มีอีกกี่ราย ที่นายทุนเงินกู้รอดตัว ไม่โดนข้อหาใดๆทั้งสิ้น ทั้งๆที่ศาลฎีกาก็ตัดสินมาแล้ว ขนาดผมไม่เรียนกฎหมายยังรู้เลยว่า มีเหตุอันควรให้ฟ้อง ------------------------------------------------------------------------------------- ฟ้ายังมีตา! ยายวัย69 ฮึดสู้คดี จนชนะนายทุนเงินกู้ ............นายทุนก็ให้ทนายความยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดนครพนม บังคับจำนอง เป็นจำนวนเงิน 1,238,125 รวมดอกเบี้ยอีกเป็นเงิน 1,900,000 บาท ตนก็ได้ต่อสู้คดีมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี2554 จนกระทั่งถึงศาลฎีกา พิพากษาให้ตนชำระหนี้เพียงแค่ 520,000 บาท เท่ากับจำนวนเงินที่ได้รับไปจริง หลังจากนั้นตนจึงได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ที่ สภอ.เมืองนครพนม ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีกับนายทุนรายนี้ ในข้อหาเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล ในวันที่ 28 สิงหาคม 2557 แต่หลังจากสอบสวนแล้วพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง ตนจึงจ้างทนายฟ้องเป็นคดีอาญาต่อศาลจังหวัดนครพนมเอง เป็นคดีดำเลขที่198/2559 และคดีแดงที่ 2776/2559 โดยศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2559 ให้ตัวนายทุนและลูกน้องที่เป็นพยานเท็จให้ ต้องโทษติดคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 177 โดยนายทุนได้ขออุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์ได้นัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2560 นี้ http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/754540
ผมก็สงสัยนะว่าการที่ยังมีการกู้หนี้นอกระบบอยู่ เพราะขาดความรู้ ความกล้าที่จะกู้กับรัฐ หรือกู้ไปทำอะไรที่ไม่สมเหตุสมผล หรือร้อนเงินกันแน่
เท่าที่ฟังจากคนออกดอกให้กู้ และคนที่กู้ยืมนอกระบบ สาเหตุหลักๆ เรียงตามลำดับ ที่จำเป็นต้องกู้ 1.ใช้จ่ายเกินตัว 2.เล่นการพนัน 3.จำเป็นจริงๆ เพราะมีรายจ่ายกระทันหัน หรือรายได้น้อยไม่พอกับรายจ่ายเป็นบางช่วง 4.มีเหตุให้กู้จากธ.ในระบบไม่ได้ แต่กู้นอกระบบทำได้ คนที่ทำอาชีพให้กู้นอกระบบ คิดดอกเบี้ยแพงได้ ต้องมีแบ๊คหนุนหลังแน่นอน
ชาวบ้านบางคนยังเห็นว่าคนให้ยืมเงินเป็นผู้มีพระคุณด้วยซ้ำไปครับ แม้ว่าจะคิดดอกเบี้ยโหดก็ตามเถอะ ลูกหลานมาทำงานเมืองกรุงก็ต้องคอยหาเงินใช้หนี้ให้กับพ่อแม่ แต่ใช้คืนแค่ดอกเบี้ยพอ เพราะถ้าใช้หนี้หมดเดี๋ยวก็ไปยืมเงินมาติดหนี้ต่ออีก
เป็นประเด็นเล็กแต่ดูเหมือนจะเป็นปัญหาใหญ่ สำหรับใครบางคนที่ไม่กลัวการเป็นหนี้ ถ้ามูลหนี้เกิน4-5แสนโอกาสปลดหนี้จากระบบยากมากสำหรับเกษตรกรในต่างจังหวัด ถ้ามูลหนี้6-7แสนขึ้นไปภาระหนี้จะยาวไปอีกไม่รู้กี่ชั่วโครตเพราะทรัพย์สินที่สะสมไว้มันเป็นหนี้ทั้งนั้น หนี้จากการกู้ยืมใช้จ่ายในครัวเรือน,ส่งลูกเรียน ประมาณ 3-4แสน กู้ปลูกบ้าน,รถซื้อรถกะบะ,กู้ซื้อรถไถ รวมๆแล้วล้านขึ้น แต่เกษตรมีรายได้ไม่เกิน2แสนหักค่าใช้จ่ายค่าลงทุน แล้วไม่พอส่งต้นเลยต้องทนส่งดอก อนาคตของเกษตรกร ณ.เวลานี้ตายสนิทไม่มีโอกาสลืมตาอ้าปากตราบใดที่ยังสลัดหนี้ไม่หลุด ตายก็ไม่ได้อยู่ก็ลำบากยิ่งเกษตรกรเพาะปลูกไปแล้วเจอสภาวะนํ้าท่วม,ฝนแล้ง,ราคาผลผลิตตกตํ่า มันเป็นการตกยํ้าฝาโลงให้สนิทมากขึ้น ทางออกของเกษตรในพื้นที่นส.3หรือโฉนดคือการแบ่งขายที่เพื่อใช้หนี้เท่านั้น ทางออกของเกษตรในพื้นที่สปก.คือรัฐต้องออกเป็นนส.3หรือโฉนดให้เกษตรกรแบ่งขายที่ดินใช้หนี้ เป็นทางออกที่ดีที่สุดโดยตัวรฐเองก็ไม่ต้องไปแบกรับภาระหนี้หรือเอาเงินไปอุดหนุนเกษตรกร ทางอื่นนอกนั้นมองไม่เห็นทางและแก้ไม่จบ ***แต่รัฐต้องลงประวัติการถือครองที่ดินไว้ในประวัติทะเบียนราษฎรเพื่อป้องกันการไปขอแจ้งใช้สิทธฺผู้ไร้ที่อยู่ที่ทำกินเพราะขบวนการของคนประเภทนี้จะมีอย่างแน่นอนการเวียนขายที่ดิน ความจริงเรื่องการสำรวจการครอบครองที่ดินที่ทำกินรัฐน่าจะทำตั้งนานแล้วเพื่อเป็นสถิติและทราบพิกัดการถือครองแบบชัดเจน การซื้อขายที่ดินต้องมีประวัติในทะเบียนราษฎรทุกครั้ง
ผมเป็นสมาชิกอยู่ในเวป"1ไร่ พอเพียง" เห็นคนที่โพสต์บางคน ลงรูปที่โดนพายุ ต้นไม้ล้มระเนระนาด ทั้งที่เกือบจะได้เก็บผลผลิตแล้ว บางคนก็โพสต์บอกราคาผลผลิตที่ถูกมากๆ เช่นแตงโมกก.ละ 1 บาท ฯลฯ ช่วงบ่ายวันนี้มีคนแวะมาเที่ยวที่สวนผม บอกว่าเพิ่งขายกล้วยน้ำว้าไป 2 ตัน ได้เงิน 4000 บาท ช่องว่างระหว่างคนผลิต กับคนซื้อกิน ทำไมมันต่างกันเยอะจริงๆ
ใช่เลย แค่เอาคำตัดสินของศาลฎีกามาอ่าน ไม่ต้องสอบสวนอะไรเพิ่มเติมมากมาย ก็สามารถทำสำนวนส่งฟ้องศาลได้แล้ว มันน่าจะโดนข้อหาละเว้นฯ ซะให้เข็ด
-ขณะนี้ ข่าวเรื่องนี้ก็ดังพอสมควรนะ แต่เท่าที่ดูไม่เคยมีใครพูดถึง เรื่องลูกหนี้ต้องให้ทนายฟ้องเอง เพราะอัยการสั่งไม่ฟ้อง ปล่อยให้ลอยนวลไปซะเฉยๆ