การศึกษา-อ.มหาลัย?

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย temp, 15 Aug 2015

  1. temp

    temp อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    9 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    868
    ชีวิตบนเส้นด้ายของ อาจารย์มหา′ลัยไทย ถูกไล่ออกง่ายๆด้วยมุข"ไม่ต่อสัญญา"
    http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1439629184
    อาชีพครูอาจารย์ เป็นอาชีพสำคัญที่สร้างความรู้และการศึกษาในชาติ โดยเฉพาะการเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ยิ่งต้องการคนเก่ง มีความรู้ มีความคิดสร้างสรรค์

    แต่หลังจากมหาวิทยาลัยไทยออกนอกระบบ ที่หลายคนหวังว่าจะทำให้มหาวิทยาลัยมีอิสระจากรัฐมากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารบุคลากร กลับทำให้อาจารย์แต่ละคน ยืนอยู่บนเส้นบางๆ กระทั่งหากได้รับรู้ก็จะพบว่า ความมั่นคงในชีวิต น้อยกว่าพนักงานบริษัทเอกชนเสียอีก

    รศ.ดร. วีรชัย พุทธวงศ์เลขาธิการศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ คือหนึ่งในผู้ที่ต่อสู้ให้กับพนักงานในมหาวิทยาลัยที่ไม่ใช่ข้าราาชการมากนาน เปิดเผยว่า ล่าสุดมีอาจารย์ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดหนึ่งทางภาคอีสาน กำลังจะถูกไม่ต่อสัญญา ด้วยลักษณะเดียวกัน โดยเฉพาะน่ากังวลว่าจะเกิดจากการกลั่นแกล้งของการเมืองในมหาวิทยาลัย

    ดร. วีรชัย พุทธวงศ์ เริ่มเล่า โดยอธิบายถึงที่มาที่ไปของปัญหาอาจารย์มหาวิทยาลัยไทย ว่า ตั้งแต่มีมติ ครม.ปี 2542 ที่กำหนดนโยบายให้มีมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ โดยในปีนั้น มหาวิทยาลัยที่พร้อมมีไม่กี่แห่ง ซึ่งจะเปลี่ยนระบบการบริหารกำลังคน ต่อไปก็จะไม่มีข้าราชการแล้ว แต่จะเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยแทน ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2542 จนถึง ปี 2558 มีพนักงานมหาวิทยาลัยประมาณ 130,000 คน ล่าสุดเหลือข้าราชการอยู่เพียง2หมื่นคนเท่านั้น ขณะที่พนักงานมหาวิทยาลัย มีจำนวนประมาณ 110,000 คน ซึ่งในการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยกว่า 80 มหาวิทยาลัย เรื่องสำคัญคือมหาวิทยาลัยมีสิทธิที่จะจัดการตนเอง และกำหนดกติกาเอง

    โดยมหาวิทยาลัยใหญ่ๆอย่างจุฬาฯ หรือ เกษตรศาสตร์ หรือ มหิดล มักจะไม่พบปัญหามาก เเต่มหาวิทยาลัยเล็กๆ จะเริ่มมีปัญหาแล้ว เหมือนกับการเหยียดผิว เชื้อชาติกัน พอมีน้องๆมาใหญ่ก็จะมีการตั้งกติกา เช่นการตั้งกติกาการให้สอนหนึ่งปี เเล้วค่อยต่อสัญญา เพราะมติคณะรัฐมนตรี ไปให้อำนาจสภามหาวิทยาลัยในการบริหารงานบุคคล เพราะฉะนั้นมหาวิทยาลัยเล็กๆ จึงไปออกระเบียบกันเอง เช่นกรณีอาจารย์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจ.เชียงใหม่ ที่ออกกติกาว่า ครบหนึ่งปี เมื่อผ่านโปร ก็จะต่อสัญญาให้เป็นสามปี แล้วต่อไปอีกครั้งเป็นห้าปี จึงเกิดความไม่แน่นอนในระบบอุดมศึกษา

    "จึงจะเห็นว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยช่วงหลังๆ จะไม่ออกมาให้สัมภาษณ์อะไรที่สุ่มเสี่ยง คนที่ออกมาพูดเรื่องบ้านเมือง ก็จะมีเพียงไม่กี่คน เช่นอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพราะเขาอยู่ในระบบข้าราชการ ที่จะมีระบบป้องกันตัวเองสูง คือ เข้ายาก และก็ออกยากด้วย"รศ. วีรชัย ระบุ

    ขณะที่อาจารย์ที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย เข้ายากมาก แต่กลับถูกให้ออกง่ายมากๆ และระบบนี้ยังไม่อยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายแรงงาน ไม่เหมือนพนักงานบริษัทเอกชน ที่ยังอยู่ภายใต้กฏหมายแรงงาน ที่กรณีถูกไล่ออกแบบอาจารย์ที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย บริษัทก็จะจ่ายค่าชดเชย หกเดือนหรืออะไรก็ว่าไป แต่กรณีล่าสุด ของอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งสอนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ พอถูกให้ออก ก็จะไม่ได้รับเงินชดเชยใดๆเลย จึงส่งผลกระทบต่อระบบอุดมศึกษาโดยรวม

    รศ. วีรชัย กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า จะเห็นได้ว่าอันดับของมหาวิทยาลัยของไทยร่วงมาโดยตลอด เพราะมันเปิดโอกาสให้มีการไล่คนออกได้ง่าย อาจารย์จะเก่งหรือไม่ไม่สำคัญ แต่อยู่ที่ว่าจะเข้าตัวองค์กรได้หรือไม่ มันจึงเกิดช่องว่างในการกลั่นแกล้ง ซึ่งกรณีของอาจารย์ท่านหนึ่งที่ถูกให้ออกล่าสุดที่รับทราบมานั้น คิดว่าน่าจะเกิดจากการกลั่นแกล้งอย่างแน่นอน เพราะอาจารย์คนดังกล่าวมีตำแหน่งบริหาร คือเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย และได้รับทราบมาตลอดว่า เขามีความคิดเห็นอีกแนวหนึ่ง ในการปกป้องผลประโยชน์ของบุคลากร ซึ่งอาจจะมีข้อพิพาทในกรรมการสภาฯ กระทั่งได้ข่าวมาว่ามีการตั้งธงจะเขาเขาออกให้ได้

    โดยในส่วนการเอาอาจารย์ออกในมหาวิทยาลัยเล็กๆอย่างถูกกฎหมายนั้น ก็คือการระบุว่าไม่ต่อสัญญาจ้าง ซึ่งกรณีนี้ไม่ใช่กรณีเเรก แต่เป็นสิ่งที่เกิดมาบ่อยครั้งนับร้อยกรณีแล้ว ส่วนใหญ่ก็ไปฟ้องศาลและเเพ้คดี เพราะศาลปกครองก็จะตัดสินโดยอ้างมติคณะรัฐมนตรี ปี 2542 ที่ระบุว่าเป็นอำนาจของสภามหาวิทยาลัย จะไปฟ้องศาลแรงงานก็ไม่ได้ เพราะกฎหมายระบุเลยว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่อยู่ในการคุ้มครองของกฎหมายแรงงาน ฉะนั้่นไม่ว่าจะฟ้องศาลไหนก็แพ้ จึงเห็นได้ว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยสมัยใหม่ไม่มีความมั่นคงเลย จึงส่งผลต่อคุณภาพอย่างมาก เพราะอาจารย์ที่เก่งๆดีๆ ก็ต้องก้มหน้าก้มตาสอนหนังสืออย่างเดียว

    อีกกรณีคือ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎแห่งหนึ่งในภาคอีสานที่เพิ่งได้รับเเจ้งเข้ามาเหมือนกัน และทั้งคู่จะถูกให้ออกจากงานพร้อมกันเลย คือในเดือนตุลาคมนี้ โดยกรณีนี้ เป็นการถูกกล่าวหาว่า ออกคำสั่งให้ตนเองและนักศึกษาเดินทางไปราชการที่อื่น โดยที่ตนเองไม่มีอำนาจ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่สมควร ทั้งยังกล่าวหาว่าเป็นการใช้เวลาว่างไปแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว ทำให้มหาวิทยาลัยเสียหายอย่างร้ายแรงทั้งเงินเดือนและรถยนต์ของมหาวิทยาลัยที่ใช้ในการเดินทาง

    ขณะที่เจ้าตัวได้ยื่นคำร้องต่อมหาวิทยาลัยยืนยันว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายเเละรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรมและยืนยันว่าตนเองไปราชการโดยมีเหตุผลบอันควร คือเพื่อเป็นการบริการสังคม ตามที่ได้รับการร้องขอ และมหาวิทยาลัย ก็อนุมัติเช่นนี้มาเป็นเวลากว่า 5 ปีเเล้ว

    โดย รศ.ดร. วีรชัย แสดงความเห็นส่วนตัว ยืนยันว่าทั้งกรณีที่เพิ่งเกิดขึ้นล่าสุดนี้ เป็นการยัดข้อหาโดยตรง เเละทั้งสองกรณีทั้งคู่มีสถานะเป็น "กรรมการสภามหาวิทยาลัย" ทั้งคู่ โดยในส่วนของอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจ.เชียงใหม่นั้่น ก็กำลังจะได้ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์อีกด้วย เพราะยื่นขอไปสองปีแล้ว แต่ก็ถูกกั๊กไว้ โดยผู้บริหารที่ต้องการเอาเขาออก เพราะหากให้ อาจารย์ระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ออก มันก็จะเป็นข่าวดังมากกว่า การเอา "ด็อกเตอร์" ธรรมดาออก ทั้งที่เป็นอาจารย์มาตั้ง 5 ปีแล้ว

    ส่วนที่มีคนแนะนำให้ฟ้องศาลนั้น คาดว่าจะต้องมีการดำเนินการแน่นอน แต่จากที่ผ่านมาก็พบว่าศาลจะพิพากษา ไปตามกรณีเก่า ซึ่งมันก็เป็นอำนาจตามกฎหมายที่อนุญาตให้มีสิทธิ์ทำได้ ซึ่งก็น่าจะก้าวไปเล่นเรื่องอาญา ที่ต้องดูรายละเอียดอีกทีว่าฟ้องได้ไหม เพราะการฟ้องศาลปกครองให้คุ้มครองคำสั่งเพิกถอนให้ออกจากตำแหน่ง ต้องใช้เวลาถึง 5 ปี แน่นอนว่า อาจารย์ดังกล่าวคงไปทำอย่างอื่นแล้ว มันมีผลกระทบต่อเขาในการไปทำงานที่อื่น เพราะการไม่ต่อสัญญามันแรงมาก เขาเป็น ด็อกเตอร์อายุยังน้อย 30 กว่าๆ จะไปสมัครที่อื่นก็พบว่าเคยถูกมหาวิทยาลัยไม่ต่อสัญญามา แล้วใครจะเอาหล่ะครับ ซึ่งกรณีนี้ เขาก็มีลูกแถมยังกู้สหกรณ์ มีหนี้สิน จบ นี่คือความไม่เสถียรมากๆ เป็นกลไกลทางการเมืองที่ถูกใช้ในมหาวิทยาลัยในการกลั่นแกล้งอาจารย์ ที่มีอุดมการณ์หายไปหมด

    ไม่ใช่แค่กรณีนี้ ก่อนหน้านี้มีการไม่ต่อสัญญา อาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎแห่งหนึ่งทางภาคใต้ถึง 4 คน โดยทั้งหมดเป็นกรรมการสภามหาวทิยาลัย ซึ่งวิเคราะห์จากเหตุการณ์ทั้งหมดเเล้วก็ไม่สามารถที่จะปฎิเสธได้ว่าน่าจะเป็นเรื่องทางการเมือง ในมหาวิทยาลัยหลักๆของประเทศก็มีเหมือนกัน แต่ที่รอดมาได้ เพราะมีตำแหน่งระดับรองศาสตราจารย์ รวมถึงมีชื่อเสียง เป็นข้าราชการซี 9 มาก่อน จึงรอดมาได้ ที่กังวลคืออาจารย์ยุคใหม่ๆ

    รศ.ดร.วีรชัย เล่าอีกว่า ได้คุยกับอาจารย์ ดร.คนดังกล่าวที่กำลังจะถูกไล่ออกจาก มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่แล้ว ล่าสุดเขารู้สึก เสียใจมาก ซึ่งขณะนี้เขากำลังถูกเรียกไปฝึกกำลังพลสำรอง ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามกฎหมายทหาร เพราะเขาไม่ใช่ข้าราชการ

    "จึงอยากฝากผู้ใหญ่ในบ้านเมืองให้เข้ามาแก้ปัญหา ซึ่งต้องถามว่าถ้าระบบการศึกษายังเป็นแบบนี้อยู่ แล้ว อุดมศึกษาเมืองไทยจะไปได้อย่างไร คิดว่าควรนำระบบประเมินศักยภาพมาใช้ ดีกว่าระบบต่อสัญญาแบบนี้ เพราะทำแบบนี้จะเห็นอาจารย์ที่้เป็นเครื่องจักร ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่กล้าแสดงความเห็นต่าง โดยเฉพาะประเด็นทางการเมือง เพราะไม่รู้ว่าผู้บริหารอยู่สีไหน หากไม่ถูกใจก็อาจถูกเอาออกได้"รศ. วีรชัย กล่าวทิ้งท้าย
     
    Last edited: 15 Aug 2015
    อาวุโสโอเค, bookmarks, Anduril และอีก 1 คน ถูกใจ.
  2. temp

    temp อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    9 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    868
    http://www.prachatai.com/journal/2014/08/55212
    ชื่อบทความเดิม: อยากเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย เก่งอย่างเดียวไม่พอ ยุคนี้ต้องทนให้ได้อย่างน้อย 9 อย่าง
    http://pantip.com/topic/32497205

    เคยเห็นชื่อดร.ท่านนี้ผ่านตามาบ้าง
    แต่จำได้จากข่าวไฟไหม้ปริศนา และพวกข่าววิทย์ตาสว่างสร้างสังคมอุดมปัญญาที่อ.เจสด้าแชร์ (ลิงค์นี่ผมยกให้ดูหัวข่าวเฉยๆ ไม่ใช่ที่อ.โพส)
    เช่น
    http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9580000047756
    อาจารย์เคมี มก.แนะหาต้นตอความร้อนก่อนเกิดไฟปริศนาพัทลุง
    http://www.agosocial.com/รศ-ดร-วีรชัย-พุทธวงศ์-อาจ/
    อาจารย์ ม.เกษตรฯ ชี้ กรณีเหลือดไหลเป็นพระธาตุ อาจนำพอลิเมอร์ทาตัว
     
    Last edited: 15 Aug 2015
  3. temp

    temp อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    9 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    868
    เท่าที่ได้ยินได้ฟัง
    ทั้งครูประถมมัธยม อ.มหาลัย บ่นเรื่องการศึกษาของชาติกันมาก แต่สุดท้ายก็วนที่ประเด็นหลักที่เป็นหัวข้อใหญ่สุดคือ"เงิน"
    ครูก็ว่าฉันได้น้อย
    อ.ก็ว่าฉันได้น้อยกว่าครู
    แม้ทุกวันนี้จะขึ้นแล้ว และค่าวิทยฐานะก็ยังอัดฉีดกันอยู่(มีระบบขั้นไหลแล้วด้วย)
    ก็ยังบ่นว่า ฉันได้น้อย(กว่า หมอ อัยการ ผู้พิพากษา วิศวะ)

    ผู้บริหารสถานศึกษาสมัยนี้นี่ ผมขอบ่นอย่างเกรงใจว่า "เหลือจะกล่าว" ครับ ยิ่งรองผอ.บางคนเด็กมากเลย แทบไม่เคยทำงานอะไรมาก่อน เคยได้ฟังคุยกันแล้วหดหู่ คือวันๆจ้องหาช่องโตครับ ไม่ได้มีเจตนารมณ์หรืออุดมการณ์เพื่อการศึกษาหรือเด็กเลย
     
    bookmarks และ Anduril ถูกใจ.
  4. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    บอกตรงๆว่าไม่รู้ข้อมูลอะไรเลย
    แต่จากการสังเกตุการศึกษาไทย รู้แต่ว่าเรามาผิดทิศทางแน่ๆ
    และผมก็ไม่มีความรู้พอจะติ ว่าเกิดจากอะไร
     
  5. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204
    บางทีผมก็คิดว่า
    ทุกอาชีพที่สุจริตล้วนมีเกียรติ ใครๆ ก็อยากได้งานดีและมีความมั่นคง มีสวัสดิการที่ตอบโจทย์ชีวิตได้
    รุ่นน้องคนหนึ่งเคยเล่าให้ผมฟังว่า ยอมรับว่าอยากเป็นครูเพราะสวัสดิการดี
    แต่ไม่อยากเป็นครูโรงเรียนเอกชน

    ทำเพื่อศักดิ์ศรีของอาชีพ กับทำเพื่ออาชีพ ผมว่าต่างกัน
     
    bookmarks, kokkai, Anduril และอีก 1 คน ถูกใจ.
  6. Anduril

    Anduril อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    4 Jun 2015
    คะแนนถูกใจ:
    5,268
    ไม่มีความรู้เรื่องวงการศึกษาเหมือนกันครับ
    แต่สำหรับความเห็นของดร.วีรชัย ผมมองว่าค่อนข้างลอยๆ สำหรับข้อมูลที่บอกว่า อาจารย์ผู้สอนของมหาวิทยาลัย(เชื่อ)ถูกกลั่นแกล้ง แล้วมาสรุปใส่ความเห็นของตัวเองไปด้วย สงสัยว่า พนักงานมหาวิทยาลัยไม่มีกฎหมายใดคุ้มครองเลยหรือ?
     
    kokkai และ temp ถูกใจ.
  7. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    ยอมรับว่าเป็นความคิด ที่ค่อนข้างจะไม่สมกับการเป็นพลเมืองดี
    3 อาชีพที่ไม่เคยอยู่ในหัวสมองผม มาตั้งแต่ยังเป็นนักเรียน
    **ครู
    **ตำรวจ
    **ทหาร
    เพราะทั้ง 3 อาชีพนี้ถ้าจะทำให้ดีจริงๆ ต้องการ การเสียสละมากๆ
     
    Anduril, temp และ อู๋ คาลบี้ ถูกใจ
  8. Solid Snake

    Solid Snake อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    26 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,225
    ข้ออ้างเรื่องสมัครที่อื่นแล้วใครจะเอาหากพบว่าเคยถูกมหาวิทยาลัยไม่ต่อสัญญามา มันก็จริงแค่ส่วนหนึ่ง เพราะหากมีผลงานเป็นที่ประจักษ์เขาก็เอาอยู่ดี
     
    kokkai, Anduril และ temp ถูกใจ
  9. temp

    temp อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    9 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    868
    เคยคุยกับผู้ทำงานด้านนี้โดยตรงทั้งที่ส่วนกลาง ผู้บริหารรร. ครู และนศ.ครู (ที่จริงก็ไม่เยอะหรอกนะ เพราะผมไม่ได้มีอาชีพหรือโอกาสพบปะในทางนี้เท่าไรนัก เพิ่งมาสนใจวงการนี้ก็เมื่อลูกหลานเริ่มโตเรียงแถวกันถึงวัยเข้ารร.น่ะแหละ) คงไม่สามารถนับเป็นตัวแทนหรือกลุ่มตัวอย่างอะไรได้นะครับ แต่เกือบทั้งหมดบอกว่ามาถูกทางแล้ว โดยเฉพาะมีจำนวนมากที่บอกว่าเริ่มถูกทางอย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 46(หรือ47 จำไม่ได้)แต่ยังทำไม่เสร็จครบวงจร ต้องปล่อยให้พวกเขาทำกันต่อและหลังจากทำสมบูรณ์แล้วจะรอให้สัมฤทธิ์ผลก็อีกร่วม20ปี ปิดท้ายด้วย"กล้วยไม้มีดอกช้าฉันใด การศึกษาเป็นไปฉันนั้น"

    จากที่พวกเขาว่าปี46นั่นมาถึงนี้ก็ร่วม10ปีแล้ว ยังไม่เห็นแววจะติดดอก (และที่จริงคือยังทำไม่เสร็จครับ 20ปีที่ว่านั้นยังไม่อาจเริ่มนับ)
    ผมว่า กลัวกล้วยไม้จะเหี่ยวหมดก่อนครับ
     
    อู๋ คาลบี้, kokkai และ Anduril ถูกใจ
  10. temp

    temp อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    9 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    868
    คิดคล้ายกันครับ แต่ผมคิดในสมองนะ แต่คิดว่า"กรูม่ายหวาย"
    แต่ผมเริ่มเปลี่ยนใจมามองครู เมื่อได้แฟนเป็นครู(บางคนก็น่าชื่นชมครับ "ครูดีงานหนักพักไม่มี" ) และลูกหลานเริ่มทยอยโตถึงวัยเข้าเรียนกันเนี่ยแหละ ยิ่งหันมองเพื่อนที่เป็นดร./อ.มหาลัยกันเกือบครึ่งรุ่น ถึงเพิ่งรู้สึกตัวว่าวงการศึกษาบ้านเราเดินนี้กันไปอย่างไม่รู้สึกรู้สา แถมใครเริ่มคิดจะเอาสละตัวเองไปร่วมช่วยลงมือกะเขามั่ง แม้ในส่วนรร.เอกชน วันนี้จะได้ในฐานะครูเถื่อนชั่วคราว-กึ่งถาวร
    ส่วนตำรวจ เคยยื่นใบสมัครนะ แต่ไม่ไปสัมภาษณ์ กลัวว่าถ้าไปเส้นทางนี้แล้วถึงคราวต้อง*ตัดสินใจ* แล้วจะ"ทามจายม่ายล่าย"
    ทหาร สนใจหลังจากที่ไม่คิดถึงตำรวจแล้ว แต่ตอนนั้นดูอายุตัวเองแล้วคิดในใจ "อย่าเลยโยม"
     
    อู๋ คาลบี้, kokkai และ Anduril ถูกใจ
  11. โยธกา

    โยธกา อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    20 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,727
    ก็ไปหาอาชีพอื่นก็ได้นี่ครับ
    อยากบำเพ็ญสาธารณะแระโยชน์ก็มีกิจกรรมให้ทำเยอะ
    อายุงานเยอะ เก่งจนเป็นที่ยอมรับ เค้าก็หาเทียบมาเชิญไปสอนเอง
    ต้องเข้าใจนะ อจ เด็กๆตัวเลือกมันเยอะมาก
    ไอ้ที่อ้างมาก็จริงอยู่แต่ไม่ใช่ทั้งหมด
     
  12. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
    :) :) ไม่ค่อยมีข้อมูลเลย
     
  13. temp

    temp อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    9 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    868
    อันนี้ถือเป็นก้าวเล็กๆที่น่าสนใจครับ
    http://www.naewna.com/local/175379
    24 ส.ค. 58 นายประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เผยว่า ที่ประชุมหารือปัญหาการจ้างทำสารนิพนธ์ และวิทยานิพนธ์ ของนักศึกษาปริญญาตรี โท และเอก ที่เริ่มรุนแรงมากขึ้น โดยรับจ้างในราคา 20,000-500,000 บาท ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของแต่ละสาขาวิชา ซึ่งถูกวิจารณ์ว่าทำให้ระบบการศึกษาตกต่ำ

    ที่ประชุมจึงมีมติร่วมกันว่าตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 หากพบนักศึกษาในสถาบันที่เป็นสมาชิก ทปอ. 27 แห่ง จ้าง หรือคัดลอกวิทยานิพนธ์ และสารนิพนธ์ จะถูกให้พ้นสภาพความเป็นนักศึกษาทันที รวมถึง ส่งรายชื่อไปยังมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิก ทปอ.ทุกแห่ง เพื่อไม่ให้รับเข้าศึกษาทุกระดับ ส่วนผู้รับจ้างได้มอบให้นิติกรของ ทปอ.ศึกษาข้อกฎหมายว่าเอาผิดอย่างไรได้บ้าง

    ====================
    แต่ยังมีอีกหลายด็อกที่น่า!@#$%&\|/ (แถมบางคนยังดูท่าทางว่าจบมาเพราะทำเองหรือไม่ได้จ้าง แต่คุณภาพ เอิ่ม...)
     
  14. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204
    รับจ้างทำวิทยานิพนธ์ - ลอกงานวิจัยคนอื่นโดยอ้างว่าเป็นงานตัวเอง - ปลอมวุฒิการศึกษา

    นี่เป็นอาชญากรรมทางวงการศึกษาชัดๆ
     
    ParaDon, JSN และ kokkai ถูกใจ
  15. Solid Snake

    Solid Snake อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    26 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,225
    คนจ้างยังไม่เท่าไหร่ แต่พวกอาจารย์กรรมการคุมสอบปกป้องวิทยานิพนธ์ปล่อยหลุดรอดนี่สิปัญหา
     
    Garfield, temp, เผด็จการที่รัก และอีก 1 คน ถูกใจ.
  16. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    เอาเวปมาให้ดู 2 เวป ที่แสดงถึงความอ่อนด้อยของวงการศึกษาไทย
    พร้อมคำถาม 2 ข้อ (แม้ว่าจะแค่เรื่องของคน คนเดียว แต่มันดังทั่วประเทศ)
    ***คิดแบบนี้ จบดร.มาได้อย่างไร
    ***ทำไมมหาลัยฯไม่มีการตรวจสอบใดๆเลย
    -----------------------------------------------------------------------------------------
    คมสัน โพธิ์คง รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช แสดงความเห็นว่า ก่อนอื่นต้องเข้าใจความหมายของกฎหมายแพ่งและอาญา ง่ายๆ คือ กฎหมายแพ่ง เป็นการวางกฎเกณฑ์ตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งตาย ว่าทำอะไรได้บ้าง และต้องทำภายใต้กฎเกณฑ์อันนั้นหรือสิ่งที่ทำได้ ขณะที่กฎหมายอาญา คือสิ่งตรงกันข้าม เป็นกฎเกณฑ์ว่าด้วยข้อห้าม การกระทำความผิดของคน ซึ่งลักษณะความผิดก็คือการกระทำที่กฎหมายห้าม ลักษณะการกระทำที่ห้ามไม่ให้ทำ ถือว่าความผิด และนำไปสู่ความรับผิดทางอาญา นั่นคือความรับผิดชอบ

    "การที่คุณเฉลิมออกมาพูดว่าคุณทักษิณไม่ได้ทำผิดกฎหมาย แต่ทำสิ่งที่กฎหมายห้ามนั้น ก็เท่ากับมัดปากตัวเองว่า ทำผิดกฎหมาย เพราะทำในสิ่งที่กฎหมายห้ามคือทำความผิดแล้ว ฉะนั้นหลีกหนีไม่รับผิดทางอาญาไม่ได้ เพราะมันคือการทำผิดกฎหมาย และต้องรับผิดชอบ สิ่งที่คุณเฉลิมพูดมันขัดแย้งกันในตัว เพราะการกระทำผิดกฎหมาย กฎหมายอาญาห้ามเอาไว้ ซึ่งนำไปสู่ผลการรับผิดทางอาญา นั้นคือการลงโทษ 5 สถาน ตั้งแต่ประหารชีวิต ไล่ไปจนถึงยึดทรัพย์"
    http://hilight.kapook.com/view/68544

     
    JSN และ โยธกา ถูกใจ.
  17. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    ผมว่ามันอันดับมันตกไม่ใช้เพราะไล่คนออกได้ง่าย แต่คุณภาพครูมันห่วยจริงๆ แถมมหาวิทยาลัยเยอะเกินไป รับคนเรียนปริญญาแบบไม่คัด ไม่กรองอะไรเลย พอเด็กคุณภาพไม่ถึงมารวมกัน ครูก็ต้องปล่อยเกรด เพราะถ้าให้ตกยกชั้น ตัวผู้สอนนั่นแหละจะมีปัญหาโดนผู้บริหารด่าอีก
     
    temp likes this.
  18. Garfield

    Garfield อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,407
    ตอนสอบ กรรมการดูออกอยู่แล้วว่าใครไม่ได้ทำวิทยานิพนธ์เอง แต่ส่วนใหญ่จะแกล้งโง่ปล่อยไป
     
  19. ทองเค

    ทองเค อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    25 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,875
    เมื่อค่านิยม แบบ ทักษิณ ครอบงำ ต้องทำใจครับ
    อยากรวย เหมือนทักษิณ อยากมีสามี ฝรั่ง ก็ว่าไป แต่อย่าเป็นฝรั่งขับรถบรรทุกนะครับ เอาแบบเจ้าของห้าง
    ค่าเงิน ต่างกัน มันทำให้เสน่ห์ ชายไทยลดไปมากโข
     

Share This Page