สหรัฐฯ แบะท่าพร้อมร่วมงานกับ “ดูเตอร์เต” ว่าที่ผู้นำฟิลิปปินส์คนใหม่ แม้ถูกครหา “ละเมิดสิทธิมนุษยชน”

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย por, 12 May 2016

  1. por

    por อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,397
    559000004883201.JPE
    โรดริโก ดูเตอร์เต นายกเทศมนตรีเมืองดาเวา 7 สมัย กลายเป็นว่าที่ประธานาธิบดีคนต่อไปของฟิลิปปินส์ เมื่อผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการแสดงว่า เขามีคะแนนนำโด่งจนถึงขนาดพวกคู่แข่งคนสำคัญ พากันยกธงขาวแล้ว ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันจันทร์ (9 พ.ค.) ขณะเขาพูดกับพวกผู้สื่อข่าวที่เมืองดาเวา เมืองสำคัญทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์
    blank.gif
    รอยเตอร์ - สหรัฐฯ ออกมาประกาศจุดยืนพร้อมทำงานร่วมกับ โรดริโก ดูเตอร์เต ว่าที่ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์คนใหม่ แม้อีกฝ่ายจะถูกครหาว่าพัวพันการละเมิดสิทธิมนุษยชนระหว่างดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองดาเวาในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมาก็ตาม

    นักวิเคราะห์กิจการในเอเชียชี้ว่า จุดยืนของวอชิงตันสะท้อนถึงความเป็นจริงที่ว่า ผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ย่อมมีน้ำหนักมากกว่าเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะในห้วงเวลาที่จีนใช้นโยบายเชิงรุกเพื่อขยายอิทธิพลในภูมิภาค และอ้างอธิปไตยเหนือน่านน้ำพิพาททะเลจีนใต้

    “วอชิงตันเคารพการตัดสินใจของประชาชนชาวฟิลิปปินส์ เรายินดีที่จะทำงานร่วมกับคณะผู้นำที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามา” เอลิซาเบธ ทรูโด โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงต่อสื่อมวลชน หลังถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับผลการเลือกตั้งทั่วไปในฟิลิปปินส์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (9 พ.ค.)

    แม้จะยังไม่มีการประกาศชื่อผู้สมัครที่ชนะเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ แต่ผลการนับคะแนนเบื้องต้นพบว่าดูเตอร์เตมีคะแนนนำโด่งแซงหน้าคู่แข่งอีก 2 คน ซึ่งต่างออกมาประกาศยอมรับความพ่ายแพ้แล้วทั้งคู่

    เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าสหรัฐฯ กังวลหรือไม่เกี่ยวกับนโยบายที่ก้าวร้าวดุดันของดูเตอร์เต ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนให้ตำรวจกระทำวิสามัญฆาตกรรมผู้กระทำความผิดเพื่อปราบปรามอาชญากรรมและยาเสพติด ทรูโดก็กล่าวย้ำคำเดิมว่า วอชิงตันเคารพการตัดสินใจของชาวฟิลิปปินส์

    “เรารอคอยที่จะทำงานร่วมกับผู้นำที่ชาวฟิลิปปินส์ได้เลือกขึ้นมา”

    แม้คำสัญญาของดูเตอร์เตที่ว่าจะบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดเพื่อคืนความสงบเรียบร้อยสู่บ้านเมืองจะโดนใจชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ แต่หลายคนยังรู้สึกเป็นห่วงคำพูดรุนแรง และการส่งเสริมให้ตำรวจกระทำวิสามัญฆาตกรรมคนร้ายเพื่อกวาดล้างอาชญากรรม ซึ่งอาจทำให้แดนตากาล็อกหวนกลับไปสู่ “ยุคมืด” เหมือนเมื่อครั้งที่ยังถูกครอบงำด้วยระบอบเผด็จการ

    ดูเตอร์เตถูกกล่าวหาว่าส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่เมืองดาเวาใช้ระบบศาลเตี้ยสังหารบุคคลที่ต้องสงสัยเป็นอาชญากรไปกว่า 1,000 คน ขณะที่นักวิจารณ์ก็เตือนว่า แนวปฏิบัติเช่นนี้อาจแพร่หลายไปทั่วประเทศหลังจากที่ดูเตอร์เตก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดี

    559000004883202.JPE
    blank.gif
    สหรัฐฯ ปิดฐานทัพในฟิลิปปินส์ไปตั้งแต่ปี 1992 ทว่าทั้ง 2 ประเทศยังคงมีความร่วมมือตามข้อตกลงกลาโหมปี 1951 และฟิลิปปินส์ก็ถือเป็นหุ้นส่วนสำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์ “ปรับสมดุลสู่เอเชีย” ที่ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ได้ริเริ่มขึ้น

    แอชตัน คาร์เตอร์ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้กล่าวไว้เมื่อเดือน เม.ย. ว่า วอชิงตันจะส่งทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์เข้ามาผลัดเปลี่ยนประจำการในฟิลิปปินส์อย่างสม่ำเสมอ และทั้ง 2 ชาติก็ได้เริ่มออกตรวจการณ์ทางทะเลร่วมกันเพื่อตอบโต้การอ้างกรรมสิทธิ์ของปักกิ่งในทะเลจีนใต้

    จีนอ้างกรรมสิทธิ์ในพื้นที่เกือบ 90% ของทะเลจีนใต้ ซึ่งนอกจากจะเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญที่สุดเส้นทางหนึ่งของโลกแล้ว ยังเชื่อกันว่าอุดมสมบูรณ์ไปด้วยน้ำมันและก๊าซใต้สมุทร ขณะที่บรูไน, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม และไต้หวัน ก็อ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนอยู่ด้วย

    ท่าทีที่สหรัฐฯ มีต่อดูเตอร์เตในวันนี้คล้ายคลึงกับกรณีของนายกรัฐมนตรี นเรนทรา โมดี แห่งอินเดีย ซึ่งเคยถูกสหรัฐฯ แบนวีซ่าเข้าประเทศสมัยที่ยังเป็นมุขมนตรีรัฐคุชราต เพราะถูกกล่าวหาว่าเพิกเฉยต่อเหตุจลาจลครั้งใหญ่เมื่อปี 2002 จนเป็นเหตุให้ชนกลุ่มน้อยมุสลิมถูกพวกฮินดูหัวรุนแรงสังหารไปเกือบ 1,000 คน

    เมอร์เรย์ เฮอร์เบิร์ต นักวิเคราะห์กิจการเอเชียจากศูนย์เพื่อยุทธศาสตร์และระหว่างประเทศศึกษา (CSIS) ชี้ว่า “ประวัติด้านสิทธิมนุษยชนของเขา (ดูเตอร์เต) ทำให้สหรัฐฯ ต้องหยุดคิด แต่ในเมื่อชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่เลือกเขาขึ้นมา... สหรัฐฯ ก็จำเป็นต้องร่วมมือกับเขา”

    แพทริก โครนิน นักวิเคราะห์ด้านเอเชีย-แปซิฟิก เอ่ยถึงเหตุผล 3 ประการที่ทำให้ฟิลิปปินส์เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งของสหรัฐฯ ได้แก่ 1) ที่ตั้งของฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นหมู่เกาะใหญ่แห่งแรกจากแผ่นดินเอเชียตะวันออก 2) ฟิลิปปินส์เป็นพันธมิตรชาติเดียวของสหรัฐฯ ที่อยู่ในกลุ่มผู้อ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ และ 3) ความสำคัญของปัญหาทะเลจีนใต้ในระดับภูมิภาค

    “ปัญหาทะเลจีนใต้ถือเป็นเครื่องทดสอบอิทธิพลและความมุ่งมั่นของสหรัฐฯ ที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีต่อภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก” โครนิน ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์จากสถาบันความมั่นคงอเมริกันใหม่ (New American Security) ระบุ

    “หากเราไม่ช่วยปกป้องผลประโยชน์ของฟิลิปปินส์ เราจะสูญเสียความเชื่อมั่นจากชาติพันธมิตร และพันธกรณีของเราก็จะถูกตั้งคำถาม”
     
    ปู่ยง และ กีรเต้ ถูกใจ.
  2. por

    por อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,397
    อเมริโกย:ประโยชน์กูต้องมาก่อน 555
     
  3. por

    por อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,397
    อันนี้คือผลงาน+วาทะแกฮะ
    “นักเลงหัวไม้เจอนักเลงปากซอย”

    วาทะหาเสียงของเขาไม่อาจเรียกว่าเป็นมาตรฐานของผู้นำระดับชาติได้ แต่จะด้วยเหตุผลอันใดก็ตาม ประชาชนคนฟิลิปปินส์วันนี้เทคะแนนให้เขามาเป็นผู้นำประเทศอย่างถล่มทลาย

    ทั้ง ๆ ที่เขาเคยพูดจาที่ควรจะสร้างความน่ากลัวให้กับคนทั้งประเทศได้ เช่นเคยประกาศจะเอาชีวิตอาชญากร 100,000 คน

    “ไม่ต้องมาพูดกับผมเรื่องสิทธิมนุษยชน ถ้าผมเข้าไปนั่งในทำเนียบประธานาธิบดีได้ ผมจะทำอย่างที่เคยทำในฐานะนายกเทศมนตรี พวกนักค้ายา พวกจี้ปล้น พวกทำอะไรไม่เป็น จงออกไปเสีย เพราะถ้าคุณไม่หลบลี้หนีไป ผมจะฆ่าพวกคุณ... ผมจะโยนพวกคุณลงในอ่าวมะนิลา ให้ปลาได้กินกันอิ่มหนำสำราญ...”

    เขาพูดประโยคนี้ในการหาเสียงที่กรุงมะนิลาไม่กี่วันก่อนการหย่อนบัตร

    เขาเคยเป็นนายกเทศมนตรีเมืองดาวาว ทางใต้ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับสามของประเทศ 22 ปีเต็มและว่ากันว่าเขาใช้วิธี “วิสามัญ” โดยไม่สนใจว่าถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และก็ยังเอาตัวรอดเงื้อมมือกฎหมายมาได้ตลอด แม้ถึงวันที่กำลังจะก้าวเข้าไปยึดตำแหน่งการเมืองสูงสุดของประเทศก็ตาม

    เขาอ้างว่าวิธีเดียวที่จะจัดการกับความรุนแรงของอาชญากรรม คือต้องจัดการอย่างเด็ดขาด เขาจึงตั้ง “หน่วยไล่ล่า” ขึ้นมาสังหารผู้ต้องสงสัยในคดีต่าง ๆ จนได้สมญานามว่าเป็น

    “Duterte Harry” และ“The Punisher.”

    แปลเป็นภาษาไทยก็อาจจะเข้าทำนอง “มือปราบสั่งลุยไม่ไว้หน้า”

    ระหว่างการดีเบตหาเสียงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาประกาศเสียงดังฟังชัดว่า

    “ถ้าลูกผมติดยา ผมก็จะฆ่าทิ้งเหมือนกัน”

    ถ้าเขาสั่งฆ่าคนง่าย ๆ อย่างนี้ จะรอดจากการถูกกฎหมายจัดการหรือ?

    ง่ายนิดเดียว คนที่กำลังจะเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศฟิลิปปินส์บอก “ผมก็ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับตัวเอง และเจ้าหน้าที่ที่ทำตามคำสั่งของข้าพเจ้า... ลงชื่อ โรดริโก ดูเตร์เต...มีอะไรไหม?”

    อีกครั้งหนึ่ง เขาพูดถึงกรณีที่นักสอนศาสนาสาวออสเตรเลียน ที่ถูกนักโทษในคุกจับตัวไปข่มขืนว่า “แหมน่าเสียดาย พวกนี้ข่มขืนกันใหญ่ แต่เธอสวยมาก ผมคิดตอนนั้นว่านายกเทศมนตรีควรจะเป็นคนแรกในคิวข่มขืนนั้นน่ะ...”

    วาจาอย่างนี้สร้างความเกลียดชังหวาดหวั่นในหมู่คนฟิลิปปินส์ไม่น้อย เมื่อมีเสียงวิจารณ์หนักหน่วง เขาก็อ้างว่า “นั่นมันเป็นวิธีการพูดแบบผู้ชายอกสามศอกต่างหากเล่า....” แต่เมื่อผู้คนไม่ยอมรับคำอธิบายห่าม ๆ เช่นนั้น เขาจึงยอมขอโทษ

    และยอมรับว่า “บางครั้งปากผมมันใช้ไม่ได้จริง ๆ”

    วาจาระรานของเขาไม่เว้นแม้แต่องค์สันตะปาปา วันหนึ่งเขาตะโกนลั่นว่า

    “การจราจรแย่มาก ๆ เราติดอยู่ถ้าห้าชั่วโมง ผมถามว่าเกิดอะไรขึ้น เจ้าหน้าที่บอกว่าต้องปิดการจราจร ผมถามว่าใครมา เขาบอกว่าโป๊ปเสด็จ ผมอยากจะโทรไปหาและบอกว่าท่านโป๊ป (ใช้คำหยาบคายเกินกว่าจะตีพิมพ์ได้) กลับบ้านไปเถอะ อย่ามาเยี่ยมเราอีกเลย...”

    เกี่ยวกับความขัดแย้งกับจีนกรณีหมู่เกาะสแปรตเลย์ในทะเลจีนใต้ เขาบอกว่า “ผมจะขี่เจ๊ทสกีไปถึงเกาะแห่งนั้น ปักธงฟิลิปปินส์ตรงนั้น ยืนยันว่าเป็นดินแดนของเรา จีนจะทำอะไรกับผมก็เชิญ...”

    นักข่าวถามเขาว่าเหมือนโดนัล ทรัมป์จริงไหม?

    “ไม่จริง โดนัล ทรัมป์เป็นคนหัวรั้น ผมเปล่า...”

    หรือการเมืองระดับชาติของโลกกำลังจะเพี้ยนหนักขึ้นทุกที เพราะการเมืองของนักเลือกตั้งสร้างความหายนะมามากพอแล้ว?

    และอย่านึกว่าปรากฏการณ์อย่างนี้จะเกิดในเมืองไทยไม่ได้!





    - See more at: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/637702#sthash.qMehlN9l.dpuf
     
  4. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
  5. ParaDon

    ParaDon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    2 Aug 2015
    คะแนนถูกใจ:
    3,168
    Location:
    Thai
    ฐานทัพอเมริกาในฟิลิปินยังมีอยู่หรือเปล่า...!!!
     
    ปู่ยง likes this.
  6. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    hqdefault.jpg
     
  7. ่johnyoter

    ่johnyoter สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    12 Mar 2015
    คะแนนถูกใจ:
    246
    ดูเตอร์เต พิสูจน์การบริหารเมืองของเขามา 22 ปีได้รับการเลือกอย่างต่อเนื่องจากผลงาน
    แต่ในระดับประเทศที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ต้องมาดูกันว่าจะสามารถใช้วิธีบริหารแนวคิดแบบเดิมได้หรือไม่
    แต่อย่างน้อยเขาก็มีวิสัยทัศน์ในเรื่องการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น เพราะเห็นความสำคัญของการบริหารการดูแลที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากกว่าของการเมืองท้องถิ่น
     
    ปู่ยง likes this.
  8. Surawong

    Surawong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    22 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,544
    หนักกว่าฟิลิปปินส์ ยังไปแบะท่ามาแล้วเลย อย่าง อิหร่าน กับ คิวบา ทั้งที่สองประเทศนั้นเขาก็ยืนยันมั่นคงว่าเขายังคงดำเนินการตามอุดมการณ์ของเขาไม่เปลี่ยนแปลง

    ส่ง จอห์น เคอรี่ ไปอิหร่าน ไปบอกให้อิหร่านช่วยไล่อัสซาต แห่งซีเรียลงจากอำนาจให้หน่อย เพราะเป็นเผด็จการมาก อิหร่านเลยสอนประชาธิปไตยให้ว่า อัสซาต เขามาจากการเลือกตั้ง เดี๋ยวหมดวาระ เขาก็เลือกตั้งกันใหม่แล้ว ทำไมต้องไปไล่เขาด้วย เลย จ๋อย กลับอเมริกาไป

    ไป คิวบา คราวนี้โอบาม่าไปเอง ขนเอาสื่อประชาธิปไตย และนักสิทธิมนุษยชนไปเพียบ เจอหน้า ราอูล คาสโตร ก็ได้รับการโอดครวญจาก ราอูล คาสโตร ว่า ตอนนี้เราแย่เลยถูกบอยคอต การศึกษาก็แย่ เศรษฐกิจก็แย่ สาธารณสุขก็แย่ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี่ก็แย่

    โอบาม่า แทบจะหันไปยักคิ้วกับสื่อประชาธิปไตยและนักสิทธิมนุษยชนที่ไปด้วยเลย ว่าเห็นฝีมือแมะ จอมเผด็จการ สิ้นฤทธิ์แล้ว แล้วก็เปิดโอกาสให้สื่อและนักสิทธิมนุษยชนซักถาม ราอูล คาสโตร

    นักข่าวและนักสิทธิมนุษยชน รุมยิงคำถามใส่ ราอูล คาสโตร กันอุตลุด เป็นคำถามยอดฮิตแห่งโลกประชาธิปไตย คือ อเมริกาเลิกบอยคอตคิวบาแล้ว คุณจะปล่อยตัวนักโทษการเมืองไหม

    ราอูล คาสโตร ทำงง ร้อง ฮ้า แล้วถามว่า นักโทษการเมืองคืออะไรอ่ะ คุณมีรายชื่อไม๊ว่าใครคือนักโทษการเมือง

    เล่นเอานักข่าวและนักสิทธิมนุษยชนเดือดปุด ๆ เลย เพราะไม่คิดว่า ราอูล จะเล่นลูกแกล้งโง่ แถมยังมาถามรายชื่ออีก กูเตรียมมาซะเมื่อไรล่ะ เลยโต้ตอบราอูล ไปว่า ก็คุณจับเขาไปเป็นร้อย เขาแค่เห็นต่างทางการเมืองเท่านั้น นี่มันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนนะ

    ราอูล คาสโตร เลยสอนเรื่องสิทธิมนุษยชนให้ว่า ผมว่าสิทธิมนุษยชนนี่มันหมายถึงประชาชนต้องเข้าถึงการศึกษา การสาธารณสุข เศรษฐกิจ เทคโนโลยี่ โดยไม่ถูกปิดกั้น นะ

    เชื่อไหมว่า พวกนักข่าวประชาธิปไตย โง่ ๆ มันยังไม่รู้เรื่องเลยว่าเขาด่ามัน เพราะพอกลับอเมริกาแล้ว ยังไปถามโอบาม่าในเชิงต่อว่า ว่า ไปเลิกบอยคอตมันทำไม มันเป็นจอมเผด็จการละเมิดสิทธิมนุษยชน โอบามา ตอบนักข่าว (น่าจะเสียงอ่อย ๆ) ว่า เขาบอกว่าสิทธิมนุษยชน มันหมายถึง ประชาชนต้องเข้าถึงการศึกษา สาธารณสุข เศรษฐกิจ เทคโนโลยี่

    ไม่รู้ว่า พวกนักข่าวประชาธิปไตย มัน Get หรือเปล่า แต่ โอบาม่า คง Get แล้ว
     
    อู๋ คาลบี้, kokkai, por และอีก 1 คน ถูกใจ.
  9. ควันหลง

    ควันหลง อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,786
    นึกถึงอดีตผู้นำปากดี ของประเทศเราเล๊ยย ปากดี ปากเก่ง พูดว่าจะทำงั้น ทั้งงี้ แก้ปัญหานู้นนี่นั่นภายใน 6 เดือน เอาเข้าจริง แก้ไม่ได้สักอย่าง แถมสร้างปัญหาเพิ่มซํ้าเข้ามาด้วย

    ถ้าดูเตอเต้ทำอย่างที่พูด ฟิลลิปินส์จะป่วยหนักกว่าเดิมแน่นอนครับ เพราะไม่ได้แก้ปัญหาให้เข้าถึงต้นตอของปัญหาเลย

    ปัญหาเรื่องอาชญากรรมของฟิลลิปินส์หนักกว่าเราเยอะ อย่างยามฟิลลิปินส์นี่ ต้องพกลูกซองนะครับ จะมาพกกระบอกกับนกหวีดแบบบ้านเราไม่ได้
     
  10. Tad

    Tad อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    16 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,773
    และแล้วเรื่องสิทธิมนุษยชน ที่เมกากำลังพ่นอยู่ที่เมืองไทยก็กลายเป็นขี้ที่พ่นออกจากปากโดยพลัน :rofl:
     
    kokkai และ ปู่ยง ถูกใจ.
  11. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    ทุกประเทศเริ่มเห็นปูตินเป็นไอดอลไม่เว้นอเมริกา
     
    kokkai และ ปู่ยง ถูกใจ.

Share This Page