ตัดแปะเอาอะไรมาพูดวะ ไม่คิดจะค้นหาข้อมูลบ้างเลยหรือ เอ้านี่ ผลการจัดเก็บภาษีที่จัดเก็บตั้งแต่ต้นปี งบประมาณ จากกรมสรรพากร ปูลู ที่เงินยังไม่มีการขยับใช้จ่าย เป็นเพราะต้องรอโครงการใหม่ ๆ อยู่
ไปขุดข่าวเมื่อไหร่มาล่ะ... วันที่ 04 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เวลา 07:10:00 น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กล่าวในรายการคืนความสุขเพื่อประชาชน ถึงการบริหารราชการแผ่นดินและงบประมาณว่า "...วันนี้ที่ผ่านมา ผมบอกแล้วมันแยกแท่งกันไม่ได้ วันนี้ก็จะให้เป็นระบบไง ยังไม่ค่อยจะได้เลย เพราะว่าเคยชินกับวิธีการทำงานแบบเดิมมากมาย วันนี้เราก็เข้ามาหยุดสถานการณ์ต่างๆ ให้แล้ว หยุดปัญหา แล้วก็เอาปัญหามาแก้ท่านก็ต้องเอามาคลี่ดูว่าเกี่ยวข้องกับใครยังไง แต่ละกระทรวงทบวงกรม งานเดียวกัน จะแก้ยังไง งบประมาณจะเอามาจากไหน ถ้าทุกคนใช้งบประมาณตัวเอง เท่าไรก็ไม่พอ เดี๋ยวก็ของบกลาง งบกลาง งบกลางจะเอามาจากไหนล่ะครับ รายได้ยังไม่มาสักบาทให้ผมเลย เก็บอะไรก็ไม่ได้ ภาษีก็ไม่ได้ การค้าส่งออกก็เก็บภาษีไม่ได้ ทุกอย่างมันแย่ไปหมด แล้วนี่จะโทษว่าใครผิดใครถูก ไม่ได้หรอก อย่าไปโทษว่าใครผิด ใครถูก ต้องคิดว่าเราจะทำยังไงต่อไปดีกว่า ไม่ใช่ผมอยากจะสืบทอดอำนาจ ไม่ต้องการเลย ต้องการให้ประเทศไทยนี่มีที่ยืนอยู่ในโลกใบนี้เท่านั้นเอง ที่ผมมายืนอยู่ตรงนี้ คนอื่นเขาทำได้ เหมือนผมทำนั่นแหละ ถ้าตั้งใจจริงนะ ก็ขอให้ทุกคนตั้งใจจริงแล้วกัน วันนี้เราจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติให้เร็วขึ้น ในเรื่องของการกดดันจากต่างประเทศก็เบาบางลงไป เว้นแต่ว่า เราเอง คนของเราเอง อดีตนักการเมืองนี่ไปทำให้เขามากดดันเรา อันนี้ ผมก็อยากจะถามท่านเห็นประเทศไทยอยู่ตรงไหนหรือ ท่านจะเอาชนะคะคานผมโดยประเทศเสียหาย แล้วถ้าท่านได้กลับมาเป็นรัฐบาล แล้วท่านจะปกครอง บริหารใคร ประเทศล้มเหลวไปแล้ว มันเฟลไปแล้ว ไม่มีใครเหลือให้ท่านบริหารอีกแล้ว คิดตรงนี้กับผมด้วย เพราะงั้นวันนี้หลายประเทศสนใจนะครับ เราก็พยายามทะอย่างระมัดระวังไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต อย่างเช่นที่ผ่านมานะครับ ..." https://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1435926824&grpid=03&catid=03
เผยแพร่ วันพฤหัสที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2560 วันนี้ (11 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 21.31 น.ที่ผ่านมา เฟซบุ๊กบัญชีชื่อ ‘Banyong Pongpanich’ ซึ่งเป็นของ นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร อดีต กรรมการ คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ดโพสต์ข้อความในหัวข้อ “การลงทุนในไทย ….เพิ่ม หรือ หด กันแน่?” โดยระบุว่า ตื่นเช้าวันหยุด ทุกสื่อพาดหัวรายงานการแถลงของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่ออกมาประกาศผลงานสามปีของรัฐบาลนี้ เนื้อความทำนองว่า “นโยบายรัฐบาลประยุทธเห็นผล การลงทุนสามปีโต 1.7 ล้านล้านบาท” ซึ่งช่างสอดคล้องกับคำสั่งให้ทุกหน่วยงานแถลงผลงานในช่วงสามปีที่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) บริหารประเทศ ว่าทำคุณประโยชน์ให้ประเทศอเนกอนันต์ขนาดไหน อ่านแต่พาดหัวนี่ดูน่าปลื้มอกปลื้มใจมากเลย แต่พอไปดูรายละเอียดที่เขาแถลงการณ์กลับกลายเป็นว่า ตัวเลขการลงทุนจริงที่เกิดจากโครงการที่ได้รับการส่งเสริม ในปี 2557 มีการลงทุน 600,000 ล้านบาท ปี 2558 ลดเหลือ 500,000 ล้านบาท พอปี 2559 หดลงอีกมีแค่ 490,000 ล้านบาท และสามเดือนแรกปีนี้มีอีก 80,000 ล้านบาท ซึ่งถ้าอีกสามไตรมาสยังลงน้อยเท่าๆ นี้จะมีแค่ 320,000 ล้านบาทเท่านั้น เห็นแล้วใจแป้วมากๆ เลย “อย่างนี้เขาเรียกว่าหดตัวครับ ไม่ใช่ขยายตัว มันเท่ากับว่า ปี2558 หดตัว -17% ปี2559หดอีก -2% แถมปีนี้ ทำท่าจะหดได้มากถึง -35% เลยทีเดียว แถมถ้าไปฟังท่านเลขาธิการฯ แถลงยืนยันว่า ในสามปีนี้จะมีลงทุนอีกไม่น้อยกว่า 1 ล้านล้านบาท ยิ่งน่ากลุ้มใจจนอยากเอาตีนก่ายหน้าผาก เพราะนั่นมันลดลงจากสามปีก่อนถึงกว่าหนึ่งในสามเลยทีเดียว อีกอย่างหนึ่ง ที่แถลงนั่นมันสามปีสามเดือนนะครับ ไปเอาผลงานสมัยยิ่งลักษณ์เค้ามาเกือบห้าเดือน” นายบรรยง ระบุด้วยว่า ทั้งหมดเป็นตัวเลขที่ยังไม่ได้เทียบกับรายได้ประชาชาติเลย ถ้าเทียบกับ GDP ยิ่งต้องกุมขมับเข้าไปใหญ่ เพราะมันต้องลดมากกว่านี้อีก เนื่องจากขนาดปีแย่ๆ GDP ก็ยังขยายตัวปีละประมาณ5%ทุกปี (Nominal Rate) นี่เรียกว่าแถลงปัญหาแล้ว ไม่ใช่แถลงผลงาน มันควรจะพาดหัวว่า “BOI ยอมรับ ว่าการลงทุนไม่กระเตื้อง ยังหดตัวต่อเนื่องตลอดสามปี ถึงแม้ว่ารัฐบาลประยุทธจะใช้ความพยายามและทำงานอย่างหนัก แถมยังมีแนวโน้มลดลงอีกในสามปีข้างหน้า” “ผมไม่มีตัวเลขลงทุนจริงผ่าน BOI ในปี 2556 เลยไม่รู้ว่าปี 2557 นั้นหดหรือเปล่า เพราะปกติ BOI ท่านแถลงแต่ตัวเลขคนขอส่งเสริม กับตัวเลขที่อนุมัติ เพิ่งมาแถลงตัวเลขลงทุนจริงในครั้งนี้ ซึ่งผมก็หวังว่าท่านไม่คุ้น เลยบวกตัวเลขผิดหรือรับรายงานผิด ไม่งั้นมันแปลว่าเรากำลังเจอปัญหาหนัก และเศรษฐกิจยากที่จะฟื้นไปอีกหลายปี” นายบรรยง ระบุ นายบรรยง ระบุด้วยว่า ที่พอปลอบใจได้หน่อยก็คือข้อเท็จจริงที่ว่า การลงทุนผ่าน BOI ไม่ใช่การลงทุนภาคเอกชนทั้งหมด ซึ่งโดยปกติแล้วจะอยู่ที่ 20% ก็เลยยังพอมีหวัง ที่ไม่รู้ว่าลมๆ แล้งๆ หรือเปล่า ว่าการลงทุนที่ไม่ขอส่งเสริมจะยังขยายตัว ไม่หดตาม ยิ่งไปอ่านงานวิจัยเรื่อง “สิทธิประโยชน์ทางภาษีกับการดึงดูดนักลงทุน” ของสถาบันวิจัยป๋วย (PIER) แล้วยิ่งเพิ่มกังวล เพราะว่าประเทศไทยอัดฉีดส่งเสริมมากสุดในอาเชี่ยนแล้ว เรามีอัตราภาษี Effective Rate แค่ 7.6% เท่านั้นเอง ขณะที่ฟิลิปปินส์มี 17.9% อินโดนีเซีย 13.9% มาเลเซีย 10.2% และเวียตนาม 9.9% ซึ่งงานวิจัยก็แนะนำว่าการส่งเสริมโดยลดภาษีจะไม่ช่วยอะไรอีก แต่เป็นเรื่องอื่นๆ เช่น คุณภาพของสถาบัน คุณภาพของกฎระเบียบ ของรัฐบาลมากกว่า ตนขอแถมเรื่องคุณภาพสาธารณูปโภคพื้นฐาน คุณภาพรัฐวิสาหกิจ และคุณภาพคน บวกด้วยระดับการคอร์รัปชั่นเข้าไปด้วย เพราะฉะนั้นการจะไปโรดโชว์กี่ร้อยเที่ยวก็อาจจะไม่เกิดผล บรรยง มองว่า การลงทุนภาคเอกชน เป็นปัจจัย เป็นเครื่องจักร ที่สำคัญที่สุด ในการเติบโตอย่างมีคุณภาพของเศรษฐกิจในระบบปัจจุบัน การส่งออกในระยะยาวจะเพิ่มไม่ได้เลยถ้าไม่มีการลงทุน การบริโภคในประเทศก็เพิ่มยากเพราะถ้าไม่มีการลงทุนคนรายได้น้อยและรายได้ปานกลางก็จะไม่มีรายได้เพิ่มแถมหนี้ครัวเรือนก็ถึงคอหอยแล้ว คนรวยก็ไปบริโภคของนอกหรือไม่ก็นอกประเทศกันหมด รัฐลงทุนได้อย่างมากก็ 6-7% ของ GDP แถมถ้าทำต่อเนื่องสักสิบปี หนี้สาธารณะก็คงระเบิด “ทำไมเอกชนไม่ยอมลงทุน นี่เป็นคำถามที่ต้องวิเคราะห์ต้องประเมินให้เข้าใจถ่องแท้ ถ้าไปคิดเอาแค่ง่ายๆ ว่า เพราะไม่มั่นใจ หรือไปคิดว่าจะกระตุ้นได้โดยแค่ลดภาษี หรือแค่ให้รัฐลงทุนนำ หรือจะแค่ทำ EEC ผมว่ามันจะเสี่ยงเกินไปนะครับ ไว้จะร่ายยาวเรื่องนี้อีกทีนะครับ” บรรยง โพสต์ทิ้งท้าย
คงแอบเอาโพยเข้าห้องสอบ หรือไม่ก็พ่องสั่งให้ข้อสอบรั่วแน่เลย อุ๊บส์ๆๆๆ ผิดคน ไอ้นั่นมันครอบครัวตั้วเฮียนี่หว่า