คอป.สรุปต้นเหตุความขัดแย้ง มาจากศาล รธน.ทำผิดพลาดในคดีซุกหุ้นของ ''ทักษิณ'' เมื่อปี 2547 มีความไม่ชอบมาพากล ระบุศาลต้องทำงานอย่างเด็ดขาด แนะรัฐบาลยึดถือปฏิบัติหลักนิติธรรมอย่างจริงจัง... เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงาน สำนักงานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง เพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) คณะกรรมการ คอป. ซึ่งมีนายคณิต ณ นคร เป็นประธาน ได้เผยแพร่รายงานความคืบหน้าการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ประจำวันที่ 17 ม.ค.-16 ก.ค.2554 ถึงสื่อมวลชน โดยสรุปว่า ตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 จนถึงเหตุการณ์ความรุนแรงเมื่อปี พ.ศ.2553 คอป. เห็นว่ารากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งส่วนหนึ่งมาจากกระบวนการที่ละเมิดหลักนิติธรรม กระบวนการประชาธิปไตย กระบวนการบังคับใช้กฎหมาย ทุกๆอย่างมีความอ่อนแอ และขาดประสิทธิภาพ จนนําไปสู่กระบวนการใช้อํานาจนอกระบบในการแก้ไขปัญหา โดยการรัฐประหาร ซึ่งเป็นการละเมิดหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างร้ายแรง ซึ่งแทนที่จะเป็นการแก้ปัญหา แต่ในท้ายที่สุดกลับสร้างปัญหามากยิ่งขึ้น การละเมิดหลักนิติธรรมอันเป็นรากเหง้าของปัญหา เกิดจากกรณีคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อปี พ.ศ. 2547 ในคดีที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 มาตรา 295 หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า “คดีซุกหุ้น” ที่ศาลรัฐธรรมนูญมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักแห่งกฎหมาย “ในชั้นพิจารณาชี้ขาดในเนื้อหาของคดีนั้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจํานวน 7 คน ได้วินิจฉัย ว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้ทําการซุกหุ้นจริง ส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจํานวน 6 คน วินิจฉัยว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ไม่ได้กระทําผิดในข้อกล่าวหา แต่ที่น่าประหลาดก็คือ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จํานวน อีก 2 คน ที่เคยลงมติว่าคดีไม่อยู่ในอํานาจของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ลงไปวินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาของคดีแต่อย่างใด เท่านั้นไม่พอ ศาลรัฐธรรมนูญเองยังได้นําเอาคะแนนเสียง 2 เสียงหลังนี้ไปรวมกับคะแนนเสียงจํานวน 6 เสียง ที่วินิจฉัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ได้กระทําผิดในข้อกล่าวหาว่า “ซุก หุ้น” แล้วศาลรัฐธรรมนูญได้สรุปเป็นคําวินิจฉัยชี้ขาดยกฟ้อง การปฏิบัติของศาลรัฐธรรมนูญในคดีดังกล่าวนี้ จึงมีความไม่ชอบมาพากล ยากท่ีประชาชนทั่วไปจะเข้าใจได้” รายงาน คอป. ฉบับดังกล่าว ระบุ รายงาน คอป.ฉบับที่ 2 ยังระบุอีกว่า การที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 2 คน ไม่วินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาของคดีก็ดี และการที่ศาลรัฐธรรมนูญเองได้นําเอาคะแนนเสียง 2 เสียง เข้าไปบวกรวมกับคะแนนเสียง 6 เสียงก็ดี เป็นการปฏิบัติที่ผิดหลักกฎหมายโดยแท้ ทําให้เกิดความผิดพลาด 2 ประการ คือ เป็นความผิดพลาดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 2 คน ที่ไม่วินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาของคดี ซึ่งเท่ากับเป็นการไม่ทําหน้าที่ตุลาการของตน เพราะผู้พิพากษาหรือตุลาการนั้น จะไม่ทําหน้าที่ของตนไม่ได้โดยเด็ดขาด และยังเป็นความผิดพลาดของศาลรัฐธรรมนูญเองอีกด้วย ที่ได้เอาคะแนนเสียง 2 เสียง ไปรวมกับคะแนนเสียง 6 เสียง ที่วินิจฉัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ได้กระทําความผิดตามข้อกล่าวหา ทําให้ผลของคดีดังกล่าวนี้เป็นผลที่มีความไม่ชอบมาพากล เพราะรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 มาตรา 303 บัญญัติเหตุแห่งการถอดถอนออกจากตําแหน่งว่า “จงใจใช้อํานาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย” ผลของการปฏิบัติที่ผิดหลักกฎหมายของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 2 คน และศาลรัฐธรรมนูญโดยรวมดังกล่าวมานั้น จึงเป็นการบิดเบือนหรือหักดิบกฎหมาย อันเป็นจุดเริ่มต้นที่ทําให้สังคมเกิดความเคลือบแคลงในหลักนิติธรรมของประเทศไทย ตั้งแต่ได้เกิดการบิดเบือนหรือหักดิบกฎหมายขึ้นในคดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาใน “คดีซุกหุ้น” เมื่อปี 2547 นั้น รัฐยังละเลย และไม่ได้เข้าไปตรวจสอบถึงรากเหง้าของความไม่ชอบมาพากล หรือความที่น่ากังขาของเรื่องนี้แต่อย่างใด ดังนั้น คอป. จึงขอเสนอแนะให้รัฐและสังคมได้ตรวจสอบการยึดถือปฏิบัติตามหลักนิติธรรมอย่างจริงจัง. คนเสื้อผู้รักความเป็นธรรมไม่สงสัยบ้างเหรอครับว่ามันนับกันอย่างไร รายงาน คอป.ฉบับที่ 2 ยังระบุอีกว่า การที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 2 คน ไม่วินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาของคดีก็ดี และการที่ศาลรัฐธรรมนูญเองได้นําเอาคะแนนเสียง 2 เสียง เข้าไปบวกรวมกับคะแนนเสียง 6 เสียงก็ดี เป็นการปฏิบัติที่ผิดหลักกฎหมายโดยแท้ ทําให้เกิดความผิดพลาด 2 ประการ คือ เป็นความผิดพลาดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 2 คน ที่ไม่วินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาของคดี ซึ่งเท่ากับเป็นการไม่ทําหน้าที่ตุลาการของตน เพราะผู้พิพากษาหรือตุลาการนั้น จะไม่ทําหน้าที่ของตนไม่ได้โดยเด็ดขาด และยังเป็นความผิดพลาดของศาลรัฐธรรมนูญเองอีกด้วย ที่ได้เอาคะแนนเสียง 2 เสียง ไปรวมกับคะแนนเสียง 6 เสียง ที่วินิจฉัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ได้กระทําความผิดตามข้อกล่าวหา ทําให้ผลของคดีดังกล่าวนี้เป็นผลที่มีความไม่ชอบมาพากล เพราะรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 มาตรา 303 บัญญัติเหตุแห่งการถอดถอนออกจากตําแหน่งว่า “จงใจใช้อํานาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย” ผลของการปฏิบัติที่ผิดหลักกฎหมายของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 2 คน และศาลรัฐธรรมนูญโดยรวมดังกล่าวมานั้น จึงเป็นการบิดเบือนหรือหักดิบกฎหมาย อันเป็นจุดเริ่มต้นที่ทําให้สังคมเกิดความเคลือบแคลงในหลักนิติธรรมของประเทศไทย ตั้งแต่ได้เกิดการบิดเบือนหรือหักดิบกฎหมายขึ้นในคดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาใน “คดีซุกหุ้น” เมื่อปี 2547 นั้น รัฐยังละเลย และไม่ได้เข้าไปตรวจสอบถึงรากเหง้าของความไม่ชอบมาพากล หรือความที่น่ากังขาของเรื่องนี้แต่อย่างใด ดังนั้น คอป. จึงขอเสนอแนะให้รัฐและสังคมได้ตรวจสอบการยึดถือปฏิบัติตามหลักนิติธรรมอย่างจริงจัง.
ทำไมสองมาตราฐานอย่างนี้คนเสื้อแดงไม่สงสัยเหรอครับ เทียบคำชี้แจง 3 นักการเมืองติดบ่วงคดีซุกทรัพย์สิน“แซม ยุรนันท์ -ทักษิณ-ประยุทธ มหากิจศิริ”บกพร่องโดยสุจริต-เข้าใจผิด-เรื่องของเมีย รอลุ้นด่านสุดท้าย นายยุรนันท์ ภมรมนตรี อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย (ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการารกระทรวงมหาดไทย) จงใจปกปิดการถือครองหุ้นบริษัท วิลล่า เมดิก้า จำนวน 14 ล้านบาท และไม่ได้ยื่นข้อมูลการถือครองหุ้นสหกรณ์การบินไทยของภรรยาอีกจำนวน 3 ล้านบาท เมื่อครั้งเข้ารับตำแหน่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ปี 2554 สรุปได้ 2 ประการคือ 1.ในช่วงต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินเป็นช่วงเกิดน้ำท่วมใหญ่ปลายปี 2544 ทำให้เกิดปัญหาในการยื่นเอกสารต่อ ป.ป.ช. 2.การถือหุ้นสหกรณ์การบินไทยของภรรยานั้น ภรรยาเข้าใจว่าไม่ต้องแจ้ง ป.ป.ช. เพราะเป็นทรัพย์สินของครอบครัวที่มีมานานแล้ว สรุปได้ว่าไม่ได้เจตนาและเป็นความเข้าใจผิดของภรรยานั่นเอง (อ่านประกอบ:ลึกสุดใจ! "แซม-ยุรนันท์" ผมต้องพิสูจน์ว่าไม่ได้ทุจริตเพื่อวงศ์ตระกูล) และถ้าย้อนกลับไปดูข้อมูลนักการเมืองที่ถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชี้มูลกรณีจงใจปกปิดบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินก่อนหน้านี้ จะเห็นว่าคำชี้แจงของนายยุรนันท์คล้ายกับคำชี้แจงของนักการเมืองอย่างน้อย 2 รายคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนายประยุทธ มหากิจศิริ อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย โดยอ้างว่าเป็นความเข้าใจผิด ในการต่อสู้ข้อกล่าวหาในชั้น ป.ป.ช. พ.ต.ท.ทักษิณได้ชี้แจง 6 ข้อ ข้อที่ 4 ระบุว่า รัฐธรรมนูญปัจจุบัน (ปี 2540) ซึ่งเป็นที่มาแห่งการแจ้งรายการทรัพย์สินตามวิธีและกฎเกณฑ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้เริ่มใช้บังคับเมื่อ 11 ตุลาคม 2540 ป.ป.ช.ในขณะนั้นซึ่งถูกกำหนดโดยรัฐธรรมนูญให้ทำหน้าที่ ป.ป.ช.ไปพลางก่อน ได้กำหนดให้บุคคลผู้มีหน้าที่แจ้งรายการทรัพย์สินต้องยื่นรายการทรัพย์สินภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รัฐธรรมนูญมีผลใช้บังคับ โดย ป.ป.ป.(ซึ่งทำหน้าที่ ป.ป.ช.) ยังมิได้กำหนดหลักเกณฑ์การแจ้งรายการทรัพย์สินขึ้นตามรัฐธรรมนูญการแจ้งรายการทรัพย์สินจึงกระทำกันไปตามความเข้าใจ หรือตามที่เคยทำกันมา ผมได้แจ้งรายการทรัพย์สินครั้งแรกเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2540 ตามความเข้าใจโดยสุจริตใจ ต่อมาเมื่อพ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ได้ยื่นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ 4 ธันวาคม 2540 ป.ป.ป.ทำหน้าที่ ป.ป.ช.ก็ยังมิได้กำหนดหลักเกณฑ์ใดๆ ขึ้นเช่นกัน ต่อเมื่อพ้นจากตำแหน่งครบหนึ่งปี และต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งได้ยื่นเมื่อ 4 ธันวาคม 2541 จึงเพิ่มจะมีระเบียบของ ป.ป.ป.ทำหน้าที่ ป.ป.ช.ออกมาใช้บังคับ ความเข้าใจในกฎระเบียบจึงยังไม่มีใครกระจ่างชัดเท่าที่ควร ส่วนใหญ่จึงยื่นไปตามหลักเกณฑ์ที่เคยยื่นไว้เดิม ตัวพระราชบัญญัติ ป.ป.ช.เองเพิ่งจะออกมาใช้บังคับปลายปี 2542 ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น เมื่อนำกฎเกณฑ์ใหม่ไปใช้วัดกับสิ่งที่ได้ปฏิบัติไปแล้ว จึงเกิดความบกพร่องขึ้นได้โดยมิได้มีเจตนาที่จะปกปิดหรืออำพรางความมีอยู่แห่งทรัพย์สินแต่อย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงถึงว่าในการแจ้งทรัพย์สินของผมและภรรยามีมูลค่ากว่าสองหมื่นล้านบาท แต่ส่วนที่บกพร่องมิได้แจ้งไปมีเพียงร้อยละ 2.5 ของจำนวนทรัพย์สินทั้งหมดเท่านั้น ข้อ 5 ระบุว่า ในจำนวนร้อยละ 2.5 ที่มิได้แจ้งไว้ในรายการทรัพย์สินนั้น ในส่วนที่เป็นทรัพย์สินของผมและหลงลืมมิได้แจ้งไว้ มีมูลค่าเพียง 6,750 บาท เหตุที่หลงลืมก็เนื่องจากเป็นหุ้นที่อยู่ในบริษัทที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ มิได้แสวงหากำไรทั้งยังเรียกหุ้นไม่ครบ สำหรับส่วนที่เป็นของภรรยาผมนั้นมีส่วนที่หลงลืมและมิได้แจ้งไว้เป็นมูลค่า 140,200 บาท ทรัพย์สินส่วนที่เหลือที่มิได้แจ้งไว้ เนื่องจากเป็นกิจการที่ภรรยาดำเนินการในนามของบุคคลอื่น แต่ด้วยความเข้าใจผิดของเลขานุการที่เป็นผู้จัดทำและรวบรวมรายการทรัพย์สิน โดยคิดว่าจะต้องแจ้งแต่เฉพาะทรัพย์สินที่อยู่ในชื่อของภรรยาหรือของผมเท่านั้น สาเหตุที่ภรรยาดำเนินกิจการในนามของบุคคลอื่น มีเหตุผลหลายประการ เช่น บริษัทเดิมซึ่งเข้าไปซื้อกิจการยังมีภาระหนี้สินอยู่ การใช้ชื่อของภรรยาอาจก่อให้เกิดความเสียหายในเชิงความเชื่อถือหากมีปัญหาขึ้น บางกรณีเพื่อต้องการให้ครบเกณฑ์ตามกฎหมาย บางกรณีเพื่อให้มีเสียงข้างมาก ซึ่งเป็นเรื่องปกติทางการค้าทั่วไป และกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องก็อนุญาตให้ทำได้ และที่สำคัญคือ เป็นส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับรายการที่แจ้งทั้งหมด ซึ่งเลขานุการส่วนตัวของภรรยาผมเข้าใจผิดว่าเป็นกรณีที่ไม่ต้องยื่นเช่นเดียวกับที่เคยปฏิบัติกันมาตามกฎหมายในอดีต ขณะที่นายประยุทธ มหากิจศิริ ถูกกล่าวหาว่าจงใจปกปิดบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินซึ่งเป็นเงินฝากของภรรยา ในชั้นศาลรัฐธรรมนูญนายประยุทธชี้แจงว่า อ้างว่าภรรยาไม่แจ้งทรัพย์สินที่อยู่ในชื่อของภรรยาให้ทราบ และนายประยุทธก็เป็นคนกลัวภรรยาเลยไม่ได้ถามว่ามีทรัพย์สินอื่นอีกหรือไม่ น่าสังเกตว่ากรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณคล้ายกับนายประยุทธในประเด็นที่ว่าเป็นเรื่องของภรรยา ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคดีในช่วงเช้าวันเดียวกับคดีของ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่ทว่านายประยุทธโชคร้าย ถูกศาลรัฐธรรมนูญจงใจปกปิดบัญชีทรัพย์สินซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนตัดสินคดี พ.ต.ท.ทักษิณเพียง 2 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นกรณีของนายยุรนันท์ซึ่งมีข้ออ้างคล้ายกัน ต้องไปลุ้นที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอีกครั้ง ไม่รู้ว่าจะโชคดีเหมือน พ.ต.ท.ทักษิณหรือไม่? ………. น่าสังเกตว่ากรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณคล้ายกับนายประยุทธในประเด็นที่ว่าเป็นเรื่องของภรรยา ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคดีในช่วงเช้าวันเดียวกับคดีของ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่ทว่านายประยุทธโชคร้าย ถูกศาลรัฐธรรมนูญจงใจปกปิดบัญชีทรัพย์สินซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนตัดสินคดี พ.ต.ท.ทักษิณเพียง 2 ชั่วโมง
แอบไปฟังเต้าข่าวตัวหลักของไอ้จอม คลิปโดยป้าหนิง แดงยุโรป ประเด็นหลัก ๆ ก็มีแค่ ไอ้สลัด อีเฮีย อวย หมี แถก นายกปู ท่านทักษิณ บลาๆๆๆ เป็นชั่วโมง ช่างเปิดปัญญาดีแท้
คนทำผิด แต่ไม่เคยได้รับโทษ ทำตัวลั๊ลลาอยู่เหนือกฎหมายมาตลอด ปล่อยไว้ ๆ มันก็เคยตัว เสียสันดานกันแบบนี้แหระ
สองมาตราฐานมีอยู่จริงในกฎหมายไทย เชิญคุณ คนกลาง คุณ เจ้าพระยาหน้าตาดีมาทัศนาครับ เพิ่งจะพากันออกจากปลัก หลุดพ้นตื่นภวังค์จากความดักดานใต้กะลากันหรือไง ถึงเพิ่งรู้ว่า สองมาตราฐานมีอยู่จริงในผู้ตีความ,ผู้บังคับใช้,กฎหมายไทย แล้วจะมีวิธีแก้ใขเยี่ยงไรในเรื่องสองมาตราฐาน
งั้นหรือครับ งั้นผู้ฉลาดตอบได้ไหมว่าจะแก้ความเลื่อมล้ำนี้ได้อย่างไร เจ้าพระยาใจดำ - ไม่ได้ไปร่วมประท้วง - สบายดี - อยู่บ้าน - โกหก ใส่ร้าย จำคุก 0 ปี เพื่อนนปช. - ไปร่วมประท้วง - ติดคุก - อยู่เรือนจำ - เผาศาลากลาง จำคุกตลอดชีวิต ไม่น่ายากนะ สำหรับคนที่ว่าตัวเองฉลาดแล้ว ตอบไม่ได้ อายชาวบ้านนา
ถามเอาความรู้เฉยๆ กรณีแบบนี้ถ้าจะฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ ใครมีอำนาจฟ้องอะครับ อิ...อิ....กลัวเกิดกรณี "ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง"ขึ้นมาอีก
ผมเข้ามาให้ความรู้นะว่าตายายไม่ได้ติดคุกเรื่องเก็บเห็ด และที่2มาตราฐานจริงๆๆคือเรื่องทักษิณที่รอดซุกหุ้นแต่ ประยุทธ มหากิจศิริ ไม่รอดเฉยเลย ทำไมคนเสื้อแดงผู้ซึ่งต่อต้านและชิงชังเรื่อง2มาตราฐานไม่ออกมาประท้วง
ต้องให้ความรู้อีกแล้ว555เอาเอาหญ้ามาป้อนแล้วมากินเลยครับ ๑) ข้อหาเก็บเห็ดในป่าสงวนมีหรือไม่ ตอบ ไม่มี มีแต่ข้อหาบุกรุกและตัดไม้แผ้วถางป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ (ตามข้อหาที่โจทก์ฟ้อง) ๒) ข้อหาบุกรุกและตัดไม้ในเขตป่าสงวน ทำไมต้องลงโทษจำคุก ๑๕ ปี ตอบ ศาลลงโทษจำเลยคนอื่น ๓๐ ปี รับสารภาพแล้วลดเหลือ ๑๕ ปีทุกคน จะหาเหตุผลใดมาลงโทษจำเลยทั้งสองต่างจากคนอื่น ๓) เอาสถานะความเป็น “ตายาย” มาลงโทษเบากว่าคนอื่นหรือไม่ ตอบ ข้อเท็จจริงที่อยู่ต่อหน้าศาล มีเพียงว่า นางแดง ศิริสอน อายุ 48 ปี และ นายอุดม ศิริสอน อายุ 51 ปี คงไม่มีใครคิดว่าจะเป็นตายาย ๔) สมมุติว่าศาลหยิบเรื่องอายุ (48 และ 51 ) ของจำเลยมาวินิจฉัยว่าเป็น “ตายาย” แล้วรอการลงโทษหรือลงโทษกว่าคนอื่น ได้หรือไม่ ตอบ ได้ แต่คนที่ติดคุกคือศาล ไม่ใช่ตายาย ๕) ถาม ศาลหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่ว่าเป็นตายายหรือเป็นคนหาเช้ากินค่ำ ตอบ อาจมีช่องทางหนึ่งคือ การสืบเสาะและพินิจจำเลยก่อนพิพากษา แต่วิธีการนี้ศาลจะใช้เมื่อมีกรณีศาลก่ำกึ่งว่าจะรอการลงโทษได้หรือไม่ ไม่ใช่ใช้กับกรณีลงโทษหนักเหมือนเช่นคดีนี้ ๖) ถาม ทำไมบางคดีศาลลงโทษน้อย แต่บางคดีศาลลงโทษหนัก ทั้งที่เป็นข้อหาตัดไม้ป่าสงวนเหมือนกัน ตอบ ข้อหาเหมือนกันก็จริง แต่คดีป่าสงวน ศาลดูจำนวนเนื้อหาที่จำเลยก่อให้เกิดความเสียหาย หากเสียหาย ๒ ไร่ จะลงโทษเท่ากับคนตัดไม้เสียหาย ๕๐ ไร่ไม่ได้ คดีนี้สภาพการกระทำผิดมีการทำลายป่าเป็นวงกว้าง ๗) สมมุติว่า จำเลยไปรับจ้างนายทุนเข้าไปดายหญ้าในป่าสงวน จะมีความผิดหรือไม่ ตอบ มีความผิด ตามฎีกาที่ 2914/2524 อ้างอิงฎีกาที่ 2914/2524 การดายหญ้าในเขตป่าสงวนแห่งชาติคือการก่นสร้างหรือแผ้วถางในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แม้จำเลยจะกระทำโดยรับจ้างหรือถูกใช้ให้กระทำ ก็ต้องถือว่าจำเลยเป็นตัวการในการกระทำความผิดนั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83หาใช่จะถือว่าผู้รับจ้างไม่มีเจตนาที่จะแผ้วถางป่าไม่ อนึ่ง ตามที่ศาลอุทธรณ์เห็นควรให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1ไว้นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องตามที่โจทก์ฎีกาว่า การทำลายป่าสงวนแห่งชาติเป็นความผิดที่ร้ายแรงทำให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติอย่างใหญ่หลวงซึ่งไม่ควรรอการลงโทษให้จำเลย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น ข้อหาที่ทั้งสองถูกดำเนินคดีไม่ใช่ข้อหาเก็บของป่า (เก็บเห็ด) แต่ถูกดำเนินคดีในข้อหาร่วมกันบุกรุกและทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากบุคคลทั้งสองอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุและมีการวิ่งหลบหนีการจับกุมไปพร้อมกันกลุ่มบุคคลที่ร่วมกันตัดไม้สัก 700 ต้น (จึงถูกตั้งข้อหาว่าเป็นตัวการร่วมกับขบวนการตัดไม้) ซึ่งความผิดฐานบุุกรุกป่าสงวน มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท และความผิดฐานทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อหามีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปโดยไม่มีรอยตรารัฐบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพ้นบาทถึงสองแสนบาท เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ลงโทษทุกกระทงความผิด ตามคำพิพากษา การกระทำที่จำเลยทั้งสองรับสารภาพนั้น เป็นความผิดฐานบุกรุกป่าสงวน ตามพรบ.ป่าสงวนฯ มาตรา 14,31 วรรคสอง (ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หกระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และ ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท) และความผิดฐานทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปโดยไม่มีรอยตรารัฐบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามพรบ.ป่าไม้ฯ มาตรา 11 วรรคหนึ่ง,54 วรรคหนึ่ง 69 วรรคสอง 72 ตรี วรรคสอง 73 วรรคสอง (ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพ้นบาทถึงสองแสนบาท เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลจึงลงโทษทุกกระทงความผิด ข้อหาบุกรุก ศาลลงโทษจำคุก 11 ปี ส่วนข้อหาตัดไม้ ลงโทษจำคุก 19 ปี รวมจำคุก 30 ปี แต่เนื่องจากรับสารภาพ ศาลจึงลดโทษคงเหลือ 15 ปี ในชั้นอุทธรณ์ จำเลยอุทธรณ์ให้ศาลรอการลงโทษ โดยอ้างว่า รับสารภาพไปเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ (แต่เนื่องจากการกลับคำรับสารภาพ ตามแนวฎีกาที่ 3127/2550) ถือว่าเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นอุทธรณ์ซึ่งขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่รับว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยเพียงว่า มีเหตุสมควรรอการลงโทษจำเลยหรือไม่ ศาลอุทธรณ์จึงพิพากษายืน จากการถามตอบเบื้องต้น อาจพอทำให้หลายๆคน เริ่มจะพอเข้าใจได้บ้างนะครับว่า ตายาย ไม่ได้ติดคุกเพราะคดีเก็บเห็ดแต่อย่างใด (ขอบคุณข้อมูลจาก หลักและคำพิพากษา/กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา )
อะไรกัน เข้าไปเก็บเห็ดในป่า เข้าไปหาอะไรมากินประทั้งชีวิติ หากินโดยสุจริตแบบนี้ ก็ติดคุก 15 ปี ในข้อหาบุกรุกป่าเลยเหรอ เฮ้อ... คุกมีไว้ขังคนจน สองมาตราฐานมีจริงๆ
ว่าแล้วต้องไม่เข้าใจจริงๆๆด้วยเอานี่นะครับข้อตอบข้อซักถามจากกระทรวงยุติธรรมมาเร็วมากินหญ้าผมเอามาป้อนถึงปากแล้ว5555 เนื่องจากข้อมูลของท่านไม่ชัดเจนว่าท่านต้องการ สอบถามในกรณีใด และเพื่อให้เกิดความเข้าใจ จึงขอนำเสนอข้อมูลทางคดีดังกล่าว ดังต่อไปนี้ -ในขณะพิจารณาคดีจำเลยในคดี มีอายุ 48 ปี และ 51 ปี -กรณีดังกล่าวเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งไม่อาจนำไปเทียบกับคดีความผิด ที่มีข้อเท็จจริงต่างกันได้ -บุคคลทั้งสองอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุและมีการวิ่ง หลบหนีการจับกุมไปพร้อมกันกลุ่มบุคคลที่ร่วมกัน ตัดไม้สัก 700 ต้น (จึงถูกตั้งข้อหาว่าเป็นตัวการ ร่วมกับขบวนการตัดไม้) ซึ่งความผิดฐานบุกรุก ป่าสงวน มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนห้าหมื่น บาท และความผิดฐานทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับ อนุญาต และข้อหามีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้าม อันยังมิได้แปรรูปโดยไม่มีรอยตรารัฐบาลโดยไม่ได้รับ อนุญาต ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพ้นบาทถึงสองแสนบาท เป็นการ กระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ลงโทษทุกกระทง ความผิด -ตามคำพิพากษา การกระทำที่จำเลยทั้งสองรับ สารภาพนั้น เป็นความผิดฐานบุกรุกป่าสงวน ตาม พรบ.ป่าสงวนฯ มาตรา 14,31 วรรคสอง (ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หกระวางโทษจำคุกตั้งแต่ สองปีถึงสิบห้าปี และ ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึง หนึ่งแสนห้าหมื่นบาท) และความผิดฐานทำไม้ หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีไว้ในครอบครอง ซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปโดยไม่มีรอยตรา รัฐบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามพรบ.ป่าไม้ฯ มาตรา 11 วรรคหนึ่ง,54 วรรคหนึ่ง 69 วรรคสอง 72 ตรี วรรคสอง 73 วรรคสอง (ระวางโทษจำคุก ตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพ้นบาทถึง สองแสนบาท เป็นการกระทำความผิดหลายกรรม ต่างกัน ศาลจึงลงโทษทุกกระทงความผิด ข้อหา บุกรุก ศาลลงโทษจำคุก 11 ปี ส่วนข้อหาตัดไม้ ลงโทษจำคุก 19 ปี รวมจำคุก 30 ปี แต่เนื่องจาก รับสารภาพ ศาลจึงลดโทษคงเหลือ 15 ปี -จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน อ้างว่า รับสารภาพเนื่องจากรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งเป็นการอ้าง ข้อเท็จจริงใหม่ ที่ขัดกับคำให้การรับสารภาพเดิม ข้อมูล จาก หลักและคำพิพากษากฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา ขอได้รับความขอบคุณ จากศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุติธรรม โทร 0- 2141 -5100 http://website2556.moj.go.th/th/justice/home2-cms-webboard.php?action=view&qid=462
ถ้าอธิบายสไตล์ผม สมมติเจ้าพระยาใจดำที่เป็นแดงปลอมไปเดินเล่นในกลุ่มเสื้อแดงแท้ที่เผาทำลายข้าวของในช่วงเคอร์ฟิว แล้วตำรวจปราบจลาจลมาระงับเหตุ เจอเจ้าพระยาอยู่ในกลุ่ม เจ้าพระยาบอกเดินเล่น แต่ดันเดินเล่นในเหตุการณ์พอดีช่วงเคอฟิวกับพวกที่ก่อเหตุ ด้วยความใจดำเลยบอกตำรวจว่าแค่เดินผ่านเฉยๆ ไม่ได้ทำอะไร ตำรวจก็เลยดำเนินคดีเจ้าพระยาใจดำแค่ฝ่าฝืนออกนอกสถานที่ช่วงเคอร์ฟิว ส่วนพวกเสื้อแดงก็ติดคุกไปข้อหาทำลายข้าวของ เอวัง ตาล้าลา
นี่น่าสงสารกว่า ออกมาปกป้องมวลชนที่มาต้านคอรัปชั่นแท้ ๆ แกนนงแกนนำ พี่น้อง กปปส เอย ไม่เข้าไปช่วยดูแลเลย
หรือครับ ผมบอกแล้วครับวาผิดก็ว่าตามผิด ดำเนินตามกฏหมาย ไม่ได้แก้ขาวเป็นดำ คนกลางกล้าพูดไหมละครับว่าเจ้าพระยาไม่ได้ใจดำที่ทิ้งเพื่อนที่ติดคุกเพราะแกนนำสั่ง คนกลางกล้าพูดไหมครับว่าที่เสื้อแดงติดคุกแกนนำไม่ต้องรับผิดชอบ คนกลางกล้าช่วยเจ้าพระยาชี้แจงไหมครับว่าเงินบริจาคช่วยประกันเสื้อแดงไปไหน ถ้าไม่ตอบผมก็ว่าคนกลางใจดำนะเออ ไม่ยอมช่วยเพื่อนหรือเตือนเพื่อน
จริงๆ ผมว่าเจ้าพระยาใจดำก็น่าสงสารนะ ดูซิขนาดคนที่ว่ามีคุณธรรมสูง รักชอบชาวบ้านไปทั่ว อ้างเพื่อนตลอดยังไม่กล้ารับแทนเรื่องความใจดำหรือแม้แต่กล้ารับว่าเป็นเพื่อนเลย น่าเศร้าจุงเบย
อันนี้คำถาม สงสัยด้วยความใฝ่รู้ สมมุติคนที่บุกรุกป่า คืนไม้ในป่าที่ตัดมา พวกเขาเหล่านี้ จะรอดคดี โดนตัดสินว่า ขาดเจตนา เหมือนคนบางคนที่บุกรุกป่าสงวนบนเขายายเที่ยง พอค้าจับได้เเล้วก็คืนที่ให้รัฐหรือเปล่าครับ คุณ นิติรั่วๆ
สรุปก็คือพาแถออกนอกเรื่องจากหัวกระทู้ มีแต่ถาม ไม่เคยคิดตอบ ช่างน่าเศร้านี้หรือคือคนที่อ้างว่าฉลาดมีมารยาท นี้หรือคือคนที่บอกว่าจะตอบถ้าตั้งกระทู้ถาม แค่ตอบคนที่ตัวเองอ้างว่าฉลาดกว่ายังไม่ได้ ใจด่ำ ใจดำ
คนฉลาด เค้าอ่านดูก็รู้ ผมพูดเรื่องสองมาตราฐานเกี่ยวข้องกับหัวข้อกระทู้ที่จั่วอยู่ คุณกลับไปอ่านเมนต์ของตัวเองที่แถออกนอกเรื่องดีกว่า อ่านแล้วก็พิจารณาตัวเอง
ต้องให้ผมมาให้ความรู้อีกแล้ว เชิญมาทานหญ้าได้เลยผมเอามาป้อนแล้วครับ นายธนพิชญ์กล่าวว่า เหตุที่อัยการสั่งไม่ฟ้องเนื่องจาก ที่ดินบนเขายายเที่ยงแปลงที่ พล.อ.สุรยุทธ์ ครอบครองนั้น จากการสอบสวนของพนักงานสอบสวนมีหลักฐานว่าที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 67 (พ.ศ.2508) ออกตามความใน พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ซึ่งกำหนดให้ป่าเขาเตียนและป่าเขาเขื่อนลั่น (เขายายเที่ยง) ในท้องที่ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง และตำบลลาดบัวขาว จังหวัดนครราชสีมา เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่ก่อนที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จะเข้าครอบครองปลูกเป็นที่พักอาศัย ที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นของนายเบ้า สินนอก และบุตรเขย ซึ่งนายเบ้า ได้ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวโดยไม่มีเอกสารสิทธิ์จำนวน 10 ไร่ โดยไม่ทราบว่า เป็นที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนฯ แล้วเข้าไปทำไร่มันสำปะหลัง ละหุ่ง และข้าวโพด นอกจากนั้นที่ดินในเขตป่าสงวนเขายายเที่ยงยังมีราษฎรเข้าไปอยู่อาศัยทำกินเป็นจำนวนมาก นายธนพิชญ์กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2518 เห็นชอบให้กรมป่าไม้ดำเนินการปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติเขายายเที่ยงเพื่อจัดสรรให้ราษฎรทำกินครอบครัวละไม่เกิน 15 ไร่ (ให้ทำกินครอบครัวละ 14 ไร่ 2 งาน และให้เป็นที่อยู่อาศัยอีก 2 งาน) โดยมีเงื่อนไขไม่ให้กรรมสิทธิ์ แต่ให้สิทธ์ครอบครองตกทอดดึงทายาทโดยธรรมได้เป็นการถาวร เพื่อป้องกันไม่ให้นายทุนมาครอบครองโดยวิธีกว้านซื้อ โดยกรมป่าไม้จะออกใบอนุญาตชั่วคราวให้ราษฎรเข้าอยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวโดยจัดตั้งในรูปหมู่บ้านป่าไม้ นายเบ้า และบุตรเขย จึงได้รับการจัดสรรที่ดินคนละ 15 ไร่ รวม 30 ไร่ และได้มีการเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.5) ตลอดมา ตั้งแต่ปี 2520 2538 ต่อมานายเบ้า ได้ขายที่ดินของตนเองและบุตรเขต จำนวน 20 ไร่ ให้นายนพดล พิทักษ์วาณิชย์ เมื่อปี 2538 พร้อมมอบหลักฐานการแสดงภาษี ให้แก่นายนพดล ด้วย และนายนพดล ได้เสียภาษีบำรุงท้องที่ระหว่างปี 2538 2540 ต่อมา พ.อ.สุรฤทธ์ จันทราทิพย์ เป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ในปี 2540 2545 และในวันที่ 6 กรกฎาคม 2543 พล.ต.สุรฤทธ์ เป็นผู้ไปยื่นขอออกเลขที่บ้าน เลขที่ 10 ตำบลคลองไผ่ (เดิมอยู่ในเขตตำบลลาดบัวขาว) อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นบ้านพักอาศัยของ พล.อ.สุรยุทธ์ ในปัจจุบัน และในวันที่ 4 กรกฎาคม 2546 พล.ต.สุรฤทธ์ เป็นผู้ขออนุญาตใช้ไฟฟ้าในบ้านหลังดังกล่าว โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดกล่าวว่า ในปี 2545 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน มีหลักฐานว่าผู้ยื่นเสียภาษีบำรุงท้องที่ ในที่ดินดังกล่าว คือ พ.อ.หญิง คุณหญิงจิตรวดี จุลานนท์ภริยาของ พล.อ.สุรยุทธ์ นี่ตัวเต็มจากนี่เลยครับhttp://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1262941966
ต้องให้ความรู้อีกแล้วมากินหญ้ามาเร็วมาถึงปากแล้ว แต่ก่อนที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จะเข้าครอบครองปลูกเป็นที่พักอาศัย ที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นของนายเบ้า สินนอก และบุตรเขย ซึ่งนายเบ้า ได้ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวโดยไม่มีเอกสารสิทธิ์จำนวน 10 ไร่ โดยไม่ทราบว่า เป็นที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนฯ แล้วเข้าไปทำไร่มันสำปะหลัง ละหุ่ง และข้าวโพด นอกจากนั้นที่ดินในเขตป่าสงวนเขายายเที่ยงยังมีราษฎรเข้าไปอยู่อาศัยทำกินเป็นจำนวนมาก ไม่รู้คือขาดเจตนาครับ
ยุทธิ์ไปซื้อที่ดินกะนายเบ้า นายเบ้าไม่รู้ว่าที่ครอบครองอยู่ขายไม่ได้ ยุทธิ์เองก็ไม่รู้ว่ามันซื้อไม่ได้ แล้วเจ้าหน้าที่ ปล่อยให้มีการเปลี่ยนกรรมสิทธิ์การครอบครองได้อย่างไร หรือสมมติว่ายุทธิ์กับเบ้าแอบซื้อขายกันอย่างลับ ๆ เจ้าหน้าที่ไม่รู้ แล้วเจ้าหน้าที่ในท้องที่ไม่รู้เลยเหรอว่ามีการสวมสิทธิแทนกันหรือไม่ เป็นท่าน ถ้าท่าน จะซื้อที่ดินสักแปลง ท่านจะไม่ดูเลยเหรอที่มาที่ไปมันเป็นอย่างไร เป็นผมคงให้ลูกน้องไปสืบก่อนแล้วว่า ที่ดินมันมีที่มาเป็นอย่างไรบ้าง ไม่ใช่ปล่อยให้นายเบ้าหลอกเอาที่มาขายหรือเปล่า
ข้ามขั้นตอนไปเยอะเลย นายธนพิชญ์กล่าวว่า เหตุที่อัยการสั่งไม่ฟ้องเนื่องจาก ที่ดินบนเขายายเที่ยงแปลงที่ พล.อ.สุรยุทธ์ ครอบครองนั้น จากการสอบสวนของพนักงานสอบสวนมีหลักฐานว่าที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 67 (พ.ศ.2508) ออกตามความใน พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ซึ่งกำหนดให้ป่าเขาเตียนและป่าเขาเขื่อนลั่น (เขายายเที่ยง) ในท้องที่ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง และตำบลลาดบัวขาว จังหวัดนครราชสีมา เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่ก่อนที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จะเข้าครอบครองปลูกเป็นที่พักอาศัย ที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นของนายเบ้า สินนอก และบุตรเขย ซึ่งนายเบ้า ได้ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวโดยไม่มีเอกสารสิทธิ์จำนวน 10 ไร่ โดยไม่ทราบว่า เป็นที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนฯ แล้วเข้าไปทำไร่มันสำปะหลัง ละหุ่ง และข้าวโพด นอกจากนั้นที่ดินในเขตป่าสงวนเขายายเที่ยงยังมีราษฎรเข้าไปอยู่อาศัยทำกินเป็นจำนวนมาก นายธนพิชญ์กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2518 เห็นชอบให้กรมป่าไม้ดำเนินการปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติเขายายเที่ยงเพื่อจัดสรรให้ราษฎรทำกินครอบครัวละไม่เกิน 15 ไร่ (ให้ทำกินครอบครัวละ 14 ไร่ 2 งาน และให้เป็นที่อยู่อาศัยอีก 2 งาน) โดยมีเงื่อนไขไม่ให้กรรมสิทธิ์ แต่ให้สิทธ์ครอบครองตกทอดดึงทายาทโดยธรรมได้เป็นการถาวร เพื่อป้องกันไม่ให้นายทุนมาครอบครองโดยวิธีกว้านซื้อ โดยกรมป่าไม้จะออกใบอนุญาตชั่วคราวให้ราษฎรเข้าอยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวโดยจัดตั้งในรูปหมู่บ้านป่าไม้ นายเบ้า และบุตรเขย จึงได้รับการจัดสรรที่ดินคนละ 15 ไร่ รวม 30 ไร่ และได้มีการเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.5) ตลอดมา ตั้งแต่ปี 2520 2538 ต่อมานายเบ้า ได้ขายที่ดินของตนเองและบุตรเขต จำนวน 20 ไร่ ให้นายนพดล พิทักษ์วาณิชย์ เมื่อปี 2538 พร้อมมอบหลักฐานการแสดงภาษี ให้แก่นายนพดล ด้วย และนายนพดล ได้เสียภาษีบำรุงท้องที่ระหว่างปี 2538 2540 ต่อมา พ.อ.สุรฤทธ์ จันทราทิพย์ เป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ในปี 2540 2545 และในวันที่ 6 กรกฎาคม 2543 พล.ต.สุรฤทธ์ เป็นผู้ไปยื่นขอออกเลขที่บ้าน เลขที่ 10 ตำบลคลองไผ่ (เดิมอยู่ในเขตตำบลลาดบัวขาว) อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นบ้านพักอาศัยของ พล.อ.สุรยุทธ์ ในปัจจุบัน และในวันที่ 4 กรกฎาคม 2546 พล.ต.สุรฤทธ์ เป็นผู้ขออนุญาตใช้ไฟฟ้าในบ้านหลังดังกล่าว โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดกล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมากรมป่าไม้และเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่เคยดำเนินคดีข้อหาบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติกับผู้ใดเลย ต่อมาวันที่ 10 ตุลาคม 2550นายคุ้มพงษ์ ภูมิภูเขียว กับพวกรวม 12 คน ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับ พล.อ.สุรยุทธ์ กับพวก ในข้อหาบุกรุกที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ เขายายเที่ยงดังกล่าว โดยพนักงานสอบสวนได้ดำเนินคดีกับ พล.อ.สุรยุทธ์ (ขณะเป็นนายกรัฐมนตรี) เป็นผู้ต้องหาที่ 1 นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ต้องหาที่ 2 ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแหวดล้อม เป็นผู้ต้องหาที่ 3 และ นายวิชัย แหลมวิไล อธิบดีกรมป่าไม้ เป็นผู้ต้องหาที่ 4 ซึ่งพนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 4 ในข้อหาบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติและร่วมกันยึดถือครอบครอง ทำประโยชน์ในที่ดินฯ ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 และ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 โดยส่งสำนวนให้กับพนักงานอัยการจังหวัดสี้คิ้วพิจารณาตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2551
ความรู้แบบนี้ ไม่ต้องไปสอนคนอื่นหรอก เก็บไว้สอนบุตรหลานดีกว่า กฎหมายก็คือกฎหมาย ทำผิดกฎหมาย ก็คือทำผิดกฎหมาย จะมาอ้างไม่รู้ได้ไง อีแบบนี้ผมเจอที่สวยๆ บนป่าบนเขาที่ไหน ผมเข้าไปสร้างบ้านพักตากอากาศก็ได้นิ ถ้าโดนข้อหาบุกรุก ผมก็อ้างบ้าง ไม่รู้ ไม่ชี้ ว่าที่ดินเเถวนี้ห้ามบุกรุก
ต้องความรู้แบบไหนละครับถึงสอนคนอื่นได้555 แค่เรื่องการทำผิดกฎหมายโดยขาดเจตนาในกรณีนี้คุณยังไม่รู้ผมคงต้องสอนคุณอีกเยอะไม่รู้โดยการซื้อต่อกันมาถึง3ทอดไม่ใช่ให้ คนขับรถ หรือ คนใช้ถือแทนนะ ทีกรณีให้คนขับรถ หรือ คนใช้ถือแทนเห็นเชื่อกันจังว่าไม่มีเจตนาซุกหุ้น เสื้อแดงนี2มาตราฐานจริงๆๆเลยนะครับ
555 คุณนิติรั่วเหนื่อยหน่อยนะครับ แถออกเนื้อเรื่องตลอด แต่อ้างว่าตอบตามหัว ไม่อ่านเนื้อเลยว่าคุณนิติรั่วถามอะไร จำได้ว่ามีไอ้งั่งคนหนึ่งพูดอย่างนี้ ผมก็เห็นสมาชิกในนี้ เค้าอยากถามผม เค้าก็ตั้งกระทู้ถามตรงๆเป็นประเด็นๆไป คุณนี่อะไร ไม่ว่ากระทู้จะพูดเรื่องอะไร ก็เล่นแถถามนอกประเด็นกระทู้ตลอด ตกลงอยากรู้เรื่องอะไร ไปตั้งกระทู้ถาม มีมารยาทนิดหนึ่งนะนะ นะ
ทำไมต้องให้เป็นข่าวก่อนถึงคืน จริยธรรมแบบนี้เป็นนายกปราบโกงได้หรือ สรุปคือ ให้อ่านเรื่องคำสั่งไม่ฟ้องแค่นั้นใช่ไหม แล้วเจ้าหน้าที่ที่เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงล่ะ ลองนึกสภาพลุงเสื้อขาวเป็น คุณสุรยุทธ ดูว่าจะถูกพูดด้วยคำพูดแบบนี้ไหม ผมอยากเห็นนายทหารสักคนมาไล่บี้เรื่องเขายายเที่ยงแบบนี้บ้างจัง
แล้วคนกลางละครับ โกหกใส่ร้ายคนอื่น จริยธรรมแบบนี้เป็นอ้างคุณธรรมได้หรือ ถ้าไม่มีใครบอกหรือท้วง เหมือนที่ยังไม่ตอบคำถามผมว่าใครได้ไม้กอล์ฟเป็นของขวัญ ผมเองอยากเห็นคนกลางตอบคำถามผมที่ค้างไว้แบบนี้บ้างจัง
ถ้าอ้างอย่างนั้น ก็แปลว่าผมไม่ต้องเชื่อที่คนกลางพูดใช่ไหมครับ งั้นก็แปลว่าคนกลางถึงจะพูดเรื่องจริยธรรม คนกลางก็เป็นพวกลวงโลกไม่ควรฟังหรือเชื่อคำพูดหรือแก้ตัวอะไรจากคนกลางอีกใช่ไหม ถ้าไม่เตือนหรือหาหลักฐานมา คนกลางก็จะโกหกต่อไปใช่ไหม
อ่อ ที่บอกว่าหัดยิงปืน 10 นาทีก่อนออกปฏิบัติการเหรอครับ ควายแท่านั้นที่เชื่อครับ คนกลางแวะไปดูพวกนี้หน่อยนะครับ
หัวข้อหลักของมู้นี้เขาบอกมาว่าเป็นเรื่องสองมาตรฐาน ผมก็แค่ชี้ว่า มันมีจริงไหม ก็เลยแค่กลับตัวละครลุงเสื้อขาว มาเปลี่ยนเป็นลุงยุทธดูว่า คำพูดหรือท่าทีมันจะเปลี่ยนไปไหม
บังเอิญว่า รัฐประหารคนละครั้งกันอ่ะครับ บังเอิญว่าคุณสุรยุทธิ์ไม่ได้ไปรุกเอง แต่ซื้อต่อมาจากชาวบ้าน ที่รัฐบาลนี้ทำคือยึดที่ป่าคืนมาครับ
ประเด็นคือเราไม่สมมุติกันครับ เวลาเราเปรียบเทียบเราจะเลือกกรณีที่คล้ายกัน แต่ไม่ใช่หยิบกรณีต่างกันมาพูดนะครับ เจ้าหน้าที่ที่ปล่อยให้รุกที่ป่าก็ต้องถูกดำเนินคดีครับ และการใช้ลูกน้องไปทำงานส่วนตัวเช่นสืบเรื่องที่ดินที่จะซื้อ มันไม่ถูกต้องนะครับ เพราะลูกน้องต้องทำงานให้แผ่นดินเช่นกัน
ผมก็หมายความตามนั้นอยู่ดี และเรื่อง2มาตรฐานเช่นกัน "จริยธรรมแบบนี้เป็นนายกปราบโกงได้หรือ" ก็แปลว่าคนกลางเห็นว่าเขาทำผิดแม้ไม่รู้เรื่องก็ถือว่าผิด ไม่ควรว่าคนอื่นโกง งั้นคนกลางที่ชอบโกหกใส่ร้าย ผมว่าถ้าอ้าง 2 มาตรฐาน ก็ไม่ควรว่าคนอื่นโกงเช่นกันครับ หรือถ้าว่าคนไม่เหมาะสม ผมก็ว่าคนกลางไม่เหมาะสมเช่นกันครับ