"ดร.ประภาส" ย้ำแนวคิดทำประชามติ ต่ออายุรบ. จะอ้างเสียงส่วนใหญ่ไม่ได้ หากไร้หลักการที่ถูกต้อง ไม่ละเมิดสิทธิ์ตามหลักปชต. -สับโพลหนุนแนวคิดดังกล่าว เป็นงานขยะ วันนี้ ( 7 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 13.00 น. ที่โรงแรมบางกอกชฎา เว็บไซต์ประชามติ จัดเวทีเสวนาหัวข้อ “ทำประชามติอย่างไร ไม่ให้เสียของ”โดย นายจตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร ประธานสมาคมเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน กล่าวว่า รัฐธรรมนูญที่กำลังร่างอยู่ ประเด็นสิทธิพลเมืองมีความชัดเจนพอสมควร แต่ เรื่อง พรรคการเมือง นักการเมือง ยังมีปัญหาข้อถกเถียงในหลายมาตราว่า เขียนเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ รวมทั้งกลไกในร่างรัฐธรรมนูญที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าจงใจสืบทอดอำนาจ ส่วนจะทำประชามติหรือไม่ เท่าที่ติดตามคิดว่าคงมีการทำประชามติแน่นอน แต่จะทำประชามติอย่างไรไม่ให้เสียของ คงหมายถึงเมื่อทำประชามติแล้ว ถ้าประชาชนส่วนใหญ่เห็นชอบ แต่ประเด็นที่ควรพิจารณาคือเสียงของประชาชนที่ไม่เห็นด้วย แม้จะเป็นเสียงข้างน้อย แต่ไม่ใช่ว่าผิดเสมอไปต้องได้รับการรับฟัง ถ้าคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญใจกว้าง หลังการทำประชามติควรนำประเด็นต่างๆไปพิจารณาแก้ไขอีกครั้งจะได้หรือไม่ เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาความขัดแย้งในอนาคต เช่น การเลือก ส.ว.ที่ให้มีคณะกรรมาการกลั่นกรองก่อน ถ้าไม่แก้มาตรานี้จะเป็นปัญหา เพราะขัดหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย รวมทั้งการควบรวมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยเฉพาะหมวดว่าด้วยความปรองดอง ดูแล้วบางเรื่องที่บรรจุในรัฐธรรมนูญไม่ค่อยจะปรองดอง แม้จะมีเจตนาดีต้องการทำให้การเมืองโปร่งใส แต่กมธ.ยกร่างฯควรพิจารณาให้รอบคอบมากกว่านี้ ซึ่งทั้งหมดเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะมีผลว่าร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านประชามติหรือไม่ ถ้าไม่ผ่านต้องเริ่มต้นกันใหม่ ซึ่งมีผลต่อการขยายเวลาอยู่ต่อของรัฐบาลนี้ที่คงสร้างความอึดอัดต่อคนกลุ่มหนึ่งที่อยากเลือกตั้งโดยเร็ว และจะขาดความเชื่อมั่นในสายตาต่างประเทศด้วย นายประภาส ปิ่นตบแต่ง อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หลักการของประชามติเป็นกลไกสำคัญในประชาธิปไตยสมัยใหม่ เป็นการถ่ายโอนอำนาจมาสู่ประชาชนโดยตรง โดยเฉพาะเรื่องที่เป็นนโยบายสาธารณะสำคัญ ซึ่งรัฐธรรมนูญถือเป็นนโยบายสาธารณะอย่างหนึ่ง แต่นอกจากเนื้อหาแล้วต้องพูดถึงกระบวนการทำประชามติที่ต้องเอื้อให้เกิดการถกเถียงแลกเปลี่ยนข้อมูล แน่นอนว่ารัฐธรรมนูญจำเป็นต้องทำประชามติ แต่สิ่งที่ตนอยากเรียกร้อง คือการทำประชามติต้องมีการสร้างกระบวนการถกเถียงแลกเปลี่ยนความเห็นอย่างกว้างขวางของประชาชน ควรเปิดเวทีประชาพิจารณ์ต่างๆ เพราะเท่าที่ดูตอนนี้ประชาชนถูกจำกัดการมีส่วนร่วม เปรียบแล้วก็เหมือนกับอยู่ในกะลา นอกจากนี้ กระบวนการทำประชามติต้องนำมาสู่การยกเลิกประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ขัดขวางบรรยากาศการจัดเวทีรวบรวมกลุ่มเสนอความเห็นต่างๆ ดังนั้น ถ้าเราจะสร้างประชาธิปไตยเราต้องทำประชามติในบรรยากาศอย่างที่กล่าวมา ต่อข้อถามว่าเห็นอย่างไรต่อข้อเสนอของ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)ที่ให้ทำประชามติถามประชาชนว่า เห็นด้วยที่จะให้นายกรัฐมนตรี อยู่ต่ออีก 2 ปี เพื่อทำการปฏิรูปประเทศหรือไม่ นายประภาส กล่าวว่า ข้อเสนอดังกล่าวของนายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิก สปช.จะเลอะเทอะไม่ได้ ประชามติต้องมีหลักการบางอย่างไม่ใช่ว่าอะไรก็ทำประชามติได้หมด การได้มาซึ่งผู้ปกครองเรามีกระบวนการอยู่แล้ว การทำประชามติต้องไม่ละเมิดหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยดังนั้น เรื่องนี้ตนจึงคิดว่าทำไม่ได้ น.ส.ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ ตัวแทนกลุ่มเรียกร้องประชามติที่เป็นประชาธิปไตย กล่าวว่า การทำประชามติอย่างไร ไม่ให้เสียของ ถ้าคำว่าเสียของหมายถึงเจตนารมณ์ของการทำรัฐประหาร เรายังไม่รู้เลยว่าสิ่งที่คณะรัฐประหารทำพยายามตอบโจทย์อะไรกันแน่ แต่ส่วนตัวเห็นว่าคำว่าเสียของในที่นี้น่าจะหมายถึงความจรรโลงของหลักการประชามติ และหลักการประชาธิปไตย ซึ่งหมายถึงการทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมออกเสียงของตัวเองได้ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายมหาชน แต่ปัญหาคือกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญในขณะนี้ ประชาชนไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้แล้วนอกจากการทำประชามติ ซึ่งการทำประชามติที่ดีต้องทำประชามติที่เป็นประชาธิปไตยเท่านั้น น.ส.ปองขวัญ กล่าวต่อว่า ขั้นตอนก่อนการทำประชามติคือให้รณรงค์แลกเปลี่ยนความเห็นได้อย่างเสรี ต้องยกเลิกกฎหมายที่จำกัดสิทธิ เสรีภาพ การแสดงออกที่เราไม่เห็นด้วยที่มีกฎหมายหลายฉบับ คำสั่งคสช.และ มาตรา 44 บังคับใช้อยู่ ถ้าทำประชามติท่ามกลางบรรยากาศแบบนี้เราก็ไม่ยอมรับ เพราะไม่ใช่การทำประชามติที่เป็นประชาธิปไตย จึงขอเสนอว่าเราต้องรอสปช.ว่าจะลงมติต่อร่างรัฐธรรมนูญอย่างไร ถ้าสปช.รับร่างรัฐธรรมนูญแล้วนำไปสู่กระบวนการทำประชามติ หากประชาชนไม่เห็นชอบ เราขอเรียกร้องให้ยกเลิกกระบวนการที่มาจากรัฐประหารทั้งหมดแต่ให้ ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)ขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะรัฐประหาร และให้ยึดโยงประชาชนจริงๆ เมื่อร่างเสร็จให้ประชาชนทำประชามติอีกครั้ง ส่วนการทำประชามติจะทำทั้งหมดหรือรายมาตรานั้น เห็นว่าการทำประชามติรายมาตราไม่ได้ตอบโจทย์ความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้มีปัญหาเรื่องตัวมาตราอย่างเดียว แต่มีปัญหาตั้งแต่ที่มาทั้งฉบับที่มาจากองค์กรที่ใช้อำนาจ ใช้กระบอกปืน และวิ่งราวเอาอำนาจไป ซึ่งมีปัญหาตั้งแต่ต้น ดังนั้น ถ้าเราจะเอารัฐธรรมนูญฉบับโจรมาใช้ เราควรต้องให้ประชาชนออกเสียงเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้มากที่สุด น.ส.สุนีย์ ไชยรส รองประธานคณะกรรมการกฎหมาย กล่าวว่า รัฐธรรมนูญไม่ใช่สูตรสำเร็จ แต่เป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน ต้องไม่อยู่ในมือของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในการร่าง ต้องเป็นการสร้างการเรียนรู้และเปิดพื้นที่ให้ประชาชนมากขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 ที่ประชาชนใช้อ้างได้ ส่วนฉบับปัจจุบันกระบวนการร่างมีข้อจำกัด ซึ่งเมื่อมีประชามติแล้วเราต้องใช้ประชามติให้เป็นประโยชน์มากที่สุด จะเสียของหรือไม่ขึ้นอยู่กับจุดยืนว่าเปิดพื้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางที่สุด ขนาด สปช.ยังมีบางกลุ่มเสนอให้แก้กว่า 200 มาตรา คณะรัฐมนตรียังเสนอให้แก้กว่า 100 มาตรา ทั้งนี้ ควรจะมีการทำประชามติในรายประเด็นด้วยต่อไป เพื่อให้การลงประชามติเป็นการใช้งบประมาณเพื่อรับฟังความคิดเห็นอย่างครบถ้วนคุ้มค่า สำหรับผลการโหวตผ่านเว็บไซต์ prachamati.org ในคำถาม "หากประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2558 ไม่ผ่าน ควรทำอย่างไร?" ตั้งแต่วันที่ 20 พ.ค. 2558 เป็นต้นมา มีทั้งหมด 6 ตัวเลือก ปรากฏผลดังนี้ 1.ให้นำรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ประยุกต์ใช้เป็นรัฐธรรมนูญใหม่ มีผู้โหวต 1,136 คน เห็นด้วย 958 คน ไม่เห็นด้วย 178 คน 2.ให้นำรัฐธรรมนูญ พศ.2550 ประยุกต์ใช้เป็นรัฐธรรมนูญใหม่ มีผู้โหวต 1,053 คน เห็นด้วย 210 คน ไม่เห็นด้วย 843 คน 3.ให้ประชาชนเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ มีผู้โหวต 1,167 คน เห็นด้วย 1,021 คน ไม่เห็นด้วย 146 คน 4.ให้ คสช. ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ มีผู้โหวต 1,096 คน เห็นด้วย 151 คน ไม่เห็นด้วย 945 คน 5.ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นคนจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีผู้โหวต 1,043 คน เห็นด้วย 139 คน ไม่เห็นด้วย 904 คน และ6.ให้ คสช. หยิบยกเอารัฐธรรมนูญฉบับใดขึ้นมาพิจารณาปรับปรุง มีผู้โหวต 1,045 คน เห็นด้วย 268 คน ไม่เห็นด้วย 777 คน โดยสรุปคือ เสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการให้ประชาชนเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร.ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ส่วนในลำดับถัดมาคือการนำรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 มาประยุกต์ใช้เป็นรัฐธรรมนูญใหม่ และไม่เห็นด้วยกับการให้สนช.เป็นคนจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การให้ คสช. ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ การให้นำรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาประยุกต์ใช้เป็นรัฐธรรมนูญใหม่ และการให้ คสช.หยิบยกเอารัฐธรรมนูญฉบับใดขึ้นมาพิจารณาปรับปรุง ตามลำดับ
สี่ขาเอาเรื่องไหนก็เป็นทีละประเด็นสิ จะเอาเรื่องโพลจะได้ตอบ แต่มันยาวนะเกรงว่าจะเกิน 3 บรรทัดแล้วสี่ขาจะไม่เข้าใจ
ผมว่ายึดติดกับหลักการ เข้าคูหากาเบอร์เดียวมากไปครับ การเลือกตั้ง หรือลงชื่อ ลงคะแนนเสียง โดยเลือกโจร มาโกงชาติโกงแผ่นดิน นี่ท่านเรียกประชาธิปไตย การเลือกตั้ง ให้คะแนนเสียง หัวละพัน หละ ท่านก็เรียกประชาธิปไตย พอพวกนี้ ได้เป็น สส. จะทำระยำตำบอน ยังไง ท่านก็บอกว่า เป็นเรื่องของประชาธิปไตย มันยังไงกัน ถ้าประชาชน ลง สัญญาประชาคม โดยลงมติ และมีความเห็น พ้องกัน โดยไม่ละเมิดกฎหมาย ให้ความเห็น ในทางใด ทางหนึ่ง โดยการยกมือ หรือ ออกเสียง หรือแสดงการ เห็นพ้อง ผมว่าดี กว่า เข้าคูหา กา 1000 บาท
อยากได้แบบ ธรรมาธิปไตย มี มั้ยครับ ยังไงประชาธิปไตย ก็เป็นแค่ ระบอบ การปกครอง รูปแบบหนึ่งเท่านั้น เราจะสังเกตุเห็น แม้ประชาธิปไตย ก็เป็นแค่เปลือก และไม่ใช่ประชาธิปไตยทั้งหมด ห้างร้าน บริษัท แม้แต่หน่วยงาน ราชการ กระทรวง ทะบวง กรม ก็ไม่เห็น กล่าว ถึงระบอบ นี้เลย ไม่เป็น ประชาธิปไตย เพราะ ไม่ได้เลือกตั้งมา ประชาธิปไตย ที่ละเมิดกฎหมาย ประชุม ออกคะแนน เสียง กันนอกเวลาราชการ ตี สาม ตีสี่ เพื่องดเว้น ละเว้นโทษ บุคคลเพียง คนเดียว โดยอาศัย อ้างคะแนนเสียง ที่ประชาชนเลือกมา งบประมาณ การจัดการเลือกตั้ง แม้แต่เงินเดือน หลายพัน หลายหมื่นล้าน ที่จ่ายไป เพื่อให้ประชาธิปไตย กระทำเยี่ยงนี้ ???
รัฐประชาธิปไตย ดีที่สุด คนประชาธิปไตยทำผิด ก็เจอยุบพรรค แบนการเมือง เข้าคุก มีการตรวจสอบที่ดี และเอาจริงเอาจังแบบนี้ มันไม่ดีตรงไหนหรือครับ แต่ที่ประชาธิปไตยแบบลากตั้ง มีใครไปตรวจสอบมันไหมละ มีเข้าคุกกี่คน
หือ... คุณ คิดว่าไง มันเป็นแค่ รูปแบบนี่ครับ ที่คุณ แยกความต่างได้ กรณี ผลโพล รัฐไม่ได้ จัด ไม่ได้เป็น ตัวตั้งตัวตี นี่ครับ คุณจะหาเหตุว่า ผลโพล ในยุคนี้ ที่ประชาชน ออกเสียง ไม่เป็นประชาธิปไตย และไม่ยอมรับว่างั้นเถอะ
มาร์คเป็นนายกฯตามระบอบประชาธิปไตย เสื้อแดงยังไม่ยอมรับเลย... ขำกลิ้ง ประชาธิปไตยเสื้อแดงต้องถูกใจแม้วเท่านั้น... ไม่งั้นเผา
คุณลอง หาหนังสือ ที่กล่าวถึง จุดหมายสูงสุด ของ ระบอบแนวคิด ฟาสซีสต์ หรือ คอมมิวนิสต์ หรือระบอบ การปกครอง ที่ต่างจากประชาธิปไตย มาอ่านดู มันวิเศษ เลอเลิศ ยิ่งกว่า ประชาธิปไตย เสียอีก ยิ่งกว่า อยู่บนสวงสวรรค์ โน่น ที่คุณกล่าวมา มันแค่ หลักการครับ ส่วนการปฎิบัติ สวนทางกัน ซึ่งผมบอกแล้ว แนวคิดอื่น ก็พอๆกัน แต่มันก็แค่แนวคิด การปฏิบัติต่างหาก ที่บ่ง บอกว่า แนวคิด ใหนดีที่สุด
แล้วคนประชาธิปไตยอ้างเสียงส่วนใหญ่ไม่รับอำนาจศาล แบบนี้ ถูกต้องมั้ยครับ มีระบบการตรวจสอบแต่ไม่รับอำนาจตรวจสอบ ถูกต้องมั้ยครับ ไม่มีใครบอกว่าระบบการตรวจสอบไม่ดี มีแต่คนทำผิดโจมตีการตรวจสอบ จริงมั้ย โทษทียาวเกินสามบรรทัด ตุ้ดพาเพลินไม่อ่าน แล้วเขาทำอะไรผิดถึงต้องเข้าคุก
จะบอกให้ การทำโพลกับสิ่งที่สี่ขาอ้างว่าไม่เปิดเสรีทางความคิดแล้วจะทำให้ผลสำรวจเพี้ยนน่ะ ผมว่าไม่ใช่นะ ตอนรัฐบาลประชาติ๊ปไตอยู่ พยายามปิดกั้นข่าวสาร บิดเบือนข้อมูล คนยังไม่ฟังเลย ขนาดกรอกหูคนทุกวันว่า เพื่อไทยชนะเลือกตั้งผู้ว่ากทม แน่ ใช้เทคนิควิธีจนได้คะแนนเป็นล้านยังไม่รอดเลย