ระบบการนับคะแนนแแบบใหม่ ********************************************************* ประเทศเยอรมนีตีกรอบการเลือกตั้งทุกครั้งให้มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ คือ ทั่วไป ตรงตัว เสรี เสมอภาค และความลับ โดยจะมีการเลือกตั้งทุก 4 ปี และจัดขึ้นในวันอาทิตย์เท่านั้น ซึ่งพลเมืองที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และบุคคลที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศติดต่อกัน 3 เดือนขึ้นไป จะเป็นผู้มีสิทธิ์ในการเลือกตั้งโครงสร้างของระบอบการปกครองในเยอรมนีแบ่งเป็น สภาผู้แทนราษฎรและสภาผู้แทนรัฐเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ และศาลรัฐธรรมนูญเป็นฝ่ายตุลาการ โดยสภาผู้แทนรัฐจะมาจาก 16 สหพันธรัฐ รัฐละ 3- 6 คนตามสัดส่วนประชากร ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะมีอย่างน้อย 598 คน จากทั้งหมด 299 เขต สภาทั้งสองนี้จะมีหน้าที่คล้ายกับสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาของไทย ส่วนศาลรัฐธรรมนูญจะมีหน้าที่ในการพิจารณาร่างกฎหมายต่างๆที่ผ่านขึ้นมาว่าขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายพื้นฐานของเยอรมนีหรือไม่ด้านฝ่ายบริหารจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และประธานาธิบดีโดยนายกรัฐมนตรีจะมาจากการเลือกของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นหัวหน้าของฝ่ายบริหารและมีอำนาจในการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีส่วนประธานาธิบดีจะถูกเลือกโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร่วมกับผู้แทนของสหพันธรัฐอีก 598 คน โดยมีบทบาทในเชิงสัญลักษณ์ แต่มีอำนาจเด็ดขาดในการที่จะให้ผ่านหรือไม่ผ่านร่างกฎหมายใดๆก็ได้ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในระบบก็คือการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือ สส. ชาวเยอรมนีจะมีสิทธิ์ในการโหวตคนละ 2 เสียง นั่นคือโหวตสส.แบบแบ่งเขต และโหวตพรรคการเมืองแบบปาร์ตี้ลิสต์ โดยเยอรมนีจะการันตีที่นั่งในสภาของสส.แบบแบ่งเขตที่ได้คะแนนสูงสุดให้ทันที แต่หัวใจสำคัญในการกำหนดที่นั่งในสภากลับไปอยู่ที่การโหวตปาร์ตี้ลิสต์ ซึ่งพรรคการเมืองที่ได้คะแนนโหวตร้อยละ 5 ขึ้นไปจะถูกคำนวนอัตราส่วนระหว่างคะแนนของพรรคและสส.แบ่งเขต เพื่อถัวเฉลี่ยที่นั่งให้ได้ตามคะแนนโหวตจริงที่สุด เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องพรรคเสียงข้างมากที่เข้ายึดครองพื้นที่เต็มสภา และช่วยกระจายพื้นที่ให้กับเสียงข้างน้อยที่ผ่านเกณฑ์ให้มีที่นั่งในสภาด้วยเช่นกัน แต่วิธีนี้เป็นเหมือนดาบสองคม เพราะถ้าหากพรรคนไหนมีสส.แบ่งเขตได้รับเลือกมากกว่าคะแนนโหวตของพรรค ที่นั่งในสภาของพรรคนั้นจะลดลงตามอัตราส่วนเพื่อความสมดุล ตรงกันข้าม ถ้าพรรคนั้นมีสส.แบ่งเขตได้รับเลือกน้อยกว่า ที่นั่งในสภาก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน และหากพรรคไหนได้คะแนนเสียงมากทั้งสองแบบก็จะเกิดสมาชิกส่วนเกินขึ้นมาอีกทำให้จำนวนสส.อาจมีมากกว่า 598 คนได้พรรคที่ได้ที่นั่งมากที่สุดจะได้สิทธิ์ในการตั้งรัฐบาลทันที แต่มีข้อแม้ว่าที่นั่งมากที่สุดนั้นจะต้องมากกว่าครึ่งของจำนวนที่นั่งทั้งหมดในสภา ดังนั้นรัฐบาลของเยอรมนีจึงเป็นรัฐบาลแบบสัดส่วนสมาชิกผสมมาโดยตลอดแม้ว่าระบบการเลือกตั้งนี้จะถูกหยิบไปใช้เป็นต้นแบบของการเลือกตั้งในหลายประเทศทั่วโลก อย่างในเอเชียก็มีญี่ปุ่นนำไปใช้เป็นประเทศแรก แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะมีการปรับใช้ให้เข้ากับสภาพสังคมของประเทศนั้นๆตามความเหมาะสม เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากประชาชน
จำนวน ส.ส. ********************************************* ผู้สื่อข่าวเนชั่นทีวี กลกร เวียงดอนก่อ กับความเคลื่อนไหวของกรรมาธิการยกร่างฯ กรณีที่ได้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ซึ่งได้ข้อสรุปจำนวน ส.ส.แล้ว โดยให้มี 450 - 470 คน จากเขตเลือกตั้ง 250 เขต ขณะที่บัญชีรายชื่อจะมี 200-220 ยึดระบบเลือกตั้งสัดส่วนผสม แบบเยอรมัน
ที่มาของ ส.ว. ************************************************** คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ข้อสรุปเรื่องวุฒิสภาแล้ว โดยกำหนดมีจำนวน 200 คนจากที่มาด้วยการเลือกตั้งทางอ้อมใน 5 กลุ่มบุคคล
ข้อห้ามของผู้สมัคร ส.ส. ***************************************************** ผู้ที่จะลงรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งใหม่นี้จะต้องมีคุณสมบัติตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดรวมทั้งต้องไม่อยู่ในข่ายข้อห้ามตามมาตรา 113 ของรัฐธรรมนูญด้วย ประกอบด้วย ต้องไม่เป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ ต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยล้มละลายทุจริต ต้องไม่เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 111ซึ่งหมายถึงต้องไม่ใช่ภิกษุ สามเณร อยู่ในระหว่างเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ถูกคุมขังโดยหมายศาล หรือเป็นคนวิกลจริง ต้องไม่เป็นผู้ที่ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่ในหมายของศาล ไม่เคยถูกจำคุกโดยพ้นโทษมาไม่ถึง 5 ปี ไม่เคยเคยถูกไล่ออกจากราชการ หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ ไม่เคยต้องคำพิพากษาให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน และที่คณะกรรมาธิการเพิ่มขึ้นขึ้นใหม่ก็คือวงเล็บแปด ต้องไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษากระทำการให้การเลือกตั้งไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรม และต้องไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำหรือข้าราชการการเมือง ขณะที่ข้อห้ามตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ก็ถูกนำมาบังคับใช้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้เช่่น ต้องไม่เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นด้วย นอกจากนั้นยังต้องไม่เป็นสมาชิกวุมิสภาหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภามาแล้วแต่สมาชิกภาพสิ้นสุดยังไม่เกิน 2 ปี ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างหน่วยงานราชการ ไม่เป็นเป็นผู้พิพากษาหรือตุลาการ กกต. ป.ป.ช. หรือผู้ตรวจการแผ่นดิน ไม่อยู่ระหว่างต้องห้ามไม่ให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไม่เคยถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งหรือถูกตัดสิทธิทางการเมือง และสุดท้ายคือต้องไม่เป็นผู้ที่มีลักษณะต้องห้ามอื่นตามพระราชบัญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งที่จะออกตามหลังมาด้วย
เด็กอายุ 18 ไม่น่าให้เลือกตั้งครับ เวลาทำผิด บอกเป็นเยาวชน ไม่ต้องติดคุก คดีหนักถึงให้เข้าสถานพินิจ แต่ดันให้สิทธิ์เลือกตั้งแล้ว แบบนี้มันขายเสียง ก็ไม่ต้องติดคุกอีก หาว่าเป็นเยาวชน ทำไปรู้เท่าไม่ถึงการณ์
สำหรับบางคนที่อาจจะงง สรุปง่ายๆ ว่าที่นั่งในสภาของแต่ละพรรค จะเป็นสัดส่วนตามคะแนนบัญชีรายชื่อที่ได้ครับ โดยที่ผมฟังมาที่เขาร่างของไทยเราวันก่อน จะใช้วิธีกาสองใบเหมืองเดิม แต่เปลี่ยนเอาตอนคิดจำนวน ส.ส. ว่าให้เพิ่มจากบัญชีรายชื่อเข้าไปจนได้จำนวน ส.ส. ที่ควรจะได้ตามสัดส่วน แต่หากได้ ส.ส. มาเกินสัดส่วน ก็จะไม่ปรับลดลง ยกผลประโยชน์ให้ อันนี้ของไทยนะครับ ส่วนตัวผมมองว่าระบบนี้คงป้องกันอะไรไม่ได้อย่างที่ว่ากัน เพียงแต่ว่าเป็นระบบที่ยุติธรรมกว่าระบบเดิม คือคะแนนเสียงของประชาชนไม่มีสูญเปล่า ระบบเก่าคะแนนบัญชีรายชื่อที่เรากาให้มีค่าแค่ 1 ใน 5 ของสภา ส่วนคะแนนที่เลือก ส.ส. เขตก็ทิ้งน้ำไปเลยถ้าคนที่เราเลือกนั้นแพ้ เราจึงได้เห็นปรากฎการณ์ที่คนที่ได้คะแนนบัญชีรายชื่อไม่ถึงครึ่ง แต่กลับมี ส.ส. ได้ค่อนสภา เพราะว่า ส.ส. เขตมีค่ากว่าคะแนนปาร์ตี้ลิสต์ แต่ระบบใหม่จะช่วยให้คะแนนบัญชีรายชื่อที่เรากาไป มีค่าเต็มร้อยครับ อีกอย่างคือ ถ้าคราวนี้ไม่มีการแก้รัฐธรรมนูญให้คนที่เป็นนายกฯ ไม่ต้องเป็น ส.ส. บรรดาหัวหน้าพรรคก็อาจจะต้องลงสู้ในเขตด้วยนะครับเพราะถ้าไปนั่งปาร์ตี้ลิสต์ถึงแม้อันดับหนึ่งก็ไม่แน่ว่าจะได้เป็น ส.ส. หรือเปล่า
โดยส่วนตัว ผมว่าจำนวน สส. ของไทย ยังเยอะเกินไปถ้าเทียบกับพื้นที่และประชากร ทั้งสภาไม่เกิน 250 กำลังดี แบ่งเป็น เลือกเขต 150 อีก 100 สรรหาจากสายอาชีพต่าง ๆ และมีคำถามใครรู้ช่วยอธิบายด้วยนะครับ คือ การเลือกตั้งทุกครั้ง คนไทยในต่างแดนสามารถลงทะเบียนเพื่อลงคะแนนออนไลน์ได้ ซึ่งแตกต่างกับหลักเกณฑ์ของเยอรมันว่าต้องเป็นบุคคลที่อาศัยอยู่ในเยอรมัน 3 เดือนขึ้นไป ใครไปทำงาน เรียน และอาศัยอยู่ต่างประเทศ ไม่มีสิทธิลงคะแนน คำถามของผมคือ พวกหลบหนีคดี หนีหมายจับของศาล นี่ถือเป็นบุคคลต้องห้าม ไม่มีสิทธิในการลงคะแนนเลือกตั้งหรือไม่
แล้วก็ จะเกิดอะไรขึ้นครับถ้าปาร์ตี้ลิสต์ได้ซัก 70% ของประเทศ (อย่าคิดว่าเป็นไปไม่ได้นะครับ ตราบใดที่คนไทยยังคิดว่าโกงแต่ทำงานหรือประชานิยมเป็นเรื่องดี) เรามิต้องมาร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่หรอกรึ?
ผมก็ยังไม่เข้าใจไปซะทั้งหมด แต่เอาละ ผมยอมรับทั้งกระบวนการ แต่ก็สงสัยอยู่นั่นแหละ ว่าถ้าผมไม่เข้าใจบางส่วน คนอื่นก็จะไม่เข้าใจบ้างอีกบางส่วน ยิ่งกว่านั้น บางคนไม่ชอบ บางคนไม่เอาด้วย ถ้าประกาศใช้ไปแล้ว ยังจะต่อต้าน ล้มล้างกันอีกใช่ไหมละ นี่ว่ากันประเด็นเดียว ยังงั้นจะคัดค้านหรือจะสนับสนุน ทำกันตั้งแต่เด๋วนี้ก่อนประกาศใช้ดีไหม เอาจากประชาพิจารณ์ ลงมติ ประชามติ หลังร่างรัฐธรรมณูญเสร็จแล้ว ใช้เวลา 6เดือน และอีก3เดือนลงประชามติ ถ้ายังเป็นปัญหาอยู่ ก็ยกเลิก ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ที่มาของความเห็นผมมาจาก กระทู้โพลนี้ ในรัฐธรรมนูญฉับบใหม่คุณเห็นด้วยกับที่มาของ สว หรือไม่ กระทู้โพล วุฒิสภาเลือกตั้งรัฐธรรมนูญการเมืองประชามติ ในรัฐธรรมนูญฉับบใหม่คุณเห็นด้วยกับที่มาของ สว หรือไม่ http://pantip.com/topic/33290935 พูดมากไปแค่ไหนก็ไม่พอ จะทำอะไรรีบๆทำเวลานี้แหละดีที่สุด จริงๆ ไม่ได้ประชด เสียดสี การแก้ปัญหาบางทีต้นตออยู่ที่คน ไม่ใช่เวลา หรือกระบวนการ หรือระยะทาง
การจะร่างกติกาออกมากันพรรคใดพรรคหนึ่ง คงไม่ใช่ แต่ให้ระบบสะท้อนเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง ถือว่าดีครับ ปัญหาของบ้านเราคือ คนโง่ เลือกตัวเอี้ยกันอย่างถล่มทลาย เพราะหวังเงินประชานิยม ไม่สนความชิบหายของประเทศมากกว่า ซึ่งตราบใดที่เป็นแบบนี้ จะร่างรัฐธรรมนูญแบบไหน ปฎิรูปสวยหรูแบบใด ก็ไม่มีผลครับ ดังนั้นผมจึงสนใจการปฎิรูปให้คนดี มีคุณภาพ มีโอกาสมากขึ้นในสังคมไทย รวมถึงการปกป้องคนเหล่านั้น ให้มีแรงถูลู่ถูกังประเทศไทยนี้ต่อไป โดยไม่โดนคนชั่ว-คนโง่ กระทืบตายห่าซะก่อน ดีกว่าครับ แล้วหวังว่าอนาคตซักวัน คนดีๆ จะมีมากขึ้น คนชั่วน้อยลง คนโง่ตายห่าไปเองตามธรรมชาติ แล้วประเทศไทยจะดีขึ้นเองครับ
ยังไม่ได้ดูรายละเอียดและเข้าใจทั้งหมด แต่ก็คงสร้างเป็นประเด็นว่า สร้างระบบเลือกตั้งใหม่เพื่อกันเพื่อไทยไม่ให้เป็นรัฐบาล พี่น้องครับ เราจะแสดงพลังของคนเสื้อแดงให้เห็น ออกมาเลือกเพื่อไทยให้ถล่มทลาย เราจะกลับมาเป็นรัฐบาล เราจะเอาทักษิณกลับบ้าน
ตอนนี้ที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ เดือดดิ้นอย่างแรงในหมู่ร่านคือ ที่มาของ สว. ที่มาจากการสรรหาทั้งหมด จากกลุ่มวิชาชีพต่างๆ 5 กลุ่ม ตรงนี้จะยังไม่คอมเม้น แต่เท่าที่เห็นแล้ว ที่ผ่านมา สส.ไม่มีความหลากหลายทางวิชาชีพเลย มีแต่นักการเมืองอาชีพ นักการเมืองสายเลือด นายทุน เราไม่เห็นภาคเกษตรกร แรงงาน เข้ามาเป็นผู้แทนราษฎรกันบ้างเลย ทั้งที่มีสัดส่วนมากที่สุดในประเทศ คงเป็นเพราะการหาเสียงเลือกตั้งทีต้องใช้งบสูงมากๆ นักการเมืองเลยเป็นอาชีพของนายทุนไป พรรคการเมืองที่มีอยู่ก็เป็นบริษัทการเมือง ไม่ใช่พรรคที่รวมคนคิดอย่างเดียวกันหรือวิชาชีพเดียวกัน แบบพรรคเลเบอร์ คอนเซอร์เวทีฟ อะไรพวกนี้ ฉะนั้นหนทางหนึ่งที่จะเอาคนภาคส่วนอื่นๆให้ไปมีส่วนร่วมในการเมือง ก็คือการเข้าไปเป็นวุฒิสภาผ่านการสรรหา (ถ้าให้เลือกตั้งก็ไม่ต่างกับ สส) เอาความรู้ในวิชาชีพของตนไปงัดกับ สส ที่ออกนโยบายตามใจฉัน ถ้า สส ออกนโยบายบ้าๆออกมา สว ก็ต้องงัด ไม่งั้นแล้วถ้า สว ไม่ต่างกับ สส เราจะมีสองสภาให้มาถ่วงดุลทำพระแสงของ้าวอันใดกัน มันไม่ดุลกันแล้ว มันเป็นแค่ตรายาง
คิดว่า กมธ. ยังไม่ได้ลงไปถึงรายละเอียดตรงนั้นครับ แต่ว่าระบบใหม่นี่เอาปาร์ตี้ลิสต์มาเติม ส.ส. ให้เต็มตามจำนวนอยู่แล้ว ถ้าผมเป็นคนร่าง จะเสนอให้เขียนว่าถ้าโหวตโนชนะ จะมีผลให้ไม่มี ส.ส. ในเขตนั้นนะ เพราะยังไงก็เปิดสภาได้
มาถึงเรื่องนายกฯ แล้ว ****************************************************** การประชุมยกร่างรัฐธรรมนูญของกรรมาธิการยกร่างฯ ในวันที่ 4 เข้าสู่หมวด ครม.โดยเห็นชอบให้นายกรัฐมนตรี มาจากคนนอกได้ และ มีวาระการตำแหน่งเพียง 2 สมัย การดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี แม้ว่า จะดำรงตำแหน่งไม่ครบวาระ 4 ปี ก็นับว่า 1 สมัย ฉะนั้น นายกรัฐมนตรีคนเดียวกันหากดำรงตำแหน่ง 2 ครั้งติดต่อกันแล้ว ครั้งที่ 3 จะเป็นไม่ได้ ต้องเว้นวรรคไปอีก 1 สมัยถึงจะกลับมาเป็นได้ เหตุผลสำคัญ เพื่อถ่วงดุลอำนาจ ป้องกันการผูกขาดทางการเมือง จนเกิดการครอบงำจากฝ่ายบริหารในอนาคต ารเลือกนายกรัฐมนตรี ให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นฝ่ายเลือกเช่นเดิม นายกรัฐมนตรีจะเป็นคนนอก หรือเป็น ส.ส. ก็ได้ มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี แต่ถ้าเลือกจากคนที่เป็น ส.ส. ส.ส. คนนั้นต้องลาออกจากตำแหน่ง ส.ส.ก่อน เช่นเดียวกับ กรณี ส.ส. ที่จะไปเป็นคณะรัฐมนตรี การกำหนดแบบนี้เพื่อให้นายกรัฐมนตรีในฐานะฝ่ายบริหารแยกอำนาจออกจากฝ่ายนิติบัญญัติให้ชัดเจน กรรมาธิการบอกว่าเป็นการถ่วงดุลที่ต้องแลกกันเพราะตอนเลือกตั้งจะมาเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ถ้าจะไปเป็นฝ่ายบริหารต้องออกจากนิติบัญญัติ ต่างจาก รธน.ปี 50 ส่วนจำนวนของคณะรัฐมนตรี กำหนดไว้แบบเดิมคือมีนายกรัฐมนตรี 1 คน และ รัฐมนตรีอีก ไม่เกิน 35 คน แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ ความชัดเจนอีกอย่างถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี กรณีมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ บริหารราชการแผ่นดินเกิดความเสียหายแก่เงินแผ่นดิน หากสภาฯลงมติไม่ไว้วางใจเกินครึ่งหนึ่ง ทั้งตัวนายกรัฐมนตรี และสภาผู้แทนราษฎร ต้องยุบไปด้วยทันที ต่างจากที่ผ่านมาที่ไปเฉพาะตัวนายกรัฐมนตรีเท่านั้น เหตุผลเพื่อป้องกันการต่อรองผลประโยชน์ ระหว่าง ส.ส. กับ นายกรัฐมนตรี แลกกับการไว้วางใจ และให้ฝ่ายค้านได้ทำหน้าที่ง่ายขึ้น กรณีนี้เฉพาะนายกรัฐมนตรีเท่านั้น
อันนี้ถูกใจจริงๆ ถ้ามีกระทู้ถามสด นายกฯ หรือ รมต. ต้องมาตอบด้วยตัวเอง ปิด "ตำนานนางโบ้ย" กันเลยนะเธอว์ ************************************************* กมธ.ยกร่างฯ รมต.ห้ามหนีกระทู้สดสภา ที่ประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญในส่วนการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งมีสาระสำคัญที่เกี่ยวกับการให้นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีต้องมาตอบกระทู้สดของสภาผู้แทนราษฎรด้วยตัวเอง และให้ส.ส.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5ของส.ส.เท่าที่มีอยู่ยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายรัฐมนตรีได้โดยไม่ต้องเสนอชื่อบุคคลที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ การลงมติให้นับเฉพาะคะแนนเสียงไม่ไว้วางใจเท่านั้น และหากเสียงไม่ไว้วางใจเกินกึ่งหนึ่งของสภาฯนายกรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งและสภาต้องสิ้นสุดลง สำหรับการประชุมกรรมาธิการยกร่างฯวันนี้จะพิจารณาหมวดคณะรัฐมนตรี และวิธีเลือกนายกรัฐมนตรี
ต้องวางโทษการทุจริตการเลือกตั้งไว้สูงๆและห้ามลดหย่อน ทั้งผู้สมัครและประชาชนที่รับอามิสสินจ้างโดนหมด เช่น ผู้สมัครโดนสิบห้าปี หมดสิทธิทางการเมืองทุกประเภทสิบห้าปี และจ่ายค่าเสียหายในการเลือกตั้งใหม่ ประชาชนผู้รับอามิสสินจ้างโดนห้าปี หมดสิทธิทางการเมืองทุกประเภทห้าปี คุกแตก
ในเยอรมัน อายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ถือเป็นผู้บรรลุนิติภาวะตามกฏหมาย เลือกตั้งท้องถิ่นรัฐฮัมบูร์กที่เพิ่งผ่านไป ให้เยาวชนอายุครบ 16 ปีบริบูรณ์มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งรัฐบาลท้องถิ่นได้ เนื่องจากการเลือกตั้งไม่ว่าเลือกตั้งทั่วไปหรือเลือกตั้งท้องถิ่น มีผู้ไปลงคะแนนเสียงลดน้อยลง มี สส เสนอให้ปิดหีบลงคะแนนเป็นเวลา 20.00 น แทนที่จะเป็น 18.00 น
ในกรณี สส บัญชีรายชื่อ หรือ สส ปาร์ตี้ลิสต์ของเยอรมัน เสียชีวิตหรือลาออก จะเลื่อนผู้ได้คะแนนเสียงเป็นอับดับสองขึ้นมาแทน ไม่มีการเลือกตั้งซ่อม
คงต้องเขียนให้ละเอียดกว่านี้ ไม่งั้นเดี๋ยวจะเจอนังโง่ออกมาพูด 2 ประโยคแล้วโบ๊ยต่อแบบเดิม ๆ เช่น แบบนี้มันก็อ้างได้แล้วว่า ก็มาตอบกระทู้สดแล้วนี่นา
ไม่ค่อยเห็นด้วยที่จะให้ 2 สมัยเว้น 1 เพราะถ้ายังผูกขาดได้ ก็แค่ส่งนอมินีมาคั่นกลางอยู่ดี ปัญหาการเลือกตั้งในเมืองไทยจะหมดไป เมื่อประเทศเรามีจังหวัดสวิงโหวต อย่างน้อย 77 จังหวัดครับ
แล้วมีให้ แคนดิเดตนายก มาดีเบตในนโยบายมั้ยครับ เบื่อได้พวกโง่ๆ มาเป็นนายก ท่องโพย พูดได้ไม่กี่ประโยคว่า ได้มอบหมายให้คนนั้นคนนี้ไปทำแล้ว แล้วตัวมันเอง ก็ลอยตัว
เขาพูดไม่เก่ง เป็นนายกต้องปฏิบัติ ต้องทำงาน พูดเก่งทำงานไม่เก่งก็เท่านั้น ดีแต่พูด 5555 มาแนวนี้แน่นวลลล
มีความกริ่งเกรงว่าเพื่อไทยจะได้คะแนนถล่มทลาย กติกาอะไรก็หยุดไม่อยู่ ครั้งนี้อาจจะได้เกินครึ่ง หรือถ้าถ้าไม่ถึงก็เฉียด ส่วนพรรคเล็กที่จะได้ที่นั่งเพิ่มเพราะกติกาใหม่กลับจะมาเบียดประชาธิปัตย์ให้น้อยลงไปอีก ในสภาเพื่อไทยจะยิ่งไร้คู่แข่ง
เป็นไปได้ครับ คงต้องดูการแบ่งเขต และวิธีเลือก ถ้าเขตเดียวเบอร์เดียว. ภาคเหนือและอีสานยัง dominate เหมือนเดิม ผลก็ไม่น่าเปลี่ยน นอกจากกฏหมายการทุจริตเลือกตั้งรุนแรงมากมากและมีผลทั้งผู้ให้และผู้รับ
อย่างที่บอกครับ ระบบเลือกตั้งจะเป็นอย่างไรก็ไม่ช่วยอะไรเลยครับ ตราบที่ความคิดคนไทยยังไม่เปลี่ยน อย่างมากก็แค่ทำให้ ปชป. มีที่นั่งเพิ่มขึ้นนิดหน่อย การปฎิรูปนี้ผมจึงสนใจการเปลี่ยนโครงสร้างการปกครองมากกว่า ทำอย่างไรจึงจะไม่ทะเลาะกัน ประเทศเดินไปได้ ทุกฝ่ายมีทางเลือกและมีโอกาสมากกว่าเดิม ทำอย่างไรไม่ให้อำนาจไปตกอยู่กับมาเฟียอย่างที่ผ่านๆมา หรืออย่างน้อยพวกมาเฟีย ก็ต้องปรับตัว เพื่อทำอะไรที่เข้าท่า เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนบ้าง เพื่อที่จะอยู่รอดในการเมืองไทยต่อไป
อันนี้นวัตกรรมใหม่ ไม่รู้ว่าจะได้ผลดีหรือเปล่า อย่าให้เป็นเหมือนผู้ตรวจการแผ่นดินอะไรนั้นละกัน ไม่เห็นมีผลงานอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย ****************************************************** รัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ที่กำลังร่างอยู่ขณะนี้ จะมีองค์กรอิสระเกิดขึ้นใหม่หลายองค์กร ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ซึ่งจะเข้ามาทำหน้าที่ตรวจสอบ และ กำหนดมาตรฐานคุณธรรม จริยธรรม ของผู้ดำรงตำแหน่งทางทางการเมือง ผู้บริหารระดับสูงในองค์กรรัฐ องค์กรอิสระ และ นักการเมืองท้องถิ่น การตั้ง "สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ" ครั้งนี้ เป็นไปตามแนวคิดของคณะกรรมการปฏิรูปคุณธรรม จริยธรรม และ ธรรมาภิบาล ที่ตั้งขึ้นโดยประธาน สปช.ที่ศึกษาพบว่าปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ส่วนหนึ่งเกิดจากผู้นำทางการเมือง หรือ ผู้นำองค์กรขาดการคำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรม จึงเห็นควรให้มีสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ เข้ามาทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล และ ตรวจสอบการทำงานของบุคคล และ องค์กร โดยโครงสร้างของสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ มี 5 กลไกหลัก คือ 1. คณะมนตรีสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ จำนวน 5 คน 2. เพื่อเข้ามาตั้งสมาชิกสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ จำนวน 55 คน ทำหน้าที่ในการวินิจฉัยรายงานผลการสอบความผิดทางคุณธรรม จริยธรรม ของบุคคล และ หน่วยงานที่ทำธุรกรรมกับรัฐ 3. ที่ประชุมสมัชชาคุณธรรมประเทศไทย เป็นเวทีแลกเปลี่ยนระดับพื้นที่ 4. สำนักงานคุณธรรมจริยธรรม และธรรมาภิบาลแห่งชาติ จะทำหน้าที่เป็นฝ่ายสนับสนุนการทำงาน 5. นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการบริหารสำนักงาน อีก 11 คน ดูแลการปฏิบัติงานของสำนักงานคุณธรรม ฯ สำหรับขั้นตอนและวิธีการจัดตั้งสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ มี 3 ขั้นตอน คือ 1. จัดให้มีพระราชบัญญัติ เพื่อจัดตั้งองค์กร "สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ" 2. ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ และพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์คุณธรรม หลัง พ.ร.บ.สมัชชาคุณธรรม มีผลบังคับใช้ 3. กำหนดแหล่งที่มาของทุน รายได้ และ ทรัพย์สินของศูนย์คุณธรรม มาอยู่กับ "สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ" นพ.พลเดช ปิ่นประทีป ประธานคณะกรรมการปฏิรูปคุณธรรม ระบุว่า ที่ผ่านมาการป้องกันปัญหาการทุจริต เน้นแต่การใช้กฎหมาย จึงทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาการทำผิดคุณธรรมจริยธรรมได้ ดังนั้น สมัชชาคุณธรรม จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นพลังทางสังคม โดยตรวจสอบ และ กำกับดูแลการกระทำผิดมาตรฐานในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล เพราะเมื่อเสียงข้างมากในที่ประชุมสมาชิกสมัชชาฯเห็นว่าผิดจะรายงานไปที่หน่วยงานต้นสังกัด หรือ นายกรัฐมนตรี เพื่อให้เอาผิดทางวินัย และกฎหมาย พร้อมเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะ นำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า "การตั้งรังเกียจทางสังคม" หรือ social sanction