ศาลฎีกาฯฟันนักการเมืองท้องถิ่น 11 คนรวด‘ซุกทรัพย์สิน’ สั่ง‘จำคุก’ให้รอลงโทษ จงใจ ไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สิน ป.ป.ช. ! ศาลฎีกาฯฟัน นักการเมืองท้องถิ่น 7 จว. 11 คนรวด ห้ามเล่นการเมือง 5 ปี ปรับ 8,000-24,000 บาท จำคุกคนละ 2-6 เดือน แต่ให้รอการลงโทษ คนละ 1 ปี http://www.isranews.org/component/content/article/57-isranews/isranews-news/38785-sandika_8891.html --------------------------------------------------------------------------------- ไม่ควรรอลงอาญา กรณีนักการเมืองทำผิดกฎหมายเสียเอง จะได้กำจัดคนชั่วๆออกไป แต่เรื่องลดโทษ กรณีสารภาพ ยอมรับผิด ผมเห็นด้วย ---------------------------------------------------------------------------------------------------- "ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุข เรียบร้อยจึงมิใช้การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมความดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้" พระบรมราโชวาทในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ จังหวัดชลบุรี 11 ธันวาคม 2512
จริงๆ ไม่ควรรอลงอาญาใครเลยครับ จะได้หลาบจำ คิดก่อนทำ ตอนนี้ใช้รอลงอาญากันพร่ำเพรื่อ จนคนไม่กลัวกันแล้ว ทำผิดช่างมัน มีพวกมีตังมีสีเดี๋ยววิ่งรอลงอาญา ไม่มีพวกไม่มีตังไม่มีสีไม่รอลงอาญา แต่รอเข้าคุกแดนไหนก็ว่ากันไป ต้องปฏิรูปครับ
ต้องทำให้การโกงไม่คุ้ม เช่นปรับ10เท่าของเงินที่โกง คดีที่ทักษิณโดนยึดทรัพย์ ถ้าปรับ10เท่า ป่านนี้บ้านเมืองสงบแล้ว เพราะมันหมดตูด
ผมเห็นนักการเมืองเวลาโดนโทษจำคุก ได้รอลงอาญากันเกือบทุกคดี แล้วก็รอดคุกจนได้ ถ้าคดีมโนสาเร่ ผมไม่ติดใจ แต่กรณี ***ทุจริตคดโกง ***ทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ***ใช้อำนาจหน้าที่ ทำผิดกฎหมาย ผมว่าไม่ควรรอลงอาญา ไม่งั้นมันไม่เข็ดหลาบ เหมือนที่คุณบอก
เห็นด้วยอย่างยิ่ง เหมือนกับกรณีจับได้ว่าพระอาบัติปาราชิก ถ้าคาหนังคาเขาไม่ต้องสอบสวนแล้วเอาไปสึกหรอก กระชากผ้าเหลืองออกเลย เพราะไม่ได้เป็นพระแล้ว
อย่าไปกลัว... ว่าแต่ใครกลัวกันแน่ http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9490000145170 อดีต ส.ว.นครราชสีมา กล่าวว่า ส่วนการดำเนินการกับ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยใช้ช่องทางของศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court หรือ ICC) ที่มีผู้อ้างว่าอาจมีปัญหาเพราะประเทศไทยยังไม่ได้ลงนามเป็นภาคีสมาชิกนั้น จริง ๆ แล้วในเรื่องนี้ประเทศไทยได้เคยลงนามไปแล้วในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2543 รอเพียงนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาเพื่อลงสัตยาบันเท่านั้น แต่เมื่อมาถึงยุครัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ กลับสั่งการให้ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รมว. ต่างประเทศ ยับยั้งเรื่องนี้ไว้โดยสิ้นเชิง ดังนั้น ขณะนี้เพียงแค่นำเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าสู่รัฐสภาให้พิจารณาเพื่อให้สัตยาบันเป็นภาคีสมาชิก ให้มีผลผูกพันตามกฎระเบียบข้อบังคับของศาลอาญาระหว่างประเทศเท่านั้น ก็สามารถดำเนินคดีกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ในกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ เพียงแค่มีใครนำเรื่องไปฟ้องดำเนินคดีกับศาลอาญาระหว่างประเทศ
อิ...อิ....ข้อเสนอของผม ช่วยให้ศาลทำงานน้อยลงนะครับ คนคิดจะทำความผิดถ้าเกิดความกลัวโทษที่ได้รับ เขาก็ไม่กล้าทำผิด เมื่อไม่ทำผิด คดีก็ไม่เกิด ศาลก็ไม่ต้องมาเสียเวลาพิจารณาคดี