ก็น่าจะนำทั้ง 2 แบบมาปรับใช้ครับ ส่วนของไทย ไอเดียน่าจะมาจากที่ลุงตู่เคยพูดไว้ว่า อยากให้เนันเรื่อง อาชีวะมากขึ้น เพื่อนำมาประกอบอาชีพได้ และก็มาถึงการลดความเครียดของเด็ก เนื่องจากเรียนมากไป(ชั่วโมงเยอะ) แต่ไม่มีคุณภาพ ที่สำคัญควรปรับลดหรือยกเลิกการประเมินครู โรงเรียนก่อน เพื่อที่จะได้มีเวลาสอนเด็กให้ดีกว่านี้ครับ
เวลาครูถามเด็กในห้องเรียนว่า "เข้าใจหรือยัง" ทั้งห้องก็จะตอบพร้อมกันว่า "เข้าใจแล้วครับ/ค่ะ" แต่พอให้บอกมาอธิบายหน้าห้อง กลับไม่มีใครอธิบายได้สักคน เราถูกปลูกฝังว่า จงอย่าเด่นและอย่าด้อยจนเกินไป เพราะเด่นก็จะโดนเขม่น ถ้าด้อยก็จะโดนดูถูก รูปนี้เข้ากับสังคมไทยได้ดีที่สุดเลย
เด็กทุกคนเรียนรู้และรับรู้ได้ไม่เท่ากัน เด็กฉลาดสอนนิดเดียวเข้าใจ เด็กไม่ฉลาดสอนยังไงก็ต้องใช้เวลาจนถึงไม่เข้าใจเลย แต่มีสิ่งนึงที่เด็กฉลาดและไม่ฉลาดสมารถรับรู้ได้เหมือนกัน คือ การรับรู้โดยใช้ร่างกาย ทางกายภาพหรือก็คือการปฎิบัติ แต่ลดเวลาเรียนผมว่าไม่ใช่ทางแก้ที่ถูก น่าจะเพิ่มเวลาในแต่ละวิชา แล้วลดจำนวนวิชาเรียนในแต่ละวัน แล้นเน้นให้ทุกวิชามีภาคปฎิบัติพร้อมๆไปกับการสอนทฤษฎี
เวลาเรียนแต่ละวิชานี่พูดยากนะครับว่าตรงไหนถึงจะเหมาะสม เพราะบางวิชาอัดไปแค่ครึ่งชั่วโมงสมองเริ่มไม่รับล่ะครับ ผมว่ามันอยู่ที่เทคนิคการสอนของอาจารย์ด้วย อาจารย์บางคนชอบที่จะพาออกนอกเรื่องบ้างหรือเอาเรื่องรอบตัวมาเล่าโดยเอาเนื้อหาวิชาที่สอนปนลงไปด้วย อันนี้ล่ะครับเด็กชอบเรียนไปเถอะสามชั่วโมงยังไม่บ่น แต่จะเจออาจารย์ที่สอนเก่งแบบนี้ก็น้อย ส่วนบางวิชาหลักอย่างเลข อังกฤษ ภาษาไทย อะไรแบบนี้ผมว่าชั่วโมงเดียวต้องพักแล้วล่ะครับ อีกอย่างวิชาไหนเรียนต่อจากพักเที่ยง ผมบอกเลยว่าลำบากครับ เพราะ.................เจอกับตัว ผมหลับตลอด 555+ ถ้าพักตอนเที่ยงแล้วเรียนสักบ่ายสองนี่น่าจะโอเค ให้เด็กได้งีบหรือทำอะไรให้พ้นช่วงย่อยหลังอาหารไปก่อน
กระทรวงเข้าใจมั๊ยครับว่าเด็กไปเรียนพิเศษเพื่ออะไร ไม่ใช่เพราะว่าเรียนในห้องไม่รู้เรื่อง แต่เพราะข้อสอบที่แข่งขันเข้าโรงเรียนที่ต้องการมันออกเกินความรู้ที่ได้ในชั้นเรียน อย่าถามต่อนะว่าทำไมต้องไปสอบแข่งกันเข้าโรงเรียนดังๆ
เอาจากประสบการณ์ ต้องผสมผสานกัน ส่วนนึงเรียนหนัก เข้มข้นในเนื้อหา เพื่อสร้างปัจจัยพื้นฐานทางความรู้ สัก 50% ส่วนนึงต้องส่งเสริมการเรียนผ่านการเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มและสืบค้นความรู้เอง หรือการจัดกลุ่มทำงาน เพียงแต่ไม่ใช่แค่ทำรายงาน แต่จัดเวลาจัดห้องเรียนให้นั่งเรียนกันเอง โต้เถียงกันเองแบบกลุ่ม ทำงานกันเป็นกลุ่ม หมดเวลาก็ส่งงานพร้อมการพรีเซ็นต์งานต่อหน้ากลุ่มอื่น พร้อมการดีเบตหรือถามตอบด้วยนักเรียนกันเอง ครูแค่เสริมในจุดที่เป็นทฤษฎีความรู้ แต่ไม่ใช่ผู้ตัดสินความสำเร็จของงาน มีระบบการ evaluate เพื่อนร่วมกลุ่ม ไม่ใช่แบ่งกลุ่มจ่ายงาน แล้วกลับบ้านไปทำงานมาส่ง สัก 35% อีกส่วนคือการทำกิจกรรม ทั้งกีฬา ดนตรี นั่น นี่ นู่น สัก 15%
รูปแบบการสอนหลายๆ รูปแบบ ล้วนมีจุดแข็ง จุดอ่อน ก็ต้องปรับประยุกต์เอา บางทีก็อดคิดไม่ได้ว่า ที่ร่ำเรียนกันทุกวันนี้ แข่งขันกันรุนแรงขนาดนี้ เราเรียนเพื่อความรู้ หรือเรียนเพื่อสอบ ?? เป็นค่านิยมที่ต่อเนื่องและส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่
ครูที่โรงเรียนลูกผมพูดไว้ให้คิดครับ วิชา ม.ต้น เรียนเพื่อเอาชีวิตรอดในสังคม วิชา ม.ปลาย เรียนเพื่ออนาคต ระบบบ้านเราเป็นระบบแพ้คัดออกครับ ส่งเสริมให้เด็กแข่งขัน
การสอบเป็นการวัดผล ก็ไม่รู้เหมือนกันว่ามีอะไรที่วัดผลได้ดีกว่าการสอบ แต่ผมมีข้อสังเกตุว่าการสอบบ้านเรามันตรงไปตรงมาเกินไป อย่างคณิตศาสตร์ ออกโจทย์มาเป็นสมการให้แก้ปัญหา บางทีอยากให้ออกข้อสอบแบบความเป็นจริงในชีวิต และแก้ปัญหาโดยใช้คณิตศาสตร์ อีกอย่างวิชาบางอย่างควรต้องสอนตั้งแต่เด็กๆ และสอนทุกชั้นปี เช่นเรื่องกฏหมาย การอยู่ร่วมกันในสังคม และเศรษฐศาสตร์ การออม การลงทุน การบัญชี เพราะถ้ามันซึมเข้าหัวแต่เด็กๆ ซึมเข้ามาบ่อยๆ บางทีสังคมอาจดีขึ้น เพราะคนมีความรู้พื้นฐานที่จะยังชีวิตได้ดีขึ้น เช่นเข้าใจเคารพกฏหมาย รู้จักสิทธิการอยู่ร่วมกัน การออมการลงทุนเพื่อให้มีใช้สอยยามขัดสนแก่เฒ่าชรา เป็นต้น
กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การบัญชี ความรู้บางอย่าง คนจบครูยังเอาตัวไม่รอด แล้วจะเอาใครมาสอนเด็ก แม้กระทั่งมารยาททางสังคม
มีรุ่นพี่คนหนึ่ง เป็นอาจารย์สอนนักศึกษาสายครูนี่แหละ เคยบอกว่า มารยาทสำคัญมากสำหรับคนที่เป็นครู ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้เด็กจำและทำตาม
เข้าใจครับ แต่เราสามารถออกแบบการสอนและการเรียนได้ อย่างที่ผมคิดคือ คนสอนก็สอนหลักพื้นฐานที่สำคัญๆ ต่อการใช้ชีวิต ซึ่งไม่มากเกินไปจนเกินความสามารถคนสอนและผู้รับ คนรับก็ถูกสอนจากคนสอนข้างต้น พร้อมวิธีการที่ต้องหาความรู้เพิ่มเติมเอง จากการทำงานกลุ่ม ทั้งจากเพื่อนร่วมกลุ่มที่ค้นคว้ามา และจากที่ตัวเองค้นคว้ามา ทั้งจากห้องสมุด อินเตอร์เน็ต เป็นต้น
อย่างที่ท่านพูดมา หลักสูตร ม.ต้นมีครับ แต่ที่เจอมาในการเรียนของลูก ครูจะพูดผ่านๆตามหนังสือแป๊ะ ไม่มีตัวอย่างประกอบ ไม่มีการอธิบายเพิ่มเติม เคยบอกครูเหมือนกันว่า ให้ช่วยสอนมั๊ย 555 ปัญหาอยู่ตรงหนายยยยยยย
บางที(ก็บ่อยอยู่นะ) ครูหลายคนไม่มีความรู้พอจะเสริมนี่สิ อีกพวกนี่หนักกว่าคือไม่สนใจจะสอน เป๊ะเลยครับ วิชาอื่นๆก็เป็นนะผมว่า วิทย์ก็ไม่น้อย อย่ายัดตำราเยอะนักเลย แบบเรียนทุกวันนี้ ทุกวิชาล้วนเนื้อหาอัดแน่นเปี่ยมล้นทั้งลึกและกว้าง ออกEditionใหม่อย่างถี่ รายนามคณะผู้แต่งยาวเหยียด ซื้อใหม่กันทั้งชาติทั้งตัวแบบเรียนและแบบฝึก ยิ่งชั้นเด็กเล็ก เด็กยังอ่านไม่ค่อยออก เนื้อหาจะมากไปไหน ผู้ปกครองเปิดดูแล้วยังแทบจะเขวี้ยงหนังสือทิ้งเลย ยัดๆเนื้อหาเข้าไปเพื่อให้ทันข้อสอบแข่งขัน ไอ้สอบแข่งขันก็คอยวิ่งหนีอยู่นั่นแหละ เอาอ.มหาลัยมาออกพี่แกก็บอกว่าไม่เกินซิ ไม่เกินปี1ไง (จริงๆแล้วเขาก็พูดถูกแหละ ปี1บ้านเราเนื้อหาพอกับ AS level หรือ IB ซึ่งเขาเรียนจบในไฮสคูล และเป็นวิชาเลือกแค่ไม่กี่ตัวตามสาขาที่ต้องการเรียนมหาลัย และม.ปลายบ้านเราเนื้อหาน้อยกว่านั้นมาแต่เดิมแล้ว แล้วยกไปเรียนในปี1ป.ตรีตามคณะนั้นๆ) แบ่งซอยจัดกลุ่มหมวดวิชากันเข้าไปซิ อย่างที่ทำกันอยู่ตลอดมาเนี่ย วิชาหลักวิชารองวิชาแกนจัดกันเข้าไป ตั้งแต่สมัยก่อนวิชาหลัก5ตัวคณิตไทยสังคมสุขศึกษาพละ เรียนสายวิทย์สอบตกพละไม่จบม.6 แต่ตกชีวะค้างไว้ไม่เป็นไร ไปเอนท์วิศวะ น้ำหนักคะแนนภาษาไทยสังคมการงานดนตรีฯลฯเพิ่มขึ้นอื้อ การบ้านงานส่งก็ตามมาเป็นพรวรทุกวิชา แล้วทั่นๆดันมาบ่นว่าเด็กไม่สนใจวิทย์ อ่อนวิทย์ ไม่ใช่ว่าวิชาทางศิลป์-สังคมไม่สำคัญนะครับ แต่ดูเนื้อหาที่ยัดให้ซิ มันเป็นความจริงหรือเหตุการณ์บ้านเมือง ให้ความรู้เข้าใจในโลกและสังคม หรืออิงตรรกะสอนให้คิดเป็นระบบไหม เปิดหนังสือมาเจอแต่ "นายXXXXทำYYYYในปีZZZZ" "เกิดเหตุการณ์บลาๆๆๆในปีนู้นนี้นั้น" แม้แต่วิชาพุทธศาสนาที่เนื้อหาแบ่บ[บ่นในใจว่าไหนธรรมะวะ] ยิ่งเจอข้อสอบอย่างผ้าปูโต๊ะให้แม่สีอะไร/ให้ฝรั่งสีอะไร หรือน้องนก(เทนนิส)ตีวอลลเลย์สูงระดับใด น้องนกจะเครียดในสถานการณ์ใด [2ข้อนี้น้องนกยังตอบผิด ไม่รู้จะพูดยังไงเลย] ดนตรีนาฎศิลป์ป.1หรือ2ไม่แน่ใจ โผล่มาบทแรกๆ เพลงอื่อจาคืออะไร? โทดทีครับ เด็กหลายคนยังอ่านคำนี้ไม่ออกนะครับ ยิ่งถ้ามองวิชาทางสังคมที่อิงกับโลกจริงอย่างพวกกฎหมาย เศรษฐ บัญชี ไม่เอาคนทางนี้มาร่วมสอน แล้วครูทั่วๆไปจะพาเด็กเดินถนนหรือเข้าป่าล่ะครับ สอบเอนท์ฟิสิกส์เคมีชีวะแต่เดิม3วิชา เดี๋ยวนี้จับรวมเป็นวิทย์ตัวเดียว เรียนแยกวิชาแต่ข้อสอบรวม3ตัวร้อย มาปีหลังๆเพิ่มวิชาธรณี-ดาราศาสตร์-อุตุ(3อันนี่รวมเป็น1วิชานะ) ยัดเข้าไปอีกเป็น4ตัวร้อย(นับจริงๆเป็น6ตัวร้อยด้วยซ้ำ) "อย่างคณิตศาสตร์ ออกโจทย์มาเป็นสมการให้แก้ปัญหา บางทีอยากให้ออกข้อสอบแบบความเป็นจริงในชีวิต และแก้ปัญหาโดยใช้คณิตศาสตร์" คงไม่ง่ายครับ แค่การคูณเลขธรรมดา รู้ไหมครับว่าสอนกันยังไง ส้ม 10 ผล ผลละ 5 บาท รวมราคาเป็นเท่าไหร่ >>> ให้นักเรียนเอาจำนวนไว้ข้างหน้า ราคาไว้ข้างหลัง >>> ผลxบาท = 10x5 = 50บาท >>> ถ้าตั้ง 5x10 จะกลายเป็น บาทxผล = ตอบ 50ผล >>> รู้สึกว่ามันตะหงิดใจไหมครับ >>> ที่สอนอย่างนี้ เขาว่า เพราะเด็กเล็กไม่เข้าใจ ว่าคำว่า"เท่าไหร่"จะต้องตอบหน่วยอะไร[ผลหรือบาท] จึงให้จำลำดับหน้าหลังไปใช้เลย >>> เออ แต่โจทย์ถามว่า "ราคาเท่าไหร่"นะ ตอนเด็กๆผมไม่งงอ้ะ สำคัญคือป.1-4 ต้องอ่านออกเขียนได้ คิดเลขง่ายๆเป็น ชั้นโตกว่านั้น เอาความอ่านออกเขียนได้คิดเลขง่ายเนี่ย เป็นต้นทุนไว้เอาตัวรอดและสร้างอนาคตต่อไป ครู ไม่คัด/ควบคุมให้ดีแต่แรก จะปรับทีก็ล็อคสเปค แล้วค่อยมาอ้างตั้งงบยกระดับๆๆพัฒนาๆๆโดยการประเมินๆๆๆๆ ทำขั้นๆๆๆๆๆ บางคนแค่สอนตัวเองตามเนื้อหาที่ส่วนกลางขยันปรับตำรา(จริงๆก็แค่สลับบทแล้วพิมพ์อิดิชั่นใหม่แหละ)ก็จะแย่แล้ว ต้องทุ่มเวลาไปประเมินเพื่อให้รอดอีก ตรวจเยี่ยมรร.ก็ขยันกันจริง เลี้ยงรับรอง เข้าแถวต้อนรับ เต็มที่เลยเพ่ แล้วใครตรวจครับ >>outsource (บ.ใครกันมั่ง?) โครงการรร.ในฝัน โครงการอย.น้อย โครงการบลาๆๆๆ แย่งกันลงชื่อเก็บพอร์ตเข้าไปซิ งานนอกนี่แหละที่ทำให้ทุกวันนี้เวลาก็หมดไปนอกห้องเรียนอยู่แล้ว ยังไม่ต้องอิงนโยบายใหม่หรอกครับ เรื่องวินัยและมารยาท ก็หวังจะเจอครูตามอุดมคติเยอะๆนะครับ แต่ในความจริงนี่ก็นับนิ้วเอาละกันครับ โดยเฉพาะผู้บริหารสถานศึกษา และโดยเฉพาะระดับรอง.หลายๆคนที่เหลือจะกล่าว (เห็นมีสอบได้ผอ.หลายคนแล้วด้วยอ้ะ อีก5ปีคง!@#$%&?กว่านี้) ผมว่าขอนโยบาย "คืนครูเข้าห้อง" ก่อนที่จะ "ปล่อยเด็กออกจากห้อง" เถอะครับ ธุรการรร.น่ะ ให้งบจ้างไปเถอะ อย่าเอาคนมากองไว้ส่วนกลางเยอะนัก ฝ่ายบริหารจะได้ไม่โตทับไลน์กัน จนองค์กรต้องแยกแท่งแตกหน่อกันบ่อยๆ อีกอย่างก็ แผนการสอน/สื่อการสอนดีๆจากส่วนกลาง ครูท่านไหนไม่สันทัดก็จะได้มีให้หยิบใช้หยิบปรับ ส่วนครูสันทัดเชี่ยวชาญอยากทำของตัวเองให้ดีเด็ดก็ยิ่งชื่นชมครับ ไม่ใช่มีงบให้ซื้อhardware แต่ยังไม่มีcontentที่คู่ควรให้ใช้งาน แบบคราวโครงการแท็บเลตน่ะครับน่ะครับ ตำราแบบเรียนน่ะไม่ต้องรีบออกใหม่บ่อยๆหรอกครับ เอาเครื่องช่วยสอนดีกว่า
ชอบเลยครับ คืนครูเข้าห้อง ก่อน ปล่อยเด็กออกจากห้อง ยกเลิกการประเมินบ้าบอนั่นซะด้วย ทำแล้วมีอะไรดีขึ้นมาบ้าง ประเมินผลงานที่ออกมาซะบ้างว่ามันทำลายระบบการเรียนในห้องขนาดไหน แล้วการส่งครูไปอบรม ช่วยทำตอนปิดเทอมไม่ใช่ตอนเปิดเทอมที่ครูต้องเข้าห้องสอนเด็ก
เคยคิดเล่นๆ ครับ ไม่อยากให้มีการแยกสายการเรียน ตั้งแต่ระดับชั้น ม4 หรอืไป ปวช ผมอยากให้ตั้งแต่อนุบาล ไปจนถึง ม 6 เรียนให้เหมือนๆ กันให้หมด อาจเพิ่มวิชาเสริม ที่หากเด็กสนใจ ก็ไปสมัครเรียนต่างหากได้ หมายความว่า เด็กจบ ม 6 ทุกคน สามารถเลือกเรียนสายวิชาอะไรก็ได้ ในระดับมหาวิทยาลัย ทีนี้ อยู่ที่เด็กเอง อยากเรียนหมอ ก็ต้องขยันเรียนมากตั้งแต่เด็ก หรืออาจลงวิชาเลือกเพิ่มเอาเอง ในยามที่คนอื่นเป็นคาบว่าง ผมว่า ระดับแค่จบ ม 3 ไม่น่าจะเป็นช่วงเวลาที่เด้กจะเลือกอนาคตของตัวเองได้ดี สมัยนี้ หากเด็กไม้แน่ใจว่ามีปัญญาเรียนสายวิทย์ อาจต้องเลือกสายศิลป์ หรือข้ามไป ปวช ทีนี้ เกิดช่วงระดับ ม ปลาย เด็กตั้งใจมากขึ้น แต่ก็ไม่สามารถตั้งใจเรียนเพื่อไปเป็นหมอ วิศวะ สถาปัตย์ได้อีกต่อไป ปวช ไม่ต้องพูดถึง สายอาชีพตั้งแต่เด็กจนจบ ผมว่า ระดับ ม 3 ที่จบแล้ว ต้องเลือกว่าจะไปทางไหน มันเป็นเรื่องยากและลึกซึ้งเกินกว่าเด็ก ม 3 จะเข้าใจตัวเองกันได้ทุกคน เราจึงเห็นเด็กเรียนตามเกรดที่ได้ เรียนตามเพื่อน หรือเรียนเพราะไม่มีปัญญาสอบเข้าที่ดีๆ ถึงระดับมหาวิทยาลัย ค่อยเลือกสาขาที่ต้องการ ค่อยมาเรียนพื้นฐานเอาใหม่ หรือไม่ ก็ปรับ ม ปลายเอาซักแค่ ม 5 แต่เรียนมหาวิทยาลัยเพิ่มเป็น 5 ปีแทน ส่วนเรื่องเวลาเรียน ผมไม่ค่อยเห็นด้วย ที่จะให้เด็กลดชั่วโมงที่โรงเรียน เพระาธรรมชาติของเด็ก ผมเชื่อว่า น้อยคนที่จะตรงกลับบ้านตั้งแต่บ่าย 2 เด้กขยัน ก็ตรงไปเรียนพิเศษเพิ่มอีกซักวิชา เด็กเกเร ก็คงไปเดินห้าง เพราะพ่อแม่ยังไม่กลับบ้าน อาจเว่นเด็กต่างจังหวัดบางพื้นที่ที่อาจทำได้ แต่ไม่ใช่ทุกจังหวัดแน่ๆ เป็นไปได้ ผมอยากเสนอให้เพิ่มเวลาด้วยซ้ำ หากเลื่อนให้เด็กเลิกเรียน 4.30-5.00 ผสมกับลดชั่วโมงเรียน ให้เด็กมีคาบว่างเยอะขึ้น อาจมีหลักสูตรพิเศษ วิชาพิเศษ ให้เด้กสมัครเรียนเอาเองยามคาบว่าง หรือไม่ ก็ปล่อยให้เด็กได้ทำกิจกรรมของวัยเด้กได้เยอะๆ อาจมีเล่นดนตรี เตะบอล ติวหนังสือ ทำการบ้าน ก็ดีกว่าปล่อยไปเที่ยวเตร่ มั่วสุมข้างนอก ผมอาจจะคิดจากความเป็นคนรุ่นเก่า เด็กเรียนหมอ วาดรูปไม่เป็น เด้กเรียนศิลป์ ภาษาอังกฤษและเลขห่วยแตก นี่ก็น่าจะชี้วัดว่าพื้นฐานของเรา ก่อนที่จะแตกแขนงออกไป ยังไม่แน่น เราจบออกไป ก็เป็นได้แต่เพียงฟันเฟืองตัวนึงในสังคม ที่เมื่อชำรุด โรงงานก็แค่ถอดตัวเก่า ยัดตัวใหม่ใส่มาแทน เครื่องจักรก็หมุนต่อไป มันเป็นสิ่งดีต่อระบบเศรษฐกิจและการงาน แต่ตัวเราล่ะครับ ค่าเราเป็นได้แค่ฟันเฟืองตัวเล้กๆ แต่หากเรามีความรอบรู้เพียงพอ คุณหมอ ก็สามารถสอนการบ้านวิชาศิลปะของลูกได้ นักเรียนช่าง หรือสายอาชีพ สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดี เมื่ออกไปทำงานหรือหาความรู้ในอินเตอร์เนต (สมัยผมทำงานใหม่ๆ จะหาหนังสือการใช้โปรแกรมสายกราฟฟิกดีไซน์ มีแต่ในเนตที่เป็นภาษาอังกฤษ ไม่มีคู่มือเล่มหนาๆ เหมือนสมัยนี้เลยด้วยซ้ำ) ผมว่า แค่เรื่องเล้กๆ แค่นี้ ก้เป็นเครื่องวัดได้แล้ว ถึงความล้มเหลวที่ผ่านมาของการศึกษา (ถ้าใครได้เรียน ปวช สายอาชีพบางสาขา จะเข้าใจที่ผมพูดครับ)