ในรธน.ไหม่ บอกว่าต้องกำหนด แล้วสมาชิกเห็นว่าไงครับ? ---------------------------------------------------------------------------- การพิจารณาคดีของศาล จะเสร็จเมื่อใด ประชาชนต้องรู้ “ดร.บรรเจิด” กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้จากการที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญไปเปิดเวทีรับฟังความเห็นประชาชนในแต่ละจังหวัด พบว่าประชาชนต้องการให้กระบวนการยุติธรรมมีการวางกรอบระยะเวลา เช่น ศาลก็ต้องมีกรอบระยะเวลาในการพิจารณาว่าจะใช้ระยะเวลาเท่าไร และต้องประกาศให้คู่ความและสาธารณะทราบ ยกตัวอย่างเช่น ศาลปกครองหลังจากทำคำฟ้องการให้การแล้ว ศาลปกครองก็จะต้องกำหนดว่าศาลจะต้องแสวงหาข้อเท็จจริงโดยใช้เวลาเท่าไรจนกว่าจะไปนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก ช่วงระยะเวลาแสวงหาข้อเท็จจริงจะใช้เวลากี่เดือนกี่วันก็ว่ากันไปจนกว่าจะพิพากษา-แบบนี้ ศาลต้องกำหนดระยะเวลา ให้ศาลกำหนดเองเราไม่ได้กำหนดให้ คือศาลต้องไปดูว่าศาลจะกำหนดเท่าไร เพื่อที่พอมีคดีประชาชนจะรู้ได้เลยกว่าคดีจะถึงสิ้นสุดต้องใช้เวลาเท่าใด ในช่วงที่กรรมาธิการไปรับฟังความเห็นประชาชน ประเด็นที่เราได้ยินมากก็คือความล่าช้า ซึ่งมันอาจจะก่อให้เกิดความไม่ยุติธรรมทั้งหลาย ก็เป็นประเด็นที่ครั้งนี้เราต้องกำหนดว่า ในกระบวนการยุติธรรมมันต้องกำหนดกรอบระยะเวลาเพื่อให้ประชาชนหรือคู่ความรู้ว่า แต่ละขั้นแต่ละตอนใช้เวลานานเท่าไร “จะนานเท่าไรศาลก็ไปกำหนดว่าศาลมีคนเท่านี้ มีคดีเท่านี้ ศาลต้องเป็นคนกำหนดเอง ก็วางหลักไว้เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมนั้นมีกรอบเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินการ” http://www.thaipost.net/?q=รธนฉบับเขย่าศาล
ศาลท่านก็ไม่ได้ค้านตรงๆ แต่แสดงความเห็นแย้งเอาใว้(เป็น 1 ใน 7 ข้อ ที่เห็นแย้ง) กรณีความเห็นแย้งข้อนี้ ผมว่าศาลท่านไม่อยากตายเดี่ยว เลยต้องลากมาทั้งขบวน ------------------------------------------------------------------------------------- ประเด็นที่ 6 เรื่องการกำหนดระยะเวลาของกระบวนพิจารณา ตามมาตรา 218 วรรคสอง จะกำหนดให้ศาลกำหนดระยะเวลาขั้นตอนต่างๆ ในกระบวนพิจารณาของศาลเอาไว้ ซึ่งที่ประชุมเห็นด้วยตามแนวคิดดังกล่าว แต่ขอให้มีการกำหนดระยะเวลาทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด ซึ่งไม่ใช่เฉพาะขั้นตอนของศาลเท่านั้น จึงอยากให้ตัดคำว่าศาลออกไป โดยใช้คำว่ากระบวนการยุติธรรมทั้งหมดแทน ส่วนวรรคสาม ที่กำหนดให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนพิจารณาต้องให้ความร่วมมือกับศาล แต่ในคดีมีผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนพิจารณาหลายฝ่าย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งรวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานอัยการ คู่ความ คู่กรณี ทนายความ จึงควรบัญญัติคำเหล่านี้เพิ่มไปด้วย http://www.posttoday.com/การเมือง/360206/มติที่ประชุมผู้พิพากษาเห็นต่างร่างรธน
เรื่องการถ่วงเวลาเนี๊ยะ มันคาใจผมมานานแล้ว ****อ้างป่วย ขอเลื่อน อยากให้ศาลต้องพิจารณาให้ดีกว่านี้ ถ้าสงสัยควรให้มีการตรวจสอบว่าจริงหรือไม่ ถ้าเท็จต้องฟ้องเอาผิดกับแพทย์ที่เขียนใบรับรอง ****การเลื่อนแต่ละครั้ง เลื่อนไปนานมาก อยากให้เลื่อนไป แบบพอประมาณ ไม่งั้นแต่ละคดี เลื่อนกันหลายครั้ง รวมแล้วเป็นปีหรือหลายปี
ส่วนใหญ่คดีล่าช้าเพราะจำเลยขอเลื่อนนัดไม่มาศาล ถ้าจะให้เร็ว ควรขังผู้ถูกกล่าวหาไว้ก่อนจนศาลท่านพิจารณาแล้วเสร็จ จำเลยน่าจะอยากให้คดีจบเร็วโดยไม่ต้องไปเร่งให้ศาลพิจารณาเร็วขึ้น ควรยกเลิกการประกันตัวในชั้นศาล ปูลิง คิดเล่นๆ ความจริงไม่มีใครกล้าทำ แต่น่าจะพิจารณาในกรณีจำเลยมีความผิดชัดแจ้งน่ะ
เหมือนปัญหาโลกแตก "ไก่กับไข่ อันไหนเกิดก่อน" นั่นแหละครับ ****คดีตัดสินช้า ให้ประกันตัวง่าย --คนเลวเลยไม่กลัว ทำซ้ำได้อีก คนไหม่เห็นคนเก่ายังลอยนวล เลยก่อคดีบ้าง --คนที่เสียหายไม่อยากรอหรือรอคำตัดสินไม่ไหว เลยตั้งศาลเตี้ย ตัดสินเอง คดีเลยเพิ่ม การตัดสินก็ยิ่งช้า มันเลยวนเวียนเป็นวัฏจักร เหมือนงูกินหาง ****การบังคับใช้กฏหมายไม่เด็ดขาด ระบบอุปถัมภ์บ้าง อำนาจเงินบ้าง อิทธิพลบ้าง คดีเลยเพิ่ม เพราะคิดว่าทำแล้วก็มีโอกาสรอด ไม่โดนลงโทษ
เคยเจอชนิดว่าโจทก์แกล้งฟ้องอาญาให้เดือดร้อนรำคาญเพื่อเรียกเอาเงินไหมครับ แล้วโจทก์ก็ประวิงคดีซะเอง ขอเพิ่มนัดเลื่อนนัดบ้าง ขอเวลาไกล่เกลี่ยนอกศาลเพิ่มบ้าง ทิ้งฟ้องแล้วมาขอรื้อบ้างไปฟ้องเรื่องใหม่บ้าง คาราคาซังหลายปี หาเหตุใหม่ได้เรื่อยๆแถมยังลามไปฟ้องคนรอบข้างจำเลยอีก เล่นซะเบื่อจนอยากจะควักตังถวายให้แล้ว แต่ไม่มีทรัพย์สินพอที่เขาต้องการ (คือเขานึกว่าจำเลยเป็นห่านทองคำน่ะ กะจะผ่าท้องเอาไข่) ถ้าอยากชีวิตสงบไวๆ คงต้องเฉือนเนื้อหรือขายไตไปจ่าย ยิ่งถ้าเจอศาลบางท่านที่คุณภาพไม่ได้มาตรฐานนะ จำเลยอ๊วกครับ (ขออภัย บางท่านนี่เคารพไม่ลงจริงๆ เสียสถาบันมาก ไม่รู้ว่าด้อยสามารถหรือว่าจงใจขาดศีลธรรม แต่มีจำนวนน้อยครับ)
ก็มีน๊ะคับ ถ่วงเวลาให้จำเลยปวดหัวไปเรื่อย ๆ เพื่อความสะใจ หรือ เพื่อให้เกิดความรำคาญ หรือ เพื่อผลประโยชน์ ด้านอื่น ๆ แต่ถ้ากำหนดกรอบเวลาบังคับไว้ บางทีมันเป็นผลเสีย การสืบพยานไม่เคลียร์ทุกประเด็น การตัดสินอาจมีปัญหาได้
คนพูดพูดง่าย เขียนลงไปก็ง่าย แต่ความจริงคือในทางปฏิบัติทำได้มั้ย ความยุติธรรมจะมาตีกรอบว่าต้องเสร็จวันนั้นวันนี้ ผมว่าเป็นไปไม่ได้ ทุกคดีมีรายละเอียดข้อเท็จจริงต่างกัน และข้อเท็จจริงก็ไม่ได้ปรากฎขึ้นมาทั้งหมด ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ถ้ากำหนดกรอบเวลาขึ้นมาแล้วปรากฎว่าข้อเท็จจริงในคดีนั้นต่างไปจากวันที่กำหนดกรอบเวลาแล้วจะแก้ไขได้หรือไม่ สรุปก็คือกรอบนั้นก็จะตายตัวไม่ได้ต้องมีการยืดหยุ่นอยู่ดี เหมือนคุณเห็นลูกน้องทำงานช้า แล้วแก้ปัญหาไปกำหนดกรอบเวลาให้เร็วขึ้น สรุปเมื่อถึงกรอบเวลาก็ได้งานที่ไม่เสร็จหรือสุกเอาเผากิน เพราะความจริงลูกน้องคุณไม่ได้มีประสิทธิภาพขนาดนั้น
ความเห็นของคนที่ไม่ใช่นักกฏหมาย อย่างน้อยน่าจะกำหนดมาตรฐานว่าแต่ละศาลจะใช้เวลาไม่เกินกี่ปี และหากเป็นคดีอาญาที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้จำคุก ไม่ควรให้มีการประกันตัวในชั้นศาลฎีกาครับ คนรวยวัยกลางคนไม่กลัวการทำผิดกฏหมายอาญาเพราะรู้ว่ากว่าจะถ่วงไปจนจบที่ศาลฎีกาก็หมดอายุขัยไปแล้ว หรือถ้ายังก็จำคุกไม่นานก็หาเหตุขอปล่อยตัวเพราะชราภาพและปัญหาสุขภาพ
เพิ่มข้อหา ถ่วงเวลา กับผิดนัดศาล ซะก็สิ้นเรื่องๆ รวมทั้งอาจพิจารณาความผิดกับ อัยการ ตำรวจ หรือแม้แต่ตัวศา่ลเองด้วย กรณีมีข้อพิสูจน์ประจักษ์ชัดว่า จงใจเตะถ่วง
จำเลยกะโจทย์ การฟ้องข้อหานี้ อาจจะไม่มีปัญหา เพราะเขาไม่อยู่ในขบวนการยุติธรรม แต่ อัยการ ตำรวจ ศาล เขากล้าทำลายพวกกันเองหรือปล่าวอะครับ ตัดสินมาแล้ว เด๋วก็มีข้อพิจารณากันอีกว่า สองมาตรฐานป่าว เกิดเราคิดว่าประจักษ์ชัดแน่นอน แต่พอตัดสินว่าไม่ใช่ คราวนี้ละยุ่งเลย
แต่ผมกลับเห็นด้วยกับแนวคิดนี้นะครับ คือกำหนด กรอบระยะเวลา เป็นตุ๊กตาไว้ ไล่ตั้งแต่ตำรวจ อัยการ ศาล กำหนดเวลาสืบสวนสอบสวนทำสำนวน...สรุปสำนวนส่งฟ้อง...พิจารณาคดี ถ้าขั้นตอนไหนทำไม่เสร็จในกรอบก็ขออนุมัติขยายเวลา (แบบที่ ปปช. ขยายเวลาให้ผู้ถูกกล่าวรวบรวมหลักฐานโต้แย้ง) โดยขยายเวลาให้ไม่เกินฝ่ายละ 3 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 3 เดือน พอกำหนดกรอบเวลาไว้แบบนี้ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมก็ต้องกลับไปพิจารณาคดีที่ค้าง+ทรัพยากรที่มีในปัจจุบัน (กำลังคน+เครื่องมือเครื่องใช้+สถานที่) ถ้าไม่สอดรับก็ทำเรื่องของบประมาณเพิ่มเข้ามาทั้งด้านบุคลากร อุปกรณ์ และสถานที่ .......ให้สอดคล้องสมดุลย์กับคดีความ เพราะผมว่าคนไทยส่วนใหญ่คงเบื่อหน่ายกับการทำงานแบบไม่มีกรอบ ไม่มี SLA คดีไหนเจ้านายสนใจก็เร่งทำ คดีไหนไม่มีผลงานให้รุมทึ้งก็ปล่อยปละละเลย นี่รวมไปถึงองค์กรอิสระอย่าง ปปช. ผู้ตรวจการแผ่นดิน สตง. ปอท. ปปท. แม้กระทั่ง DSI ที่มีข่าวแว่ว ๆ จะให้ปรับให้บริหารงานกึ่งองค์กรอิสระ
เพื่อให้คดีรวดเร็วขึ้น ผมว่าลงทุนเพิ่มให้เป็นแสนล้านยังคุ้ม เพราะมันโกงกันแต่ละปีมากกว่านี้เยอะ เรายังอยู่กันมาได้ แล้วต่อไปเมื่อมีการตัดสินที่รวดเร็วขึ้น คดีมันก็จะลดลงเองโดยอัตโนมัติ(เพราะคนเลวมันกลัว) งบประมาณก็ค่อยลดลงมาตามสัดส่วน
ผมว่าควรพิจารณาหลัก "บุคคลต้องใช้สิทธิโดยสุจริต" ให้เข้มงวดหน่อยครับ ถ้ามันจำเป็นต้องเร็วก็เร็ว ถ้ากรณีที่ต้องช้าก็ต้องยอมช้าตามความเป็นจริง แต่กรณีไม่สุจริต พวกที่มาศาลด้วยมือสกปรก ผู้กระทำผิดที่ประวิงหน่วงนานๆ โจทก์ที่ยืมมือศาลทำร้ายคนอื่น จนท.ที่@$%)& พวกรีดลิขสิทธิ์ [เพิ่ม:ยิ่งพวกยัดฟ้องหมิ่นประมาท/พรบ.คอมฯเพื่อปิดปากอีกฝ่ายทั้งๆที่เห็นเนื้อเรื่องและข่าวสารกันทั่วไปเนี่ย] ฯลฯ ถ้าจับทางได้/สืบเห็นเจตนาได้ น่าจะลงโทษฐานละเมิดศาลกันบ่อยๆหน่อยเหอะ ยิ่งพวกทำนาบนหลังคนโดยอาศัยว่าตนเชี่ยวชาญกฎหมายกว่าเหยื่อเนี่ย บางทีเป็นตัวต้นเหตุหลอกใช้คนอื่นนะครับ แล้วก็ฟ้องบีบซะเองเลยด้วย จะฟ้องกลับข้อหาฟ้องเท็จหรือหาทางเยียวยาเนี่ยไม่ง่าย ที่ผมเห็นเขาก็ไม่ฟ้องกลับนะแม้จะทนสู้จนยกฟ้องแล้ว ประมาณว่าทำดีได้ซวยจนหน่าย-ละเหี่ย ฟาดเคราะห์ไปไม่อยากเหนื่อยอีก อาจมีที่ฟ้องได้ แต่ผลก็คือได้แค่ฟ้องน่ะแหละ จับไม่มั่นคั้นไม่ตาย มืออาชีพพวกนี้ยังไงก็หาช่องอ้างได้ครับเรื่องว่าฟ้องเดิมนั้น"มีมูลเหตุชวนให้สงสัย" หรือหาเปิดแผลใหม่มาใช้ต่อรองอีก คือถ้าศาลรู้ทันโจทก์/จำเลยที่มือสกปรกเนี่ย น่าจะช่วยจัดการอะไรเพิ่มหน่อยนะ ในฐานที่สร้างภาระแก่กระบวนยุติธรรม ว่าแต่ ถ้าศาลลุแก่อำนาจ ใครจะคุม นอกจากกต.