'เรืองไกร' ยื่นปปช.ให้ตรวจสอบ ย้อนหลังมติครม 'รัฐบาลอภิสิทธิ์' อนุมัติจัดซื้อเครื่องบินแบบเหมาลำ และแบบเช่าซื้อรวมมูลค่ากว่า 4.9 แสนล้านบาท โยงเรียกรับสินบนด้วยหรือไม่ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย เข้ายื่นเอกสารต่อป.ป.ช. ขอให้ตรวจสอบเส้นทางการเงินที่มีการทุจริตในการจัดซื้อหรือเช่าเครื่องบินแบบเครื่องยนต์ต่อเนื่อง หลังปปช.อังกฤษ หรือ เอสเอฟโอ พบการทุจริตเรียกรับสินบนบริษัทโรสรอย โดยขอให้ปปช.ตรวจสอบย้อนหลัง ตั้งแต่มติของคณะรัฐมนตรี ในปี 2554 สมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีที่มีมติคณะรัฐมนตรี ในการจัดซื้อเครื่องบินเหมาลำ จำนวน75 ลำ และเช่าซื้ออีก 15 ลำ รวม90 ลำ วงเงิน 492,611 ล้านบาท ต่อเนื่องมา ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จนกระทั่ง มีการทำรัฐประหาร ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. วันที่ 6 มิถุนายน 2557 ที่พลอากาศเอกประจินจั่นตอง ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือสศช. ทำหนังสือเสนอต่อ ที่ประชุมคสช หาแหล่งเงินทุนจัดหาเงินกู้เพื่อชำระค่าเครื่องบินโบอิ้ง นายเรืองไกร เชื่อมั่นว่า หน่วยงานในต่างประเทศ ยินดีที่จะให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลต่อปปช.ไทยหลังจากได้มีการประชุมร่วมกับปปชเมื่อวานนี้ ขณะเดียวกันเชื่อมั่นว่าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช จะสนับสนุนให้มีการตรวจสอบ อย่างเต็มที่ ขนาดเดียวกันมองว่าไม่มีความจำเป็นที่รัฐบาลจะบังคับใช้มาตรา 44 ในการดำเนินการสืบสวนเพราะเป็นการเปิดเผยข้อมูลจากต้นทางคือต่างประเทศซึ่งกฎหมายดังกล่าวไม่สามารถบังคับใช้ กับเจ้าหน้าที่ต่างประเทศได้ http://news.voicetv.co.th/thailand/456279.html
อยากให้เรืองไกร ยื่นตรวจสอบใจดำ 20 มั้ง ว่าได้ 15,000 จริงเปล่า ถ้าได้จริงถึงไม่ช่วยปูคดีจำนำข้าวเลย หรือตรวจสอบทำไมมือด้วนถึงไม่เคยช่วยเพื่อนเลยทั้งที่แอบอ้างชื่อ
สรุปวันหนึ่ง มือด้วนไม่ได้ทำอะไรให้เกิดประโยชน์เลย นอกจากโพสประชดชีวิตไปวันๆ เงินเหลือ เวลาเหลือ ไม่เคยคิดไปช่วยเพื่อนซักนิด
ประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่ซื้อมากหรือซื้อน้อยไม่ใช่เหรอวะ ???? แต่ประเด็นคือเวลาที่มึงสั่งซื้อเครื่องบินแล้วมึงเรียกสินบนด้วยหรือเปล่าต่างหาก ???? ทีมข่าวได้รวบรวมข้อมูลการจัดซื้อเครื่องบินของการบินไทย หลายประเภทในช่วง 27 ปี มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยในช่วง 10 แรกตั้งแต่ปี 2533-2543 การบินไทยจัดซื้อเครื่องบิน ตามมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 47 ลำ จำนวน 101,110 ล้านบาท ระยที่ 2 ตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งจัดซื้อเครื่องบินพิสัยไกลตามมติคณะกรรมการบริษัท เป็นเครือง Airbus 8 ลำ สำหรับเส้นทางกรุงเทพ-นิวยอร์ก และกรุงเทพ-ลอสแองเจลิส และในช่วงปลายปี ครม.อนุมัติให้การบินไทยจัดหาเครื่องบินเพิ่มเติมจำนวน 15 ลำ เป็นเครื่องแบบโบอิ้ง เงินลงทุน 58,324 ล้านบาท ปี 2547 ครม.อนุมัติให้ซื้ออีก 14 ลำ ส่วนใหญ่เป็นเครื่องแอร์บัส ประกอบด้วย Airbus A380, A 340-500, A 340-600 และ Boeing 777-200ER วงเงินลงทุนรวม 96,355 ล้านบาท ส่วนแผนจัดหาเครื่องบินใหม่ตั้งแต่ปี 2550-2553 จำนวน 29 ลำ โดยการจัดซื้อในปี 2551 ได้จัดซื้อเครื่องยนต์ของบริษัท โรลส์-รอยซ์ 24 เครื่อง เพื่อใช้ติดตั้งในเครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ในปี 2554 การบินไทยมีแผนจัดซื้อเครื่องบิน มากที่สุด 75 ลำ เพื่อเข้าประจำการฝูงบิน มูลค่า 457,127 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ปี 2554-2560 จำนวน 37 ลำ และ ปี 2561-2565 จำนวน 38 ลำ โดยในปีนี้ การบินไทยตรียมแผนรับมอบเครื่องบินเพิ่ม 7 ลำ เป็นเครื่องแอร์บัส เอ 350 จำนวน 5 ลำ และโบอิ้ง 787 จำนวน 2 ลำ และในปีหน้าจะรับมอบเครื่องบินอีก 5 ลำ ได้ครบตามแผนจัดซื้อเครื่องบิน