ยุกติ มุกดาวิจิตร วิพากษ์ราชบัณฑิตยังงี้ ต้องขอแย้งซะหน่อย

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย Redbuffalo010, 12 May 2015

  1. Redbuffalo010

    Redbuffalo010 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    3 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    6,457
    มติชน เขียนข่าว "ยุกติ มุกดาวิจิตร วิพากษ์ราชบัณฑิต กรณีเปลี่ยน "โรฮิงญา" เป็น "โรฮีนจา"
    พอเห็นที่มาของข่าว "ที่มา เพจเฟซบุ๊ก ชาติพันธุ์นิพนธ์" ก็พอจะเดาออกว่ามาแนวไหน
    อ่านจบ ถ้าใครไม่มีความรู้เกี่ยวกับเวียตนาม ก็คงจะเชื่อว่ามันจริง

    ยุกติ มุกดาวิจิตร วิพากษ์ราชบัณฑิต กรณีเปลี่ยน "โรฮิงญา" เป็น "โรฮีนจา"
    วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลา 10:00:00 น.
    ที่มา เพจเฟซบุ๊ก ชาติพันธุ์นิพนธ์
    ชื่อชนชาติ
    14313846521431384708l.jpg
    กรณีการออกเสียงชื่อชาว Rohingya ว่าจะออกเสียงอย่างไรดี ผมก็เห็นใจราชบัณฑิตนะครับ เพราะเขามีหน้าที่ต้องให้คำตอบหน่วยงานของรัฐ แต่ผมไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงให้ตายตัวเบ็ดเสร็จว่าควรจะออกเสียงอย่างไรกันแน่ ยิ่งอ้างว่าออกเสียงตามภาษาพม่ายิ่งไม่เห็นด้วย ตามเหตุผลดังนี้ครับ
    1) หากยึดหลักว่าเสียงภาษาพม่าเรียกชื่อชนกลุ่มนี้อย่างไรก็ออกเสียงตามนั้นดังที่ราชบัณฑิตอ้างแล้วล่ะก็ หลักนี้ก็คงใช้กับเฉพาะประเทศพม่าหรืออย่างไร เพราะเพียงแค่ชื่อ อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ก็ไม่ได้ตรงกับการออกเสียงชื่อชนชาติของเจ้าของภาษาเองแล้ว คนไทยเคยใช้กันอย่างนี้มาจนเคยชินติดปากติดหูแล้ว หากจะให้พยายามไปออกเสียงและเขียนแบบเจ้าของภาษา ก็คงจะโกลาหล
    กรณีโรฮิงญาก็เหมือนกัน ผมเห็นด้วยกับที่มีคนแสดงความเห็นว่า น่าจะออกเสียงและเขียนตามที่เคยทำกันมาอยู่แล้ว ก่อนหน้านี้สังคมไทยเขารู้จักชนกลุ่มนี้กันมากขึ้นแล้ว คงมีเพียงบางหน่วยงานของรัฐและราชบัณฑิตที่เพิ่งตื่นขึ้นมาสนใจเรื่องนี้เมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง ก็เลยเพิ่งสนใจว่าจะออกเสียงอย่างไร
    แต่หากจะยืนยันว่าต้องเรียกตามภาษาทางการของประเทศนั้นๆ ถ้าอย่างนั้น ก็คงจะต้องเปลี่ยนชื่อเรียกชนชาติอีกมากมายในโลกที่คนไทยเรียกอย่างเคยชินอยู่แล้วไปตามการออกเสียงของภาษาที่รัฐบาลใช้เรียกกันมากมาย เช่น ก็คงต้องเปลี่ยนชื่อเรียกชาวเย้าในเวียดนามตามรัฐบาลเวียดนามว่าชาว "ซาว" เรียกชาวไทในเวียดนามตามภาษารัฐบาลเวียดนามว่า "ถาย" ฯลฯ จะเอาอย่างนั้นก็คงจะวุ่นวายน่าดู
    2) อันที่จริง หากจะราชบัณฑิตจะแสดงบทบาทเป็นผู้รู้ของสังคม ก็ควรจะค้นคว้าดูว่า ชื่อเรียกชนชาตินี้ที่เจ้าของสังคมนี้หรือเจ้าตัวของคนในชนชาตินี้เองเขาเรียกน่ะ เขาเรียกตัวเขาเองว่าอย่างไร มากกว่าจะไปพยายามออกเสียงจากเสียงภาษาพม่า ข้อนี้เป็นประเด็นเรื่องการเมืองของชื่อเรียกชนชาติ
    หากราชบัณฑิตจะไม่สนใจอ่านเอกสารภาษาอังกฤษที่มีข้อเสนอเรื่องนี้มากมายจนลงตัวแล้ว ก็โปรดลองอ่านงานของจิตร ภูมิศักดิ์เรื่อง "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ" (พิมพ์ครั้งแรกปี 2519) อ่านดูว่าชื่อเรียกชนชาติมีความเหลื่อมล้ำทางอำนาจแฝงอยู่อย่างไร อย่างชื่อ "ไท" กับชื่อ "สยาม" จิตรสันนิษฐานว่าชื่อแรกเป็นชื่อที่คนกลุ่มหนึ่งเรียกตนเองอย่างภูมิใจ แปลว่า "คน" ส่วนอีกชื่อหนึ่งน่าจะเป็นชื่อที่คนอื่น เช่นชาวจีน ชาวพม่า เรียกชนกลุ่มนี้ ซึ่งมักจะมีนัยเป็นลบ
    หากเราจะเรียกชื่อใครอย่างเคารพศักดิ์ศรีกัน ก็ควรเรียกชื่อที่เขาอยากให้เรียก มากกว่าจะเรียกชื่อที่คนมีอำนาจเหนือเขาและดูถูกเขาเรียกไม่ใช่หรือการเมืองเรื่องชาวโรฮิงญาในพม่านั้นเป็นการเมืองของการไม่ยอมรับการมีอยู่อย่างเป็นทางการของกลุ่มชาติพันธ์ุนี้ และจึงมีทั้งการใช้ความรุนแรงจากสังคมและรัฐในการบีบบังคับให้ชาวโรฮิงญาไร้ตัวตน จนทำให้พวกเขาต้องหลบหนีออกนอกประเทศ เราควรเรียกชื่อคนที่ถูกรัฐบาลประเทศนั้นรังแกตามที่รัฐบาลนั้นเรียก หรือเรียกตามที่คนกลุ่มนั้นเขาเรียกตัวเองกันแน่
    อันที่จริง ถ้ายึดตามหลักข้อนี้ ไม่ใช่เฉพาะชื่อกลุ่มชนในภาษาอื่น ในภาษาไทยเองก็มีชื่อที่เป็นปัญหา ไม่ใช่ชื่อที่เจ้าของชนชาติเขาเรียกตัวเองอยู่มาก เช่น ชื่อ เย้า เจ้าของชนชาติเองเขาจะเรียกตนเองว่า เมี่ยน มากกว่า ส่วนชื่อ แม้ว แม้จะไม่ใช้เรียกกันแล้ว แต่ก็ยังเห็นชอบใช้กันอยู่ในสังคม ชื่อ มูเซอ ก็ควรเปลี่ยนเป็น ล่าหู่
    3) ข้อที่ใหญ่กว่านั้นคือ ปัญหาที่ว่าราชบัณฑิตควรยอมรับบทบาทที่ตนเองเป็นได้เพียงทางเลือกของการใช้ภาษา ไม่ใช่บทบาทของการเป็นผู้บัญญัติกำกับวางหลักเกณฑ์ภาษา รวมทั้งหลักการใช้คำ การสะกด การเขียนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำศัพท์และภาษาสำเนียงต่างๆ เพราะนี่แสดงให้เห็นถึงการเปิดตัวเองเข้าสู่โลกของการใช้ภาษาที่มีชีวิตชีวา
    ปัญหาหนึ่งของการไล่ตามไม่ทันโลกคือการที่รัฐไทยไม่เข้าใจว่าในโลกนี้มีหลักการใช้ภาษาต่างกับภาษาไทยมากมาย เช่น ในประเทศเวียดนาม ไม่มีการระบุว่าภาษาเวียดนามสำเนียงใดเป็นภาษากลางหรือเป็นภาษามาตรฐาน ข้อนี้ต่างจากประเทศไทย ปัญหาคือเมื่อราชบัณฑิตไทยกำกับการเขียนภาษาเวียดนามในภาษาไทย ก็จะอิงสำเนียงหนึ่ง นั่นก็คืออิงสำเนียงภาษาเหนือ เพราะคงจะถือเอาตามความเคยชินอย่างประเทศไทยว่า ภาษาของคนกลุ่มที่มีอำนาจที่สุดก็น่าจะเป็นภาษามาตรฐาน
    แท้จริงแล้วการเมืองเรื่องภาษาถิ่นในเวียดนามนั้นเปิดกว้างกว่าประเทศไทย รัฐบาลเวียดนามไม่ได้ห้ามใช้ภาษาถิ่นอย่างเป็นทางการแบบประเทศไทย ผู้ประกาศข่าวหรือผู้ประกาศในทีวี วิทยุ ซึ่งทั้งหมดเป็นของรัฐ สามารถใช้ภาษาถิ่นได้เป็นปกติ ดังนั้นหากจะเคารพการออกเสียงแบบคนเวียดนามเอง ก็ควรจะยอมให้มีการเขียนถ่ายเสียงภาษาเวียดนามในภาษาไทยได้หลายสำเนียงของเวียดนามด้วย เพียงแต่ผู้ใช้ควรระบุก่อนว่าจะใช้สำเนียงใด
    แต่ที่ประหลาดคือ แม้ราชบัณฑิตไทยจะอ้างว่าใช้สำเนียงเวียดนามเหนือมาตลอด แต่ไม่ทราบว่าหูของนักภาษาศาสตร์ประจำราชบัณฑิตไทยที่วางกรอบการเขียนภาษาเวียดนามเป็นภาษาไทยจะไม่ดีหรือว่าท่านเหล่านั้นจะภาษาไทยไม่ดีก็ไม่ทราบได้ เพราะกฎการถ่ายเสียงภาษาเวียดนามเป็นภาษาไทยของราชบัณฑิตไทยเพี้ยนทั้งเสียงวรรณยุกต์และเสียงพยัญชนะอยู่หลายที่ทีเดียว อีกทั้งยังไม่คงเส้นคงวาในการออกเสียงว่าจะยึดสำเนียงใด
    ข้อนี้มีรายละเอียดที่ต้องเขียนถึงแยกต่างหากออกไป แต่ในที่นี้เพียงเพื่อต้องการยกตัวอย่างให้เห็นว่า เมื่อภาษาไทยกับภาษาต่างๆ ในโลกแลกเปลี่ยนปนเปกันแล้ว ภาษาไทยก็ไม่สามารถหยุดนิ่งหรืออยู่ใต้การกำกับขององค์กรใดอย่างตายตัวเท่านั้นได้ ซึ่งที่จริงนี่ก็ไม่ต่างอะไรกับโลกยุคโบราณ ที่ภาษาเปลี่ยนแปลงเสมอเช่นกัน คงมีเพียงยุคหนึ่งเท่านั้นที่ชนชั้นนำสยาม-ไทยพยายามที่จะจำกัด ตีกรอบ การใช้ภาษาให้ตายตัวมากขึ้น
    หากประเทศไทยจะสนใจปัญหาสิทธิมนุษยชน ให้ความสนใจคนกลุ่มชาติพันธ์ุที่ถูกเอารัดเอาเปรียบด้วยหลักมนุษยธรรมในมาตรฐานของชาวโลกสากล การหาชื่อเรียกคนกลุ่มใดๆ ก็ควรจะหาชื่อที่คนกลุ่มนั้นยอมรับเอง ออกเสียงเอง ไม่ดีกว่าหรือ ไหนๆ ก็มีชาวโรฮิงญาอยู่ในประเทศไทยไม่น้อยแล้ว ราชบัณฑิตจะใช้ความรู้ทางภาษาศาสตร์ กับความถ่อมตนทางมนุษยธรรม เดินไปถามพวกเขาเองสักสิบคนยี่สิบคนว่าเขาออกเสียงเรียกชื่อตนเองอย่างไร แล้วค่อยระบุว่าจะออกเสียงอย่างไร จะดีกว่าไหม
     
  2. Redbuffalo010

    Redbuffalo010 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    3 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    6,457
    ขอแย้งข้อนี้ ตรงส่วนนี้ก่อน
    "3) ข้อที่ใหญ่กว่านั้นคือ ปัญหาที่ว่าราชบัณฑิตควรยอมรับบทบาทที่ตนเองเป็นได้เพียงทางเลือกของการใช้ภาษา ไม่ใช่บทบาทของการเป็นผู้บัญญัติกำกับวางหลักเกณฑ์ภาษา รวมทั้งหลักการใช้คำ การสะกด การเขียนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำศัพท์และภาษาสำเนียงต่างๆ เพราะนี่แสดงให้เห็นถึงการเปิดตัวเองเข้าสู่โลกของการใช้ภาษาที่มีชีวิตชีวา
    ปัญหาหนึ่งของการไล่ตามไม่ทันโลกคือการที่รัฐไทยไม่เข้าใจว่าในโลกนี้มีหลักการใช้ภาษาต่างกับภาษาไทยมากมาย เช่น ในประเทศเวียดนาม ไม่มีการระบุว่าภาษาเวียดนามสำเนียงใดเป็นภาษากลางหรือเป็นภาษามาตรฐาน ข้อนี้ต่างจากประเทศไทย ปัญหาคือเมื่อราชบัณฑิตไทยกำกับการเขียนภาษาเวียดนามในภาษาไทย ก็จะอิงสำเนียงหนึ่ง นั่นก็คืออิงสำเนียงภาษาเหนือ เพราะคงจะถือเอาตามความเคยชินอย่างประเทศไทยว่า ภาษาของคนกลุ่มที่มีอำนาจที่สุดก็น่าจะเป็นภาษามาตรฐาน....."
    1. รู้มั้ยว่าทำไม เวียตนามไม่มีการระบุว่าสำเนียงใดเป็นภาษากลางหรือภาษามาตรฐาน ก็เพราะเวียตนามมีแค่สามภาค เหนือ กลาง ใต้ สำเนียงอาจจะผิดแผกกันไปบ้้าง และก็คุยสื่อสารกันรู้เรื่อง เข้าใจ ซึ่งต่างกับไทย ที่ถ้าให้คนใต้คุยกับคนอีสานคงจะอีกนานกว่าจะเข้าใจกัน
    2. การที่ราชบัณฑิตไทยต้องอิงสำเนียงภาคเหนือ เพราะ ชาวเวียตนามภาคเหนือจะออกเสียงตรงตามตัวอักษร ฟังง่าย เข้าใจดี ตัวอย่าง เช่น อักษร V ชาวเวียตนามภาคเหนือ จะอ่านว่า "เว" ชาวเวียตนามภาคใต้จะอ่านว่า "เย" ดังนั้นอย่าคิดว่าเพราะเวียตนามเหนือมีอำนาจราชบัณฑิตไทยต้องอิงสำเนียงภาคเหนือเล้ย
     
  3. chackrapbong

    chackrapbong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,297
    "ราชบัณฑิตควรยอมรับบทบาทที่ตนเองเป็นได้เพียงทางเลือกของการใช้ภาษา ไม่ใช่บทบาทของการเป็นผู้บัญญัติกำกับวางหลักเกณฑ์ภาษา รวมทั้งหลักการใช้คำ การสะกด การเขียนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำศัพท์และภาษาสำเนียงต่างๆ เพราะนี่แสดงให้เห็นถึงการเปิดตัวเองเข้าสู่โลกของการใช้ภาษาที่มีชีวิตชีวา"

    ยุกติ มุกดาวิจิตร คือใครครับ
    ไม่ลองไปบอก ราชบัณฑิต ประเทศอื่นๆ บ้าง
    ดูซิว่า ตื่นเช้ามาประเทศนั้นจะจราจลหรือเปล่า เพราะคนในชาติคุยกันไม่รู้เรื่อง
    ต่างคนต่างก็ใช้ภาษาที่มีชีวิตชีวา
     
  4. Redbuffalo010

    Redbuffalo010 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    3 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    6,457
    นี่ก็มั่วไปใหญ่
    "...แท้จริงแล้วการเมืองเรื่องภาษาถิ่นในเวียดนามนั้นเปิดกว้างกว่าประเทศไทย รัฐบาลเวียดนามไม่ได้ห้ามใช้ภาษาถิ่นอย่างเป็นทางการแบบประเทศไทย ผู้ประกาศข่าวหรือผู้ประกาศในทีวี วิทยุ ซึ่งทั้งหมดเป็นของรัฐ สามารถใช้ภาษาถิ่นได้เป็นปกติ ดังนั้นหากจะเคารพการออกเสียงแบบคนเวียดนามเอง ก็ควรจะยอมให้มีการเขียนถ่ายเสียงภาษาเวียดนามในภาษาไทยได้หลายสำเนียงของเวียดนามด้วย เพียงแต่ผู้ใช้ควรระบุก่อนว่าจะใช้สำเนียงใด..."
    เพราะชาวเวียตนามมีหลายชาติพันธ์ุ เวียตนาม จีน ลาว เขมร ม้ง แม้ว ฯลฯ อยู่รวมกันในบางพื้นที่ และระบบการเรียนการสอนในชนบทที่ห่างไกลของเวียตนามก็ยังขาดแคลน ดังนั้นการสื่อสารกันด้วยภาษาท้องถิ่นผ่าน ทีวี วิทยุ จึงเป็นทางออก และรายการที่ใช้ภาษาท้องถิ่นก็มีระยะเวลาสั้นๆในแต่ละวัน และภาษาท้องถิ่นเหล่านี้ใช้สื่อสารกันภายในกลุ่ม ไม่แพร่หลาย ดังนั้นจำเป็นมั้ยที่ต้องถ่ายเสียงภาษาเวียดนามในภาษาไทยให้ได้หลายสำเนียง?
     
  5. Redbuffalo010

    Redbuffalo010 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    3 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    6,457
    เค้าคือคนที่ขออนุญาตออกจากประเทศไทยไปอาศัยอยู่ต่างประเทศ ด้วยเหตุผลว่า"อยู่ในประเทศไทยไม่สามารถแสดงออกทางความคิดอย่างมีอิสระ"
     
    chackrapbong likes this.
  6. Redbuffalo010

    Redbuffalo010 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    3 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    6,457
    "...แต่ที่ประหลาดคือ แม้ราชบัณฑิตไทยจะอ้างว่าใช้สำเนียงเวียดนามเหนือมาตลอด แต่ไม่ทราบว่าหูของนักภาษาศาสตร์ประจำราชบัณฑิตไทยที่วางกรอบการเขียนภาษาเวียดนามเป็นภาษาไทยจะไม่ดีหรือว่าท่านเหล่านั้นจะภาษาไทยไม่ดีก็ไม่ทราบได้ เพราะกฎการถ่ายเสียงภาษาเวียดนามเป็นภาษาไทยของราชบัณฑิตไทยเพี้ยนทั้งเสียงวรรณยุกต์และเสียงพยัญชนะอยู่หลายที่ทีเดียว อีกทั้งยังไม่คงเส้นคงวาในการออกเสียงว่าจะยึดสำเนียงใด..."

    โห พี่ยุกติก็เอาแต่ตำหนิ ตรงไหนไม่ถูกใจพี่ พี่ก็บอกเค้าไปตรงเลยๆ มีความรับผิดชอบหน่อยครับพี่
    อาจารย์เวียตนามที่สอนภาษาเวียตนามให้อาจารย์คนไทย มีทั้งเหนือ กลาง ใต้ ดังนั้นอาจะมีเพี้ยนไปบ้าง แต่ก็ไม่ใช่สาระสำคัญ จนพี่ต้องเอามาเขียน แล้วลากต่อไปจนถึงบทสรุป ซึ่งอ่านก็พอเข้าใจว่า พี่ต้องการสื่อสารอะไร


    " ...ข้อนี้มีรายละเอียดที่ต้องเขียนถึงแยกต่างหากออกไป แต่ในที่นี้เพียงเพื่อต้องการยกตัวอย่างให้เห็นว่า เมื่อภาษาไทยกับภาษาต่างๆ ในโลกแลกเปลี่ยนปนเปกันแล้ว ภาษาไทยก็ไม่สามารถหยุดนิ่งหรืออยู่ใต้การกำกับขององค์กรใดอย่างตายตัวเท่านั้นได้ ซึ่งที่จริงนี่ก็ไม่ต่างอะไรกับโลกยุคโบราณ ที่ภาษาเปลี่ยนแปลงเสมอเช่นกัน คงมีเพียงยุคหนึ่งเท่านั้นที่ชนชั้นนำสยาม-ไทยพยายามที่จะจำกัด ตีกรอบ การใช้ภาษาให้ตายตัวมากขึ้น
    หากประเทศไทยจะสนใจปัญหาสิทธิมนุษยชน ให้ความสนใจคนกลุ่มชาติพันธ์ุที่ถูกเอารัดเอาเปรียบด้วยหลักมนุษยธรรมในมาตรฐานของชาวโลกสากล การหาชื่อเรียกคนกลุ่มใดๆ ก็ควรจะหาชื่อที่คนกลุ่มนั้นยอมรับเอง ออกเสียงเอง ไม่ดีกว่าหรือ ไหนๆ ก็มีชาวโรฮิงญาอยู่ในประเทศไทยไม่น้อยแล้ว ราชบัณฑิตจะใช้ความรู้ทางภาษาศาสตร์ กับความถ่อมตนทางมนุษยธรรม เดินไปถามพวกเขาเองสักสิบคนยี่สิบคนว่าเขาออกเสียงเรียกชื่อตนเองอย่างไร แล้วค่อยระบุว่าจะออกเสียงอย่างไร จะดีกว่าไหม"
     
  7. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
    ใครคือ ยุกติ
     
  8. Redbuffalo010

    Redbuffalo010 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    3 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    6,457
  9. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
    kokkai และ Redbuffalo010 ถูกใจ.
  10. Redbuffalo010

    Redbuffalo010 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    3 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    6,457
    :cry::cry::cry:
     
    kokkai และ กีรเต้ ถูกใจ.
  11. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
    อิ อิ
     
  12. ridkun_user

    ridkun_user อำมาตย์น้อย Staff Member

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,648
    คนไม่ใช่ ทำอะไรก็ผิดละครับ แค่บอกให้อ่านว่า โรฮีนจา ด่ายังกับตัวเองโดนฆ่าล้างโคตร :rofl:
     

Share This Page