จากกรณีในช่วง 1-2 วันที่ผ่านมา ได้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง (หรือ น้ำรอการระบาย) หลายพื้นที่ ส่งผลให้เกิดการจราจรติดขัดอย่างหนัก ขณะที่ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ออกมาระบุว่า สาเหตุมาจากปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมากกว่าปริมาณฝนโดยเฉลี่ยในรอบ 25 ปี ส่งผลให้น้ำฝนไม่สามารถระบายเข้าสู่ระบบได้ทันเวลา สำหรับการแก้ปัญหาระยะสั้น ได้พยายามระบายน้ำในเส้นทางหลักก่อน ส่วนการแก้ปัญหาในระยะยาว เพื่อเสริมประสิทธิภาพการระบายน้ำ คือ รอการก่อสร้างอุโมงค์ยักษ์ใต้คลองบางซื่อแล้วเสร็จ คาดว่าจะใช้การได้ต้นปี 2560 เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.2559 นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวอิศราว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาท่วมกทม.ในช่วง 1-2 วันที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาดของกทม.เป็นหลัก โดยเฉพาะการวางแผนงานแก้ไขปัญหาล่วงหน้าที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ "ปัญหาฝนตกน้ำท่วม ในกทม. เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ และทุกครั้งที่มีปัญหาผู้บริหารกทม. ก็มักจะโยนความรับผิดชอบไปให้ธรรมชาติ พร้อมอ้างถึงโครงการขนาดใหญ่ว่าอยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินการ ถ้าทำเสร็จแล้วจะแก้ไขปัญหาได้แน่นอน แต่ในข้อเท็จจริงที่สตง.ตรวจสอบพบ คือ นับตั้งแต่ช่วงปี 2557 จนถึงปัจจุบัน กทม. ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้สำหรับแผนงานพัฒนาระบบระบายน้ำ หรือขุดลอกท่อ เพื่อรองรับปัญหาน้ำท่วมปีละหลายพันล้านบาท แล้วทำไมยังไม่สามารถแก้ไขได้เลย " นายพิศิษฐ์ระบุ ผู้ว่าฯ สตง. กล่าวต่อไปว่า จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นพบว่า กทม.โดยสำนักการระบายน้ำ ได้รับงบประมาณจัดสรรเพื่อการระบายน้ำ ปี 2557 วงเงิน 4,958 ล้านบาท แต่จากการติดตามการเบิกจ่ายเงิน พบว่ามีปัญหาความล่าช้า หลายโครงการทำเสร็จไม่ทัน และมีการกันงบให้ไปใช้ในปีต่อไปแทน ซึ่งในส่วนงบประมาณปี 2558 ก็มีลักษณะเดียวกัน "จากข้อมูลดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่าปัญหาอยู่ที่การปฏิบัติงานของกทม. ไม่ได้อยู่ที่เรื่องอื่น อย่าโยนบาปให้ฟ้าฝน ปัญหาอยู่ที่คนมากกว่า ว่าที่ผ่านมาทำงานอะไรกันบ้าง ผลงานที่ออกมาเป็นอย่างไร ซึ่งเราคงไม่ต้องไปพูดถึงโครงการขนาดใหญ่อะไร แค่โครงการเล็กๆ น้อยๆ เรื่องการขุดลอกคลอง ยังเป็นปัญหาแบบนี้เลย" ผู้ว่าฯ สตง. ยังระบุด้วยว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ สตง. ไปตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกการใช้จ่ายงบประมาณการระบายน้ำของกทม. ย้อนหลังไปนับตั้งแต่เกิดปัญหาน้ำท่วมใหญ่ ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน และนำมาสรุปเป็นข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของกทม. ในอนาคตต่อไป รวมถึงตรวจสอบขั้นตอนการว่าจ้างเอกชนเข้ามารับงานขุดลอกคลอง เนื่องจากได้รับรายงานว่า ราคาที่ว่าจ้างงานสูงกว่าของกรมราชทัณฑ์อย่างมาก http://www.isranews.org/เรื่องเด่น-สำนักข่าวอิศรา/item/47929-news_47929.html ....................................................... เป็นยุคที่เห็นบทบาทของ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินมากจริงๆ
ตอนเด็กๆกรุงเทพฝนตกน้ำจะขังนานกว่านี้ เดี๋ยวนี้ข้ามวันก็สูบเกือบหมดแล้ว ระยะยาวเขาก็พยายามป้องกัน แก้ไขกันไป ให้กำลังใจคนทำงานดีกว่า http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1435477096 http://www.naewna.com/local/210231 ไม่รู้ว่าคนสมัยนี้ใจร้อน หรืออะไรๆมันก็ลากมาการเมือง
สรุปแล้วคนในชาติไม่มี "ใคร" มีความรู้ความสามารถเรื่องบริหารและจัดกา่รเรื่องน้ำที่ดีพอเลย ปัญหาน้ำท่วมฝนแล้งเป็นแบบนี้มาชั่วนาตาปี ไม่มีหาย ไหนๆแล้ว ลองจ้างมืออาชีพชาวต่างชาติมาทำให้ดีกว่า ว่าไหม
สตง เป็นหน่วยงานตรวจสอบ แต่ผู้ว่า ฯ สตง คนนี้ออกมาพูดแต่ละครั้งเหมือนวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของเขามากกว่า หน่วยงานตรวจสอบมันควรทำตัวเป็นกลาง ผิดก็ฟันไปเลย ไม่ผิดก็คือไม่ผิด ไม่ควรมาพูดแบบกั๊ก ๆ เพราะพูดแบบนี้มันเป็นหน้าที่ของพวกนักการเมืองที่ต้องการถล่มกัน ถ้ายังหาที่ีผิดไม่เจอก็ไม่มีความจำเป็นอะไรต้องออกมาพูดหรอก เพราะคนที่จะพูดจะด่ามีอยู่แล้วเยอะแยะ แต่ถ้าหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบออกมาพูดในลักษณะวิพากษ์วิจารณ์เสียเอง ความน่าเชื่อถือของหน่วยงานมันจะยังมีอยู่อีกหรือ หาที่ผิดให้เจอ แล้วฟันซะ เพราะนั่นคือผลงานของ สตง วิพากษ์วิจารณ์แบบนี้ไม่ใช่ผลงานที่น่าเชื่อถือ
ความจริงกับความรู้สึกบางครั้งมันก็ไม่เหมือนกันนะ สตง. อาจเชี่ยวชาญเรื่องการเงิน แต่เรื่องอื่นอย่าพูดเลย เดี๋ยวมันจะเสียหมาเอาง่ายๆ นะ ************************************* ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำของไทย วิเคราะห์สาเหตุของน้ำท่วมขังระบายไม่ทันในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งเสนอแนวทางรับมือกับปัญหาน้ำรอการระบายที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต นายชวลิต จันทรรัตน์ ประธานกรรมการบริหารบริษัท ทีม คอนซัลติ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในเครือทีมกรุ๊ป เปิดเผยถึงสาเหตุน้ำท่วมขังระบายไม่ทันว่า เพราะระบบระบายน้ำในกรุงเทพมหานคร ออกแบบมาให้รองรับน้ำฝนได้เพียง 60 มิลลิเมตร แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ มีฝนตกนานติดต่อกัน 3 วัน ทำให้หลายเขตมีปริมาณฝนเกิน 100 มิลิเมตร บางเขตสูงถึง 182 มิลิเมตร อีกทั้งฝนยังตกกระจายเป็นวงกว้างทั่ว กทม.ส่งผลให้น้ำในคลองสายหลัก และ สายรอง มีน้ำเต็มเกือบทั้งหมด ทำให้ระบายไม่ทันโดยเฉพาะในที่ลุ่มต่ำ จึงทำให้น้ำท่วมขังหลายจุด แม้ว่าจะมีอุโมงค์ยักษ์ บริเวณจุดบรรจบกันของคลองแสนแสบ และคลองลาดพร้าว แต่พบว่าบริเวณปากอุโมงค์ที่มีการดึงน้ำลงสู่อุโมงค์นั้น มีอุปสรรคโดยมีขยะกีดขวางบริเวณตะแกรง ส่งผลให้การระบายน้ำทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ด้านชาวบ้านในซอยนวลจันทร์ 64 ถนนนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม ซึ่งถูกน้ำท่วมเช่นกัน บอกว่าบริเวณนี้มีน้ำท่วมขังระบายไม่ทัน ทำให้ภายในซอยมีน้ำท่วมสูงและล้นเข้าไปภายในบริเวณบ้าน ถือว่าหนักกว่าปี 2554 และเห็นว่าสาเหตุที่น้ำท่วมขังส่วนหนึ่งมาจากท่อระบายน้ำมีสิ่งอุดตัน ประกอบกับในคลองบางขวดมีขยะอยู่จำนวนมาก ทำให้น้ำระบายออกไปได้ช้า และ ที่ผ่านมาไม่เห็นหน่วยงานใดเข้ามาขุดลอกคลอง กทม.มีพื้นที่เสี่ยงน้ำขังกว่า 35 จุดกระจายอยู่ในทุกเขต นักวิชาการชี้ กทม.ต้องเร่งวางมาตรการแก้ปัญหา ทั้งประสิทธิภาพการระบายน้ำ พื้นที่รับน้ำน้อยลง รวมถึงดินทรุดซึ่งจะมีผลต่อปัญหาน้ำท่วม กทม.ในระยะยาว สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง เพราะระบบระบายน้ำในกรุงเทพมหานคร รองรับน้ำฝนได้เพียง 60 มิลลิเมตร ถ้าฝนตกเกินกว่านี้จะส่งผลให้การระบายช้าลง ปัญหาขยะอุดตันท่อระบายน้ำ การรุกล้ำคูคลองเส้นทางไหลของน้ำ และลักษณะภูมิศาสตร์บางพื้นที่ใน กทม.เป็นแอ่งกะทะ มีน้ำไหลจากที่สูง ระบายได้ช้ากว่าปกติ ดร.จิตรบุษษา มารมย์ อาจารย์ประจำภาควิชาผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอแนวทางแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพระยะยาวต้องปรับยุทธศาสตร์ผังเมืองใหม่ให้สอดคล้องกับความหนาแน่นของประชากร และจัดการปัญหาขยะ สอดคล้องกับความเห็นของนายเสรี ศุภราทิตย์ ผู้ว่าการประปาส่วนภูมิภาค ให้ความเห็นถึงปัญหาน้ำท่วมขังรอการระบายในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ประสบปัญหาในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ว่าในอดีตคูคลองริมถนน จะเป็นที่รับน้ำ แต่ปัจจุบันถูกพัฒนาเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยทำให้ไม่มีพื้นที่รับน้ำ ดังนั้น กทม.ควรมีข้อบังคับในพื้นที่ราชการ เอกชน ต้องปรับพื้นที่รับน้ำ มีบ่อพักน้ำเพื่อหน่วงน้ำก่อนไหลกลับสู่ถนนคล้ายแก้มลิง และต้องพัฒนาระบบระบายน้ำตั้งแต่ต้นทางก่อนถึงอุโมงค์ระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ ปัจจุบันยังพบว่าปัญหาพื้นดินในกรุงเทพฯ ทรุดเฉลี่ยปีละ 2 เซนติเมตร หากไม่มีการวางแผนในอนาคต กทม.จะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมมากขึ้น
จริงๆแล้วชอบในเรื่องการตรวจสอบทุกหน่วยงานครับ ในเรื่องการวิจารณ์การทำงานก็เห็นด้วยว่า ดูเหมือนเป็นการโจมตีการทำงานเสียมากกว่า เรื่องน้ำท่วมนี่ ผมเชื่อว่าใครมาเป็นผู้ว่ากทม. ก็เจอปัญหาแบบเดียวกันถูกด่าเหมือนกัน
สมัยเด็ก น้ำท่วมถึงขนาดมีปลามาว่ายเล่นหน้าบ้าน สมัยนี้ น้ำท่วมรัชดาครึ่งวัน ด่ากันทั้งเมือง อย่างว่าครับเทคโนโลยีสมัยใหม่มันดีขึ้น คนก็มีความคาดหวังมากขึ้น ความจริง กทม. ต้องรู้อยู่แล้วนะครับว่าจุดไหนเสี่ยงน้ำท่วม พอฝนตกหนักก็รีบไปเตรียมระบายได้เลย จากที่เห็นจุดสำคัญแบบถนนรัชดานี่ไม่น่าพลาดครับ ต้องอยู่ในบัญชีเฝ้าระวังเลย
ผมอยู่แถวบางแค ท่วมนานสองเดือน นานจนน้ำเน่า แต่ผมว่า ผู้ว่า ก็ผิดพลาดในเรื่ืองการเตรียมทำความสะอาด ล้างท่อ ก่อนฝนมา
จะว่าไป ก่อนถึงผู้ว่าฯ น่าจะถึง อดีต สส./ หน.เขต/ รองผู้ว่าฯ ก่อนนะ รวมทั้ง รมต. สำนักฯ ไม่เกี่ยวกะ สตง. นะ ออกมาเพื่ออะรัย ยัง งง?? ถ้าจะเอาความชอบ ก้ออย่าโยนความผิด ข้อมูลต้องแน่นพอที่จะพูด อาสาฯ มูลนิธิฯ รวมทั้ง นักเรียน/นศ./อาชีวะฯ เรียนเพื่ออารัย เฉพาะ อาชีวะ มาท้าดวนกันเลย คัยเก่งกว่า ???? พัฒนาท้องถิ่นนะ ฟันให้เละเลย ผักตบนะ ทำน้ำให้ใส ทำถิ่นที่อยู่ให้ดีนะ เอามั้ย ท้ากันเย ตรูเชียร์...!!
เอาจริงๆ จะบอกว่า ทาง กทม. ไม่ทำอะไรเลยนี่ ก็ไม่ยุติธรรมกับผู้ปฏิบัติงานนักนะครับ เพราะจากที่ติดตามข่าว ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ที่ฝนยังไม่ตก ทาง กทม. ก็เริ่มเตรียมตัวรับน้ำฝนกันไปแล้ว ฝนฟ้าคะนอง ปกคลุมกรุงเทพฯ หนักสุดย่านจตุจักร รัชดา-ลาดพร้าว ปริมาณฝน 57 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่าเป็นพายุฤดูร้อน สาเหตุมวลอากาศเย็นลงมาปะทะอากาศร้อนสะสม และแนวลมพัดสอบ นำความชื้นเข้ามา แต่ยังไม่เริ่มต้นเข้าสู่ฤดูฝน และช่วงนี้มีโอกาสเกิดฝนตกร้อยละ 60 ของพื้นที่ แต่ไม่ได้เป็นฝนตกหนักยาวนานขนาด 100 -150 มิลลิเมตร ตามที่แชร์กันมากในโลกออนไลน์วันนี้ ซึ่งเป็นการคาดการณ์เกินจริง เชื่อถือไม่ได้ และไม่ได้เกี่ยวอะไรกับอิทธิพลของพายุไซโคลนที่ก่อตัวแถวอ่าวเบงกอล ขณะที่สำนักการระบายน้ำ กทม.พร้อมรับมือฤดูฝน ขณะนี้คืบหน้าไปแล้วร้อยละ 80 ทั้งขุดลอกคูคลอง เก็บขยะ ลอกท่อระบายน้ำเพื่อเปิดทางน้ำไหล และเช็คความพร้อมเครื่องสูบน้ำสำรองไว้กว่า 20 จุดอ่อนน้ำท่วมขัง และจุดที่มีโครงการรถไฟฟ้า หน้าฝนปีนี้ โชคดีหน่อยที่ปริมาณน้ำในคลองสายต่างๆ มีน้อยจากสภาพอากาศร้อน แล้ง แม้ว่าฝนตกหนักลงมา จะไม่เป็นปัญหาน้ำท่วมขังนาน สามารถระบายน้ำได้อย่างรวดเร็ว ไม่เป็นครึ่งค่อนวันอย่างแน่นอน การเตรียมการรับมือน้ำท่วมขังปีนี้อย่าชะล่าใจ ไม่ประมาท แต่ก็ไม่ควรตื่นตระหนกกับโซเชียลมีเดีย และให้ติดตามตรวจสอบข้อมูลข่าวสารจากกรมอุตุนิยมวิทยา และศูนย์ป้องกันน้ำท่วม กทม.