ข้าราชการและพนักงานของรัฐทั้งหลาย ได้เงินเดือนมาจากใครกันล่ะครับ ถ้าไม่ใช่ได้มาจากหยาดเหงื่อของเงินภาษีประชาชน ..... ทุกวันนี้ประชาชนเข้าใจแล้วว่า "ข้าราชการ" ไม่ใช่ "เจ้าคนนายคน" ข้าราชการเป็นเพียงผู้รับใจประชาชน จิตสำนึกแบบนี้ถึงจะถูก
จ่ายเงินซื้อข้าว ไม่ได้ติดหนี้ชาวนาฉันใด ใช้ความรู้-แรงงาน แลกเงินเดือน ไม่ใช้รับจ้างเป็นขี้ข้า ฉันนั้น
ข้าราชการจ่ายครับ ข้าราชการและพนักงานของรัฐทั้งหลาย ได้เงินเดือนมาจากภาษีของประชาชน ประชาชนได้เงินเดือนมาจากมาจากภาษีของข้าราชการหรือเปล่าครับ ข้าราชการได้เงินเดือนมาจากภาษีประชาชน มาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน มาส่งเสียบุตรหลาน จ่ายค่าน้ำค่าไฟใช้ในการดำรงชีวิต มีไหมจิตสำนึกอยากจะตอบแทน มีไหมจิตสำนึกอยากจะรับใช้ประชาชน หรือคิดว่า กินอยู่โดยใช้เงินของประชาชน ประชาชนต้องเป็นผู้รับใช้ อันนี้มันความคิด และจิตสำนึกของศักดินาล้าหลังดักดาน ตามโลกไม่ทันแล้ว
พูดมาก็ถูก แต่อยากรู้ว่า ในความคิดและจิตสำนึก คิดว่าเป็นผู้รับใช้ประชาชนหรือเปล่า คิดว่าประชาชนมีบุญคุณหรือเปล่า ถึงเงินที่ได้มา จะใช้ความรู้และแรงงานเข้าแลก
ข้าราชการเป็นผู้ให้บริการประชาชน ไม่ใช่ผู้รับใช้ประชาชน อย่ามโนความหมายเอาเองดิ http://dictionary.sanook.com/search/ข้าราชการ https://th.wikipedia.org/wiki/ข้าราชการไทย
บลา บลา บลา จิตสำนึกอย่างนู้น คุณธรรมอย่างนี้ เพื่อนตัวเองไม่สน โกหกใส่ร้ายประจำ เสียภาษีหรือเปล่าก็ไม่ตอบ น่าขำเสียจริง
ลูก น. ผู้มีกําเนิดจากพ่อแม่ http://dictionary.sanook.com/search/ลูก ผมมโนไปเอง ลูกไม่ได้แปลว่า ผู้ที่มีจิตสำนึกจะต้องทดแทนบุญคุณพ่อแม่ ผมมโนไปเอง ลูกไม่ได้แปลว่า ผู้ที่มีจิตสำนึกจะต้องปรนนิบัติรับใช้พ่อแม่ยามแก่เฒ่า
งั้นถ้าเจ้าพระยาใจดำไม่จ่ายภาษี งั้นก็แปลว่าไม่มีบุญคุญต่อกัน ข้าราชการไม่ต้องรับใช้เจ้าพระยาใจดำใช่ไหม
มโนไปเองจริงๆ ทดแทนบุญคุณ หรือปรนนิบัติรับใช้ เป็นเรื่องของศาสนา และจารีตในแต่ละสังคมต่างๆ ในสังคมของชาวเอสกิโม เรื่องการดูแลพ่อแม่ทดแทนบุญคุณนั้นไม่มีในจารีตสังคมนั้น มันไม่ได้เป็นหน้าที่ของลูก http://www.oocities.org/go26_th/page3.html https://www.google.co.th/url?sa=t&r...cvVB7JdbnePAhQg3w&sig2=ifGQ2miICFbHeM_UEWnYCw
ข้อไหนที่เขียนว่า "ข้าราชการมีหน้าที่รับใช้ประชาชน" หรือ ??? ข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2537 โดยที่ข้าราชการพลเรือนมีหน้าที่และความรับผิดชอบสำคัญในการพัฒนาประเทศรวมทั้งการให้บริการแก่ประชาชน ซึ่งจำเป็นต้องทำงานร่วมกันหลายฝ่าย ฉะนั้น เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนมีความประพฤติดี สำนึกในหน้าที่ สามารถประสานงานกับทุกฝ่ายตลอดจนปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลยิ่งขึ้น จึงสมควรให้มีข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนไว้เป็นประมวลความประพฤติเพื่อรักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและส่งเสริมชื่อเสียง เกียรติคุณ เกียรติฐานะ ของข้าราชการพลเรือน อันจะยังผลให้ผู้ประพฤติเป็นที่เลื่อมใส ศรัทธาและยกย่องของบุคคลโดยทั่วไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 (5) และมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 จึงออกข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนไว้ ดังต่อไปนี้ จรรยาบรรณต่อตนเอง ข้อ 1 ข้าราชการพลเรือนพึงเป็นผู้มีศีลธรรมอันดี และประพฤติตนให้เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ ข้อ 2 ข้าราชการพลเรือนพึงใช้วิชาชีพในการปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ และไม่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ในกรณีที่วิชาชีพใดมีจรรยาวิชาชีพกำหนดไว้ ก็พึงปฏิบัติตามจรรยาวิชาชีพนั้นด้วย ข้อ 3 ข้าราชการพลเรือนพึงมีทัศนคติที่ดี และพัฒนาตนเองให้มีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ และทักษะ ในการทำงานเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลยิ่งขึ้น จรรยาบรรณต่อหน่วยงาน ข้อ 4 ข้าราชการพลเรือนพึงปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความสุจริต เสมอภาคและปราศจากอคติ ข้อ 5 ข้าราชการพลเรือนพึงปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างเต็มกำลังความสามารถ รอบคอบ รวดเร็ว ขยันหมั่นเพียร ถูกต้องสมเหตุสมผล โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการและประชาชนเป็นสำคัญ ข้อ 6 ข้าราชการพลเรือนพึงประพฤติคนเป็นผู้ตรงต่อเวลา และใช้เวลาราชการให้เป็นประโยชน์ต่อทางราชการอย่างเต็มที่ ข้อ 7 ข้าราชการพลเรือนพึงดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างประหยัด คุ้มค่า โดยระมัดระวังมิให้เสียหายหรือสิ้นเปลืองเยี่ยงวิญญูชนจะพึงปฏิบัติต่อทรัพย์สินของตนเอง จรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชา ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงาน ข้อ 8 ข้าราชการพลเรือนพึงมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน การให้ความร่วมมือช่วยเหลือกลุ่มงานของตนทั้งในด้านการให้ความคิดเห็น การช่วยทำงาน และการแก้ปัญหาร่วมกัน รวมทั้งการเสนอแนะในสิ่งที่เห็นว่าจะมีประโยชน์ต่อการพัฒนางานในความรับผิดชอบด้วย ข้อ 9 ข้าราชการพลเรือนซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา พึงดูแลเอาใจใส่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาทั้งในด้านการปฏิบัติงาน ขวัญ กำลังใจ สวัสดิการ และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ตลอดจนปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาด้วยหลักการและเหตุผลที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ข้อ 10 ข้าราชการพลเรือนพึงช่วยเหลือเกื้อกูลกันในทางที่ชอบ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจในบรรดาผู้ร่วมงานในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ข้อ 11 ข้าราชการพลเรือนพึงปฏิบัติต่อผู้ร่วมงานตลอดจนผู้เกี่ยวข้องด้วยความสุภาพ มีน้ำใจ และมนุษยสัมพันธ์ ข้อ 12 ข้าราชการพลเรือนพึงละเว้นจากการนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน จรรยาบรรณต่อประชาชนและสังคม ข้อ 13 ข้าราชการพลเรือนพึงให้บริการประชาชนอย่างเต็มกำลังความสามารถด้วยความเป็นธรรม เอื้อเฟื้อ มีน้ำใจ และใช้กิริยาวาจาที่สุภาพอ่อนโยน เมื่อเห็นว่าเรื่องใดไม่สามารถปฏิบัติได้หรือไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนจะต้องปฏิบัติ ควรชี้แจงเหตุผลหรือแนะนำให้ติดต่อยังหน่วยงานหรือบุคคลซึ่งตนทราบว่ามีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ ต่อไป ข้อ 14 ข้าราชการพลเรือนพึงประพฤติตนให้เป็นที่เชื่อถือของบุคคลทั่วไป ข้อ 15 ข้าราชการพลเรือนถึงละเว้นการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ซึ่งมีมูลค่าเกินปกติวิสัยที่วิญญูชนจะให้กันโดยเสน่หาจากผู้มาติดต่อราชการ หรือผู้ซึ่งอาจได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่ราชการนั้น หากได้รับไว้แล้วและทราบภายหลังว่าทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่รับไว้มีมูลค่าเกินปกติวิสัย ก็ให้รายงานผู้บังคับบัญชาทราบโดยเร็ว เพื่อดำเนินการตามสมควรแก่กรณี ข้อ 16 ข้อบังคับฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ให้ไว้ ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=1&cad=rja&uact=8&ved=0ahUKEwjXhJi9z5DKAhUHto4KHfmtDuAQFggbMAA&url=http://www.led.go.th/dbases/pdf/of060954-2.pdf&usg=AFQjCNHy1PSFQNNlPrLI2UiRsfR_WsFf5Q&sig2=nqrPwXZzVUryuYlwwrQ6yQ
ข้อไหนที่เขียนว่า "ข้าราชการมีหน้าที่รับใช้ประชาชน" หรือ ??? ไม่ได้เขียนไว้ครับ ลูกก็ไม่ได้มีเขียน จะต้องทดแทนบุญคุณ บิดามารดร แต่มันอยู่ในจิตสำนึก ของคนดีๆ ที่ดีจริงครับ Ricebeanoil สงสัยคุณจะอยู่ในสังคมของชาวเอสกิโม ไม่ได้อยู่ในสังคมไทย ที่จะได้มีจิตสำนึกอยากจะตอบแทนพระคุณพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ที่เอสกิโมขั่วโลก คงจะหนาวเนอะ
ก็อธิบายไปแล้วยังไม่เข้าใจอีก หน้าที่ของลูกเรื่องทดแทนบุญคุณพ่อแม่นั้น มันอยู่ที่ความเชื่อศาสนาและจารีตของสังคมนั้นๆ ถ้าผมอยู่สังคมเอสกิโม การกระทำเรื่องนี้ย่อมไม่ใช่สิ่งที่ต้องกระทำ แต่ตอนนี้ผมอยู่ในสังคมไทยด้วยจารีตแบบไทย สิ่งนี้ย่อมเป็นสิ่งที่ควรกระทำ แล้วเรื่องข้าราชการก็เช่นกัน ตามหน้าที่ทางกฏหมายและจารีต เค้าเป็นผู้ให้บริการประชาชนไม่ใช่ผู้รับใช้ประชาชน อันไหนทำได้ตามหน้าที่ก็กระทำ อันไหนเกินกว่าหน้าที่ก็ไม่ทำ เพราะข้าราชการไม่ใช่ "ขี้ข้าประชาชน"
ไม่ต้องถึงขั้นเป็นขี้ข้าประชาชนหรอกครับ ขอแค่อย่าดูถูกประชาชนก็พอ เห็นประชาชนเป็นประดุจเพื่อนมนุษย์ คนนึงก็เพียงพอแล้ว เห็นบางคนเป็นราชการก็บ่นว่างานหนัก เงินเดือนน้อย ก็ยังงงว่าแล้วขยันไปสอบเป็น ข้าราชการกันทั่วบ้านทั่วเมือง จะบ่นทำไมในเมื่อคุณได้รับเกียรตินั้น คุณได้รับสิทธินั้น ที่คนอีกหลายล้านคนอยากได้มัน แต่ก็ไม่ได้ ข้าราชการทั้งหมดคือประชาชน แต่ไม่ใช่ประชาชนทั้งหมดที่เป็น ข้าราชการ ส่วนเรื่องภาษีนั้นทุกคนจ่ายหมด เพียงแต่จ่ายทางตรงทางอ้อม หรือจ่ายในลักษณะที่เห็นเป็นรูปธรรม จับต้องได้ อย่างคนงานทำงานในโรงงานผลิตอาหารกระป๋อง แน่นอนว่าเจ้าของโรงงานก็จะต้องยื่นเสียภาษี ตรงนี้เป็นค่าใช้จ่ายและต้นทุนที่เอาไปบวกเพิ่มเติมในตัวของแรงงาน เพราะถ้าทำงานไม่คุ้มเขาก็คงไม่มีการจ้างงาน บางทีอยากให้ข้าราชการลองดูครับว่า ในขณะที่พวกคุณต้องทำงานหนัก เงินเดือนน้อย ลองคิดไปถึงคนที่เขา ไม่มีโอกาสดู คุณอาจจะมองไปถึงเกษียณอายุ แต่เขามองได้อย่างมากคือ ไม่กี่เดือนข้างหน้า ตามสิทธิและกฎหมาย แรงงานที่คุ้มครองอยู่เท่านั้น
มาอีกแล้วจอมคลั่งชนชั้น คิดเองเออเองอีกแล้ว ถามจริง ทั้งคนกลางทั้งเจ้าพระยาใจดำได้ดูvdoกับอ่านข้อความหรือเปล่า
อันนี้ไม่เกี่ยวกับคลิปนะ อิอิอิ ผมพูดไปตามเนื้อผ้าเห็นคนที่เป็นราชการหลายคนที่รู้จักชอบบ่นกันว่างานหนัก เงินเดือนน้อย ก็เลยดึงตรงนี้มาพูดหน่อย
เขาก็ทำงานของเขาไงครับ โดยไม่เกี่ยงว่าคุณเสียภาษีหรือเปล่า ถ้าอ้างว่าเงินเดือนมาจากจ่ายภาษีเหมือนกันหรือเสียทางอ้อม งั้นก็รับใช้ตามราคาไหมครับ อย่างเสียภาษีสามหมื่น ก็หักเอาว่าจะเสียอะไรบ้าง ค่าใช้ถนนลาดยาง ค่าจ้างตำรวจ ค่าขึ้นสะพานลอย ค่าไฟทาง ฯลฯ ถ้าอ้างบุญคุญ ข้าราชการเสียภาษีมากกว่าบางอาชีพ ถ้างั้นก็แปลว่าช้าราชการมีบุญคุญมากกว่าไม่ต้องทำตามใช่ไหม คนกลางเคยเห็นเขาทำอย่างที่ผมว่าหรือเปล่า ข้าราชการใช่จะแย่หรือดีทุกคน เหมือนประชาชนทั่วไปนะแหละ อย่าอ้างสิทธิ อย่าอ้างชนชั้น อย่าอคติ หลายอย่างที่ผมฟังจากคุณมีแต่ประเภทคิดเองเออเอง เล่าต่อกันมา เห็นแต่ตา หรือเหมารวม ลองเปิดกว้างและคิดให้มากกว่านี้ครับ
สมมติทุกคนมีสมาร์ทมการ์ดเก็บข้อมูลการเสียภาษี จะเดินขึ้นสะพานลอยเจอที่กั้นรูดบัตรแล้วที่กั้นก็เปิดออก สมมติคุณอะลาโมส เปิดร้านขายปลีกไรสักอย่างอยู่ร้านนึง เปิดขายทุกวัน เสียภาษีอย่างถูกต้องทุกอย่าง วันดีคืนร้าย มีห้าง ขนาดใหญ่มาเปิดติดกับคุณ ลูกค้าคุณหายเรียบ คุณขาดทุนไม่มีเงินจ่ายภาษีปีล่าสุด จากเดิมคุณใช้บัตรมาสเตอร์โกลด์ ที่สามารถ ไปไหนก็ได้ และ ได้สิทธิในการใช้สวัสดิการของรัฐได้อย่างเต็มที่ อยู่ ๆ เจ้าหน้าที่สรรพากรเดินมาบอกว่า "คุณครับต่อไปผมขออนุญาตใช้บัตรธรรมดาแก่คุณครับ ต่อไปคุณจะสามารถใช้แพ็คเก็จ ด้านงบประมาณได้เบื้องต้นเท่านั้น คุณมีสิทธิใช้ได้แค่ถนนไร้ฝุ่นกับเดินขึ้นสะพานลอยของรัฐได้เท่านั้น ส่วนค่าจ้างตำรวจ ค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นในฐานะพลเมือง ผมขออนุญาตสงวนสิทธิ์ตรงนี้ไว้ครับ" คุณเองก็คงจ่ายภาษีเงินได้ ไม่เท่าบริษัทเบียร์ช้าง เบียร์สิงห์มั้งครับ แล้ว คุณไม่รู้สึกว่าตัวเองกำลังเอาเปรียบเขาอยู่เหรอครับ หรือถ้าเบียร์ช้าง เบียร์สิงห์ออกมาบอกว่า เขาจ่ายภาษีมากกว่าคุณ แต่ทำไมคุณ ได้สิทธิเท่าเทียมกับเขาล่ะ
เพราะเป็นเรื่องสมมติ มันก็ไม่จริงใช่ไหมครับแล้วจะคิดทำไหม อย่าแถออกนอกครับ เกี่ยวอะไรกับสมาร์ทการ์ด ในความจริงไม่มีใครทำแบบนั้นไง คุณก็เหมือนเดิมไม่อ่านที่คนอื่นเขียนให้ดี พูดเองเออเอง ลองตั้งสติ ไม่อคติซิครับ ข้าราชการก็ทำงานของเขาโดยไม่สนว่าคุณมีดีมีจน อย่าอ้างชนชั้นครับ คนรวย ไม่ได้รวยแต่เกิดทุกคน คนจน ก็ไม่ได้จนแต่เกิดทุกคนเหมือนกัน คนรวย ไม่ได้ใจดำทุกคน คนจน ก็ใช่ใจดีทุกคน
เขาบ่นแต่เขาก็ทำงาน ชำระภาษีครบถ้วน ทำไมครับ ไม่มีใครดูถูกประชาชนยกเว้นประชาชนบางพวกอย่างคนกลางที่ชอบทำตัวให้ดูถูกหว่ะครับ ข้าราชการเขาไม่ได้มองถึงเกษียณอย่างเดียว เขาต้องมองเพื่อผลงานเอาไว้สำหรับประเมิน ไม่งั้นขั้นเงินเดือนจะถูกลด และถ้าไม่ประจำหน้าที่ ต้องถูกลงโทษฐานบกพร่องในหน้าที่ เขาทำงานหนักเพื่อประชาชนหว่ะครับ
ไม่เอา ไม่สมมุติ ตอนนี้ก็เท่าเทียมกันอยู่แล้ว เพียงแต่เวลาเรียกสวัสดิการควรคิดด้วยว่าภาษีที่จ่ายมันมากพอมั้ย ไม่ใช่จ่ายร้อยเอาล้าน แล้วอ้างว่าเป็นเจ้าของภาษี