ถ้าเราจะขายบ้านหลังหนึ่ง เราก็ควรจะตบแต่งให้อยู่ในสภาพ "พร้อมใช้" เพื่อให้ได้มูลค่าตามสมควร แต่ถ้าขายตามสภาพ ก็อาจกลายเป็นปัญหา ทำให้ราคาที่ควรได้นั้นลดลงได้ ตัวอย่างง่าย ๆ ก็อย่างเช่น ดารา มักจะต้องตบแต่งใบหน้าและรูปร่างให้ดูดีอยู่เสมอ หาไม่ก็จะทำให้ได้งานน้อย หรือสวยสู้คนอื่นไม่ได้นั่นเอง เราจำเป็นต้องดูแลตัวเองให้ดี ดังนั้นบางครั้งก็จะมีกรณีที่ดาราต้องไปเหลาหน้า เหลาคาง หรืออะไรต่อมิอะไร เพื่อให้ดูดีขึ้น สวยขึ้น บางคนเข้าวงการใหม่ ๆ อาจดูต่างจากตอนที่กำลังโด่งดัง เพราะสวยขึ้นนั่นเอง กฎสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้มีมูลค่าก็คือกฎแห่งการเกื้อหนุน (Contribution) องค์ประกอบหนึ่งของทรัพย์สินจะมีมูลค่าเท่าไร วัดได้จากความเกื้อหนุนที่ทำให้ทรัพย์สินนั้นโดยรวมมีค่าเพิ่มขึ้น เช่น การเอาอาคารสำนักงานเก่าแห่งหนึ่ง มา "ปรุงแต่ง" ใหม่ โดยลงทุนปรับปรุงระบบลิฟท์ ระบบปรับอากาศ ทำ "หน้ากาก" ใหม่ มักทำให้มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้นสูงกว่าเงินลงทุนนั้น ดังนั้นเงินลงทุนนั้นจึงคุ้มค่า เป็นต้น ในกรณีของคนก็เช่น ถ้าเราลงทุนทำดีกับใครแล้ว เชื่อว่า (แต่ไม่จำเป็นต้องหวัง) เขาจะตระหนักถึงคุณค่าของเรา ซึ่งเป็นการสร้างมิตรภาพที่ดีงามและเป็นประโยชน์แก่กันในวันหน้า และการ "ลงทุน" คบมิตรแต่แรกนี้ ก็ "คุ้ม" ที่จะทำดี (เสียแต่วันนี้) เสียบ้าง ในทางตรงกันข้าม ก็มีกฎแห่งความพอดี (Diminishing Return) กล่าวคือ อะไรที่ขาดไป ก็ย่อมทำให้ไม่มีคุณค่าทัดเทียมกับสิ่งอื่น (ตามกฎข้อ 4) และอะไรที่เกินไปก็ไม่ได้มีผลต่อมูลค่าเช่นกัน เช่น ห้องชุดราคา 4 แสนบาท แต่ตบแต่งจน “เกินเหตุ” โดยใช้วัสดุเช่นเดียวกับบ้านราคาแพงมาก โดยตบแต่งไปถึง 3 แสนบาท ก็ใช่ว่าห้องชุดนั้นจะขายได้ 7 แสนบาท เพราะการตบแต่งที่เกินพอดีนั่นเอง เช่นเดียวกัน "ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง" แต่ย่อมไม่ใช่แต่งจน "เกินงาม" หรือหากแต่ง "ปอน ๆ" เกินไปก็ไม่มีคุณค่าเท่าที่ควร ดุลยภาพจึงเป็นสิ่งที่ต้องยึดถืออยู่ตลอดเวลา เช่น ถ้าเราอยากจะสวย เราก็ต้องแต่งหน้า ทาปาก ยิ่งทาปากจัด ๆ โดยเฉพาะในยามค่ำ ก็จะยิ่งทำให้แลดูสวย แต่ก็คงเป็นไปไม่ได้ที่ใครจะทาปาก ทาลิปสติกให้มากถึงวันละแท่งเพื่อให้ตนเองดูสวยงามขึ้นนั่นเอง ถ้าเราดูแลทรัพย์ของเราให้ดี ก็จะทำให้ทรัพย์ดูอ่อนเยาว์ลง เช่น อาคารที่มีอายุ 50 ปี แต่โครงสร้างยังแข็งแรง เมื่อได้รับการเปลี่ยนงานสถาปัตยกรรม งานระบบประกอบอาคาร ก็จะทำให้มีอายุเหลือราว 20 ปี เป็นต้น ในขณะเดียวกัน อาคารที่ไม่ได้รับการดูแล อายุ 20 ปี ระบบประกอบอาคาร และงานสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ก็โดนปลวกกินไปหมดแล้ว ก็อาจแลดูมีอายุมากเป็นพิเศษ เป็นต้น อายุจริง เราเรียกว่า Actual Age ส่วนอายุตามสภาพ เรียกว่า Effective Age นั่นเอง ดังนั้น ในการที่เราจะตีค่าหรือประเมินค่าทรัพย์สินใด เราจึงต้องพิจารณาให้ดีว่า ทรัพย์สินนั้นมีความสอดคล้องกับปัจจัยหรือ “กฎ” ข้างต้นอะไรบ้าง เพื่อให้มูลค่าที่ประเมินได้ ไม่เกิดความผิดพลาดสร้างความเสียหายแก่เราในฐานะนักลงทุน คนซื้อบ้าน ผู้ร่วมทุน หรือแม้กระทั่งผู้รับมรดก เป็นต้น ที่มา: http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement1715.htm
เห็นใจ ด๊อกฯ หน่อยซิ ไม่มีคัยเข้าไปอ่าน เพจก้อไม่เคลื่อนไหว โฆษณาก้อไม่เข้า นายก้อไม่จ่าย น้องๆออฟฟิต ต้องกินต้องใช้ จนต้องหาเพลงเต้นฮาเล็มเชค เรียกความสนใจนะ
บทความนี้ดีครับ อะไรที่มากไปไม่ดีอะไรที่น้อยไปไม่สมบูรณ์ เฉกเช่นการสร้างภาพว่ายข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาจนเกือบตายจนต้องเร่งเข้าไปช่วยชีวิตไม่ให้เป็นศพลอยอืด ถือว่านักสร้างภาพไม่ประมาณตนเอง ไม่รู้ในกฎอะไรเลย แต่ผู้สร้างภาพนึกแค่ใช้วิธีง่ายๆหาทางออกสื่อเพื่อมีคะแนนเสียง อันนี้ก็เป็นการเกินพอดีในแบบที่ไร้สมอง หรือการที่อ้างตอนหาเสียงว่าเป็นคนดี ซื่อสัตย์ สุจริต แต่สุดท้ายไปแอบขึ้นรถไฟที่ญี่ปุ่นไม่จ่ายค่าตั๋ว ความซื่อสัตย์ สุจริต ที่เคยกล่าวอ้างไว้ มลายหายไปกับสายลม หลงเหลือแต่ตัวตนที่น่าสมเพชที่พยายามสร้างภาพสร้างราคาให้ตัวเอง ทุกอย่างล้วนอยู่ภายใต้ "กฎ" ที่เรารู้กันดี กฎแห่งกรรม
เอ้า พอดีผมชอบเลข 8 ครับ ถ้าใครไม่รู้ว่าถ้าอยากจะขายบ้าน แล้วไม่จัดการตกแต่งมันบ้างจะทำให้ขายไม่ได้ราคาดี ก็อย่าขายให้มันเวียนหัวกับคนที่จะมาซื้อเลยครับ