ทั้งหน้าเก่าหน้าไหม่ ทั้งพรรคในอดีตที่เคยแข่งขันกัน กลับมาจูปปากกันได้ แต่อันนี้ขอบอกว่า"อุทัย"คิดผิด (ขอคัดเอามาบางตอนนะครับ) ----------------------------------------------------------------------------------- “อุทัย” ให้ฉายา ร่าง รธน.มีชัย "ฉบับใส่หมวก” โดย ไทยรัฐออนไลน์ 30 ม.ค. 2559 17:18 “อุทัย” ให้ฉายาร่าง รธน.มีชัย "ฉบับใส่หมวก” ชี้ ปกปิดหลายอย่าง แนะ “บิ๊กตู่” ทำตามโรดแม็ป เร่งให้เลือกตั้ง ยัน เป็นทางแก้ปัญหาประเทศ-ปรองดองดีสุด หนุนแนวคิด เลือกนายกฯ ทางตรง เมื่อวันที่ 30 ม.ค. ที่โรงแรมรามาการ์เดนส์ นายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานรัฐสภา ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” นายอุทัย กล่าวอีกว่า การปกครองระบอบประชาธิปไตย ต้องเป็นไปตามหลักการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ต้องเป็นไปตามหลักการนี้ หากผิดหลักก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย จะเป็นการปกครองแบบโดยประยุทธ์ (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) เพื่อประชาชนก็ไม่ได้ แต่ท่านก็ยอมรับแล้วว่า ไม่ได้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แต่อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน รอให้มีการเลือกตั้ง แต่จะเลือกเมื่อไหร่ก็ยังไม่รู้ เพราะมีการเลื่อนไปเรื่อยๆ โดยการเป็นผู้นำที่ดีตามหลักพุทธศาสนา นั้น สามารถนำมาจับกับการเมืองได้ คือ 1.ความกล้าหาญ 2.มีประสบการณ์ 3.รู้มาก ฟังมาก เห็นมาก 4.ความอดทน โดยเฉพาะความอดทนกับประชาชน ถึงแม้จะโดนด่าก็ต้องทนฟัง อย่าง พล.อ.ประยุทธ์ เป็นคนเก่งแต่บางทีความอดทนไม่มี และ 5.ปัญญา คือ ต้องเป็นคนฉลาด ซึ่งหากเห็นตามนี้แล้วจึงชัดเจนว่า การคัดเลือกผู้นำจะต้องมาจากการเลือกตั้ง แต่หากบอกว่า มาด้วยความจำเป็นก็ต้องรีบไปเร็วๆ http://www.thairath.co.th/content/570463 ------------------------------------------------------------------------------------------ อยากให้นายอุทัย พิมพ์คำว่า"อีโง่" ในกูเกิล แล้วจะรู้ว่าผิดยังไง และนายกที่มาจากการเลือกตั้งครั้งล่าสุด มีคุณสมบัติตรง ตามที่นายอุทัยพูดกี่ข้อ และนายอุทัยมีทางแก้ได้ไหม
คนร่างรธน.เห็นประชาชนเห็น แต่นักการเมืองไม่เคยเห็น ที่บอกว่าไม่เห็น เพราะไม่เคยคิดจะแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจัง ----------------------------------------------------------------------- เมื่อวันที่ 30 ม.ค. เวลา 09.30 น. ที่รัฐสภา สมาคมติดตามการพัฒนาสตรีในประเทศไทย (ตพส.ไทย) จัดงาน เวทีระดับชาติ ขบวนการผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย ครั้งที่ 1 “รัฐธรรมนูญ:การปฏิรูปประเทศ และการมีส่วนร่วมของประชาชน” โดยนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวปาฐกถานำตอนหนึ่งว่า เวลาเราทำร่างรัฐธรรมนูญ เราจะมองภาพรวม โดยเฉพาะภาพของประเทศในอดีตว่า เกิดปัญหาอะไร ทำไมบ้านเมืองถึงวุ่นว่าย และเราได้เหตุผลมา 3 ข้อ คือ 1. คนของเราขาดการรับผิดชอบต่อหน้าที่ ขาดวินัย นึกถึงแต่สิทธิว่าทำอะไรได้บ้าง แต่ไม่มีความรับผิดชอบ 2. การบังคับใช้กฎหมายขาดความเข้มงวดกวดขัน คนทำผิดกันมาก ตำรวจจับไม่ไหว แต่ตำรวจเองก็มีปัญหาทำตามหน้าที่ของตัวเองไม่ได้ ต้องทำตามคำสั่งใครก็ไม่รู้ มีผู้มีอิทธิพลเหนือตำรวจ เพราะคุณธรรมการทำงานขาดโดยสิ้นเชิง การแต่งตั้งไม่ได้เกิดจากความสามารถ แต่เกิดจากการวิ่งเต้น เพราะฉะนั้นการบังคับใช้กฎหมายก็หย่อนยาน นั่นนำไปสู่ปัญหาของประเทศ และ 3. การทุจริต เมื่อทุกคนไม่มีวินัย การบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นผล การทุจริตก็มากขึ้น หากยังปล่อยไว้อีกไม่เกิน 10 ปี ประเทศไทยคงหมดตัว 3 เรื่องนี้ ถ้าแก้ได้ประเทศเราจะพัฒนาอย่างแน่นอน http://www.thairath.co.th/content/570468
นายอุทัย กล่าวอีกว่า การปกครองระบอบประชาธิปไตย ต้องเป็นไปตามหลักการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ต้องเป็นไปตามหลักการนี้ หากผิดหลักก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย จะเป็นการปกครองแบบโดยประยุทธ์ (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) เพื่อประชาชนก็ไม่ได้ แต่ท่านก็ยอมรับแล้วว่า ไม่ได้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แต่อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน รอให้มีการเลือกตั้ง แต่จะเลือกเมื่อไหร่ก็ยังไม่รู้ เพราะมีการเลื่อนไปเรื่อยๆ โดยการเป็นผู้นำที่ดีตามหลักพุทธศาสนา นั้น สามารถนำมาจับกับการเมืองได้ คือ 1.ความกล้าหาญ 2.มีประสบการณ์ 3.รู้มาก ฟังมาก เห็นมาก 4.ความอดทน โดยเฉพาะความอดทนกับประชาชน ถึงแม้จะโดนด่าก็ต้องทนฟัง อย่าง พล.อ.ประยุทธ์ เป็นคนเก่งแต่บางทีความอดทนไม่มี และ 5.ปัญญา คือ ต้องเป็นคนฉลาด ซึ่งหากเห็นตามนี้แล้วจึงชัดเจนว่า การคัดเลือกผู้นำจะต้องมาจากการเลือกตั้ง แต่หากบอกว่า มาด้วยความจำเป็นก็ต้องรีบไปเร็วๆ http://www.thairath.co.th/content/570463 เห ไงกันนี่ ท่านอุทัย 1.ความกล้าหาญ ก็ทหารชัวร์ 2.มีประสบการณ์ ก็ทหารอะซิ ทั้งฝีกหหนักทั้งปฏิบัติจริงถึงแลกชีวิต 3.รู้มาก ฟังมาก เห็นมาก ก็ทหารแน่นอน แต่ละท่านเป็นอยู่มานานยังกะพระ 4.ความอดทน ก็ทหารป๊าด อดทนโค็ด และ 5.ปัญญา คือ ต้องเป็นคนฉลาด ก็ทหารอีกแหละ โดยอย่างยิ่งท่านป. นับแค่นาทีเดียวประโยคเดียว ............นาทีนี้ผมยึด................ง่ายมั้ยอะ เอาแบบนี้จริงเหรอครับ ท่านอุทัย
ผมว่าตะแกมั่วไปเรื่อยอะครับ หาสาระที่เป็นประโยชน์จริงจังไม่ได้ อยากเป็น"วีรบุรุษประชาธิปไตย" อ้าปากก็เลือกตั้ง หุบปากก็เลือกตั้ง แต่ไม่เคยมองบริบทของประเทศไทย และไม่เคยมองบริบทของโลก ว่าตัวแม่ปชต.ทั้งหลายนั่นแหละ ที่นำพาโลกให้รบพุ่งกันวุ่นวาย แถมยังเป็นตัวทำลายความสมดุลของธรรมชาติอย่างรุนแรง
เปลว สีเงิน บอกว่าที่ค้านกันเพราะ ยากตั้ง 5 อย่าง ง่าย แค่อย่างเดียว ------------------------------------------------------------------------ ผมดูคร่าวๆ แล้ว ที่เขาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับมีชัย -แก้ยาก -โกงยาก -ฝังรากยาก -ผสมพันธุ์ยาก -ผันงบกินยาก ที่ง่ายก็มี.... -ติดคุกง่าย -------------------------------------------------------------------------------- และกลัวดันตัวประหลาด เป็นนายกไม่ได้ -------------------------------------------------------------------------------- ประเด็น "นายกฯ คนนอก" มันเฉไฉยกมาระบายสีให้เข้าใจว่า เป็นการเปิดช่องให้ คสช.สืบต่ออำนาจ เขาให้แต่ละพรรค "เสนอ ๓ ชื่อ" ว่าจะเอาใครเป็นนายกฯ ถ้าได้เป็นรัฐบาล นั่น เท่ากับบอกให้ชาวบ้านรู้ตัวนายกฯ ล่วงหน้า และเท่ากับ "เลือกตั้งนายกฯ" โดยปริยาย "ตัดสินใจเลือกพรรค-เลือกคน" ได้ง่ายกว่าเดิม แต่แหม...ให้เปิดไต๋ก่อนแบบนี้ มันน่าเจ็บใจ เพราะแผนแอบดัน "ขี้ยา" เป็นนายกฯ พังหมดเลย! http://www.thaipost.net/?q=รัฐธรรมนูญ-ยิ่งคว่ำ-กลับ-ยิ่งหงาย
มันลืมไปแล้ว ว่าพรรคของมันเป็นไงบ้าง --------------------------------------------------------------------------- วันนี้(30ม.ค.)นายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัว กรณีร่างรัฐธรรมนูญเบื้องต้นว่า เลวร้ายกว่าที่คิด เห็นร่างรัฐธรรมนูญเบื้องต้นแล้วพบว่าเนื้อหาที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ก่อนหน้านี้มีอยู่ครบถ้วนและยังมีเนื้อหาส่วนที่ไม่เคยเปิดเผยมาก่อนเพิ่มเติมขึ้นมาอีกทำให้ร่างรัฐธรรมนูญนี้ยิ่งเลวร้ายมากยิ่งขึ้น ร่างรัฐธรรมนูญนี้ทำให้อำนาจอธิปไตยไม่เป็นของปวงชนชาวไทย แต่อำนาจทั้งหลายอยู่กับองค์กรและกลุ่มบุคคลที่ไม่ได้มาจากประชาชนและไม่มีความเชื่อมโยงกับประชาชน เช่น วุฒิสภา องค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนุญ ซึ่งประชาชนตรวจสอบไม่ได้ เป็นการทำลายระบบตรวจสอบ ถ่วงดุลอย่างสิ้นเชิง http://www.thaipost.net/?q=อ๋อยมาแล้วชำแหละร่างรธนไม่เป็นนิติรัฐ-ไร้หลักนิติธรรม ----------------------------------------------------------------------------------------------------- ย้อนของเก่ามาเตือนความจำ ------------------------------------------------------------------------------------------------------ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ "ข่าว 3 มิติ" เมื่อช่วงกลางดึก วันที่ 3 ก.ค.54 'แม้ว'ชี้ชัดรบ.4พรรค+งูเห่า300ขึ้น 'แม้ว' ยัน ตั้งรบ. 4 พรรค ขณะที่ พท. เล็งตั้งรัฐบาลผสม 4 พรรค+งูเห่า 300 เสียงขึ้น http://www.komchadluek.net/detail/20110704/102124/แม้วชี้ชัดรบ.4พรรค+งูเห่า300ขึ้น.html ----------------------------------------------------------------------------------------------------------- ซากไดโนเสาระบอบทักษิณ สมศักดิ์-นิคม ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 6 ต่อ 3 เห็นว่า การดำเนินการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญฯว่าด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)เป็นการกระทำที่ไม่ชอบ ขัดมาตรา 68 วรรค 1 และวินิจฉัยด้วยเสียงข้างมาก 5 ต่อ 4 ว่า เนื้อความที่เป็นหลักการสำคัญ ขัดแย้งต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืน มาตรา 68 วรรคหนึ่ง ในคำอธิบายของศาล ประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือ การแก้รัฐธรรมนูญกรณีดังกล่าวถือเป็นการทำลายระบบ ทำให้หลักการตรวจสอบและถ่วงดุลสูญเสีย ฝ่ายการเมืองสามารถมีอำนาจควบคุมรัฐสภาได้ "การใช้อำนาจต้องใช้อำนาจตามหลักนิติธรรมด้วย ไม่ใช่ทำตามหลักเสียงข้างมากเท่านั้น ... ต้องมีมาตรการป้องกันการใช้อำนาจบิดเบือนของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่มาใช้อำนาจอธิปไตยของ ปวงชนไม่ใช่จะใช้อำนาจอย่างอำเภอใจได้ เพราะจะพาประเทศชาติเสื่อมโทรมลง ..." อย่างไรก็ตามนี่นับเป็นผลงานของ สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานรัฐสภา กับพรรคพวก ก็คือบรรดา ส.ส.และส.ว.ที่ก่อการเรื่องนี้รวม 312 คน สภาบนยุคยิ่งลักษณ์ตกต่ำ-ไม่ต่างสภาทาสยุครัฐบาลทักษิณ http://www.naewna.com/politic/columnist/9720 ---------------------------------------------------------------------------------------- กรณีแบบนี้ อ๋อยเคยโวยวายบ้างไหมฯ
ชื่อคุ้นมาก แต่ต้องกลับไปค้นว่าแกเป็นประธานสภาฯ สมัยรัฐบาลใคร ก็เจอแล้ว แกเป็นประธานสภาฯ สมัยรัฐบาล ม.ร.ว. เสนีย์ และสมัยรัฐบาลทักษิณ อย่าโลกสวย และอัพเดทสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบันบ้าง นักการเมืองต้องมีความอดทน แต่ความอดทนคนละอย่างกับหน้าด้าน ขนาดรัฐบาลเลือกตั้ง ประชาชนขับไล่ทั่วบ้านทั่วเมืองยังไม่ไป นักการเมืองก็อาศัยการเลือกตั้งเป็นเครื่องมือฟอกตัว ด้วยนโยบายเลี้ยงไข้ปัญหาแลกคะแนนเสียง ผู้ัมีสิทธิเลือกตั้งก็ยังขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตย ฯลฯ ถ้าประชาธิปไตยเป็นแค่การเลือกตั้ง เกาหลีเหนือก็เข้าข่ายนะ
กทม. 30 ม.ค. – เสียงสะท้อนจากหลายฝ่าย หลังร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกได้รับการเผยแพร่ คือข้อเป็นห่วงถึงผลของการทำประชามติ ทันที่ที่ร่างแรกของรัฐธรรมนูญ 270 มาตรา ฉบับที่เขียนโดยนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ถูกเผยแพร่อย่างเป็นทางการต่อสาธารณชน เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาจากหลายฝ่าย ส่วนใหญ่มุ่งเป้าโจมตีสิ่งที่ กรธ.เรียกว่าเป็นนวัตกรรม ซึ่งจะนำมาแก้ปัญหาความขัดแย้ง กันคนไม่ดีเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมือง และป้องกันการทุจริต ปฏิกิริยาเหล่านี้ถูกมองสะท้อนไปถึงขั้นตอนการทำประชามติ อดีตคณะกรรมาธิการร่างยกร่างรัฐธรรมนูญแสดงความเป็นห่วงเกี่ยวบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ฉบับนี้ถูกตัดทอนและลดลงจากฉบับปี 40 และ 50 ซึ่งที่ผ่านมาประชาชนตื่นตัวมากกับเรื่องนี้ หาก กรธ.ยังไม่ปรับแก้จะส่งผลต่อการทำประชามติแน่นอน ขณะที่ 2 พรรคการเมืองใหญ่อย่างเพื่อไทยและประชาธิปัตย์ ต่างเห็นตรงกันว่า กรธ.มีอคติกับนักการเมือง จึงทำให้รัฐธรรมนูญมีข้อบกพร่องในหลายส่วน โดยเฉพาะโครงสร้างการเมือง การได้มาซึ่งส.ส.-ส.ว. และนายกรัฐมนตรี รวมถึงมีกลไกซ่อนรูปให้อำนาจองค์กรอิสระทำให้รัฐบาลอ่อนแอ และมีการเปิดช่องใช้อำนาจพิเศษ ลิดรอนสิทธิประชน เชื่อว่าสุดท้ายแล้วร่างนี้จะไม่ผ่านการทำประชามติ นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความเห็นต่อร่างแรกของรัฐธรรมนูญเท่านั้น 15 วันต่อจากนี้ คือการเปิดรับฟังความคิดเห็น ร่างรัฐธรรมนูญถูกส่งไปยังแม่น้ำ 4 สาย องค์กรอิสระ หน่วยงานเกี่ยวข้องและพรรคการเมือง ไม่เพียงเท่านี้ กรธ.ยังลงพื้นที่เปิดเวทีอธิบายชี้แจงกับประชาชน ก่อนจะปรับแก้ไขอีกครั้ง เพื่อให้กฎหมายสูงสุดของประเทศเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนจะต้องศึกษารัฐธรรมนูญ เพื่อให้เข้าใจหลักการสำคัญ ก่อนจะพิจารณาว่ารัฐธรรมนูญนี้เหมาะสมกับประเทศไทยหรือไม่ เมื่อถึงเวลาที่ต้องไปลงเสียงประชามติ. – สำนักข่าวไทย
ความเห็นเหมือนฉบับที่แล้วครับ หากนักการเมืองว่า เลวร้าย แสดงว่า สิ่งนั้นดีกับประชาชน อ่านข่าวผ่านๆ ว่า ลุงตู่ตอบนักข่าวถึงเรื่องที่นักการเมืองคัดค้าน รธน.ฉบับนี้ว่า นักการเมืองมันมีกี่คน (เมื่อเทียบกับประชาชน)
http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9590000010774 รสนายังออกมาค้านเลย ถึงขนาดด่าว่าเลวกว่าทักษิณ ผมอ่านไปอ่านมา มีเหตุผลเดียวคือ อยากตั้งองค์กรอิสระผู้บริโภคเพิ่ม #และมันคงแฝงด้วยความโกรธที่งบ สสส. โดนตัด
ถ้าร่างแบบกรองชั้นนึงแล้วจับพวกนี้มาร่อนตะแกรงให้หนักที่สำคัญแก้ยาก ต้องเสียงประชาชนและศาลให้แก้ คำเดียว "รับ" ไม่สนพวกโลกสวยตัวพ่อในพรรคเก่าแก่เหมือนกัน
อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ เพราะมันเชื่อว่าเลือกตั้งโดยใช้กติกาเดิม มันก็ยังหลอกสาวกเหล่าเสื้อแดง ได้เหมือนเดิม รธน.ที่จะได้ ก็พาชาติล่มจมเหมือนเดิม ------------------------------------------------------------------------------------------- 'เต้น' แนะ รัฐงัด รธน.40 ตั้ง สสร.ยกร่างฯ ทำประชามติ จัด ลต.ปีนี้ โดย ไทยรัฐออนไลน์ 27 ม.ค. 2559 21:44 "ณัฐวุฒิ" แนะ รบ.งัดรัฐธรรมนูญปี 40 ให้มีเลือกตั้งปี 59 มีบทเฉพาะกาลให้รัฐสภาตั้ง "สสร." ยกร่าง รธน. พร้อมลงประชามติให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี http://www.thairath.co.th/content/569070
ถึงพรรคการเมือง ถ้าพวกเมรึงไม่พอใจ ก็เชิญออกมาชุมนุมเถอะ จะจัดแบบเสื้อแดงที่อักษะ หรือ กปปส เดินรณรงค์ตามถนน ก็เอาที่สบายใจเลย แต่อย่าระดมมวลชนออกมาเดือดร้อนแทนพวกเมรึง จะได้รู้ว่าออกมาประท้วงมันไม่ได้สบายเหมือนตอนพวกเมรึงเป็นอีแอบอยู่ข้างหลัง แล้วถ้าโดนล้อมปราบ โดนแกสน้ำตาก็สู้เอาเองนะ ยอมเจ็บ ยอมปวด ยอมร้อน เพื่อประชาธิปไตยที่พวกเมรึงรักหนักหนา ประชาชนอย่างพวกกรูขอเอาใจช่วยพวกเมรึงอยู่ในห้องเปิดแอร์ที่บ้าน
ร่างรัฐธรรมนูญทีนึง ถ้านักการเมืองเดือดร้อน แต่ประชาชนชอบใจ แสดงว่าเนื้อหาที่เขียนต้องมีอะไรน่าสนใจ ให้คิด อีกมาก ดูว่านักการเมืองเดือดร้อนตรงไหน และประชาชนชอบใจตรงไหน
มีอยู่ข้อหนึ่งที่นักการเมืองเห็นตรงกันและพากันต่อต้านคือ "จะทำให้รัฐบาลอ่อนแอ" แต่ในความเป็นจริง ***เราเคยมีรัฐบาลที่เข้มแข็ง มีเสียงข้างมากจน ฝ่ายค้านแทบทำอะไรไม่ได้เลย แต่ผลที่ออกมาคือ มันโกงกันระเบิดเถิดเทิง ***รัฐบาลที่อ่อนแอส่วนใหญ่ไม่ใช่เกิดจากรธน. แต่เกิดจาก การแย่งชิง-ต่อรองผลประโยชน์กันแล้ว หารกันไม่ลงตัว นักการเมืองเลยรบกันเองจนอยู่ไม่ได้ ***รัฐบาลที่ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตรวจสอบแล้วก็ไม่มีความผิด องค์กรอิสระต่างๆ จะทำให้ล้มได้ไง ***การเลือกตั้งใหม่ใช้เงินไม่กี่พันล้าน แต่รัฐบาลโกง มันเล่นกันเป็นหมื่นเป็นแสนล้าน แล้วเราจะกลัวทำไม ถ้าล้มรัฐบาลโกงเพื่อเลือกตั้งใหม่
“คุณปู่” นายพิชัย รัตตกุล อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ทีมข่าวการเมือง เนื้อหาขัดกันเองพิกล ---------------------------------------------------------------------------------------- ***อยากเห็นรัฐธรรมนูญมีหัวใจเป็นประชาธิปไตย เน้นในเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนและให้ประชาชนมีส่วน มีบทบาทในการปกครองการพัฒนาบ้านเมือง และโครงสร้างของรัฐธรรมนูญควรเขียนให้ชัดเจนว่า ความยุติธรรมไม่เป็นสองมาตรฐาน เป้าหมายแบบนี้สามารถกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญได้ ***ฉะนั้นขอให้นายอภิสิทธิ์จัดเตรียมคุกดีๆ มีแอร์ เพื่อเตรียมรอรับนายทักษิณ และผมจะติดคุกเป็นเพื่อนนายทักษิณด้วย และขั้นต่อไปเมื่อมีโอกาสที่จะขอพระราชทานอภัยโทษ เพราะขั้นตอนต่างๆได้ปรึกษาหารือผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไว้หมดแล้ว http://www.thairath.co.th/content/567256
อยากบอกว่า คนไทยก็ไม่อยากให้ประเทศไทย เป็นเนื้อบนเขียง ให้พวกขี้โกงเข้ามารุมแทะ -------------------------------------------------------------------------------- 'นพดล'แนะ'มีชัย' อย่าใช้ประเทศเป็นหนูลองยา http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/685017
เคยเป็นประธานสภาร่างรธน.ปี 40 ด้วยครับ โดยรธน.ฉบับนี้ตั้งโจทย์ให้ประชาชนเป็นใหญ่ พยายามให้การเลือกตั้งเป็นเรื่องสำคัญ ในที่สุดก็ได้นายกโครตโกง ทำลายหลักการประชาธิปไตยมากที่สุด ควบคุมอำนาจเบ็ดเสร็จ แล้วเป็นไง ใช้วิธีขับไล่ตามระบบรัฐสภาก็ไม่ได้ นายอุทัยก็เคยผ่านเรื่องนี้มา แต่ก็ยังไม่เข็ด ไม่เคยเอาบทเรียนในอดีตมาปรับเปลี่ยนความคิด ----------------------------------------------------------------------------- ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 นายอุทัยได้รับเลือกให้เป็น ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ในปี พ.ศ. 2544 เมื่อพรรคไทยรักไทยได้รับเสียงข้างมากในการเลือกตั้ง นายอุทัยก็ได้ย้ายตัวเองเข้าสังกัด พรรคไทยรักไทย ได้ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาในการขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ท้องสนามหลวง นายอุทัยได้ขึ้นปราศรัยบนเวทีขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วย https://th.wikipedia.org/wiki/อุทัย_พิมพ์ใจชน
ข้อ 1. ลุงตู่มี เพราะกล้าที่จะรัฐประหาร เอาตัวเข้าเสี่ยง เพื่อปกป้องชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ข้อ 2. ลุงตู่มี เพราะลุงตู่เป็นอดีตผบ.ทบ. ต้องบริหารองค์กรขนาดใหญ่มาแล้ว ข้อ 3. ลุงตู่มี ลุงตู่ศึกษารอบด้าน ฟังทุกความเห็น ไม่งั้น ลุงตู่จัดม.44 แบบเต็มไปนานแล้ว ข้อ 4. ลุงตู่มี ถึงแม้จะรั่วไปหน่อย แต่ด้วยภาพของลุงตู่ ควรต้องเข้าใจว่า ลุงตู่เป็นทหาร ต้องเข้มเป็นปกติ ข้อ 5. ลุงตู่มี ถึงแม้จะไม่ได้เลือกตั้ง เพราะจัดการพวกป่วนเมืองได้ ดูแลบ้านเมืองได้ และเลือกตั้งไม่ได้คนฉลาดเสมอไป เพราะคนเลือกโง่ๆแบบนายเวร หรือ ควายแอ๊บกลาง มันมีเยอะ ดูอีปูบ้าง ข้อ 1. อีปูไม่มี เพราะแค่เห็นกปปส.มากัยเยอะ นางก็เข่าอ่อนแล้ว บีบน้ำตาดราม่าโคตรเก่ง หนีคำถามในที่ประชุมสภาบ่อยๆ ข้อ 2. อีปูมี แต่อาศัยบารมีพี่ชาย แต่ประสบการณ์ทางการเมืองไม่มี ข้อ 3. อีปูไม่มี เพราะถ้ามี นางจะไม่หลุด จังหวัดหาดใหญ่ ประเทศซิดนีย์ โอเวอร์คัม ออกมา ข้อ 4. อีปูไม่มี เพราะแอบได้ข่าวว่า นางกลับไปวีนที่บ้านบ่อยๆ ยิ่งภาพด่าสุรนันท์ออกสู่นี่ยิ่งชัดเจน ภาพที่ออกมาเป็นองครักษ์พิทักษ์อีโง่ออกมาช่วยกันและนางหนีประชุมบ่อยๆ ถึงเวลก็อ่านแต่โพย ภาพเลยดูว่าว่า ไม่ตอบโต้ใคร ข้อ 5. อีปูไม่มี ด้วยเหตุผลข้อสาม ความรู้พื้นฐานก็ไม่หา นี่เป็นข้อพิสูจน์ว่า เลือกตั้งไม่ได้คนดีและคนเก่งเสมอไป เพราะอยู่ที่คุณภาพประชากรด้วย
เชื่อเหอะ ถึงเวลาเลือกตั้ง เพื่อควายก็จะกลับมาอีก เผลอๆ อิปรูได้เป็น นาโย๊ะอีกรอบ แมงสาบก็อาศัยอะไรไม่ได้ เจอไอ้แป๊ะโนโหวตก็ไปไม่เป็นแล้ว ควายเริงร่า คนไทยรับกรรม ไอ้ที่มันโวยวายอยู่เนี่ย เพราะโกงยาก แถมความผิดรุนแรง มันไม่ได้เห็นหัวคนไทยดอก
เป็นรัฐธรรมนูญที่นักการเมืองว่ากันว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด แต่ผลจากการใช้จริง พบว่าเป็นฉบับโลกสวยที่นักการเมืองปู้ยี่ปู้ยำจนเสีย
สิ่งสำคัญที่สุด คือ การผจญความเสี่ยงกับผู้นำในอนาคตที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน เริ่มต้นจากการที่ ประชาชน แล้ว ประชาชนก็เลือกตัวแทน ผู้นำการเมืองท้องถิ่น ผู้นำการเมืองท้องถิ่น อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ข้าราชการประจำ ข้าราชการประจำ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ข้าราชการการเมือง ข้าราชการการเมือง อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ นายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ รัฐสภา แล้วรัฐสภาก็ยึดโยงอยู่ภายใต้ประชาชน วน loop กันไปเรื่อย ๆ เช่นนี้ เนื่องจาก นายกรัฐมนตรี ในกฎหมายรัฐธรรมเดิม กำหนดไว้ว่าต้อง เป็น สส นั่นเท่ากับว่า นายกรัฐมนตรี ต้องผ่านหม้อกรองของการเป็นตัวแทนประชาชนเข้าไปในสภาให้ได้ก่อน ถึงจะไปดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดฝ่ายบริหาร นั่นคือเรามีหม้อกรอง 2 อัน คือ ประชาชนและรัฐสภา แต่อยู่มาวันหนึ่ง หม้อกรองนี้เหลือเพียงอันเดียว หลายคนบอกว่านักการเมืองเป็นองค์กรที่ห่วย ทำมาหากิน ผมเองก็ไม่เข้าใจว่าแล้วทำไมหลายคนถึงยัง มั่นใจที่จะใช้ไอ้หม้อกรองห่วย ๆ ที่หลายท่านว่ามานี้อยู่ เพียงอันเดียว
กุก็เห็นหม้อกรองที่มรึงว่าดีนักดีหนา ก็ได้ตระกูลเอ๊ยๆ เข้ามาครองประเทศเป็นสิบๆ ปี ซื้ิอแม่มหมดทั้ง สส.เข้าพรรค ทั้ง สว. องค์กรอิสระ ฯลฯ ชิบหายไปไม่รู้จะว่ายังไงแล้ว ไม่เห็นพูดถึงบ้างล่ะไอ้กลวงไข่กลาง
ขี้ข้าก็คือขี้ข้า ถึงมีความรู้ความสามารถมากขนาดไหน มันก็เอาความเก่ง ความรู้นั้นเพื่อรับใช้นาย ไม่ใช่เพื่อตอบแทนคุณแผ่นดิน และสื่อก็แปลก ดันชอบไปถามความเห็นไอ้พวกนี้แหละ เพื่อชี้นำสังคมให้คิดวิปริตไปตามมัน --------------------------------------------------------------------------- การเมืองต้านร่างรัฐธรรมนูญ“มีชัย”สุดลิ่ม : ปล่อยผ่านชาติพัง! โดย ทีมข่าวการเมือง 1 ก.พ. 2559 05:01 ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้สมควรจะถูกคว่ำ” ถ้อยคำสำนวนที่ นายภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ย้ำหัวหมุดผ่าน ทีมข่าวการเมือง หลังร่างรัฐธรรมนูญฉบับของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ซึ่งมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน ยกร่างเสร็จมีทั้งหมด 270 มาตรา เปิดโฉมหน้าต่อสาธารณะ ฉะนั้นในช่วงเวลาที่ยังมีอยู่ ขอให้นายมีชัยและ กรธ.อย่าไปสร้างสิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์ มันจะมีผลต่อประเทศอย่างมหาศาล ขอให้ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงร่างรัฐธรรมนูญออกมาให้ดี มีหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย กำหนดให้ประชาชนเจ้าของอำนาจที่แท้จริงเป็นผู้กำหนดทิศทางของประเทศ ถ้า กรธ.เชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยก็ต้องทำทุกอย่างให้ประชาชนเข้ามาบริหารจัดการ http://www.thairath.co.th/content/570706 มันไม่เคยใส่ใจว่า พรรคที่มันอยู่นั่นแหละ คือตัวสร้างวิกฤติ ตัวกัดกินประเทศไทยจนผุกร่อน และหลังเลือกตั้งเสร็จ นายมันได้อำนาจแล้ว มันไม่เคยเห็นหัวประชาชนอีกเลย คนกำหนดทิศทางทั้งในพรรค ทั้งนอกพรรค คือนายมันคนเดียว ฉายา"สภาทาส" ไม่ใช่ว่าจะได้มาง่ายๆ เพราะในอดีตยังไม่เคยมีใครเคยทำได้
น่ากลัวจริงๆ สงสัยคสช.จำเป็นต้องอยู่ยาวอีกแล้ว ------------------------------------------------------------------ "ณัฐวุฒิ"ชี้ประชาชนจะลงประชามติคว่ำร่างรธน.ถล่มทลาย Monday, February 1, 2016 - 15:02 http://www.thaipost.net/?q=ณัฐวุฒิชี้ประชาชนจะลงประชามติคว่ำร่างรธนถล่มทลาย
นายภูมิธรรม เวชยชัย ตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน โดยระบุว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มีประชาธิปไตยที่ถูกบิดเบือน ริดรอนสิทธิของประชาชน ขณะที่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ วิจารณ์ว่ามีข้อดีหลายข้อ เช่น การตัดสิทธิทางการเมืองของคนทุจริตและคนโกง การเพิ่มบทบาทของประชาชนไม่สนับสนุนการคอร์รัปชั่น การให้อำนาจองค์กรอิสระมีมติร่วมกันเพื่อทักท้วงรัฐบาล เป็นต้น
***ถ้าไม่ตั้งใจเข้ามาโกง ***ไม่คิดจะใช้นโยบายประชานิยมสุดโต่ง เพื่อซื้อคะแนนเสียงโดยไม่ต้องควักกระเป๋าตัวเอง ส่วนจะสร้างภาระให้ประเทศเท่าไหร่ ไม่สน ***ไม่คิดจะก้าวก่ายแทรกแซงเพื่อรวบอำนาจ เป็นเผด็จการในคราบประชาธิปไตย รธน.ฉบับนี้ ไม่เห็นจะน่ากลัวตรงไหน ไอ้พวกที่ดิ้นทุรนทุรายรับไม่ได้ มันก็ส่อเจตนา ว่ามันคิดจะใช้ประชาชนเพื่อตัวมันเอง แบบเดิมๆแค่นั้นเอง
ผมมีแค่หลักคิดง่ายๆ อะไรที่คนเลวเห็นว่าเลว ย่อมดี มีคนหลายคนออกมาถล่มร่างรธน.ของอ.มีชัย ทั้งนพดล ปทมะ ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ จาตุรนต์ ฉายแสง ภูมิธรรม เวชยชัย สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ฯลฯ ดูจากรายชื่อคนที่ดาหน้าออกมาถล่ม ผมว่าร่างฯนี้สุดประเสริฐเลย
ส.ส.บัญชีรายชื่อคือส.ส.ที่ประชาชนไม่ได้เลือกโดยตรงหว่ะ ซึ่งประชาชนไม่ไมีโอกาสได้รู้ว่าใครคือเบอร์ไหนเรียงลำดับไป แล้วในร่างรธน.ระบุให้พรรคเสนอตัวแทนชิงตำแหน่งนายก เท่ากับว่า ประชาชนได้มีโอกาสพิจารณาประชาชนด้วย แบบนี้ไม่ดียังไงครับ ที่พูดว่ารัฐสภาอยู่ภายใต้ประชาชนน่ผมไม่เคยเห็นนะครับ เห็นแต่เวลาจะเลือกมาไหว้ประชาชนพอได้รับเลือก ประชาชนกลับต้องไหว้มัน ไม่สนใจเสียงที่เลือกและไม่ได้ แบบนี้ประชาชนได้อะไรครับ นักการเมืองเป็นกลุ่มคนที่สร้างปัญหา ดังนั้นกฎหมายที่ออกมาจึงต้องเข้มงวดกับนักการเมืองครับ
นักการเมืองควรมีความสำนึกรับผิดชอบ มีคุณธรรมมากกว่าประชาชนทั่วไป เพราะเขาคือตัวแทน ที่ได้รับมอบอำนาจจากประชาชนจำนวนมาก ในการทำหน้าที่ แต่ที่ผ่านมา นักการเมืองหลายคน ดันเลวกว่าโจรซะอีก
ฝั่ง ปชป. ดูค่อนข้างจะเห็นด้วยกับร่างนี้ แต่ฝั่ง พท. นี่คัดค้านกันทุกคน ปล. ฝั่ง พท. บางคนรู้สึกว่าจะมีสกิลอ่านใจอยู่ด้วยนะ 5555 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวถึงร่างรัฐธรรมนูญที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)เมื่อดูครบทั้งร่างแล้วยอมรับว่า มีข้อดีอยู่มาก และขอสนับสนุนโดยเฉพาะการใช้ยาแรงกับการซื้อสิทธิ์ขายเสียงและการทุจริตคอร์รัปชั่น ถึงขั้นกำหนดโทษห้ามเล่นการเมืองตลอดชีวิต นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ระบุว่าถ้านำระบบเลือกตั้งใหม่ของนายมีชัย มาคิดคำนวณโดยนำคะแนนจากการเลือกตั้งใหญ่ปี 54 มาเปรียบเทียบ ว่าพรรคใดจะได้เก้าอี้เท่าไหร่บ้าง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าตกใจมาก พรรคที่ถูกลดคะแนนเยอะที่สุดคือ พรรคใหญ่อย่างพรรคเพื่อไทย (พท.) และพรรค ปชป. แต่พรรค ปชป.ยังไม่ถูกลดเท่าพรรค พท. ขณะที่พรรคขนาดกลางได้อานิสงส์ ทำให้เข้าสูตร การเปิดทางให้พรรคขนาดกลาง เสนอชื่อนายกฯ คนนอกเข้ามาเป็นนายกฯ ได้ นายวรชัย เหมะ อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีท่าทีของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ที่เริ่มออกมาหนุนร่างรัฐธรรมนูญว่า ตอนนี้ ปชป.อยู่ในสถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออก คือเมื่อร่างรัฐธรรมนูญไม่เป็นประชาธิปไตย โดนกระแสสังคมต้าน ในฐานะผู้เคยร่วมอุดมการณ์กับการยึดอำนาจ ปชป.จะตีแรงก็ไม่ได้ ต้องสงวนท่าที นายสามารถ แก้วมีชัย อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า หลังจากที่พรรค พท.ได้ออกแถลงการณ์สะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญของ กรธ.อย่างครอบคลุมไปแล้วนั้น หลังจากนี้คงจะได้ชี้แจงแบบลงรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ว่าหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกาศใช้แล้ว จะส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างไร กระทบกับสภาพเศรษฐกิจอย่างไร รวมทั้งกระทบกับเสถียรภาพของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างไร ทั้งนี้ คงจะไม่ทำหนังสือเพื่อเสนอแนะไปถึง กรธ.แล้ว เพราะเชื่อว่าทำไปก็ไม่รับฟัง นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขานุการมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (มปท.) กล่าวถึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับเบื้องต้นว่าโดยรวมมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย โดยเฉพาะจุดเด่นที่เน้นปราบทุจริต นายถาวร เสนเนียม อดีตแกนนำ กปปส. ระบุหากรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นฉบับที่เข้มงวดในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ก็อยากจะให้เข้มงวดให้ถึงที่สุด นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช. กล่าวว่า ยุทธวิธีที่ กรธ.และฝ่ายสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญใช้ คือการสร้างวาทกรรมว่าเป็นรัฐธรรมนูญปราบโกง แล้วชี้ว่าใครที่เห็นต่างเป็นพวกโกงหรือเดือดร้อนกับการปราบโกง ทั้งๆ ที่เป็นคนละเรื่องกัน
ผู้บัญชาการทหารบก แจงการส่ง รด.ลงพื้นที่ทำความเข้าใจร่าง รธน.เป็นแค่การรณรงค์ให้คนออกมาลงประชามติ ไม่ได้ชี้นำให้สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญ อย่างที่วิจารณ์กัน พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ.ชี้แจงว่าเป็นการให้นักศีกษาวิชาทหาร หรือ รด.ทำหน้าที่เป็นจิตอาสา ทำประโยชน์ให้สังคม ด้วยการอธิบายกับประชาชนว่า ร่างรัฐธรรมนูญมีเนื้อหาอย่างไร ช่วยแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นอย่างไร และ ช่วยรณรงค์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิให้มากๆ ไม่ได้ชี้นำว่า ประชาชนจะต้องลงมติอย่างไร ซึ่งหากไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อนก็อย่าออกมาใส่ร้ายนักเรียน รด.ที่มีความตั้งใจดี ส่วนความคืบหน้าการส่งความเห็นของหน่วยงานต่างๆ ไปยังคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อนำไปปรับแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ร่างแรก ซึ่งจะต้องเสร็จภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์นี้ ล่าสุด วันนี้ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หรือ สปท.จะเปิดประชุมเพื่อให้สมาชิกได้อภิปรายแสดงความคิดเห็น เบื้องต้น สมาชิก สปท. ด้านการเมือง ขอเสนอปรับแก้ 19 มาตรา อาทิ มาตรา 46 เสนอให้ประชาชนยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรง หากพบเห็นผู้กระทำความผิดที่เป็นการล้มล้างการปกครอง ส่วน มาตรา 55 เสนอให้หน่วยงานราชการ ต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณจัดซื้อ-จัดจ้าง และ มาตรา 206 ห้ามบุคคลละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ และ ยกเลิก ส.ส.บัญชีรายชื่อ เลือกตั้งเฉพาะ ส.ส.เขต สำหรับข้อเสนอขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ได้แก่ -มาตรา 46 ประชาชนฟ้องศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง -มาตรา 47 ประชาชนมีหน้าที่รักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น -มาตรา 55 หน่วยงานราชการเปิดเผยข้อมูลการใช้งบต่อประชาชน -มาตรา 206 ห้ามละเมิดศาลรัฐธรรมนูญ -ยกเลิก ส.ส.บัญชีรายชื่อ เลือกตั้งเฉพาะ ส.ส.เขต -นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. การประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หรือ สปท. ที่เปิดให้สมาชิกอภิปรายแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของร่างรัฐธรรมนูญเบื้องต้นนี้ ให้ความสำคัญกับเรื่องการเมือง โดยสมาชิกชี้ว่าเนื้อหาเรื่องการปราบทุจริตเป็นสิ่งที่ประชาชนพอใจ แต่สำหรับโครงสร้างทางการเมืองกลับเอื้อให้เกิดการทุจริตในการเลือกตั้งได้ ทั้งกรณีการมี สส.แบบบัญชีรายชื่อ การใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว รวมถึงที่มา สว. ที่มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม นำไปสู่การบล็อคโหวตได้ง่าย นอกจากนี้ยังส่งผลให้ระบบการเมืองอ่อนแอ ยากต่อการบริหารประเทศ ทั้งนี้ สปท. ได้เสนอให้มีการปรับแก้ในหลายประเด็น อาทิ ให้มี สส.ระบบเดียว จากการเลือกตั้งแบบเขต โดยอาจให้เป็นเขตใหญ่ไม่เกิน 3 คน และให้บรรจุนโยบายการศึกษาว่าด้วยนโยบายวัฒนธรรมการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ไว้ในนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนกรณีองค์กรอิสระ ควรให้มีความน่าเชื่อถือในที่มาและวาระการดำรงตำแหน่ง นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ได้นำประเด็นที่มีเว็ปเพจ "หยุดดัดจริตประเทศไทย" สร้างข้อมูลบิดเบื้อเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญ เข้าหารือในที่ประชุม ซึ่งเห็นว่าไม่จำเป็นต้องใช้อำนาจพิเศษขึ้นมาควบคุมการแสดงความคิดเห็น แต่ควรเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจเนื้อหาที่แท้จริงให้มากขึ้น ส่วนการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญต่อประชาชน ที่กองทัพบก มีแนวคิดให้นักศึกษาวิชาทหาร จิตอาสา นำไปชี้แจงกับประชาชน และถูกโจมตีว่าเป็นการใช้นักศึกษาวิชาทหาร ไปชี้นำการลงประชามตินั้น พลเอกธีรชัย นาควานิช ผู้บัญชาการ ทหารบก ยืนยันว่าการนำข้อมูลไปบิดเบือนเช่นนี้ เป็นการทำร้ายจิตใจ ร.ด.จิตอาสาทุกคน ที่พร้อมจะลงไปทำประโยชน์ เพื่อให้ประชาชนและกลุ่มวัยรุ่นเข้าใจร่างรัฐธรรมนูญ ถือเป็นการบำเพ็ญประโยชน์ของเยาวชน และในวันพรุ่งนี้ คณะรัฐมนตรี จะนำเสนอข้อคิดเห็น เพื่อขอปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญ ในการประชุมคณะรัฐมนตรี โดยรัฐมนตรี บางส่วนระบุว่าเห็นด้วยกับเนื้อหา แต่อาจต้องขอปรับแก้บางคำเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเดินหน้าเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับเบื้องต้น เวทีขอนแก่นชาวบ้านติดใจกระบวนการได้มาซึ่ง ส.ว.อาจนำไปสู่ระบบเล่นพรรคเล่นพวก นายอุดม รัฐอมฤต โฆษกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) แถลงข่าวสรุปผลการสัมนาเรื่อง “การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับรับฟังความคิดเห็น)” หลังไปเปิดเวทีที่จังหวัดขอนแก่นว่า ประชาชนที่เข้าร่วมการสัมนาส่วนใหญ่ไม่ขัดข้องเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้ง ส.ส.ที่ใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว แต่กังวลว่าที่มาของ ส.ว.ที่มาจากกลุ่มอาชีพต่างๆ 20 กลุ่ม แล้วเลือกกันเอง จะป้องกันการเล่นพรรคเล่นพวกได้ยาก ประชาชนจึงเสนอว่า ที่มาของ ส.ว.น่าจะมาจากการเลือกตั้ง หรือเลือกตั้งผสมสรรหา หรือจะใช้วิธีสรรหาทั้งหมดก็ได้ แต่ต้องมีกระบวนการคัดกรองเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณภาพ และครอบคลุมกลุ่มอาชีพต่างๆทุกกลุ่ม สำหรับเรื่องสิทธิเสรีภาพ เวทีสัมนารับฟังความเห็นที่จังหวัดขอนแก่นพบว่า ประชาชนเสนอให้มีการคุ้มครองการมีส่วนร่วมของประชาชนเอง รวมทั้งเรื่องสิทธิชุมชน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง รวมถึงการให้ความสำคัญกับสิทธิสตรี // ความเสมอภาคเท่าเทียมกันระหว่างเพซหญิงกับเพศชาย // ความเท่าเทียมเรื่องการจัดการศึกษา // การจัดการทรัพยากรน้ำ และการดูแลระบบสหกรณ์ พร้อมเสนอให้ผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งทุกระดับ
ความเคลื่อนไหวทางการเมืองเมื่อวานนี้ ยังเป็นการเปิดรับฟังความเห็นปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญของ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ รวมถึงการแสดงความเห็นจากฝ่ายต่างๆ กรธ.รับข้อเสนอปรับร่าง รธน. ภาคกลาง-ตะวันออก โดยเวทีที่ 3 ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ที่เปิดให้ประชาชนภาคกลางและภาคตะวันออก ได้แสดงความเห็นปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญที่กรุงเทพมหานคร พบว่า ส่วนใหญ่พอใจภาพรวมของร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะในประเด็นการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน และการใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว อย่างไรก็ตามยังมีข้อเสนอขอปรับแก้ในประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี ของแต่ละพรรคที่ให้เสนอ 3 ชื่อนั้น จะต้องเป็นสมาชิกพรรค เพื่อป้องกันคนนอกมาเป็นนายกรัฐมนตรีส่วนส.ส. สามารถเป็นรัฐมนตรีได้โดยไม่ต้องลาออก แต่ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ย้อนหลัง 5 ปี ส่วน ส.ส. ต้องมีวุฒิการศึกษาขั้นต่ำปริญญาตรี และ สว. ต้องมีมาตรการป้องกันการบล๊อกโหวต ผู้พิการเสนอปรับร่าง รธน. ส่วนที่รัฐสภา เมื่อวานนี้ คณะกรรมาธิการของ สนช. เปิดเวทีสัมมนา เสียงสะท้อนของคนพิการไทยและสตรีไทยต่อร่างรัฐธรรมนูญโดยได้เสนอให้กำหนดในร่างรัฐธรรมนูญให้รัฐบาลมีหน้าที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการรับรองสิทธิของคนพิการให้มากกว่าคนปกติหรือมีความเสมอภาคพร้อมบัญญัติเรื่องสิทธิองค์กรภาคประชาสัมคม ให้ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐรวมถึงกำหนดสัดส่วนคนพิการในส.ส. ระบบบัญชีรายชื่ออีกด้วย รัฐบาลรอ กกต.ก่อนแก้ รธน.รับประชามติ รัฐบาลยังไม่เริ่มขั้นตอนการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว โดยอยู่ระหว่างรอ กกต.จัดทำร่างระเบียบ และหาแนวทางลดค่าใช้จ่ายในการจัดทำประชามติ โดยเฉพาะประเด็นการแจกจ่ายร่างรัฐธรรมนูญกับผู้มีสิทธิให้ครบ80% ที่ต้องใช้งบประมาณสูงมาก พร้อมระบุ หากแก้ไม่ทันก่อน 29 มีนาคม จะต้องเดินหน้าตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญตามเดิม สำหรับประเด็นเรื่อง ร่างรัฐธรรมนูญุถูกคว่ำด้วยคะแนนฉิวเฉียด หรือไม่เกิน1 ล้านคะแนน จะนำร่างเดิมมาปรับใหม่แล้วประกาศใช้นั้น นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ปฎิเสธข่าวดังกล่าว ระบุอาจนำร่างรัฐธรรมนูญจากหลายฉบับมาร่างใหม่โดยจะดูจากคะแนนและข้อมูลข่าวสารอื่นๆประกอบมากกว่าจะนำรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งแทนทันที นายกฯเตรียมแจกแผนภูมิแม่น้ำ 5 สาย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปฎิเสธที่จะแสดงความเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ แต่ได้นำแผนภูมิความเชื่อมโยงแม่น้ำ 5 สาย ซึ่งเป็นกรอบการทำงานของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาแสดง พร้อมระบุจะแจกจ่ายให้กับประชาชน เพื่อเป็นแนวทางให้เห็นการทำงานของรัฐบาล ว่าจะทำอะไรบ้าง
รัฐบาลเผยแพร่แผนภาพการบริหารงาน เชื่อมโยงแม่น้ำ 5 สาย Written by: กอง บก.ข่าวการเมือง 2016/02/13 2:01 PM กรุงเทพฯ 13 ก.พ.-รัฐบาลเผยแพร่แผนภาพการบริหารงาน เชื่อมโยงแม่น้ำ 5 สาย หวังสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่สังคม วอนทุกฝ่ายขยายผลสร้างการรับรู้ ร่วมเปลี่ยนประเทศให้ดีขึ้น ยุติการบิดเบือนและเข้าใจผิด พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการเผยแพร่แผนภาพการบริหารราชการแผ่นดินของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และความเชื่อมโยงของแม่น้ำ 5 ว่า รัฐบาลต้องการเน้นย้ำสร้างการรับรู้แก่ประชาชนทุกระดับ ทั้งคนไทยและต่างประเทศ เพื่อให้เข้าใจกระบวนการทำงานของรัฐบาลและแม่น้ำอีก 4 สายที่บูรณาการภารกิจร่วมกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ เพื่อมุ่งไปสู่การเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีขึ้น “แผนภาพทั้งหมด เป็นการสื่อสารโดยใช้ข้อความที่สั้น กระชับ ร่วมกับแผนผัง รูปภาพ และสีสันต่าง ๆ เชื่อมโยงการทำงานของแม่น้ำ 5 สาย ให้ประชาชนเข้าใจง่าย เสริมเพิ่มเติมจากสิ่งที่รัฐบาลเคยพูดหรือสื่อมวลชนเคยนำเสนอในรูปแบบของตัว หนังสือไปแล้ว แต่มักจะมีคำถามอยู่เสมอว่ารัฐบาลทำอะไรอยู่ และมีระยะเวลาอย่างไร” พล.ต.สรรเสริญ กล่าว พล.ต.สรรเสริญ กล่าวอีกว่า คสช.และรัฐบาลเข้ามาเพื่อแก้ปัญหาของประเทศที่ตกอยู่ในภาวะกำลังจะล้มเหลว ให้สามารถเดินต่อไปได้ ภายใต้นโยบายวาระแห่งชาติและยุทธศาสตร์ระยะยาวในกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้พ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ด้วยการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านกลไกประชารัฐลงถึงระดับพื้นที่ “นายกรัฐมนตรีอยากให้ประชาชนได้ศึกษาทำความเข้าใจสิ่งเหล่านี้ เพื่อให้รู้แจ้งถึงความเป็นจริงทั้งหมด โดยยืนยันว่าทุกอย่างมีความชัดเจนมาตั้งแต่ต้น แต่ที่ผ่านมาอาจมีผู้ที่พยายามบิดเบือนให้สังคมเกิดความสับสน เข้าใจผิด และกล่าวหารัฐบาลต่าง ๆ นานา โดยการวางกรอบกติกาทั้งหมดก็เพื่อเป็นหลักให้การบริหารบ้านเมืองในวันข้าง หน้ามีเป้าหมายชัดเจน รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งต้องขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายเดียวกัน พร้อมทั้งขอความร่วมมือทุกฝ่ายช่วยกันขยายความจริงนี้ให้เกิดการรับรู้ในวง กว้าง โดยเฉพาะสื่อมวลชนที่เป็นผู้ชี้นำสังคม ได้สะท้อนข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพื่อสร้างความกระจ่างชัดแก่ผู้ที่ยังไม่รู้ ไม่เข้าใจ หรือแกล้งไม่เข้าใจ ให้ได้รับทราบอย่างถูกต้องโดยทั่วกัน” พล.ต.สรรเสริญ กล่าว.-สำนักข่าวไทย http://www.tnamcot.com/content/402734
อภิสิทธิ์ ส่งความเห็นร่าง รธน.แล้ว หนุนปราบทุจริต Written by: กอง บก.ข่าวการเมือง 2016/02/13 1:36 PM สถาบันพระปกเกล้า 13 ก.พ.-“อภิสิทธิ์” เผยส่งความเห็นร่าง รธน.ให้ประธาน กรธ. แล้ว เห็นด้วยกับการปราบทุจริต แต่ควรเพิ่มกลไกตรวจสอบในระบบรัฐสภาและการถ่วงดุลอำนาจระหว่างองค์กรอิสระ แนะแก้ประเด็นสิทธิเสรีภาพ โดยนำ รธน.ปี 40 และ 50 มาปรับใช้ หวังประชาชนยอมรับ-ผ่านประชามติ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ว่า ได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกแล้ว ซึ่งเห็นด้วยกับการปราบปรามการทุจริต แต่ควรเพิ่มกลไกการตรวจสอบในระบบรัฐสภา การถ่วงดุลอำนาจระหว่างองค์กรอิสระ และอยากให้นำเรื่องสิทธิเสรีภาพจากรัฐธรรมนูญปี 2540 และปี 2550 มาปรับใช้ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ โดยเฉพาะหมวดสิทธิของประชาชนที่ควรคงไว้ เพราะไม่ได้เป็นปัญหาที่ทำให้เกิดวิกฤติการเมืองแต่อย่างใด ซึ่งขณะนี้ประชาชนไม่พอใจและเกิดข้อกังขาในประเด็นนี้อย่างมาก รวมถึงอยากให้ทบทวนเรื่องที่มาของ ส.ว. และนายกรัฐมนตรีคนนอกที่ควรจะบัญญัติให้เป็นข้อยกเว้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้สิ่งที่อยากเน้นย้ำ คือ แนวทางที่บ้านเมืองจะเดินหน้าไปได้ในที่สุดคือรัฐธรรมนูญผ่านการเห็นชอบโดย ประชาชนและต้องเป็นที่ยอมรับของประชาชน ซึ่งขณะนี้ยังมีประชาชนบางส่วนที่ยังไม่เห็นด้วยและอยากให้มีการปรับปรุง ร่างรัฐธรรมนูญ ดังนั้นประเด็นใดที่เป็นข้อทักท้วง ก็อยากให้มีการปรับปรุงแก้ไข และชี้แจงในประเด็นที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ต้องการคงไว้ให้เกิดความชัดเจน นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนการตัดสินใจว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญยังเร็วเกินไปที่จะตัดสิน ใจในขณะนี้ ทั้งนี้อยากให้ปรับทัศนคติที่ว่าหากต้องการร่างรัฐธรรมนูญที่ปราบโกง จะต้องลดประชาธิปไตย แต่หากอยากได้ประชาธิปไตยก็ต้องมีการโกง แต่ตนเห็นว่าจะดีกว่าหรือไม่ถ้าร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยและปราบการ ทุจริตได้ด้วย ส่วนตัวมองว่าที่ผ่านมาประเทศไทยมีความเป็นประชาธิปไตยมากเกินไป จึงมีการแสวงหาอำนาจเพื่อตนเองและนำมาซึ่งการทุจริต อย่างไรก็ตาม ได้ส่งข้อเสนอแนะในการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญถึงนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. แล้ว “หวังว่า กรธ.จะนำข้อเสนอแนะไปพิจารณาประกอบการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญด้วย ซึ่งอยากให้ กรธ.แก้ไขให้เป็นที่ยอมรับของประชาชน ไม่ใช่ให้ประชาชนรับร่างรัฐธรรมนูญเพราะต้องการให้มีการเลือกตั้ง หรือรับเพราะกลัวว่าหากไม่รับ จะมีผลกระทบตามมาภายหลัง” นายอภิสิทธิ์ กล่าว.-สำนักข่าวไทย http://www.tnamcot.com/content/402523
เพราะหม้อกรองอันนี้ตาถี่ขึ้นครับ กรองได้เร็วเท่ากับสองชั้น รวดเร็วทันใจ และกรองได้ตั้งแต่ครั้งแรกเพราะพรรคการเมืองต้องเลือกผู้ที่ชิงตำแหน่งนายก เท่ากับประชาชนได้รู้จักแคนดิเดตนายกแต่ละซึ่งประชาชนได้มีโอกาสพิจารณาได้มากขึ้น เข้าใจมั้ย
ผมงงทุกครั้งที่มีคนค้านเรื่องนี้ พรรคไหนไม่อยากได้นายกฯคนนอก เอาเฉพาะนายกฯที่มาจากสส. ก็ไปกำหนดในกฏระเบียบของพรรคซะ ว่าจะต้องเสนอชื่อเฉพาะบุคคลที่เป็นสส.เท่านั้น แล้วถ้าคิดว่าประชาชนส่วนใหญ่อยากได้นายกฯที่เป็นสส.(ตามที่ชอบอ้างกันนัก) ก็ถือโอกาสเอาไปหาเสียงซะเลย ว่าพรรคตัวเองมีกฎแบบนี้ และในอดีตประเทศไทยก็เคยมีนายกฯคนนอก แต่ก็ไม่เคยมีใครเลวเท่านายกฯที่มาจากสส.เลยสักคน แล้วนักการเมืองจะเดือดร้อนทำไม นอกจากคิดจะหวงอำนาจเอาใว้เฉพาะพวกตนเองเท่านั้น
ความเคลื่อนไหวการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ หลังจากทุกภาคส่วนได้ส่งความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญเสนอไปยังคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) กล่าวว่า วันที่ 16 กุมภาพันธ์ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ จะเริ่มพิจารณาไล่เรียงไปตามหมวดและมาตราต่าง ๆ และเปรียบเทียบว่าในแต่ละหมวดแต่ละมาตรามีใครเสนอปรับแก้อย่างไรบ้าง หากประเด็นใดเป็นประโยชน์กับประชาชน และให้เหตุผลที่ชัดเจนกว่าที่กรรมการร่างรัฐธรรมนูญคิด ก็พร้อมจะปรับแก้ตามข้อเสนอโดยไม่ขัดข้อง โดยทุกฝ่ายสามารถส่งเข้ามาถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์นี้ ส่วนข้อเสนอของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)และสภาขับเคลื่อนการปฎิรูป ประเทศ( สปท.) ที่เตรียมส่งให้กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ นายอมร กล่าวว่า เห็นว่าหลายเรื่องเป็นความเห็นที่น่าสนใจ แต่บางคนเป็นอดีตนักการเมือง ข้อเสนอบางเรื่องก็ยังมีผลประโยชน์กับตนเองอยู่บ้าง เมื่อกรรมการร่างไปเปลี่ยนแปลงก็ไม่พอใจ ดังนั้นขอยืนยันว่ากรรมการร่างรัฐธรรมนูญ จะไม่เอาใจนักการเมืองหรือหรือคนหวังประโยชน์ รัฐบาลเสนอแก้รธน.ประเด็นบริหารราชการแผ่นดิน ส่วน นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ข้อเสนอแนะในส่วนของคณะรัฐมนตรียังอยู่ที่นายกรัฐมนตรีจะยื่นต่อกรรมการ่าง ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ โดยเบื้องต้นจะสรุปเป็นปัญหาเรื่องการบริหารราชการแผ่นดิน ส่วนใหญ่เป็นปัญหาการวางกรอบการทำงานของรัฐบาลชุดหน้าที่เลือกตั้งเข้ามา ส่วนเรื่องระบบการเลือกตั้ง เรื่องพรรคการเมือง ครม.ไม่เสนอแนะ ถือเป็นการชี้นำ ซึ่งในการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 16 กุมภาพันธ์นี้ จะนำประเด็นเรื่องการทำประชามติมารายงานต่อที่ประชุมครม. ขณะที่ นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการประสานงานรวม 3 ฝ่าย โดยมีประเด็นปฏิรูปที่คณะรัฐมนตรีได้รับทราบผลการพิจารณาของส่วนราชการที่มี ต่อการศึกษาของสภาปฏิรูปแห่งชาติหลายเรื่อง ถ้าเรื่องใดเดินหน้าขับเคลื่อนต่อไปได้ทันทีก็จะขอความเห็นจากนายกรัฐมนตรี และเสนอรองนายกรัฐมนตรีแต่ละด้านขับเคลื่อนต่อไป "หัวหน้าประชาธิปัตย์"จี้แก้หมวดสิทธิเสรีภาพ ส่วน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ได้ทำหนังสือถึงนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) แสดงความเห็นต่างร่างรัฐธรรมนูญไปแล้ว โดยอยากให้ปรับปรุงเพิ่มเรื่องช่องทางการตรวจสอบโดยสภาผู้แทนราษฎร และปรับปรุงการถ่วงดุลอำนาจระหว่างองค์กรอิสระด้วยกัน และอยากให้กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ กลับไปเขียนหมวดสิทธิเสรีภาพ เหมือนกับรัฐธรรมนูญปี 40 และปี 50 ซึ่งมีเนื้อหาที่เป็นรูปธรรมที่ดีกว่า และต้องการให้ทบทวนที่มาของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) และที่มานายกรัฐมนตรีคนนอก
การยื่นข้อเสนอขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ วันนี้ เป็นวันสุดท้ายที่ฝ่ายต่างๆทั้งรัฐบาล สปท. สนช. พรรคการเมือง และ ประชาชน จะยื่นข้อเสนอไปให้กรรมการร่างฯ เพื่อปรับแก้ไขร่างแรกให้เป็นฉบับสมบูรณ์ หลายฝ่ายได้ทยอยเสนอขอแก้ไขเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ จากรวบรวมข้อเสนอฝ่ายต่างๆพบว่าข้อเสนอสำคัญของ สนช.คือ การให้มีกลไกแก้วิกฤตประเทศ ให้อำนาจประธานศาลรัฐธรรมนูญ เรียกผู้บัญชาการเหล่าทัพ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ประธานองค์กรอิสระ ปลัดกระทรวงกลาโหม และ บุคคลอื่น ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดมาหาทางออกร่วมกัน ให้ประเทศคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว แต่การใช้วิธีนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาด้วย ส่วนการเลือกตั้ง ส.ส.ให้ใช้บัตรบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ เช่นเดิม เลือก ส.ส.แบบเขตและบัญชีรายชื่อ แบบเขตใหญ่เรียงเบอร์ ขณะที่ ส.ว.ให้มีจำนวน 200 คน มาจากการสรรหาทั้งหมดจากกลุ่มอาชีพ และ กลุ่มสังคมที่หลากหลาย ขณะที่ สปท.เสนอให้นายกรัฐมนตรี ต้องเป็น ส.ส. และเลือกในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น และ ไม่ควรประกาศรายชื่อก่อนเลือกตั้ง แต่ทั้งนี้ให้มีนายกรัฐมนตรี ที่เป็นคนนอกได้หากบ้านเมืองเกิดวิกฤต แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาฯด้วยเสียง 3 ใน 5 ของที่ประชุม ส่วนรัฐบาล เสนอเพิ่มหมวดปฏิรูปเป็นช่องทางสานต่อการปฏิรูปประเทศไปยังรัฐบาลหน้า เพื่อให้การปฏิรูปประเทศที่ทำอยู่ประสบความสำเร็จ พร้อมให้มีการกระจายอำนาจไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ให้เรียกว่าการบริหารราชการท้องถิ่นแทน สปท.มีมติเห็นชอบการปฏิรูป12ด้าน เตรียมนำไปบรรจุไว้ในร่างรธน.ฉบับเบื้องต้น วันนี้ (15ก.พ.59) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (กห.) กล่าวถึงการส่งข้อเสนอของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญ ให้กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ว่า นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฏหมาย จะเสนอให้ลงนามในวันนี้ ด้านที่ประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ที่มีร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธานสปท.เป็นประธาน ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบเรื่องปฏิรูปที่ควรบ รรจุไว้ใน มาตรา 269 ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับเบื้องต้น ที่ให้สปท.ดำเนินการให้แล้วเสร็จ ตามที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวกำหนดไว้ ทั้ง 12 ด้าน ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยคะแนน 143 เสียง งดออกเสียง 1 เสียง สำหรับการปฏิรูปทั้ง 12 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการเมือง ต้องให้มีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ดี ปฏิรูประบบการเมือง สร้างการเลือกตั้งที่สุจริตเที่ยงธรรม ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ให้จัดโครงสร้างองค์กรของรัฐให้เหมาะสม บริหารงานแบบบูรณาการ ด้านกฎหมายให้ปฏิรูปให้เกิดความยุติธรรม ด้านการปกครองท้องถิ่น ให้ปรับโครงสร้างและถ่ายโอนภารกิจเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใส ด้านการศึกษา ให้รัฐดำเนินการจัดให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชน ปิดรับข้อมูลจากองค์กรต่างๆ เพื่อปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญแล้ว โดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญพร้อมพิจารณาปรับแก้เพื่อให้ได้ร่างรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุด ตลอดทั้งวันมีองค์กร หน่วยงาน และกลุ่มมวลชนต่างๆ ยื่นข้อเสนอ และความเห็นประกอบการร่างรัฐธรรมนูญให้กับคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ.เพื่อนำไปประมวลข้อเสนอเป็นรายประเด็นและพิจารณาเรียงรายมาตราเพื่อจัดทำเป็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์ก่อนวันที่ 29 มีนาคม ส่วนใหญ่เน้นให้ปรับแก้มาตราที่เกี่ยวกับโครงสร้างทางการเมืองเช่นที่มาสส.สว.นายกรัฐมนตรีคนนอกทางออกกรณีเกิดวิกฤติการเมือง สิทธิเสรีภาพ และสิทธิชุมชนเป็นต้น โดย กรธ.บอกการพิจารณาปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญ จะยึดหลักการตามเนื้อหาและเหตุผลซึ่งพร้อมที่จะปรับแก้เช่นเรื่องสิทธิเสรีภาพและสิทธิชุมชน ขณะที่สมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย ก็นัดรวมตัวที่รัฐสภา และศาลากลางจังหวัด วันที่ 17 กุมภาพันธ์ เพื่อติดตามการขอให้แก้ร่างรัฐธรรมนูญ เรื่องการปกครองและงบประมาณส่วนท้องถิ่นด้วย ส่วนการแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติ 2550 ซึ่ง กกต.ยกร่างเสร็จแล้วนั้น ในวันพรุ่งนี้ กกต.จะเสนอให้รัฐบาลพิจารณาว่าจะออกเป็นร่างพระราชบัญญัติหรือออกเป็นพระราชกำหนด ทั้ง 16 มาตรากำหนดฐานความผิดกรณีเจ้าหน้าที่ทุจริตต่อหน้าที่ ขัดขวางการออกเสียงทำให้การออกเสียงไม่สุจริตเที่ยงธรรมกำหนดโทษผู้ขัดขวางขู่เข็ญใช้กำลังในการออกเสียงรวมถึงผู้ทำลายบัตรเพิ่มบัตรในหีบขัดขวางการส่งหีบซึ่งบางความผิดให้ตัดสิทธิเลือกตั้งด้วย ส่วนที่เพิ่มเติมก็คือการเพิ่มโทษผู้เผยแพร่ข้อความในสื่อต่างๆ ที่เข้าข่ายบิดเบือนข่มขู่ปลุกระดมโดยให้ชดใช้ค่าเสียหายหากต้องทำประชามติใหม่อีกด้วย
รองนายกรัฐมนตรีด้านกฏหมาย เปิดเผยถึงความเห็นของคณะรัฐมนตรี ต่อการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ โดยประเด็นสำคัญคือ ให้ กรธ. คืนบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ รองนายกรัฐมนตรีด้านกฏหมาย วิษณุ เครืองาม บอกว่า คณะรัฐมนตรี ได้มีความเห็นให้ กรธ. แก้ไขเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นสำคัญหลายเรื่อง ที่น่าสนใจคือ การขอให้ กรธ. นำเรื่องสิทธิเสรีภาพต่างๆ ใส่กลับไปในร่างรัฐธรรมนูญตามข้อเรียกร้องของฝ่ายต่างๆ ทั้งเรื่องสิทธิชุมชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆที่เคยมีในรัฐธรรมนูญในอดีต แต่ไม่ปรากฏในร่างฉบับนี้ นอกจากนี้ ครม. ยังเสนอให้เพิ่มบทหมวดเกี่ยวกับการปฏิรูปเข้าไปในร่างรัฐธรรมนูญด้วย เช่น การปฏิรูปการศึกษา และการปฏิรูปตำรวจ เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ครม. ยังได้ย้ำถึงความกังวลไปยัง กรธ. ด้วยว่า อยากให้นำปัญหาที่เกิดขึ้น ก่อนที่ คสช.จะเข้ามายึดอำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อพิจารณาว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะมีกลไกอย่างไร หากเกิดปัญหาเช่นนี้ขึ้นมาอีกในอนาคต แต่ยืนยันว่าไม่มีข้อเสนอของ ครม. ไม่ได้พูดถึงเรื่ององค์กรพิเศษ อย่าง คปป. แต่อย่างใด ด้านรอง โฆษก คสช. พันเอก หญิง ศิริจันทร์ งาทอง บอกว่า คสช.ได้ใช้สิทธิ์งดส่งความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญไปให้ กรธ. เพราะกลัวว่า อาจถูกโจมตีได้ว่าเป็นการชี้นำ และป้องกันไม่ให้ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับ คสช. อาจนำไปเป็นประเด็นปลุกกระแสให้ประชาชนไม่ออกมาลงประชามติได้ นายกฯยืนยันไม่เปิดเวทีดีเบตร่างรธน.ตามข้อเสนอนักการเมือง ท้ากลุ่มชอบอ้างกฎหมายให้มาดีเบตกับตนเอง วันนี้ (18ก.พ.59) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวภายหลังเดินทางกลับจากการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐอเมริกา โดยยืนยันว่า จะไม่เปิดให้มีการดีเบตระหว่างฝ่ายการเมืองกับคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เพราะกรธ.เปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนอยู่แล้ว พร้อมท้าให้มาดีเบตกับตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มที่มักอ้างเรื่องของกฎหมาย ด้านพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (กห.) กล่าวว่า ต้องรอให้นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือกรธ.พิจารณาให้เสร็จก่อน ส่วนจะดีเบทหรือไม่ จะให้ กรธ.เป็นผู้ดำเนินการ ก่อนหน้านี้ นายนพดล ปัทมะ แกนนำพรรคเพื่อไทย ได้เรียกร้องให้เปิดเวทีดีเบทร่างรัฐธรรมนูญ ผ่านรายการโทรทัศน์ โดยมีตัวแทนกรธ.ตัวแทนสื่อมวลชน ตัวแทนประชาชน และนักการเมืองเข้าร่วม เนื่องจากขณะนี้ กรธ. ใช้สื่อของรัฐฝ่ายเดียว ดังนั้น การเชิญหลายฝ่ายเข้าร่วมจะทำให้กรธ.ได้ชี้แจง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการรับรู้ และการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
สนช.โลกสวย ถ้ามีข้อกำหนดว่าต้องให้รัฐสภาเห็นชอบ เลิกพูดได้เลยว่าไม่มีทางแก้วิกฤติได้ เพราะนักการเมืองที่หวงอำนาจ มันก็อ้างว่าไม่ได้วิกฤติอะไร ไม่เห็นด้วย อิ....อิ....จะต้องใช้เสียง 3 ใน 5 เลิกพูดได้เลยเรื่องนายกคนนอก ถ้านักการเมืองคิดเองได้ เราคงไม่มีคสช.
19 ก.พ.| ข่าว 12.00 น. สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ ยืนยัน ข้อเสนอบังคับใช้รัฐธรรมนูญ 2 ช่วง เป็นของรัฐบาลจริง แต่ให้สิทธิ กรธ.และสังคมช่วยพิจารณาถึงความเป็นไปได้ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฏหมาย ยืนยันแนวคิดให้บังคับใช้รัฐธรรมนูญ 2 ช่วง เป็นเพียงข้อเสนอ ขณะที่การปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญ ล่าสุดได้ย้ายเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการชี้ขาดวิกฤตกลับไปไว้ที่หมวดทั่วไป พร้อมคืนบทบัญญัติที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เอกสารจากคณะรัฐมนตรี ที่ส่งตรงถึงกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. ถึงแม้จะมี 16 ข้อที่ขอให้แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นต่างๆ แต่ประเด็นที่ถูกตั้งข้อสังเกตมากที่สุด คือข้อสุดท้ายที่ระบุว่า คณะรัฐมนตรีเป็นห่วงถึงสถานการณ์ของบ้านเมืองหลังจากการเลือกตั้ง ที่อาจมีความขัดแย้งและความวุ่นวายเหมือนสถานการณ์ก่อน คสช. เข้ามายึดอำนาจขึ้นอีกครั้ง คณะรัฐมนตรีจึงเสนอให้ กรธ. กำหนดในบทเฉพาะกาลว่า ในสถานการณ์ช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ ควรกำหนดหลักเกณฑ์หรือกลไกบางอย่าง เพื่อความจำเป็นในการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง โดยจำเป็นต้องอยู่บนพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในระดับหนึ่ง ซึ่งถ้าผ่านพ้นช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ไปได้ จึงค่อยกลับไปใช้บทบัญญัติที่สอดคล้องกับหลักการสากลมากขึ้น ก่อนหน้านี้ ข้อเสนอให้ตั้งกลไกพิเศษเพื่อแก้ไขวิกฤตของประเทศ ยังปรากฏในความเห็นจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่เสนอให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจพิเศษ สามารถเรียกตัวผู้บัญชาการเหล่าทัพ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มาร่วมแก้ไขปัญหาให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ด้านประธาน กรธ. มีชัย ฤชุพันธุ์ ยืนยันว่า จะไม่บรรจุองค์กร หรือหน่วยงานที่มีอำนาจพิเศษไว้ในร่างรัฐธรรมนูญตามข้อเสนอของ สนช. เพราะเชื่อว่า เป็นกลไกที่ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง และสังคมอาจจะไม่ยอมรับ เหมือนกรณีที่เกิดขึ้นกับ คปป. ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่แล้ว ความเคลื่อนไหวทางการเมืองเมื่อวานนี้ ประเด็นสำคัญยังอยู่ที่การ เปิดรับคำขอปรับแก้รัฐธรรมนูญขณะที่นายกรัฐมนตรีไม่อนุญาตให้มีการดีเบตระหว่างคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ กับกลุ่มการเมือง นายกฯ ไม่อนุญาตกลุ่มการเมืองดีเบต ร่าง รธน. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระบุว่า ไม่จำเป็นต้องมีการดีเบตระหว่างคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญกับกลุ่มการเมืองเพื่อแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ ตามข้อเสนอของบางกลุ่ม เพราะมีช่องทางกระบวนการรับฟังความเห็นและให้แสดงออกผ่านการประชามติได้อยู่แล้วพร้อมระบุแม้รัฐธรรมนูญจะเป็นเรื่องสำคัญที่เป็นอนาคตประเทศแต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่คนจะเคารพและปฎิบัติตามกฎหมายหรือไม่มากกว่าทั้งนี้หากต้องการดีเบตขอให้มาดีเบตกับตนเองว่ารธน.ที่ผ่านมาดีอย่างไร ครม.เสนอกำหนดระยะเปลี่ยนผ่าน มีรายงานว่า คณะรัฐมนตรีมีข้อเสนอปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญ 16 ข้อ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการปรับแก้ถ้อยคำในบางมาตราแต่ที่น่าสนใจคือการเสนอให้ปรับแก้การดำเนินคดีทุจริตนักการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงใช้ระบบ 2 ศาลแทนระบบศาลเดียว เพื่อสอดคล้องกับนานาประเทศ พร้อมขอให้ทบทวนการแยก หมวด ศาล รัฐธรรมนูญออกมาบัญญัติเป็นหนึ่งหมวดป้องกันถูกเข้าใจว่ามีการเพิ่มอำนาจพิเศษและที่น่าสนใจที่สุดคือการกำหนดระยะเวลาประกาศใช้รัฐธรรมนูญในช่วงเปลี่ยนผ่านโดยอาจให้บังคับใช้เป็นสองช่วงเวลา ป้องกันเหตุวุ่นวายในช่วงที่มีการเลือกตั้ง ก่อนจะก้าว สู่การใช้เต็มรูปแบบในภายหลัง ผบ.ทบ.ย้ำ นศท.แต่ให้ความรู้ร่าง รธน. พลเอกธีรชัย นาควานิช ผู้บัญชาการทหารบกตรวจเยี่ยมการฝึก ภาคสนามของนักศึกษาวิชาทหารพร้อมย้ำกับนักศึกษาวิชาทหารว่าการลงพื้นที่ของนักศึกษาวิชาทหาร ก็เพื่อให้ความรู้และสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้นไม่ได้เป็นการไปชี้นำซึ่งในวันลงประชามติจะให้นักศึกษาวิชาทหารแต่งเครื่องแบบไปอยู่ที่หน้าหน่วยเลือกตั้งเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการไปใช้สิทธิออกเสียงประชามติเพื่อเสริมการทำงานของเจ้าหน้าที่ประจำหน่วย นายกฯ แจง โอบามา ไม่กดดันไทย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการ เข้าร่วม ประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐในครั้งนี้ว่าไม่ได้ถูกนานาชาติกดดันเรื่องสถานการณ์ทางการเมืองของไทยโดยเฉพาะเรื่องของความเป็นประชาธิปไตยโดยประธานาธิบดี บารัคโอบามาไม่ได้กดดันเรื่องการเลือกตั้งตามที่เป็นข่าวแต่ได้จับมือให้กำลังใจและมีมารยาทมากพอที่จะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวในเรื่องนี้มีแต่คนไทยที่กดดันกันเอง