ราชบัณฑิตด้านรัฐศาสตร์ วิพากษ์ร่างรธน. ว่าเป็นเพียงความพยายามต่อสู้กับเวลาและยุคสมัย พร้อมย้ำมี 3 สิ่งที่ทำลายประชาธิปไตยอยู่ในรธน. หากประกาศใช้จะเป็นการยึดอำนาจอย่างถูกกฎหมายทันที 3 ก.ย. 2558 ที่ ห้องประชุมสมาคมศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 12 ตึกเกษมอุทยานิน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการจัดเวทีเสวนาวิชาการ วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ 2558 กับทิศทางการปฏิรูปการเมืองไทย: ทางออกหรือทางตัน โดยมี ลิขิต ธีระเวคิน ราชบัณฑิตด้านรัฐศาสตร์ ร่วมเป็นหนึ่งในวิทยากรด้วย งานเสวนาครั้งนี้ร่วมจัดโดยศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน และสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ภายในงานเสวนาครั้งนี้มีผู้สนเข้าร่วมจำนวนมาก ลิขิต เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงรัฐธรรมนูญว่า เป็นองค์กรที่จัดโครงสร้างในการปกครองและบริหาร และถ้าเชื่อในระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญต้องถูกออกแบบมาเพื่อนำไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ทว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับซึ่งกำลังจะให้ สปช. ลงมติเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบนั้น แม้จะมีส่วนที่เป็นประชาธิปไตยหลายส่วน ซึ่งถือว่าเป็นหลักปรัชญาที่ดี แต่กลับมีประเด็นที่ไม่เป็นประชาธิปไตยแฝงอยู่ด้วย ลิขิต ตั้งข้อสังเกตว่า มาตรา 3ในรัฐธรรมนูญได้ระบุชัดว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ถือเป็นหลักใหญ่ที่สุดของรัฐธรรมนูญ ฉะนั้นมาตราใดๆ ในรัฐธรรมนูญที่มีการเขียนใส่เข้ามาแล้วขัดแย้งกับมาตรา 3 ถือว่าผิดหลักการประชาธิปไตย สิ่งที่บัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญซึ่ง ลิขิตมองว่า ผิดหลักการประชาธิปไตย และขัดกับมาตรา 3 ในรัฐธรรมนูญประกอบด้วย 1.การมีสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหา จำนวน 123 คน ซึ่งมีจำนวนมากกว่าสมาชิกวุฒิสภาที่ได้มาจากการเลือกตั้ง ทั้งยังมีอำนาจมาก แม้จะมีการอ้างว่า การสรรหามีความเป็นประชาธิปไตย เป็นผู้ที่มองเห็นผลประโยชน์ของชาติ แต่นั่นเป็นแต่เพียงคำพูด ไม่ได้มีอะไรการันตีได้ เพราะถึงที่สุดการสรรหาขาดหลักการยึดโยงกับประชาชน 2.กรณีการเปิดช่องทางให้มีนายกรัฐมนตรีที่มาจากคนนอกคือ ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการลงคะแนนเสียงกันในสภาแล้วผู้ที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีไม่สามารถได้คะแนนเสียงถึงกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนฯ จึงจะสามารถเลือกคนนอกซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ โดยต้องได้คะแนนเสียง 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนฯ หรือในอีกกรณีคือ จำเป็นต้องมีนายกคนนอก ในยามวิกฤต "มาร์กที่ผมพูดไว้เลยนะ ผมว่าเราอย่าปฏิเสธความจริงเลย วิกฤตที่เกิดขึ้นในการเมืองไทย เป็นวิกฤตที่สร้างขึ้นมา ไม่ได้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ไม่มีวิกฤติ ก็สร้างวิกฤต เพื่อให้มีวิกฤต เพื่อที่จะให้มีเหตุเอาคนนอกมาเป็นนายกฯได้ ทันทีที่เป็นอย่างนี้มันขัดมาตรา 3 มันขัดหลักประชาธิปไตย และมันเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดวิกฤตอย่างหนัก" ลิขิตกล่าว 3.การให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ ซึ่งไม่ได้มีความเกี่ยวข้องหรือยึดโยงกับประชาชน แม้ในแง่ของหลักการจะระบุว่ามีเพื่อสร้างหลักประกันว่า หากประเทศเกิดปัญหา หรืออยู่ในสภาวะวิกฤต จะสามารถแก้ปัญหาได้ แต่ผิดกับหลักการประชาธิปไตยอย่างชัดเจน เนื่องจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ เป็นกลุ่มคนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องยึดโยงกับประชาชน แต่สามารถเข้ามาควบคุมฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นผู้ที่มาจากประชาชนได้ถือว่าผิดหลักการอย่างชัดเจน “ของเราหลัง 6 ตุลา 2519 ก็มีรัฐบาลหอย เปลือกหอยคุมเนื้อหอย เราไม่ต้องการเปลือกหอยอีกต่อไปแล้ว เราต้องการเป็นอิสระ ประเด็นคือนี่มันเป็นลักษณะของการที่ต้องมี Guardians ซึ่งค่อย Guard การบริหาร เพลโต้ถามมานานแล้ว Who Will Guard The Guardians ถ้า Guardians มีอำนาจสูงสุด แล้วผู้บริหารประเทศ และฝ่ายนิติบัญญัติต้องค่อยมองตลอดเวลา เพราะมาตรา 280 ให้อำนาจอย่างล้นหลาม การเลือกตั้งก็จะไม่มีความหมาย เพราะเลือกมาก็จะมี บิ๊กบราเธอร์ คอยดูแลอยู่ แล้วบิ๊กบราเธอร์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับประชาชนเลย ประชาธิปไตยแบบนี้ ไม่ใช่ครึ่งใบ แต่เป็นประชาธิปไตยเสี้ยวใบ” ลิขิตกล่าว ลิขิต กล่าวเสริมต่อว่า ตามหลักการประชาธิปไตย อำนาจต้องเป็นของปวงชน ถือเป็นหลักศักดิ์สิทธิละเมิดไม่ได้ หากมีสิ่งใดที่ขัดกับหลักการนี้ไม่ถือว่าเป็นประชาธิปไตย ฉะนั้นในรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงไม่สามารถตอบคำถามได้ว่าเป็นประชาธิปไตยอย่างไร “ผมเสียดายมาก ร่างออกมาดีประชาชนได้ประโยชน์ได้เยอะ แต่ในเมื่อสิ่งสูงสุด คือหลักการอันศักดิ์สิทธิมันถูกละเมิดไปแล้ว มันไม่มีประโยชน์อะไรเลย” ลิขิตกล่าว สำหรับกรณีการปรองดองโดยใช้รัฐธรรมนูญเป็นตัวช่วยในการสร้างความปรองดองนั้น ลิขิตเห็นว่า ทันทีที่ร่างออกมาในลักษณะนี้ นั่นเท่ากับเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง และทันทีที่ร่างนี้ผ่านการลงประชามติ เท่ากับเป็นการยึดอำนาจอย่างถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ “รัฐธรรมนูญอันนี้มีหลักการที่ดี แต่ใส่ไปทำไมในเรื่องของวุฒิซึ่งขัดแย้ง นายกฯที่มาจากคนนอก และ คปป. มันเห็นชัดมันเป็นการต่อสู้ของคนสองกลุ่ม กลุ่มที่เรียกว่าเสนา-อมาตยาธิปไตย เพื่อที่จะรักษาเอาไว้ 3 อย่าง คือ wealth status และ power สู้กับกลุ่มประชาธิปไตยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์” ลิขิตกล่าว ลิขิตกล่าวทิ้งทายว่า ไม่ว่าใครก็ตามไม่สามารถที่จะต่อสู้กับเวลาได้ และยิ่งไปกว่านั้นไม่มีใครที่จะสามารถสู้กับการเปลี่ยนเปลี่ยนของยุคสมัยได้เช่นกัน แต่สิ่งที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำลังทำอยู่คือกำลังต่อสู้กับทั้งสองสิ่ง http://www.prachatai.org/journal/2015/09/61201 "ผมเป็นปีศาจที่กาลเวลาได้สร้างขึ้นมาหลอกหลอนคนที่อยู่ในโลกเก่า ความคิดเก่า ทำให้เกิดความละเมอหวาดกลัว ท่านคิดจะทำลายปีศาจตัวนี้ แต่ไม่มีทางที่จะเป็นไปได้ เพราะเขาอยู่ยงคงกะพันยิ่งกว่าอคิลลิสหรือซิกฟรีด เพราะเขาอยู่ในเกราะกำบังแห่งกาลเวลา" สาย สีมา
น่าเบื่ออออออ อ้างนู้นอ้างนี้ตลอด มือดีบอกตรงๆไปเลย ว่าแค่อยากแสดงความเก่งจอมปลอม อยากระบายความเคลียดที่ลงกับคนรอบข้างไม่ได้ ด้วยการด่าทหาร หลอกด่า ยั่วโมโหเพื่อนสมาชิก เพราะไม่ได้เห็นหน้ากัน ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร เพราะรู้ว่าเขาใจอ่อนเกินกว่าจะทำให้ชีวิตคนคนหนึ่งติดคุก
***ตอนที่ศาลรธน.ตัดสินซุกหุ้นภาคแรก ต้นตอของปัญหาที่ตามมา ***ตอนที่แม้วกว้านซื้อสส. และพรรคการเมือง พวกอ.คณะนี้ ออกมาแสดงภูมิปัญญาบ้างป่าว?
วิกฤต ที่เกิดในเมืองไทย เกิดจากความโลภ ที่ไม่มีที่สิ้นสุดของนักการเมืองกลุ่มหนึ่ง ซึ่งทำให้ การเมืองแบบเก่า ๆ นั้น เปลี่ยนหน้าไปเลย ไม่ใช่ การเมืองที่กินตามโอกาส แต่เป็นการผันทุกอำนาจที่มี ให้เป็นโอกาส ทำกระทั่งสร้างกฏหมายให้ตัวเองกินสะดวก พวกคุณประชาธิปไตยทั้งหลาย เวลาแสดงความเห็น ก็ฉลาดกันตลอด พูดจาสวยหรู ฟังยาก( เผอิญผมไม่ใช่กวี) มีหลักการดูดี แต่เวลาเลือกคนมาเป็นผู้นำ ไฉนใช้สมองน้อยนัก เลือกกันแบบตามใจฉัน หรือ ใช้ความชอบส่วนตัว รสนิยมเดียวกัน มากกว่าเพื่อให้คนส่วนใหญ่ มีปรกติสุข แล้วแบบนี้ จะให้คนอย่างพวกผมซึ่งมองอะไร ตามสภาพที่มันเป็น เห็นด้วยไปกับพวกคุณได้ยังไงอะ เสมือนคนเรียนหนังสือสูงถึงปริญญาเอก พูดจาเหมือน เข้าใจจิตใจคนทุกคน มีสติปัญญาที่จะพาคนให้ไปรอดกันหมดได้ แต่เวลาเลือกใช้คน กลับมองข้ามความชั่วข้อใหญ่ของมันไป แค่เพียงเห็นว่า แนวคิดนามธรรม เกี่ยวกับการเลือกตั้งเข้ามามีอำนาจ เป็นอย่างเดียวกัน ก็ใช้ได้ เลือกมาแล้ว มันจะต้มยำทำแกงอะไรกับบ้านเมือง ก็ไม่ใส่ใจ แต่กับคนที่เค้าไม่เห็นด้วย ออกมาต่อต้าน ก็ว่าเค้าสร้างวิกฤต คนอย่างพวกผมมันไม่ได้บ้า ถ้าปกครองดี ๆ อย่างที่ควรจะเป็น แล้วออกมาไล่ ออกมาด่านะ เลิกซะที พวกปิดตาข้างหนึ่งให้กับคนที่ตัวเอง ถูกจริตอะ คนอื่นเค้ายังไม่ตาบอด เห็นอะไรเค้าก็ต้องพูด แล้วถ้าเค้าจะให้ความสนใจ กับงบประมาณบ้านเมือง ที่สูญเสียไปกับการโกง เค้าก็มีสิทธิโดยสมบูรณ์เพราะมัน เป็นประเทศของเค้าเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าความรักชาติมันจะ ผูกขาดที่พวกอ้างประชาธิปไตย เป็นถูกต้องทุกอย่างฝ่ายเดียว
ไอ้พวกข่มขู่สื่อนี่ ชาติชั่วเนอะ รอยร้าวของสุวรรณภูมิ กับ ฝันร้ายของ 'นักข่าวมืออาชีพ' http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9500000011467
พวกคุณประชาธิปไตยทั้งหลาย เวลาแสดงความเห็น ก็ฉลาดกันตลอด พูดจาสวยหรู ฟังยาก( เผอิญผมไม่ใช่กวี) มีหลักการดูดี แต่เวลาเลือกคนมาเป็นผู้นำ ไฉนใช้สมองน้อยนัก เลือกกันแบบตามใจฉัน หรือ ใช้ความชอบส่วนตัว รสนิยมเดียวกัน มากกว่าเพื่อให้คนส่วนใหญ่ มีปรกติสุข .... เรื่องความฉลาดเห็นด้วยผมไม่แย้ง เพราะเป็นที่ประจักษ์กันอยู่แล้ว แต่ผมจะแย้งและเห็นต่าง คือการเลือกผู้นำที่คุณพูดมา การเลือกผู้นำ คุณไม่ได้เลือกเพราะชอบส่วนตัวหรอกรึ ไม่ได้เลือกเพราะผลงานการกระทำที่ผ่านมาหรอกรึ มันเป็นสิทธิของเราไม่ใช่รึ เราชอบใคร เลือกใคร ก็ตามใจเรา ไม่ใช่หรอกรึ คุณเลือกผู้นำ คุณเลือกที่จะเลือกให้ สังคมส่วนใหญ่ปรกติสุข คุณพิจารณายังไง?? ว่าเลือกใครคนนี้แล้ว สังคมจะปรกติสุข เลือก ปชป เลือก มาร์ค ณ ชั่งใข่ใช่ไหม สังคมถึงจะปรกติสุข คนในสังคมถึงจะมารักกัน หันมาจูบปากกันจ๊วบจ๊าบๆ ผมว่าไม่ใช่นะ... ยังไงมันก็ไม่ปรกติสุขหรอกครับ ถ้าคนมันไม่เคารพกติกา ไม่มีปัญญาชนะแล้วได้เป็นรัฐบาล ยังไงมันก็สร้างม๊อบล้มล้างรัฐบาล ออกมาสร้างความวินาศสันตะโร ให้สังคมกลายเป็นสังคังอยู่ร่ำไป
ไม่ว่าจะมีการปกครองระบอบใด มีรัฐธรรมนูญหรือไม่ ไม่เกี่ยว แต่ความจริงที่เราเห็นๆตัวอย่างกันอยู่ในสังคมมนุษย์ มีสิ่งเดียวที่ทำลายได้ทุกอย่าง ***ทำลายระบบ ***ทำลายประเทศ ***ทำลายโลก ***สุดท้ายคือ ทำลายตัวเอง คือ "กิเลสที่พอกหนาของผู้นำ"
ไร้สาระ คนที่ไม่เคยคิดถึงแม้แต่เพื่อนจะมาพูดนึกถึงส่วนร่วม คนที่ไม่เคยแม้แต่จะทำอะไรจะมาพูดให้คนอื่นทำนู้นทำนี้