สัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ลงวันที่ 27 มีนาคม 2533 ที่ลงนามโดยนายไพบูลย์ ลิมปพยอม ผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย กับ คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร ซึ่งขณะนั้นยังมีสถานะเป็น นางพจมาน ชินวัตร ในฐานะกรรมการผู้จัดการเอไอเอส ผ่านไป 25 ปี สัญญาฉบับนี้ได้กลับมาสร้างวิบากกรรมให้กับเอไอเอสอีกครั้ง โดยเฉพาะการแก้ไขสัญญาสัมปทาน ครั้งที่ 6 เมื่อ วันที่ 15 พฤษภาคม 2544 และ การแก้ไขสัญญาสัมปทานครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 20 กันยายน ปี 2545 ในช่วง ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกฯ ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษาว่าเป็นการแก้ไขสัญญาที่เอื้อประโยชน์ให้กับ ทักษิณ ชินวัตร จนมีคำสั่งยึดทรัพย์ ทักษิณ 4 หมื่น 6 พันล้านบาท เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 ภายหลังคำพิพากษาศาลฎีกา รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สั่งให้กระทรวงไอซีทีเรียกค่าเสียหายจากเอไอเอส กว่า 88,359 ล้านบาท แต่เอไอเอสปฏิเสธการจ่ายค่าเสียหายก้อนนี้ โดยให้เหตุผลว่า การแก้ไขสัญญาเป็นไปโดยความสมัครใจ ผ่านขั้นตอนการพิจารณา และเห็นชอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งกรรมการทีโอทีแล้ว จึงมีผลผูกพันที่คู่สัญญาจะต้องปฏิบัติ พร้อมยืนยันว่าการแก้ไขสัญญาไม่ได้ทำให้รัฐเกิดความเสียหาย ในทางตรงกันข้าม กลับทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มจากผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้น ปัญหานี้ยืดเยื้อมาหลายปี กระทั่งเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ป.ป.ช. ได้มีหนังสือให้ทีโอที เร่งรัดและเรียกร้องผลประโยชน์ที่เสียไปจากเอไอเอส แต่เรื่องก็ไปค้างอยู่ที่บอร์ดทีโอที การประชุมครม.เมื่อวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงสั่งการให้ รัฐมนตรีไอซีที อุตตม สาวนายน เร่งดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลฎีกาฯ และข้อเสนอของ ป.ป.ช. แม้ว่าในวันนี้สัญญาสัมปทานระหว่างเอไอเอสกับทีโอทีจะสิ้นสุดลงแล้ว แต่เอไอเอสยังจะต้องเผชิญกับการถูกฟ้องร้องเรียกร้องค่าเสียหายจากทีโอที กรณีการแก้ไขสัญญาสัมปทานเป็นเงินกว่า 7 หมื่น 2 พันล้านบาท http://www.nationtv.tv/main/content/378473161/
โกงจำนำข้าว 5.1 แสนล้าน เอไอเอส 7.2 หมื่นล้าน รวมกันแล้วเท่ากับ 5.82 แสนล้าน (บวกแบบสากลนะครับ ไม่ใช่แบบนายกปู) เรียกคืนจากตระกูลชินวัตรแล้ว ตระกูลนี้จะพอมีเหลือสัก 7 ล้านไว้จ่ายรางวัลนำจับมือบึ้มราชประสงค์ที่ลูกนายจ้างเสนอเอาไว้ไหมหนอ อ้อ...... แล้วยังเงินประกันตัวคดีบึ้มอีก ตระกูลนี้อาจถึงขั้นต้องแคะกระปุกออมสินทีเดียว
แล้วไอ้สถานีซาก 2G (ควรใช้คำนี้) จะทำอย่างไรต่อไปหรือต้องรอประมูลความถี่ 900MHz ก่อนแล้วค่อยปรับปรุง ใครจะมาทำ Technology ไปถึงไหนจะมานำ ความถี่ MHz มา modulation แบบ digital แล้วคำนึงถึง Bandwidth พอไหมวะ
ดูจากอาการทีโอที กับ ไอซีที เกี่ยงกันฟ้อง คงจะอีกนาน พอจับตัวคนอวยให้เอไอเอส ได้ประโยชน์ อาจจะยังอยู่เป็นผู้บริหาร ทีโอที อยู่ก็ได้
ผมก็ไม่รู้ แต่ประเด็นสำคัญคือต้องรื้อทิ้งแน่ๆ คำถามคือ ใครจ่ายค่ารื้อถอน ใครจ่ายค่าเช่าใช้สถานที่ 5555 ขายซากยังไม่พอจ่ายเลยมั๊ง
ความจริงไม่จำเป็นต้องอยากได้คืน ให้เค้าทำต่อไปเฮอะ จะได้รู้ว่า จะไม่ได้กำไรมากๆ จะไม่ได้ผูกขาดง่ายๆเหมือนเจ้าของเดิมเค้าทำมา และจะได้รู้ว่า ที่คิดว่าตัวเองเป็นเซียนนั่น พลาดโดนหลอกซะแล่ว