บทสรุปออกมาแล้ว แบบนี้รับกันได้ไหมครับ สำหรับผมมองว่าเงื่อนไขออกมาแบบนี้ ประเทศเราได้ประโยชน์เยอะทีเดียว +1 แต้มสำหรับรัฐบาลครับ *********************************************************** ช่วงบ่ายวันนี้ (17 ก.พ.) พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แถลงผลการเจรจารถไฟทางคู่รางมาตรฐานไทย-จีน และผลการเจรจารถไฟไทย-ญี่ปุ่น พล.อ.อ.ประจิน เดินทางไปเจรจารถไฟไทย-จีน ที่จีน เมื่อวันที่ 11-13 ก.พ.ที่ผ่านมา เพื่อกำหนดรายละเอียดการลงทุน เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงร่วมกันแบ่งความรับผิดชอบของฝ่ายไทยและจีน โดยส่วนที่ร่วมกันรับผิดชอบจะมี การสำรวจออกแบบ การประเมินค่าก่อสร้าง ส่วนที่ไทยรับผิดชอบ คือ ไทยจะเป็นเจ้าของโครงการ รวมทั้งทำหน้าที่เวนคืนที่ดิน การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) การพัฒนาสถานีบริการ สถานีขนส่งสินค้า สถานีชุมทาง จีนรับผิดชอบ วางระบบเดินรถ อาณัติสัญญาณ ขุดอุโมงค์ การก่อสร้างช่วงเลียบเชิงเขา การเดินรถในช่วงแรกเนื่องจากใช้เทคโนโลยีจีน โดยไทยจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปศึกษาเรียนรู้ระบบร่วมกับจีนก่อนที่จะโอนงานจัดการเดินรถมาให้ไทยดูแล รวมทั้งจีนจะเป็นผู้ตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงช่วงแรก เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ไทย ก่อนที่จะโอนงานส่วนนี้ให้ไทยดูแลเอง และจะโรงงานผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่ ซึ่งส่วนนี้จะหารือรายละเอียดในเดือน เม.ย.นี้ ส่วนรูปแบบการลงทุนได้ตกลงร่วมกันว่าจะใช้รูปแบบ ENGINEERING PROCUREMENT CONSTRUCTION หรือ EPC โดยสัดส่วนการลงทุนจะขอแบ่งกลุ่มงานให้ชัดเจนระหว่างไทย-จีน ซึ่งกลุ่มงานด้านโยธาไทยจะลงทุนเองมากกว่า 50% ส่วนการวางระบบรางและอาณัติสัญญาณ จีนจะดูเป็นหลัก โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะอยู่ที่ระดับ 2% แหล่งเงินกู้จะมาจากจีน เงินกู้ในประเทศและเงินกู้ต่างประเทศ ทั้งนี้ จะมีการจับคู่บริษัทไทยกับจีนตามกลุ่มงานที่แบ่งออกมา คาดว่าจะได้ข้อสรุปรูปแบบการลงทุนในการหารือระหว่างวันที่ 10-11 มี.ค.นี้ ที่จะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ และ จ.หนองคาย นอกจากนี้ ไทยเสนอให้จีนเข้ามาตั้งศูนย์ควบคุมรถไฟระดับภูมิภาคในไทย ซึ่งไทยมีจุดยุทธศาสตร์ที่ได้เปรียบและในอนาคตไทยจะเป็นศูนย์กลางการขนส่งระดับภูมิภาค
โดยภาพรวมแล้ว ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศ ซึ่งอาจรวมไปถึง กลุ่มประเทศในอาเซียนด้วย อยากจะเสริมกับรัฐบาลในบางประเด็นที่อาจ จะเกี่ยวข้อง ได้แก่ จะบรรลุความคุ้มค่าคุ้มทุนของโครงการนี้ภายในกี่ปี ผลกระทบในเชิงสังคม วัฒนธรรมและความมั่นคงแห่งรัฐเป็นอย่างไร นอกเหนือ จากผลทางเศรษฐกิจ เหล่านี้ต้องมีความชัดเจนให้ประชาชนได้รับรู้และเข้าใจ
บางครั้ง ผมก็คิดว่าผมกับพวกกาสรสีชาด เรากับเค้าอยู่ดาวคนละดวงกันหรือเปล่า หรืออยู่ในมิติโลกคู่ขนานกันแน่ ???? พลังจินตนาการของพวกเค้ามากกว่าความเป็นจริงยิ่งนัก ******************************************************************************
ตัวอยู่โลกเดียวกัน แต่แนวคิดอยู่คนละโลกกับเราครับ เพราะโลกของเขานั้น ***ขอแค่มีประชาธิปไตย มีการเลือกตั้ง(ตามที่โดนล้างสมองมา) อย่างอื่น ยอมรับได้ทุกอย่าง
อุเหม่ .... ไม่คิดมาก่อนเลยว่ารัฐบาลทหารจะเชี่ยวกรากการเมืองระหว่างประเทศขนาดนี้ พอไอ้กันกวนตรีนใส่เรา เราก็ทอดสายตาไปเล่นหูเล่นตากับจีน พอจีนมันหวังจะหยิบชิ้นปลามันไปกินคนเดียว โดนรัฐบาลทหารของเราไปดึงไอ้ยุ่นมาคานผลประโยชน์ งานนี้ที่รัฐสหรัฐออกมาเห่าหอนเช้าเย็นเรื่องประชาติ้ปตัยเลื่อนลอย(ที่กินได้)ตามกลิ่นเงิน(ที่ไอ้แม้วโกงไปจากประเทศชาติ) แล้วคนอเมริกันได้อะไรจากรัฐบาลไอ้นิโกรครับ ตอบหน่อยได้ไหม ที่เห็นๆก็มีแต่นักการเมืองเหี้ยในรัฐสภาอเมริกัน กับนักล็อบบี้ยิสท์รอบๆตีนสภาสหรัฐไม่กี่ตัวเท่านั้น ที่ได้รับเงินจากไอ้แม้ว แต่ประชากรอเมริกัน 450 ล้านคน ไม่ได้เหี้ยอะไรเลย ไม่สงสารตัวเองกันบ้างหรือวะ
ถ้าในอนาคตสามารถ upgrade เป็นรถไฟความเร็วสูงได้อย่างเต็มรูปแบบ( เคยได้ยินแว่วๆว่าเป็นเช่นนั้น ) ก็ดีครับ ถือว่าเริ่มทำจากเล็กไปใหญ่ ให้จีนถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เรา แล้วเราพึ่งตัวเองได้ในอนาคต แต่ถ้าวันหนึ่งต้องการสร้างรถไฟความเร็วสูง แล้วไม่สามารถ upgrade โครงการนี้ได้ ก็สมควรโดนประณามครับ ( หวังว่าจะไม่เป็นเช่นนั้น )
ความเห็นผม ถ้าจะดีกว่านี้อีกนิดคือ โรงงานสร้างรถไฟกะระบบอาณัติสัญญาณต้องมีที่ไทยด้วย และต้องเป็นโรงงานที่สามารถสร้างได้ครบวงจรจริงๆ ไม่ใช่แค่ประกอบชิ้นส่วน เพราะเห็นสิ่งที่เราทำก็เดิมๆ งานแรงงาน เกลี่ยดิน อัดดิน ปักเสา เทคอนกรีต ผมอยากให้ประเทศเราสามารถสร้างเทคโนโลยีชั้นสูงได้บ้าง ระบบรถไฟยังขยายตัวได้อีกมากมาย ไม่ว่ารถไฟระหว่างเมือง รถไฟในเขตเมือง ถ้าเรามีเทคโนโลยีการผลิต เราสามารถผลิตสิ่งที่เหมาะสมกับเราได้ แต่เหมือนกับว่างานนี้เราก็แค่ผู้บริโภคเทคโนโลยีเหมือนเคย
พื้นที่พัฒนาเชิงธุระกิจตลอดแนวเส้นทางรถไฟ หรือประโยชน์จากการเข้าถึงระบบรถไฟ (เช่นการสร้างเมืองใหม่ เขตอุตสาหกรรมใหม่) อันนี้น่าจะตกเป็นของประเทศไทย และควรมีมาตรการชัดเจนในการหาประโยชน์ อย่าทำเหมือนการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่มีที่ดินระหว่างสองทางทางรถไฟ ที่ดินเหล่านี้อยู่เขตชุมชนมีค่ามหาศาล เช่นในแถวรัชดา ลาดพร้าว ฯ แต่กลับการหาประโยชน์และได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่า
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1425283307 ไม่ทราบว่าใครไปเป่าหูคุณประจิน ถึงได้คิดอะไรไม่เข้าท่าแบบนี้ขึ้นมา ถ้าเป็นแบบนี้จริง เส้นตะวันออกบริเวณชายฝั่งทะเลจะมีรถไฟวิ่งถึงสี่ระบบแยกกันคือ รถไฟธรรมดาราง ๑ เมตร, รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์, รถไฟรางมาตรฐานจากจีน และ รถไฟความเร็วสูงตามข่าวนี้ ขนาดประเทศรวยๆ เค้ายังไม่ทำกันเลย เพราะมันสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุ โดยส่วนตัวผมรู้สึกไม่ชอบกับแนวทางทำรางมาตรฐานจากจีนเพื่อขนสินค้าอยู่แล้ว เพราะมันซ้ำซ้อนกับโครงการทางคู่หนึ่งเมตรซึ่งก็ขนสินค้าได้เหมือนกัน แต่เห็นว่าในอนาคตอาจปรับเป็นรถไฟความเร็วสูงได้ ก็เลยไม่อยากบ่นอะไรมาก แต่พอเห็นข่าวนี้อีกอัน ผมชักรู้สึกสงสัยว่าคุณประจินคิดอะไรอยู่ ศึกษาสิ่งที่พูดออกมาดีหรือยัง? อย่างไรก็ตาม ถ้าจะดันโครงการนี้จริงๆจังๆ ผมคิดว่าควรรวมโครงการ airport link กับ รถไฟความเร็วสูงเข้าด้วยกัน ให้เส้นทางดอนเมือง สุวรรณภูมิ พัทยา ระยอง เป็นของ airport link ไป ส่วนใครจะเดินทางไปหัวหิน ก็ไปเปลี่ยนรถที่บางซื่อ จะได้ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรเกินไป
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมลงพื้นที่ จ.หนองคาย เพื่อตรวจสถานที่ก่อสร้างเส้นทางรถไฟที่จะเชื่อมต่อมาจากประเทศลาว ส่วนรูปแบบการลงทุนและแหล่งเงินทุนจะมีความชัดเจนในเดือนสิงหาคมนี้ ************************************************ รมว.คมนาคมลงนามความร่วมมือรถไฟไทย-จีน พร้อมเตรียมหารือความก้าวหน้าโครงการ6-8พ.ค.นี้ วันนี้ (12มี.ค.58) พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (คค.) กล่าวภายหลังการลงนามบันทึกข้อตกลงการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 3 ร่วมกับ นายหวัง เสี่ยวเทา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน ว่า การลงนามในวันนี้เป็นการลงนามเพื่อสรุปผลการประชุมในวันที่ 10-11 มี.ค.ที่ผ่านมา ที่มีการสรุปรูปแบบความร่วมมือการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (EPC) พร้อมแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบ โดยฝ่ายไทยจะรับผิดชอบในส่วนของการวางฐานราก และ Power supply ขณะที่จีนจะรับผิดชอบของเส้นทางบริเวณที่เป็นหุบเขา เนื่องจากจะต้องใช้เทคโนโลยีของจีน ส่วนด้านการเดินรถและการบำรุงรักษา จะจัดตั้งบริษัทร่วมทุนของ 2 ฝ่ายแบ่งการดำเนินการเป็น3 ช่วง คือ ช่วงแรกระยะปีที่ 1-3 จีนจะเป็นผู้ดำเนินการเดินรถ ช่วงที่ 2 ระยะปีที่ 4-7 ไทย-จีน จะเป็นการดำเนินการร่วมกัน และตั้งแต่ปีที่ 7 เป็นต้นไป ไทยจะรับเป็นผู้ดำเนินการ ทั้งนี้ ได้กำหนดการจัดประชุมในครั้งที่ 4 เมืองคุณหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ในวันที่ 6-8 พ.ค.นี้ ซึ่งจะมีการหารือถึงความก้าวหน้าของโครงการ ข้อตกลงทางด้านการเงิน รูปแบบการร่วมทุนการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน