http://www.dailynews.co.th/politics/336057 ผมดูทีวี เปลี่ยนช่องไปดูช่องอมรินทร์ทีวี ไปเจอข่าวนี้เมื่อช่วงเย็น ผู้ประท้วงเดินขบวนไปทำเนียบฯ ยื่นจดหมายขอให้ยกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ มีคนให้สัมภาษณ์ว่าให้ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ถ้าถามว่าพลังงานหมุนเวียนจะเอามาจากไหน ในเนื้อข่าวตามลิงค์บอกว่า ใช้น้ำเสียจากโรงงานปาล์ม เรื่องนี้มีอะไรให้คิดอีกเยอะครับ เห็นว่ายังไม่มีใครเล่น งั้นผมเล่นก่อนละกัน
Nation Channel ได้แชร์รูปภาพของ รายการ คมชัดลึก คมชัดลึก คืนนี้! กระบี่(ไม่เอา)ถ่านหิน ติดตาม 2 ทุ่มตรง ( แต่ทำใจกับพิธีกรหน่อยนะครับ )
จริงๆประเด็นต่อต้านนี่ผมพอเข้าใจนะครับ ส่วนมากแล้วจะกังวลเรื่องมลพิษ เพราะต้องบอกว่าสร้างปัญหาทุกที่ แต่ที่ลุงตู่พูดก็เข้าใจว่า หากต่อต้านกันทุกอย่างก็สร้างอะไรไม่ได้ ลงทุนไม่ได้ เศรษฐกิจก็ไม่เดินหน้า ยิ่งภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันด้วย มันน่าจะมีทางรอมชอมได้ เช่นตั้งกองทุนชดเชยกรณีเกิดมลพิษให้กับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ประมาณนี้ครับ
ฝ่ายต่อต้านก็เสนอแผนเศรษฐกิจ พลังงาน ที่จะมาทดแทนแบบสมเหตุสมผล ส่วนฝ่ายสนับสนุนก็เสนอแผนจัดการผลกระทบสิ่งแวดล้อม สังคม และสิ่งทดแทน เอามาเทียบกันก็เห็นแล้วครับ ฝ่ายหนึ่งลองคิดแทนอีกฝ่ายดู ไม่ใช่ต่างคนต่างจะเอาที่ถูกใจทั้งคู่ ผ่านไป 100 ปีก็ไม่มีอะไรดีขึ้นครับ
ฝ่ายการไฟฟ้าเขาอธิบายแล้วแต่ไม่ฟังกันเอง เช่น บอกว่ากำลังการผลิตไทยเหลือ ทั้งที่กำลังการผลิตที่ว่ามันคือจากก๊าซธรรมชาติที่กำลังหมดอ่าวไทย ไฟฟ้าของไทย70%ผลิตจากก๊าซ ซึ่งมันเสี่ยงมากและไม่มีความมั่นคง และเดี๋ยวนี้โรงไฟฟ้าถ่านหินไปไกลแล้ว ญี่ปุ่นที่เขาเข้มข้นทางกฎหมายยังใช้ถ่านหินมากกว่าก๊าซเลย http://www.thairath.co.th/clip/9066
http://www.now26.tv/view/50619/นายกฯ-เตือนกลุ่มต้านโรงไฟฟ้าค่าไฟจะสูงขึ้น.html วันที่ 20 กรกฎาคม 2558 | เปิดดู 366 ครั้ง "นายกฯ"เตือนกลุ่มต้านโรงไฟฟ้าค่าไฟจะสูงขึ้น ข่าวค่ำ ตรงประเด็น วันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่จังหวัดระยอง เพื่อติดตามสถานการณ์ผลไม้จังหวัดระยอง ที่อาคารศูนย์กลางเกษตร อ.เมืองระยอง โดยช่วงหนึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวกับข้าราชการและประชาชน เกี่ยวกับการต่อต้านโรงไฟฟ้า พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า หากภายใน 1-2 ปีนี้ สร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเติมไม่ได้ ค่าไฟฟ้าจะสูงขึ้น เพราะขณะนี้ใช้น้ำมันและก๊าซ เป็นต้นทุนการผลิตไฟฟ้า จึงขอให้ทุกคนเข้าใจก่อนออกมาคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน "อย่าคิดเอาเอง เพราะบางอย่างที่เดินหน้าไม่ได้ เพราะไม่ผ่านการทำประชาพิจารณ์ EIA หรือ EHIA” หากเป็นเช่นนี้ต่อไป ประเทศจะอยู่อย่างไร อยากให้รวมกลุ่มกันให้ได้ เพื่อจะได้ฟังว่า เรากำลังทำอะไร" ทั้งนี้ ที่ผ่านมาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รายงานว่าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ใช้ถ่านหินสะอาดเป็นเชื้อเพลิง กำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ รับฟังความคิดเห็นแล้ว 3 ครั้ง ในปี 2555-2557 และปรับปรุงตามข้อเสนอของชุมชน กลุ่มท่องเที่ยว ประมง เกษตรกรรม และนักวิชาการ สำหรับความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคใต้อยู่ที่ 2,350 เมกะวัตต์ จะเพิ่มเป็น 3,062 เมกะวัตต์ ในปี 2562 ในขณะที่กำลังการผลิตไฟฟ้าในภาคใต้อยู่ที่ 3,115 เมกะวัตต์ และเมื่อวานนี้ (19 ก.ค.) นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการ กฟผ.ระบุว่า กฟผ.เลื่อนกำหนดยื่นซองประมูลสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่ จาก 22 ก.ค.เป็น 5 ส.ค.นี้แทน เพราะผู้ประกอบการบางส่วนเตรียมเอกสารไม่พร้อม และไม่เกี่ยวกับการประท้วงในขณะนี้ กลุ่มต้านโรงไฟฟ้า"กระบี่"ปักหลักรอคำตอบนายกฯ ช่วงเช้าวันนี้ เครือข่ายปกป้องอันดามันที่ปักหลักหน้ากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่ออดอาหารประท้วงโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ได้เคลื่อนมาที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ยกเลิกโครงการนี้ เมื่อเดินมาถึงเชิงสะพานอรทัย ทำเนียบรัฐบาล นายประสิทธิชัย หนูนวล ตัวแทนเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน อ่านแถลงการณ์ขอให้ยุติโครงการโรงไฟฟ้ากระบี่ เพราะกระทบระบบนิเวศน์ทางทะเล และมลพิษทางอากาศ ทั่วพื้นที่ทะเลอันดามัน และกระทบธุรกิจท่องเที่ยว 100 แห่ง ส่งผลให้สูญเสียเม็ดเงิน 4 แสนล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ ต้องการให้ยุติการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โรงไฟฟ้าและท่าเรือขนถ่ายถ่านหิน สำหรับ ทางออกความมั่นคงทางพลังงานต้องการให้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาพลังงานทางเลือก ที่เน้นไปที่โรงไฟฟ้าชีวมวล ที่ได้จากของเสียของโรงงานน้ำมันปาล์ม โดยขอเวลา 3 ปี ในการพิสูจน์ให้รัฐบาลเห็นว่าน้ำเสียจากโรงงานนำมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ ซึ่งปัจจุบันกระบี่มีโรงไฟฟ้าชีวมวล 11 โรง กำลังก่อสร้าง 6 โรง เครือข่ายฯ จะปักหลักรอคำตอบจากรัฐบาลถึงวันพรุ่งนี้ (21 ก.ค.) และยืนยันจุดยืนค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินต่อไป
ถ่านหินที่ใช้ น่าจะเป็นคนละชนิดกับโรงไฟฟ้าแม่เมาะที่ลำปาง คงไม่มีปัญหาเหมือนโรงไฟฟ้าที่ลำปาง รู้สึกว่าทางการไฟฟ้าจะเรียกว่า ถ่านหินสะอาด แต่ชาวบ้านบอก ห้ามเรียกถ่านหินสะอาด เพราะถ่านหินยังไงก็ไม่สะอาด เท่าที่ฟัง ๆ การคัดค้าน รู้สึกว่าจะเป็นเรื่อง กลัวว่าจะทำลายสภาพแวดล้อมของทะเลจากขนถ่านหิน เช่น ต้องไปขุดร่องน้ำเพื่อให้เรือขนถ่านหินเข้าไปเทียบท่าเรือได้ จะไปทำลายปะการัง หญ้าทะเล แล้วถ้าเกิดเรือขนถ่านหินล่ม จะทำให้ทะเลเสียหาย การไฟฟ้าพูดจาโกหกว่าแถวนั้นไม่มีปะการัง เราไม่ได้คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้านะ แต่เราอยากให้ใช้ขยะจากปาล์มมาเป็นเชื้อเพลิงมากกว่า ขอเวลาสักสามปี จะทำให้ดู การไฟฟ้า บอกว่า การขนถ่านหินไม่ต้องไปขุดร่องน้ำหรอก เพราะใช้เรือท้องแบนขน การขนก็เป็นระบบปิดชนิดมองไม่เห็นถ่านหินเลย การขนถ่ายก็เป็นระบบปิดหมด ไม่ต้องกลัวว่าจะฟุ้งกระจาย ส่วนเส้นทางเดินเรือนั้นก็อยู่ห่างจากแนวปะการัง และหญ้าทะเล เยอะ เทคโนโลยีที่ใช้ผลิตก็เป็นเทคโนโลยีที่ดีที่สุดแล้วที่หาซื้อได้ในขณะนี้ สรุป ชาวบ้านไม่เชื่อ เดินหน้าคัดค้านต่อไป การไฟฟ้าต้องไปทำการบ้านให้ดี ว่า ชาวบ้านที่มาคัดค้านนี่เขาต้องการอะไร เพราะคุณชี้แจงเรื่องมลพิษ เรื่องสิ่งแวดล้อมได้หมด ทำไมชาวบ้านเขาไม่เชื่อ ที่เขาไม่เชื่อ เพราะเขาต้องการให้สร้างโรงไฟฟ้าจาก ขยะปาล์ม ซึ่งมีอยู่มากในภาคใต้ เพราะฉะนั้นจะไปชี้แจงเรื่องการขนส่งถ่านหินว่าปลอดภัยไม่ทำลายสภาพแวดล้อมอย่างไร มันก็ไม่จบหรอก เพราะเรื่องสิ่งแวดล้อมนี้มันเป็นประเด็นมาตรฐานที่สามารถหยิบมาคัดค้านได้ทุกโครงการ ทั้ง ๆ ที่กฎหมายก็กำหนดว่าโครงการลักษณะนี้ต้องมีกระบวนการ การทำสำรวจเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว แต่ก็เอามาค้านมาเถียงกันได้ทุกทีไป เอากันให้ชัดดีกว่า ว่า ขยะปาล์ม กับ ถ่านหิน อะไรคือความมั่นคงทางพลังงาน แบบไหนสามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าเพื่อการพัฒนาได้มากน้อยเพียงใด
อ่านแล้วมันแปลก ๆ ต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินอ้างเรื่องมลพิษ แต่ที่เสนอนี่แน่ใจแล้วหรือว่าจะสะอาดกว่า ถ่านหินสามารถซื้อมาเก็บได้เป็นสิบ ๆ ปี แล้วขยะปาล์มมันเก็บได้กี่ปี
ในฐานะคนจังหวัดกระบี่ (แต่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ อ.เหนือคลอง ที่สร้างโรงไฟฟ้านะครับ) ขอตอบว่าสนับสนุนเชื้อเพลิงถ่านหินมากกว่า เมื่อพิจารณาในแง่ความมั่นคงทางพลังงาน ขอพูดเรื่องถ่านหินก่อนนะครับ ถ่านหินคือต้นไม้เมื่อหลายร้อยล้านปีที่ตายแล้วทับถมกันเป็นหิน ถ่านหินในโลกนี้แบ่งเป็น 4 เกรด คือ พีท ลิกไนท์ บิทูมินัส แอนทราไซด์ พีท เป็นเกรดต่ำสุด ความปนเปื้อนมากที่สุด บางตำราไม่นับเป็นถ่านหิน บางครั้งยังเห็นลายต้นไม้อยู่ก็มี ลิกไนท์ อันนี้พบในประเทศไทย ที่กระบี่และลำปาง มีความปนเปื้อนสูง พูดง่ายๆ มีสารพิษพวกกำมะถันปนเยอะ ส่วนใหญ่เอาไปทำผลิตไฟฟ้า บิทูมินัส พบในอินโดนีเซียและออสเตรเลีย ปนเปื้อนน้อย เอาไปผลิตไฟฟ้าและทำเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม ไม่เจอในประเทศไทย แอนทราไซด์ ปนเปื้อนน้อยที่สุด เอาไปเผาไฟเป็นเชื้อเพลิงในบ้าน ในภาพยนต์เช่นเตาผิงในบ้านแบบละครฝรั่ง เพราะไม่มีอันตรายกับคนในบ้าน ราคาก็ตามเกรดการปนเปื้อน ปนเปื้อนน้อยก็ให้ความร้อนสูง อันตรายน้อย ราคาแพง โรงไฟฟ้าของ กฟผ. ทั้งที่กระบี่และลำปาง ใช้ลิกไนท์เป็นเชื้อเพลิง ตอนนี้ที่กระบี่ ลิกไนท์หมดแล้ว เหลือแต่โรงไฟฟ้า เลยจะเอาถ่านหินบิทูมินัสจากอินโดนีเซียเข้ามาเป็นเชื้อเพลิง เพราะอยู่ใกล้ ค่าใช้จ่ายถูก พูดถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่กลัวกันประเด็นหลัก คือ 1.เรื่องอากาศเสีย 2.การขนส่งถ่านหิน 1. อากาศเสีย ในที่นี้ขอพูดที่กระบี่เป็นหลัก ที่ลำปางมีเรื่องภูมิประเทศมาร่วมด้วย เดี๋ยวจะยาว ที่กระบี่ ตั้งแต่ตั้งโรงไฟฟ้าลิกไนท์มา เรื่องอากาศเป็นพิษ ไม่มีปัญหา เพราะสภาพพื้นที่ใกล้ทะเล โล่ง ไม่มีภูเขาบังกระแสลม พื้นที่รอบๆ ก็จะเป็นปากแม่น้ำ ไหลลงทะเล สภาพจะเป็นแบบนี้ เรื่องดราม่าจะพีคขึ้นมาจากจุดนี้ละ พื้นที่ตั้งเป็นสำคัญ เรื่องสภาพอากาศเสียนั้น ตัดไปได้เลย เนื่องจากตอนใช้ถ่านหินคุณภาพต่ำที่มีการปนเปื้อนสูงแบบลิกไนท์ ก็ไม่มีปัญหาเรื่องนี้ ตอนนี้จะเปลี่ยนเป็นการใช้ถ่านหินคุณภาพสูงขึ้น การปนเปื้อนลดลง ปัญหาเรื่องนี้ก็ไม่สมควรเกิดขึ้น ขอติดไว้แค่นี้ก่อน เดี๋ยวต้องไปทำงานก่อนนะครับ ตอนเย็นๆ หรือค่ำจะมาต่อเรื่องการขนส่งถ่านหินที่เป็นจุดพีคจริงๆ ของการคัดค้านและการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงกากปาล์ม
ปัญหาผมว่าส่วนหนึ่งมาจากว่าถึงการไฟฟ้าจะชี้แจงการจัดการยังไง ชาวบ้านก็ไม่ฟังครับ ยิ่งมีหัวโจกคอยยุให้ไม่ฟังคำอธิบายแบบนี้ บางเรื่องอธิบายได้ อธิบายถูก ชี้แจงได้ แต่อีกฝ่ายไม่ยอมรับ ถึงจะจริงก็ไม่ยอมรับ มันถึงได้อีรุงตุงนังแบบนี้
ผมสนับสนุนถ่านหินครับ ฟังจากที่อาจารย์ศศิน พูดยังขาดหลายแง่ ในแง่ความมั่นคงพลังงาน ถ่านหินมีสำรองถึง100 ปีขึ้นแน่ๆ พวกพลังงานชีวมวล ถ้าสร้าง ผมก็ถามว่า ถ้าค่าไฟแพงก็อย่าบ่น ทุกวันนี้พวกพลังงานทางเลือก นี่ได้ค่า adder fit ตั้งเท่าไหร่แล้ว
1 เรื่องแย่งซื้อถ่านหิน ผมว่าไม่ต้องแย่ง เพราะเขาขายตามราคาตลาดโลก เหมือนน้ำมันดิบ 2 เรื่องขนส่งที่ว่าไกล ญี่ปุ่นไกลจากอินโดกว่าไทย 3 ข้อเสนอที่ว่าให้ใช้พลังงานอื่น คนเขียนไม่ได้บอกว่าให้ใช้พลังงานอะไร แต่ที่ถูกกว่าถ่านหินคือนิวเคลียร์รุ่นที่3-4 http://www.nst.or.th/article/article491/article4908.html ผมว่านิวเครียร์นี่ดี เสียแต่ว่าคนต้าน(กลุ่มเดียวกับไม่เอาถ่านหิน)ไม่ศึกษาให้ดี
2. การขนส่งถ่านหิน แต่เดิมทาง กฟผ. ได้ตกลงกับชาวบ้านว่าจะขนถ่านหินมาจากอินโดนีเซียด้วยเรือเทกอง (Bulk) ขนาด Supramax บรรทุกได้เต็มลำเรือประมาณ 50,000-100,000 ตัน มาจอดที่เกาะปอ แล้วให้ขนถ่ายถ่านหินลงเรือท้องแบน (Barge) ซึ่งบรรทุกได้ประมาณลำละ 1,000 ตัน แล้วขนมาส่งที่ท่าเรือใกล้โรงไฟฟ้า อันนี้คือรูปแบบการขนส่งแบบเดิม เรือ Barge เรือ bulk ซึ่งตอนนั้นชาวบ้านก็ไม่ต่อต้านอะไร แต่ต่อมา กฟผ. ดันเปลี่ยนแผนใหม่เป็นสร้างเป็นสายพานลำเลียงถ่านหินแทน แล้วให้เรือ bulk เข้ามาเทียบท่าใกล้โรงไฟฟ้ามากขึ้น จุดพีคมันอยู่ตรงนี้ อันนี้จากเอกสาร กฟผ. เอง https://www.google.co.th/url?sa=i&r...qXU8bhohyLOK4kS9PFP70Tng&ust=1437562339651105
จากภาพจะเห็นว่ามีอุโมงค์ที่ลอดใต้คลองอยู่ คลองตรงนี้จะเป็นที่ออกเรือของชาวบ้านเพื่อจะไปหาที่ทะเล ดังนั้นถ้า กฟผ. ขุดอุโมงค์ตรงนี้ก็มีปัญหาเรื่องตะกอนดินเลนกระจายออกมา จะส่งผลกระทบต่อการประมงของชาวบ้าน และอีกประเด็นหนึ่งคือสายพายลำเลียงถ่านหิน ชาวบ้านกลัวการฟุ้งกระจายของฝุ่นถ่านหิน ดังนั้นเมื่อจู่ๆ กฟผ. เกิดการเปลี่ยนแผนการขนส่งไปจากเดิม ทำให้มีแรงต้านที่รุนแรงจากชาวบ้าน ต่อมาก็ถึงคิว NGO ทั้งหลาย เมื่อเห็นช่องแรงต้านที่รุนแรงแบบนี้ จึงกระพือกระแสยิ่งขึ้น ทำไปทำมากลายเป็นการเปลี่ยนกระแสเป็นการต่อต้านเรื่องใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงโรงไฟฟ้าซะงั้น ตอนนี้ก็กลายเป็นทั้ง 2 ฝ่าย อารมณ์อยากเอาชนะกันและกันอยู่เหนือเหตุผลทั้งปวงแล้ว เรื่องมันก็ลงเอยแบบนี้ละครับ
ต่อมาเรื่องโรงไฟฟ้าชีวมวลจากของเสียปาล์มน้ำมัน การผลิตไฟฟ้าจะแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ น้ำเสียที่เกิดจากการหีบปาล์ม และกะลาของเม็ดปาล์ม 1. น้ำเสียที่ได้จากการหีบปาล์มจะนำไปหมักในบ่อปิดแล้วเอาก๊าซเสียที่ได้ไปเป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้า 2. กะลาของเมล็ดปาล์มที่ได้จะเอาไปเผาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อต้มหม้อน้ำแล้วเอาไอน้ำไปปั่นกังหันไฟฟ้า การโบ้ยโดยการบอกว่าให้ใช้การผลิตไฟฟ้าชีวมวลแทนการใช้ถ่านหินของพวกนักอนุรักษ์ทั้งหลายนั้น บอกเลยว่าเป็นเรื่องแหกตาคนที่ไม่รู้ความจริงในพื้นที่ ในกระบี่มีโครงการแบบนี้หลายๆ โครงการ ส่วนใหญ่เป็นโรงงานหีบน้ำมันปาล์มต่อเติมโรงงานเดิมเพื่อใช้ของเสียในโรงงานให้เกิดประโยชน์ที่สุด ซึ่งกรณีนี้ส่วนใหญ่ไม่มีแรงต้านอะไร เพราะทำในพื้นที่เดิมของโรงงาน ต่อมาก็มีนักธุรกิจมาลงพัฒนาเรื่องนี้โดยเฉพาะ พยายามมาเปิดโรงไฟฟ้าชีวมวล แต่ก็ไม่ผ่านประชาพิจารณ์ชาวบ้านเหมือนกัน ************************************************************ ชาวบ้าน ต. นาเหนือ จ.กระบี่ พร้อมใจโหวต ไม่เอาโรงไฟฟ้าชีวมวล ของบริษัทอ่าวลึกคอร์เปอเรชั่น จำกัด วันนี้ได้มีการจัดทำประชาคมชุมชนรอบโรงไฟฟ้าชีวมวล ของบริษัทอ่าวลึกคอร์เปอเรชั่น จำกัด ครั้งที่ 3 เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ และรับฟังความคิดเห็นประชาชนที่อาศัยอยู่รอบโรงไฟฟ้า 300 คน เข้าร่วมที่บริเวณหน้าที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลนาเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ ภายหลังการประชุมผ่านไป 1 ชั่วโมง ตัวแทนของบริษัทอ่าวลึกคอร์เปอเรชั่น ได้ขอให้ชาวบ้านยกมือโหวตเสียงว่า เห็นด้วยกับการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลหรือไม่ ซึ่งชาวบ้านที่เข้าประชุมส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย ล่าสุดที่ปรึกษาบริษัท อ่าวลึกคอร์เปอเรชั่นจำกัด นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร ได้ออกมายอมรับ และบอกว่า จะยุติการทำประชาคม เพื่อลดความขัดแย้ง ส่วนจะเดินหน้าโครงการต่อไป หรือไม่นั้น ต้องรอหารือผู้บริหารของบริษัทอีกครั้งหนึ่ง http://www.nationtv.tv/main/content/social/378458825/ ***************************************************************** พูดง่ายๆ นักอนุรักษ์พวกนี้พยายามยัดเยียดข้อเสนอที่ชาวบ้านกลุ่มอื่นไม่เอา เพื่อเรียกร้องเสียงต่อต้านการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงให้ดูชอบธรรมมากยิ่งขึ้นนั้นเอง
ผมชอบข้อความท่อนนี้นะ เห็นด้วย บิดเบือนหรือเปลี่ยนเรื่อง เบี่ยงประเด็น + ใส่อารมณ์ คิดจะเอาชนะ ทำให้ปัญหาบานปลาย ทุกเรื่องเลยครับ ขอบคุณที่มาชี้แจงให้ความรู้ในกระทู้นี้ครับ
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ - ต่อต้าน แก๊สธรรมชาติ ก็ ต่อต้าน ถ่านหิน ก็ไม่เอาอีก บ้าน NGO ไม่ได้อยู่แถวนั้น ชาวบ้านก็จุดตะเกียงไปเถอะครับ ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า จะได้อยู่กับธรรมชาติ
จะว่าไปนะ ผมโครตรำคาญพวก NGO สายอนุรักษ์ กับสายพลังงานเลย พวกนี้ อยู่ในอุดมคติ ไม่มองความเป็นจริง ทั้งที่ มันมีจุดร่วมของการตกลงได้ แต่ยึดแต่อัตตา ว่ากรูถูกอย่างเดียวคนอื่น ผิดหมด โดยเฉพาะพวก ทวงคืน พลังงานทั้งหลาย
NGO สายอนุรักษ์บางกลุ่มก็ดีครับ ต้องดูเป็นกลุ่ม ๆ ไป แต่กลุ่มที่ประท้วงนี่เห็นผู้สนับสนุนแล้ว หึหึ http://www.greenpeace.org/seasia/th/campaigns/climate-and-energy/coal/Andaman-No-Coal/
ผมเคยมีโอกาศได้คุยกับคนเป็นแกนนำประท้วงโรงไฟฟ้า บ่อนอก ครับ เลยรู้เลยครับว่า รับเงินมาประท้วง และสุดท้ายที่ดินแถวบ่อนอก ก็ขายให้ฝรั่งไปหมด คนเป็นแกนนำ ก็เป็นนายหน้าค้าที่ดินกินค่าคอม เมาเหมือนหมาเลยครับ บ้านเมืองเรา ไม่เจริญ เพราะการประท้วงแบบซ่อนเร้นเยอะครับ ตอนแรกไม่เคยคิด พอเจอกับตัว นี่ หลายๆอย่างผมเห็นใจรัฐบาลในหลายๆยุคที่เจอพวกนี้ครับ
มาเป็นขบวน ทีมงานเดิมๆ แตกลูกแตกหลาน แพร่กระจายข่าวกันในเวบเสื้อแดง https://www.facebook.com/hashtag/เพราะเราคือเพื่อนกัน?source=feed_text&story_id=926840417359102
ทำไมเมืองไทยไม่คิดลงทุนติดตั้งกังหันลมตามชายฝั่งทะเลเรียก wind park หรือติดตั้งกังหันลมบนบก เพื่อผลิตไฟฟ้า เหมือนบางประเทศในยุโรป
ขอให้ช่วงนี้เกิดมีอันเป็นไปกับสายส่งไฟฟ้าที่ส่งไฟฟ้าจากภาคกลางไปภาคใต้ด้วยเถิดเพี้ยง แล้วขอให้ซ่อมไม่ได้ ไฟดับติดต่อกัน 7 วัน 7 คืน แกนนำเค้าจะได้กลับบ้านไปอย่างฮีโร่ ที่สามารถขัดขวางการความมั่นคงทางพลังงานของภาคใต้ ประชาชนชาวภาคใต้คงแซ่ซ้องสรรเสริญแน่นอนครับ
ความคิดเข้าท่าดีครับ ขอคิดต่อนะครับ จัดโควต้าให้แต่ละจังหวัด หาระแสไฟฟ้าจ่ายเพิ่มเข้ามาในระบบ ใครมีอัตราการเติบโตการใช้ไฟฟ้าเท่าไรก็จัดหาไปตามนั้น แรกๆอาจจะเริ่มจากเปอร์เซ็นต์น้อยๆไปก่อน มี 4 โมเดลให้เลือก 1. ได้จ่ายค่าไฟฟ้าแพงที่สุด ไม่ต้องทำอะไร จังหวัดที่ไม่ยอมจัดหากระแสไฟฟ้าเพิ่มเข้ามาในระบบเลย แต่อัตราความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอยู่ตลอด เพิ่มสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ ก็ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าแพงมาก เพราะถือว่าไม่รับผิดชอบในการจัดหาไฟฟ้าของจังหวัดตัวเอง 2. ได้จ่ายค่าไฟฟ้าปานกลาง แต่ต้องจัดหากระแสไฟฟ้าเข้ามาระบบบางส่วน จังหวัดที่อัตราการเพิ่มการใช้ไฟฟ้าไม่สูงมาก แต่มีศักษภาพพอที่จะผลิตพลังกระแสไฟฟ้าได้เอง และสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบได้ส่วนหนึ่ง แต่ไม่ทั้งหมด ทำให้อัตราความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่ม ให้อยู่ในระดับที่ตํ่ากว่าเฉลี่ย ก็จ่ายค่าไฟฟ้าในระดับปานกลาง 3. ได้จ่ายค่าไฟ้าปานกลาง แต่ต้องประหยัดไฟฟ้า จังหวัดไหนที่การรณรงค์ให้ประหยัดไฟฟ้าได้ผล มีอัตราความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่ม มีค่าน้อยกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ ก็ไม่ต้องจัดหากระแสไฟฟ้าเข้ามาในระบบเลยก็ได้ เพราะถือว่ามีการจัดการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ ก็จะได้จ่ายค่าไฟฟ้าในระดับปานกลาง หรืออาจะถูกกว่าโมเดลที่ 2 ก็ได้ 4. ได้จ่ายค่าไฟฟ้าถูก แต่ต้องตั้งโรงไฟฟ้าในจังหวัด จังหวัดไหนที่มีศักษภาพพอที่จะตั้งโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้ มีกำลังผลิตสูงกว่าอัตราความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มของในตัวจังหวัดเอง ก็จะได้จ่ายค่าไฟฟ้าในราคาถูก เพื่อจูงใจให้เพิ่มกำลังการผลิต หรือสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ได้ง่ายขึ้น ผมว่าแบบนี้ น่าจะตอบโจทย์นะครับ แต่ละจังหวัดนะครับ อย่างกรุงเทพมหานคร อาจจะใช้โมเดลที่ 1 เพราะไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตโรงฟ้าที่มีได้อีกแล้ว จังหวัดอย่างเชียงใหม่ อาจจะใช้โมเดลที่ 2 เพราะมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตลอด แต่ก็ต้องรักษาสภาพแวดล้อมไปพร้อมๆกันด้วย ส่วนจังหวัดเล็กๆอย่างแม่ฮ่องสอน ก็ใช้โมเดลที่ 3 ก็ได้ ส่วนจังหวัดที่มีนิคมอุตสาหกรรมตั้งอยู่ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้ามากอยู่แล้ว และมีความพร้อมในการตั้งโรงงานผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ เช่น อยุธยา ระยอง อาจะใช้โมลที่ 4 ให้ท้องถิ่นเข้ามาตัดสินใจว่าจะเลือกโมเดลไหน แล้วรับผิดชอบตัวเองได้ทันทีเลย ไม่ต้องยิืมจมูกคนอื่นหายใจอีกต่อไป
ผมว่าพวกNGOเลี่ยงที่จะพูดเรื่องต้นทุนผลิตพลังงาน เน้นดราม่าอย่างเดียว http://www.posttoday.com/politic/331128
ดูข่าว ทีวี ในเยอรมนี ติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าตามชายฝั่งทะเลตอนเหนือของประเทศ แล้วส่งไปกระแสร์ไฟฟ้าไปถึงทางใต้ ระยะทางกว่า 500 กม อีกทั้งตามบ้านก็มีการติดตั้งแผ่นโซล่าเซลบนหลังคาบ้าน ผลิตไฟฟ้าใช้เองภายในบ้าน คิดดูแล้ว คนในเมืองกรุงเทพฯ น่าจะเสียค่าไฟฟ้าเดือนละไม่ใช่น้อย ต้องเปิดแอร์เกือบตลอดปี คนเมืองหนาวในยุโรป เปิดฮีทเตอร์ให้ความอุ่นภายในบ้านเฉพาะช่วงอากาศเริ่มหนาว ราวเดือน ตุลาคม-มีนาคม พอเดือนเมษายน อากาศเริ่มอุ่น ไม่จำเป็นต้องเปิดฮีทเตอร์
มันน่ามีทางออกตรงกลางได้นะ ทำโรงไฟฟ้าชีวมวล+ถ่านหิน ไปเลย(ก็เผาเหมือนกันไม่ใช่หรอ) ย้ายไปพื้นที่ว่างๆ เปลี่ยนวิธีการขนส่ง อย่าไปยุ่งกับพื้นที่ทางธรรมชาติ
กระทู้ที่อธิบายเรื่องต้นทุนและข้อจำกัดของพลังงานจากแหล่งต่างๆได้ดีมากๆ http://pantip.com/topic/33960579
ก็คนหลายคนไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สนแต่ความถูกใจ หากเอา EHIA มากางแล้วดีเบทกันจะโดนลากไส้สิครับ ส่วนคนที่มีความรู้เกิด EHIA ถูกต้องแล้วผลกระทบมันน้อยก็เสียหมากันสิครับ
กังหันที่อำเภอหัวไทร จ.นครศรีธรรมราช กำลังผลิตกระแสไฟฟ้า 1.5 เมกกะวัตต์ มูลค่าโครงการ 113.5 ล้านบาท ความสูง 80 เมตร ลำตะคอง อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา กำลังผลิตกระแสไฟฟ้า ชุดละ1250 กิโลวัตต์ x 2 ชุด = 2500 กิโลวัตต์ มูลค่าโครงการ 145 ล้านบาท ความสูง 68 เมตร ข้อมูล http://www.oknation.net/blog/nn1234/2010/06/04/entry-1 แค่เห็นก็ไม่คุ้มแล้ว แพง เปลืองที่ เสียงดัง ค่าซ่อมบำรุงน่าจะแพงมาก ที่สำคัญลงทุนไปแล้วความเสถียรทางไฟฟ้าไม่มีมากพอ ค่าไฟต่อหน่วยสูงมาก ไม่คุ้มค่า