การเอาเปรียบ การผูกขาดนี่ก็ตีความต่างกัน ตะวันออกตีความตามภาษาโดยผลกระทบต่อประชาชนเป็นพื้นฐาน ตะวันตกตีความตามกฏหมายโดยผลกระทบต่อคู่แข่งเป็นพื้นฐาน มันเป็นการต่อสู้กันของคู่แข่งการค้าด้วยการแก้กฏหมาย เพราะประชาชนไม่มีทางผลักดันกฏหมายเองได้ เรื่องของซีพี พูดกันมานาน 40ปีแล้วมั้ง ก็งั้นๆเพราะเค้าอ้างกฏหมาย ถ้าพูดกันทางสังคม จริยธรรมไม่ได้ผล ก็ต้องเป็นไปโดยกฏหมายซี่งก็เป็นเรื่องของคู่แข่งเค้าจัดการกันเอง ตะวันตกก็ทำกันแบบนี้ และประชาชนก็รับกรรมไปเหมือนเดิม สมน้ำหน้า ชอบกันนักเลือกตั้งกันเข้าไปเอง ลองดูกฏหมายผูกขาดของตะวันตก คราวไมโครซอฟแจกไออีฟรี ประชาชนชอบมั้ย ผูกขาดมั้ย ไม่รุแต่ชอบ แต่คู่แข่งไม่ชอบ บอกกีดกันทางการค้า ทำไม่ได้ การกีดกันทางช่องทางการตลาดเป็นการผูกขาดเช่นกัน อย่าตีควาแค่ตามตัวหนังสือ ทุนนิยมเท่านั้นแหละที่จะทำลายกันเอง ปล่อยไปตามนั้นเฮอะ ถ้าเราชอบกันแบบนั้น สมน้ำหน้า
แถม ไทยเราก็เคยทำ อะไรนะ เอเยนต์จะซื้อเหล้าต้องพ่วงเบียร์ พ่วงชูกำลังด้วย ทำนองเนี้ย คือซื้ออย่างนึงต้องถูดยัดเยียดอย่างอื่นไปด้วย ผืดกฏหมายมั้ย ไม่ผิดมั้ง
คนไทย มีความเมตตา กรุณาสูง แต่ก็มีความอิจฉาริษยาสูงเกินมาตรฐานโลก เรื่องอะไรไม่ถูกต้องก็ควรค้าน ไม่ใช่หมั่นไส้คนค้านจนเฮโลไปสนับสนุนสิ่งที่ควรค้าน บางครั้งผมก็อดคิดไม่ได้ว่า คนไทยเห็นคนอื่นดีกว่าไม่ได้ความริษยาบิดเบือนความจริง จริงหรือไม่? นี่แหละ ประชาธิปไตย...แบบไทยๆ... ...เอาถูกใจเข้าว่าไว้ก่อน...ถูกผิดช่างมัน.
ท่านจักรพงษ์กำลัง “เทศน์” คนที่เห็นต่างจากท่านนะครับ สังคมประชาธิปไตย การมีความคิดหลากหลายมันไม่น่าจะผิดนะ ไม่อยากเอ่ยคำว่าปะชาติ๊ปไตเลย เดี๋ยวโดนเขม่น
ก็ด้วยเหตุผลเดียวกันครับ คุณstormtrooper, ผมเป็นแค่ หนึ่งสิทธิหนึ่งเสีย ก็เห็นตามที่ผมเห็น ส่วนจะเป็นการเทศน์หรือเปล่า ผมว่าขึ้นกับ สามัญสำนึกครับ ขอบคุณครับ
อิจฉาริษยาใช้กับเรื่องนี้ได้หรอ? เช่น ซีพีมีส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่งในหลายธุรกิจจึงถูกอิจฉาริษยา อันนี้พอเข้าใจได้ แต่เห็นต่างกับฝ่ายด่าซีพี แล้วบอกว่าฝ่ายเห็นต่างอิจฉาริษยา อันนี้ไม่เข้าใจแน่ๆ
บางที คนที่ติเพื่อก่อ คัดค้านเพื่อปกป้องสิ่งที่ถูกต้อง ก็ยังถูกหาว่าอิจฉาริษยาคนที่ดีกว่า จากฝ่ายที่สนับสนุน ซึ่งผมเคยบอกไปแล้วในกระทู้อื่น บอกว่าริษยาเป็นตรรกะของคนหลงตัวเอง คนที่ติ ก็บอกตามจริงว่าไม่ดีก็บอกว่าไม่ดี ไม่ได้อิจฉาอะไรหรอก
อาจจะไม่ตรงกับคำว่าริษยานัก แต่เรามองข้ามข้อดีของเซเว่น เค้าพัฒนาโชว์ห่วยติดแอร์ เค้าเติมเต็มลูกค้า ในขณะที่โชว์ห่วยรุ่นเก่าอย่างเราๆมองข้ามระบบบริหาร มองข้ามความต้องการของลูกค้า มองแต่กำไรขาดทุน พัฒนาไข่ล้นตลาดมาเป็นไข่ลวกออนเซ็น ไก่ส่งออกไม่ได้มาเป็นไก่คาราเกะ ไส้กรอกไก่ ตอนนี้เราอาจจะไม่ต้องทำเหมือนเซเว่นแต่เราต้องปรับตัวเองเช่นกัน
อธิบายศัพท์ อิจฉา ในบาลีหมายถึง โลภเจตสิก คือ ความติดข้อง ความต้องการ " ความอิจฉาเป็น สภาพธรรมอย่างหนึ่ง ความเดือดร้อนใจเพราะความอิจฉาก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง " อิสสาหรือริษยา เป็นอกุศลธรรมประเภทหนึ่ง เป็นอารมณ์ คือ เมื่อเห็นผู้อื่นได้รับสมบัติ ลาภสักการะ ความเคารพ การนับถือ ก็ทนไม่ได้ เกิดอาการไม่พอใจ เสียใจเป็นทุกข์ สรุปคือ ความไม่อยากให้ผู้อื่นได้ดี
กระทู้นี้เล่นยากแฮะ ผมเองก็โพสท์มั่วยังไม่รู้เลยว่า มโนสำนึก แปลว่าอะไร ใครรู้ช่วยบอกหน่อยครับ พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. ๒๕๔๒ ดาวน์โหลดได้ตาม link นี้ครับ
เจ้าสัวซีพี อยู่ในฐานะเมืองไทยเล็กไปแล้วสำหรับแก หากแกเฉลียวใจ เป็นหัวหอกเมืองไทยพาคนไทย ไปตลุยอาเซียนจะเป็นพระคุณมิใช่น้อย ปัญหาคือ มโนสำนึกของแกจะไปอยู่ทางขอบเขตไหน
ผมในฐานะที่เคยค้าคายมาก่อน พอจะจำได้ว่า เมื่อก่อนร้านโชว์ห่วยจะไม่ซื้อของจาก Macro แต่จะเลือกซื้อจากร้านค้าใหญ่ซึ่งก็จะให้ราคาร้านค้าเล็กถูกลงหน่อย (ประมาณช่วย ๆ กันไป) จะไม่มีการแย่งลูกค้าเท่าไรนัก แต่ปัจจุบันผมเดาว่าบริษัทก็จะเน้นส่งผลิตภัณฑ์ส่วนมากให้ Macro มากกว่าร้านค้าใหญ่ จนทำให้ร้านค้าเล็ก ๆ ต้องหันไปซื้อจาก Macro แทน
ใครส่งถูกกว่า(รวมต้นทุนค่าเดินทาง)ซื้อเจ้านั้นครับ แถวบ้านผมยังมีปั๊วมาเดินจดออเดอร์น้ำตาล น้ำปลาฯลฯ ตามร้านอาหารห้องแถวเลย ถูกกว่าสะดวกกว่าแถมเชื่อได้... รายย่อยต้องสู้แบบที่รายใหญ่ทำไม่ได้
นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวถึงกรณีเกิดกระแสต่อต้านร้านสะดวกซื้อเซเว่นฯทางสังคมออนไลน์ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 มุ่งเน้นการแข่งขันในตลาดและสร้างความเป็นธรรมทางการค้าให้เกิดประสิทธิภาพ มากที่สุด หลักกฎหมายไม่ได้ห้ามทำธุรกิจ แต่จะเข้าไปดูพฤติกรรมผู้ประกอบการว่าได้กระทำการกีดกันคู่แข่งหรือเอารัด เอาเปรียบหรือไม่ "ร้านสะดวกซื้อตามกระแสข่าวขณะนี้ อาจเข้าไปดำเนินธุรกิจในหลายๆ ประเทศ ประชาชนก็อาจเกิดความรู้สึกว่าผูกขาดหรือควบรวมธุรกิจทั้งหมด ในแง่กฎหมายไม่ได้เขียนชัดเจน แต่ในแง่ความเหมาะสม ผู้ประกอบการต้องคำนึงด้วยว่าเหมาะสมแค่ไหน จริยธรรมทางการค้าควรจะมีแค่ไหน กรณีผู้ค้ารายใดเห็นว่าเกิดการค้าไม่เป็นธรรมก็ร้องเรียนมาได้ที่กรมการค้า ภายใน" นายสันติชัยกล่าว และว่า หากธุรกิจเติบโตด้วยตัวเอง ไม่ได้เอาเปรียบคนอื่น กฎหมายยังไม่สามารถเอาผิดได้ จะต้องพิจารณาองค์ประกอบการทำความผิดตามกฎหมายกำหนดไว้ เช่น การมีอำนาจเหนือตลาด ต้องมีส่วนแบ่งตลาดตามที่กำหนดหรือไม่ มีส่วนแบ่งตลาดเกิน 50% มียอดขายเกิน 1,000 ล้านบาทหรือไม่ ผูกขาดหรือไม่ ผูกขาดตลาดต้องนิยามว่าคืออะไร มีผู้ประกอบการรายเดียว หลายรายรวมกัน สามารถครอบงำตลาดได้ ชี้นำตลาดได้หรือไม่ ธุรกิจค้าปลีกทุกวันนี้แข่งขันรุนแรงพอสมควร อาจต้องแยกประเภทเป็นร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า เหล่านี้ก็มีการแข่งขันกันเอง กรมก็เข้าไปดูการแข่งขันให้เป็นธรรม เซเว่นฯรับฟังผู้บริโภค หลังแคมเปญว่อนโซเชียล-ค้าภายในแจงผู้ค้าต้องมีจริยธรรม กระทู้ที่เกี่ยวข้อง https://สภากาแฟ.net/threads/7-eleve...เอ็มอี’-หลังกระแสบอยคอตในโลกโซเชียลระอุ.1932/
ซีพี มาลงทุนเวียตนาม เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอุปโภค ผมว่าสู้เจ้าสัวน้ำเมาไม่ได้นะครับ จะซื้อห้างขายส่ง"เมโทร" ก็โดนเจ้าสัวซื้อตัดหน้า ก่อนหน้านี้เจ้าสัวร่วมทุนกับญี่ปุ่น เปิด Family Mart ได้ไม่กี่เดือนก็ถอนทุนมาเปิด B'Smart ซึ่งมีลักษณะเหมือน 7-11 ตอนนี้กำลังเร่งขยายร้านค้าปลีก B'Smart ในเวียตนาม