นมัสการครับ .... เคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ให้พึงระลึกถึงความตายอยู่ทุกลมหายใจ ... หวนคิดไป คิดมา .. อืม .. เนอะ .. สุดท้ายของชีวิตที่ไม่มีใครหนีพ้น ... คิดถึงตัวเอง .. บางครั้งเราทำอะไรต่อมิอะไร วาดหวังฝันอะไรไว้ซะจนลืมคิดไปว่า .. เราก้อต้องตายเหมือนกันนี่นา ... ช่วงๆนี้มาเจอใครต่อใครที่ทำอะไรจนนึกไปได้ว่า .. ตัวเค้าลืมไปหรือเปล่า สุดท้ายก้อไม่พ้นกองขี้เถ้าอยู่ดี ... ไม่เหลืออะไรไว้ในโลก ... เหลือแต่ความคิดคำนึงของคนที่เหลืออยู่ .. นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ...
อ่านแล้วเจ้าค่ะ ถึงได้เอามาลง ต้องบอกว่าเอาไปตรึกตรองด้วย ต้องค่ำๆค่ะ เงียบดี เมื่อคืนไม่สบาย ตอนนี้ก็ยังไม่ ค่อนสบายอยู่
เมื่อ เช้า สุขใจมากมาย โยมที่รู้จัก ผ่านมา เห็นกำลังเดินบิณฑบาตอยู่ เมตตารับมาส่งดอย ไม่งั้นเดินกลับเกือบ 4 ก.ม. โยมเลยขอโอกาส ถามเรื่องธรรมะ คือ 1.สมาธิ เกี่ยวกับการจับลมหายใจ ว่าควรจับที่ช่องจมูกหรือไม่ เพราะเวลาโยมนั่งสมาธิ มีความรู้สึกว่า ตอนแรกหายใจยาวๆ ต่อมาก็หายใจสั้นลง จนแทบจับลมหายใจไม่ได้ จะเปลี่ยนไปจับอาการที่ช่องท้องได้ไหม ตอบไปว่า ให้ทดลองทำดู อันใดที่ถูกจริตทำให้จิตว่างนิ่งอยู่ ก็ให้ทำอย่างนั้น เป็นขั้นเริ่มต้นที่จะพิจารณา และแนะนำไปว่า หากมีสิ่งใดมากระทบผัสสะ(ความรู้สึก) ให้พิจารณาเพียงว่ารู้แล้ว และปล่อยไป 2. โยมถามเรื่องเวทนา คือการรับรู้ (มีผัสสะมากระทบ) รวมทั้งวิธีการข่ม แต่โยมถามไปในทางจักษุประสาทสัมผัสมากกว่า เช่นเดินไป เห็นผู้หญิงสวยงาม ก็นึกชอบใจ ถามว่าจะข่มอย่างไร ตอบไปว่า ให้พิจารณาอสุภะ เห็นเป็นร่างกายเนื้อหนังภายในที่ไม่สวยงามและตัดเสีย ถามเรื่องอารมณ์โกรธ ก็ตอบไปว่า แก้ง่ายๆ โดยการเจริญเมตตาพรหมวิหาร คิดว่าใครทำกรรมใดไว้ สิ่งที่จะได้รับก็คือกรรมของตน สนทนาอยู่สักครู่ โยมลากลับ เราก็ฉันภัตตาหารเช้า ป.ล. โยม เป็นอดีตนายทหารอากาศยศนาวาอากาศเอก ลาออกจาก ราชการ มาเป็นกัปตันแอร์เอเซีย และ ปัจจุบัน เออร์ลี่รีไทร์ พักผ่อนอย่างสงบกับครอบครัว (หมายเหตุ คัดลอกข้อความนี้ไปลงเฟซบุ๊คด้วยแล้ว)
ทำไมเรารู้ว่า ควรปล่อยวาง...แต่ยังคิดมาก ทำไมเรารู้ว่า ควรนิ่ง ควรฟัง...แต่ยังพูด ทำไมเรารู้ว่า ควรหยุดฟุ่มเฟือย...แต่ไม่เคยทำได้ ทำไมเรารู้ว่า ไม่ควรนินทา...แต่ยังนินทา ทำไมเรารู้ว่า ไม่ควรขี้เกียจ...แต่ยังขี้เกียจ ทำไมเรารู้ว่า ไม่ควรเหงา...แต่ยังเหงา ทำไมเรารู้ว่า การเปรียบเทียบไม่ดี ...แต่ยังเปรียบเทียบ ทำไมเราอ่านหนังสือฮาวทูไปแล้วร้อยเล่ม...แต่ยังทำตามไม่ได้ ทำไมเราสร้างแรงบันดาลใจได้แล้ว...แต่สามวันถัดไป จิตใจเราเริ่มเหี่ยว ทำไมเรารู้ทุกอย่าง แต่...เราทำอะไรไม่ได้สักอย่าง คำตอบคือ... "รู้" มีอยู่สองแบบ !! หนึ่ง : รู้ด้วยสมอง สอง : รู้ด้วยจิต การฟัง คิด อ่าน เป็นการฝึกรู้ด้วยสมอง และสมองมีอำนาจน้อยกว่าจิต จิตเป็นนาย สมองเป็นบ่าว เมื่อควบคุมสมองได้ แต่ควบคุมจิตไม่ได้ ชีวิตย่อมเปลี่ยนแปลงช้า หรือไม่เปลี่ยนเลย ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงมุ่งสอนให้คนฝึกจิต(ภาวนามยปัญญา) ท่านเน้นย้ำเปลี่ยนคนไปที่กระบวนการของจิต มิใช่สมอง เมื่อจิตเปลี่ยน ชีวิตเปลี่ยน มีกี่ครั้งในชีวิตที่คุณรู้ดีทุกอย่าง คิดดีทุกอย่าง แต่บังคับให้ตัวเองทำตามความคิดดีๆ ไม่ได้สักอย่าง ฝรั่งสอนให้เปลี่ยนที่ความคิด แต่พระพุทธเจ้าสอนให้เปลี่ยนที่จิต... Cr : Forward LINE https://www.facebook.com/wirodePAG
14 ที่สุดในชีวิตเรา 1. ศัตรูที่น่าสะพรึงกลัวที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ตัวเราเอง 2. ความล้มเหลวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ความอวดดี 3. การกระทำที่โง่เขลาที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การหลอกลวง 4. สิ่งที่แสนสาหัสที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ความอิจฉาริษยา 5. ความผิดพลาดมหันต์ที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การยอมแพ้ตัวเอง 6. สิ่งที่เป็นอกุศลที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การหลอกตัวเอง 7. สิ่งที่น่าสังเวชที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ความถดถอยของตัวเอง 8. สิ่งที่น่าสรรเสริญที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ความอุตสาหะ วิริยะ 9. ความล้มละลายที่สุดในชีวิตเรา ก็คือความสิ้นหวัง 10. ทรัพย์สมบัติที่มีค่ามากที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ สุขภาพที่สมบูรณ์ 11. หนี้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ หนี้บุญคุณ 12. ของขวัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การให้อภัยและความเมตตากรุณา 13. ข้อบกพร่องที่ใหญ่หลวงที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การมองโลกในแง่ร้ายและไร้เหตุผล 14. สิ่งที่ทำให้อิ่มอกอิ่มใจที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การให้ทาน Cr : Forward LINE https://www.facebook.com/wirodePAG
รู้อารมณ์ก็คือรู้ว่าขณะนั้นเป็นอย่างไรทุกข์ มันคืออะไร สุขมันเป็นอย่างไร เมื่อรู้แล้วก็พิจารณาหาเหตุผลที่ทำให้เกิดสิ่งนั้นๆขึ้นมา และหาวิธีแก้ไข คือจับอารมณ์นั้นไว้แล้วก็พิจารณา ไม่ใช่รีบละ มันจะกลายเป็นความอยากหรือไม่อยากให้เกิด เป็นตัณหา ไม่ใช่เป็นปัญญา
ทำจิตให้นิ่ง ไม่ยึดติดอยู่กับความอยาก เมื่อเช้านี้ ผมมีโอกาสคุยกับท่านสุพพะโตท่านเล่าว่า ท่านไม่เคยปฏิบัติอานาปานสติได้ผลหรือมีสติอยู่กับลมหายใจได้เลย ผมก็เลยถามท่านว่า แล้วท่านมีสติอยู่กับลมหายใจเข้า สักครั้งหนึ่งได้ไหม ท่านตอบว่าได้ ผมถามท่านต่อว่าแล้วลมหายใจ ออกล่ะ ท่านก็ตอบว่าได้ผมจึงบอกท่านไป “นั่นล่ะ ท่านทำได้แล้ว” ไม่มีอะไรให้ทำมากไปกว่านั้นหรอก แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ผู้ปฏิบัติก็มักจะคาดหวังให้เกิดคุณวิเศษ ได้เข้าไปสัมผัสกับสภาวะ สมาธิที่วิเศษมหัศจรรย์ พอทำอย่างนั้นไม่ได้ ก็เลยพลอยคิดไปว่าเราปฏิบัติอานาปานสติไม่ได้ผล การใช้ชีวิตเพื่อคุณค่า ด้านจิตใจ ต้องอาศัยการสละออก การเสียสละ หรือการปล่อยวางไม่ใช่เรื่องของการได้ หรือการเอา แม้แต่การได้ฌาน ก็ยังเป็นเรื่องของการสละออกไป ไม่ใช่เรื่องของการบรรลุถึง เมื่อเราสละละวางได้มากเท่าใด ปล่อยวางออกไปได้มากเท่าใด หลังจากนั้น สภาวะของฌานก็จะเกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติ ท่าทีจึงถือเป็น สิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุด เมื่อจะปฏิบัต อานาปานสติภาวนา ให้ผู้ปฏิบัติเพียงแต่ใส่ใจอยู่กับลมหายใจเข้า มีสติระลึก รู้จากต้นลมไปจนถึงปลายลม ชั่วระยะลมหายใจเข้าครั้งเดียวเท่านั้นก็พอ จากนั้นก็ปฏิบัติแบบเดียวกันสำหรับ ลมหายใจออก แค่นั้นก็ถือว่าปฏิบัติอานาปานสติได้อย่างสมบูรณ์แล้ว การมีสติระลึกรู้ให้ได้เพียงเท่านั้นล่ะ คือ ผลของ สมาธิจิตที่อาศัยวิธีกำหนดสติให้อยู่กับลมหายใจ โดยเริ่มจากช่วงต้นลมหายใจเข้าไปจนถึงสุดลมหายใจเข้าเริ่มจากช่วงต้น ลมหายใจออกไปจนสุดลมหายใจออก ท่าทีของการปฏิบัติต้องประกอบไปด้วยความปล่อยวางอย่างเดียวอยู่ตลอดระยะ ไม่ยึดติดกับความคิดเห็นหรือความรู้สึก ที่เกิดจากความคิดเห็น อันนั้น เพื่อว่าผู้ปฏิบัติจะได้พร้อม ที่จะกำหนดรู้ลมหายใจ เข้าครั้งต่อไป หรือลมหายใจออกครั้งถัดไป ได้อย่างเต็มที่ตามสภาวะที่มันปรากฏ โดยที่ไม่ต้องแบกถือสิ่งใดไปด้วย ดังนั้น การปฏิบัติอานาปานสติจึงเป็นวิถีแห่งการสละออก และการปล่อยวาง มากกว่าจะเป็นเรื่องของการบรรลุถึง หรือการประสบผลสำเร็จ อันตรายในการปฏิบัติภาวนาได้แก่ นิสัยที่มักเข้าไปยึดติดอยู่กับสิ่งต่างๆ และการอยากได้สภาวะจากการปฏิบัติ ดังนั้น แนวทางที่ช่วยได้มากที่สุดคือ หลักการปล่อยวาง ไม่ใช่เรื่องของการบรรลุหรือการได้รับผลสำเร็จ อย่างวันนี้ ถ้าเราเห็นว่า เมื่อวานเราทำสมาธิได้ผลเต็มขีดเต็มขั้นยอดเยี่ยมสมบูรณ์ที่สุด เป็นไปตามที่ใฝ่ฝันถึงมาตลอดเลย วันนี้ เราก็เลยพยายาม จะให้ได้สภาวะการปฏิบัติที่ยอดเยี่ยม เหมือนกับเมื่อวานนี้แต่ปรากฏว่าเรากลับยิ่งฟุ้งซ่านและหงุดหงิดรำคาญมากกว่า ที่เคยเป็นมาเสียอีก มาตอนนี้ ทำไมถึงเป็นอย่างนนั้ ไปได้ล่ะ? ทำไมไม่เห็นได้สภาวะที่เราต้องการ? ที่เป็นดังนี้ ก็เพราะว่า เราดิ้นรนที่จะให้บรรลุสิ่งที่เราจำเอาไว้แทนที่จะฝึกฝนปฏิบัติไิปกับสภาวะตามที่เป็นอยู่จริง ๆ ตามที่มันปรากฏอยู่ในขณะนี้ ดังนั้น แนวทางที่ถูกต้องคือ แนวทางแห่งการเจริญสติ และการเฝ้าดูสภาวะตามที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่ใช่ไปจำเอาเรื่อง ตั้งแต่เมื่อวานแล้วพยายามทำเลียนแบบให้ได้อย่างนั้นอีกครั้ง พระราชสุเมธาจารย์ (หลวงพ่อสุเมโธ) ธรรมเทศนา หัวข้อ "หนึ่งลมหายใจ"