ผมว่า ไม่อ้อมค้อม อ้อมแอ้ม กล้ารับผิดชอบ กล้าตัดสินใจ ตรงไป ตรงมา ตามตัวบทกฏหมาย ไม่เกรงใจสื่อ(ที่แน่ๆ...สื่อหน้าแหก ) ฯลฯ… ผมนึกไม่ออกเลยจริงๆว่า ใครจะเข้ามาแก้ไขปัญหา "มาเฟียห่มผ้าเหลือง" แบบนี้ได้...ถ้าไม่ใช่ลุงตู่... ...หรือเพื่อนๆว่าไง?... ๐๐๐ ๐๐๐ ๐๐๐ ๐๐๐ ๐๐๐ ๐๐๐ นึกภาพไม่ออกเหมือนกันว่า... ถ้า คุณปูเน่า เธอถูกตั้งคำถามในลักษณะแบบนี้... เธอจะะออกมา หรือตอบว่า ยังไง ?...
ผมนี่เห็นตรงกับขบวนการประชาธิปไตยต่างๆเลยว่าจะไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ให้รัฐบาลเผด็จการร่างใหม่ไปเรื่อยๆ ผมไม่รีบ
ลุงตู่ไม่น่ารีบยืนยันว่าจะทำตามโรดแมป แค่ประกาศว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่แล้วแต่ผลของประชามติก็พอ คงมีตัวเงินตัวทองฝูงใหญ่รวมทั้งสองสามตัวแถวนี้ขาดใจตายหมู่
อยากให้ลุงตู่เป็นซัก10ปีเน้นเรื่องปราบกลุ่มอิทธิพลกับเรื่องล้างบางพวกคอรัปชั่นข้าราชการขี้ฉ้อ 10ปีคงยังไม่หมดแต่คงเบาบางไปเยอะ
สารพัดกฏหมาย ที่ยังไม่ได้ถูกบังคับใช้อย่างเข้มงวด จริงจัง ทั่วถึง โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดจาก ระบบการศึกษา,ระบบอุปถัมถ์ของผู้มีอำนาจ, ความจริงจังของผู้รักษา กม. ฯลฯ ที่ฝากความหวังไว้กับ "นักเลือกตั้ง" ไม่ได้แน่ๆ ที่ยังคงอยู่ และมีอีกมากมาย... อย่างเรื่องนี้ ผมก็ไม่ค่อยเห็น "นักเลือกตั้ง" เขาทำกัน... ๐๐๐ ๐๐๐ ๐๐๐ http://www.posttoday.com/politic/442589 ๐๐๐ ๐๐๐ ๐๐๐ ๐๐๐ ๐๐๐ ๐๐๐ เพียงแต่ ลุงตู่ จะทำให้ "เสียของ" ซ๊ะเองหรือเปล่า?...
ยิ่งกับพวกที่ "ฉลาดๆ" ชอบยกช่องว่างของกฏหมาย มาบิดเบือนประเด็น พูดไม่ครบความ, ให้ร้ายป้ายสี แต่งข่าวเล่าเท็จ เพื่อปลุกปั่นให้ "ผู้ด้อยการศึกษา" คล้อยตาม และเข้าเป็นพวก เพื่อจุดกระแสต่อต้านต่อๆไป ยิ่งอันตราย... ถ้าลุงตู่ ยังไม่เร่งสะสางก่อนวางมือ... ดังเช่น... ๐๐๐ ๐๐๐ ๐๐๐ ถ้าช้าก็ลักหลับได้ใช่ไหม? โดย สิริอัญญา วันพุธที่ 13 กรกฎาคม 2559 จนถึงวันนี้ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับมติมหาเถรสมาคมที่เสนอชื่อสมเด็จช่วงต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูลโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช จะมีรายละเอียดอย่างไรกำลังสับสนเต็มที ก่อนหน้านี้ก็มีข่าวสั้นระบุว่า มติคณะกรรมการกฤษฎีกาชี้ว่ามติมหาเถรสมาคมขัดกับมาตรา 7 แต่ตามมาด้วยข่าวอีกว่ายังไม่มีการเปิดเผยคำวินิจฉัย ถัดมาก็มีข่าวกระเซ็นกระสายว่ามติมหาเถรสมาคมไม่ขัดกับมาตรา 7 และสื่อบางแห่งก็พาดข่าวว่ากฤษฎีกาหักผู้ตรวจการแผ่นดิน เพราะผู้ตรวจการแผ่นดินซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามติมหาเถรสมาคมขัดกับมาตรา 7 เนื่องจากเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีที่จะเสนอชื่อสมเด็จพระราชาคณะให้มหาเถรสมาคมเห็นชอบ ไม่ใช่มหาเถรสมาคมมาเสนอชื่อให้นำความกราบบังคมทูลเสียเอง ไม่ทันไรก็มีคนออกมาอธิบายประสานกันว่า มาตรา 7 ของกฎหมายคณะสงฆ์นั้น นายกรัฐมนตรีจะเสนอชื่อก็ได้หรือมหาเถรสมาคมจะเสนอชื่อก็ได้ การพูดแบบนี้ไม่มีหลักไม่มีเกณฑ์ พูดเหมือนกับรับจ็อบอะไรมาอย่างนั้นแหละ เพราะบ้านเมืองมีกฎหมาย มีขื่อแป และกฎหมายทั้งหลายต้องมีความชัดเจน ไม่ใช่จะเป็นอย่างไหนก็ได้ตามอำเภอใจของคนพูด และเพราะทำกันอย่างนี้บ้านเมืองจึงวิกฤตดังที่เห็น ๆ กันอยู่นี่แหละ จึงกล่าวได้ว่าการทำแบบนี้คือต้นเหตุอย่างหนึ่งของการก่อวิกฤตในบ้านเมือง ชาวเน็ตทราบความเห็นอย่างนั้นก็รุมกันด่าขรมไปทั้งบ้านทั้งเมือง ซึ่งถ้าหากมีความละอายอยู่บ้างก็ต้องเอาปี๊บคลุมหัว ตามมาก็มีคนอธิบายอีกว่า ถ้านายกรัฐมนตรีเสนอชื่อสมเด็จพระราชาคณะล่าช้า มหาเถรสมาคมก็สามารถหยิบยกเรื่องขึ้นเสนอชื่อเองได้ ดังนั้นมติมหาเถรสมาคมที่เสนอชื่อสมเด็จช่วงจึงไม่ขัดต่อกฎหมายคณะสงฆ์ ก็ไปดูกระแสข่าวกันเอาเองก็แล้วกันว่าประชาชนชาวบ้านตาดำ ๆ ซึ่งไม่ได้กินแกลบเขามีความคิดเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไร ซึ่งไม่อยากนำมาพูดมาเจียระไนปากคำของชาวบ้านให้กระเทือนใจกันเปล่าๆ ดังนั้นก็ต้องมาพิจารณาแจกแจงคำอธิบายแบบซ้ายก็ได้ ขวาก็ได้ ซึ่งทำให้บ้านเมืองตกอยู่ในวิกฤตระส่ำระสายกันสักครั้งหนึ่งเพื่อเป็นนิทัศน์อุทาหรณ์ว่าบ้านเมืองนี้มีขื่อแป หากปล่อยให้ปลวกกินขื่อแปจนเป็นหลักให้กับบ้านเมืองไม่ได้แล้ว ในที่สุดบ้านทั้งหลังก็จะพังครืนลงมา ข้อแรก ที่พยายามอธิบายว่าตามกฎหมายคณะสงฆ์มาตรา 7 ใครจะเสนอก็ได้นั้น เป็นการบิดตะกูดที่น่าละอายที่สุด เพราะกฎหมายเขียนชัดว่านายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเป็นผู้เสนอชื่อสมเด็จพระสังฆราช บัญญัติวิธีลักษณะเดียวกันนี้มีทั้งในรัฐธรรมนูญ มีทั้งในกฎหมายบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งปฏิบัติเป็นอย่างเดียวกันคือหัวหน้า คสช. หรือนายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นผู้ตั้งเรื่องเสนอต่อ คสช. หรือต่อคณะรัฐมนตรี ไม่ใช่ คสช. หรือคณะรัฐมนตรีมีมติแล้วมาเสนอหัวหน้า คสช. หรือคณะรัฐมนตรี ให้ดูตัวอย่างการออกคำสั่งตามมาตรา 44 ของ คสช. ก็ได้ ว่าใครเสนอต่อ คสช. ที่ปฏิบัติกันในขณะนี้ก็คือหัวหน้า คสช. หรือหน่วยงานอื่นเสนอเรื่องมายังหัวหน้า คสช. เพื่อนำเสนอ คสช. เห็นชอบแล้วออกคำสั่งทั้งสิ้น กฎหมายคณะสงฆ์มาตรา 7 ซึ่งบัญญัติเป็นอย่างเดียวกัน จะไปบิดตะกูดว่าใครจะเสนอก็ได้ ได้อย่างไร? ข้อสอง นายกรัฐมนตรีเสนอชื่อสมเด็จพระราชาคณะล่าช้าจริงหรือ? ข้อนี้ต้องกล่าวว่าเป็นการตอหลดตอแหลที่ประจานตัวเองทั้งบ้านทั้งเมือง การพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสร็จไปยังไม่ทันบรรจุอัฐิ และไม่เคยมีข่าวคราวว่าจะมีการประชุมมหาเถรสมาคมเพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ช่วงเวลาแบบนี้จะว่ายาวได้อย่างไร และจะเสนอเมื่อใดเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่อำนาจคนอื่นที่จะยุ่งเกี่ยวชี้ขาดว่านายกรัฐมนตรีเสนอชื่อช้าหรือไม่ช้า ประชาชนเขาไม่ไว้ใจพฤติกรรมเหล่านักรับจ๊อบอยู่แล้ว ดังนั้นสื่อมวลชนจึงเพียรสอบถามว่าจะมีการประชุมมหาเถรสมาคมเรื่องนี้เมื่อใด ก็ปิด ๆ บัง ๆ กัน คือปิดบังกันทุกระดับนั่นแหละ ถามจริง ๆ เถิดว่าการปิดบังแบบนั้นคือการร่วมกันโกหกประชาชนไม่ใช่หรือ? และแล้วประชาชนมาทราบความอีกทีก็มีการลักหลับว่ามีการประชุมมหาเถรสมาคมแล้ว และลงมติเสนอสมเด็จช่วงแล้ว เท่านั้นแหละเสียงก่นด่าสาปแช่งก็กึกก้องกระหึ่มไปทั้งบ้านทั้งเมือง แล้วฟังกันบ้างไหมนี่! ยังจะดันทุรังกันไปถึงขั้นมีการปูทางอธิบายข่าวต่อสื่อมวลชนอย่างไม่ละอายว่านายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็นแค่ไปรษณีย์ เมื่อมหาเถรสมาคมมีมติอย่างไรก็จบ ไม่อยากจะพูดว่าเตรียมแผน เตรียมทาง วางจังหวะกันไว้อย่างไร แต่คงคิดผิด คาดผิด เพราะนายกรัฐมนตรีไม่ใช่ไปรษณีย์ หากเป็นผู้มีอำนาจตามกฎหมาย และเป็นผู้ต้องรับผิดชอบในการสนองพระบรมราชโองการ ดังนั้นเมื่อนายกรัฐมนตรีแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่าจะไม่นำสิ่งที่มีปัญหาหรือนำปัญหาขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยเด็ดขาด จึงเกิดความโล่งอกขึ้นในหมู่ประชาชน เหตุนี้การที่นายกรัฐมนตรียังไม่เสนอชื่อสมเด็จพระราชาคณะ จึงไม่ได้ล่าช้าดังที่มีการอธิบาย และจะล่าช้าหรือไม่ล่าช้าก็ไม่ใช่เรื่องของคนที่ไม่มีหน้าที่ที่จะมาตัดสินใจแทนนายกรัฐมนตรี การพูดเป็นทำนองตำหนิว่านายกรัฐมนตรีเสนอชื่อล่าช้านั้น ออกจะไม่เป็นธรรมต่อนายกรัฐมนตรี และเป็นการแสดงท่าทีที่วางกล้ามวางอำนาจมากเกินไปหรือไม่ ขอสาธุชนทั้งหลายช่วยกันพิจารณาดู ข้อสาม ผู้ตรวจการแผ่นดินซึ่งเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญมีอำนาจตรวจสอบ ไต่สวนและวินิจฉัยว่าการกระทำใดถูกหรือผิด ถ้าผิดก็มีอำนาจวินิจฉัยให้ปรับปรุงให้แก้ไขเสีย หากคนมีหน้าที่ไม่ยอมปฏิบัติตามก็เป็นหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินที่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งมีหลายกระบวนการที่จะดำเนินการ อย่างน้อยที่สุดก็ต้องมีหนังสือยืนยันให้กระทำตามการวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือถ้าเห็นว่ามีการบิดตะกูดใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ ผู้ตรวจการแผ่นดินก็สามารถแจ้งต่อ ป.ป.ช. ให้ทำการไต่สวนดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำความผิดได้ ที่สำคัญ ที่ประชาชนจะต้องทำความเข้าใจก็คือว่า คำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดินนั้นไม่ใช่คำแนะนำ เพราะองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญนี้ไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อแนะนำใคร เหมือนกับบางหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการแนะนำให้เลิกกินเหล้า เลิกสูบบุหรี่ เลิกเที่ยวผู้หญิง หากเป็นองค์กรสำคัญตามรัฐธรรมนูญที่คำวินิจฉัยมีผลตามกฎหมาย การบิดตะกูดว่าคำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นเพียงคำแนะนำ และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาต้องปฏิบัตินั้น นั่นหมายถึงกรณีที่ไม่มีคำวินิจฉัยขององค์กรอิสระและเป็นกรณีการบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปตามปกติและไม่มีความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานเหมือนกับกรณีนี้ ดังนั้นเมื่อความจริงเปิดเผยออกมาเช่นนี้ก็จะได้รู้กันเสียทีว่าใครบ้างที่กำลังสร้างปัญหาให้กับบ้านเมือง และจะแก้ไขกันอย่างไรก็เป็นเรื่องที่จะต้องช่วยกันคิด ช่วยกันทำต่อไป! ๐๐๐ ๐๐๐ ๐๐๐
ต่อเรื่อง "ผู้มีอิทธิพลห่มผ้าเหลือง"... ที่นี่ เขาวิเคราะห์/เขียนไว้ ได้น่าอ่าน น่าติดตาม ?… ๐๐๐ ๐๐๐ ๐๐๐ http://www.alittlebuddha.com ๐๐๐ ๐๐๐ ๐๐๐
รมต.ฝรั่งเศสเรียกร้องให้นำระบบกษัตริย์กลับมา ตำหนิความล้มเหลวของประชาธิปไตย http://chaoprayanews.com/blog/worldcomment/2015/07/09/113/
อันนี้ ก็ชัดเจนดี...ไม่ต้องมีเกรงอก เกรงใจใคร... +++ +++ +++ นักการเมืองฟังไว้!!! "บิ๊กตู" พูดชัด "อย่าเอาผลประโยชน์ชาติ-ตอบแทนบุญคุณส่วนตัว" ติดตามข่าวสารที่ www.tnews.co.th M.TNEWS.CO.TH !!! !!! !!! ลุงตู่... น่าจะอยู่ต่ออีกซัก 10 ปี หรือจนกว่าจะมั่นใจ ว่า... เป็นอย่างที่ลุงพูด... หรือเพื่อนๆ ว่าไง?...