สูงกว่ากฎหมาย สูงกว่ารัฐธรรมนูญ แทรกบังคับกับทุกองค์กร คล้ายเข้าใจ คล้ายไม่เข้าใจ ใครรู้อธิบายเป็นภาษาธรรมดาๆหน่อยเหอะ --------------------------------------------------------------------------- วิษณุ เครืองาม ส่องนัยยะ “หลักนิติธรรม” ในร่างรธน.ฉบับปฏิรูป หลักนิติธรรมในรัฐธรรมนูญ จะเป็นรากแก้วของการปกครองของไทยตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป คอยดูต่อไปจะแสดงอิทธิฤทธิ์ เราจะเผชิญกับการนำหลักนิติธรรมมาใช้ ในศาล คณะรัฐมนตรี รัฐสภา และในองค์กรอิสระ อย่างกว้างขวาง มาตรา 219 ศาลต้องตัดสินคดีในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ตามหลักนิติธรรม รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย โดยนิติธรรมมาก่อนรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญมาก่อนกฎหมาย ทั้งหมดมีนัยยะสำคัญ ขณะที่ในมาตรา 220 เจ้าหน้าที่ทั้งหลายในกระบวนการยุติธรรม จะต้องทำหน้าที่ของตนตามหลักนิติธรรม รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย http://www.isranews.org/thaireform/thaireform-talk-interview/item/38255-rule-of-law58.html
ข้อความตอนหนึ่ง ในคำอธิบายความศักดิ์สิทธิ์ของ"หลักนิติธรรม" ------------------------------------------------------------------------------------------ ศ.ดร.วิษณุ กล่าวว่า นัยยะต่อจากนี้จะมีความหมายอย่างไร จะแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เราจะได้เห็นว่า เมื่อถึงเวลามีคดีความเกิดขึ้น ศาลอาจหากฎหมายใดมาตัดสินไม่ได้ หรือถ้าใช้กฎหมายการกระทำนี้จะถูกกฎหมาย แต่หากใช้หลักนิติธรรม การกระทำนี้จะผิด ---------------------------------------------------------------------------- ยกตัวอย่างมีเจ้าหนี้เงินกู้หน้าเลือด ให้คนกู้เซ็นต์กระดาษเปล่าใว้ ยืม10000บาทพอไม่มีเงินจ่าย ก็โดนฟ้อง แต่กลายเป็นติดหนี้100000บาท ตามกฏหมายการบังคับให้เซ็นต์กระดาษเปล่าใว้นั้นมันผิดแน่นอน แต่จำเลยมักไม่มีทางพิสูจน์ได้ว่าโดนบังคับ ดังนั้น ตามหลักกฏหมายที่ผ่านมาลายเซ็นต์นั้น จะเป็นหลักฐานมัดตัวจำเลย แพ้คดีแน่นอน ต่อไปนี้เมื่อใช้"หลักนิติธรรม" ถ้าจำเลยใช้พยานแวดล้อมแทน เช่นสู้คดีโดยบอกว่าตามฐานะของจำเลย เจ้าหนี้ไม่มีทางให้กู้ถึง100000บาททั้งๆที่ไม่มีสิ่งใดมาค้ำประกัน ดังนั้นจำเลยมีโอกาสชนะใช่ไหมครับ หรือผมเข้าใจผิด
คงหมายถึงกระบวนการทำงานหรือการใช้กฎหมายของหน่วยงาน(ไม่ใช่แค่ศาล) เพื่อไม่ปล่อยปละให้เกิดกรณีเช่น - อ้างไม่ตั้งใจ; บกพร่องโดยสุจริต - โกงไม่ผิดกฎ; คอรัปชั่นเชิงนโยบาย - ซดลอดช่อง; ตีความให้เกิดช่องโหว่กม. - จ้องทำกรรม; ไม่ได้ทำผิดกม. แต่ทำสิ่งที่กม.ห้าม - ยำคนด้อย; ใช้กฎหมาย/อำนาจเป็นเครื่องมือเอาเปรียบทำร้ายคนอื่น และปกป้องคุ้มครองสิทธิของเหยื่อจากกรณีเหล่าเนี้ย