http://www.isranews.org/isranews-news/item/34836-ratchakitja_889.html สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่าราชกิจจานุเบกษา 2 ธ.ค.57 ได้เผยแพร่ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องให้ข้าราชการตุลาการพ้นจากตำแหน่ง และเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ข้าราชการตุลาการพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากถูกลงโทษให้ออกจากราชการ จำนวน 3 ราย 1.นายเอกวิโรจน์ มณีธนวรรณ พ้นจากตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ และเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นมหาปถมาภรณ์ช้างเผือก มหาชิรมงกุฎ ประถมภรณ์ช้างเผือก ประถมาภรณ์มงกุฎไทย ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก และทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย 2.นายประโลม คเชนทร์ พ้นจากตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ และเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นมหาปถมาภรณ์ช้างเผือก มหาชิรมงกุฎ ประถมภรณ์ช้างเผือก ประถมาภรณ์มงกุฎไทย ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก และทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย 3.นายชูวงศ์ ละอองศิริวงศ์ พ้นจากตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสในศาลจังหวัดมีนบุรี และเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นมหาปถมาภรณ์ช้างเผือก มหาชิรมงกุฎ ประถมภรณ์ช้างเผือก ประถมาภรณ์มงกุฎไทย ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย และเหรียญจักรพรรดิมาลา ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 5 มี.ค.57 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 13 พ.ย.57 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
http://www.thaipost.net/news/190914/96406 กต.กวาดบ้านอีก ให้ออก3ตุลาการ เหตุปล่อยผู้ค้ายา ก.ต.กวาดบ้านอีกล็อต มีมติให้ออก 3 ผู้พิพากษามีนบุรี เหตุใช้ดุลยพินิจขัดระเบียบ สั่งปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาคดียาเสพติด สุดท้ายหลบหนีเข้ากลีบเมฆ ชี้การใช้ดุลยพินิจต้องมีเหตุผลหนักแน่น ไม่ทำให้ราชการเสียหาย ที่สำนักงานศาลยุติธรรม วันที่ 18 กันยายน มีรายงานว่า ที่ประชุมคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ครั้งที่ 21/2557 เมื่อวันที่ 10 ก.ย.ที่ผ่านมา ได้มีมติให้ผู้พิพากษาออกจากราชการ จำนวน 3 ราย ประกอบด้วย นายเอกวิโรจน์ มณีธนวรรณ อดีตหัวหน้าศาลจังหวัดมีนบุรี, นายประโลม คเชนทร์ อดีตผู้พิพากษาศาลจังหวัดมีนบุรี และนายชูวงศ์ ละอองศิริวงศ์ ผู้พิพากษาอาวุโสศาลจังหวัดมีนบุรี รายงานข่าวแจ้งว่า โดยสาเหตุที่ที่ประชุม ก.ต. เห็นควรให้ผู้พิพากษาทั้ง 3 คนออกจากราชการนั้น เนื่องจากผู้พิพากษาทั้ง 3 คน ประกอบด้วยองค์คณะ 2 คน และผู้ไต่สวนการปล่อยชั่วคราวนักโทษคดียาเสพติด 1 คน ได้ใช้ดุลยพินิจในการปล่อยชั่วคราวจำเลยในคดียาเสพติดเมื่อหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งในขณะนั้นได้ปรากฏพยานหลักฐานเชื่อได้ตามที่จำเลยคดียาเสพติดผู้นั้นอ้างว่าถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทำร้ายร่างกายเพื่อให้ยอมรับสารภาพในคดี เนื่องจากจำเลยมีบาดแผลและใบรับรองแพทย์มายืนยัน จึงใช้ดุลยพินิจสั่งปล่อยชั่วคราว และตีหลักทรัพย์ในวงเงินที่สูง เพื่อได้รับการปล่อยตัวออกไปสู้คดี ต่อมาทราบภายหลังว่าจำเลยคนดังกล่าวเป็นจำเลยรายสำคัญในคดียาเสพติด ซึ่งต่อมาจำเลยก็ได้หลบหนีศาล อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าวไม่ได้มีพยานหลักฐานชี้ว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ แต่เป็นการขัดต่อระเบียบเกินกว่าที่กำหนดในการปล่อยชั่วคราวของศาลจังหวัดมีนบุรี ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน แหล่งข่าวเปิดเผยว่า เหตุที่ ก.ต.มีมติให้ออกผู้พิพากษามากขึ้นในช่วงนี้ เนื่องจากเห็นว่าการใช้ดุลยพินิจของผู้พิพากษาในการพิจารณาคดีต่างๆ จะต้องมีเหตุผลหนักแน่น ไม่ขัดกับแนวปฏิบัติ ซึ่งกรณีนี้ในขั้นตอนการไต่สวนที่ผู้ต้องหาร้องว่าถูกตำรวจทำร้ายนั้น ผู้พิพากษาไม่ได้เรียกตำรวจซึ่งเป็นคู่กรณีมาไต่สวนตามระเบียบปฏิบัติก่อนจะให้ประกันตัว ขณะที่ผู้ต้องหามียาเสพติดครอบครองถึง 3,600 เม็ด จึงเห็นว่าเป็นการใช้ดุลยพินิจที่ไม่รอบคอบ ขัดระเบียบปฏิบัติ แม้ไม่พบเรื่องทุจริต แต่ก็ทำให้เสียหายในวงราชการได้ ก่อนหน้านั้น เมื่อเดือนต้นเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุม ก.ต.ได้มีมติพิจารณาลงโทษผู้พิพากษากรณีใช้ดุลพินิจพิจารณาอนุญาตปล่อยชั่วคราวจำเลยในคดียาเสพติดและคดีอื่นๆ ในช่วงปี 2548-2553 รวม 7 ราย ตามที่ได้มีการสอบสวนข้อเท็จจริงและได้เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงแล้ว ซึ่งพบว่ามีมูลความผิดจริง โดย ก.ต.ให้ผู้พิพากษา 4 รายพ้นจากตำแหน่ง ตาม พ.ร.บ.ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมฯ มาตรา 32 (7) นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนผู้พิพากษาระดับชั้นศาลฎีกาอีก 2 ราย และยังให้ภาคทัณฑ์ผู้พิพากษาระดับชั้นศาลอุทธรณ์ภาค 1 อีก 1 รายด้วย สำหรับผู้พิพากษาที่ ก.ต.มีมติลงโทษวินัยร้ายแรง 4 ราย ให้พ้นจากตำแหน่ง ประกอบด้วย นายองอาจ โรจนสุพจน์ ผู้พิพากษาอาวุโส อดีตรองประธานศาลฎีกา และนายสิงห์พล ละอองมณี ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ซึ่ง ก.ต.มีมติให้ไล่ออก และนายอดิศักดิ์ ทิมมาศย์ ผู้พิพากษาอาวุโส อดีตประธานศาลอุทธรณ์ และนายสิทธิชัย พรหมศร ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ซึ่ง ก.ต.มีมติให้ออกจากราชการ โดยการสอบสวนข้อเท็จจริงดังกล่าว ก็สืบเนื่องจากที่ ก.ต.เคยมีมติให้ไล่ออก นายสมศักดิ์ จันทกุล อดีตผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2553 ซึ่งถูกกล่าวหาเรื่องการให้ประกันตัวจำเลย ซึ่งต่อมามีการสอบสวนข้อเท็จจริงในรายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ทั้งนี้ การให้ไล่ออกและให้ออกครั้งนี้ ถือเป็นการลงโทษทางวินัยครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง และเป็นผู้พิพากษาที่มีตำแหน่งสูง เพราะศาลยุติธรรมมีนโยบายชัดเจนในเรื่องนี้ ซึ่งจะทำให้ประชาชนเชื่อมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ของศาลยุติธรรมมากขึ้น ว่าเป็นไปอย่างซื่อสัตย์สุจริต เป็นไปตามระเบียบแบบแผนและรอบคอบ.
เห็นด้วยอย่างยิ่ง ถ้าทุกหน่วยงานราชการหรือกึ่งราชการ รู้จักกวาดบ้านตัวเองอย่างนี้ ประเทศเราคงเจริญรุ่งเรืองไปนานแล้ว
"ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุข เรียบร้อยจึงมิใช้การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมความดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้" ส่วนหนึ่งของ พระบรมราโชวาทในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ จังหวัดชลบุรี 11 ธันวาคม 2512 http://www.ohm.go.th/th/monarch/speech
จำได้ว่ามีข่าวมาหลายเดือนแล้วแต่เหตุผลยังเป็นความลับ ที่แท้ปล่อยจำเลยคดียาเสพติดนี่เอง มันต้องแบบนี้สิ แม้ไม่ได้มีหลักฐานว่าทุจริต แต่ใช้ดุลยพินิจมั่วซั่วสร้างความเสียหายแก่คดีก็สมควรโดนไล่ออก
คนโดนคดีอาญา อย่างไอ้แม้ว กลับไม่มีใครกล้าเรียกคืนเครื่องราชย์ กฎหมายไทยให้เรียกคืนเครื่องราชย์กับข้าราชการ ที่ทำผิด แต่ทำไมนักการเมืองทำผิด ไม่เรียกคืนเครื่องราชย์