29 ม.ค. 60 - ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ตัวแทนจาก 30 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน อาทิ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สภาวิชาชีพวิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สถาบันอิศรา สมาคมผู้สื่อข่าวภูมิภาคได้นัดประชุมหารือกันพร้อมทั้งแสดงจุดยืนต่อร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริม จริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน ที่จัดทำโดยคณะกรรมาธิการ(กมธ.)ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) โดยใช้ชื่องานว่า “รวมพลังต้าน กฎหมายคุมสื่อ” นายเทพชัย หย่อง ประธานสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยกล่าวว่าวันนี้ถือได้ว่าเป็นวันประวัติศาสตร์ที่สื่อมวลชนทุกระดับมาเพื่อแสดงจุดยืนร่วมกัน ส่วนตัวมองว่าร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวเมื่อฟังชื่อแล้วสวยหรู แต่เนื้อหานั้นไม่ใช่การปฏิรูปสื่อแต่อย่างใด เพราะทุกประเด็นที่กำหนดไว้ในร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวนั้นเป็นเหมือนการถอยหลังเข้าคลอง กลับไปในยุคที่อำนาจรัฐและการเมืองเข้ามามีอิทธิพลครอบงำการทำงานของสื่อได้มากกว่าที่เคยมีมา โดยหลักการและเหตุผลของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวที่ระบุไว้ชัดเจนว่าสื่อไม่สามารถดูแลกันเองได้ ดังนั้นสิ่งที่คนทำสื่อจะต้องนำไปคิดกันก็คือว่าจะเห็นด้วยหรือไม่กับข้อสังเกตดังกล่าวคือการลดทอนกระบวนการหรือกลไกในการดูแลกันเองของสื่อโดยมีการตั้งกลไกใหม่ขึ้นมา ใช้ชื่อว่าสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ ซึ่งเป็นกลไกที่มีอำนาจทางกฎหมายลงโทษทางปกครองสื่อได้ ขณะเดียวกันยังมีอำนาจในการออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสื่อ นายเทพชัยกล่าวต่อว่าส่วนโครงสร้างสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติจะมีกรรมการจำนวน 13 คน มีกรรมการจำนวน 4 คน ที่เป็นปลัดกระทรวงหรือตำแหน่งได้แก่ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี, ปลัดกระทรวงการคลัง, ปลัดกระทรวงกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และปลัดกระทรวงวัฒนธรรม แต่อย่างไรก็ตามตำแหน่งปลัดกระทรวงเป็นตำแหน่งที่นักการเมืองแต่งตั้งขึ้น ซึ่งชัดเจนว่าปลัดกระทรวงต้องเป็นคนที่สื่อถูกตรวจสอบ แต่กลับกันจะมาเป็นคนที่ตรวจสอบสื่อเสียเอง ซึ่งตนเชื่อว่ารัฐบาลที่จะได้ใช้อำนาจนี้ตามกำหนดเวลาที่กฎหมายจะผ่านการพิจารณาจะไม่ใช่รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แต่จะเป็นรัฐบาลที่จะมาหลังจากการเลือกตั้งผ่านไปแล้ว เป็นสิ่งที่นักการเมืองปรารถนาอยากจะได้มาก สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้คือการชงกฎหมายใส่พานให้กับนักการเมืองที่ต้องการกลับมาจะบริหารประเทศหลังจากการเลือกตั้ง ถือเป็นอันตรายที่ไม่ใช่ต่อผู้ทำวิชาชีพสื่อมวลชน แต่เป็นต่อเสรีภาพ การรับรู้ข่าวสาร และอันตรายต่อการตรวจสอบอำนาจรัฐของภาคประชาชน นายโปรย สมบัติ นายกสมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทยกล่าวว่า พร้อมที่จะร่วมกับองค์กรวิชาชีพสื่อในการที่จะออกมาคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ตัวนี้ โดยในวันที่ 17-18 ก.พ.จะมีการจัดสัมมนาที่ จ.อุตรดิตถ์ก็อยากจะให้มีตัวแทนจากองค์การวิชาชีพสื่อส่วนกลางไปให้ความรู้และความเห็นเพื่อคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.ตัวนี้ด้วย ส่วนประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันอิศรากล่าวว่านอกจากที่จะมีการออกแถลงการณ์วันนี้แล้วก็อยากจะให้มีการเคลื่อนไหวอย่างเป็นรูปธรรม อาทิการรวมตัวกันของกลุ่มองค์กรเพื่อไปยื่นหนังสือคัดค้านยัง สปท. โดยให้ไปยืนที่หน้ารัฐสภา ใส่เสื้อสีเดียวกันเพื่อแสดงสัญลักษณ์การคัดค้านให้สาธารณได้เห็นภาพ และอยากจะให้ชวนกลุ่มองค์กรต่อต้านคอรัปชั่นมาร่วมขับเคลื่อนด้วยเพื่อให้รัฐบาลฟัง ต่อมาเมื่อเวลา 13.30 น. ได้มีการอ่านแถลงการณ์ร่วมกันจาก 30 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน โดยนายเทพชัยได้อ่านแถลงการณ์โดยมีเนื้อหาสรุปใจ4 ข้อว่า 1.กฎหมายดังกล่าวไม่ได้อยู่บนหลักพื้นฐานของการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน แต่กลับเน้นหลักการควบคุมสื่อมวลชนโดยใช้อำนาจรัฐ เข้ามาแทรกแซง การทำหน้าที่โดยอิสระของสื่อมวลชน และไม่สอดคล้องหลักการของร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านการทำประชามติ ซึ่งมีเจตนาให้สื่อมวลชนกำกับดูแลกันเอง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อบทบาทของสื่อมวลชนในการตรวจสอบอำนาจรัฐ และปิดกั้นเสรีภาพการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน 2.สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ต้องยกเลิกการพิจารณาร่างกฎหมายของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน โดยให้กลับไปทบทวนความจำเป็นในการออกกฎหมายดังกล่าว 3.หาก สปท.ยังผลักดันกฎหมายดังกล่าวต่อไป องค์กรวิชาชีพสื่อทั่วประเทศจะยกระดับ มาตรการในการคัดค้านร่างกฎหมายต่อไปให้ถึงที่สุด และ4.ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาองค์การวิชาชีพสื่อมวลชนได้พัฒนาระบบการกำกับดูแลกันเอง ด้านจริยธรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อยกระดับความรับผิดชอบของสื่อมวลชนและตอบสนองความเปลี่ยนแปลงของสังคม รวมทั้งมุ่งมั่นที่จะดำเนินการเรื่องนี้ต่อไปเพื่อให้เกิดความมั่นใจ หลังจากแถลงการณ์นายเทพชัยกล่าวต่อว่าส่วนการยกระดับคัดค้านถึงที่สุดนั้นจะเล็งทำความเข้าใจกับผู้มีอำนาจให้เห็นถึงผลร้ายของกฎหมายดังกล่าวทุกระดับทั้งในระดับนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรี,รัฐบาล,คสช.,สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และ สปท. ทางด้านของนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติได้กล่าวยืนยันว่าสังคมไม่ต้องเป็นห่วงการทำหน้าที่ของสื่อ เพราะจะดูแล ควบคุมเรื่องจริยธรรมสื่อกันเองได้ ซึ่งขณะนี้ได้มีการตั้งคณะกรรมการจริยธรรมในองค์กรซึ่งผู้เสียหายสามารถร้องเรียนองค์กรที่ตัวเองได้รับความเสียหายได้โดยตรง เพื่อเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทำหน้าที่ของสื่อ และยืนยันว่าในต่างประเทศก็ไม่มีกฎหมายที่เข้ามาแทรกแซงสื่อแบบนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานสำหรับ 30 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนที่เข้าร่วมการคัดค้านในครั้งนี้ประกอบด้วย 1.สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ 2.สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย3.สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย 4.สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย5.สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย 6.สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ 7.สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย 8.สมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย 9.สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย 10.สมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 11.สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย 12.สมาคมช่างภาพสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย 13.สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย 14.สมาคมนักข่าวช่างภาพกีฬาแห่งประเทศไทย 15.สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ 16.สมาคมผู้ประกอบวิชาชีพวิทยุท้องถิ่นไทย 17.สมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ 18.สมาคมสภาวิชาชีพกิจการการแพร่ภาพและการกระจายเสียง (ประเทศไทย) 19.สมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) 20.สมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน 21.สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย 22.เครือข่ายบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาคเหนือ 17 จังหวัด 23.เครือข่ายบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาคอีสาน 24.เครือข่ายบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาคกลาง-ภาคตะวันออก 25.เครือข่ายบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาคใต้ 26.ชมรมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์อาวุโส 27.ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม 28.ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ 29.ชมรมเพื่อเพื่อนช่างภาพสื่อมวลชน 30.สหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชน. http://www.thaipost.net/?q=ลุกฮือต้านกฎหมายใส่พานฝ่ายการเมืองปิดกั้นเสรีภาพสื่อ เพิิ่งรู้ว่าสมาคม ชมรม เกี่ยวกับสื่อมีเยอะขนาดนี้เลยหรือ ? เท่าที่ได้ยินมา ห่วงว่ารัฐบาลจะเข้ามาแทรกแซงการทำงานของสื่อ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลจากรัฐประหาร หรือรัฐบาลจากการเลือกตั้งในสถานการณ์ปกติ ซึ่งที่ผ่านมา มีทั้งการลงโทษ และใช้กลไกอื่นๆ แบบที่สื่อหลายเจ้าเคยเจอในแง่ของรายได้ การเงิน มีคนในเฟซบุ๊กโพสต์คอมเมนท์เตือนความจำด้วยว่า
เอาตรงๆ คือส่วนตัวเห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนี้มาก เพราะเวลาสื่อทำ HA อะไรออกมา ไม่เคยเห็นหมาหน้าไหนมันออกมารับผิดชอบกันบ้างเลย 30 องค์กรวิชาชีพสื่อสารมวลชน เรียกร้อง สปท. ยกเลิกร่างกฎหมายการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและส่งเสริมมาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ชี้เป็นกลไกใช้อำนาจรัฐควบคุมสื่อ
ทุกวันนี้สื่อเหมือนอภิสิทธิ์ชน ใครแตะต้องไม่ได้เลย มักอ้างสิทธิเสรีภาพเสมอ แต่.. ไม่เคยสักครั้งที่เวลาสื่อฯด้วยกันเองกระทำผิด จะออกมาตำหนิ หรือมีบทลงโทษ ในเมื่อตัวเองไม่สามารถควบคุมกันเองได้ ก็สมควรแล้วที่ รัฐต้องออกมาควบคุมสื่อ