปัญหา"... "ปัญญา..." จึงไม่บังเกิด”

    3. ไม่ขอให้ใจสงบ
    : ใจอยู่กับเรา จะขอพระให้สงบได้อย่างไร? อยากให้ใจสงบต้องรู้"ปล่อยวาง" ด้วยตนเอง

    4. ไม่ขอให้ตนเองได้ผลประโยชน์เพียงฝ่ายเดียว
    : คนเราเกิดมาตามบุญทำกรรมแต่ง หากทุกคนขออย่างนี้แล้วพระก็ให้ มิใช่ว่าพระก็เลือกที่รักมักที่ชังดอกหรือ?
    เบื้องบนทรงยุติธรรม ขอเพียงลงแรงลงใจทำ ผลเป็นอย่างไรจงน้อมยอมรับ

    5. ไม่ขอให้ไร้มารผจญ
    : ผู้บำเพ็ญปฏิบัติ หากปราศจากมารทดสอบแล้ว จะสำเร็จ"พุทธะ" ได้อย่างไร?
    ดังคำกล่าวที่ว่า “มารไม่มี บารมีไม่เกิด” เจอมารผจญครั้งหนึ่งก็เป็นการสร้างบารมีขั้นหนึ่ง

    6. ไม่ขอให้ทุกสิ่งสมหวังดั่งใจ
    : คนบำเพ็ญ หากทำการใดก็ราบรื่นสมหวังดั่งใจ จะกลายเป็นอุปสรรคของ "การบำเพ็ญ" สมหวัง หรือ ผิดหวังทุกสิ่งอย่าง
    มีเหตุต้นผลตาม

    7. ไม่ขอชื่อเสียงลาภยศ
    : พระพุทธะพระโพธิสัตว์ล้วนละทิ้งชื่อเสียงลาภยศ ในเมื่อพระองค์เองยังไม่ทรงปรารถนา แล้วจะประทานสิ่งเหล่านี้
    ให้เราได้อย่างไร? คนที่ขอแล้วได้นั่น เป็นเพราะบุญเก่า แต่ชื่อเสียงลาภยศ ทำให้ผู้บำเพ็ญดี กับ ดีแตกก็มากมาย

    8. ไม่ขอให้ใครทดแทนคุณ
    : ทำบุญแล้วหวังผลเป็นทางแห่งมิจฉา ทำบุญทำทานเพื่อทำนุบำรุงศาสนา เพื่อขจัดความตระหนี่ในจิตใจให้หมดไป
    เพื่อลบล้างหนี้บาปเวรกรรม

    9. ไม่ขอให้เจอแต่ความยุติธรรม
    : พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “กัมมุนา วัตตติ โลโก สัตว์โลกทั้งหลายต้องเป็นไปตามกรรม” ถูกคนอื่นเอาเปรียบ ถูกคนอื่น
    ใส่ร้าย ถูกคนอื่นรังแกฯ ก็เพราะเราเป็นคนทำกับเขาไว้ในอดีตชาติ ชาตินี้จึงต้องชดใช้คืนให้เขา

    เจอความอยุติธรรมครั้งหนึ่ง ก็ชำระกันไปครั้งหนึ่ง เมื่อเผชิญกับความอยุติธรรม อย่าได้ปรักปรำโทษกล่าวหรือ
    แช่งชักหักกระดูกฝ่ายตรงข้าม มิเช่นนั้น ก็จะผูกกันต่อไป ให้อโหสิกรรมต่อกัน กรรมส่วนนี้ย่อมคลายได้เอง

    10. ไม่ขอให้ถูกหวยรวยแชร์
    : หากขอแล้วพระท่านให้ โลกนี้คงมีแต่คนร่ำรวย......

    หากจะขอ จงขอให้ตน และผู้คนมีสติปัญญาในการแยกแยะถูกผิดดีชั่ว ขอให้มีความเมตตาต่อตนเอง
    และสรรพชีวิตอย่าได้เบียดเบียนต่อกันเลย ขอให้มีความหาญกล้าในการทำความดีเอาชนะจิตใจใฝ่ต่ำ ที่จะก่อกรรมชั่ว
    ให้ตนและผู้คนเดือดร้อน เช่นนี้จะดีกว่า


    ผู้เอื้อเฟื้อ : หลวงพี่พสิษฐ์ สุจิณฺโณ
     
    Last edited: 26 พ.ย. 2015
    แสงธูป likes this.
  7. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  8. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  9. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  10. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  11. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  12. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  13. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
    อ่านให้จบน๊า
     
    แสงธูป likes this.
  14. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  15. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  16. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931

    ผู้เอื้อเฟื้อ : Bonne Maison
     
    แสงธูป likes this.
  17. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  18. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  19. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  20. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931

    ผู้เอื้อเฟื้อ : Bonne Maison
     
    แสงธูป likes this.
  21. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  22. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  23. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  24. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  25. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  26. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  27. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  28. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  29. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
    กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10
    หมายถึง วิธีปฏิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร —
    How to deal with doubtful matters; advice on how to investigate a doctrine, as
    contained in the Kalamasutta)

    1. มา อนุสฺสเวน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา
    Be not led by report
    2. มา ปรมฺปราย - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา
    Be not led by tradition
    3. มา อิติกิราย - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
    Be not led by hearsay
    4. มา ปิฎกสมฺปทาเนน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
    Be not led by the authority of texts
    5. มา ตกฺกเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก
    Be not led by mere logic
    6. มา นยเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน
    Be not led by inference
    7. มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
    Be not led by considering appearances
    8. มา ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
    Be not led by the agreement with a considered and approved theory
    9. มา ภพฺพรูปตาย - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
    Be not led by seeming possibilities
    10. มา สมโณ โน ครูติ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา
    Be not led by the idea, ‘This is our teacher’

    ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น

    สูตรนี้ ในบาลีเรียกว่า เกสปุตติยสูตร ที่ชื่อกาลามสูตร เพราะทรงแสดงแก่ชนเผ่ากาลามะ แห่งวรรณะกษัตริย์ ที่ชื่อเกสปุตติยสูตร เพราะพวกกาลามะนั้นเป็นชาวเกสปุตตนิคม

    ที่มา
    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
     
    แสงธูป likes this.
  30. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
    ความรู้เรื่องธงกฐิน
    ธงกฐิน เป็นสัญญาลักษณ์ ในเทศกาลงานทอดกฐิน เมื่อวัดใดได้รับกฐินแล้ว จะมีธง ‪#‎จระเข้คาบดอกบัว‬ แขวนเคียงคู่กับ
    #‎ธงรูปนางเงือก‬
    ในท่าพนมมือถือ ดอกบัว ในทางพระพุทธศาสนายังไม่มีหลักฐาน ที่มาที่ไปของธงนี้ นักปราชญ์ได้
    เปรียบเทียบ และได้ให้ความหมายของ ธงสัญญาลักษณ์ ดังนี้
    Buddhist2.jpg
    "ธงจระเข้คาบดอกบัว" ความหมาย ความโลภ โดยปกติแล้ว จระเข้เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ บางช่วงจะขึ้นมา นอนอ้าปาก
    บนบกให้แมลงวันบินเข้ามาตอม อยู่ในปาก เมื่อแมลงวัน เข้าไปรวมกันหลายตัว จึงได้งับปากกินแมลงวัน เป็นอาหาร
    เปรียบถึงเราที่มีความโลภ มีความรู้สึกสำนึกชั่วดี ความถูกต้อง มีแต่จะเอาให้ได้ท่าเดียว โดยมีคำนึงว่า ที่ได้มานั้น
    สกปรกแปดเปื้อน ด้วยความไม่ดีไม่งาม หรืออกุศลหรือไม่ และไม่ใส่ใจว่า ผู้อื่นจะได้รับผลกระทบ จากการกระทำ
    ของตน จึงเปรียบธงรูปจระเข้ เหมือนกับความโลภ ที่ทำให้คนกอบโกย ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่ จะมีช่องทางหรือโอกาส
    ใช้ประดับในการแห่ มีตำนานว่าเศรษฐีเกิด เป็นจระเข้ว่ายน้ำ ตามขบวนกฐินจนขาดใจตาย

    ธงจระเข้ ... มีตำนาน อย่างน้อย 3 เรื่อง
    เรื่องที่ 1. สมัยโบราณการเดินทาง ต้องอาศัยดวงดาว เช่น การยกทัพเคลื่อนขบวน ในตอนจวนจะสว่าง จะต้องอาศัย
    ดาวจระเข้ เพราะจะขึ้นในเวลานั้น การทอดกฐิน มีภาระมากบางครั้ง ต้องไปทอด ณ วัดซึ่งอยู่ไกลบ้าน การดูเวลา
    จึงต้องอาศัยดวงดาว เมื่อดาวจระเข้ขึ้น จะเคลื่อนองค์กฐินไปสว่าง เอาที่วัดพอดี มีผู้คิดทำธงในงานกฐิน ในชั้นต้นคงทำ
    ทิวธงประดับประดาให้สวยงาม ทั้งที่องค์กฐินและบริเวณวัด ภายหลังคงหวังจะให้เป็นเครื่องหมาย เนื่องด้วยการกฐิน
    จึงคิดทำธงรูปจระเข้ เสมือนประกาศให้รู้ว่าทอดกฐินแล้ว

    เรื่องที่ 2. นิทานโบราณ ในการแห่กฐินทางเรือ ของอุบาสกผู้หนึ่ง มีจระเข้ตัวหนึ่ง อยากได้บุญจึงว่ายน้ำ ตามเรือไปด้วย
    แต่ยังไม่ทันถึงวัด ก็หมดแรงว่ายต่อไปไม่ไหว จึงร้องบอกอุบาสกว่า เหนื่อยนักแล้ว ไม่สามารถจะว่ายตามไปร่วมกองกุศลได้
    ขอท่านเมตตาช่วยเขียน รูปข้าพเจ้าเพื่อเป็นสักขีพยานว่า ได้ไปร่วมการกุศลด้วยเถิด อุบาสกผู้นั้น จึงเขียนรูปจระเข้
    ยกเป็นธงขึ้นในวัด เป็นปฐมและสืบเนื่องมาจนบัดนี้

    เรื่องที่ 3 กล่าวถึงเศรษฐีขี้เหนียว ตอนที่มีชีวิตอยู่หาแต่เงิน เก็บเงิน ใส่ไห ใส่ตุ่มไปฝั่งไว้ที่ริมฝั่งน้ำไม่ทำบุญให้ทาน ไม่ตักบาตร
    ไม่ถวายสร้างกฏิ วิหาร โบสถ์ สะพาน ไม่ช่วยทำทางเข้าวัด เมื่อตายไป ด้วยความห่วงสมบัติจึงไปเกิดเป็นจระเข้ เฝ้าสมบัติ
    อยู่แถวนั้น ไม่นาน มาเข้าฝันญาติ ให้มาขุดเอาเงินไปทำบุญให้ จะทอดกฐินหรือผ้าป่าก็ได้ ญาติจึงนำเงิน ไปทอดกฐิน
    สมัยก่อนจะแห่กฐินทางเรือ จระเข้ตัวนั้นจึงว่ายตามเรือ ตามกองกฐินไป เมื่อทอดกฐินเสร็จ ญาติก็อุทิศส่วนกุศลให้
    จระเข้ได้โผล่หัวขึ้นมา พอพระอนุโมธนาให้พรจบ จระเข้ตัวนั้นก็มุดน้ำหายไป
    mermaid.jpg
    "ธงกฐินรูปกินรี หรือนางมัจฉาถือดอกบัว" หมายถึง ความหลงหรือโมหะ กินรี ท่อนล่างเป็นปลา ท่อนบนเป็นคน คำว่า
    “ กินรี ” แปลว่า “ คนอะไร ” หรือคนผู้สงสัย หรือผู้ที่ค้นพบ เห็นก็เกิดความสงสัย คือคนที่ไม่เป็นตัวของตัวเอง ทั้งทาง
    ด้านความคิด การกระทำหรือพฤติกรรม เปรียบกินนรีหรือกินรีเสมือนโมหะ คือ ความหลงหรือผู้หลง ความลังเลสงสัย


    ทุกวันนี้ ธงรูปจระเข้คาบดอกบัว จึงเป็นสัญญาลักษณ์ ในการทอดกฐิน หรือธงตะขาบ มีตำนานคล้ายคลึงกัน ต่างกันเพียงแต่
    เมื่อตายไปก็เกิดเป็นตะขาบคอยเฝ้า สมบัติเช่นกัน ส่วนตำนานหรือนิทานพื้นบ้าน ที่เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับ ธงกฐินรูป
    นางมัจฉายังไม่มีปรากฏ นอกจากธงกฐินรูปจระเข้และนางมัจฉาแล้ว บางแห่งอาจใช้ธงเป็นรูปเต่า ตะขาบ หรือ แมงป่อง

    กรมศาสนา อธิบาย ธงกฐิน ว่าเป็นการเป็นเครื่องหมาย แสดงให้รู้ว่าวัดนี้ได้รับผ้ากฐินแล้วมี 4 แบบแฝงด้วยความรู้
    เกี่ยวกับธรรมะ
    1.ธงจระเข้ หมายถึง ความโลภ ใช้ประดับในการแห่ มีตำนานว่าเศรษฐีเกิดเป็นจระเข้ว่ายน้ำ ตามขบวนกฐินจนขาดใจตาย
    2.ธงนางมัจฉา หมายถึง ความหลง ใช้ประดับงานพิธีถวายผ้ากฐิน เป็นตัวแทนหญิงสาว ตามความเชื่อว่า อานิสงส์จากการ
    ถวายผ้า แก่ภิกษุสงฆ์จะมีรูปงาม
    3.ธงตะขาบ หมายถึงความโกรธ ใช้ประดับเพื่อแจ้งว่า วัดนี้มีคนมาจองกฐินแล้ว ให้ผู้จะมาปวารณาทอดกฐิน ผ่านไปวัดอื่นเลย
    ไม่ต้องเสียเวลามาถาม
    Buddhist4.jpg
    4.ธงเต่า หมายถึง สติ ใช้ประดับเพื่อแจ้งว่า วัดนี้ทอดกฐินเรียบร้อยแล้ว จะปลดลง ในวันเพ็ญเดือน 12
    10269111_4.jpg
     
    แสงธูป likes this.
  31. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  32. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  33. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  34. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  35. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  36. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  37. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  38. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  39. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  40. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  41. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
    หลักธรรมคำสอน วัตถุมงคล อยู่ที่ตรงไหนในพระพุทธศาสนา
    พระพุทธศาสนาสอนอะไรบ้าง
    สรุปอย่างย่อ 19 ข้อ

    1. พระพุทธศาสนาสอนให้รู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจ 4 อันเป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา หลักธรรมข้อปฏิบัติทุกๆ ข้อ
    ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์สงเคราะห์รวมลงได้ในอริยสัจ 4 ได้แก่
    (1) ปัญหาเรื่องทุกข์
    (2) เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
    (3) การดับทุกข์
    (4) ทางที่จะดำเนินเพื่อดับทุกข์ คือ สอนให้ดับทุกข์โดยรู้ชัดว่า อะไรเป็นทุกข์ อะไรเป็นต้นเหตุ และการดับความทุกข์
    ได้แก่ดับเหตุของทุกข์ รวมทั้งให้รู้จักข้อปฏิบัติที่จะให้ถึงความดับทุกข์ด้วย
    อริยสัจ 4 นี้ เมื่อกล่าวโดยย่อแล้ว พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องความทุกข์กับวิธีดับทุกข์ของมนุษย์เท่านี้น ไม่มีอื่นจากนี้

    2. พระพุทธศาสนาสอนเรื่องกฎแห่งกรรม คือ การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หว่านพืชเช่นใดย่อมได้ผลเช่นนั้น กรรมบางชนิด
    ให้ผลเร็ว คือให้ผลในปัจจุบันทันตาเห็น กรรมบางชนิดให้ผลช้า คือให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป กรรมทุกชนิดที่บุคคลกระทำ
    ลงไปทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ ถ้ากรรมนั้นยังไม่ให้ผลจะไม่มีวันพินาศเป็นอันขาด ต้องให้ผลเสมอไป
    ตามแต่โอกาสนอกจากบุคคลนั้นจะได้ปฏิบัติตามแนวอริยมรรคจนหมดตัณหาและอุปาทานโดยสิ้นเชิง กรรมต่าง ๆ
    ที่ได้กระทำมาแล้วก็จะหยุดให้ผลในชาติต่อไปเป็นอโหสิกรรม เพราะท่านไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก และ
    การกระทำของพระอริยบุคคลเมื่อยังดำรงอัตภาพอยู่ก็เป็นเพียงกิริยาเพราะไม่มีเจตนาอันประกอบด้วยกิเลสเป็นมูลฐาน
    ไม่เป็นกรรม

    3. พระพุทธศาสนาสอนเรื่องสังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิดว่า สัตว์โลกทุกรูปทุกนามเคยเกิดตายมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน
    มิสามารถจะคำนวณได้ว่า เคยเกิดตายมาแล้วกี่ชาติ ที่สุดเบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งการเวียนว่ายตายเกิดของเหล่าสัตว์
    ผู้ที่ยังวนเวียนอยู่ในกระแสของตัณหากำหนดไม่ได้ และจากกฎสังสารวัฏนี้ การที่บุคคลจะไม่เคยเกิดมาเป็นพ่อเป็นแม่
    เป็นพี่เป็นน้องเป็นญาติสนิทมิตรสหาย หาได้ยาก ทุกคนต่างก็เคยเกิดมาเป็นพ่อเป็นแม่ เป็นพี่เป็นน้อง เป็นญาติ เป็นมิตร
    และเป็นอะไร ๆ ต่อกันและกันแล้วทั้งนั้น ในสังสารวัฏนี้ โอกาสที่จะเกิดเป็นมนุษย์เป็นไปได้ยาก การเกิดเป็นมนุษย์
    เป็นโอกาสดีที่สุดที่บุคคลจะพัฒนาตนเองให้เจริญก้าวหน้าจนถึงที่สุด
     
    Last edited: 17 พ.ย. 2015
    แสงธูป likes this.
  42. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
    พระพุทธศาสนาสอนอะไรบ้าง (ต่อ)
    4. พระพุทธศาสนาไม่ให้เชื่ออะไรอย่างงมงายไร้เหตุผล ให้ใช้ปัญญากำกับความเชื่ออยู่เสมอพระพุทธศาสนาสอนว่า
    ปัญญาเป็นเครื่องส่องทางแห่งชีวิตที่นับเป็นแสงสว่างในโลก และได้สอนต่อไปว่า ปัญญานั้นทำให้เกิดได้ ไม่ใช่ปัญญา
    ตามบุญตามกรรม การทำให้เกิดปัญญาคือการศึกษาสดับตรับฟัง การคิดสอบสวนค้นคว้า และการลงมือปฏิบัติอบรม
    ให้เกิดปัญญา นอกจากนั้น ยังสอนให้รู้จักพิสูจน์ความจริงด้วยการทดลองปฏิบัติและพิจารณาอย่างถี่ถ้วน

    5. พระพุทธศาสนาสอนว่า การอยู่ในอำนาจของผู้อื่นเป็นทุกข์ ฉะนั้น จึงสอนให้เป็นอิสระภาพทั้งภายนอกและภายใน
    อิสระภาพภายในได้แก่การไม่เป็นทาสของกิเลส หรือถ้ายังละกิเลสไม่ได้ก็อย่าปล่อยให้กิเลสบังคับมากเกินไป

    6. พระพุทธศาสนาสอนว่าทุกคนมีความเสมอภาคกัน ในการที่จะทำความดีแสวงหาคุณธรรมเพื่อตน และทุกคนมีสิทธิ์
    เท่าเทียมกันในการรับผลของการกระทำตามกฎแห่งกรรม ชาติสกุลยศฐาบรรดาศักดิ์ หรือสิ่งอื่นใด ไม่เป็นอุปสรรคต่อ
    การที่บุคคลจะประพฤติธรรมเพื่อบรรลุนิพพาน

    7. พระพุทธศาสนาสอนหลักธรรมเพื่อพัฒนาตัวเองในการเป็นผู้นำ โดยกำหนดลักษณะของผู้นำไว้ว่า จะต้องพัฒนา
    คุณธรรมให้เกิดมีขึ้นในตัวเองเสียก่อน เมื่อตัวเองมีคุณธรรมเพียบพร้อมแล้ว การที่จะเป็นผู้นำบุคคลอื่นก็ไม่เป็นสิ่งที่ยาก
    และจะทำให้ผู้ตามได้รับความสุขไปด้วยคุณธรรมที่ผู้นำจะต้องปลูกฝังให้เกิดมีขึ้นในตัว มีธรรมะอยู่หลายหมวด เป็นต้นว่า
    ทศพิธราชธรรม 10 จักรวรรดิวัตร 12 อปริหานิยธรรม 7 สังคหวัตถุ 4 อคติ 4 พรหมวิหารธรรม 4 ฯลฯ
     
    Last edited: 17 พ.ย. 2015
    แสงธูป likes this.
  43. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
    พระพุทธศาสนาสอนอะไรบ้าง (ต่อ)
    8. พระพุทธศาสนาสอนให้ถือธรรมะ คือความถูกต้องตรงกับความจริงเป็นใหญ่ ไม่ให้ถือตน หรือถือโลกเป็นใหญ่
    กล่าวอีกนัยหนึ่ง ไม่สอนให้ถือบุคคลหรือสิ่งอื่นเป็นสำคัญ แต่ให้ถือธรรมะความถูกความตรงเป็นสำคัญ

    9. พระพุทธศาสนายอมรับว่า บุคคลทุกคนมีโอกาสที่จะประพฤติชั่ว หรือทำความผิดพลาดได้โดยง่าย ซึ่งอาจจะเป็น
    เพราะสิ่งแวดล้อมภายนอก หรือเพราะความประมาทของตนเองก็ได้ และเชื่อว่าเมื่อบุคคลกระทำอะไรผิดพลาดลงไป
    ก็สามารถที่จะกลับตัวเปลี่ยนใจเสียใหม่ ประพฤติดีประพฤติชอบในทางที่ถูกที่ควรต่อไปได้ ไม่ควรปล่อยตัวปล่อยใจ
    ทำให้ผิดพลาดชั่วช้ายิ่งขึ้นนอกจากนี้ยังสอนมิให้ซ้ำเติมคนที่ทำอะไรผิดพลาด แต่สอนให้ช่วยกันให้กำลังใจในการกลับตัว
    ของเขา ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยาม

    10. พระพุทธศาสนาสอนให้บุคคลพยายามช่วยตัวเอง ไม่มัวคิดแต่จะพึ่งผู้อื่น หรือ คิดแต่จะพึ่งสิ่งภายนอก ไม่สอน
    ให้เป็นนักฝันหรือนักสร้างวิมานบนอากาศ หรืออ้อนวอนบวงสรวงให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาลอำนวยสิ่งที่ตนปรารถนา
    แต่สอนให้ประกอบเหตุ คือลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลที่มุ่งหมายรู้แจ้งผลดีด้วยตนเอง ไม่ใช่คิดได้ดีอย่างลอย ๆ
    โดยพึ่งโชคชะตา หรืออำนาจลึกลับใด ๆ

    11. พระพุทธศาสนาสอนธรรมะตั้งแต่ขั้นต่ำจนถึงขั้นสูง ธรรมะแต่ละประเภทสอนเพื่อให้เหมาะสมกับจริต
    อัธยาศัยและความสามารถของแต่ละบุคคล เหมือนแพทย์ให้ยาตามความเหมาะสมของคนไข้แต่ละประเภท
     
    Last edited: 17 พ.ย. 2015
    แสงธูป likes this.
  44. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
    พระพุทธศาสนาสอนอะไรบ้าง (ต่อ)
    12. พระพุทธศาสนาสอนให้มีความขยันหมั่นเพียรไม่เกียจคร้าน โดยเฉพาะผู้ครองเรือน การก่อร่างสร้างตัวจะต้องมี
    ความขยันหมั่นเพียรเป็นข้อแรก ให้มีความอดทนต่อสู้กับความยากลำบากและอุปสรรคทั้งหลาย ไม่เป็นคนอ่อนแอ
    และถือว่าความอดทนจะนำประโยชน์ และความสุขมาให้

    13. พระพุทธศาสนาสอนให้บุคคลมีความเจริญก้าวหน้าอยู่เสมอ เช่น สอนให้เคารพในการศึกษา ให้มีการสดับ
    ตรับฟังมาก ให้คบหาผู้รู้หรือคนดี และสนใจฟังคำแนะนำของท่าน โดยเฉพาะไม่สรรเสริญความหยุดอยู่ในคุณความดี
    สรรเสริญแต่ความเจริญก้าวหน้า

    14. พระพุทธศาสนาสอนทางสายกลาง ให้รู้จักโอนอ่อนผ่อนตามไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป ให้รู้จักปรับปรุงตัวให้เข้ากับ
    บุคคล สถานที่ และสิ่งแวดล้อมตามความเหมาะสม

    15. พระพุทธศาสนาสอนเน้นในเรื่องความเป็นผู้กตัญญูรู้คุณผู้อื่น และกตเวทีตอบแทนท่าน พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า
    ใครมีคุณธรรมข้อนี้ให้ชื่อว่าเป็นคนดีและประพฤติสิ่งเป็นสวัสดิมงคล

    16. พระพุทธศาสนาสอนให้เสียสละเป็นชั้น ๆ ให้สละความสุขเล็กน้อยเพื่อความสุขอันสมบูรณ์ เช่น สอนให้สละทรัพย์
    เพื่อรักษาอวัยวะ ให้สละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต และให้สละชีวิตเพื่อรักษาธรรม เป็นการสอนให้ยกจิตให้สูงขึ้น
    พระพุทธศาสนาสอนให้ยอมเสียน้อย เพื่อไม่เสียมาก ฉะนั้น เมื่อมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นอันจะต้องเสียสละบ้าง
    ก็ควรพิจารณา ถ้ายอมเสียน้อยได้ก็จะเป็นการตัดต้นเหตุที่จะให้เสียมาก
     
    แสงธูป likes this.
  45. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
    พระพุทธศาสนาสอนอะไรบ้าง (จบ)
    17. พระพุทธศาสนาสอนไม่ให้บุคคลเห็นแก่ตัว ให้กำจัดความตระหนี่เหนียวแน่นเสีย ให้เห็นประโยชน์ส่วนรวม
    มากกว่าส่วนตัว พระพุทธเจ้าถึงกับตรัสว่า ผู้ที่ทำบุญกับพระองค์เองได้อานิสงส์ไม่เท่าหนึ่งในร้อยที่ทำกับคณะสงฆ์
    เพราะว่าการทำบุญกับพระองค์เป็นการได้เฉพาะตัวบุคคล ซึ่งในไม่ช้าก็ต้องแตกดับไป แต่ถ้าทำกับคณะสงฆ์ผู้สืบต่อ
    พระธรรมวินัยให้อยู่คู่ไปกับโลกก็จะก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่า เป็นการสอนให้เล็งเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า
    ส่วนพระองค์เอง หลักธรรมข้อนี้แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า หลักการทำบุญทำทานในพระพุทธศาสนานั้น สนับสนุน
    ให้จัดทำในรูปตั้งเป็นองค์การหรือมูลนิธิมากกว่าที่จะให้ทานกับบุคคลเป็นการส่วนตัว เพราะการให้เป็นการส่วนตัว
    บุคคลได้ประโยชน์เฉพาะตัวผู้รับเพียงคนเดียวหรือแก่บุคคลส่วนน้อย แต่ถ้าบริจาคโดยจัดตั้งเป็นมูลนิธิก็จะสามารถ
    ทำประโยชน์ได้กว้างขวางมากกว่าและถูกระเบียบดีกว่า จึงมีอานิสงส์มาก ถ้าจะกล่าวอย่างสรุป การทำบุญทำทาน
    ในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าสอนให้เล็งประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ

    18. พระพุทธศาสนาสอนให้เอาชนะความชั่วด้วยความดี ให้ระงับเวรด้วยการไม่จองเวร ให้ระงับความโกรธด้วยไม่โกรธ
    และในขณะเดียวกันก็ให้พยายามทำตนอย่าให้มีเรื่องทะเลาะวิวาทกับผู้อื่น ให้รู้จักผูกไมตรีสงเคราะห์ช่วยเหลือซึ่งกัน
    และกัน ทำนองถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน

    19. พระพุทธศาสนาสอนให้มีเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น ให้เอาใจเขามาใส่ใจเรา ให้รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
    ผู้ใดที่ดูหมิ่นเหยียดหยามผู้อื่น หรือยกตนข่มท่านด้วย ชาติสกุล ด้วยทรัพย์ ด้วยความรู้ หรือด้วยเหตุอื่นใดก็ตาม
    พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลจำพวกนี้ไม่มีอะไรนอกจากความไม่เห็นอริยสัจ โง่หลงต่อความจริงของธรรมชาติ

    คัดลอกจากหลักพระพุทธศาสนา กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ปี 2500
     
    แสงธูป likes this.
  46. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  47. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  48. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
  49. LazyLemon

    LazyLemon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,931
    ขอตัดมาเป็นบางตอนนะคะ อยากอ่านเต็มไปที่
    http://www.schooloflifethailand.org/author.html
    จากรูปนี้สงสัยค่ะ
    12246825_1237527326274141_6444204076853342376_n.jpg

    อาจารย์อัจฉราวดี วงศ์สกล (Acharawadee Wongsakon)

    พบกับเตโชวิปัสสนา
    อาจารย์ได้ถือตนเป็นศิษย์ของพระอาจารย์สมเด็จพุฒาจารย์โต โดยได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามหลักสติปัฏฐานสี่
    คือการจุดธาตุไฟในกายมาเผากิเลส ซึ่งด้วยอุบายการภาวนาที่ใช้ธาตุไฟจากในกายมาชำระจิตให้บริสุทธิ์ เพื่อให้เกิดความ
    ก้าวหน้าในมรรค มุ่งทำลายด่านทุกข์ทุกด่านให้แตกจนถึงขั้นขุดรากถอนโคนอาสวกิเลสเครื่องดองสันดานเป็น
    อาสวักขยญาณอันเป็นด่านสุดท้ายเพื่อการจบสิ้นการเวียนว่ายในสังสารวัฏ ท่านจึงเรียกวิธีการปฏิบัตินี้ว่า “เตโชวิปัสสนา”

    เตโชวิปัสสนา
    คือธรรมของคนจริง ที่เพียรภาวนาเพื่อดับตัณหา ดับความทะยานอยาก เราฝึกจิตให้เข้าถึงความจริง
    อันกระจ่าง ว่ากันเนื้อๆ ซัดกันจะๆ ลุยกันซึ่งๆ หน้า ไม่มีหลบไม่มีเลี่ยง ไม่มีกดทับความทุกข์ มีแต่เผชิญกับทุกอย่าง
    ที่กายและใจประสบอยู่ ด้วยใจที่วางเฉยเป็นอุเบกขาตามหลักสติปัฏฐานสี่ เพียรจุดธาตุไฟในกายมาเผาเหตุแห่งทุกข์
    คือตัณหา โดยมุ่งตรงไปที่สังขารที่เป็นเครื่องสะสมทุกข์

    จัดตั้งเตโชวิปัสสนาสถาน จ.สระบุรี เป็นวิปัสสนาจารย์พาเหล่าศิษย์ก้าวสู่ทางลัดตัดตรงสู่นิพพาน

    ด้วยการภาวนาอย่างจริงจัง จนเมื่อสมควรแก่เวลา อาจารย์อัจฉราวดี จึงได้สละทรัพย์ส่วนตนสร้างธรรมสถาน
    เพื่อเป็นดินแดนแห่งอริยทรัพย์ เป็นสถานที่ถ่ายทอดวิชา จนได้มีศิษย์ผู้ร่วมเดินทางสายเดียวกัน ได้ประจักษ์อานุภาพ
    ของเตโชวิปัสสนา ทุกคนล้วนได้เข้าถึงธรรมอันกระจ่างตามลำดับขั้น
    นักภาวนาทุกคนล้วนเป็นผู้ที่มีหัวใจหนักแน่น ล้วนเป็นผู้แสวงหาทางหลุดพ้นด้วยใจที่แน่วแน่ และเด็ดเดี่ยว ทำให้
    ปัจจุบันมีผู้สนใจเข้าปฏิบัติมากมาย ดินแดนแห่งนี้จึงเป็นดินแดนแห่งการเรียนรู้วิธีออกจากวัฏฏสงสารนี้
     
    แสงธูป และ กีรเต้ ถูกใจ.
  50. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่

    เอิ้กๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ มีทางบายพาสด้วย มาอีกแนวนึง 555555
    ภิกษุ ทำความเคารพ ปุถุชนได้ด้วยหรือ เว้นแต่ผู้นั้นจะสำเร็จขั้น อรหันต์ แต่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า ปุถุชน ถ้าปฏิบัติความเพียรจนสำเร็จได้ขั้นอรหันต์แล้ว จะสิ้นกาลภายในเวลาไม่ช้า นี่ มาตั้งโรงเรียนสอนด้วย เฮ้อ
     
    LazyLemon และ แสงธูป ถูกใจ.

Share This Page