การซื้อทรัพย์สินในราคาถูก ครอบคลุมแค่ไหน

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย sugit, 22 ต.ค. 2017

  1. sugit

    sugit อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Mar 2015
    คะแนนถูกใจ:
    1,111
    อ้างอิงจาก
    https://www.prachachat.net/general/news-57459
    ในส่วนนี้
    ดังนั้นการตอบข้อหารือจึงไม่ขัดกับแนวทางคำวินิจฉัยที่ 28/2538 แต่ศาลอุทธรณ์ฯ เห็นว่า เมื่อคำวินิจฉัยภาษีอากรที่ 28/2538 หมายถึงหุ้นทุกประเภท การตอบข้อหารือของจำเลยที่ 1-4 จะต้องใช้ดุลยพินิจตั้งอยู่บนข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ถูกต้องด้วย แต่ปรากฏว่ากรณีนี้ กรมสรรพากรเคยมีหนังสือรับด่วนที่สุด ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน2543 ถึงประธานอนุกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน สำนักงาน ป.ป.ช.แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาระภาษี สรุปได้ความว่า กรณีบุคคลธรรมดาซื้อหุ้นโดยไม่ผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ว่าหุ้นบริษัทนั้นจะจดหรือไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ผู้ซื้อหุ้นไม่มีเงินได้พึงประเมิน จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เว้นแต่เป็นการซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าราคาที่พึงมี ซึ่งผลต่างระหว่างราคาที่พึงมีกับราคาซื้อเข้าลักษณะเป็นประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 ผู้ซื้อต้องนำไปคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย ดังนั้นการที่จำเลยที่1-4 ตอบข้อหารือเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้น แต่กลับใช้ดุลยพินิจตอบข้อหารือให้กับจำเลยที่ 5 แตกต่างกันว่า การซื้อหุ้นราคาต่ำกว่าตลาดเป็นการซื้อทรัพย์สินในราคาถูก ซึ่งเป็นเรื่องของการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย อันเป็นเรื่องปกติทั่วไปของการซื้อขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 453 ส่วนต่างของราคากับราคาตลาดจึงไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 จึงเป็นการขัดต่อกฎหมายและแนวทางปฏิบัติอย่างชัดเจน ขัดแย้งกับเจตนารมณ์ในคำวินิจฉัยภาษีอากรที่ 28/2538 ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงการเสียภาษี อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1-4 ฟังไม่ขึ้น

    คือลักษณะนี้ ความคิดผม ผมเห็นด้วยกับศาลเลย
    เพราะถ้า สรรพากรวินิจฉัย กรณีซื้อขายหุ้นของ กรรมการ กับ บริษัท
    ไว้ในทำนองที่สามารถซื้อได้ในราคาถูกโดยไม่ต้อง ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน
    ต่อไปจะเกิดกรณีที่ กรรมการ สามารถยักยอกทรัพย์จากบริษัทได้
     
  2. sugit

    sugit อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Mar 2015
    คะแนนถูกใจ:
    1,111
    วิธีการที่ผมคิดได้คร่าว ๆ นะ คือ เมื่อบริษัท
    นำเงินที่เหลือจากการใช้ในกิจการ ไปลงทุนในหุ้น
    แน่นอนว่า บริษัทยังคงไม่ได้กำไรจากหุ้น
    จนกว่า จะได้เงินปันผล หรือ มีการจำหน่ายในราคา
    ที่สูงกว่าตอนซื้อ

    ดังนั้นถ้าเทียบกรณีนี้ กรรมการซึ่งเป็นผู้บริหาร
    เลือกใช้วิธีขายหุ้นของบริษัทให้แก่ตนเองในราคาทุน
    ที่บริษัทซื้อมา หรือต่ำกว่า

    แล้วมาอ้างการซึ้อทรัพย์สินในราคาถูก ตัวกรรมการ
    ไม่มีเงินได้พึงประเมิน ผมถามว่า ลักษณะนี้เข้าข่ายยักยอก
    บริษัทได้หรือไม่ แล้วผู้เสียหาย ก็รวมสรรพากรด้วย
    ที่ไม่อาจเก็บภาษีจาก ส่วนเกินราคาหุ้น ซึ่งถ้าบริษัท
    นำไปขายราคาตลาด จะได้มาด้วยหรือไม่ (การซื้อขายนอกตลาดนะ
    เพราะกรณี นี้บริษัท ก็ไม่ได้ซื้อขายกับกรรมการในตลาด)

    การที่เจ้าหน้าที่สรรพากร มองภาพไม่ออกว่าวิธีนี้เป็นการ
    อำพรางเพื่อไม่เสียภาษี ผมอยากจะบอกว่า เจ้าหน้าที่คนนี้
    ความสามารถน้อยกว่า ระดับพนักงานตรวจสอบที่ผม
    พบเจอบ่อย ๆ เสียอีก(กรณีบริษัท ถูกตรวจสอบบัญชี)

    ผมมองว่า การซื้อทรัพย์สินราคาถูก น่าจะถูกนำไปใช้
    กับกรณี บริษัทต้องการจำหน่ายทรัพย์สิน ที่ "ไม่ต้องการใช้" แล้วมากกว่า
    ที่จะเป็นการขายหุ้นที่เรียกได้ว่า ทำกำไรมหาศาลแบบเห็น ๆ เช่นนี้
    (คิดว่าถ้าจำไม่ผิด 329 ล้านหุ้น ส่วนต่างหุ้นละ 48 บาทกว่า ๆ น่ะนะ)
     
  3. ปู่ยง

    ปู่ยง อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,820
  4. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479

Share This Page