นายกฯ ระบุ ต้นเหตุภัยแล้งเกิดจากโครงการจำนำข้าว ซัดปี 55 บริหารน้ำ หวังให้ชาวนาปลูกข้าว - ป้องกันน้ำท่วม ส่งผลน้ำรองเขื่อนต่ำกว่าเกณฑ์ ระบุ มีกลุ่มยุให้ชาวนาปลูกข้าวนาปรัง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. กล่าวถึงการแก้ปัญหาภัยแล้ง ว่า เรื่องน้ำแต่ละเขื่อน ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รายงานตัวเลขกับตนตลอด ส่วนบางพื้นที่ที่ชาวนายังปลูกข้าวนาปรัง ทั้งๆที่ภาครัฐขอความร่วมมือไม่ให้ปลูกนั้นจะให้ตนทำอย่างไร จะให้ไปจับชาวนาติดคุกเอาไหม ตรงนี้จะให้ทำอย่างไร ซึ่งตนบอกไปแล้วว่าพยายามอย่าทำนาปรัง ขอให้ใช้น้ำให้ประหยัด หันไปปลูกพืชชนิดอื่น ก็มีการแนะนำตลอด ซึ่งสื่อเองก็ต้องบอกชาวนาแบบนี้ ไม่ใช่มาบอกว่าน้ำไม่มีแล้วรัฐบาลต้องรับผิดชอบต้องหาวิธีการหาเงินชดเชย ทั้งนี้ เรื่องทำข้าวนาปรัง ห้ามแล้วก็ไม่เชื่อ เพราะมีการเตือนแล้ว อีกทั้งเห็นอยู่แล้วว่าน้ำไม่มี 4 เขื่อนมีน้ำ 4 พันกว่าลูกบาศก์เมตร ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบรายงานตัวเลขผมอยู่ทุกวัน มีการรายงานทั้งน้ำในเขื่อนนอกเขื่อน ปีที่แล้วคาดการณ์ก่อนฝนเข้ามีปริมาณน้ำ 3,600 แต่หลังจากพายุเข้า ปริมาณน้ำ เป็น 41,000 แต่ไม่ได้หมายความว่าจะทำนาปรังได้ ซึ่งน้ำที่มีถ้าหารแล้ว จะอยู่ได้ไม่กี่เดือน น้ำก็จะหมดจากเขื่อน ก็จะไม่มีน้ำประปะกิน ดังนั้นอยากให้ชาวนาเชื่อภาครัฐที่แนะนำให้ปลูกพืชอย่างอื่นทดแทน และอยากให้สื่อช่วยตรงนี้ด้วยทั้งชาวนาและชาวสวนยาง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เวลาสื่อลงไปทำข่าวก็ควรจะไปแนะนำชาวนา ให้ไปหาผู้ว่าฯ แต่ไปถามข้อมูลจากชาวนาเขาก็ไม่รู้เรื่อง เสร็จแล้วก็เป็นเหยื่อเขา ที่เรียกร้องเรื่องการเลือกตั้ง ถ้าเลือกตั้งมาแล้วจะดีกว่านี้ จะขายข้าวได้ราคามากกว่านี้ โดยวันนี้ น้ำในเขื่อนน้อยเพราะอะไร ต้องไปดูว่าน้ำรองเขื่อนมีเท่าไหร่ น้ำรองเขื่อนต่ำมาตั้งแต่ปี 2555 เพราะปล่อยน้ำมาทำนาจนเหลือเฟือ เพราะมีจำนำข้าว ก็ปลูกให้มาก เอาน้ำไปใช้ให้หมด น้ำที่ควรจะอยู่รองก้นเขื่อน พอฝนตกมาก็จะเติมน้ำในเขื่อน แต่วันนี้น้ำในเขื่อนต่ำลงกว่าเกณฑ์ตั้งแต่ปี 2555 ทั้งกลัวเรื่องน้ำท่วมและปล่อยน้ำมาปลูกข้าว เมื่อฝนตกมาน้อย ก็ไม่มีน้ำ ขณะเดียวกัน ยังเผยด้วยว่า วันนี้มีบางกลุ่มไปบอกชาวนา ให้ใจเย็นๆ เดี๋ยวเขาก็ไปแล้ว ปลูกข้าวไปก่อนเดี๋ยวกลับมาจะทำแบบเดิมให้ http://news.voicetv.co.th/thailand/281439.html เคยคิดจะตั้งกระทู้ดักแล้ว เรื่องต้นเหตุภัยแล้ง ต้องโทษ อิปูร์แน่ เอาครับเอา เอาให้สบายใจเลยเพ่ เอาดีเข้าตัว ส่วนความชั่วโยนให้คนอื่น ไปเลย 555+
โดยมีการปลูกข้าวเพิ่มขึ้นจากเดิม 2 ครั้ง/ปี เป็น 3 ครั้ง/ปี มีกรพยายามเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้ได้ปริมาณมากขึ้น เหล่านี้ส่งผลให้เกิดการใช้เมล็ดพันธุ์เพิ่มขึ้น 8% ชาวนาใช้ปุ๋ย และสารกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นถึง 42% และมีการใช้น้ำเพิ่มขึ้น 20% จากปีก่อน ซึ่งเป็นปริมาณที่สูงกว่าแผนการจัดการน้ำที่กรมชลประทานวางไว้ http://thaipublica.org/2014/12/nipon-tdri-corruption-in-the-paddy-pledging-policy/ และนโยบายรับจำนำข้าวที่ทำให้ชาวนาเพิ่มการปลูกข้าวในฤดูแล้ง ทำให้ปล่อยน้ำมากกว่าแผน และเกษตรกรไม่เชื่อคำเตือนภัยแล้งของกรมชลประทาน http://www.dailynews.co.th/politics/331963 นอกจากนี้ แผนแม่บทระบบบริหารจัดการโครงการ เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง พ.ศ. 2555 ของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ หรือ กยน.ได้เขียนเป้าหมายไว้อย่างชัดเจนว่ามีเป้าหมายระยะสั้น ได้แก่ การลดระดับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากอุทกภัยปี 2555 และการป้องกันการเกิดปัญหาอุทกภัยเช่นในปี 2554 หรือหากเกิดอุทกภัยจะต้องให้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมน้อยที่สุด ... จากการสำรวจข้อเท็จจริงเรื่องการระบายน้ำในช่วงฤดูฝน (ฤดูฝนนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม) ซึ่งเป็นข้อมูลจากกรมชลประทาน พบว่าการระบายน้ำในฤดูฝนของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ในปี 2555 มีปริมาณการระบายมากกว่าค่าเฉลี่ย คือ เขื่อนภูมิพลมีการระบายน้ำในฤดูฝนปี 2555 ที่ 1,930 ล้าน ลบ.ม. โดยค่าเฉลี่ยคือ 1,798 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่เขื่อนสิริกิติ์มีการระบายน้ำในฤดูฝนปี 2555 ที่ 2,535 ล้าน ลบ.ม. โดยค่าเฉลี่ยคือ 2,242 ล้าน ลบ.ม. เมื่อดูจากสถิติแล้วจะเห็นว่าปริมาณการปล่อยน้ำในฤดูฝนของทั้งเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา มีรูปแบบการปล่อยน้ำที่เปลี่ยนไปจากเดิมคือ เน้นการระบายน้ำปริมาณมากในช่วงต้นฤดูฝน (พฤษภาคม-กรกฎาคม) ตามนโยบายที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น คือมากกว่าค่าเฉลี่ย ในขณะที่รูปแบบเดิมคือการจัดการให้เหมาะสมตามสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป ... อย่างไรก็ตาม จากสถิติย้อนหลัง 6 ปีพบว่า การปลูกข้าวนาปรังในฤดูแล้งมีพื้นที่การปลูกมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะตั้งแต่ฤดูแล้งปี 2554/2555 เป็นต้นมา ที่มีพื้นที่การปลูกแตะ 9 ล้านไร่ขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์เริ่มต้นโครงการรับจำนำข้าวเปลือก http://tdri.or.th/water/thaipublica20140302/
ส่วนเรื่องไฟป่า... จะว่าไปก็ถูก อย่าจุดไฟเผาบริเวณป่า ไฟป่าที่เกิดในประเทศกำลังพัฒนาในเขตร้อนส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากกิจกรรมของมนุษย์ สำหรับประเทศไทยจากการเก็บสถิติไฟป่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528-2542 ซึ่งมีสถิติไฟป่าทั้งสิ้น 73,630 ครั้ง พบว่าเกิดจากสาเหตุตามธรรมชาติคือฟ้าผ่าเพียง 4 ครั้ง เท่านั้น คือเกิดที่ภูกระดึง จังหวัดเลย ที่ห้วยน้ำดัง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ท่าแซะ จังหวัดชุมพร และที่เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา แห่งละหนึ่งครั้ง ดังนั้นจึงถือได้ว่าไฟป่าในประเทศไทยทั้งหมดเกิดจากการกระทำของคน http://www.fca16.com/newblog/blog.php?id=forestfire41
มีสาระปัญญาแบบนี้ค่อยน่าเสียสละเวลาพิมพ์ให้หน่อย ถ้าฉลาดกว่าผมคงไม่พูดแบบนี้ ในการแก้ไฟป่า การจุดไฟเพื่อให้สัตว์หนีออกจากที่ซ่อน เพื่อสะดวกในการล่าสัตว์ การเผาไร่ เผาป่า เผากำจัดวัชพืช เตรียมพื้นที่เพาะปลูก เพื่อให้หญ้าแตกใบอ่อนเป็นอาหารสัตว์ เผาทางให้โล่งเตียนเพื่อสะดวกในการลากไม้ ไล่ยุง หุงต้มอาหารในป่า ของพวกลักลอบตัดไม้ ... อย่าจุดไฟ ไฟก็ไม่ติด .... บอกใครหรือครับ อย่าจุดไฟ บอกเขาห้ามเขา อย่าจุดไฟ เขาจะเชื่อฟังแล้วปฏิบัติตาม เขาจะไม่จุดไฟหรือครับ วิถีชีวิตเขาเป็นแบบนี้ .....นับว่าสุดยอดชาญฉลาดเหมือนคุณเลย ในการแก้ปัญหาไฟป่า
การแก้ปัญหานี้ให้น้อยลง ส่วนหนึ่งก็แก้วิถีชีวิตเขา ไม่ให้เกี่ยวข้องกับการจุดไฟเผาป่า ไม่ใช่แค่ปากบอก ใช้ปากทำงาน แก้ปัญหา เหมือนพรรค ปชป. อย่าจุดไปน๊า ไม่จุดไฟกัน ไฟก็ไม่ไหม้ น๊ะ น๊ะ ป้อม ขอร้องล่ะ
ก็ตัดคำพูดเขามาแค่นั้นเอง... สถิติก็บอกอยู่ว่าไฟป่าในประเทศไทยเกิดจากอะไร ส่วนเรื่องไฟป่าก็ต้องช่วยกันป้องกัน "ไฟป่าในประเทศไทย ถ้าไม่จุดไม่มีติด ถ้าอยู่เฉยๆ ไฟไม่ลุก" ตนดูแลอยู่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด เฝ้าระวังเรื่องคนไปจุดไฟ ฉะนั้น ต้องช่วยกันเพราะหากจุดไฟแล้วจะดับยาก เนื่องจากช่วงนี้แห้งแล้ง http://www.thairath.co.th/content/587320
รัฐบาลที่แล้วก็ว่ารัฐบาลก่อนหน้านั้น รัฐบาลก่อนหน้านั้นก็ว่ารัฐบาลก่อนๆ แล้วไง ? ได้ยินจนเบื่อๆ ขออะไรใหม่ๆ
ข้อสังเกตและข้อสงสัยบางประการเกี่ยวกับโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ข้อสงสัย การแก้ไขประกาศฉบับนี้เท่ากับเป็นการเพิ่มอำนาจการบริหารจัดการน้ำทุกโครงการภายใต้วงเงินกู้ 3.5 แสนล้านบาทให้อยู่ในมือของ สอบช. เพียงหน่วยงานเดียวใช่หรือไม่ ? และ สอบช. ซึ่งเป็นหน่วยงานเกิดใหม่จะเป็นผู้รับผิดชอบโครงการย่อยทั้งหมดใช่หรือไม่? สอบช. มีความพร้อมในการบริหารสัญญาทุกโครงการแล้วใช่หรือไม่? ขณะเดียวกันอำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกนั้น อยู่ภายใต้การตัดสินใจของประธาน กบอ. คนเดียวใช่หรือไม่? จากที่เดิมอำนาจอยู่ที่การตัดสินใจของรัฐมนตรีที่กำกับดูแลส่วนราชการเจ้าของโครงการ (2) ประกาศฉบับนี้มีทั้งหมด 13 ข้อ โดยข้อสำคัญได้แก่ ข้อ 2 ซึ่งกล่าวถึง ผู้ได้รับการคัดเลือกในการเสนอกรอบแนวคิดเพื่อออกแบบก่อสร้าง (Conceptual Plan) โดยผู้ได้รับการคัดเลือกเหล่านี้สามารถเข้าเสนอราคาพร้อมข้อเสนอทางด้านเทคนิคเพื่อเป็น “ผู้รับงาน” ซึ่งล่าสุดเราทราบแล้วว่าทั้ง 10 โมดูล นั้นมีผู้ผ่านการคัดเลือกเสนอกรอบแนวคิดจำนวน 6 กลุ่มบริษัท โดยแยกเป็นโมดูลละ 3 กลุ่มบริษัท ข้อสงสัย เท่าที่ผู้เขียนพยายามหาข้อมูล ยังไม่ปรากฏ “รายงานผลการพิจารณาคัดเลือกกรอบแนวคิดเพื่ออกแบบก่อสร้างระบบบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย” หรือ รายงาน Pre-Qualification ของคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกกรอบแนวคิดเพื่อออกแบบก่อสร้างระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย (กบนอ.) ซึ่งรายงานฉบับนี้จะทำให้ทราบถึงเหตุผลและหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการ กบนอ. ว่าเพราะเหตุใดจึงคัดเลือกกลุ่มบริษัทที่ยื่นข้อเสนอกรอบแนวคิดจากจำนวน 34 ราย เหลือเพียง 6 ราย (3) ข้อที่ 4 ของประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการพัสดุปี 55 ฉบับนี้ กล่าวถึง อำนาจหน้าที่ของ “คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือก” ว่ามีอำนาจหน้าที่อยู่ 4 ประการ โดยประการสำคัญที่สุด คือ การกำหนดคุณสมบัติผู้ยื่นข้อเสนอและการพิจารณาคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมเป็น “ผู้รับงาน” อย่างไรก็ดีน่าสนใจว่ากรณีที่ ครม. อนุมัติโครงการหลายโครงการแบบเป็น Package ในแต่ละโมดูลแล้ว (ตามความในข้อ 4 วรรคท้าย) ทางคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกอาจแต่งตั้ง “คณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมเป็นผู้รับงานแต่ละโครงการ” ได้ โดยคณะกรรมการฯ อาจมอบมอบหมายให้คณะอนุกรรมการดำเนินการได้ตามอำนาจของคณะกรรมการฯ ในข้อ 6 ข้อสงสัย ข้อน่าสังเกตในข้อ 6(4) ของประกาศฉบับนี้กำหนดไว้ว่า “ในกรณีที่ผู้ยื่นข้อเสนอราคา หรือมีผู้ยื่นข้อเสนอหลายราย แต่ถูกต้องตามรายละเอียดในเอกสารเชิญชวนหรือผ่านการพิจารณาด้านเทคนิคเพียงรายเดียว ให้คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกดำเนินการต่อไปได้” …ซึ่งตรงนี้ น่าสนใจว่า หาก TOR ของแต่ละโมดูลคลุมเครือหรือไม่กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกไว้ชัดเจนแล้ว อาจเกิดปัญหาในเรื่องการตัดสินคัดเลือกผู้เสนอราคา โดยเฉพาะต้องเปิดซองเทคนิคก่อนที่จะเปิดซองราคา (5) สำหรับรูปแบบของโครงการและเงื่อนไขในการยื่นข้อเสนอนั้น ตาม TOR กำหนดให้ใช้วิธีการ Design-Build with Guaranteed Maximum Price หรือ GMP ซึ่งเป็นวิธีการจ้างออกแบบและก่อสร้างพร้อมประกันราคาไม่เกินวงเงินสูงสุด ทั้งนี้เคยมีงานวิจัยด้านการบริหารสัญญาในอุตสาหกรรมก่อสร้างของต่างประเทศ1กล่าวถึง ข้อดีของวิธีการนี้ไว้ว่า GMP ทำให้งานก่อสร้างเสร็จเร็ว ผู้รับจ้างทำงานด้วยความประหยัด เพราะตนเองต้องทำงานให้ได้ภายในกรอบวงเงินประกันราคาที่เสนอมาสูงสุด เช่น โมดูล A1 สร้างอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ 5 ลุ่มน้ำ วงเงินงบประมาณ 50,000 ล้านบาท กำหนดเวลาก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปี โดยหากผู้รับงานที่เสนอราคาต่ำสุดเสนอราคาภายในวงเงิน เช่น 49,000 ล้านบาท ผู้รับงานต้องทำให้ได้ภายในวงเงินดังกล่าวนี้ ไม่สามารถร้องขอปรับราคาเหมือนสัญญาก่อสร้างปกติที่ขอปรับราคาได้กรณีที่ราคาวัสดุก่อสร้างมีความผันผวน ข้อสงสัย ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตประการหนึ่งเกี่ยวกับจำนวนผู้เข้าเสนอราคา ยิ่งมีผู้ผ่านการคัดเลือกกรอบแนวคิดจำนวนน้อยรายมากเท่าไร โอกาสที่จะเกิดการ “ฮั้วประมูล” ย่อมมีมากขึ้นเท่านั้น …ที่ต้องใช้ว่าเป็น “โอกาส” เพราะโดยทฤษฎีการฮั้วประมูลแล้ว ยิ่งตลาดการประมูลมีคู่แข่งน้อยรายเท่าไหร่ ย่อมมีโอกาสที่คู่แข่งจะจับมือกันเพื่อแบ่งผลประโยชน์ร่วมกันในอนาคตมากขึ้นเท่านั้น อย่างไรก็ตามผู้เขียนมิได้มีเจตนากล่าวหาว่าการประมูลครั้งนี้มีการฮั้วประมูลเกิดขึ้นแต่อย่างใด ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว ผู้เขียนเชื่อในเจตนาดีและความบริสุทธิ์ใจของเอกชนผู้เข้ามาเสนอตัวทำงานให้กับรัฐอยู่แล้ว (6) ผู้เขียนคิดว่าประเด็นงบประมาณและราคากลางของโครงการนี้น่าสนใจมาก เพราะโดยทั่วไปแล้วโครงการก่อสร้างของรัฐทุกโครงการจะต้องมีประกาศราคากลางไว้ในประกาศประกวดราคาหรือประกาศการประมูล E-Auction ซึ่ง ราคากลางจะต้องไม่ใช่ “งบประมาณ” เพราะราคากลางมาจากการถอดแบบรูปรายการ ซึ่งกรณีดังกล่าวราคากลางยังไม่มีเพราะยังไม่มีแบบรูปรายการเลย เนื่องจากเป็นการเสนอราคาในลักษณะเหมารวมทุกอย่าง ข้อสงสัย ดังนั้น คำถามที่ทาง กบอ. อาจจะต้องตอบสาธารณชนให้ได้ คือ แล้ว กบอ. ทราบได้อย่างไรว่าในแต่ละโมดูลนั้นสมควรที่จะใช้วงเงินงบประมาณเท่านั้นเท่านี้ มีเกณฑ์เบื้องต้นในการประมาณการงบประมาณแต่ละโมดูลอย่างไร (7) การเลือกใช้รูปแบบการเสนอราคาแบบ GMP นั้น ในทางการบริหารโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ พบว่า งานอาจได้คุณภาพไม่ดี เพราะผู้รับเหมาต้องรีบทำ ต้องเร่งรัดงานมากภายในระยะเวลาอันจำกัด กรณีโครงการนี้ระยะเวลาที่ผู้รับจ้างต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จแต่ละโมดูล คือ 5 ปี …นี่เรายังไม่นับรวมขอบเขตงานหลักที่ผู้รับจ้างต้องทำตามเงื่อนไข TOR ตั้งแต่ศึกษาความเหมาะสมโครงการ วิเคราะห์ EIA และ HIA วิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ออกแบบ ก่อสร้าง และที่สำคัญ คือ การเคลียร์เรื่องการเวนคืนและชดเชยค่าเวนคืนที่ดิน (ซึ่งน่าจะเป็นประเด็นปัญหาต่อไปในอนาคต เพราะหากเวนคืนพื้นที่ที่มีราคาสูง นั่นหมายถึง ต้นทุนของผู้รับเหมาย่อมสูงตามไปด้วย ดังนั้น ผู้รับเหมาอาจพยายามเลือกพื้นที่เวนคืนที่ตัวเองมีภาระต้นทุนการเวนคืนถูกที่สุด ซึ่งตรงนี้ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่ามันจะเป็นการแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริงหรือไม่) ขณะเดียวกันรูปแบบการทำสัญญาแบบ GMP นี้ ผู้ควบคุมงานของรัฐต้องดูแลใกล้ชิดอย่างมาก แม้ว่าประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการพัสดุปี 55 จะกำหนดเรื่องการตรวจการจ้างและการควบคุมงานก่อสร้างไว้ว่าให้นำข้อกำหนดในระเบียบพัสดุปี 35 มาใช้โดยอนุโลม (ดูข้อ 11 ของประกาศ) อย่างไรก็ดีโครงการดังกล่าวมีขนาดใหญ่และกระจายอยู่ในหลายพื้นที่ ซึ่งโดยทั่วไปย่อมมีการ Sub Contract กันอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าผู้รับเหมาที่มา Sub งานต่อนั้นจะทำงานได้ตามกรอบแนวคิดและระยะเวลาที่ “ผู้รับงานหลัก” กำหนดไว้หรือไม่ (8) ท้ายที่สุด หากผู้รับจ้างขาดสภาพคล่องทางการเงินจะยิ่งทำให้งานล่าช้า ผู้รับจ้างอาจถูกปรับจนไม่คุ้มต่อการทำงานและอาจส่งผลต่อการ “ทิ้งงาน” ในที่สุด เหมือนกรณีของโรงพักทดแทนจำนวน 396 แห่ง ซึ่งปัญหาดังกล่าวต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะหาก Main Contractor เห็นแล้วว่าทำแล้วไม่คุ้มค่ากับการลงทุน สิ่งที่พวกเขาต้องทำอย่างแรก คือ การ “หักคอ” หรือ “กดราคา” ผู้รับเหมารายย่อยก่อน และถ้าผู้รับเหมารายย่อยเห็นว่าทำแล้วได้กำไรน้อย ผู้รับเหมารายย่อยย่อมลดเนื้องานและ Spec วัสดุก่อสร้างลง ทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงแบบรูปรายการซึ่งท้ายที่สุด “หลวง” จะไม่ได้งานตามกรอบแนวคิดเดิมที่ผู้รับงานกำหนดไว้…