ลดโทษของการหนีภาษี แลกกับการขยายฐานภาษี เก็บเงินได้ โดยไม่ต้องลงแรงเพิ่ม ครม.อนุมัติมาตรการภาษีจูงใจเอกชนจดทะเบียนกับสรรพากรช่วยไม่ถูกสอบย้อนหลัง-ให้สิทธิเอสเอ็มอี ลงทะเบียนไม่เสียภาษีปีแรก วันนี้(29ธ.ค.58)ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. นัดสุดท้ายของปี 2558 เห็นชอบมาตรการโครงการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีบัญชีเดียวเพื่อให้เข้าสู่ระบบภาษี โดยจะมีการออกกฎหมายรองรับ เพื่อดึงบริษัทห้างร้านที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเข้าสู่ระบบภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยผู้ที่เข้าร่วมมาตรการจะไม่ถูกตรวจสอบบัญชีการเสียภาษีย้อนหลัง แต่มีเงื่อนไขเมื่อเข้ามาตรการแล้วจะต้องเสียภาษีและทำบัญชีอย่างถูกต้อง หลักการเบื้องต้นผู้ที่อยู่ในเงื่อนไขตามโครงการนี้ คือ บริษัทห้างร้านที่มียอดขายต่ำกว่า 500 ล้านบาทต่อปี ซึ่งครอบคลุมร้อยละ 96 ของผู้ประกอบการทั่วประเทศ และไม่อยู่ระหว่างถูกดำเนินคดีที่เกี่ยวกับภาษี นอกจากนี้ ในส่วนของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท ที่เข้าโครงการจะได้รับการลดหย่อนภาษีปีแรกเป็นศูนย์ และในปีที่ 2 เสียภาษีในอัตราร้อยละ 10 *******************************
หรือเอาแบบ "เงินที่ลอยในอากาศ" แต่จำนำข้าวฉิบหายไป 5 แสนล้าน บวกกับกู้อีก 2.2 ล้านล้าน ด้วยกระดาษ 4 แผ่นหรือไง
ชื่นชมมาตรการนี้ ดึงเงินคนรวยต้องทำให้เค้ารู้สึกคุ้มค่า ระยะเวลาตัดสินใจน้อยคือต้องพร้อมด้านการเงินอยู่แล้วไม่กระทบหนี้ครัวเรือนแน่นอน
แบบ อีลิทการ์ด ที่ขาดทุน 2500 ล้านบาท จนป่านนี้ยังไม่ฟื้นเลยน่ะหรือ กึ๋นแบบนี้ เขาเรียกว่าทำชาติล่มจม
ก็พากันบรมโง่ไร้กึ่นกันน่ะสิ ถึงคิดกันไม่ออก บอกไม่ได้ วิธีไหนหาเงินเข้ารัฐได้โดยไม่ต้องเก็บภาษี คนฉลาดๆเค้าคิดออก บอกได้
งงกับมึงจริงๆ กฏหมายเค้าออกตั้งนานแล้วว่านิติบุคคลพวกนี้ให้มาเสียภาษี แต่มันไม่ยอมมาเสียภาษีกัน เค้าเลยออกกฏว่าถ้ามาเสียภาษีโดยดีจะไม่เอาผิดย้อนหลังแค่นั้น แล้วมันเกี่ยวห่าอะไรกับหาเงินโดยเก็บภาษีหรือไม่เก็บภาษีวะ สงสัยปีนี้คงอ่านครบโควต้า 7 บรรทัดแล้วซินะ ไม่เป็นเดี๋ยวพรุ่งนี้ถึงปีหน้าแล้ว มึงมาอ่านให้ครบก็แล้วกัน แล้วกระทู้ก่อนๆ ที่ถามไปนะกลับไปตอบด้วยนะ ว่าที่จอดรถสาธารณะอะไรทำไมเค้าถึงทาขอบฟุตบาทสีขาว-แดงวะ https://xn--12c4db3b2bb9h.net/threa...้ตำรวจจับ-จะถูกประหารชีวิตหรือเปล่าครับ.3566/https://xn--12c4db3b2bb9h.net/threa...้ตำรวจจับ-จะถูกประหารชีวิตหรือเปล่าครับ.3566/ หลักการเบื้องต้นผู้ที่อยู่ในเงื่อนไขตามโครงการนี้ คือ บริษัทห้างร้านที่มียอดขายต่ำกว่า 500 ล้านบาทต่อปี ซึ่งครอบคลุมร้อยละ 96 ของผู้ประกอบการทั่วประเทศ และไม่อยู่ระหว่างถูกดำเนินคดีที่เกี่ยวกับภาษี นอกจากนี้ ในส่วนของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท ที่เข้าโครงการจะได้รับการลดหย่อนภาษีปีแรกเป็นศูนย์ และในปีที่ 2 เสียภาษีในอัตราร้อยละ 10
วิธีหาเงินที่ไม่เกี่ยวกับภาษีมีปะครับ แบบนี้ถึงจะเรียกมีกึ่นของจริง Ricebeanoil, ก็ถามไว้ อ่านยังไงไม่เข้าใจเนี้ย มีปะ มีปะ วิธีหาเงินที่ไม่เกี่ยวกับภาษี
ในฐานะ เสมียนบัญชี ที่อยากเหลือเกิน ให้มีบัญชีเล่มเดียว (อยากที่สุดในโลก รอมานานมาก ๆ เลย) ถ้าโครงการนี้สำเร็จได้แค่ครึ่งของที่หวัง ผมถือว่าประสบความสำเร็จมากนะ เพราะลองคิดดู ถ้ามีบริษัทห้างร้าน ที่ทำถูกกฏหมายเพิ่มเท่าไหร่ บริษัทอื่น ที่ทำการค้าด้วย ก็มีโอกาส ทำบัญชีถูกต้องด้วย เพราะที่ผ่านมา หลายบริษัทห้างร้าน มักไม่ออก บิลขายเต็มราคา นี่เรื่องจริงนะ เค้าบอกออกได้แค่นี้ พอคนซื้อ ได้บิลไม่เต็ม ต้นทุนก็น้อยกว่าความเป็นจริง ก็ต้องปรับลด บิลขายลง หรือไม่ก็ เพิ่มค่าใช้จ่ายสูงเกินจริง ถ้ามีการทำถูกเพิ่มมากขึ้น ก็จะช่วยพนักงานบัญชี อย่างผมได้โขเลย การทำบัญชีเล่มเดียว เป็นความฝันผมเลย ผมเองตั้งแต่ทำงานมา ไม่เคยกลัวการทำบัญชีถูกกฏหมาย ว่าจะทำผิดทำพลาด เพราะผมหาข้อผิดพลาดได้ตลอด ไม่ว่าเอกสารจะขาดหาย หรือตกหล่น ก็หาเจอได้ แต่ พอเป็นบัญชี ที่ต้องตกแต่ง บอกจริง ๆ ไม่เคยมีวันไหน ที่สบายใจ กับเรื่องแบบนี้เลย ผมเชียร์นะเรื่องนี้ เพราะการทำบัญชีถูกต้อง มันลดงานผม ได้มหาศาลเลย แล้วการทำงาน ของผมจะมีความสุขมาก ๆ เลย
แต่จะว่าไปเรื่องหาเงินเข้ารัฐโดยไม่ต้องจ่ายภาษีของรัฐบาลนี้ก็ทำได้ดีนะ ดูจากเรื่องประมูล 4G เทียบกับประมูล 3G ในสมัยรัฐบาลอีโง่ นี่ราคาต่างกันราวฟ้ากับก้นเหวเลย ประมูล 4G ของลุงตู่ เอารายได้เข้ารัฐมากกว่า 157.58% จากราคาเริ่มต้น แต่ประมูล 3G ของอีโง่ เอารายได้เข้ารัฐเพิ่มขึ้นแค่ 2.78% จากราคาเริ่มต้น อันนี้คงบอกถึงกึ๋นที่แตกต่างกันได้แล้วละมั้ง แต่ก็อย่างว่าละนะคำว่า "ประมูล" กับคำว่า "ประเคน" มันก็ไม่เหมือนกันอยู่แล้วละ ************************************************************* ประมูลกันยังไง ทำไม? 4G แพงแต่ 3G แสนถูก ยังเป็นที่จดจำสำหรับผลการประมูล 3G คลื่น 2.1 GHz โดย "กสทช." เมื่อ 3 ปีที่แล้ว (16 ต.ค. 2555) เมื่อ 3 ค่ายมือถือคว้าไลเซนส์ไปแบบแทบไม่สามารถเรียกได้ว่า "แข่งขัน" เพราะบางบริษัทไม่ได้เคาะราคาเลยสักครั้ง ได้เงินเข้ารัฐรวมกัน 41,625 ล้านบาท สูงกว่าราคาตั้งต้นประมูลแค่ 2.78% ช่างแตกต่างกับการประมูลคลื่น 1800 MHz ที่เพิ่งจบลงไป เพราะแข่งกันดุเดือดเลือดสาด ปั่นราคาคลื่นทะลุราคาตั้งต้นไปกว่า 157.58% ได้เงินเบ็ดเสร็จกว่า 80,000 ล้านบาท ทำไมและอะไรทำให้ราคาการประมูลคลื่น 2.1 GHz ของ 3G ถึงถูกกว่า 1800 MHz ของ 4G ราวฟ้ากับเหว "พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ" รองประธานกสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ด้วยคุณภาพของคลื่นและสถานการณ์ในการประมูลที่ต่างกัน ส่งผลให้ราคาต่างกัน "แม้การประมูล 3G อยู่ในช่วงที่ค่ายมือถือต้องการคลื่น แต่ 2.1GHz ให้บริการ 4G ไม่ได้ดีนัก ค่ายมือถือต้องไปเจรจากับผู้ผลิตแฮนด์เซตเพื่อให้มีเครื่องรองรับ 4G บน 2.1 GHz เอง ถึงจะมีเครื่องให้ลูกค้าใช้ ต่างจาก 1800 MHz ที่ให้บริการ 4G ได้ดี ทั้งรองรับเทคโนโลยี 5G ที่คาดการณ์กันว่าอีก 5 ปีจะเริ่มเห็นการประมูล 5G" ทั้งอย่างน้อยอีก 5 ปี จึงจะมีการเปิดประมูลคลื่นความถี่ย่านใหม่ "เวลานี้ถ้าประมูลคลื่น 1800 MHz ไม่ได้ เท่ากับขาดโอกาสทางธุรกิจไปอีกหลายปี ถือว่าพลาดแล้วพลาดยาว ยุคนี้ธุรกิจต่างมองหาทรัพยากรที่จะนำไปต่อยอดได้ และกำลังอยู่ในช่วงเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การแข่งขันเสนอราคาจึงไม่ใช่แค่แสวงหากำไร แต่เป็นการสกัดไม่ให้คู่แข่งเข้าถึงทรัพยากรด้วย ในสายตาคนนอกอาจมองว่าประมูลแพงมาก ราคาสูง แต่ในทางธุรกิจย่อมวิเคราะห์ความคุ้มค่าและไม่ได้มองว่าเป็นราคาที่โอเว่อร์เกินไป" ขณะที่ "กทค." ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม "ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา" มองว่า การแข่งเสนอราคาชิงคลื่น 1800 MHz มากกว่าตอนประมูล 3G เนื่องจาก 1. ประสบการณ์จากการประมูล 3G ทำ กสทช.ทราบถึงพฤติกรรมของผู้เข้าประมูลจึงออกแบบการประมูลให้เกิดการแข่งขันระหว่างผู้เข้าประมูลได้ ด้วยการให้ใบอนุญาตมีจำนวนน้อยกว่าโอเปอเรเตอร์ เพื่อบีบให้ผู้เข้าประมูลต้องแข่งกัน 2. ผู้ประกอบการที่เคยเป็นผู้รับสัมปทานใช้คลื่นที่ กสทช.จะนำออกประมูลในขณะนี้ล้วนต้องการรักษาพื้นที่ของตนเองให้มีคลื่นใช้ได้ตามเดิม และเนื่องจากเอไอเอสอยู่ในจุดที่จำเป็นต้องมีคลื่นความถี่เพื่อนำมาให้บริการลูกค้าจึงเกิดการแข่งขันเพื่อชิงคลื่นไปไว้ในมือมากขึ้นทำให้เกิดการแข่งขันที่ดุเดือดมากกว่าครั้งก่อน จากนี้คงต้องจับตาว่า ความดุเดือดในการชิงคลื่น 1800 MHz จะส่งผลกระทบกับการประมูลคลื่น 900 MHz ที่ กสทช.จะจัดขึ้นในวันที่ 15 ธ.ค.นี้หรือไม่ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1447859615 ************************************************** แถมการประมูล 4G คลื่น 900 MHz ยิ่งบอกถึงกึ๋นที่ห่างชั้นเข้าไปอีก เพราะราคาทะยานไป 470% จากราคาเริ่มต้นด้วยซ้ำ http://www.komchadluek.net/detail/20151219/218912.html
ถ้ามีการเก็บ ภาษีคนจัญไร สงสัยเรื้อน คนกาง คงต้องขายบ้านขายช่องจนถึงขายตูดเพื่อเสียภาษีแน่ ๆ เพราะความจัญไรสูงซะขนาดนั้น
เริ่มแล้ว ทันใจดีเหมือนกันนะ รัฐออก พ.ร.ก.นิรโทษกรรม“ภาษี”เอสเอ็มอี เว็บไซต์ราชกิจนุเบกษาได้ออกประกาศพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2558 โดยให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2559 โดยเป็นการยกเว้นให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนซึ่งมีรายได้ไม่เกิน 500 ล้านบาท โดยเกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาและมีกำหนดครบ 12 เดือน ที่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดก่อนในวันที่ 31 ธ.ค.2558 ก็จะได้รับการยกเว้นจากการตรวจสอบภาษีย้อนหลัง ไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากร และความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับการยกเว้นดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ภายในเวลาที่กรมสรรพากรประกาศกำหนด แต่ พ.ร.ก.นี้จะไม่สามารถใช้ได้กับกิจการที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบภาษี บริษัทที่ออกใบกำกับภาษีปลอม หลีกเลี่ยงการเสียภาษีหรือแสดงรายจ่ายที่เป็นเท็จ ขู่ไม่เข้าระบบในปี 2562 ขอ“สินเชื่อ”ยาก นอกจากนั้นแล้ว ใน พรก.ยังกำหนดให้กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ให้สถาบันการเงินที่อยู่ในกำกับดูแลใช้บัญชีและงบการเงินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแสดงต่อกรมสรรพากรในการยื่นรายการภาษีเงินได้เป็นหลักฐานในการทำธุรกรรมทางการเงินและการขออนุมัติสินเชื่อกับสถาบันการเงินตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2562 เป็นต้นไป ซึ่งการออก พรก.ฉบับนี้จะค่ะก็เพื่อเป็นการให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้ามาอยู่ในระบบภาษีมากขึ้นและมีการจัดทำบัญชีให้สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงของกิจการซึ่งถ้าฝ่าฝืนไม่ดําเนินการจะมีผลต่อการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินเพื่อดำเนินธุรกิจ ************************************************ สำนักข่าวไทย 4 ม.ค.-อธิบดีกรมสรรพากร เผยพรุ่งนี้ยังไม่มีแผนปรับโครงสร้างภาษีเข้า ครม. ส่วนแผนลดภาษีบุคคลจะเสนอ ครม.ได้ไม่เกินไตรมาสแรก แต่ที่มีผลแล้วเมื่อ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา มาตรการเอื้อให้ SME เข้าสู่ระบบเสียภาษีอย่างถูกต้อง โดยยกเว้นการตรวจสอบภาษีย้อนหลัง นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร ให้สัมภาษณ์สดทางโทรศัพท์กับสำนักข่าวไทย ถึงแผนปฏิรูปภาษี ที่จะนำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาในวันพรุ่งนี้ จะเป็นเพียงเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้เท่านั้น แต่สิ่งที่มีผลแล้วเมื่อวันที่ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา คือ การยกเว้นและสนับสนุนภาษีอากรทางธุรกิจ สำหรับแผนปฏิรูปภาษีที่วางไว้มีรายละเอียดคือ เริ่มตั้งแต่การช่วยเหลือ SME โดยมองภาษีนิติบุคคลก่อน โดยจะช่วยเหลือผู้ประกอบการที่มีรายได้ไม่เกิน 500 ล้านบาท ให้เดินหน้าเข้าสู่ระบบเสียภาษีอย่างถูกต้อง ไม่ต้องพะวงว่าจะถูกตรวจสอบภาษีย้อนหลัง รัฐบาลจึงมอบนโยบายให้กรมสรรพากรไม่ตรวจสอบย้อนหลัง จึงออกเป็น พ.ร.ก.ขึ้นมา ในส่วนของบุคคลธรรมดา อยู่ระหว่างการลดเพดานเสียภาษีสูงสุด คาดไม่เกินไตรมาสแรกจะเสนอ ก.คลัง เพื่อเข้า ครม.ต่อไปได้ ผ่านขั้นตอนต่างๆ น่าจะมีผลบังคับใช้ประมาณ ม.ค.2560 ทั้งนี้ การปฏิรูปภาษีทั้งระบบ เริ่มมาหลายมาตรการแล้ว เช่น ภาษีส่งเสริมการลงทุนต่างๆ การวิจัยและพัฒนา สิ่งเหล่านี้เพื่อแผนปฏิรูปภาษีระยะยาวเพื่อความยั่งยืนทางการคลัง.-สำนักข่าวไทย
ภาคเอกชนก็สนับสนุนนะ ***************************************************** ข่าว 7 สี - ภาคเอกชน ชี้ว่ามาตรการยกเว้นการตรวจสอบภาษีย้อนหลัง จะเป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ และช่วยปรับโครงสร้างภาษีได้ในระยะยาว นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า มาตรการยกเว้นการตรวจสอบภาษีย้อนหลัง และยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ธุรกิจเอสเอ็มอี จะส่งผลดีต่อภาคธุรกิจ และจูงใจให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีลงทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีมากขึ้น แต่กรมสรรพากรจะต้องชี้แจงรายละเอียดของมาตรการ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการ นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า มาตรการยกเว้นตรวจสอบภาษี นับเป็นจุดหักเหที่สำคัญของประเทศ จะทำให้ภาคธุรกิจโดยเฉพาะเอสเอ็มอี สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้มากขึ้น อีกทั้งรัฐบาลจะมีข้อมูลผู้เสียภาษี สอดคล้องกับการเตรียมออกมาตรการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-payment เพื่อลดการใช้เงินสด ลดการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งคาดว่าระบบนี้จะเริ่มใช้งานได้ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ซึ่งจะช่วยประหยัดงบประมาณได้ปีละกว่า 1 แสนล้านบาท นายสุพันธ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การจัดทำข้อมูลภาษีของภาคธุรกิจ จะช่วยให้รัฐบาลสามารถวางแผนปรับโครงสร้างภาษีของประเทศได้ในระยะยาวแต่ขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าภาคธุรกิจจะตอบรับหรือไม่แต่เชื่อว่าการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการได้มาก
ตั้งแต่มาตรการshoping ช่วยชาติ คงทำให้ พวก เลี่ยงภาษี พวกเลี่ยงจ่าย vat คงอยากเข้าระบบมากขึ้น อยากให้ปีหน้ามีมาตรการนี้อีก ช่วยได้เยอะจริงๆ คนใส่ใจกันเยอะเลย
เดี๋ยวก็จะมีควายจัญไรออกมาถามอีกว่ามีวิธีหาเงินวิธีอื่นที่ไม่เกี่ยวกับภาษีและประมูลคลื่นฯมั้ย มันโง่มาแต่ไกลจริงๆ
อสมท ยินดีคืนคลื่น 2600 MHz แลกเงินเยียวยา "กสทช." ตั้งเป้าประมูลปี 60 http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1452679786 2600นี่คลื่นสั้นกว่า2100ซะอีก ไม่ได้หวังว่าราคาจะแรงอย่างรอบที่แล้ว ผู้แข่งขันก็หน้าตักร่อยหรอไป2รายแล้ว เครื่องโทรศัพท์ก็ต้องเปลี่ยนด้วยละมั๊ง
กรมสรรพากร เปิดให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ยื่นแบบแสดงรายได้บัญชีเดียวผ่านระบบวันแรก พร้อมเชิญตัวแทนสำนักบัญชีทั่วประเทศ
ดร.สมคิด แกก็วางแผนฉลาดดีนะ SME ที่ทำบัญชีจ่ายภาษีถูกต้อง ก็มีสินเชื่อดอกเบี้ยมาช่วยแบบพิเศษให้ด้วย แบบนี้ SME คงเต็มใจที่จะจ่ายภาษีมากขึ้นด้วย
ปกติ รุ่นกลางๆ จนถึงตัว Top มันรองรับอยู่แล้วครับ (บางรุ่นบางยี่ห้อ) ที่จะเหนื่อยก็มีแค่ผู้ให้บริการต้องตั้งเสากันเพิ่ม ^^' แต่ดีสำหรับผู้บริโภคอย่างเราๆ ครับ เพราะยิ่งการแข่งขันสูงและถ้ามีผู้ให้บริหารหน้าใหม่ๆ เพิ่มขึ้น การแข่งขันก็มากขึ้น ราคาก็ซัดกันกระจาย ไม่เหมือนไอ้สัดนรกเหลี่ยม ทำธุรกิจไม่เป็นจ้องจะผูกขาด+โกง ลูกเดียวครับ (โยงไปได้) ฮ่าๆๆ
ให้รางวัลกันแล้ว ตอนนี้ก็มาถึงบทลงโทษกันบ้างละ หลังจากกรมสรรพากรประกาศจะไม่ตรวจภาษีย้อนหลังเอสเอ็มอี พร้อมทั้งประกาศลดภาษีให้เพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการเข้าระบบภาษี ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก เริ่มทะยอย ยื่นจดแจ้งการใช้บัญชีเล่มเดียวกับกรม เพื่อได้สิทธิลดภาษีรอบบัญปี 59 ซึ่งกรมฯ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรให้ทั้งหมด ในขณะที่รอบบัญชีปี 2560 ก็ยกเว้นภาษีให้หมดสำหรับกำไรไม่เกิน 300,000 แต่ส่วนที่เกินคิดภาษี 10% จากปัจจุบันที่กฎหมายกำหนดให้กำไร 300,000 ถึง 3 ล้านต้องเสียภาษี 15 % และเกิน 3 ล้านเสียภาษีเต็ม 20% โดยกรมสรรพากรกำหนดให้เอสเอ็มอีมายื่นจดแจ้งการใช้บัญชีเล่มเดียวกับกรมฯระหว่างวันที่ 15 มค ถึง 15 มีค นี้ ล่าสุดตัวเลขล่าสุดเช้าวันนี้มีเอสเอ็มอีมาจดแจ้งเพิ่มเป็น 65,000 ราย จากเอสเอ็มอีที่มีทั้งหมดประมาณ 420,000 กรมสรรพากรใช้ภาษีจูงใจให้เอสเอ็มอีทำบัญชีเล่มเดียมเพื่อจะได้เสียภาษีให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ที่ผ่านมาผู้ประกอบการขนาดเล็กมักทำบัญชีหลายเล่มเพื่อเลี่ยงการภาษี ลดภาษีนิติบุคคล SMEs โดยกรมสรรพากร รอบบัญชีปี 2559 กำไร 0-300,000 บาท ยกเว้น 300,000 ขึ้นไป ยกเว้น ลดภาษีนิติบุคคล SMEs โดยกรมสรรพากร รอบบัญชีปี 2560 กำไร 0-300,000 บาท ยกเว้น 300,000 บาทขึ้นไป คิดภาษี 10% ระยะเวลาขึ้นทะเบียนบัญชีเล่มเดียว 15 ม.ค.-15 มี.ค.2559 จำนวน SMEs ที่ยื่นแบบภาษี 2557 418,400 ราย แยกเป็นรายได้เกิน 30 ล้าน แต่ไม่เกิน500 ล้านบาท จำนวน 360,000 ราย
เก็บภาษีร้านทอง ได้เพิ่มอีกหลายตังค์อยู่นะ นายประภาศ คงเอียด รองปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้ กรมสรรพากรเร่งขยายฐานการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ยังอยู่นอกระบบเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีผู้ยื่นเสียภาษีเพียง 10 ล้าน 7 แสนคน จากประชากรของประเทศที่มีกว่า 70 ล้านคน ซึ่งถือว่าน้อยกว่าที่ประเมินไว้มาก เพราะผู้ที่มีรายได้เกินปีละ 30,000 บาท จะต้องยื่นแบบเสียภาษี ซึ่งควรจะมีผู้เสียภาษีไม่ต่ำกว่า 30-40 ล้านคน ทั้งนี้ คาดว่าการจัดเก็บภาษีปีงบประมาณ 2559 จะทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเฉพาะการเก็บภาษีของกรมสรรพากร แม้ว่าครึ่งแรกของปีงบประมาณจะเก็บภาษีได้ต่ำกว่าเป้าหมายกว่าหมื่นล้านบาท แต่ถ้ากรมสรรพากรสามารถขยายฐานภาษีได้ จะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยจากมาตรการให้นำค่าใช้จ่ายจากการช้อปปิง และรับประทานอาหารไปหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาท 2 ครั้งที่ผ่านมา พบว่ายังมีผู้ประกอบการจำนวนมากไม่สามารถออกใบกำกับภาษีให้แก่ลูกค้าได้ ทั้งที่มีรายได้เกินปีละ 180,000 บาท ซึ่งต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แสดงให้เห็นว่ายังมีผู้ประกอบการที่อยู่นอกระบบอีกจำนวนมาก ซึ่งกรมสรรพากรจะต้องดึงให้เข้ามาอยู่ในระบบอย่างถูกต้อง โดยกระทรวงการคลังได้ให้กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร เชื่อมโยงข้อมูลกัน เพื่อให้การจัดเก็บภาษีมีประสิทธิภาพ และลดการรั่วไหลให้ลดลง รองปลัดกระทรวงการคลัง ประภาศ คงเอียด ระบุ กระทรวงฯอยู่ระหว่างพิจารณาแก้ไขอายุความทางภาษีของ 3 กรมจัดเก็บให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้กระบวนการพิจารณาคดีภาษีของทั้ง 3 กรมสอดคล้องกัน ไม่มีช่องว่างให้ผู้ประกอบการหลีกเลี่ยงการพิจารณาคดีภาษี ปัจจุบันอายุความทางภาษีของกรมศุลกากรจะสูงสุดคือ 10 ปี ขณะที่กรมสรรพสามิตและกรมสรรพากร มีอายุความ 2 -5 ปี คลังหาช่องเพิ่มรายได้ เล็งแก้กฎหมาย เปิดเผยข้อมูลผู้เสียภาษี กรมสรรพากรดึงร้านทองรายใหญ่75ราย เข้าระบบภาษีเงินได้นิติบุคคล รองรับ E-payment ดีเดย์ 1 มิ.ย.นี้ วันนี้ (22พ.ค.59) นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวในงานสัมมนา "โอกาส ร้านทองเปลี่ยนผ่านสู่นิติบุคคล" ซึ่งจัดขึ้นโดย สมาคมค้าทองคำ และกรมสรรพากร ว่า ขณะนี้กรมสรรพากรพยายามชี้แจงให้ผู้ประกอบการร้านทองรับรู้ถึงการบังคับใช้กฎหมายสากลในการป้องกันการฟอกเงิน จึงต้องมีการบังคับใช้กฎหมายกับภาคธุรกิจในการจดทะเบียนนิติบุคคลเสียภาษีอย่างถูกต้อง ทำบัญชีเดียว หากไม่ทำตามและตรวจพบ จะถือว่าเข้าข่ายการฟอกเงิน และถูกยึดทรัพย์ได้ทันที ปัจจุบันร้านทอง มีมูลค่าการค้ารวม 400,000 ล้านบาท-500,000 ล้านบาทต่อปี แต่เข้าระบบภาษีจริงเพียง 200,000 ล้านบาท-300,000 ล้านบาท หากสามารถดึงเข้าระบบได้ทั้งหมด จะส่งผลดีต่อ จีดีพี ของประเทศ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการ จะได้ประโยชน์อื่นๆ ตามมา เช่น การเข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมถึงการเสียภาษีในอัตราที่ลดลง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ บอกว่า กระทรวงคลังจะเร่งปรับปรุงเรื่องการจ่ายภาษีให้ต้องถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ เพราะการเลี่ยงภาษีหรือไม่จ่ายภาษีตามจริง ถือเป็นการเอาเปรียบคนอื่นที่ทำถูกต้อง และเป็นการคอร์รัปชั่นรูปแบบหนึ่ง ทั้งนี้ แนวคิดการทำบัญชีเดียว ของกรมสรรพากรจึงเป็นสิ่งที่จะส่งเสริมให้เอกชนเสียภาษีอย่างถูกต้อง ซึ่งทุกกรมภาษีพร้อมทำงานประสานกันเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องดังกล่าวอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะกรมศุลกากร ที่ถือว่าเป็นหน่วยงานที่มีการทุจริตสูง เพราะมีการรายงานจำนวนสินค้าไม่ตรงกันและมีการเปลี่ยนแหล่งกำเนิดสินค้าเพื่อได้ประโยชน์ทางด้านภาษี จึงได้สั่งการให้กรมศุลกากรเร่งตรวจสอบน้ำหนักคอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้าให้ถูกต้องมากขึ้น ทั้งนี้ หากสามารถปิดรอยรั่วของการทุจริตได้จะทำให้มีเม็ดเงินภาษีเข้าระบบเพิ่มขึ้นนับ 100,000 ล้านบาท กระทรวงการคลังเรียกร้องเอกชนเข้าโครงการบัญชีเดียวของกรมสรรพากร หลังประเมินรัฐถูกเอกชนโกงภาษีปีละไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท กรมธนารักษ์เตรียมปรับวิธีคิดค่าเช่าที่ราชพัสดุทั่วประเทศใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับราคาประเมินที่ดินรายแปลงใหม่ ที่จะนำมาใช้ในปี 2560 อธิบดีกรมธนารักษ์ นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุลบอกว่า กรมธนารักษ์มีเป้าหมายดำเนินงานเชิงรุกมากขึ้น เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากปีละ 4 พันล้านบาทเป็นปีละ 1 หมื่นล้านบาท โดยจะปรับราคาค่าเช่าที่ราชพัสุดทั้งระบบใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับราคาประเมินที่ดินใหม่รายแปลงที่จะนำมาใช้ปี 2560 ซึ่งจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 3 หมื่นล้านบาทในระยะ 5 ปีข้างหน้า นายจักรกฤศฎิ์ บอกอีกว่า จะมีการจัดทำบัญชีค่าเช่าใหม่ คาดว่าจะเสร็จใน 3 เดือน เพื่อให้ทันในปีงบประมาณปี 2560 จากปัจจุบันค่าเช่าที่ราชพัสดุต่ำมาก โดยบางพื้นที่ เก็บปีละ 25 สตางค์ต่อตารางวา สูงสูดเพียง 10 บาท ขณะที่บางรายกลับนำไปเช่าต่อหลักหมื่น หลักแสนบาท อย่างอาคารพาณิชย์ ในบริเวณปทุมวัน ปัจจุบันจัดเก็บค่าเช่าอยู่ที่ 4,000 บาทต่อเดือน หากมีการจัดเก็บค่าเช่าตามราคาตลาดจะคิดค่าเช่าได้ถึงเดือนละ 80,000 บาทเหมือนที่ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จัดเก็บในปัจจุบัน ซึ่งกรมธนารักษ์ ก็จะมีการทยอยปรับเพิ่มขึ้น แต่อาจจะไม่สูงถึงราคาตลาด ทั้งนี้ ปัจจุบัน มีสัญญาเช่าที่ราชพัสดุ ทั้งหมด 1.6 แสนสัญญา ซึ่งมีเพียง 5 พันรายเท่านั้น ที่เป็นการเช่าเชิงพาณิชย์ ที่เหลือเป็นการเช่าเพื่อที่อยู่อาศัยและเกษตรกรรม โดยมีผู้เช่ารายใหญ่มีเพียง 7 ราย คือ ท่าอากาศยานไทย 1,595 ล้านบาท, บริษัท ปตท. 561 ล้านบาท, บริษัท ไทยออยล์ 200 ล้านบาท , บริษัท กสท.โทรคมนาคม 169 ล้านบาท , บริษัทท่าเรือเจ้าพระยา 126 ล้านบาท และบริษัท เอ็นซีซี กับบริษัท ไปรษณีย์ไทยเท่ากันที่ 122 ล้านบาท โดยกรมธนารักษ์จะทยอยเจรจาค่าเช่าใหม่กับรายใหญ่ที่ครบอายุสัญญาเช่า นอกจากนั้น ยังเข้มงวดกับการใช้พื้นที่ของส่วนราชการให้ตรงกับวัตถุประสงค์ด้วย ซึ่งจากการออกตรวจสภาพการใช้งานพบว่าไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ 799 แปลง ได้แก้ไขแล้วเรียบร้อย 34 แปลง โดยหากนำไปใช้ในเขิงพาณิชย์ เช่นสโมสรร้านอาหาร ปั๊มน้ำมันจะให้แบ่งรายได้ 70% เข้ารัฐ และอีก 30% เข้าส่วนราชการที่บริหารพื้นที่ คลัง เล็งเก็บเพิ่มภาษีที่ดินแนวรถไฟฟ้า - โครงการพื้นฐานที่ได้รับประโยชน์จากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐ แจงระบบ one shot หรือเก็บครั้งเดียว สกัดกลุ่มปั่นราคาที่ดินหวังนำรายได้พัฒนาประเทศ ธนารักษ์ปรับค่าเช่าที่ใช้ปี 60 หวัง 5 ปี รายได้เพิ่ม 3 หมื่นล้าน
"บัญชีเดียว" แนวทางเพิ่มประสิทธิภาพเก็บรายได้ นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ได้สั่งให้กรมสรรพากรเร่งขยายฐานการเก็บภาษี เนื่องจากยังมีช่องทางที่จะขยายฐานภาษีได้อีกมาก เพราะที่ผ่านมากรมสรรพากรขยายฐานภาษีได้น้อยมาก เห็นได้จากจำนวนผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอยู่ที่ประมาณ 4,000,000 คน ไม่ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่ได้สั่งให้ไปรีดภาษีจากผู้เสียภาษีที่ถูกต้องอยู่แล้ว แต่ต้องการให้ขยายฐานภาษีไปยังผู้ที่ไม่อยู่ในระบบให้เข้ามาอยู่ในระบบภาษีมากขึ้น รวมทั้งให้เข้าไปตรวจสอบการเสียภาษีของบริษัทนอมินีต่าง ๆ ในทุกภาคธุรกิจ เริ่มจากบริษัทนอมินีท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่เกิดขึ้นจำนวนมาก โดยร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ตรวจสอบการเสียภาษีของนอมินีบริษัทท่องเที่ยวทั้งหมด นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังได้ตั้งคณะกรรมการการเก็บภาษีธุรกิจ E-Commerce มี นายประภาศ คงเอียด รองปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน โดยเชิญทุกหน่วยงานเข้าร่วม ทั้งกรมสรรพากร กรมศุลกากร กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อร่วมกันหาแนวทางการเก็บภาษีธุรกิจ E-Commerce ใหม่ เนื่องจากยังมีการรั่วไหลมาก ทำให้เก็บภาษีได้น้อย กระทรวงการคลัง เชื่อเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัว แม้ส่งออกยังติดลบ ด้านปลัดกระทรวงการคลัง สั่งกรมจัดเก็บภาษี ส่งแผนอุดช่องโหว่ภาษี และขยายฐานภาษีเพิ่มเติม ในงานสัมมนา "โลกเปลี่ยน คลังปรับ เจาะยุทธศาสตร์คลังไทย" นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง สั่ง 3 กรมภาษี เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีและอุดช่องโหว่การสูญเสียเม็ดเงินภาษี รวมถึงขยายฐานภาษีให้สูงขึ้น เพื่อเพิ่มการเก็บรายได้จากร้อยละ 16-17 เป็นร้อยละ 21 ของจีดีพี และรองรับการใช้จ่ายของภาครัฐในอนาคต โดยให้แต่ละกรมจัดทำแผนมาให้พิจารณาโดยเร็วที่สุด ปัจจุบันมีผู้ยื่นแบบภาษีบุคคลธรรมดา 10,900,000 คน แต่เสียภาษีเพียง 3-4 ล้านคน จากแรงงานในระบบทั้งหมด 30 ล้านคน ส่วนนิติบุคคลไทย มีกว่า 1 ล้านราย แต่ยื่นแบบภาษี 600,000ราย และเสียภาษีเพียง 400,000ราย จึงให้กรมสรรพากร พิจารณาว่าจะเพิ่มฐานภาษีส่วนนี้ อย่างไร พร้อมสั่งกรมสรรพากร ทำแผนภาษีทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลเชิงลึก เพื่อให้ทราบละเอียดผู้เสียภาษีทั้งหมด เช่น บ้านอยู่ที่ไหน พักอาศัยกี่คน มีรายได้และทรัพย์สินเท่าใด เพื่อประเมินการเก็บภาษีได้แม่นยำและสอดคล้องความเป็นจริงมากขึ้น นางสาวกิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการวิจัยด้านวิจัยและคำปรึกษาระหว่างประเทศ ทีดีอาร์ไอ(TDRI) แนะรัฐทบทวนการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ปัจจุบันเก็บร้อยละ 7 เพราะยังต่ำกว่าหลายประเทศ และควรพิจารณาการให้สิทธิประโยชน์ ทั้งผ่านบีโอไอและสิทธิประโยชน์อื่นๆ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ด้านนายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ยอมรับแม้การส่งออกยังติดลบ การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว แต่เชื่อว่าเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีหลังจะเติบโตได้ดี จากปัจจัยบวกการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณเหลื่อมปี กระทรวงการคลัง ยังเตรียมผลักดันร่าง พ.ร.บ.การเงินการคลัง เพื่อความยั่งยืนในอนาคต หลังร่างรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบ เพื่อปฏิรูปการเงินการคลังในหลายด้าน เร่งหาช่องเก็บภาษีดันรายได้พัฒนาประเทศ นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง สั่งกรมสรรพากรให้เข้มงวดในการจัดเก็บภาษี เพื่อขยายฐานภาษีให้กว้างขึ้น จากปัจจุบันที่มีคนยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีล่าสุด มีจำนวนทั้งหมด 10.9 ล้านคน และมีผู้เสียภาษีจริงเพียงประมาณ 4 ล้านคน ซึ่งถือว่ามีฐานภาษีที่เล็กเกินไป ได้เงินไม่เพียงพอต่อการพัฒนาประเทศและอุดหนุนสวัสดิการสังคม จึงได้กำชับให้อธิบดีกรมสรรพากรจัดทำแผนที่ภาษีตรวจดูคนในทุกครัวเรือนว่ามีรายได้ มีสินทรัพย์ เท่าไร และเสียภาษีถูกต้องหรือไม่ ห้ามเจ้าหน้าที่สรรพากรรับจ้างปรึกษาภาษี ในขณะเดียวกัน เกี่ยวกับเรื่องเงินภาษีรั่วไหลเพราะมีอดีตเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรบางคน คอร์รับชั่น ช่วยบริษัทเอกชน หรือ คนที่มีอิทธิพลหลบเลี่ยงภาษีนั้น ที่ปรากฎเป็นข่าวบ่อยครั้งนั้น ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ได้สั่งห้ามข้าราชการกรมสรรพากร รับเป็นที่ปรึกษาภาษีอากรให้เอกชน หรือบุคคลธรรมดาทั่วไป รวมทั้งได้ลงโทษข้าราชการไปหลายคนแล้ว โดยกระทรวงการคลังจะเน้นความโปร่งใส ในการบริหารภาษี
กรมสรรพากรตั้งเป้าดึงร้านขายยากว่า 2 หมื่นรายเข้าระบบภาษีเงินได้นิติบุคคล หลังพบส่วนใหญ่เสียภาษีเหมาจ่าย- ทำบัญชีไม่ถูกต้อง พร้อมเล็งขยายไปกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวทั้งโรงแรม ร้านอาหาร บริษัททัวร์อีกนับแสนราย "เชฟรอน"คืนภาษีกว่า 3 พันล้านให้กรมสรรพสามิต