ได้ยินมามากพวกอ้างประชาธิปไตยนี่ยกมานัก ฝรั่งเศษๆๆๆๆๆ ก็ถามว่ามันประชาธิปไตยยังไง ดีที่สุดหรือเปล่า แล้วอยากได้ประชาธิปไตยแบบประเทศไหน แม่มเลี่ยงไปเลี่ยงมา แม่มดูถูกกันนี่หว่าไม่ตอบ เชิงว่าอย่ารู้เลย แม่ม ทีแท็กซี่ วินมอไซค์ ไพร่อีสาน ไพร่เหนือ พวกมันยกย่องจังนะ นักประชาธิปไตยนักนะ พวกนั้นมันคงรู้จักปฏิวัติฝรั่งเศษ ถึงไส้ถึงขี้มั้ง สงสัยมานานนี่หมายความว่า ผมก็พยายามไปค้นดูนะ ไม่ได้คำตอบ ประชาธิปไตยเกิดขึ้นเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบกรีกนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ประชาธิปไตยแบบกรีกในสมัยก่อนนั้น ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงคือชายหนุ่มที่บรรลุนิติภาวะ ส่วนผู้หญิง ทาสและชาวต่างชาติยังไม่มีสิทธิ์ จากจำนวนผู้อยู่อาศัยกว่า 250,000 คน มีผู้ได้รับสถานะพลเมือง(สามารถเลือกตั้งได้)เพียง 30,000 คน และมีเพียง 5,000 คนเท่านั้นที่มักจะไปปรากฏตัวในสมัชชาประชาชน อะหนะย้อนไปโน่น ก็ยังไม่รู้ว่ามันเชื่อมโยงยังไงมาถึงพวกหัวก้าวหน้าไทย จนปัญญา และหงุดหงิดมาก เหมือนขี้มูกขี้อะไรติดคารูนั้นรูนี้ ก็เลยโพสทู้นี้แหละ ถ้าเสื้อแดงมาตอบถูกใจ ผมเลิกกับปชป.จริงๆด้วย เอาดิ
คำกล่าวว่า"การรู้แต่น้อยย่อมน่าอันตราย" แสดงให้เห็นว่าคน"หัวก้าวหน้า"เหล่านี้มั่นใจนักว่า ตนฉลาดมากกว่าคนไทยทั่วๆไป ความพผองกลับทำให้พวกเขามืดบอดกับสิ่งที่ตัวเองกำลังกระทำ คติแห่งความเหนือชั้นกว่านำพาพวกเขาสู่มายาภาพแห่งความรู้สึกว่าตนไม่ต้องเคารพต่อผู้ใดหรือสิ่งใด และระบอบทักษิณภายใต้เสื้อคลุม"ประชาธิปไตยแบบตะวันตก"พาพวกเขาให้ห่างเหินจากสถาบันเก่าแก่ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของประเทศไทย เหล่าผู้หลงตัวเองที่ผยองด้วยคติทำลายล้าง อยากเห็นไทยราบพนาสูญแบบฝรั่งเศส แล้วสร้างขึ้นใหม่ด้วยทรราชที่เลวร้ายกว่าที่อ้างว่าสถาบันหลักของไทยเป็น ทั้งสิ้นทั้งปวง เพียงเพราะพวกเขา"คิด"อุตริว่าตนมี"ปัญญาเร้นลับ" เพียงพวกตนเท่านั้นปราดเปรื่องพอที่จะเข้าใจ การปฏิวัติที่แท้จริงไม่ได้เป็นอย่างที่ชาวฝรั่งเศสก่อเกิดขึ้นมา ช่วงก่อนที่โปเลียนจะผงาดขึ้นเป็นทรราชผู้ทำลายล้าง การปฏิวัติที่แท้จริงต้องวัดตวงด้วยความก้าวหน้าภาคปฏิบัติ ที่ให้อำนาจประชาชนโดยตรง มิใช่ผ่านทางหุ่นเชิดที่แอบอ้างการเป็นตัวแทนแห่งผลประโยชน์ สถาบันท้องถิ่นที่สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อแสวงหาคำตอบภาคปฏิบัติต่อปัญหาประจำวันของผู้คน นี่แหละคือการให้อำนาจที่แท้จริง ซึ่งย่อมต่อต้านและลดทอนอำนาจของผลประโยชน์พิเศษส่วนตน การปฏิวัติที่แท้จริงไม่ใช่การเผาบ้านเผาเมือง ไม่ใช่การเข่นฆ่าฝ่ายตรงข้าม ไม่ใช่การหย่อนบัตร"เลือก"ผู้แทนที่เสแสร้งที่จะใส่ใจในผลประโยชน์ของประชาชน เสรีภาพที่แท้จริงมาจากความพอเพียงในตนครบทุกด้าน ทั้งด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี ในรูปแบบของการศึกษา ทรัพยากร เกษตรกรรม แม้กระทั่ง ศิลปะและสันทนาการ สิ่งประการทั้งปวงเหล่านี้ สถาบันหลักของชาติในปัจจุบันได้นำพา ส่งเสริมอยู่แล้ว ใครก็ตามที่บ่อนทำลายสถาบันหลักเหล่านี้ ย่อมเป็นผู้ที่ต้องการครอบงำประชาชน ไม่ใช่ผู้ที่กอบกู้ประชาชน พลังอำนาจอันประสงค์ร้ายนี้มีเหล่าสาวกที่คอยเจือจาน ประสานหนุน ....ทั้งสิ้นทั้งปวง ในนามของ"การปฏิวัติ" (English version: "Thailand and the French Revolution") โดยแอนโทนี่ คาร์ตาลุชชี่ 15 ก.ค. 2557
เพราะคุณพ่อปรีดีบิดาของชาวธรรมศาสตร์ท่านมีโอกาสได้ไปเห็นฝรั่งเศสที่มีความเจริญรุ่งเรืองศิวิไลน่ะสิคะ และท่านก็เห็นว่าเราควรเอาเป็นเยี่ยงอย่าง ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยนั้นทำให้คนมีอิสระหลุดพ้นจากกรอบความคิด และการหลุดพ้นจากกรอบความคิดทำให้มนุษย์สามารถสร้างสรรสิ่งใหม่ได้ค่ะ
ท่านน่าจะไปเห็นเขมรมั่งนะครับ ยังงี้แหละลำบากท่านทักกี้ ท่านนปช.ทั้งหลาย ต้องลำบากตามพัฒนาความคิดท่าน แต่ก็ประเสริฐละครับคุณพ่อเริ่มไว้ ลูกๆก็เดินตามๆไป ห่วงเจ๊นะ กลัวขายบ้านขายรถทุ่มสุดโปรอะ
ระบอบการเมือง ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ 1. อำนาจบริหาร มีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ (Head of State) และเป็นผู้นำในฝ่ายบริหาร มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีวาระ 5 ปี (เดิม 7 ปี) และอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีฝรั่งเศสเข้าสู่การปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐที่ 5 (the Fifth Republic) ตั้งแต่ปี 2501 (ค.ศ. 1958) จัดทำขึ้นในสมัยประธานาธิบดีชาร์ลส์ เดอโกลล์ (Charles de Gaulle) สาระสำคัญในรัฐธรรมนูญ คือ การเพิ่มอำนาจประธานาธิบดี โดยอำนาจบริหารถูกแบ่งออกและมีหัวหน้า 2 คน ในลักษณะรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในแบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี ทั้งนี้ ประธานาธิบดีมีอำนาจถอดถอนนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี 2. อำนาจนิติบัญญัติ ประกอบด้วย 2 สภา คือ (1) สภาผู้แทนราษฎร (Assemblée Nationale) เป็นตัวแทนในเขตเลือกตั้ง มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีวาระ 5 ปี จำนวนสมาชิก 577 คน มีอำนาจในการอภิปรายไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีและเสียงข้างมากในสภา สามารถกำหนดการตัดสินใจของรัฐบาล และ (2) วุฒิสภา (Sénat) จำนวนสมาชิก 319 คน สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยทางอ้อมของคณะผู้เลือกตั้ง มีวาระ 6 ปี (เดิม 9 ปี) ทั้งนี้ ในกรณีที่ทั้งสองสภามีความเห็นต่างในเรื่องการพิจารณาร่างกฎหมาย สภาผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ 3. อำนาจตุลาการ ประกอบด้วย (1) ศาลฎีกา (2) ศาลปกครอง (3) ศาลรัฐธรรมนูญ
พรรคการเมืองที่สำคัญ ได้แก่ * พรรค Union Pour un Mouvement Populaire (UMP): มีอุดมการณ์ทางการเมืองแนวขวากลาง / สนับสนุนนโยบายตลาดเสรี * พรรค Socialiste (PS): พรรคสังคมนิยม (พรรคฝ่ายซ้าย) ปัจจุบันเป็นพรรคฝ่ายรัฐบาล * พรรค Union pour la Démocratie Française (UDF) * พรรค Communiste (PCF): พรรคคอมมิวนิสต์ * พรรค Front National (FN) : มีอุดมการณ์ทางการเมืองแนวขวาจัด * พรรค Greens การเมืองภายใน ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสครั้งล่าสุด (รอบแรกเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2555 และรอบสอง 6 พฤษภาคม 2555) ผลปรากฏว่านายฟรองซัวส์ ออลองด์ (François Hollande) ผู้สมัครจากพรรค PS ได้รับชัยชนะเหนือนายนิโคลาส์ ซาร์โกซี (Nicolas Sarkozy) จากพรรค UMP ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในขณะนั้น โดยนายออลองด์ได้เข้ารับหน้าที่อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2555 และได้แต่งตั้ง นายฌอง-มาร์ค เอโรต์ (Jean-Marc Ayrault) เป็นนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสคนใหม่ นอกเหนือจากความสำเร็จในการเลือกตั้งประธานาธิบดีแล้ว พรรค PS ยังได้รับเสียงข้างมากในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (รอบแรกเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2555 และรอบสอง เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2555) ด้วย โดยได้รับที่นั่งจำนวน 280 จาก 577 ที่นั่ง ซึ่งเมื่อประกอบกับเสียงข้างมากที่มีอยู่ในวุฒิสภาแล้ว จะทำให้การผ่านร่างกฎหมายต่างๆ และการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันเป็นไปได้อย่างราบรื่นและมีเสถียรภาพ นโยบายการบริหารประเทศของนายออลองด์ ตามที่ได้ประกาศไว้ในช่วงระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง คือ (1) การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของฝรั่งเศส โดยตั้งเป้าใช้งบประมาณสมดุลให้ได้ภายในปี 2560 (2) การสร้างความเป็นธรรมและความเท่าเทียมในสังคมฝรั่งเศส โดยเฉพาะการปฏิรูประบบการจัดเก็บภาษี (3) การสร้างความหวังและกำลังใจให้แก่คนรุ่นใหม่ โดยเพิ่มการจ้างงาน และการส่งเสริมธุรกิจ SMEs และ (4) การเสริมสร้างฝรั่งเศสให้เป็นสาธารณรัฐตัวอย่างซึ่งเป็นที่เคารพและยอมรับในสายตาต่างประเทศ ในปี 2556 รัฐบาลได้รับเสียงสนับสนุนและความนิยมลดลงเนื่องจากปัญหาความฝืดเคืองทางเศรษฐกิจ และอัตราการว่างงานที่สูงขึ้น ความขัดแข้งภายในรัฐบาล การไม่ดำเนินการบริหารประเทศตามนโยบายที่ประกาศไว้ รวมไปถึงกรณีการทุจริตของรัฐมนตรี และการออกกฎหมายอนุญาตให้เพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนสมรสได้นำมาซึ่งการประท้วงและความแตกแยกทางความคิดในสังคม หลังจากการเลือกตั้งสภาเทศมนตรีทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 23 และ 30 มีนาคม 2557 ปรากฏว่าพรรคฝ่ายขวา UMP ได้คะแนนเสียงร้อยละ 46 พรรครัฐบาล PS ได้คะแนนเสียงร้อยละ 40.5 และพรรคขวาจัด FN ได้คะแนนเสียงประมาณร้อยละ 7 ซึ่งความพ่ายแพ้ของพรรค PS เป็นการแสดงให้เห็นถึงความไม่พอใจของประชาชน และแสดงการไม่สนับสนุนต่อประธานาธิบดีและไม่พึงพอใจต่อการบริหารงานของรัฐบาล ส่งผลให้เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2557 ประธานธิบดีออลองด์ได้ปลดนายฌอง-มาร์ค เอโรต์ออกจากตำแหน่งและแต่งตั้งนายมานูเอล วาลส์ (Manuel Valls) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่แทนรวมทั้งปรับคณะรัฐมนตรี ใหม่ และกำหนดเป้าหมาย 3 ประการให้แก่รัฐบาลชุดใหม่ คือ (1) การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจโดยยึด Pacte de responsabilité เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของนายจ้าง ซึ่งจะช่วยในการสร้างงานและส่งเสริมให้มีการลงทุนเพิ่ม (2) การเสริมสร้างความยุติธรรมในสังคมบน 3 เสาหลัก ได่แก่ ส่งเสริมการศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพให้แก่เยาวชน ให้บริการทางสังคมโดยเน้นด้านสุขภาพ และเพิ่มกำลังจับจ่ายใช้สอยของประชาชนโดยลดภาษีและค่าสมทบประกันสังคมสำหรับคนวัยทำงาน (3) การสร้างความเป็นเอกภาพ การส่งเสริมให้มีการเจรจาหารือและความเคารพซึ่งกันและกันในสังคม
ถามเจ๊เป็นความรู้ คุณพ่อปรีดีกับนายกยิ่งลักษณ์(อาปู)ของเจ๊นี่ใครแน่กว่าใคร เพราะเห็นคุณพ่อปรีดีวิ่งหนีอำหมาดไปตายเมืองนอกเมืองนา ไม่เหมือนกับ นายกปูของเจ๊เลยเนอะ ที่ประกาศอย่างแน่วแน่ว่าจะขอยอมตายคาสนาม ประชาติ๊บตัยในไทย ว่าแต่ว่าเจ๊เคยไปหรือยังฝรั่งเศษ ถ้ายังต้องไปให้นะสถานที่นี้ เขาว่ากันว่าเป็นอนุสาวรีีย์ชัยชนะแห่งประชาติ๊บตัย ขอย้ำต้องไปให้ได้นะเจ๊ที่รัก
ตามนี้ครับ ที่พวกร่านพล่ามดักดานแต่เรื่องปฏิวัติฝรั่งเศส ก็ต้องการเน้นเรื่องที่กลุ่มปฏิวัติเอาราชวงศ์ส่งเข้าเครื่องกิโยติน เพื่อต้องการกระทบเบื้องสูงนั่นแหละ เพราะนอกนั้นไม่ว่าจะเป็นแนวทาง การเคลื่อนไหว การรวมกลุ่ม การแย่งชิงอำนาจในกลุ่มปฏิวัติด้วยกันเอง มันเละเทะและนองเลือดมาก เผลอ ๆ พวกที่ร่วมเข้าร่วมการปฏิวัติฝรั่งเศสช่วงแรก ถูกส่งเข้าเครื่องกิโยตินเป็นจำนวนมากกว่าบรรดาราชวงศ์ฝรั่งเศสด้วยซ้ำ ไม่ได้แตกต่างกับช่วง ปฏิวัติวัฒนธรรมในจีน เลย จากตอนแรกจากที่ต้องการผลักดันล้มล้าง 4 โบราณ ก็เริ่มเลอะเทอะไปกวาดล้างขั้วอำนาจอื่นในพรรคคอมมิวนิสต์จีน จนเติ้งเสี่ยวผิงต้องหนีไปตั้งหลักอยู่พักนึงจึงสามารถโต้กลับล้มพวกแก๊งสี่คนได้สำเร็จ การคลั่งลัทธิปฏิวัติในจีนได้ทำลายอะไรหลายอย่างแม้กระทั่งสถาบันครอบครัว คำสารภาพบาปของยุวชนแดง กระจกสะท้อนยุคการปฏิวัติวัฒนธรรมเลือด จุดจบแก๊งค์ ออฟ โฟร์ ให้อะไรแก่สังคมบ้าง
ง่ายๆครับ ได้ล้มราชวงศ์ พวกนี้มักดีแต่ปากครับ ล้มราชวงศ์เสร็จปกครองไม่ได้พาประเทศสู่หายนะ ประชาชนไม่ได้เสรีภาพ การฆ่าแกงกันหักกว่าเดิม มีแต่ความหวาดระแวง โทษประหารถูกใช้เป็นเครื่องมือ หลงอำนาจ
ปกติเราเขียนชื่อประเทศนี้ว่า "ฝรั่งเศส" แต่เมื่อดูจากพฤติกรรมล่าอาณานิคมด้วยวิธีข่มขืนกระทำชำเรา เขียนว่า "ฝรั่งเศษ" ถือว่าสมควรอย่างยิ่งครับ
ผมมีข้อสังเกต ปฏิวัติ 2475 ใช่โมเดล ปฏิวัติฝรั่งเศส อ้างเหตุผลเดียวกันเลยครับ ข้อต่างที่สำคัญเลย ประชาชนสยามยังรักกษัตริย์ รัชกาลที่ 7 ไม่ได้ฟุ้งเฟ้อแบบหลุยส์ที่16
ประกาศของเสือป่า สมัย ร.6 ก็เคยเขียนแบบนี้ครับ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2468/D/362.PDF และถ้าจำไม่ผิด ข้อความจารึกที่ฐานอนุสาวรีย์ทหารอาสา สงครามโลกครั้งที่ 1 แถวๆ โรงละครแห่งชาติ - สนามหลวง ก็เขียนแบบนี้ด้วย แต่สมัยนั้นเราช่วยฝรั่งเศษรบครับ
ผมขอโทษครับ ที่เขียนฝรั่งเศสเป็นฝรั่งเศษ เอาละ ปล่อยทิ้งไว้ประจานตัวเองเป็นการลงโทษเลยครับ ผมอ่านทุกเรปแล้ว1รอบ แล้วจะมาเก็ยรายละเอียดอีกทีครับ ขอบคุณครับ
ฝรั่งเศสปฏิวัติ เอาเจ้าไปใส่กิโยติน ร่านทั้งหลายมักตัดตอนเอาแค่ตอนนี้ ฉันวอนนาบีจะทำแบบนั้นบ้างจัง แต่เอาเข้าจริงแล้ว ยังมีคนอีกมากมายมหาศาลที่ต้องสังเวยให้คมกิโยตินหลังจากนั้น คำว่าเลือดท่วมท้องช้างเป็นอย่างไร ไปหาดูได้ที่ฝรั่งเศสตอนนั้น เรื่องของโรแบสปิแอร์เป็นต้น คนที่ทำให้ฝรั่งเศสผงาดขึ้นมาอีกครั้งคือ นโปเลียนที่ 3 แต่พอนโปเลียนแพ้ปรัสเซีย (ซึ่งก็เป็นความซวยของนโปเลียน เพราะทางนั้น บิสมาร์ก จะรวมชาติเยอรมันและหาศัตรูร่วมกัน นั่นคือให้ฝรั่งเศสเป็นศัตรู) รบไปรบมานโปเลียนยอมแพ้แก่บิสมาร์ก พวกสาธารณรัฐนิยมในปารีสตอนนั้นฉวยโอกาส ไล่เผาวังหลายวังในปารีสเป็นจุณ คนที่ไม่เห็นด้วยกับพวกนั้นก็จับอาวุธสู้กัน เกิดเป็นสงครามกลางเมืองสามเส้า คือสาธารณรัฐนิยม พวกที่ไม่เอาพวกแรก แล้วก็กองทัพปรัสเซียที่กำลังเข้าเมือง ทำเอาปารีสเละไปค่อนเมือง ฝรั่งเศสเลยไม่มีกษัตริย์ไปตลอดกาลนับแต่นั้น จบจริงๆคือตรงนี้! ไม่ใช่จบที่ปฏิวัติฝรั่งเศสตามที่เขาหลอกลวง ทุกวันนีี้ฝรั่งเศส (รวมทั้งรัสเซียและประเทศหลายๆประเทศ) หากินจากมรดกสมัยกษัตริย์ทั้งนั้น...
การโค่นล้มระบอบกษัตริย์ในหลายที่ เป็นไปเพราะ "ผลประโยชน์" ที่ฮาวาย เดิมฮาวายเป็นราชอาณาจักร คิงของฮาวายเคยเสด็จมาสยามด้วย แต่ฮาวายก็สิ้นระบอบกษัตริย์เพราะกลุ่มพ่อค้านักธุรกิจอเมริกัน (ซึ่งเข้ามาค้าอ้อยค้าน้ำตาล) ร่วมมือกับเมืองแม่คือสหรัฐอเมริกาโค่นล้มราชวงศ์ฮาวาย แล้วผนวกเอาฮาวายเป็นรัฐของอเมริกาซะ ทุกวันนี้คนฮาวายหลายกลุ่มก็พยายามจะเรียกร้องให้กลับมามีกษัตริย์เช่นเดิม เช่นเดียวกับหลายๆที่ อย่างไม่กี่ปีก่อนที่เกาหลีใต้ก็เช่นกัน...ทั้งนี้เพราะเค้าคำนึงถึงเรื่อง วัฒนธรรม ที่ชาวร่านไม่เคยพูดถึงเลย!
กล่าวว่า การปฏิวัติเป็นการเริ่มต้นแห่งสาธารณรัฐและประชาธิปไตย นี่มันเริ่มยุคใหม่ประวัติศาสตร์โลกทีเดียว คำถามแรกครับ ใครคือ วีรบุรุษ ที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ เป็นผู้มีคุณูประการสูงสุดครับ เห็นว่าฆ่ากันตายไม่เว้นแม้แต่พวกเดียวกัน แย่งกันเป็นผู้นำ ทั้งฝ่ายเจ้า ฝ่ายกฎุมพี ฝ่ายทหาร จนสุดท้ายเป็นทหาร นายพล ชาลส์ เดอ โกล เป็นผู้ผู้ปิดเกมส์ เขียนรัฐธรรมนูญไหม่ นี่นับรวมว่าเป็นการปฏิวัติฝรั่งเศสด้วยหรือเปล่าครับ
เรื่องเล่า เขาว่า หนังสือที่บางที่สุดในโลก ตำราอาหารของอังกฤษ หนังสือรวมมุขขำขันของเยอรมัน หนังสือรวมตัวอย่างจดหมายขอขมาของฝรั่งเศส
ความจริงแล้วราชอาณาจักรกัมพูชาก็มีความเจริญรุ่งเรืองไม่แพ้ไทยเลยนะคะ แต่ว่าจะอย่างไรขเมรก้เป้นสมบัติของฝรั่งเศสค่ะ คุณปรีดีพยงนมบิดาของธรรมศาสตร์จึงมองการไกลเลิกที่จะลอกเลียนแบบความเจริยก้าวหน้าของฝรั่งเศสเเทนราชอาณาจักรกัมพูชาค่ะ
อย่าซ้ำเติมคุณพ่อปรีดีพยงนมเลยค่ะ ท่านจำเป้นต้องทำเพื่อให้เป้นประชาธิปไตยล้วนๆค่ะ ถ้าหากวันนั้นท่านไม่ทำความชั่วแบบนั้น วันนี้พวกคุณและประชาชนที่รักประชาธิปไตยทุกคนคงไม่มีโอกาสได้ออกมาชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยเป้นประจำนะคะ
เรื่องเล่า เขาว่า ก่อนหรือหลัง ถาม - คุณคิดว่าชายฝรั่งเศสล้างมือก่อนหรือหลังฉี่ ตอบ - ตอนกำลังฉี่ พูดภาษาเดียว เราเรียกคนพูดได้สามภาษาว่าอย่างไร - คนพูดสามภาษา เราเรียกคนพูดได้สองภาษาว่าอย่างไร - คนพูดสองภาษา แล้วเราเรียกคนพูดได้เพียงภาษาเดียวว่าอย่างไร - คนฝรั่งเศส ทำได้หลายทาง ทำไมคนฝรั่งเศสจึงหลังเหม็น อ๋อ ก็เพื่อให้ตดสูงกว่าก้นหน่อยไง หลายห้องดีกว่า ทำไมในฝรั่งเศสคนถึงพูดว่า ไปห้องสุขาในความหมายพหูพจน์ ในขณะที่ในเบลเยี่ยมคนจะพูดว่า ไปห้องสุขาที่เป็นเอกพจน์ อ๋อ ก็เพราะในฝรั่งเศสนั้นจะต้องไปในที่ที่มีหลายๆห้องไว้ก่อนเผื่อเจอห้องสะอาดๆซักห้องนึง (น่าจะเป็นเรื่องของภาษาพูดที่แตกต่างกันของทั้งสองประเทศ เพราะใช้ภาษาฝรั่งเศสเหมือนกัน ....อุษา) ต้องถ่วงไว้ก่อน เมื่อพระเจ้าสร้างประเทศฝรั่งเศสนั้น ท่านต้องการให้เป็นประเทศที่สวยงามที่สุดในโลก แต่เพื่อความสมดุลย์และไม่ให้เกิดความอิจฉาในหมู่ประเทศอื่นๆ ท่านเลยสร้างคนฝรั่งเศสขึ้นมาด้วย หยุดไม่ได้ ทำไมเวลาว่ายน้ำคนฝรั่งเศสถึงน้ำเข้าปากเป็นว่าเล่น อ๋อ ก็เพราะพูดมากน่ะซิ กลับกัน อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างเนลสัน แมนเดอล่า กับคนในคณะรัฐบาลฝรั่งเศส อ๋อ ก็เนลสัน แมนเดอล่า ติดคุกก่อนเข้ามาเป็นรัฐบาลไง ดีใจนะยะทำไมคนฝรั่งเศสพูมใจที่ได้เป็นแชมป์บอลโลก(ในปี ๑๙๙๘) เพราะเป็นครั้งแรกที่ชายฝรั่งเศสสามารถจูบชายชาวบราซิลในสถานที่อื่นที่ไม่ใช่สวนสาธารณะบัวส์เดอบูโลญได้
ขอเลียนแบบนะครับ เมื่อพระเจ้าสร้างดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในโลก ปลูกอะไรก็ขึ้น น้ำท่าบริบูรณ์ พายุลูกใหญ่ๆก็ไม่มี แต่เพื่อความสมดุลย์พระเจ้าเลยสร้างควายแดงขึ้นมาด้วย
เรื่องเล่าเขาว่า พลทหารดุยเยอนูเข้าเป็นทหารกองประจำการในกองพันทหารราบแห่งหนึ่ง เขาไม่ทราบว่าพี่สาวของเขาเพิ่งเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์เช้าวันนี้เอง ผู้บังคับกองพันทราบข่าวนี้จากตำรวจและเรียกจ่าเวรประจำสัปดาห์มาพบ “ จ่าลาเฟล่อร์” “ ครับ ผู้พัน” “ นี่แน่ะจ่า พี่สาวของดุยเยอนูเสียชีวิตเมื่อเช้านี้ ผมเรียกจ่ามานี่ก็เพื่อให้จ่าใช้ไหวพริบไปแจ้งข่าวนี้กับเขา ดุยเยอนูเป็นเด็กที่มีจิตใจอ่อนไหว จ่าต้องจัดการได้แน่” จ่าลาเฟล่อร์ออกจากห้องทำงานของผู้พันแล้วก็เรียกรวมพล เมื่อทหารทุกคนมาพร้อมกันที่หน้ากองร้อยแล้ว จ่าก็ประกาศเสียงดังว่า “ใครที่พี่สาวเสียชีวิต ก้าวออกมาจากแถวเดี๋ยวนี้” ไม่มีใครขยับออกมาจากแถวเลยสักคน “ดุยเยอนู ไม่ปฎิบัติตามคำสั่ง ขัง๑๕ วัน” จ่าตะโกนลั่น
อุ้ยตาย ที่ฝรั่งเสสก้มีอนุเสาวรียืประชาธิปไตยเหรอคะเนี่ย ดิชั้นเคยได้ยินแต่ประตูชัยนโปเลียน ถึงจะดูแปลกตาก็สวยงามนะคะ ถึงจะสู้อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตยไทยไม่ได้ แต่อย่างน้อยก็ยังมีประชาธิปไตยของจริงจับต้องได้ในปารีสอยู่
ความคิดเห็นที่ 1 สาธารณรัฐที่ 3, 4 และ 5 ของฝรั่งเศสนั้น ระบอบการปกครองต่างกันครับ เอาสั้นๆ นะครับ เมื่อเกิดสงคราม Franco-Prussian นำไปสู่การล่มสลายของจักรวรรดิที่ 2 ของพระเจ้านโปเลียนที่ 3 แล้ว ประเทศฝรั่งเศสจึงได้ก่อตั้งเป็น สาธารณรัฐที่ 3 "La Troisième République" โดยอาศัยรัฐธรรมนูญแห่งฝรั่งเศส ปี 1875 ตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นผู้นำสูงสุดแห่งรัฐ ต่อมาในปี 1940 กองทัพเยอรมัน ได้บุกยึดกรุงปารีสได้ แล้วก่อตั้งรัฐบาลวิชี่ ฉีกรัฐธรรมนูญ ฉบับ 1875 ทิ้ง แล้วใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 1940 แทน จึงถือเป็นจุดสิ้นสุดของสาธารณรัฐที 3 ครับ หลังจากจบสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว รัฐบาลเฉพาะกาลแห่งฝรั่งเศส (gouvernement provisoire de la République française or GPRF) นำโดย นายพล ชาลส์ เดอ โกล ได้ประกาศล้มรัฐธรรมนูญวิชี่ ปี 1940 ในปี 1946 นั้น หลังจากที่นายพลเดอโกล ลาออกจากการเป็นท่านผู้นำ ได้มีการลงประชามติ ให้ประชาชนรับรองร่างรัฐธรรมนูญถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกเเป็นระบอบประธานาธิบดี ลงประชามติเดือนพฤษภาคม ผลคือไม่ผ่าน แต่ครั้งที่สองยกร่างฯเป็นระบอบรัฐสภา ลงคะแนนเดือนตุลาคม ผ่านอย่างเฉียดฉิว รัฐธรรมนูญฝรั่งเศสปี 1946 จึงมีผลบังคับใช้ ยุคนี้ถือเป็น สาธารณรัฐที่ 4 ครับ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแล้ว จะเป็นการปกครองระบอบรัฐสภา ในระบบสภาแห่งขาติ นายกฯเป็นผู้นำบริหารสูงสุด ทุกพรรคการเมืองเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ไม่มีฝ่ายค้าน ส่วนประธานาธิบดี เป็นเพียงประมุขแห่งรัฐ ระบอบนี้ วุ่นวายมากๆ สำหรับฝรั่งเศส ตลอดการปกครองยุคสาธารณรัฐที่ 4 รวม 12 ปี มีนายกฯตั้ง 21 คน เมื่อฝรั่งเศส ประสบปัญหาต่างๆ เรื่องหนักๆก็เรื่องปัญหาอาณานิคม จนกระทั่ง นายพลเดอ โกล ต้องกลับมาเล่นการเมืองเอง และเข้ามารับตำแหน่งนายกฯ เมื่อ 1 มิถุนายน 1958 ท่านนายกฯเดอโกล ขอประชามติเพื่อรับรองร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (บางที่เรียกฉบับเดอโกล) ในเดือนกันยายน ปีนั้น และตามคาดครับ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเดอโกล ได้รับการตอบรับอย่างท่วมท้น เมื่อถึงวันที่ 4 ตุลาคม ปีนั้น ฝรั่งเศสก็ประกาศรับรอง รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เรียกว่า รัฐธรรมนูญฉบับสาธารณรัฐที่ 5 ปี 1958 โดยเป็นการปกครองระบอบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา ซึ่งคือการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงจากประชาชน ประธานาธิบดีคือผู้นำฝ่ายบริหารและแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้า ครม. และมีการเลือกตั้งรัฐสภา เข้ามาคานอำนาจนายกฯ ที่ประธานาธิบดีแต่งตั้งอีกที การปกครองระบอบกึ่งประธานาธิบดีฯของฝรั่งเศส ตามรัฐธรรมนูญฉบับ 1958 นี้ ยังคงถูกใช้มาถึงปัจจุบัน ครับ (มีการแก้ไขเนื้อหาหลายครั้ง เช่น เทอมของประธานาธิบดี จาก 7 ปี เป็น 5 ปี ฯลฯ แต่ก็ยังถือเป็น รธน.ปี 1958 อยู่ครับ) ปล. หากรวม รธน. ฉบับปัจจุบันด้วย นับจากปฏิวัติ ปี 1789 เป็นต้นมา ฝรั่งเศสใช้ รธน.มาแล้ว 17 ฉบับ ครับ จากคุณ : Diwali เขียนเมื่อ : 2 พ.ย. 55
แหม่ ผมจับต้นไม่ชนปลายเลยนะครับ เริ่มจากชนชั้นสูงเสพสุขสบาย ชนชั้นล่างจะอดตาย ชนชั้นภาราดรภาพชักนำปฏิวัติ เอาเสรีภาพ ความเสมอภาค ไปล่อหลอกชนชั้นล่างออกมา ฆ่าล้างกันมา ไม่นับชนชั้น ไม่สนว่าใครพวกใคร นับแต่นั้นเป็นร้อยปี เอาละจนได้สาธารณรัฐแน่นอนละ คำถามต่อมาคือ มันปฏิวัติจบลงแล้วหรือยัง โดยตัดสินจากความมุ่งหมายที่ต้องการ เสรีภาพ เสมอภาค ภาราดรภาพ ชนชั้นล่างได้มรดกนั้นครบถ้วนแล้วหรือยัง
หลังจากนั้นประชาชนตายเป็นเบือด้วยกระสุนปืนกับกิโยติน คณะปฏิวัติทะเลาะระแวงกันเอง เกิดสงครามกับออสเตรีย เกิดนโปเลียน วนเวียนกันไป
วีรบุรุษสมัยนั้นในความคิดร่านฯนี่อาจเป็นพระเอกในการ์ตูนเรื่องกุหลาบแวร์ซายก็ได้นะฮะ เพราะร่านฯส่วนใหญ่แม่งมักจะเป็น โม่ย และ โอตาคุ ในตัวเดียวกันด้วย